ฐานะและอฐานะ ด้วยเหตุเท่าไร

 
preechacupr
วันที่  14 ต.ค. 2567
หมายเลข  48702
อ่าน  113

จาก

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒๔๕] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็จะควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาด ในฐานะและอฐานะ ด้วยเหตุเท่าไร ฯ พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ (๑) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย ทิฐิ ๑- พึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และ รู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชน พึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความ เป็นของเที่ยง นั้นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ (๒) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อม ด้วยทิฐิ พึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความเป็นสุข นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และ รู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนพึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความเป็น สุขนั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ
โปรดกรุณา อธิบายข้อที่มิใช่ฐานะ และ ข้อที่เป็นฐานะ เพราะไม่เข้าใจ ดูเหมือนกัน
ขอขอบคุณ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 14 ต.ค. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

คำว่า "ข้อที่มิใช่ฐานะ" โดยความหมายคือ "เป็นไปไม่ได้" อย่างเช่น ข้อความที่ว่า "บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ พึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้" หมายความว่า " เป็นไปไม่ได้ ที่พระโสดาบันจะเข้าใจหรือสำคัญว่าสภาพธรรมที่เกิดเพราะปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของเที่ยง เพราะเหตุว่าท่านเป็นผู้ที่ได้ประจักษ์แจ้งในความเป็นจริงของธรรมว่าไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนแล้วนั่นเอง"

คำว่า "ข้อที่เป็นฐานะ หรือ เป็นฐานะที่มีได้" โดยความหมาย คือ "เป็นไปได้" อย่างเช่นข้อความที่ว่า "ปุถุชน พึงเข้าใจสังขารไรๆ โดยความ เป็นของเที่ยง นั้นเป็นฐานะที่มีได้" หมายความว่า " เป็นไปได้ ที่ปุถุชนซึ่งเป็นผู้ที่ยังหนาแน่นไปด้วยกิเลส จะเข้าใจหรือสำคัญว่าสภาพธรรมที่เกิดเพราะปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของเที่ยง เพราะเหตุว่ายังไม่ได้ประจักษ์แจ้งในความเป็นจริงของธรรมว่าไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน จึงยังมีความยึดถือว่าธรรมที่เกิดดับ เป็นของเที่ยง" ครับ

... ยินดีในกุศลของคุณ preechacupr และทุกๆ ท่านด้วยครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 15 ต.ค. 2567

กราบขอบพระคุณและยินดีในกุศลวิริยะของอาจารย์ฉัตรชัยด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
preechacupr
วันที่ 18 ต.ค. 2567

ขอขอบคุณท่านอาจารย์

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ