สนิมิตตวรรคที่ ๓ ว่าด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศล
[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 440
สนิมิตตวรรคที่ ๓
สูตรที่ ๑ ว่าด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศล 322/440
สูตรที่ ๒ ว่าด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศล 323/440
สูตรที่ ๓ ว่าด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศล 324/440
สูตรที่ ๔ ว่าด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศล 325/440
สูตรที่ ๕ ว่าด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศล 326/441
สูตรที่ ๖ ว่าด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศล 327/441
สูตรที่ ๗ ว่าด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศล 328/441
สูตรที่ ๘ ว่าด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศล 329/441
สูตรที่ ๙ ว่าด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศล 330/442
สูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศล 331/442
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 440
สนิมิตตวรรคที่ ๓
สูตรที่ ๑
[๓๒๒] ๗๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีนิมิตจึงเกิดขึ้น ไม่มีนิมิตไม่เกิดขึ้น เพราะละนิมิตนั้นเสีย ธรรมที่เป็นอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้.
จบสูตรที่ ๑
สูตรที่ ๒
[๓๒๓] ๗๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีนิทานจึงเกิดขึ้น ไม่มีนิทานไม่เกิดขึ้น เพราะละนิทานนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้.
จบสูตรที่ ๒
สูตรที่ ๓
[๓๒๔] ๗๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น เพราะละเหตุนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้.
จบสูตรที่ ๓
สูตรที่ ๔
[๓๒๕] ๗๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีเครื่องปรุงจึงเกิดขึ้น ไม่มีเครื่องปรุงไม่เกิดขึ้น เพราะละเครื่องปรุงนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้.
จบสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 441
สูตรที่ ๕
[๓๒๖] ๘๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีปัจจัยจึงเกิดขึ้น ไม่มีปัจจัยไม่เกิดขึ้น เพราะละปัจจัยนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้.
จบสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๖
[๓๒๗] ๘๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีรูปจึงเกิดขึ้น ไม่มีรูปไม่เกิดขึ้น เพราะละรูปนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้.
จบสูตรที่ ๖
สูตรที่ ๗
[๓๒๘] ๘๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มี เวทนาจึงเกิดขึ้น ไม่มีเวทนาไม่เกิดขึ้น เพราะละเวทนานั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้.
จบสูตรที่ ๗
สูตรที่ ๘
[๓๒๙] ๘๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสัญญาจึงเกิดขึ้น ไม่มีสัญญาไม่เกิดขึ้น เพราะละสัญญานั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้.
จบสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 442
สูตรที่ ๙
[๓๓๐] ๘๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีวิญญาณจึงเกิดขึ้น ไม่มีวิญญาณไม่เกิดขึ้น เพราะละวิญญาณนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้.
จบสูตรที่ ๙
สูตรที่ ๑๐
[๓๓๑] ๘๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสังขตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ไม่มีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ไม่เกิดขึ้น เพราะละสังขตธรรมนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้.
จบสูตรที่ ๑๐
จบสนิมิตตวรรคที่ ๓
สนิมิตตวรรคที่ ๓ (๑)
อรรถกถาสูตรที่ ๑
วรรคที่ ๓ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๒๒) มีนิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สนิมิตฺตา แปลว่า มีเหตุ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๒ เป็นต้น (ข้อ ๓๒๓ - ๓๒๗)
แม้ในสูตรที่ ๒ เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. ก็บททั้งหมด คือ นิทาน เหตุ สังขาร ปัจจัย รูป เหล่านี้ เป็นไวพจน์ของ การณะ ทั้งนั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
(๑) วรรคที่ ๓ มี ๑๐ สูตร เป็นสูตรสั้นๆ จึงรวมอรรถกถาไว้ติดต่อกัน โดยลงเลขข้อสูตรกำกับไว้ด้วย.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 443
อรรถกถาสูตรที่ ๗
ในสูตรที่ ๗ (ข้อ ๓๒๘) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สเวทนา ความว่า เมื่อสัมปยุตตเวทนาที่เป็นปัจจัยนั่นแหละมีอยู่ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลทั้งหลายจึงเกิดขึ้น เมื่อไม่มี ก็ไม่เกิด.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗
อรรถกถาสูตรที่ ๘ - ๙
แม้ในสูตรที่ ๘ และสูตรที่ ๙ (ข้อ ๓๒๙- ๓๓๐) ก็นัยนี้แหละ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘ - ๙
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
ในสูตรที่ ๑๐ (ข้อ ๓๓๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สงฺขตารมฺมณา ความว่า ธรรมที่เป็นบาปอกุศลทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะกระทำสังขตธรรมที่บังเกิดขึ้นด้วยปัจจัยให้เป็นอารมณ์.
บทว่า โน อสงฺขตารมฺมณา ความว่า แต่ธรรมที่เป็นบาปอกุศลจะไม่เกิดขึ้น เพราะปรารภพระนิพพาน อันเป็นอสังขตะ.
บทว่า น โหนฺติ ความว่า ในขณะแห่งมรรค ธรรมที่เป็นบาปอกุศล ชื่อว่าไม่มีอยู่ เมื่อบรรลุผลแล้ว ก็ชื่อว่ามิได้มีแล้ว. ในสูตรทั้ง ๑๐ สูตรเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเทศนาจนถึงพระอรหัตอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐
จบสนิมิตตวรรคที่ ๓