เมื่อข้าราชการหญิงไปปฏิบัติธรรม

 
kanchana
วันที่  24 ก.พ. 2551
หมายเลข  7504
อ่าน  2,904

ขอความเห็นจากท่านผู้ใฝ่ในธรรม

คือทางราชการ มีนโยบายให้ข้าราชการหญิง ลาไปปฏิบัติธรรมได้สามเดือน จึงใคร่ทราบว่า สถานที่ที่ควรเลือกไปกิจกรรมนี้ ที่ไม่เน้นการนั่งสมาธิ ไม่วิปัสสนา ไม่ใช่ ยุบหนอ พองหนอ คือเน้นเรื่องพุทธพจน์นั้น มีที่ใดบ้างที่ทางราชการอนุญาต

กล่าวโดยจริงใจ ดิฉันไม่สามารถนั่งสมาธินานๆ ทนทุกขเวทนาจากการนั่งนานๆ ได้ แต่ชอบสิกขาธรรม โดยมีผู้ที่สิกขามาก่อน มาอธิบายไขข้อข้องใจต่างๆ ได้โดยมีเมตตากัน บ้านธัมมะมีกิจกรรมแบบนี้หรือไม่ ที่ฟังของ อ.สุจินต์ นั้นดิฉันฟังมาร่วม ๑๐ ปี แต่ไม่สมำเสมอ เรียกว่าศรัทธาไม่มั่นคง ทำให้เข้าใจยาก คือไม่มีปัญญาพอจะเข้าใจ ขอถามว่า ท่านใดเป็นอย่างนี้และควรแก้ไขอย่างไร ขณะนี้ พยายามสวดมนต์ อภิธรรม ๗ คัมภีร์ อ่านพระสูตร ฟังสวดมนต์ตามแผ่น CD คิดว่ากำลังหลงทางหรือไม่

ขอผู้เมตตาช่วยแนะนำด้วยค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ajarnkruo
วันที่ 24 ก.พ. 2551

ที่มูลนิธิฯ ก็มีการสนทนาธรรม ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ ท่านสามารถไปเพื่อร่วมสนทนาธรรมได้ หรือว่าที่บ้านธัมมะ จ.เชียงใหม่ ก็มีการถ่ายทอดเสียงสดจากมูลนิธิฯ ให้ได้ฟัง ทั้งวันเสาร์และวันอาทิตย์เช่นกัน ส่วนเวลา 1๑๔.๐๐ - ๑๖.๐๐ ของทุกๆ วันอาทิตย์ ที่บ้านธัมมะก็มีการสนทนาธรรมของสหายธรรมร่วมกัน สะดวกที่ไหนเชิญได้ทั้งสองที่ครับ หรือหากไม่สะดวกจะเข้ามาสนทนาธรรมผ่านกระดานสนทนาของเว็บไซด์ dhammahome.com ก็ได้ครับ ที่นี่มีหลายช่องทางให้ได้เจริญปัญญา ท่านวิทยากร รวมทั้งท่านผู้รู้ ใจดีหลายๆ ท่าน ก็พร้อมที่จะเกื้อกูลให้ผู้อ่าน ได้เกิดความเข้าใจธรรมะที่ถูกต้องอยู่เสมอครับ อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 24 ก.พ. 2551

ปัญญาเกิดที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องไปปฏิบัติธรรม ขั้นแรกฟังให้เข้าใจ ขั้นสองพิจารณาธรรมะที่ฟังแล้ว ชั้นสาม ถึงลักษณะเฉพาะธรรมในขณะนี้ ไม่ใช่เรา ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
พุทธรักษา
วันที่ 25 ก.พ. 2551

ผู้ที่มีศรัทธามั่นคงแล้ว คือพระโสดาบันเท่านั้น จึงเป็นธรรมดา หากปุถุชนอย่างเราๆ ยังมีเหตุในการปฏิบัติที่ไม่ตรง จึงควรศึกษาพระธรรมด้วยความไม่ประมาท.ท่านอาจารย์สุจินต์ ได้กรุณาอธิบายในเรื่องนี้อย่างละเอียด ซึ่งมีการสนทนากันมาก ทั้งทางวิทยุและในหนังสือของ ม.ศ.พ.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
oom
วันที่ 26 ก.พ. 2551

ดิฉันก็เป็นข้าราชการ ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก ซึ่งการลาไปปฏิบัติธรรมนั้น ถ้าให้สิทธิการลาเหมือนผู้ชาย ถือเป็นระเบียบปฏิบัติ ว่าให้ผู้หญิงลาไปปฏิบัติธรรมได้คนละ 1 ครั้ง คิดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่ระเบียบที่ออกมาครั้งนี้ เปิดกว้างให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชา ถ้าผู้บังคับบัญชาไม่เห็นด้วย ก็ไม่สามารถไปได้

สรุปเราคงต้องพิจารณาเองว่าถ้าเราไปแล้วมีผลกระทบกับงาน ก็คงไปไม่ได้ อยู่ในชีวิตประจำวัน ก็ถือว่าปฏิบัติธรรมเหมือนกัน เพียงแต่ต่างกันตรงสถานที่ และเวลาเพราะถ้าไปแบบนั้น เราอาจจะมีเวลาศึกษาและเรียนรู้ได้เต็มที่

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Sam
วันที่ 26 ก.พ. 2551

ถ้าจะลาไปสถานที่ที่เรารู้จักแล้วเป็นอย่างดี เช่นเชียงใหม่ หรือภูเก็ต เราก็คงแทบไม่ต้องศึกษาข้อมูลหรือวางแผนการเดินทาง จนวุ่นวาย แต่ถ้าจะต้องไปต่างประเทศ หรือเมืองที่เราไม่เคยรู้จัก ก็คงมีการบ้านให้ต้องทำมากมาย เมื่อต้องลาไป "ปฏิบัติธรรม" คนไทยส่วนใหญ่ มักคิดว่าเข้าใจแล้วว่า จะไปทำอะไร แต่ในความเป็นจริง คำว่า "ปฎิบัติ" และ "ธรรมะ" นั้นมีความหมายที่ลึกซึ้งเกินคำบรรยาย เพียงแค่คำว่า "ธรรมะ" เพียงคำเดียว หากผู้ใดเข้าใจเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว ย่อมบรรลุคุณธรรมเป็นพระอริยบุคคล ดังนั้น หากท่านต้องการความคิดเห็น ผมขอเสนอให้ท่านศึกษาให้มีความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่า การปฏิบัติธรรมคืออะไร
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่... เรื่องการปฏิบัติธรรม ไปปฏิบัติธรรม? เราควรปฏิบัติอย่างไร การปฏิบัติธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
oom
วันที่ 1 มี.ค. 2551

คำว่าปฏิบัติธรรม คงเป็นคำพูดที่ติดปากของคนที่ใฝ่ใจทางด้านการปฏิบัติ ที่ต้องไปตามสถานที่ต่างๆ ที่มีการสอนเรื่องการปฏิบัติในแนวทางต่างๆ ซึ่งเป้าหมายคือ ความหลุดพ้นเหมือนกัน แต่กลวิธี ของแต่ละที่ อาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน สำหรับผู้ที่เข้าใจธรรมะ ก็คิดว่าอยู่ในชีวิตประจำวัน ก็คือการปฏิบัติธรรม คงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากที่จะไม่ใช้คำว่าไปปฏิบัติธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
devout
วันที่ 1 มี.ค. 2551

ธรรมมีอยู่ตลอดเวลา ทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่ที่ไหนก็ปฎิบัติธรรมได้ ถ้าเข้าใจธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wirat.k
วันที่ 4 มี.ค. 2551

เดิมทีสำหรับตนเองเพราะไม่เข้าใจว่าธรรมคืออะไรจึงมีความต้องการที่จะไปปฏิบัติธรรม และเคยไปทำตามที่มีผู้บอกเมื่อมีโอกาสได้ฟังพอเข้าใจบ้างว่า ธรรม คือสิ่งที่มีจริง เกิดดับตามเหตุปัจจัยเมื่อในชีวิตประจำวันมีสิ่งที่มีจริง ทั้งเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัสทางกาย และคิดนึกเรื่องราวต่างๆ มากมาย ไม่พ้นจากทั้งหกทางนี้จึงพอที่จะเริ่มเข้าใจว่า แท้จริงแล้วธรรมปฏิบัติกิจของธรรมแต่ละประเภทอยู่แล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปปฏิบัติสิ่งใดขึ้นมานอกเหนือจากสิ่งเหล่านี้เลยเมื่อเข้าใจถูกก็เพราะสภาพธรรมที่เป็นความเข้าใจถูกปฏิบัติกิจของเขาเป็นไปตามเหตุปัจจัย เริ่มจากการฟังพระสัทธรรม ไม่สามารถบังคับบัญชาได้

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ