พึงชนะความชั่ว ด้วยความดี
ขอกราบบูชาคุณพระรัตนตรัย
พอดีได้ฟังท่านอาจารย์สุจินต์บรรยายธรรม ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้นจากที่ท่านกล่าวว่า “พึงชนะความชั่วด้วยความดี” ถ้าฟังอย่างผิวเผินจะรู้เหมือนที่เคยรู้มาตั้งแต่เด็กว่า “พึงชนะ ความชั่วของคนอื่นด้วยความดีของตัวเอง” แต่ที่ท่านอาจารย์หมายถึงนั้นคือ “พึงชนะความชั่วของตัวเอง ด้วยความดีของตัวเอง” ต่างหาก นั่นหมายถึงว่า ถ้าเรามีกิเลสที่จะกระทำหรือคิดนึกสิ่งใดที่ไม่ดีแล้ว ก็ควรมีปัญญาเข้าใจตามความเป็นจริง และละสิ่งที่ไม่ดีนั้นเสีย ส่วนการที่จะละได้มากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับการสะสมและการเจริญขึ้นของปัญญาในการที่ได้ศึกษาและฟังพระธรรมแล้วนั่นเอง นี่คือ..ประโยชน์ ของการฟัง “ทำให้รู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้ และได้ฟังในสิ่งที่ไม่เคยฟัง” ที่กล่าวมานี้เข้าใจถูก ต้องไหมคะ?
[เล่มที่ ๔๒] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ -หน้าที่ ๑๔๘
เรื่องนางสิริมา [๑๑๙]
"พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้ปัน พึงชนะคนพูดพล่อยๆ ด้วยคำจริง"
[เล่มที่ ๔๐] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ ๖๕
เวรไม่ระงับด้วยผูกเวร "ก็ชนเหล่าใด เข้าไปผูกความโกรธนั้นไว้ว่า 'ผู้โน้น ได้ด่าเรา ผู้โน้นได้ตีเรา ผู้โน้นได้ชนะเรา ผู้โน้น ได้ลักสิ่งของของเราแล้ว' เวรของชนเหล่านั้น ย่อมไม่ ระงับได้, ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกความโกรธนั้น ไว้ว่า 'ผู้โน้นได้ด่าเรา ผู้โน้นได้ติเรา ผู้โน้นได้ชนะ เราผู้โน้นได้ลักสิ่งของของเราแล้ว' เวรของชนเหล่า นั้นย่อมระงับได้"
อนุโมทนาครับ การชนะกิเลสคือ ชนะกิเลสตัวเองนั่นเอง เช่น เราเคยขี้โกรธและเป็นคนผูกโกรธ ยังไม่ลืมเรื่องนั้น หรือเล่าเรื่องที่เรายังโกรธให้คนอื่นฟัง ก็อดทนมากขึ้นที่จะไม่ผูกโกรธและมีเมตตากัน เพราะทุกอย่างเป็นเพียงธรรมที่ปรากฏทางตา หู..ใจเท่านั้น และเห็นใจมีเมตตากันมากขึ้นอันเนื่องมาจากการฟังพระธรรม พระธรรมนั้นแหละจะช่วยขัดเกลาให้เราเป็นคนที่มีเมตตามากขึ้น ชนะกิเลสของตนเอง ค่อยๆ อบรมไปด้วยการฟังพระธรรม ที่สำคัญ ไม่มีตัวตนที่บังคับให้มีเมตตา หรือชนะกิเลสตัวเองแต่เกิดจากการฟังพระธรรมจนเข้าใจนั่นเอง ธรรมให้ชนะกิเลสของตนเองให้มีเมตตากับคนอื่นมากขึ้น ... มีเมตตากัน
การชนะกิเลสตนเองเมื่อมีคนมาติเตียนตนเอง
เชิญคลิกอ่านที่นี่ ...
กุศลธรรมอบรมได้ เพียงเริ่มเห็นประโยชน์ก่อน
การชนะกิเลสตนเองเมื่อมีคนมาติเตียนคนที่ตนรัก
เชิญคลิกอ่านที่นี่..
แม้โจร จะนำเลื่อย มาเลื่อย อวัยวะ
ผู้ใด กระทำความโกรธในโจร นั้น
ผู้นั้นไม่ชื่อว่ากระทำตามคำสอนของ ตถาคต
ถ้าโจรให้เราเลือกว่าจะให้ฆ่าใคร ระหว่างตัวเราเองกับ พ่อ-แม่-บุตร-ภรรยา
ให้ เรา เลือก ๑ คน
ถ้าเป็นท่านผู้ชม
ท่านผู้ชมจะเลือกให้โจร ฆ่า ใคร?
ผมไม่ใช่พระโสดาบัน แต่จะตอบตามความเข้าใจของผมเอง ว่า
ท่านจะไม่เป็นฝ่ายเลือก แต่จะให้โจรเป็นฝ่ายเลือกเอง ครับ
ขอให้มีเมตตาในชีวิตประจำวัน มีความเป็นมิตร จริงใจ ค่อยๆ อบรมทีละเล็กละน้อย ก็จะค่อยๆ มีกำลัง ยังไม่ต้องถึงโจรฆ่า แต่มีเมตตากับบุคคลต่างๆ ก็จะละความไม่ชอบบุคคลต่างๆ ได้ พระธรรมเท่านั้นที่จะช่วยขัดเกลา ทีละเล็กละน้อยนะ มีเมตตากันนะ ด้วยกาย วาจาและใจ ก็ชนะกิเลสตัวเองครับ
อ่านเพิ่มเติม
ขอเพิ่มเติม จาก คห.8
เนื่องจากการฆ่าตัวตาย ต้องมีเหตุปัจจัยมาจากโทสะ ดังนั้นพระอริยบุคคลที่จะไม่เกิดจิตตุปบาทคิดฆ่าตัวตายเลยคือ พระอนาคามี และพระอรหันต์
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
นำมาให้พิจารณา เรื่องพระเจ้ามหานามศากยะ ผู้เป็นพระสกทาคามี...พอดีอ่านเจอเลยนำมาให้พิจารณาครับ (เรื่องการฆ่าตัวตาย)
[เล่มที่ ๔๑] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ ๓๗
ศากยวงศ์ อันพระเจ้าวิฑูฑภะเข้าไปตัดแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ พระเจ้าวิฑูฑภะนั้น รับสั่งให้จับเจ้าศากยมหานาม เสด็จกลับแล้ว ในเวลาเสวยกระยาหารเช้า ทรงดำริว่า "เราจักเสวยอาหารเช้า" ดังนี้แล้ว ทรงแวะในที่แห่งหนึ่ง เมื่อโภชนะอันบุคคลนำเข้าไปแล้ว รับสั่งให้ เรียกพระเจ้าตามา ด้วยพระดำรัสว่า "เราจักเสวยร่วมกัน"
มานะกษัตริย์
แต่กษัตริย์ทั้งหลาย ถึงจะสละชีวิต ก็ไม่ยอมเสวยร่วมกับบุตรนาง ทาสี; เพราะฉะนั้น ท้าวมหานามทอดพระเนตรเห็นสระๆ หนึ่งจึงตรัสว่า เรามีร่างกายอันสกปรก, พ่อ เราจักอาบน้ำ" พระเจ้าวิฑูฑภะตรัสว่า " ดีละ พระเจ้าตา เชิญพระเจ้าตาอาบเถิด" ท้าวมหานามทรงดำริว่า "พระเจ้าวิฑูฑภะนี้ จักฆ่าเราผู้ไม่บริโภคร่วม การตายเองของเราเท่านั้น ประเสริฐกว่า" ดังนี้แล้ว จึงทรงสยายผม สอดหัวแม่เท้าเข้าไปในผมขอดให้เป็นปมที่ปลาย ดำลงไปในน้ำ
ด้วยเดชแห่งคุณของท้าวมหานามนั้น นาคภพก็แสดงอาการร้อน. พระยานาคใคร่ครวญว่า "เรื่องอะไรกันหนอ" เห็นแล้วจึงมาสู่สำนัก ของท้าวมหานามนั้น ให้ท้าวมหานามประทับบนพังพาน แล้วเชิญเสด็จ เข้าไปสู่นาคภพ. ท้าวมหานามนั้นอยู่ในนาคภพนั้นนั่นแล สิ้น ๑๒ ปี. ฝ่ายพระเจ้าวิฑูฑภะประทับนั่งคอยอยู่ ด้วยทรงดำริว่า "พระเจ้า ตาของเราจักมาในบัดนี้ ; เมื่อท้าวมหานามนั้นชักช้าอยู่, จึงรับสั่งให้ค้น ในสระ ตรวจดูแม้ระหว่างบุรุษด้วยแสงประทีป ไม่เห็นแล้วก็เสด็จหลีก ไป ด้วยทรงดำริว่า "พระเจ้าตาจักเสด็จไปแล้ว"
ด้วยความขอบคุณสำหรับคำแนะนำและความคิดเห็นของทุกท่านนะคะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ความดีของพระอริยบุคคลสูงมาก แม้แต่นาคภพก็ยังร้อนครับขออนุโมทนาครับ
วันลอยกระทงของทุกปี จะตรงกับ วันปรินิพพานของท่านพระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) เมื่อท่านพระสารีบุตร ไปทูลลาปรินิพพานกับพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาค ฯ จะไม่ตรัส ว่า "เธอจงปรินิพพานเถิด" เพราะจะมีผู้กล่าวได้ว่า พระพุทธองค์สรรเสริญความตาย และพระผู้มีพระภาค ฯ ก็จะไม่ตรัสว่า "เธออย่าปรินิพพาน" เพราะจะมีผู้กล่าวได้ว่าพระพุทธองค์สรรเสริญวัฏฏะ