ศรัทธา?
ขอกราบบูชาคุณพระรัตนตรัย
ขอรบกวนถามว่า ศรัทธา ที่เข้าใจกันในปัจจุบันทางโลก ต่างกับศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่เป็นสภาพธรรมอย่างไรค่ะ?
... ด้วยความขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ
คำว่า ศรัทธา ที่เข้าใจทั่วๆ ไปหมายถึงความเชื่อ ความเลื่อมใส ทั่วไปแต่ศรัทธาตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าหมายถึง โสภณธรรมที่เกิดร่วมกับจิตที่ดีงามคือจิตที่ไม่มีกิเลสเกิดร่วมด้วย ศรัทธาเป็นสภาพผ่องใส ไม่ขุ่นมัว เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา ไม่เกิดร่วมกับอกุศลจิต
ดังข้อความจากพระไตรปิฎกดังนี้ [เล่มที่ 75]
คลิกอ่านเพิ่มเติม ...
[๒๐๗] สัทธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จาก ... [เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 579
ผู้คนยุคนี้สมัยนี้มักหลงเชื่อสิ่งต่างๆ ได้ง่ายๆ โดยไม่มีเหตุผล ไม่มีสติยั้งคิด แต่กับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า กลับสงสัยอ้างสารพัดเหตุผลที่จะไม่เชื่อถือ ไม่ทำตาม คนยุคนี้สมัยนี้ช่างขาดศรัทธาเสียจริง
ขออนุโมทนา
ศรัทธาเป็นสภาพธรรมที่ผ่องใส ศรัทธาเป็นปรมัตถธรรม เป็นเจตสิกฝ่ายดี คือเป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับโสภณจิตทุกประเภท ศรัทธาจึงเปรียบเหมือนสารส้มหรือแก้วมณีที่ทำให้น้ำใส สะอาดไม่ขุ่นมัว เพราะเหตุว่าเมื่อศรัทธาเจตสิกเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายซึ่งเปรียบเหมือนกับโคลนตมย่อมจมลง คือเกิดขึ้นไม่ได้
ดังนั้น เมื่อศรัทธาเกิดขึ้น อกุศลธรรมประการต่างๆ จะเกิดร่วมไม่ได้เลย เพราะศรัทธาเป็นธรรมฝ่ายดีจะไม่เกิดร่วมกับอกุศลจิต
สำหรับลักษณะของผู้ที่มีศรัทธานั้น ดังข้อความจากพระไตรปิฎก ดังนี้
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...
ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส พึงรู้ได้โดยสถาน ๓ [ฐานสูตร]
ข้อความตอนหนึ่งจากอรรถกถาฐานสูตรดังกล่าว แสดงถึงตัวอย่างบุคคลผู้มีศรัทธาในการฟังพระธรรม ดังนี้
"หญิงคนหนึ่ง เป็นชาวบ้านกาฬุมพระ อุ้มลูกไปยังจิตตลบรรพต ด้วยคิดว่าจักฟังธรรม จึงให้ลูกนอนพิงต้นไม้ต้นหนึ่ง ตนเองก็ยืนฟังพระธรรม. ในระหว่างรัตติภาค (ส่วนแห่งราตรี) งูตัวหนึ่งกัดเด็กที่นอนอยู่ใกล้ๆ นาง ทั้งๆ ที่นางดูอยู่ เข้าสี่เขี้ยว แล้วหนีไป. นางคิดว่า ถ้าเราจักบอกว่า ลูกของเราถูกงูกัด ก็จักเป็นอันตรายแก่การฟังธรรม เมื่อเรายังเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏฏ์ เด็กคนนี้ ได้เป็นลูกของเรามาแล้วหลายครั้ง เราจักประพฤติธรรมเท่านั้น แล้วยืนอยู่ตลอดทั้ง ๓ ยาม ประคองธรรมไว้ ได้บรรลุโสดาปัตติผลเมื่ออรุณขึ้น แล้วทำลายพิษ (งู) ในบุตรด้วยการทำสัจจกิริยา แล้วอุ้มบุตรไป บุคคลเห็นปานนี้ ย่อมชื่อว่า เป็นผู้ใคร่ฟังธรรม.