คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ที่ไม่หลอกลวงใคร เพราะเป็นคำจริง
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น
ที่ไม่หลอกลวงใคร
เพราะเป็นคำจริง
ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๒๖๘
www.dhammahome.com
Photo cr. Fongchan Walsh
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง
ยินดีในความดีของทุกท่านค่ะ
สิ่งที่ประเสริฐที่สุด คือ ความเข้าใจธรรม
ใคร มีปัญญา ใคร ฟังพระธรรมเข้าใจ ผู้นั้น เป็นชาวพุทธ
ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๒๖๘
www.dhammahome.com
Photo crFongchan Walsh
การประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ที่แม้จะเล็กๆ น้อยๆ เช่น ที่โต๊ะอาหาร มีการรินน้ำ ตักข้าวให้ หรือเห็นใครทำของตกก็รีบเก็บให้ เป็นต้น นี้คือการสงเคราะห์ช่วยเหลือ ทำให้ผู้อื่นมีความสุขในชีวิตประจำวัน ก็เพราะเรารู้ว่า หากมีใครประพฤติอย่างนั้นกับเรา เราก็ชอบ และถ้าเราสามารถประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ได้บ่อยๆ เนืองๆ ก็จะเป็นประโยชน์ ทั้งต่อตนเองและกับผู้อื่น เป็นกุศลจิตที่เกิดขึ้น ขัดเกลากิเลสในจิตใจให้เบาบางลง จากการเป็นคนเห็นแก่ตัว เป็นคนโลภมาก เป็นคนโกรธมาก มาเป็นผู้ที่สามารถเสียสละด้วยการช่วยเหลือผู้อื่นได้
เพราะชีวิตวันหนึ่งๆ ล่วงไปๆ ทุกขณะ และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้เลยแม้แต่ขณะเดียว แล้วได้รับประโยชน์อะไรจากชีวิตที่ล่วงไปแล้ว หรือมีความเห็นว่า หาความสุขใส่ตัวไปวันๆ ก็พอแล้ว นี่ก็แสดงให้เห็นว่า เราเสียเวลากับชีวิตที่เป็นอยู่ โดยไม่ได้อะไรเลย แต่ละขณะก็ผ่านไปๆ แล้วได้อะไร นอกจากอกุศลที่เพิ่มพูนขึ้น แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ดี เป็นกุศล ย่อมเป็นประโยชน์มาก เป็นการสละความเห็นแก่ตัว ไม่นึกถึงแต่ตัวเอง ที่สำคัญ คือ ไม่ควรเลือกเลยว่าจะสงเคราะห์ช่วยเหลือใคร เพราะจิตที่เป็นกุศลอย่างแท้จริง จะไม่เลือกบุคคลเลย
จิตใจเสื่อมทรามในขณะที่เป็นอกุศล เสื่อมจากกุศล เสื่อมจากความเข้าใจ ยิ่งถ้าเดินไปในทางที่ผิด ก็ยิ่งหนักเข้าไปอีก
ต้นเหตุของทุจริตกรรมทั้งหลาย คือ กิเลส ผิดแล้ว ต้องรีบแก้ไขทันที ได้สาระอะไรจากพระธรรม แม้จะอ่านพระสูตรหรือชาดกก็ตาม ใครจะยับยั้งสภาพธรรมได้?
อ่านเพิ่มเติม ...
อกุศล หลอกลวง แต่ถ้าเป็นกุศลแล้ว จะไม่หลอกลวง มั่นคงจริงๆ ว่า ขณะนี้เป็นธรรม ปัญญาจะมากได้ ก็มาจากทีละเล็กทีละน้อย
อ่านเพิ่มเติม ...
สภาพธรรมะ ขณะนี้ กำลังเกิด ดับ
ใครจะไปรู้ได้?
นอกจาก "ปัญญา"
และ ปัญญา ระดับไหน?
ปัญญา ที่ได้อบรมแล้ว
จะอบรมได้อย่างไร? ถ้าไม่มีความเข้าใจ
อ่านเพิ่มเติม ...
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ หน้าที่ 328 - 330
นาคราช ชื่อว่า เอรกปัตตะ กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ เช่นกับด้วยพระองค์ ได้ทำสมณธรรมสิ้น ๒ หมื่นปี แม้สมณธรรมนั้นก็ไม่อาจเพื่อจะช่วยข้าพระองค์ได้ ข้าพระองค์อาศัยเหตุสักว่าให้ใบตะไคร้น้ำขาดไปมีประมาณเล็กน้อย ถือปฏิสนธิในอเหตุกสัตว์ เกิดในที่ที่ต้องเลื้อยไปด้วยอก ย่อมไม่ได้ความเป็นมนุษย์เลย ไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เช่นกับด้วยพระองค์ตลอดพุทธันดรหนึ่ง”
พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของนาคราชนั้นแล้ว ตรัสว่า "มหาบพิตร ชื่อว่าความเป็นมนุษย์หาได้ยากนัก, การฟังพระสัทธรรม ก็อย่างนั้น การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า ก็หาได้ยากเหมือนกัน, เพราะว่า ทั้งสามอย่างนี้ บุคคลย่อมได้โดยลำบากยากเย็น "
เมื่อจะทรงแสดงธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า
กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท
"ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก, ชีวิต ของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก, การฟังพระสัทธรรม เป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นการยาก"
แก้อรรถ
เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบดังนี้ว่า " ก็ขึ้นชื่อว่า ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ ชื่อว่าเป็นการยาก คือหาได้ยาก เพราะความเป็นมนุษย์ บุคคลต้องได้ด้วยความพยายามมาก ด้วยกุศลมาก ถึงชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ชื่อว่าเป็นอยู่ยาก เพราะทำกรรมมีกสิกรรมเป็นต้นเนืองๆ แล้วสืบต่อความเป็นไปแห่งชีวิตบ้าง เพราะชีวิตเป็นของน้อยบ้าง แม้การฟังพระสัทธรรม ก็เป็นการยาก เพราะค่าที่บุคคลผู้แสดงธรรมหาได้ยาก ในกัปแม้มิใช่น้อย
อนึ่ง ถึงการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็เป็นการยากเหมือนกัน คือ ได้ยากยิ่งนัก เพราะอภินิหารสำเร็จด้วยความพยายามมาก และเพราะการอุบัติขึ้นแห่งท่านผู้มีอภินิหารอันสำเร็จแล้ว เป็นการได้โดยยาก ด้วยพันแห่งโกฏิกัปป์ แม้มิใช่น้อย"
ณ กาลครั้งหนึ่ง ที่ โรงแรมสายลม อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ๑๙ - ๒๑ กันยายน ๒๕๖๐
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า
กราบบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง
ยินดีในความดีของทุกท่านค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
©ข้อความโดยสรุป©
เวสารัชชกรณสูตร
(ว่าด้วยธรรมที่ทำให้แกล้วกล้า ๕ ประการ)
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรม ๕ ประการ ที่เป็นธรรมที่กระทำความแกล้วกล้า ไม่ครั่นคร้าม แก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ (คือผู้ที่ยังต้องศึกษาอยู่) ได้แก่ มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต ปรารภความเพียร และ มีปัญญา
อ่านเพิ่มเติม ...