พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อายาจนวรรคที่ ๒

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 ต.ค. 2564
หมายเลข  38568
อ่าน  386

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 466

ตติยปัณณาสก์

อายาจนวรรคที่ ๒

สูตรที่ ๑ ว่าด้วยภิกษุผู้มีศรัทธาพึงอ้อนวอนโดยชอบ 375/466

สูตรที่ ๒ ว่าด้วยภิกษุณีผู้มีศรัทธาพึงอ้อนวอนโดยชอบ 376/466

สูตรที่ ๓ ว่าด้วยอุบาสกผู้มีศรัทธาพึงอ้อนวอนโดยชอบ 377/466

สูตรที่ ๔ ว่าด้วยอุบาสิกาผู้มีศรัทธาพึงอ้อนวอนโดยชอบ 378/467

สูตรที่ ๕ ว่าด้วยอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการย่อมบริหารตนให้ถูกกําจัด 379/467
สูตรที่ ๖ ว่าด้วยอสัตบุรุษประกอบด้วยธรรม ๒ ประการย่อมบริหารตนให้ถูกกําจัด 380/468

สูตรที่ ๗ ว่าด้วยอสัตบุรุษปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จําพวกย่อมบริหารตนให้ถูกกําจัด 381/469

สูตรที่ ๘ ว่าด้วยอสัตบุรุษปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จําพวกย่อมบริหารตนให้ถูกจํากัด 382/469

สูตรที่ ๙ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 383/470

สูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 384/470

สูตรที่ ๑๑ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 385/471

อรรถกถาสูตรที่ ๑ 471

อรรถกถาสูตรที่ ๒ เป็นต้น 472

อรรถกถาสูตรที่ ๕ 472

อรรถกถาสูตรที่ ๖ 474

อรรถกถาสูตรที่ ๗ 474

อรรถกถาสูตรที่ ๘ 474

อรรถกถาสูตรที่ ๙ 475

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐ 475


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 466

อายาจนวรรคที่ ๒

สูตรที่ ๑

[๓๗๕] ๑๒๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสารีบุตรและภิกษุโมคคัลลานะนี้ เป็นตราชูมาตรฐานของภิกษุสาวกของเรา.

จบสูตรที่ ๑

สูตรที่ ๒

[๓๗๖] ๑๓๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นางภิกษุณีผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นภิกษุณีเขมาและอุบลวรรณาเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีเขมาและภิกษุณีอุบลวรรณานี้ เป็นตราชูมาตรฐานของภิกษุณีสาวิกาของเรา.

จบสูตรที่ ๒

สูตรที่ ๓

[๓๗๗] ๑๓๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นจิตตคฤหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตตคฤหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีนี้ เป็นตราชูมาตรฐานของอุบาสกสาวกของเราแล.

จบสูตรที่ ๓

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 467

สูตรที่ ๔

[๓๗๘] ๑๓๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นอุบาสิกาขุชชุตตราและนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดาเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาขุชชุตตราและนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดา เป็นตราชูมาตรฐานของอุบาสิกาสาวิกาของเรา.

จบสูตรที่ ๔

สูตรที่ ๕

[๓๗๙] ๑๓๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมาก ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ไม่พิจารณาไตร่ตรองพูด สรรเสริญคุณของคนที่ควรติเตียน ๑ ไม่พิจารณาไตร่ตรองพูดติโทษของคนที่ควรสรรเสริญ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ พิจารณาไตร่ตรองแล้วพูดติเตียนคนที่ควรติเตียน ๑ พิจารณาไตร่ตรองแล้วพูดสรรเสริญ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ การนี้แล ย่อม

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 468

บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย.

จบสูตรที่ ๕

สูตรที่ ๖

[๓๘๐] ๑๓๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ ไม่พิจารณาไตร่ตรองแล้วเกิดเลื่อมใสในฐานะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑ ไม่พิจารณาไตร่ตรองแล้วเกิดไม่เลื่อมใสในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ พิจารณาไตร่ตรองแล้วเกิดไม่เลื่อมใสในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เลื่อมใส ๑ พิจารณาไตร่ตรองแล้วเกิดเลื่อมใสในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารตน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 469

ไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย.

จบสูตรที่ ๖

สูตรที่ ๗

[๓๘๐] ๑๓๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย บุคคล ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ มารดา ๑ บิดา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย บุคคล ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ มารดา ๑ บิดา ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย.

จบสูตรที่ ๗

สูตรที่ ๘

[๓๘๒] ๑๓๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 470

ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย บุคคล ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคต ๑ สาวกของพระตถาคต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย บุคคล ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคต ๑ สาวกของพระตถาคต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย.

จบสูตรที่ ๘

สูตรที่ ๙

[๓๘๓] ๑๓๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว ๑ การไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๙

สูตรที่ ๑๐

[๓๘๔] ๑๓๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 471

เป็นไฉน คือ ความโกรธ ๑ ความผูกโกรธ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๑๐

สูตรที่ ๑๑

[๓๘๕] ๑๓๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การกำจัดความโกรธ ๑ การกำจัดความผูกโกรธ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๑๑

จบอายาจนวรรคที่ ๒

อายาจนวรรคที่ ๒

อรรถกถาสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๒ สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่าสทฺโธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เอวํ สมฺมา อายาจมาโน อายาเจยฺย ความว่า ภิกษุผู้มีศรัทธา เมื่อจะขอ คือ ต้องการปรารถนาอย่างนี้ว่า แม้เราก็จงเป็นเช่นพระสารีบุตรเถระทางปัญญา แม้เราก็จงเป็นเช่นพระโมคคัลลานเถระทางฤทธิ์ ดังนี้ ชื่อว่าพึงปรารถนาโดยชอบ เพราะปรารถนาสิ่งที่มีอยู่เท่านั้น. เมื่อปรารถนายิ่งกว่านี้ พึงปรารถนาผิด ด้วยว่าละความปรารถนา ๒ อย่างเสีย ปรารถนาเห็นปานนี้ ย่อมชื่อว่าปรารถนาผิด เพราะปรารถนาสิ่งที่ไม่มี. เพราะเหตุไร. บทว่า เอสา ภิกฺขเว เอตํ ปมาณํ ความว่า เหมือนอย่างว่า เมื่อจะชั่งทองหรือเงิน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 472

พึงใช้ตราชู เมื่อจะตวงข้าวเปลือก พึงใช้เครื่องตวง ตราชูเป็นมาตรฐานในการชั่ง และเครื่องตวงเป็นมาตรฐานในการตวง ด้วยประการดังนี้ ฉันใด สารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นเครื่องชั่ง เป็นเครื่องตวง สำหรับเหล่าภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา ยึดท่านทั้งสองนั้น จึงอาจที่จะชั่งหรือตวงตนว่า แม้เราก็เท่ากัน ทางญาณ หรือทางฤทธิ์ นอกไปจากนี้ไม่อาจจะชั่งหรือตวงได้.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๒ เป็นต้น

แม้ในสูตรที่ ๒ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ในสูตรนี้ แยกกันดังนี้.

บทว่า เขมา จ ภิกฺขุนี อุปฺปลวณฺณา จ ความว่า ก็บรรดาภิกษุณี ๒ รูปนั้น ภิกษุณีเขมาเลิศทางปัญญา ภิกษุณีอุบลวรรณาเลิศทางฤทธิ์ ฉะนั้น เมื่อขอโดยชอบ พึงขอว่า ขอเราจงเป็นแม้เช่นนี้ ทางปัญญาก็ตาม ทางฤทธิ์ก็ตาม แม้อุบาสิกาขุชชุตตราก็เลิศเพราะมีปัญญามาก นันทมารดา (๑) เลิศเพราะมีฤทธิ์มาก เพราะฉะนั้น เมื่อขอโดยชอบ พึงขอว่า ขอเราจงเป็นแม้เช่นนี้ ทางปัญญาก็ตาม ทางฤทธิ์ก็ตาม.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๒ เป็นต้น

อรรถกถาสูตรที่ ๕

สูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ขตํ ความว่า ชื่อว่าถูกกำจัด เพราะถูกกำจัดคุณความดี.


(๑) พระสูตรข้อ ๓๗๘ ว่า นางเวฬุกัณฏกีนันทมารดา.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 473

บทว่า อุปหตํ ความว่า ชื่อว่าถูกทำลาย เพราะถูกทำลายคุณความดี อธิบายว่า ถูกตัดคุณความดี ขาดคุณความดี เสียคุณความดี. บทว่า อตฺตานํ ปริหรติ ความว่า รักษาคุ้มครองตนที่ปราศจากคุณความดี. บทว่า สาวชฺโช แปลว่า มีโทษ. บทว่า สานุวชฺโช แปลว่า ถูกตำหนิ. บทว่า ปสวติ แปลว่า ย่อมได้. บทว่า อนนุวิจฺจ ได้แก่ ไม่รู้ ไม่พิจารณา. บทว่า อปริโยคาเหตฺวา แปลว่า ไม่สอบสวน. บทว่า อวณฺณารหสฺส ความว่า ของเดียรถีย์ก็ตาม ของสาวกเดียรถีย์ก็ตาม ผู้ปฏิบัติผิด ควรตำหนิ. บทว่า วณฺณํ ภาสติ ความว่า กล่าวคุณว่า ผู้นี้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ดังนี้. บทว่า วณฺณารหสฺส ความว่า บรรดาพระอริยบุคคลมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นองค์ใดองค์หนึ่งผู้ปฏิบัติชอบ. บทว่า อวณฺณํ ภาสติ ความว่า กล่าวโทษว่า ผู้นี้ปฏิบัติชั่ว ปฏิบัติผิด ดังนี้.

บทว่า อวณฺณารหสฺส อวณฺณํ ภาสติ ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ กล่าวตำหนิเดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์ ผู้ปฏิบัติชั่ว ปฏิบัติผิด ว่าเป็นผู้ปฏิบัติชั่วเพราะเหตุดังนี้บ้าง เป็นผู้ปฏิบัติผิดเพราะเหตุดังนี้บ้าง ชื่อว่าย่อมกล่าวตำหนิผู้ที่ควรตำหนิ. บทว่า วณฺณารหสฺส วณฺณํ ความว่า กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้าและเหล่าพุทธสาวกผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ว่าเป็นผู้ปฏิบัติดีเพราะเหตุดังนี้บ้าง เป็นผู้ปฏิบัติชอบเพราะเหตุดังนี้บ้าง.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 474

อรรถกถาสูตรที่ ๖

สูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อปฺปสาทนีเย าเน ได้แก่ ในเหตุที่ทำให้ไม่เลื่อมใส บทว่า ปสาทํ อุปธํเสติ ความว่า ให้เกิดความเลื่อมใสในข้อปฏิบัติชั่วข้อปฏิบัติผิดว่า นี้ข้อปฏิบัติดี ข้อปฏิบัติชอบ ดังนี้. บทว่า ปสาทนีเย าเน อปฺปสาทํ ความว่า ให้เกิดความไม่เลื่อมใสในข้อปฏิบัติดีข้อปฏิบัติชอบว่า นี้ข้อปฏิบัติชั่ว นี้ข้อปฏิบัติผิด ดังนี้. คำที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๖

อรรถกถาสูตรที่ ๗

สูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทฺวีสุ ได้แก่ ในโอกาสสอง ในเหตุสอง. บทว่า มิจฺฉาปฏิปชฺชมาโน ได้แก่ ถือข้อปฏิบัติผิด. บทว่า มาตริ จ ปิตริ จ ความว่า ปฏิบัติผิดในมารดาเหมือนนายมิตตวินทุกะ ปฏิบัติผิดในบิดาเหมือนพระเจ้าอชาตศัตรู. ธรรมฝ่ายขาว พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล

จบอรรถกถาสูตรที่ ๗

อรรถกถาสูตรที่ ๘

สูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ตถาคเต จ ตถาคตสาวเก เจ ความว่า ปฏิบัติผิดในพระตถาคต เช่น พระเทวทัต และปฏิบัติผิดในสาวกของพระตถาคต

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 475

เช่น พระโกกาลิกะ. ในฝ่ายขาว ปฏิบัติชอบในพระตถาคต เช่น พระอานนทเถระ และปฏิบัติชอบในสาวกของพระตถาคต เช่น บุตรของเศรษฐีผู้เลี้ยงโคชื่อนันทะ.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๘

อรรถกถาสูตรที่ ๙

สูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สจิตฺตโวทานํ แปลว่า ความผ่องแผ้วแห่งจิตของตน บทนี้ เป็นชื่อของสมาบัติ ๘. บทว่า น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ ความว่า ไม่ถือ คือ ไม่แตะต้องบรรดาธรรมมีรูปเป็นต้นแม้ธรรมอย่างหนึ่งไรๆ ในโลก. ในสูตรนี้ ความไม่ถือมั่น เป็นธรรมที่ ๒ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๙

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐ - ๑๑

สูตรที่ ๑๐ และสูตรที่ ๑๑ ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐ - ๑๑

จบอายาจนวรรคที่ ๒