ต้องมั่นคงเดี๋ยวนี้มีธาตุรู้แน่นอน_สนทนาธรรม ไทย-ฮินดี วันเสาร์ที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๖

 
เมตตา
วันที่  26 ส.ค. 2566
หมายเลข  46460
อ่าน  371

- เพราะฉะนั้น เรื่องของอเหตุกวิบากไม่มีปัญหาอะไรนะ (ตอนนี้ยังไม่มีคำถาม) เพราะฉะนั้น เราจะพูดถึงวิถีจิตทางตาหรือทางหู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะว่าขณะนี้กำลังเห็น กำลังได้ยิน เป็นต้น.

- ก่อนเห็นมีจิตไหม? (มี) จิตอะไร? (อาวัชชนะ) ก่อนอาวัชชนะมีจิตหรือเปล่า? (มี) ก่อนวิถีจิตมีจิตอะไร? (ภวังค์) กี่ภวังค์? (๓) ก่อนภวังค์ ๓ ขณะมีภวังค์ไหม? (มี) เท่าไหร่คะ? (กี่ภวังค์ไม่สามารถจะรู้ได้แต่ว่าภวังค์ทำกิจดำรงชีวิตต่อเกิดดับต่อเนื่องจนกว่าจะมีอารมณ์กระทบทาง ๕ ทวาร) กระทบทาง ๕ ทวารหรือ ๖ ทวาร? (๖ ทวาร แกยังไม่ได้พูด ๕ ทวารแต่คงหมายถึง ๖ ทวาร) เก่งมาก เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องเป็นชีวิตจรองๆ เป็นความเข้าใจเริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

- ทำไมมีภวังค์ ๓ ขณะก่อนเห็น ทั้ง ๕ ทวาร? (๓ วิถีนี้หมายถึงว่า..) ขอโทษนะ ๓ วิถีหรือ? (๓ ภวังค์ครับ ๓ ภวังค์นี้รู้ว่า จบ ๓ ภวังค์นี้ต้องเป็นวิถีจิต) ๓ ภวังค์นั้นอะไรบ้าง? (คือ อตีตภวังค์ ภวังคจลนะ แล้วก็ภวังคุปเฉทะ) อตีตภวังค์คืออะไร? (อาช่าไม่แนาใจความหมายคืออะไรแต่รู้ว่าเกี่ยวกับอดีตแล้วก็เกี่ยวข้องกับการเป็นว่าอาดีตถึงจุดนั้นก็เกี่ยวกับตรงนั้นครับ) ไม่ใช่เลย ที่ใช้คำว่าอตีตภวังค์ หมายความว่ามีรูปที่เป็นอารมณ์กระทบปสาทะ ทุกครั้งที่ได้ยินคำว่าอตีตภวังค์หมายความถึงภวังค์เฉพาะที่เกิดก่อนวิถีจิตเพราะภวังค์นับไม่ถ้วน ถ้าไม่พูดถึงวิถีจิตจะไม่พูดถึงภวังค์ต่างๆ เพราะเป็นภวังค์ทั้งหมด.

- เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่ได้ยินคำว่าอตีตภวังค์ หมายความถึงรูปกระทบทวารหนึ่งทวารใดใน ๕ ทวาร รูปกระทบภวังค์แล้วภวังค์ยังไม่ไหวได้ไหม? (ไม่ไหวครับ) ขอโทษนะ ฟังดีๆ รูปกระทบปสาทะซึ่งเป็นทวารเป็นอตีตภวังค์ที่ถูกกระทบ แล้วภวังค์ต่อไปไม่ไหวได้ไหม? (ไหวครับ) กระทบภวังค์ขณะที่ ๑ ภวังค์ยังไม่ไหวก็ได้ นี่เป็นความละเอียดของธรรมซึ่งเราไม่สามารถจะรู้เลยถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงความเป็นไปของแต่ละขณะ (คุณสุคิน: ท่านอาจารย์หมายถึงว่ากระทบแล้วอตีตภวังค์ไม่ไหวใช่ไหม?) ขอโทษค่ะ เมื่ออตีตภวังค์ดับแล้วอะไรเกิดต่อ? (ภวังคจละครับ) แต่คำถามว่า ภวังคจลนะไม่เกิดได้ไหมเมื่ออตีตภวังค์อารมณ์กระทบแล้วดับไป? (เขาตอบว่าไม่ได้) นี่คือ เราไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเราไม่สามารถที่จะรู้ความละเอียดได้ พระองค์ทรงแสดงความต่างกันของการกระทบกันแล้ววิถีจิต (คุณสุคินความหมายของท่านอาจารย์ หมายความว่าถ้าโดยปกติแล้วต้องเกิดภวังคจลนะแต่ตรงนี้ ... ) ปกติหรือไม่ปกติเรารู้ไม่ได้เลย เดี๋ยวนี้ (เรารู้ไม่ได้เลย) แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงให้รู้ความจริงว่า ความจริงละเอียดมาก มีมากมายต่างกันหลายอย่าง.

- เพราะฉะนั้น พระองค์ทรงแสดงความต่างกันของทวารทั้ง ๕ เมื่ออารมณ์กระทบว่า อารมณ์กระทบปสาทะอารมณ์กระทบครั้งแรกเป็นอตีตภวังค์ดับแล้ว ขณะต่อไปจะเป็นภวังคจลนะหรือยังไม่เป็นภวังคจลนะ แต่ก็ยังเป็นอตีตภวังค์ได้ต่อไปอีก.

- มีคำถามอะไรไหม? (เขาได้ยินว่า ถ้าอารมณ์กระทบปสาทะจิตแรกเป็นอตีตภวังค์ดับไปและถ้าภวังคจละไม่เกิด ตอนนี้เลยมีคำถามว่าถ้าภวังคจลนะไม่เกิดแล้วจะมีภวังคุปเฉทะได้เปล่า?) อารมณ์ดับแล้วหรือยัง? (ยังครับ) เพราะฉะนั้น อารมณ์ก็กระทบภวังค์เป็นอตีตภวังค์ยังไม่เป็นภวังคจลนะได้ แต่เราไม่รู้ว่ากี่ขณะ.

- พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงให้รู้ว่าการที่จิตจะรู้อารมณ์เป็นวิถีจิตจะต่างกันตามขณะที่อตีตภวังค์เกิดและภวังคจลนะยังไม่เกิด (ท่านอาจารย์ว่าอะไรต่างกันนะ) หมายความว่าวิถีจิตที่จะรู้อารมณ์มากน้อยต่างกันแล้วแต่ว่าอตีตภวังค์ดับแล้วภวังคจลนะจะเกิดต่อหรือยัง เพื่อให้เห็นความเป็นอนัตตาแต่ไม่ใช่ใครจะไปรู้ได้ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่จะทำให้เข้าใจธรรมได้แค่ไหน.

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ..

ประเภทของภวังคจิต

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ และกราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดีค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 26 ส.ค. 2566

- เพราะฉะนั้น รูปมีอายุเท่าไหร่? (แกจำไม่ได้ว่าจำนวนเท่าไหร่แต่หลังจากโวฏฐัพพนะแล้วมีอายุเหลือ ๓ ตามปกติแต่จำจำนวนไม่ได้) รูปที่เป็นภาวะรูปที่มีลักษณะจริงๆ จะมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้น รูปที่กระทบอตีตภวังค์ครั้งแรกเป็นรูปขณะไหน กี่ขณะแล้ว? (๑ ขณะ) ทันทีที่อตีตภวังค์ที่ถูกกระทบดับแล้วจิตต่อไปเป็นอะไร? (ภวังคจลนะ) รูปเหลืออายุเท่าไหร่? (๑๕) อตีตภวังค์ ๑ ขณะพร้อมกับรูปเกิดขณะแรก อตีตภวังค์ดับแล้วภวังคจลนจิตเกิดต่อ เพราะฉะนั้น รูปมีอายุ ๒ ขณะแล้วใช่ไหม? (ครับ) เมื่อภวังคจลนะดับแล้ว อะไรเกิดต่อ? (ภวังคุปเฉทะ) รูปอายุเท่าำหร่แล้ว? (๓ ครับ) ภวังคุปเฉทะดับแล้วจิตอะไรเกิดต่อ? (อาวัชชนะ) รูปอายุเท่าไหร่? (๔) ต่อจากนั้นอะไรเกิดต่อ? (ปัญจทวาราวัชชนจิตดับแล้วปัญจวิญญาณเกิดต่อ) ยัง ยัง ยัง ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดต่อใช่ไหม เพราะฉะนั้น รูปอายุเท่าไหร่? (๔) ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นวิบากจิตหรือเปล่า? (ไม่ใช่) เป็นอะไร? (เป็นกิริยา) หมายความว่าอะไร? (หมายความว่าไม่ได้เป็นกุศล ไม่ได้เป็นอกุศล และไม่ได้เป็นวิบาก) เริ่มที่จะเป็นวิถีจิตนะเพื่อจิตต่อไปเกิดขึ้นเป็นอะไร? (ปัญจวิญญาณ) เพราะฉะนั้น ปัญจวิญญาณรู้อารมณ์อะไร? (จักขุวิญญาณรู้สิ่งที่กระทบกับปสาทะ) เห็นเลยใช่ไหมจักขุวิญญาณไม่ใช่เพียงรู้แต่จักขุวิญญาณเห็นสิ่งที่กระทบตา (ครับ)

- ถ้าจักขุวิญญาณเห็นสิ่งที่ดี จักขุวิญญาณเป็นอะไร? (กุศลวิบาก) แล้วปัญจทวาราวัชชนะรู้อารมณ์ที่ดีที่กระทบได้ไหม? (รู้อารมณ์เดียวกัน) แล้วเห็นไหม ปัญจทวาราวัชชนะ? (ไม่เห็น) .

- ถ้าอารมณ์เป็นอารมณ์ที่ไม่ดี จักขุวิญญาณเป็นอะไร? (อกุศลวิบาก) แล้วปัญจทวาราวัชชนะรู้สิ่งที่กระทบตาที่ไม่ดีได้ไหม? (รู้ได้) เพราะฉะนั้น นี่เป็นเหตุที่เป็นกิริยาจิตเพราะสามารถที่จะรู้อารมณ์ทั้งที่ดีและไม่ดีได้.

- เดี๋ยวนี้กำลังเป็นอย่างนี้ใช่ไหม? (ครับ) เป็นเราหรือเป็นธรรม? (เป็นธรรม) แล้วก็รูปอายุเท่าไหร่แล้ว? (๕) จักขุวิญญาณดับแล้วจิตอะไรเกิดต่อ? (สัมปฏิจฉันนะ) รูปอายุเท่าไหร่แล้ว? (๖) ต่อจากสัมปฏิจฉันนะอะไรเกิดต่อ? (สันตีรณะ) รูปมีอายุเท่าไหร่แล้ว? (๗) สันตีรณะมีกี่ดวง? (๒) ต่างกันอย่างไรจึงเป็น ๒? (มี ๑. อุเบกขาสันตีรณะ ๒. โสมนัสสันตีรณะ) ต่างกันอย่างไร? (ต่างกันตรงเวทนาที่เกิด) อุเบกขาสันตีรณะเกิด รู้อารมณ์อะไร เวลาที่อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากเกิด รู้อารมณ์อะไร? (รู้อารมณ์เดียวกับที่จักขุวิญญาณรู้ ต่างกันตรงที่รูปที่รู้อารมณ์ที่รู้ที่เป็นอารมณ์ที่ดีกับดีมาก) .

- สันตีรณะไหนทำปฏิสนธิ? (อุเบกขาสันตีรณะ) โสมนัสสันตีรณะทำกิจปฏิสนธิได้ไหม? (ไม่ได้) และถ้าอารมณ์ที่ดี ปฏิสนธิเป็นอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากได้ไหม? (ได้) เกิดที่ไหน? (เกิดสุคติภูมิถ้าเป็นมนุษย์เป็นมนุษย์พิการ) ดีมากไม่ลืมเลย นี่เป็นเหตุที่หัดคิดถามไปถามมาเพื่อต่อไปจะต้องคิดไตร่ตรองมากกว่านี้อีก ถ้าไม่คิดให้ถูกต้องตั้งแต่ต้นไม่มีทางจะเข้าใจความละเอียดของธรรมเลย แสดงให้เห็นความเข้าใจในความเป็นปัจจัยทุกอย่างทั้งหมดเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยแม้ความต่างกันของจิต ๑ ขณะ.

เชิญคลิกฟังได้ที่ ...

วิถีจิตแรกเริ่มที่จิตที่ทำอาวัชนนกิจที่เกิดต่อจากภวังคจิต

เชิญคลิกอ่านได้ที่ ..

อตีตภวังค์

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 26 ส.ค. 2566

- เดี๋ยวนี้มีสันตีรณะไหม? (มี) ดวงไหน? (อุเบกขาสันตีรณะ) รู้หรือ? (ไม่รู้) นี่แสดงให้เห็นว่าเราต้องเข้าใจให้ถูกต้อง สิ่งที่ปรากฏเป็นเห็นเป็นนิมิตของเห็นแม้ว่าจะมีจิตเกิดก่อนหรือเกิดทีหลังแต่ก็ไม่ใช่เห็น.

- เห็นเดี๋ยวนี้เป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก? (ความจริงเราไม่สามารถจะรู้ได้ แต่ถ้าเราชอบอารมณ์ที่เห็นอยู่เราก็เดาได้ว่าอาจจะเป็นกุศลวิบาก) เพราะฉะนั้น ถามว่า เห็นเดี๋ยวนี้เป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก? (ไม่ทราบ) นี่คือคำตอบตรง ไม่ใช่ว่าถามเรื่องหนึ่งแล้วตอบอีกเรื่องหนึ่ง เพราะฉะนั้น ต้องรู้จุดประสงค์ของการถาม ให้เห็นความลึกซึ้งอย่างยิ่งแม้ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏ แต่เกิดดับเร็วแต่ไม่สามารถจะรู้ได้เลยว่าเป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก.

- ตอนนี้รูปอายุเท่าไหร่แล้วตอนสันตีรณะ? (๘) สันตีรณะดับแล้วจิตอะไรเกิดต่อ? (โวฏฐัพพนะ) คืออะไร? (เป็นจิตหนึ่งซึ่งทำหน้าที่ภาษาอังกฤษเรียก ... ) ไม่เอาภาษาอังกฤษไม่รู้จักภาษาอังกฤษ (แกพยายามบอกว่าทำกิจอะไรตอนนั้น ถ้าจะพูดคือโวฏฐัพพนะเป็นจิตเดียวกันกับอาวัชชนจิตเป็นมโนทวาราวัชชนจิตที่ทำกิจโวฏฐัพพนะ) ไม่ได้ถามอย่างนั้นเลย ฟังคำถามดีๆ โวฏฐัพพนจิตคืออะไร? (ท่านอาจารย์ถามถึงกิจใช่ไหม?) ถามจิตแต่จะตอบอะไรก็ได้แต่ต้องเป็นคำตอบของโวฏฐัพพนจิต โวฏฐัพพนจิตคืออะไร? (โวฏฐัพพนจิตทำกิจที่รูปเดียวกันที่จิตเห็นเห็นหลังจากสัมปฏิจฉันนะรับรู้อารมณ์ต่อแล้วสันตีรณะทำกิจสันตีรณะแล้วมาถึงโวฏฐัพพนะ คือรู้มั่นว่ามันคืออารมณ์อะไร) อะไรนะ อีกทีค่ะ? (แกบอกว่าโวฏฐัพพนะทำกิจรู้มั่นในอารมณ์ที่จิตก่อนหน้านี้รู้) สับสนแล้วใช่ไหม? (แกก็คิดว่าไม่แน่ใจ) เพราะฉะนั้น ไม่ใช่คำในภาษาอื่น เป็นคำที่เราใช้เพื่อที่เราจะเข้าใจจริงๆ .

- เพราะฉะนั้น สันตีรณจิต กับสัมปฏิจฉันนจิต กับจักขุวิญญาณต่างกันเพราะอะไร? (คุณสุคิน: ผมพยายามอธิบายให้อาช่าฟังว่า เราได้ยินคำนี้ว่าเห็น ทำกิจเห็น แล้วสัมปฏิจฉันนะทำกิจรับอารมณ์ แล้วสันตีรณะทำกิจ investigate คำพวกนี้คือเราก็ตอบตามที่เราจำได้แต่ความเข้าใจคืออะไร จะให้แกพูดตามความเข้าใจตัวเอง แกก็ยกตัวอย่างที่เขาเคยได้ยินมาหรือว่าได้ยินมานิดหน่อยแล้วก็พิจารณาต่อ แกก็ยกตัวอย่างเริ่มจากอาวัชชนะที่เราก็เคยได้ยินว่าเป็นเหมือนคนที่เปิดประตูยังไม่รู้ว่าใครเข้ามา มีคนเคาะประตูเปิดประตู เห็นก็เห็นเลยว่าเห็นอารมณ์ที่เข้ามา ส่วนสัมปฏิจฉันนะหลังจากเห็นก็รับต่อ ส่วนสันตีรณะก็รู้อารมณ์นั้นดูดีๆ ว่าทุกอย่างเกี่ยวกับอารมณ์นั้นว่าคืออะไร แลัวโวฏฐัพพนะทำกิจรู้ว่าอะไรแล้ว ก็คือ ... ) เพราะฉะนั้น นั่นคือความคิด.

- คำที่พยายามเปรียบเทียบให้เห็นแต่ไม่ได้ให้เข้าใจจิต บางคนชอบตัวอย่างที่จะทำให้เขาเข้าใจ แต่เขาชอบเรื่องตัวอย่างแต่เขาไม่รู้จักจิตหรือธรรม ไม่ว่าคำอุปมาจะแสดงอย่างไรแต่ต้องคิดถึง ตัวจริง ภาวะความเป็นจริงของจิต.

เชิญคลิกฟังได้ที่ ..

ยิงไกล ยิงไว ยิงแม่น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 26 ส.ค. 2566

- ต้องมีความเข้าใจตั้งแต่ต้นว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา กรรมเป็นปัจจัยไม่มีใครทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดแล้วดับแล้วเป็นภวังค์ (เมื่อกี๊ท่านอาจารย์ว่าอย่างไรครับ) กรรมเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิ คือจิตขณะแรกเกิดขึ้นในชาตินี้ทำกิจเกิดขณะแรกดับแล้วทำให้จิตขณะต่อไปสืบต่อเป็นภวังค์ สวรรค์เป็นอย่างนี้หรือเปล่า นรกเป็นอย่างนี้หรือเปล่า.

- เราเรียนให้เข้าใจความเป็นไปของสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ขณะนี้เป็นอะไรไม่ใช่เรา. เดี๋ยวนี้ทุกคนว่ามีธาตุรู้ ไม่ใช่แข็ง ไม่ใช่อ่อน ไม่ใช่กลิ่น ไม่ใช่รส ทุกอย่างเกิดขึ้นเป็นไปตามปัจจัยซึ่งไม่มีใครสามารถรู้ได้ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ตรัสรู้และไม่ทรงแสดง.

- ต้องไม่ลืมเลย มีความไม่รู้มานานเท่าไหร่นานมาก แล้วก็มีการเข้าใจว่าสิ่งที่ปรากฏเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพราะไม่รู้ความจริงนานมาก จนกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงแสดงความจริงเดี๋ยวนี้ที่กำลังมีแต่ละ ๑ ให้เข้าใจถูกต้องว่าไม่ใช่เรา.

- ศึกษาสิ่งที่กำลังมีจริงเริ่มต้นตั้งแต่ก่อนเห็น เป็นต้น ไม่ใช่ไปคิดเรื่องราวมากมายที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ๔๕ พรรษาโดยไม่รู้ขณะนี้เป็นอะไร.

- เพราะฉะนั้น ฟังคำทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อเข้าใจเพิ่มขึ้น เพื่อรู้ว่าเป็นหนทางเดียวที่จะรู้ความจริงว่า ไม่ใช่เรา.

- ธรรมละเอียดลึกซึ้งกำลังมีก็ไม่รู้เลยจึงต้องเข้าใจทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าพูดถึงสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้.

- เดี๋ยวนี้มีจริงๆ แต่ไม่มีใครรู้ความจริงของเดี๋ยวนี้จึงต้องฟังเพื่อเริ่มเห็นพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อเข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังมี.

- ไม่ใช่ฟังแล้วคิดถึงเรื่องอุปมาต่างๆ เรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่เพื่อเข้าใจสิ่งที่มีทีละเล็กทีละน้อย.

- ต้องมั่นคงเดี๋ยวนี้มีธาตุรู้แน่นอน เพราะกำลังเห็นรู้ว่าอะไร กำลังได้ยินเสียง ได้ยินเสียงรู้เสียง เพราะฉะนั้น ธาตุรู้มีแน่นอน.

- เพราะฉะนั้น ธาตุรู้มี ฟังคำของผู้ตรัสรู้เพื่อที่จะเข้าใจความเป็นจริงของธาตุรู้เพิ่มขึ้นมั่นคงขึ้น ว่า เป็นธาตุรู้.

- เดี๋ยวนี้มีธาตุรู้ไหม? (มี) ตอบง่ายมากแต่รู้จักธาตุรู้จริงๆ หรือยัง? () เพราะฉะนั้น ฟังธรรมเพื่อรู้ความจริง ว่า ลึกซึ้งเพราะกำลังมีก็ไม่รู้ ต้องเป็นคนตรงนะแม้มีจริงเดี๋ยวนี้เป็นอย่างที่เรากำลังพูดแต่ยังไม่รู้แล้วจะไปรู้เรื่องอื่นอีกมากมายได้ไหม.

- ทุกคนอ่านได้จำได้แต่เข้าใจสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ได้ไหม ถ้าไม่รู้ว่าสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้มีอะไรบ้าง ตามลำดับอย่างไรบ้าง เขาสามารถที่จะรู้ไหมว่าเป็นธรรมที่ไม่ใช่เรา.

[เล่มที่ 85] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

[๑๔] กัมมปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความปรุงแต่งเพื่อให้กิจต่างๆ สำเร็จลง กล่าวคือ

๑. กุศลกรรมและอกุศลกรรม ก็เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ทั้งหลายและกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

๒. สภาวธรรมคือเจตนาทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับเจตนา และแก่รูปทั้งหลายที่มีเจตนา และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับเจตนานั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

ปฏิสนธิจิต

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 26 ส.ค. 2566

- เพราะฉะนั้น ฟังธรรมเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ เดี๋ยวนี้ เพราะว่า ทุกอย่างที่ปรากฏไม่พ้นจากทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ.

- เพราะฉะนั้น ฟังเรื่องธาตุรู้ซึ่งกำลังเป็นธาตุรู้เดี๋ยวนี้เพื่อที่จะเข้าใจ แต่ละคำแต่ละลักษณะของธาตุรู้ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เพื่อให้รู้ความจริงว่าเปลี่ยนไม่ได้ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะฟังคำอะไร ให้รู้ว่า เพื่อเข้าใจธาตุรู้ว่าเป็นธาตุรู้.

- ไม่เคยขาดธาตุรู้เลยแต่ไม่รู้จักธาตุรู้เลย เพราะฉะนั้น ฟังทุกคำเพื่อให้เข้าใจธาตุรู้ขึ้น ขณะเกิดมีธาตุรู้แน่นอน ขณะเกิดเป็นธาตุรู้ที่ไม่เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจด้วย แล้วก็มีธาตุรู้ที่เห็น เราจะไม่รู้เลยธาตุรู้ก่อนเห็นคืออะไร หลังเห็นแล้วธาตุรู้คืออะไร เราจึงต้องเรียนให้รู้ความเป็นไปของธาตุรู้ทุกขณะว่า เป็นเพียง ๑ ขณะซึ่งเกิดแล้วดับไปไม่กลับมาอีกเลย.

- ฟังความจริงอย่างนี้ไม่ใช่เพื่ออยากจะรู้ความจริงนี้ต่อไปอีก แต่เพื่อเห็นความจริงว่าทุกสิ่งที่เกิดแล้วดับแล้วไม่กลับมาอีกเลยสักอย่าง ควรจะเป็นอย่างนี้ไหม อะไรที่ยังไม่เห็นโทษ ไม่มีอะไรนอกจากมีปัจจัยที่ทำให้เกิดแล้วไม่กลับมาอีกเลย เห็นยากมาก เพราะฉะนั้น กว่าจะเห็นต้องฟังจนกระทั่งเริ่มเป็นความจริง.

- ไม่ใช่รีบร้อนไปรู้อย่างนั้นรู้อย่างนี้ แต่ว่าเพื่อให้รู้ความจริงของสิ่งที่มีขณะนี้ว่าเป็นสิ่งที่มีจริงที่เป็นธาตุรู้ที่เกิดแล้วดับแล้วไม่กลับมาอีก.

- เริ่มรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือยัง? (เริ่ม) เพราะฉะนั้น ก่อนเห็นต้องมีจิตก่อนเห็น เพราะฉะนั้น จิตที่เกิดก่อนเห็นที่รู้ว่ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดกระทบ เห็นไหมรู้ รู้ รู้ รู้ทั้งนั้นแต่รู้ต่างกันแต่ละขณะ.

- กรรมทำให้จิตเกิดและจิตนั้นดับ กรรมเป็นปัจจัยให้จิตเกิดต่อเป็นจิตประเภทเดียวกัน ไม่มีการเห็นไม่มีอะไรเลยแล้วมีเห็น ทั้งหมดเป็นธาตุรู้ทั้งนั้น.

- เราเริ่มรู้ความเป็นไปของธาตุรู้ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดง แต่ต้องไม่ลืมว่าเป็นธาตุรู้ที่เกิดขึ้นรู้ต่างๆ กัน.

- ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นธาตุรู้แต่รู้ว่ามีสิ่งที่กระทบทวาร ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นธาตุรู้ที่รู้อารมณ์ที่กระทบกี่ทวาร? (๕ ทวาร) ๕ ไม่ใช่อารมณ์ที่กระทบทางทวาร ๕ ทวาร ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดได้ไหม? (ไม่ได้) นี่แสดงให้รู้ความต่างกันของจิตซึ่งเราจะต้องมีความเข้าใจยิ่งขึ้นจะได้รู้ว่าจิตไม่เหมือนกันหลากหลายตามเหตุตามปัจจัย.

- ถ้าพูดถึงธาตุรู้ ต้องไม่ลืมว่าเป็นธาตุรู้ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น เมื่อปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นธาตุรู้ว่ามีอะไรกระทบทางไหนดับไปแล้ว ปัญจทวาราวัชชนจิตจะเกิดต่ออีกได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น ต่อไปมีธาตุรู้เกิดต่อรับรู้สิ่งที่กระทบโดยเห็น หรือได้ยิน หรือได้กลิ่น หรือลิ้มรส หรือรู้สิ่งที่กระทบกายแต่ละทางแล้วก็ดับไป เป็นธาตุรู้ต้องไม่ลืมเรากำลังพูดถึงธาตุรู้ไม่ใช่เราเป็นธาตุรู้.

- จิตที่เกิดขึ้นเห็นดับไป จิตที่เกิดขึ้นได้ยินดับไปแล้ว จะเกิดอีกได้ไหมต่อทันที? (ไม่ได้) ธาตุรู้ไม่หยุดเลยเกิดดับสืบต่อกัน เพราะฉะนั้น ธาตุรู้ที่เห็นดับแล้ว อะไรเกิดต่อ? (สัมปฏิจฉันนะ) .

- เห็นขณะเดียวน้อยมาก เพราะฉะนั้น กรรมทำให้ขณะต่อไปธาตุรู้เกิดขึ้นรู้สิ่งที่เห็นแต่ไม่เห็น เพราะฉะนั้น ธาตุรู้ที่ต้องเกิดต่อรับรู้สิ่งที่เห็นโดยไม่เห็น แต่เป็นธาตุรู้ที่รับรู้สิ่งที่เห็นแล้วต่อ นี่คือคำที่เราใช้คำว่า สัมปฏิจฉันนะ.

- ไม่ใช่จำชื่อสัมปฏิจฉันนะแล้วไม่รู้จะใช้คำอะไร แต่เป็นความเข้าใจไม่ว่าจะใช้ชื่ออะไรก็ตาม แต่เมื่อเห็นดับลงไปแล้วสิ่งที่กระทบตายังไม่ดับและทันทีที่เห็นดับเป็นปัจจัยให้ธาตุรู้สิ่งนั้นต่อโดยไม่เห็น แต่รับรู้ต่อ.

- เพราะฉะนั้น ไม่ใช่จำชื่อว่าสัมปฏิจฉันนจิตเกิดต่อจากจักขุวิญญาณ แต่ทั้งหมดเป็นความเป็นไปของธาตุรู้ที่ต้องเกิดต่อตามลำดับโดยกรรมเป็นปัจจัย ว่า เห็นเป็นขณะหนึ่งน้อยมากไม่พอที่จะเป็นผลของกรรมที่ได้ทำไว้แล้วที่จะให้ผลเพียงเห็น เพราะฉะนั้น ก็มีธาตุรู้ซึ่งต้องเกิดต่อรับรู้อารมณ์นั้นโดยกรรมเดียวกันทำให้ต้องรู้อารมณ์นั้นต่อ.

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ..

สภาพรู้ ธาตุรู้

ขอเชิญคลิกฟังได้ที่ ..

จิตรู้ได้ทุกอย่าง

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 26 ส.ค. 2566

- เพราะฉะนั้น กรรมให้ผลทำให้เห็น ๑ ขณะน้อยมากดับ ทำให้ธาตุรู้เกิดขึ้นรู้สิ่งนั้นต่อเพียงรับไว้น้อยมากแล้วก็ดับ เมื่อดับแล้วเป็นจัยจัยให้กรรมทำให้ผลของกรรมเกิดขึ้นอีก ๑ ขณะ ไม่ใช่เพียงรับแต่ว่าสามารถรู้อารมณ์นั้นมากกว่าเพียงรับเป็นสันตีรณจิตที่เราใช้คำว่าสันตีรณจิตไม่ใช่จำชื่อ ไม่ใช่คำแปลในภาษาอังกฤษ ไม่ใช่อะไรทั้งหมด แต่ต้องรู้ความเป็นไปของจิตต่างกันที่เป็นวิบากจิต.

- เพราะฉะนั้น ให้รู้ว่ากรรมให้ผลอะไรบ้าง แต่เรากล่าวเฉพาะกรรมที่ให้ผลที่ต้องเห็น ต้องได้ยิน ต้องได้กลิ่น ต้องลิ้มรส ต้องรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วมีจิตอะไรที่เป็นผลของกรรมที่ต้องไม่ใช่เพียงเห็นไม่พอ ต้องรับรู้ไว้ด้วย และรับไว้เพื่อที่จะรู้จริงๆ ว่า นี่เป็นผลของกรรม จบหน้าที่ของวิบากที่กรรมทำให้เกิดวิบากได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กายเพียงเท่านี้.

- เพราะฉะนั้น กรรมทำให้สันตีรณจิตเกิดเป็นผลของกรรมเท่านั้น หมดหน้าที่ของกรรมแต่จิตยังต้องเกิดต่อ เพราะฉะนั้น จิตที่ต้องเกิดต่อไม่ใช่ผลของกรรมแต่เป็นจิตที่เปิดทางหรือกระทำทางให้อกุศลและกุศลทั้งหลายที่สะสมมาพร้อมที่จะไหลออกไปทันทีได้ เพราะฉะนั้น ทำหน้าที่ทางปัญจทวารคือเปิดทางให้จิตที่เป็นอกุศลหรือกุศลเกิดเป็นโวฏฐัพพนกิจ ไม่ได้ตัดสินอะไรเลย เพราะฉะนั้น การฟังคำต้องรู้ว่าคำนั้นแปลคลาดเคลื่อนเข้าใจถูกต้องจริงหรือเปล่าหรือว่าเพียงแต่เป็นคำที่ไม่มีคำอื่นจะใช้ก็เลยใช้คำนี้ แต่ว่าไม่สามารถที่จะทำให้เข้าใจลักษณะจริงๆ ได้.

- เข้าใจหรือยัง เพราะฉะนั้น เมื่อเข้าใจได้ว่าเมื่อหมดหน้าที่ของกรรมที่ทำให้วิบากเกิดแล้วจิตยังต้องเกิดต่อยังรู้อารมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จิตนี้เปิดทางหรือกระทำำทางให้กุศลหรืออกุศลซึ่งไม่ใช่วิบากที่สะสมมาพร้อมที่จะเกิดทันทีเมื่อจิตที่กระทำทางแล้วดับไป.

- เพราะฉะนั้น ธาตุรู้ที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นที่ยังไม่ดับต่อจากสันตีรณะก็เป็นธาตุรู้ที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้น ธาตุรู้ที่จะต้องรู้อารมณ์นั้นต่อเกิดต่อต้องมีธาตุรู้ที่รู้อารมณ์นั้นเกิดต่อเพราะอารมณ์นั้นยังไม่ดับ (คุณสุคิน: ท่านอาจารย์ทวนใหม่ครับ) หมายความว่าทันทีที่ธาตุรู้อารมณ์ที่ยังไม่ดับเมื่อวิบากจิตดับหมดแล้วนะ ต้องมีจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ยังไม่ดับ เราใช้คำว่าโวฏฐัพพนะก็ได้ แต่ต้องเข้าใจความหมายว่า เป็นธาตุรู้ที่เกิดต่อจากสันตีรณะเพราะอารมณ์นั้นยังไม่ดับ.

- เพราะฉะนั้น ธาตุรู้ที่เกิดขึ้นรู้ต่อจากสันตีรณะรู้อารมณ์ที่ดีก็ได้ รู้อารมณ์ที่ไม่ดีก็ได้ จึงไม่ใช่วิบากจิต ไม่ใช่กุศลจิตอกุศลจิต จึงเป็นกิริยาจิตไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย.

- เพราะฉะนั้น จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุที่เป็นกิริยาจิตที่เรารู้จักแล้วมีกี่ดวง? (อเหตุกจิต ๘ แล้ว) ไม่ได้ถามอย่างนั้น ถามว่า จิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยที่เป็นกิริยาจิตมีกี่ดวง ไม่ใช่วิบากจิต ไม่ใช่กุศลจิต ไม่ใช่อกุศลจิต เป็นกิริยาจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยมีกี่ดวงที่เราพูดถึงแล้ว? (๒ ครับ ๑. ปัญจทวาราวัชชนจิต ๒. โวฏฐัพพนจิต) .

- เพราะฉะนั้น เราเรียนเข้าใจเรื่องอเหตุกจิตแล้วกี่ดวง? (๘) เดี๋ยวก่อน ฟังนะ เพราะฉะนั้น เราเรียนเรื่องอเหตุกจิตแล้วที่เราพูดถึงแล้วเดี๋ยวนี้กี่ดวงทั้งหมด? (วันนี้ใช่ไหม) วันนี้เราถามว่าเท่าที่เราพูดมาตั้งแต่เช้า เราพูดถึงอเหตุกจิตทั้งหมดแล้วกี่ดวง? (๘) เท่านั้นหรือ อเหตุกจิตทั้งหมดมีเท่าไหร่? (๑๘) แล้วเราพูดมาแล้วเท่าไหร่? (๘) พูดแล้ว ๘ เท่านั้นเองหรือ? (๑๗) ถูกต้อง ยังไม่ได้พูดถึงเท่าไหร่? (๑) ให้ทราบว่า ๑ นี้เป็นจิตของพระอรหันต์เท่านั้น เป็นจิตของพระอรหันต์ที่ยิ้มในขณะที่รู้อารมณ์ที่คนอื่นไม่รู้.

- เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่าจบเรื่องของอเหตุกจิตรวมทั้งจิตของพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น จิตที่เกิดต่ออารมณ์ยังไม่ดับหรืออารมณ์ดับแล้ว? (ยังไม่ดับ) เพราะฉะนั้น จิตต่อไปก็เกิดรู้อารมณ์นั้นต่อเพราะอารมณ์นั้นยังไม่ดับ เพราะฉะนั้น จิตที่เกิดต่อคืออกุศลจิตหรืออกุศลจิต แต่อารมณ์ยังเหลือใช่ไหม กี่ขณะ? (๗ ขณะ) หรือ? เท่าไหร่? เหลือรูป รูปยังไม่ดับใช่ไหม? (เหลือ ๙) เพราะฉะนั้น จิตอื่นเกิดซึ่งไม่ใช่อเหตุกจิตที่เรากล่าวถึงแล้วเว้นจิตของพระอรหันต์ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ขณะนั้นจิตที่เกิดต่อจากสันตีรณะรู้อารมณ์ต่อรู้แล้วเป็นปัจจัยให้กุศลอกุศลที่สะสมมาเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นด้วยความเป็นกุศลหรืออกุศล เพราะฉะนั้น จิตนั้นรู้อารมณ์ที่ยังไม่ดับซ้ำกันสืบต่อประเภทเดียวกัน ๗ ขณะตามปกติ.

- การสะสมของจิตทำให้เกิดโลภมูลจิต ๗ ขณะ โทสมูลจิต ๗ ขณะหรืออะไรก็ตามแต่กุศลหรืออกุศลตามธรรมดาที่เป็นไปในรูปเพราะกำลังมีรูปเป็นอารมณ์ ที่เป็นไปในเสียง กลิ่น รส สัมผัส และสิ่งที่กระทบกายเพราะเป็นไปในรูปที่ยังไม่ดับ ๗ ขณะ จิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์เดียวกันซ้ำ ๗ ขณะทำชวนกิจ.

- เพราะฉะนั้น จิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่ยังไม่ดับเร็วมากต่อกัน ๗ ขณะจึงใช้คำว่า ชวนกิจ ชวนจิตเกิดดับสืบต่อ ๗ ขณะ รูปดับหรือยัง? (ยัง) สำหรับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นที่ตั้งของความยินดีพอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส สะสมสืบต่อกันเป็นปัจจัยให้กรรมทำให้เกิดจิตที่เป็นผลของกรรมรับรู้อารมณ์ที่ยังเหลือต่อ จากชวนกิจ เพราะฉะนั้น การทำกรรมด้วยความติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส เป็นปัจจัยให้เมื่อชวนจิตเกิดขึ้นทำกิจชวนะดับแล้ว รูปยังเหลืออีก ๒ ขณะ กรรมจึงทำให้วิบากจิตซึ่งเป็นจิตประเภทเดียวกับสันตีรณะเกิดขึ้น แต่ไม่ได้ทำสันตีรณกิจแต่ทำตทาลัมพนกิจ คือกิจที่รับรู้อารมณ์ต่อจากชวนะ.

- เพราะฉะนั้น นี่คือชีวิตประจำวันซึ่งเราไม่เคยรู้ความละเอียดจึงยึดถือว่าเป็นเรา จนกว่าจะรู้ว่าทั้งหมดเป็นจิตอะไรบ้างเกิดสืบต่ออย่างไรบ้างแต่ละขณะ เป็นจิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วยหรือไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย เป็นจิตที่เป็นเหตุหรือเป็นจิตที่เป็นผลซึ่งจะทำให้ค่อยๆ ละความยึดถือว่าเป็นเราในขั้นการฟัง.

- (คุณสุคิน: ท่านอาจารย์ครับอาช่าถามว่า ตทาลัมพนะทำกิจอะไรครับ) จิตต้องเกิดต่อตามลำดับ เพราะฉะนั้น เมื่อชวนจิตดับแล้ว รูปยังไม่ดับ ก็มีธาตุรู้ซึ่งเกิดขึ้นรับรู้อารมณ์ที่ยังไม่ดับต่อ นั่นคือคำที่เราใช้คำว่าตทาลัมพนะ.

- คราวหน้าเราจะพูดถึงอเหตุกจิตอีกนะ เพราะฉะนั้น วันนี้ให้ทราบว่า หสิตุปาทจิตซึ่งเป็นจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเป็นของพระอรหันต์ ถ้าเราจะพูดถึงเดี๋ยวนี้เขาพอจะคิด หรือเคยฟังมาบ้างไหมว่า หสิตุปาทะทำกิจอะไร? (เท่าที่เคยได้ยินก็รู้ว่าเป็นจิตที่เกิดเฉพาะกับพระอรหัต์) เพราะฉะนั้น ทำกิจเห็นไม่ได้ ทำกิจอาวัชชนะไม่ได้ ทำกิจสัมปฏิจฉันนะไม่ได้ ทำกิจตทาลัมพนะไม่ได้ เพราะนั่นเป็นวิบากจิตแต่นี่ไม่ใช่วิบากจิต เพราะฉะนั้น ยังเหลือกิจที่เขาต้องไปคิดดูว่าจะทำกิจอะไรนะ เพราะทั้งหมดมี ๑๔ กิจนะ ลองดูเท่านั้นเองจะคิดออกไหม.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
nattawan
วันที่ 27 ส.ค. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 5 ก.ย. 2566

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ