ความหมายของคำว่า เมตตา
เมตตา คือ ความเป็นมิตร ความปรารถนาดีต่อบุคคลอื่น โดยไม่จำเพาะเจาะจง เมตตาจะมีได้ต้องอาศัยการเจริญอบรมในชีวิตประจำวันนั่นเอง โดยเริ่มจากบุคคลที่ใกล้ตัวเราที่สุด แล้วค่อยๆ ขยายวงกว้างออกไปขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงบุคคลที่ไม่เป็นที่รักคือศัตรู
เมตตา มีข้าศึกใกล้คือโลภะ ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก เพราะฉะนั้นจึงต้องเป็นผู้ที่ละเอียด พิจารณาสภาพจิตในขณะนั้นว่าเป็นเมตตาหรือโลภะ มิเช่นนั้นแทนที่จะเจริญเมตตาก็อาจจะกลายเป็นการเจริญโลภะ
ขอเชิญอ่านจากกระทู้เดิมครับ >> เห็นประโยชน์ของการมีเมตตา
สิ่งที่สำคัญมากควบคู่ไปกับการเจริญเมตตา คือ การเงี่ยโสตลงสดับ พิจารณาพระธรรมที่ฟัง หรือศึกษาด้วยความแยบคาย ใส่ใจอย่างยิ่ง ในพระธรรมขั้นปริยัติ เพื่อให้เกิดสัจญาณในเรื่องของ "เมตตา" เมื่อสติปัฏฐานเกิดระลึกรู้ในสภาพของกุศลจิต จะเป็นปัจจัยให้ปัญญา สามารถรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงของขณะจิตที่ประกอบไปด้วยเมตตา หรืออโทสเจตสิก ที่เกิดและปรากฏอาการอย่างชัดเจนได้โดยไม่ใช่อาการของตัวตน แล้วค่อยๆ น้อมไปในความเป็นอนัตตสัญญาครับ ความจริงอีกประการสำคัญ คือ " ไม่มีใครตามรักษาจิตให้ใครได้" จิตของใครเป็นอกุศล ก็ต้องตามรักษาจิตของตนด้วยปัญญาครับ
ข้อความบางตอนว่าด้วยเรื่องของ "เมตตา"
ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
"ผู้ใดมีเมตตาจิต ผู้นั้นย่อมไม่มีเวรกับใครๆ "
ข้อความนี้สำคัญและลึกซึ้ง ควรแก่การจดจำครับ
การอบรมเมตตา ต้องค่อยๆ อบรม จะให้มีมากเลยไม่ได้ อาศัยการฟังธรรมที่เกี่ยวกับเมตตา ย่อมทำให้เมตตาเจริญขึ้นได้ครับ ขออนุโมทนา
เมตตา คือความรู้สึกที่เป็นมิตร หวังดี เกื้อกูล เอ็นดู ช่วยเหลือ ปรารถนาให้เขามีความสุข ถ้าเราเห็นโทษของความโกรธ เมตตาก็เกิดได้ในขณะนั้น เมตตาควรเจริญจนกว่าจะเป็นปกติในชีวิตประจำวัน เพราะทำให้จิตสงบเป็นกุศล ทำให้อ่อนโยนและสามารถให้อภัยกับคนที่พูดไม่ดี ทำไม่ดีกับเรา ทุกขณะที่เราเห็น หรือได้ยิน เป็นผลของกรรม ให้คิดถึง เราทำเหตุมาดีหรือไม่ดี ก็ได้รับเหตุนั้นตามกรรมค่ะ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ผู้ไม่โกรธ ฝึกฝนตนแล้ว มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอหลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ สงบ คงที่อยู่ความโกรธจักมีมาแต่ไหน ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ลามกกว่าบุคคลผู้โกรธนั้นแหละเพราะการโกรธตอบนั้น บุคคลไม่โกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ชื่อว่าชนะสงครามอันบุคคลชนะได้โดยยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้วเป็นผู้มีสติสงบเสียได้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือ แก่ตนและแก่บุคคลอื่น เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์ทั้งสองฝ่ายคือ ของตนและของผู้อื่นชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรมย่อมสำคัญว่าบุคคลนั้นเป็นคนเขลา ดังนี้ ฯ (บางตอนจากเมตตา)
เป็นสาคร เพราะอาศัยความลึกซึ้ง ขันติเป็นสิ่งที่ลึกซึ้งจริงๆ มีเหตุที่อกุศลเกิดบ่อยกว่ากุศล ถ้าสติสัมปชัญญะเกิด เห็นว่าขณะใด เป็นอกุศล แล้วมีความอดทนต่อการที่จะไม่เป็นอกุศลนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นโลภะ เป็นโทสะ ความริษยา ความตระหนี่ หรือความสำคัญตน ขณะนั้นจะเห็นความลึกซึ้งจริงๆ ว่า ถ้าไม่รู้ก็ไม่สามารถจะบำเพ็ญขันติ บารมีได้ ฉะนั้น ขันติบารมีและสติสัมปชัญญะจึงเป็นสิ่งที่ละเอียดมาก เพราะจะทำให้อดทนต่ออกุศลต่างๆ ได้ เป็นฝั่งของมหาสาครคือ โทสะ เป็นบานประตูปิดประตูอบาย หลายคนกลัวอบายภูมิ ที่ทำกุศลก็เพราะไม่อยากจะเกิดในอบายภูมิ แต่ถ้าจะไม่เกิดในอบายภูมิ ก็ต้องเป็นผู้ที่อดทน เพราะความอดทน เป็นบานประตูที่ปิดประตูอบาย (จาก ... พุทธธรรม)