วิปัสสนาญาณ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ก.ค. 2551
หมายเลข  9335
อ่าน  24,668

วิปัสสนาญาณ

วิ (วิเศษ แจ้ง ต่าง) + ปสฺสนา (การเห็น) + ญาณ (ความรู้ ปัญญา)

ปัญญาที่เห็นแจ้ง ปัญญาที่เห็นอย่างวิเศษ ปัญญาที่เห็นโดยประการต่างๆ หมายถึง ความสมบรูณ์ของปัญญา ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการอบรมสติปัฏฐาน ได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่เกิดกับมหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์ ที่เห็นแจ้งสภาพธรรมโดยประการต่างๆ คือ เห็นแจ้งลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมโดยความเป็นอนัตตา เห็นแจ้งความเกิดดับของนามธรรมรูปธรรม เห็นนามธรรมรูปธรรมโดยความเป็นภัย เห็นโดยความเป็นโทษ เห็นโดยความเป็นผู้ใคร่ที่จะพ้นจากสังขาร ฯลฯ

วิปัสสนาญาณมี ๑๖ ขั้น คือ

๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งความแยกขาดจากกันของนามธรรมและรูปธรรม ที่ละอารมณ์โดยสภาพความเป็นอนัตตา

๒. ปัจจยปริคคหญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งความเป็นปัจจัยของนามธรรมและรูปธรรม คือ รู้ชัดว่านามรูปแต่ละอย่างมีปัจจัยเป็นเหตุให้เกิด

๓. สัมมสนญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งการเกิดดับสืบต่อของนามธรรมรูปธรรมอย่างรวดเร็ว ทำให้เห็นโทษของการเกิดดับได้ไม่ชัดเจน

๔. อุทยัพพยญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งการเกิดดับของนามธรรมรูปธรรมอย่างละเอียด เป็นวิปัสสนาที่มีกำลัง เห็นโทษของการเกิดดับของสภาพธรรมได้ยิ่งขึ้น

๕. ภังคานุปัสสนาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งความดับทำลายของนามรูป โดยไม่ใฝ่ใจถึงการเกิด

๖. ภยตุปัฎฐานญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งนามรูป โดยเห็นความเป็นภัยในสังขารทั้งหลาย

๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งรูป โดยเห็นความเป็นโทษในสังขารทั้งหลาย

๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งนามรูปโดยเห็นทุกข์โทษภัย จนเกิดความเบื่อหน่ายในสังขารธรรมทั้งปวง

๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งนามรูปโดยความที่ใคร่จะพ้นจากสังขารธรรมทั้งปวง

๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งลักษณะทั้ง ๓ ของนามรูป เป็นเหตุที่จะเปลื้องตนให้พ้นจากสังขารธรรม

๑๑. สังขารุเบกขาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งลักษณะทั้ง ๓ ของนามรูปที่คมกล้ายิ่งขึ้น จนเกิดความมัธยัสถ์ วางเฉยในสังขารธรรมทั้งปวง

๑๒. อนุโลมญาณ ปัญญาในอนุโลมชวนะ ๓ ขณะในมัคควิถี (บริกรรม อุปจาร อนุโลม) คล้อยตามเพื่อการบรรลุ มรรค ผล นิพพาน

๑๓. โคตรภูญาณ ปัญญาในโคตรภูชวนะ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ ข่มเสียซึ่งโคตรปุถุชนเพื่อถึงอริยโคตร เป็นอาวัชชนแก่มรรคญาณ

๑๔. มรรคญาณ ปัญญาในมัคคจิตซึ่งเป็นโลกุตระ สำเร็จกิจทำลายกิเลส ดับวัฏฏทุกข์ ปิดประตูอบาย ๔ เป็นขณะที่ถึงพร้อมด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

๑๕. ผลญาณ ปัญญาในผลจิตที่เกิดต่อกัน ๒ – ๓ ขณะ เสวยวิมุตติสุขอันปราศจากกิเลสซึ่งอริยมรรคประหารแล้ว

๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ปัญญาในปัจจเวกขณวิถีอันเป็นโลกียะพิจารณา มรรค ผล นิพพาน กิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่เหลืออยู่รวม ๕ วาระ สำหรับพระอรหันต์ไม่มีกิเลสที่เหลืออยู่ให้พิจารณา จึงมีปัจจเวกขณวิถีเพียง ๔ วาระ ปัจจเวกขณวิถีของพระอริยบุคคลทั้งหมดจึงมี ๑๙ วาระ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 23 ก.ค. 2551
สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
opanayigo
วันที่ 30 ก.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
toangsg
วันที่ 22 ต.ค. 2552

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
toangsg
วันที่ 14 พ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
akharat
วันที่ 12 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
คุณ
วันที่ 12 ก.พ. 2553

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
naipon
วันที่ 10 มี.ค. 2553

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pamali
วันที่ 29 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Endeavor
วันที่ 16 ก.พ. 2554

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
intira2501
วันที่ 26 ก.พ. 2554

กราบอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านที่สนใจค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
panasda
วันที่ 25 พ.ค. 2560

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chaichumpon
วันที่ 6 พ.ย. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chatchai.k
วันที่ 6 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Kalaya
วันที่ 21 เม.ย. 2564

สาธุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Sea
วันที่ 18 มี.ค. 2565

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
Purisachaneeya
วันที่ 17 ส.ค. 2565

ขออนุญาตสอบถามกัลยาณมิตรเพื่อเป็นความรู้ครับ ว่าวิปัสสนาญาณหากปฏิบัติได้ญานแล้วแต่ยังไม่ถึงญาณที่ 16 ญาณเหล่านั้นสามารถเสื่อมถอยลงได้ไหมครับ หากเสื่อมถอยลงแล้วเรากลับมาปฏิบัติ จะใช้ระยะเวลาที่จะคืนสู่ญาณนั้นๆ ที่เคยเกิดขึ้นกับเราน้อยกว่าครั้งแรกที่ปฏิบัติไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ส.ค. 2565

ถ้าไม่เข้าใจแล้วจะไปทำวิปัสสนาอย่างไร วิปัสสนาคือขณะนี้ คือการเริ่มต้นของการเข้าใจความจริงของสภาพธรรม ซึ่งถ้าไม่มีการฟังให้เข้าใจ จะไม่มีการเริ่มต้นเป็นวิปัสสนาเลย

เพราะฉะนั้น วิปัสสนา คือ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งความจริงของสิ่งที่กำลังเป็นจริงขณะนี้ ซึ่งต้องอาศัยการฟัง คือ การอบรม นี่คือ การตั้งต้น ไม่ใช่ไปทำอย่างอื่น ถ้าไปทำอย่างอื่นแล้ว อย่างไรๆ ก็ไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่วิปัสสนา

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ส.ค. 2565

คำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

"พระพุทธศาสนา" เป็นคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงแสดงธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้ เพื่อให้บุคคลอื่นได้เข้าใจถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงตรัสรู้ หมายความว่า ควรรู้ หรือ เข้าใจตั้งแต่ต้น ว่า

พระพุทธศาสนาเป็นคำสอนของใคร? ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสอนเรื่องอะไร? ทรงสอน เรื่องความจริง หรือ สัจจธรรม ที่สามารถรู้ตามจนถึงประจักษ์แจ้งความจริง และ ดับความไม่รู้ ดับกิเลสได้ตามลำดับขั้นของปัญญา เพราะฉะนั้น พระพุทธศาสนา จึงเป็นเรื่องของปัญญา ทั้งหมด

คำสอนในพระพุทธศาสนา ทั้งหมด ไม่ได้มีคำแนะนำให้ "ทำ"

แต่เป็นเรื่องของบุคคล ผู้ศึกษานั้นเอง ที่ควรเข้าใจตั้งแต่ต้นว่า ตนเองได้รู้จักพระพุทธศาสนาแล้วหรือยัง ว่า คำสอนของพระพุทธเจ้า ทรงสอนให้ เข้าใจสัจจธรรม ไม่ใช่สอนให้ทำ โดยที่ไม่เข้าใจอะไรเลย ทรงสอนให้เข้าใจว่า ขณะนี้มีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ซึ่งตั้งแต่เกิดจนตาย ก็เกิดดับสืบต่อตลอดเวลาไม่ขาดสาย แต่ไม่เคยรู้จักสภาพธรรมนั้นๆ ตามความเป็นจริง ว่า สภาพธรรมที่กำลังปรากฏนั้น คือ อะไร และ มีการยึดถือสภาพธรรมเหล่านั้น ว่าเป็น ตัวตน ซึ่งหากจะเข้าใจจริงๆ ว่า ขณะไหนเป็นเรา เป็นตัวตน ก็คือ เมื่อได้ฟังพระธรรมคำสอนของพระองค์ เมื่อได้ฟังแล้วเกิดความเข้าใจ ก็จะทราบตามความเป็นจริง ว่า ไม่มีสิ่งที่เคยยึดถือ ว่า เป็นตัวตน เป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคล มีแต่สภาพธรรมที่เกิดดับสืบต่อ ตามเหตุ ตามปัจจัย ซึ่งหมายถึงสภาพธรรมที่มีจริงๆ แต่ละขณะเท่านั้น

การที่ปัญญาจะเจริญขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูก ไปทีละเล็ก ทีละน้อย ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
muda muda
วันที่ 11 พ.ค. 2566

ขอถึง พระรัตนตรัยเป็นสรณะทุกภพทุกชาติ อธิษฐานะที่มั่นคง สร้างเหตุ ให้สมกับผลที่ปราถนา คือ นิพพาน กราบอนุโมทนา สาธุค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ