ความอยากทำให้เข้าใจธรรมได้ไหม?

 
เมตตา
วันที่  6 ธ.ค. 2566
หมายเลข  47045
อ่าน  429

สนทนาธรรม ณ แดนพุทธภูมิ วันอาทิตย์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ช่วงบ่าย

ชาวอินเดีย: ที่ท่านอาจารย์พูดมาก็เข้าใจ และควรจะเข้าใจแบบนี้ แต่ถ้าได้เข้าใจแล้วแถมที่จะให้เข้าใจได้เร็วขึ้น และดับทุกข์ได้เร็วขึ้น

ท่านอาจารย์: ขณะนี้ สังขารธรรม เวทนา เกิดดับหรือเปล่า?

ชาวอินเดีย: เกิดดับ

ท่านอาจารย์: ขณะนี้ เดี๋ยวนี้ กำลังต้องการให้ประจักษ์เวทนาเกิดดับใช่ไหม?

ชาวอินเดีย: ใช่

ท่านอาจารย์: ความต้องการที่จะรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอริยสัจจธรรมที่ ๒ หรือเปล่า?

ชาวอินเดีย: ครับ

ท่านอาจารย์: ถ้ายังมีความอยากอยู่ก็ไม่สามารถที่จะรู้ความจริงเดี๋ยวนี้ได้ ความต้องการหรือความอยากมีจริงๆ หรือเปล่า? เป็นความเข้าใจธรรมหรือเปล่า?

ชาวอินเดีย: ถ้าจะให้เข้าใจก็ต้องเริ่มจากความต้องการเข้าใจ

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ฟัง ไม่ไตร่ตรอง จะเข้าใจได้ไหม? ความอยากทำให้เข้าใจธรรมได้ไหม?

ชาวอินเดีย: อยากให้ท่านอาจารย์แสดงความแตกต่างของความต้องการและความเข้าใจ

ท่านอาจารย์: เพราะไม่รู้ว่า ขณะนี้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ เป็นสังขารธรรม อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงมีเราที่อยากเข้าใจ ความอยากเกิดหรือเปล่า?

ชาวอินเดีย: เกิด

ท่านอาจารย์: ความอยากดับหรือเปล่า?

ชาวอินเดีย: ดับ

ท่านอาจารย์: ความอยากที่เกิดแล้วดับ จะกลับเกิดอีกครั้งได้ไหม?

ชาวอินเดีย: ไม่ได้

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่เกิด เกิดขึ้น เพียงครั้งเดียวในสังสารวัฏฏ์ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ไม่มี คือ ความเข้าใจถูกในการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้ทุกอย่างเป็นธรรมแต่ละหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น แล้วก็ดับไป.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 383

๙. ปุพพังคสูตร (๑)

ว่าด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นนิมิตเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย

[๑๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เริ่มต้นเป็นนิมิตเบื้องต้นแห่งดวงอาทิตย์เมื่อจะอุทัย คือแสงเงินแสงทอง ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เริ่มต้นเป็นนิมิตเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย คือสัมมาทิฏฐิ ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาวาจาย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาสังกัปปะ สัมมากัมมันตะย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะย่อมเพียงพอ

แก่บุคคลผู้มีสัมมากัมมันตะ สัมมาวายามะย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาอาชีวะ สัมมาสติย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาวายามะ สัมมาสมาธิย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาสติ สัมมาญาณะย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาสมาธิ สัมมาวิมุตติย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาญาณะ.

จบปุพพังคสูตรที่ ๙


[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 264


ในธรรม ๘ ประการนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงสัมมาทิฏฐิก่อน เพราะเป็นอุปการะแก่พระโยคีผู้ปฏิบัติเพื่อ บรรลุพระนิพพาน. ก็สัมมาทิฏฐินี้เป็นไปโดยชื่อว่า ปญฺญาปชฺโชโต ปญฺญาสตฺถํ (ปัญญาเป็นแสงสว่าง ปัญญาเพียงดังศัสตรา) ดังนี้.

เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรกำจัดมืดคืออวิชชา ด้วยสัมมาทิฏฐิ คือ วิปัสสนาญาณนี้ในเบื้องต้น ฆ่าโจรคือกิเลสเสีย ย่อมบรรลุพระนิพพาน โดยความเกษม. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

นิพฺพานาธิคมาย ปฏิปนฺนสฺส โยคิโน

พหุการตฺตา ปฐมํ สมฺมาทิฏฺฐ เทสิตา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัมมาทิฏฐิก่อน เพราะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่พระโยคีผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพาน.


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 212

๖. ชฏาสูตร

ว่าด้วยตัณหาพายุ่ง

[๖๔๔] สาวัตถีนิทาน.

ครั้งนั้นแล ชฏาภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ ครั้นแล้ว สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ขอเชิญอ่านเพิ่มได้ที่ ...

กำจัดความมืดคืออวิชชาด้วยสัมมาทิฏฐิ

โลกอันตัณหาดักไว้

ขอเชิญฟังได้ที่ ...

ลืมบ่อยไหมว่าเป็นโลภะเป็นทุกขสมุทยอริยสัจ

ตัณหาเป็นนายช่างผู้สร้างเรือน

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
swanjariya
วันที่ 8 ธ.ค. 2566

กราบเท้าท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลยิ่งค่ะน้องเมตตา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 9 เม.ย. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในความดีของทุกท่านครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ