โลภมูลจิต
โลภมูลจิต
โลภ (ความติดข้อง ความต้องการ) + มูล (รากเหง้า) + จิตฺต (จิต)
จิตที่มีโลภเจตสิกเป็นมูล หมายถึง อุกศลจิตที่ความติดข้องต้องการ เพราะมีโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วยเป็นไปในอาการหลายอย่าง เช่น ความกำหนัด ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความรักใคร่ ความทะยานอยาก ความผูกพัน ความห่วงใย ความอาลัยฯลฯ
โลภมูลจิตมี ๘ ดวง เพราะความต่างกันของสภาพธรรม ๓ อย่าง คือ เวทนา ๑ สัมปยุตต์ ๑ สังขาร ๑ ได้แก่
๑. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ (แช่มชื่น) ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน)
๒. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ (แช่มชื่น) ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นจิตที่ไม่มีกำลัง (มีการชักชวน)
๓. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ (แช่มชื่น) ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน)
๔. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ (แช่มชื่น) ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นจิตที่ไม่มีกำลัง (มีการชักชวน)
๕. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์) ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน)
๖. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์) ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นจิตที่ไม่มีกำลัง (มีการชักชวน)
๗. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์) ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดเป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน)
๘. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์) ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดเป็นจิตที่ไม่มีกำลัง (มีการชักชวน)
โลภมูลจิตเป็นสเหตุกจิต ประกอบด้วยเหตุ ๒ เรียกว่า ทวิเหตุกะ คือประกอบด้วยโลภเหตุ และโมหเหตุ
โลภมูลจิต ๘ ดวง เพราะความต่างกันของสภาพธรรม ๓ อย่าง คือโสมนัสสัสหคตัง ทิฏฐิคตสัมปยุตัง อสังขาริกังใน๑ ดวงประกอบด้วย เวทนา ๑ สัมปยุตต์ ๑ สังขาร ๑ ใช่ไหมครับ ไม่มีสิ่งชักชวนเสีย ๔ ดวง คือไม่มีสิ่งชี้นำ มีสิ่งชักชวนเสีย ๔ ดวงอาศัยสิ่งอื่นชี้นำใช่ไหมครับยังขาดความเชื่อมั่นในความเข้าใจของธรรมแต่ละอย่างครับ เพราะมารู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน ขั้นเข้าใจยังน้อยครับ
กราบขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงยิ่งครับ
กราบอนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
โลภมูลจิต เป็นจิตประเภทที่เป็นอกุศล มีโลภะเกิดร่วมด้วย เป็นสภาพธรรมที่มีจริง โลภมูลจิต ๘ ประเภท นั้น เมื่อกล่าวอย่างกว้างๆ แล้ว มีทั้งที่ประกอบด้วยความเห็นผิด ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด มีกำลังกล้า มีกำลังอ่อน มีโสมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วย มีอุเบกขาเวทนา เกิดร่วมด้วย ที่กล่าวว่าต้องอาศัยการชักจูง (สสังขาริก) ก็คือ มีกำลังอ่อน แต่ถ้าไม่อาศัยการชักจูง (อสังขาริก) คือ มีกำลังกล้า นั่นเอง ครับ
ขอเชิญคลิกอ่านรายละเอียดเิพิ่มเิติมได้ที่นี่ ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณผู้ใช้นามว่า "เข้าใจ" และทุกๆ ท่านด้วยครับ...
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าที่พระองค์ได้ทรงแสดงไว้นี้นั้น ชั่งละเอีอดและลึกซึ้งจริงๆ ยากยิ่งที่จะได้เข้าใจในเวลาอันสั้น ด้วยสติความเพียรและปัญญาของปุถุชนอย่างเรานี้ จะมีไหมหนอที่จะได้เข้าถึง กราบขอบพระคุณ อาจารย์คำปั่นและอาจารย์ผเดิมพร้อมทั้งกัลยาณมิตรสหายธรรมทุกๆ ท่านที่คอยเกื้อกูลอธิบายขยายความพระธรรมให้ได้ค่อยๆ เข้าใจ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ