พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

พาลวรรคที่ ๕ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 ต.ค. 2564
หมายเลข  38534
อ่าน  399

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 450

พาลวรรคที่ ๕

สูตรที่ ๑ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 343/450

สูตรที่ ๒ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 344/450

สูตรที่ ๓ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 345/450

สูตรที่ ๔ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 346/450

สูตรที่ ๕ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 347/451

สูตรที่ ๖ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 348/451

สูตรที่ ๗ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 349/451

สูตรที่ ๘ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 350/452

สูตรที่ ๙ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 351/452

สูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 352/452

สูตรที่ ๑๑ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 353/452

สูตรที่ ๑๒ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 354/453

สูตรที่ ๑๓ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 355/453

สูตรที่ ๑๔ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 356/453

สูตรที่ ๑๕ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 357/454

สูตรที่ ๑๖ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 358/454

สูตรที่ ๑๗ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 359/454

สูตรที่ ๑๘ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 360/454

สูตรที่ ๑๙ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 361/455

สูตรที่ ๒๐ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 362/455

อรรถกถาสูตรที่ ๑ 456

อรรถกถาสูตรที่ ๒ 456

อรรถกถาสูตรที่ ๓ 456

อรรถกถาสูตรที่ ๔ 457

อรรถกถาสูตรที่ ๕ 457

อรรถกถาสูตรที่ ๖ 457

อรรถกถาสูตรที่ ๗ เป็นต้น 457

อรรถกถาสูตรที่ ๑๑ 458

อรรถกถาสูตรที่ ๑๒ เป็นต้น 458


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 450

พาลวรรคที่ ๕

สูตรที่ ๑

[๓๔๓] ๙๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่นำเอาภาระที่ยังมาไม่ถึงไป ๑ คนที่ไม่นำเอาภาระที่มาถึงไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๑

สูตรที่ ๒

[๓๔๔] ๙๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่นำภาระที่มาถึงไป ๑ คนที่ไม่นำเอาภาระที่ยังไม่มาถึงไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๒

สูตรที่ ๓

[๓๔๕] ๙๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าควรในของที่ไม่ควร ๑ คนที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ควร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๓

สูตรที่ ๔

[๓๔๖] ๑๐๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ไม่ควร ๑ คนที่เข้าใจ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 451

ว่าควรในของที่ควร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๔

สูตรที่ ๕

[๓๔๗] ๑๐๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๑ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๕

สูตรที่ ๖

[๓๔๘] ๑๐๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๑ คนที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๖

สูตรที่ ๗

[๓๔๙] ๑๐๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๑ คน ที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 452

สูตรที่ ๘

[๓๕๐] ๑๐๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๑ คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๘

สูตรที่ ๙

[๓๕๑] ๑๐๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๑ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๙

สูตรที่ ๑๐

[๓๕๒] ๑๐๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๑ คนที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๑๐

สูตรที่ ๑๑

[๓๕๓] ๑๐๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่รังเกียจสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ ๑ ผู้ที่

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 453

ไม่รังเกียจสิ่งที่น่ารังเกียจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๑๑

สูตรที่ ๑๒

[๓๕๔] ๑๐๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่ไม่รังเกียจสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ ๑ ผู้ที่รังเกียจสิ่งที่น่ารังเกียจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๑๒

สูตรที่ ๑๓

[๓๕๕] ๑๐๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าควรในของที่ไม่ควร ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ควร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๑๓

สูตรที่ ๑๔

[๓๕๖] ๑๑๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ไม่ควร ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าควรในของที่ควร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๑๔

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 454

สูตรที่ ๑๕

[๓๕๗] ๑๑๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๑๕

สูตรที่ ๑๖

[๓๕๘] ๑๑๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๑๖

สูตรที่ ๑๗

[๓๕๙] ๑๑๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๑๗

สูตรที่ ๑๘

[๓๖๐] ๑๑๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 455

ธรรม ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๑๘

สูตรที่ ๑๙

[๓๖๑] ๑๑๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๑๙

สูตรที่ ๒๐

[๓๖๒] ๑๑๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล.

จบสูตรที่ ๒๐

จบพาลวรรคที่ ๕

จบทุติยปัณณาสก์

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 456

พาลวรรคที่ ๕ (๑)

อรรถกถาสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๕ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๔๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อนาคตํ ภารํ วหติ ความว่า เป็นนวกะ พระเถระมิได้เชื้อเชิญ ก็กระทำภาระ ๑๐ อย่าง ในพระบาลีนี้ว่า ถวายโรงอุโบสถ ๑ ตามประทีป ๑ ตั้งน้ำดื่ม ๑ ตั้งอาสนะ ๑ นำฉันทะมา ๑ นำปาริสุทธิมา ๑ บอกฤดู ๑ นับภิกษุ ๑ โอวาท ๑ สวดปาติโมกข์ ๑ ท่านเรียกว่า ภาระหน้าที่ของพระเถระ ดังนี้ ชื่อว่านำพาภาระที่ยังไม่มาถึง.

บทว่า อาคตํ ภารํ น วหติ ความว่า เป็นพระเถระอยู่ ไม่กระทำภาระ ๑๐ นั้นแหละด้วยตน หรือไม่ชักชวนมอบหมายผู้อื่น ชื่อว่าไม่นำพาภาระที่มาถึงเข้า.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๒

แม้ในสูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๔๔) ก็พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้แหละ.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๒

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ในสูตรที่ ๓ (ข้อ ๓๔๕) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อกปฺปิเย กปฺปิยสญฺี ได้แก่ ผู้มีความสำคัญในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ คือ เนื้อราชสีห์เป็นต้น อย่างนี้ว่า นี้เป็นกัปปิยะ.


(๑) วรรคนี้มี ๒๐ สูตร แต่อรรถกถาแก้ไว้เพียง ๑๖ สูตร จึงลงเลขข้อสูตรกำกับไว้.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 457

บทว่า กปฺปิเย อกปฺปิยสญฺี ได้แก่ ผู้มีความสำคัญในสิ่งที่เป็นกัปปิยะ มีเนื้อจระเข้และเนื้อแมวเป็นต้น อย่างนี้ว่า นี่เป็นอกัปปิยะ.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๓

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ในสูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๔๖) พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๔

อรรถกถาสูตรที่ ๕

ในสูตรที่ ๕ (ข้อ ๓๔๗) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อนาปตฺติยา อาปตฺติสญฺี ได้แก่ เป็นผู้มีความสำคัญในเรื่องที่ไม่เป็นอาบัติ เป็นต้นว่า ภิกษุทำความสะอาดภัณฑะ รมบาตร ตัดผม เข้าบ้านโดยบอกลานั้นอย่างนี้ว่า นี้เป็นอาบัติ. บทว่า อาปตฺติยา อนาปตฺติสญฺี ได้แก่ เป็นผู้มีความสำคัญในอาบัติเพราะไม่เอื้อเฟื้อต่อเรื่องเหล่านั้นนั่นแหละ นั้นอย่างนี้ว่า นี้ไม่เป็นอาบัติ.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๕

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ในสูตรที่ ๖ (ข้อ ๓๔๘) พึงทราบเนื้อความโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๖

อรรถกถาสูตรที่ ๗ - ๑๐

ในสูตรที่ ๗ - ๑๐ (ข้อ ๓๔๙ - ๓๕๒) มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๗ - ๑๐

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 458

อรรถกถาสูตรที่ ๑๑

ในสูตรที่ ๑๑ (ข้อ ๓๕๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อาสวา ได้แก่ กิเลส. บทว่า น กุกฺกุจฺจายิตพฺพํ ความว่า ความไม่ปรารถนาไม่วิจารณ์ส่วนในสงฆ์ ชื่อว่าสิ่งที่ไม่ควรรำคาญ. บทว่า กุกฺกุจฺจายิตพฺพํ ความว่า ไม่รำคาญความปรารถนาวิจารณ์ส่วนในสงฆ์นั้นนั่นแหละ.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑

อรรถกถาสูตรที่ ๑๒ เป็นต้น

ในสูตรที่ ๑๒ (ข้อ ๓๕๔ - ๓๖๒) พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๒ เป็นต้น

จบพาลวรรคที่ ๕

จบทุติยปัณณาสก์