ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว

 
kengjig
วันที่  14 มี.ค. 2551
หมายเลข  7881
อ่าน  1,969

ส่วนใหญ่ ทุกๆ คนจะพูดว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แต่ถ้าไม่มีเราแล้วใครได้ดี ใครได้ชั่ว ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 14 มี.ค. 2551

เป็นสภาพนามธรรมที่เรียกว่า จิตและเจตสิกค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 14 มี.ค. 2551

ขอเสริมคุณไตรสรณคมน์ ครับ คือเมื่อว่าโดยปรมัตถ์แล้วไม่มีผู้ทำไม่มีผู้รับ ไม่มีผู้เสวย แต่ก็นามรูปหรือกองแห่งขันธ์นั้นนั่นแหละที่สมมติว่าตัวตนของเรา เป็นผู้กระทำและรับผล ดังนั้น ผู้ที่เข้าใจเรื่องอนัตตา ไม่มีตัวตนเป็นอย่างดี ย่อมเป็นผู้เว้นจากกรรมชั่ว สะสมกรรมดี มีความไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต อบรมเจริญปัญญาเพื่อดับกิเลสอันเป็นเหตุของวัฏฏะอันน่ากลัวนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ajarnkruo
วันที่ 14 มี.ค. 2551

ลองฟังกัมมปัจจัยดูนะครับ อาจจะยากสักหน่อย แต่ถ้าเข้าใจความเป็นปัจจัยของจิตและเจตสิกมากขึ้นว่า สภาพธรรมทั้งสองนี้เกี่ยวเนื่องเป็นไปด้วยกันอย่างไร ก็จะรู้ว่าไม่มีตัวตนของใครทำอะไรให้เกิดขึ้น ไม่มีใครมาได้รับผลของกรรมใดๆ ทั้งสิ้น เป็นเพียงแต่ความคิดว่ามีเราทำ มีเราได้รับกรรม เพราะยังยึดถือสภาพธรรมะที่มาประชุมรวมกันว่าเป็นเรา เป็นตัวตน ซึ่งความจริงก็มีแต่เพียงจิต เจตสิก รูปที่เกิดขึ้นแล้วดับไปแต่ละขณะอย่างรวดเร็วโดยไม่รู้เท่านั้น และเมื่อไม่รู้ ความรู้สึกว่ามีเรา เป็นเราย่อมปรากฏ การจะรู้ว่าตัวตน (โลภมูลจิต ทิฏฐิคตสัมปยุตต์) ยังมีอยู่โดยละเอียดและลึกมากแค่ไหน ก็ต้องด้วยปัญญาที่เจริญขึ้น จากการเจริญสติปัฏฐานเท่านั้นครับ ทางเดียว

คลิกที่นี่ครับ --> 4119 กัมมปัจจัย ๒ อย่าง 4045 เจตนาเจตสิกเป็นกัมมปัจจัย 4176 เจตนาเจตสิกเป็นกัมมปัจจัย 4178 นานักขณิกกัมมปัจจัย

2516 เจตนา ๒ ประเภท กับ กัมมปัจจัย 2130 วิบากที่จะให้ผลต้องอาศัยกรรมเป็นกัมมปัจจัย

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 14 มี.ค. 2551

เรา เขา ไม่มี แต่อย่าลืมว่า ปรมัตถธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง ได้แก่ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน และจิตก็ยังแบ่งออกไปเป็น ๔ ชาติ ได้ชาติกุศล ชาติอกุศล ชาติวิบาก ชาติกิริยา วิบากเป็นผลของกรรม กรรมคือการกระทำดี หรือกระทำชั่ว ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
baramees
วันที่ 24 พ.ค. 2551

พูดโดยสมมติเพื่อให้เข้าใจ แต่ไม่หลงว่ามีสัตว์บุคคลเพราะเข้าใจถูกว่าเป็นสภาพธรรมที่ทำหน้าที่

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suwit02
วันที่ 24 พ.ค. 2551
สาธุ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ