ความหนาแน่นและความลึกซึ้งของความไม่รู้

 
เมตตา
วันที่  21 ต.ค. 2565
หมายเลข  44830
อ่าน  359

ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ทุกๆ วันที่ตื่นขึ้นมาเห็น ก็เป็นเราเห็น มีความไม่รู้มากมายมหาศาลแค่ไหนที่จะรู้ว่า เห็นเป็นเห็น ไม่ใช่เราเห็น มีเพียงคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะให้เข้าใจเห็นตามความเป็นจริงได้ จึงต้องฟังคำของผู้ที่ตรัสรู้ความจริงของทุกสิ่งทุกอย่างที่กำลังปรากฏมีในชีวิตประจำวัน จึงรู้ว่าความไม่รู้หนาแน่นแค่ไหน จึงฟังคำของพระองค์เพื่อที่จะอบรมเจริญปัญญาค่อยๆ ละความไม่รู้ และความยึดถือในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏว่า เป็นเราได้ ความรู้ถูกเป็นปัญญา ตรงข้ามกับความไม่รู้ เพราะฉะนั้น หนทางแห่งการอบรมเจริญความเห็นถูกเข้าใจถูกต้องในสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ ไม่ใช่ขณะอื่นเพราะธรรมกำลังปรากฏที่นี่ เดี๋ยวนี้ ไม่ต้องไปแสวงหาธรรมที่อื่นเพราะมีธรรมกำลังปรากฏอยู่ขณะนี้ให้ปัญญารู้ได้.

ข้อความบางตอนจากท่านอาจารย์สุจนต์:-

สุ. ในพระไตรปิฎกใช้พยัญชนะว่า ปรารภความเพียร ปรารภ คือ เริ่มตั้ง หรือมีความเพียร มีสติเกิดขึ้นบ่อยๆ เพราะสติเกิดแล้วก็ดับ สติไม่ได้คงอยู่ ไม่ได้ตั้งอยู่ สติระลึกลักษณะของนามใดรูปใดแล้วก็ดับไป แล้วสติก็เกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของนามอื่นรูปอื่นแล้วก็ดับไป แล้วแต่ว่าสติจะระลึกเป็นไปในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม จนกว่าปัญญาจะรู้ชัด

จุดประสงค์ของการเจริญสติปัฏฐาน คือ ปัญญาที่รู้ชัด ไม่ต้องเป็นห่วงเป็นกังวลว่า สติจะเกิดมากหรือน้อย กะเกณฑ์กำหนดวันเวลาไม่ได้

เห็นมีไหม สีมีไหม เพราะฉะนั้น ก็พิจารณาได้ เพื่อให้ปัญญารู้ชัด ได้ยินก็จริง มีจริงๆ เสียงก็มีจริงๆ เป็นของจริงที่จะให้สติระลึกรู้ลักษณะนั้นตามความเป็นจริงได้

..................................................................................................................................

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 617

อภิญญาวรรคที่ ๖

๑. อภิญญาสูตร

ว่าด้วยธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญา ๔

[๒๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ๔ ประการ เป็นไฉน คือ ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกำหนดรู้ไว้ก็มี ธรรมที่รู้ยิ่งด้วย ปัญญาแล้วพึงละเสียก็มี ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงให้เจริญก็มี ธรรมที่ รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกระทำให้แจ้งก็มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกำหนดรู้เป็นไฉน คือ อุปาทานขันธ์ ๕ นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกำหนดรู้ไว้ ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงละเสียเป็นไฉน คือ อวิชชา และภวตัณหา นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงละเสีย ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญา แล้ว พึงให้เจริญเป็นไฉน คือ สมถะและวิปัสสนา นี้เราเรียกว่า ธรรมที่ รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงให้เจริญ ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกระทำให้แจ้ง เป็นไฉน คือ วิชชาและวิมุตติ นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงกระทำให้แจ้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล.

จบอภิญญาสูตรที่

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

ปัญญาไม่มี ปฏิบัติไม่ได้!!

ขอเชิญคลิกฟังได้ที่ ...

ฟังจนมีความเข้าใจมั่นคงขึ้น

ยิ่งฟังมาก ยิ่งเข้าใจลึกซึ้งมาก

กราบเท้าท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 21 ต.ค. 2565

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

ไม่หวั่นไหวเพราะเข้าใจความจริง

คำจริงเพื่อเข้าใจความจริง

ความจริงที่ควรรู้

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ