สันถาวรรคที่ ๔
[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 483
ตติยปัณณาสก์
สันถารวรรคที่ ๔
สูตรที่ ๑ ว่าด้วยสันถาร ๒ อย่าง 396/483
สูตรที่ ๒ ว่าด้วยปฏิสันถาร ๒ อย่าง 397/483
สูตรที่ ๓ ว่าด้วยเอสนา ๒ อย่าง 398/483
สูตรที่ ๔ ว่าด้วยปริเยสนา ๒ อย่าง 399/484
สูตรที่ ๕ ว่าด้วยปริเยฏฐิ ๒ อย่าง 400/484
สูตรที่ ๖ ว่าด้วยการบูชา ๒ อย่าง 401/484
สูตรที่ ๗ ว่าด้วยการต้อนรับแขก ๒ อย่าง 402/485
สูตรที่ ๘ ว่าด้วยความสําเร็จ ๒ อย่าง 403/485
สูตรที่ ๙ ว่าด้วยความเจริญ ๒ อย่าง 404/485
สูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยรัตนะ ๒ อย่าง 405/486
สูตรที่ ๑๑ ว่าด้วยความสะสม ๒ อย่าง 406/486
สูตร ๑๒ ว่าด้วยความไพบูลย์ ๒ อย่าง 407/486
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 483
สันถารวรรคที่ ๔
สูตรที่ ๑
[๓๙๖] ๑๕๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สันถาร ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อามิสสันถาร ๑ ธรรมสันถาร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สันถาร ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสันถาร ๒ อย่างนี้ ธรรมสันถารเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑
สูตรที่ ๒
[๓๙๗] ๑๕๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสันถาร ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อามิสปฏิสันถาร ๑ ธรรมปฏิสันถาร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสันถาร ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาปฏิสันถาร ๒ อย่างนี้ ธรรมปฏิสันถารเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๒
สูตรที่ ๓
[๓๙๘] ๑๕๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เอสนา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อามิสเอสนา การเสาะหาอามิส ๑ ธรรมเอสนา การเสาะหาธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เอสนา ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาเอสนา ๒ อย่างนี้ ธรรมเอสนาเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 484
สูตรที่ ๔
[๓๙๙] ๑๕๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริเยสนา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อามิสปริเยสนา การแสวงหาอามิส ๑ ธรรมปริเยสนา การแสวงหาธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริเยสนา ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาปริเยสนา ๒ อย่างนี้ ธรรมปริเยสนาเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๔
สูตรที่ ๕
[๔๐๐] ๑๕๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริเยฏฐิ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อามิสปริเยฏฐิ การแสวงหาอามิสอย่างสูง ๑ ธรรมปริเยฏฐิ การแสวงหาธรรมอย่างสูง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริเยฏฐิ ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาปริเยฏฐิ ๒ อย่างนี้ ธรรมปริเยฏฐิเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๖
[๔๐๑] ๑๕๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อามิสบูชา ๑ ธรรมบูชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบูชา ๒ อย่างนี้ ธรรมบูชาเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 485
สูตรที่ ๗
[๔๐๒] ๑๕๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ของต้อนรับแขก ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ของต้อนรับคืออามิส ๑ ของต้อนรับคือธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ของต้อนรับแขก ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาของต้อนรับแขก ๒ อย่างนี้ ของต้อนรับแขกคือธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๗
สูตรที่ ๘
[๔๐๓] ๑๕๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสำเร็จ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความสำเร็จคืออามิส ๑ ความสำเร็จคือธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสำเร็จ ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาความสำเร็จ ๒ อย่างนี้ ความสำเร็จคือธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๘
สูตรที่ ๙
[๔๐๔] ๑๕๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเจริญ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเจริญด้วยอามิส ๑ ความเจริญด้วยธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเจริญ ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเจริญ ๒ อย่างนี้ ความเจริญด้วยธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 486
สูตรที่ ๑๐
[๔๐๕] ๑๕๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รัตนะ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ รัตนะคืออามิส ๑ รัตนะคือธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รัตนะ ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดารัตนะ ๒ อย่างนี้ รัตนะคือธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑๐
สูตรที่ ๑๑
[๔๐๖] ๑๖๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสะสม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความสะสมอามิส ๑ ความสะสมธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสะสม ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาความสะสม ๒ อย่างนี้ ความสะสมธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑๑
สูตรที่ ๑๒
[๔๐๗] ๑๖๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความไพบูลย์แห่งอามิส ๑ ความไพบูลย์แห่งธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้ ความไพบูลย์แห่งธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑๒
จบสันถารวรรคที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 487
สันถารวรรคที่ ๔ (๑)
อรรถกถาสูตรที่ ๑
วรรคที่ ๔ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๙๖) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การปูลาดด้วยปัจจัย ๔ โดยปกปิดช่องว่างตนและคนอื่น ชื่อว่า อามิสสันถาร. การปูลาดด้วยธรรม ชื่อว่า ธรรมสันถาร.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๒
ในสูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๙๗) แปลกกันเพียงอุปสรรค
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๓
ในสูตรที่ ๓ (ข้อ ๓๙๘) การหาอามิสมีประการดังกล่าวแล้ว ชื่อว่า อามิสเอสนา. การหาธรรม ชื่อว่า ธรรมเอสนา.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓
อรรถกถาสูตรที่ ๔
ในสูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๙๙) แปลกกันเพียงอุปสรรค.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๕
ในสูตรที่ ๕ (ข้อ ๔๐๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
(๑) อรรถกถาแก้ไว้สั้นๆ จึงเรียงติดต่อกันไปทั้งวรรค โดยลงเลขข้อสูตรกำกับไว้ด้วย.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 488
การแสวงหาอามิสถึงที่สุด ท่านเรียกว่า อามิสปริเยฏิ การแสวงหาธรรมถึงที่สุด ท่านเรียกว่า ธรรมปริเยฏิ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๖
ในสูตรที่ ๖ (ข้อ ๔๐๑) การบูชาอามิส ชื่อว่า อามิสบูชา การบูชาด้วยธรรม ชื่อว่า ธรรมบูชา.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖
อรรถกถาสูตรที่ ๗
ในสูตรที่ ๗ (ข้อ ๔๐๒) บทว่า อติเถยฺยานิ ได้แก่ ทานเพื่อผู้จรมา (ของรับแขก). ปาฐะว่า อภิเถยฺยานิ ดังนี้ก็มี.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗
อรรถกถาสูตรที่ ๘
ในสูตรที่ ๘ (ข้อ ๔๐๓) อามิสอิทธิ ชื่อว่า อามิสอิทธิ ให้สำเร็จเสร็จสรรพ แม้ธรรมก็ชื่อว่า ธรรมอิทธิ เพราะให้สำเร็จเสร็จสรรพ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘
อรรถกถาสูตรที่ ๙
ในสูตรที่ ๙ (ข้อ ๔๐๔) ความเจริญด้วยอามิส ชื่อว่า อามิสวุฒิ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 489
ความเจริญด้วยธรรม ชื่อว่า ธรรมวุฒิ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
ในสูตรที่ ๑๐ (ข้อ ๔๐๕) อามิสที่ทำให้เกิดความยินดี ชื่อว่า อามิสรัตนะ ธรรม ชื่อว่า ธรรมรัตนะ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐
อรรถกถาสูตรที่ ๑๑
ในสูตรที่ ๑๑ (ข้อ ๔๐๖) การสะสมเพิ่มพูนอามิส ชื่อว่า อามิสสันนิจยะ การสะสมเพิ่มพูนธรรม ชื่อว่า ธรรมสันนิจยะ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑
อรรถกถาสูตรที่ ๑๒
ในสูตรที่ ๑๒ (ข้อ ๔๐๗) ความไพบูลย์แห่งอามิส ชื่อว่า อามิสเวปุลละ ความไพบูลย์แห่งธรรม ชื่อว่า ธรรมเวปุลละ แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๒
จบสันถารวรรคที่ ๔