พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมวรรคที่ ๔ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 ต.ค. 2564
หมายเลข  38524
อ่าน  370

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 444

ธรรมวรรคที่ ๔

สูตรที่ ๑ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 332/444

สูตรที่ ๒ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 333/444

สูตรที่ ๓ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 334/444

สูตรที่ ๔ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 335/444

สูตรที่ ๕ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 336/445

สูตรที่ ๖ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 337/445

สูตรที่ ๗ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 338/445

สูตรที่ ๘ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 339/445

สูตรที่ ๙ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 340/446

สูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 341/446

สูตรที่ ๑๑ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 342/446

อรรถกถาสูตรที่ ๑ 447

อรรถกถาสูตรที่ ๒ 447

อรรถกถาสูตรที่ ๓ 447

อรรถกถาสูตรที่ ๔ 448

อรรถกถาสูตรที่ ๕ 448

อรรถกถาสูตรที่ ๖ - ๗ 448

อรรถกถาสูตรที่ ๘ 448

อรรถกถาสูตรที่ ๙ 448

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐ 449

อรรถกถาสูตรที่ ๑๑ 449


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 444

ธรรมวรรคที่ ๔

สูตรที่ ๑

[๓๓๒] ๘๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ เจโตวิมุตติ ๑ ปัญญาวิมุตติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๑

สูตรที่ ๒

[๓๓๓] ๘๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเพียร ๑ ความไม่ฟุ้งซ่าน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๒

สูตรที่ ๓

[๓๓๔] ๘๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ นาม ๑ รูป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๓

สูตรที่ ๔

[๓๓๕] ๘๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ วิชชา ๑ วิมุตติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 445

สูตรที่ ๕

[๓๓๖] ๙๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ภวทิฏฐิ ๑ วิภวทิฏฐิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๕

สูตรที่ ๖

[๓๓๗] ๙๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความไม่ละอาย ๑ ความไม่เกรงกลัว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๖

สูตรที่ ๗

[๓๓๘] ๙๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๗

สูตรที่ ๘

[๓๓๙] ๙๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นคนว่ายาก ๑ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๘

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 446

สูตรที่ ๙

[๓๔๐] ๙๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นคนว่าง่าย ๑ ความเป็นผู้มีมิตรดี ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๙

สูตรที่ ๑๐

[๓๔๑] ๙๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๑๐

สูตรที่ ๑๑

[๓๔๒] ๙๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๑๑

จบธรรมวรรคที่ ๔

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 447

ธรรมวรรคที่ ๔ (๑)

อรรถกถาสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๔ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๓๒) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เจโตวิมุตฺติ ได้แก่ ผลสมาธิ สมาธิที่สัมปยุตด้วยอรหัตตผล.

บทว่า ปญฺาวิมุตฺติ ได้แก่ ผลปัญญา ปัญญาที่สัมปยุตด้วยอรหัตตผล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๓๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปคฺคาโห ได้แก่ ความเพียร.

บทว่า อวิกฺเขโป ได้แก่ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๒

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ในสูตรที่ ๓ (ข้อ ๓๓๔) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า นามํ ได้แก่ อรูปขันธ์ทั้ง ๔.

บทว่า รูปํ ได้แก่ รูปขันธ์. ในสูตรนี้ ตรัสญาณเครื่องกำหนดธรรมโกฏฐาส.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๓


(๑) วรรคที่ ๔ มี ๑๑ สูตรสั้นๆ จึงรวมอรรถกถาไว้ติดต่อกัน โดยลงเลขท้ายสูตรกำกับไว้ด้วย.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 448

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ในสูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๓๕) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า วิชฺชา ได้แก่ ผลญาณ.

บทว่า วิมุตฺติ ได้แก่ ธรรมที่เหลือที่สัมปยุตด้วยผลญาณนั้น.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๔

อรรถกถาสูตรที่ ๕

ในสูตรที่ ๕ (ข้อ ๓๓๖) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ภวทิฏฺิ ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๕

อรรถกถาสูตรที่ ๖ - ๗

ในสูตรที่ ๖ (ข้อ ๓๓๗) และ สูตรที่ ๗ (ข้อ ๓๓๘) มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๖ - ๗

อรรถกถาสูตรที่ ๘

ในสูตรที่ ๘ (ข้อ ๓๓๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โทวจสฺสตา แปลว่า ความเป็นผู้ว่ายาก.

บทว่า ปาปมิตฺตตา แปลว่า การซ่องเสพปาปมิตร.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๘

อรรถกถาสูตรที่ ๙

ในสูตรที่ ๙ (ข้อ ๓๔๐) พึงทราบโดยปริยายตรงข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๙

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 449

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ในสูตรที่ ๑๐ (ข้อ ๓๔๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ธาตุกุสลตา ได้แก่ รู้ธาตุ ๑๘ อย่าง ว่าเป็นธาตุ.

บทว่า มนสิการกุสลตา ได้แก่ รู้ธาตุเหล่านั้นนั่นแล ยกขึ้นสู่ลักษณะ ๓ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาสูตรที่ ๑๑

ในสูตรที่ ๑๑ (ข้อ ๓๔๒) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อาปตฺติกุสลตา ได้แก่ รู้อาบัติ ๕ กอง และ ๗ กอง.

บทว่า อาปตฺติวุฏฺานกุสลตา ได้แก่ รู้การออกจากอาบัติทั้งหลาย ด้วยการแสดงอาบัติก็ตาม ด้วยสวดกรรมวาจาก็ตาม.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑

จบธรรมวรรคที่ ๔