พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อาสาวรรคที่ ๑ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 ต.ค. 2564
หมายเลข  38556
อ่าน  593

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 459

ตติยปัณณาสก์

อาสาวรรคที่ ๑

สูตรที่ ๑ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง 363/459

สูตรที่ ๒ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง 364/459

สูตรที่ ๓ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง 365/459

สูตรที่ ๔ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง 366/460

สูตรที่ ๕ ว่าด้วยคนพาล ๒ จําพวก 367/460

สูตรที่ ๖ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง 368/460

สูตรที่ ๗ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง 369/460

สูตรที่ ๘ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง 370/461

สูตรที่ ๙ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง 371/461

สูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง 372/461

สูตรที่ ๑๑ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง 373/462

สูตรที่ ๑๒ ว่าด้วยความหวัง ๒ อย่าง 374/462

อรรถกถาสูตรที่ ๑ 462

อรรถกถาสูตรที่ ๒ 463

อรรถกถาสูตรที่ ๓ 463

อรรถกถาสูตรที่ ๔ 464

อรรถกถาสูตรที่ ๕ 464

อรรถกถาสูตรที่ ๖ 464

อรรถกถาสูตรที่ ๗ 464

อรรถกถาสูตรที่ ๘ 464

อรรถกถาสูตรที่ ๙ 465

อรรถกถานอกนั้น ง่ายทั้งนั้น 465


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 459

ตติยปัณณาสก์

อาสาวรรคที่ ๑

สูตรที่ ๑

[๓๖๓] ๑๑๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหวัง ๒ อย่างนี้ ละได้ยาก ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความหวังในลาภ ๑ ความหวังในชีวิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหวัง ๒ อย่างนี้แล ละได้ยาก.

จบสูตรที่ ๑

สูตรที่ ๒

[๓๖๓] ๑๑๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ หาได้ยากในโลก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บุพพการีบุคคล ๑ กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แล หาได้ยากในโลก.

จบสูตรที่ ๒

สูตรที่ ๓

[๓๖๔] ๑๑๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ หาได้ยากในโลก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่พอใจ ๑ คนที่อิ่มหนำ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แล หาได้ยากในโลก.

จบสูตรที่ ๓

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 460

สูตรที่ ๔

[๓๖๖] ๑๒๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ ให้อิ่มได้ยาก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลผู้เก็บสิ่งที่ได้ไว้แล้วๆ ๑ บุคคลผู้สละสิ่งที่ได้แล้วๆ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แล ให้อิ่มได้ยาก.

จบสูตรที่ ๔

สูตรที่ ๕

[๓๖๗] ๑๒๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ ให้อิ่มได้ง่าย ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลผู้ไม่เก็บสิ่งที่ตนได้ไว้แล้วๆ ๑ บุคคลผู้ไม่สละสิ่งที่ตนได้แล้วๆ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แล ให้อิ่มได้ง่าย.

จบสูตรที่ ๕

สูตรที่ ๖

[๓๖๘] ๑๒๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งราคะ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุภนิมิต ๑ อโยนิโสมนสิการ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งราคะ ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๖

สูตรที่ ๗

[๓๖๙] ๑๒๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งโทสะ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ปฏิฆนิมิต ๑ อโยนิโสมนสิการ ๑

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 461

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งโทสะ ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๗

สูตรที่ ๘

[๓๗๐] ๑๒๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น ๑ อโยนิโสมนสิการ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๘

สูตรที่ ๙

[๓๗๑] ๑๒๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น ๑ โยนิโสมนสิการ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๙

สูตรที่ ๑๐

[๓๗๒] ๑๒๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ลหุกาบัติ ๑ ครุกาบัติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๑๐

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 462

สูตรที่ ๑๑

[๓๗๓] ๑๒๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อาบัติชั่วหยาบ ๑ อาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๑๑

สูตร ๑๒

[๓๗๔] ๑๒๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อาบัติที่มีส่วนเหลือ ๑ อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๑๒

จบอาสาวรรคที่ ๑

ตติยปัณณาสก์

อาสาวรรคที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๑

ตติยปัณณาสก์ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๖๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อาสา ได้แก่ ตัณหา ความอยาก. บทว่า ทุปฺปชหา ได้แก่ ละได้ยาก คือ นำออกได้ยาก. สัตว์ทั้งหลายใช้เวลา ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๖๐ ปีบ้าง รับใช้พระราชา ทำกสิกรรมเป็นต้น เข้าสู่สงความที่สองฝ่ายรบประชิดกัน ดำเนินอาชีพเลี้ยงแพะและทำหอกเป็นต้น แล่นเรือไปยังมหาสมุทร ด้วยหวังว่า พวกเราจักได้วันนี้ พวก

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 463

เราจักได้พรุ่งนี้ ดังนี้ เพราะความหวังในลาภเป็นเรื่องละได้ยาก แม้เมื่อถึงเวลาจะตาย ก็ยังสำคัญตนว่าจะอยู่ได้ ๑๐๐ ปี แม้จะเห็นกรรมและกรรมนิมิตเป็นต้น มีผู้หวังดีตักเตือนว่า จงให้ทาน จงทำการบูชาเถิด ก็ไม่เชื่อคำของใครๆ ด้วยหวังอย่างนี้ว่า เราจักยังไม่ตาย นี้เพราะความหวังในชีวิตเป็นเรื่องละได้ยาก.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๖๔) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปุพฺพการี ได้แก่ ผู้ทำอุปการะก่อน.

บทว่า กตฺูกตเวที ได้แก่ ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วตอบแทนภายหลัง. ในสองท่านนั้น ผู้ทำอุปการะก่อน ย่อมสำคัญว่า เราให้กู้หนี้ ผู้ตอบแทนภายหลัง ย่อมสำคัญว่า เราชำระหนี้.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๒

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ในสูตรที่ ๓ (ข้อ ๓๖๕) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ติตฺโต จ ตปฺเปตา จ ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระขีณาสพผู้เป็นสาวกของพระตถาคต ชื่อว่าผู้อิ่มแล้ว. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าผู้อิ่มแล้วด้วย ผู้ทำคนอื่นให้อิ่มด้วย.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๓

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 464

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ในสูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๖๖) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทุตฺตปฺปยา ความว่า ทายกทำให้อิ่มได้ยาก คือ การทำให้เขาอิ่ม ทำไม่ได้ง่าย. บทว่า นิกฺขิปติ ได้แก่ ไม่ให้ใคร ไม่ใช้สอยเอง. บทว่า วิสชฺเชติ ได้แก่ ให้แก่ผู้อื่น.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๔

อรรถกถาสูตรที่ ๕

ในสูตรที่ ๕ (ข้อ ๓๖๗) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า น วิสชฺเชติ ความว่า ไม่ให้แก่ผู้อื่นเสียทั้งหมดทีเดียว แต่ให้ถือเอาพอเยียวยาอัตภาพตน เหลือนอกนั้นไม่ให้.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๕

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ในสูตรที่ ๖ (ข้อ ๓๖๘) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สุภนิมิตฺตํ ได้แก่ อารมณ์ที่น่าปรารถนา.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๖

อรรถกถาสูตรที่ ๗

ในสูตรที่ ๗ (ข้อ ๓๖๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปฏิฆนิมิตฺตํ ได้แก่ นิมิตที่ไม่น่าปรารถนา.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๗

อรรถกถาสูตรที่ ๘

ในสูตรที่ ๘ (ข้อ ๓๗๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 465

บทว่า ปรโต จ โฆโ ได้แก่ การฟังอสัทธรรมจากสำนักของผู้อื่น.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๘

อรรถกถาสูตรที่ ๙

ในสูตรที่ ๙ (ข้อ ๓๗๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า รโต จ โฆโส ได้แก่ การฟังพระสัทธรรมจากสำนักของผู้อื่น.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๙

คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอาสาวรรคที่ ๑