สมาปัตติวรรคที่ ๕ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง
[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 490
ตติยปัณณาสก์
สมาปัตติวรรคที่ ๕
สูตรที่ ๑ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 408/490
สูตรที่ ๒ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 409/490
สูตรที่ ๓ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 410/490
สูตรที่ ๔ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 411/490
สูตรที่ ๕ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 412/491
สูตรที่ ๖ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 413/491
สูตรที่ ๗ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 414/491
สูตรที่ ๘ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 415/492
สูตรที่ ๙ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 416/492
สูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 417/492
สูตรที่ ๑๑ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 418/492
สูตรที่ ๑๒ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 419/493
สูตรที่ ๑๓ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 420/493
สูตรที่ ๑๔ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 421/493
สูตรที่ ๑๕ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 422/493
สูตรที่ ๑๖ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 423/494
สูตรที่ ๑๗ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง 424/494
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 490
สมาปัตติวรรคที่ ๕
สูตรที่ ๑
[๔๐๘] ๑๖๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑
สูตรที่ ๒
[๔๐๙] ๑๖๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ซื่อตรง ๑ ความเป็นผู้อ่อนโยน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๒
สูตรที่ ๓
[๔๑๐] ๑๖๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ขันติ ๑ โสรัจจะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๓
สูตรที่ ๔
[๔๑๑] ๑๖๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 491
เป็นไฉน คือ ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน ๑ การต้อนรับแขก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๔
สูตรที่ ๕
[๔๑๒] ๑๖๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความไม่เบียดเบียน ๑ ความเป็นคนสะอาด ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๖
[๔๑๓] ๑๖๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๖
สูตรที่ ๗
[๔๑๔] ๑๖๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 492
สูตรที่ ๘
[๔๑๕] ๑๖๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ กำลังคือการพิจารณา ๑ กำลังคือการอบรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๘
สูตรที่ ๙
[๔๑๖] ๑๗๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ กำลังคือสติ ๑ กำลังคือสมาธิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๙
สูตรที่ ๑๐
[๔๑๗] ๑๗๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๐
สูตรที่ ๑๑
[๔๑๘] ๑๗๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ศีลวิบัติ ๑ ทิฏฐิวิบัติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 493
สูตรที่ ๑๒
[๔๑๙] ๑๗๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ศีลสมบัติ ๑ ทิฏฐิสมบัติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๒
สูตรที่ ๑๓
[๔๒๐] ๑๗๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ศีลบริสุทธิ์ ๑ ทิฏฐิบริสุทธิ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๓
สูตรที่ ๑๔
[๔๒๑] ๑๗๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ทิฏฐิบริสุทธิ์ ๑ ความเพียรที่สมควรแก่ทิฏฐิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๔
สูตรที่ ๑๕
[๔๒๒] ๑๗๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ยังไม่พอในกุศลธรรม ๑ ความเป็นผู้ไม่ท้อถอยในความเพียร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 494
สูตรที่ ๑๖
[๔๒๓] ๑๗๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นคนหลงลืมสติ ๑ ความไม่รู้สึกตัว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๖
สูตรที่ ๑๗
[๔๒๔] ๑๗๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สติ ๑ สัมปชัญญะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๗
จบสมาปัตติวรรคที่ ๕
จบตติยปัณณาสก์
สมาปัตติวรรคที่ ๕ (๑)
อรรถกถาสูตรที่ ๑
สมาปัตติวรรคที่ ๕ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๔๐๘) มีวินัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมาปตฺติกุสลตา ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในการกำหนดอาหารสัปปายะเข้าสมาบัติ. บทว่า สมาปตฺติวุฏฺานกุสลตา ความว่า เมื่อได้เวลาตามกำหนดเป็นผู้ฉลาดออก. ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในการออกจาก
(๑) วรรคนี้ประกอบด้วยพระสูตร ๑๗ สูตร อรรถกถาแก้ไว้สั้นๆ จึงลงติดต่อกันไปทั้งวรรค โดยลงหัวข้อบาลีประจำสูตรกำกับไว้ด้วย.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 495
สมาบัติ เพราะฉะนั้น ผู้นี้ชื่อว่าฉลาด ดังนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๒
ในสูตรที่ ๒ (ข้อ ๔๐๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อาชฺชวํ แปลว่า ความตรง. บทว่า มทฺทวํ แปลว่า ความอ่อนโยน.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๓
ในสูตรที่ ๓ (ข้อ ๔๐๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ขนฺติ ได้แก่ อธิวาสนขันติ. บทว่า โสรจฺจํ ได้แก่ ความเรียบร้อย ความสงบเสงี่ยม.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓
อรรถกถาสูตรที่ ๔
ในสูตรที่ ๔ (ข้อ ๔๑๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สาขลฺยํ ได้แก่ ความชื่นชมโดยใช้วาจาอ่อนหวาน. บทว่า ปฏิสนฺถาโร ได้แก่ การต้อนรับด้วยอามิสก็ตาม ด้วยธรรมก็ตาม ชื่อว่าปฏิสันถาร.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 496
อรรถกถาสูตรที่ ๕
ในสูตรที่ ๕ (ข้อ ๔๑๒) มีวินิจฉัยต่อไปนี้.
บทว่า อวิหึสา ได้แก่ธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้นของกรุณา. บทว่า โสเจยฺยํ ได้แก่ ความสะอาดโดยศีล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๖ - ๗
ในสูตรที่ ๖ และสูตรที่ ๗ (ข้อ ๔๑๓ - ๔๑๔) มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
อรรถกถาสูตรที่ ๘
ในสูตรที่ ๘ (ข้อ ๔๑๕) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปฏิสงฺขานพลํ ได้แก่ กำลังคือการพิจารณา.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘
อรรถกถาสูตรที่ ๙
ในสูตรที่ ๙ (ข้อ ๔๑๖) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ชื่อว่า กำลังคือสติ เพราะเมื่อหลงลืมสติ ก็ไม่หวั่นไหว. ชื่อว่า กำลังคือสมาธิ เพราะเมื่อฟุ้งซ่าน ก็ไม่หวั่นไหว.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
ในสูตรที่ ๑๐ (ข้อ ๔๑๗) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 497
บทว่า สมโถ ได้แก่ ความที่จิตแน่วแน่. บทว่า วิปสฺสนา ได้แก่ ญาณกำหนดสังขารเป็นอารมณ์.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐
อรรถกถาสูตรที่ ๑๑
ในสูตรที่ ๑๑ (ข้อ ๔๑๘) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สีลวิปตฺติ ได้แก่ ความทุศีล. บทว่า ทิฏฺิวิปตฺติ ได้แก่ มิจฉาทิฏฐิ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑
อรรถกถาสูตรที่ ๑๒
ในสูตรที่ ๑๒ (ข้อ ๔๑๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สีลสมฺปทา ได้แก่ ความมีศีลบริบูรณ์. บทว่า ทิฏฺิสมฺปทา ได้แก่ ความเป็นสัมมาทิฏฐิ. ด้วยบทนั้น สัมมาทิฏฐิแม้ทั้งปวง ที่สงเคราะห์ด้วยสัมมาทิฏฐิ คือ กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ ฌานสัมมาทิฏฐิ วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ มัคคสัมมาทิฏฐิ ผลสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า สัมมาทิฏิ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๒
อรรถกถาสูตรที่ ๑๓
ในสูตรที่ ๑๓ (ข้อ ๔๒๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สีลวิสุทฺธิ ได้แก่ ศีลที่บ่มวิสุทธิ. บทว่า ทิฏฺิวิสุทฺธิ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 498
ได้แก่ สัมมาทิฏฐิในมรรคทั้ง ๔ ที่บ่มวิสุทธิ หรือสัมมาทิฏฐิทั้ง ๕ อย่าง.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๓
อรรถกถาสูตรที่ ๑๔
ในสูตรที่ ๑๔ (ข้อ ๔๒๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทิฏฺิวิสุทฺธิ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิที่บ่มวิสุทธินั่นแล. บทว่า ยถา ทิฏฺิสฺส จ ปธานํ ความว่า ความเพียรที่สัมปยุตด้วยมรรคเบื้องต่ำนั้น ท่านกล่าวว่า ยถา ทิฏฺสฺส จ ปธานํ เพราะอนุรูปแก่ทิฏฐินั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๔
อรรถกถาสูตรที่ ๑๕
ในสูตรที่ ๑๕ (ข้อ ๔๒๒) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อสนฺตุฏฺิตา จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ ความเป็นผู้ไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย นอกจากอรหัตตมรรค.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๕
อรรถกถาสูตรที่ ๑๖
ในสูตรที่ ๑๖ (ข้อ ๔๒๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า มุฏฺสจฺจํ แปลว่า ความเป็นผู้หลงลืมสติ. บทว่า อสมฺปชฺํ ได้แก่ ความไม่รู้ตัว.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๖