สักกายทิฏฐิ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2551
หมายเลข  9665
อ่าน  7,449

สักกายทิฏฐิ

สก (ของตน) + กาย (ที่ประชุม) + ทิฏฐิ (ความเห็น)

ความเห็นว่าเป็นกายของตน ความเห็นว่าเป็นตัวตน หมายถึง ความเห็นผิดในขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา ของเรา หรือเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งผิดไปจากความเป็นจริงตามสภาพธรรม

สักกายทิฏฐิ เป็นความเห็นผิดที่เป็นพื้นฐาน เป็นอนุสัยกิเลสซึ่งมีอยู่ในทุกบุคคลที่ไม่ใช่พระอริยะ เรียกว่า ทิฏฐิสามัญ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิด ทิฏฐิพิเศษ ที่มีโทษมากได้ เช่น สัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ อเหตุกทิฏฐิ อกิริยทิฏฐิ นัตถิกทิฏฐิ เป็นต้น


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 27 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pornpaon
วันที่ 29 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ปริศนา
วันที่ 6 ก.ย. 2551

อนุโมทนาค่ะพระธรรมละเอียด ลึกซึ้ง แม้แต่คำเดียว ทรงแสดงไว้หลายนัยไม่ศึกษา ไม่มีทางรู้ได้เลยว่าละเอียดแค่ไหน

ขอบพระคุณมากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
suwit02
วันที่ 6 ก.ย. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 19 มี.ค. 2552

จากข้อความในกระทู้ที่ว่า อเหตุทิฏฐิที่เป็นไปในวัตถุ ๑๐ มีความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด เป็นต้นไม่ห้ามสวรรค์ แต่ห้ามมรรค เพราะไม่ถึงความเป็นกรรมบถ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ อย่างที่ถึงความเป็นกรรมบถ คือ อเหตุทิฏฐิ อกิริยทิฏฐ และนัตถิกทิฏฐิ ห้ามทั้งสวรรค์และมรรค โปรดอธิบายว่า

ก. อเหตุทิฏฐิที่เป็นไปในวัตถุ ๑๐ ซึ่งไม่เป็นอกุศลกรรมบถนั้น คือ

1. โลกเที่ยง

2. โลกไม่เที่ยง

3. โลกมีที่สุด

4. โลกไม่มีที่สุด

5. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น

6. ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง

7. สัตว์ตายแล้วเกิด

8. สัตว์ตายแล้วไม่เกิด

9. สัตว์ตายแล้วเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี

10. สัตว์ตายแล้ว เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ใช่หรือไม่ครับ

ข. ข้อ ก. 5 กับ ก. 8 ต่างกันอย่างไรและการที่ปักใจว่าตายแล้วไม่เกิดนั้น เป็นการปฏิเสธผลของกรรม (หลังจากตายแล้ว) ด้วยหรือไม่ ถ้าเป็นการปฏิเสธผลของกรรม เหตุใดจึงไม่เป็นกรรมบถ

ค. ข้อ ก.9 มีรายละเอียดหรือไม่ว่าเขาเห็นว่าสัตว์พวกไหนเกิดและพวกไหนไม่เกิด

ง. ข้อ ก. 10 หมายความว่าอย่างไรครับ เป็นการพูดเล่นลิ้นดิ้นไปดิ้นมาใช่หรือไม่ ถ้าความเห็นซัดส่าย ไม่แน่นอนก็เท่ากับผู้พูดรับว่าตนเองยังไม่รู้ยังค้นหาคำตอบอยู่จะถือว่าเขามีความเห็น (ผิด) ในเรื่องนั้นๆ ได้อย่างไร

จ. อเหตุทิฏฐิอื่นนอกจากนี้ล้วนเป็นกรรมบถ ทั้งสิ้นหรือครับ โปรดแสดงตัวอย่าง อเหตุก ทิฏฐิ ซี่งเป็นกรรมบถ

ฉ. โปรดแสดงตัวอย่าง อกิริยทิฏฐ นัตถิกทิฏฐิ

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
prachern.s
วันที่ 20 มี.ค. 2552

ก. ในบางแห่งใช้คำว่า อันตคาหิกทิฏฐิ

ข. ต่างกันไม่ถึงกรรมบถเพราะไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ คือยังไม่มีกำลังมาก

ค. ความเห็นผิดว่ามีสัตว์...

ง. ประมาณนั้น อมราวิกเขปะ

จ. หมายถึง ที่เป็น นิยตมิจฉาทิฏฐิ มีกำลังแก้ไขไม่ได้

ฉ. โปรดคลิกที่ อกิริยทิฏฐิ และ นัตถิกทิฏฐิ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
suwit02
วันที่ 20 มี.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เซจาน้อย
วันที่ 14 ม.ค. 2554

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
SOAMUSA
วันที่ 27 ม.ค. 2554

ขออนุโมทนาบุญกับธรรมทานทุกท่านค่ะ

ขอเรียนถามค่ะเรื่อง สักกายทิฏฐิ ๒๐ ข้อ

๑. เห็นรูปเป็นตน แตกต่างจากข้อ ๓. เห็นรูปในตน อย่างไรค่ะละเอียดมากค่ะ ดิชั้นไม่สามารถแยกความแตกต่างได้ชัดเจนค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
SOAMUSA
วันที่ 27 ม.ค. 2554

๑๘. เห็นตนมีวิญญาณ คือขณะที่ยึดถือรูป เวทนา สัญญา วิญญาณ ว่าเป็น เรา และเรามีวิญญาณ ขอประทานโทษนะค่ะข้อ ๑๘ พิมพ์ผิดหรือเปล่าค่ะ ตรง รป เวทนา สัญญา ตัวต่อไปต้องเป็นสังขารใช่หรือไม่ค่ะถ้าข้อ ๑๘ ไม่ได้พิมพ์ผิดพลาดก็ขออภัยด้วยนะค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2554

เรียนคุณ SOAMUSA

ขอขอบพระคุณ คุณ SOAMUSA ที่ได้กรุณาแจ้งข้อผิดพลาดให้ทราบ ทางบ้านธัมมะได้เข้าไปแก้ไขในส่วนนั้นตามที่คุณ SOAMUSA แจ้งแล้ว

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chaiyut
วันที่ 28 ม.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ ๙

ข้อ ๑ เห็นรูปเป็นตน คือ เห็นผิดว่า รูปสั้นเพียง ๑๗ ขณะจิตเท่านั้นเกิดแล้วดับไปแต่เมื่อไม่รู้ติดข้องและเห็นผิด ปุดถุชนจึงยึดถือรูปขันธ์ที่ปรากฏที่กายชั่วขณะว่าเป็นตน เพราะว่ารูปนั้นเนื่องกับกายที่ปุถุชนยึดถือไว้ครับ

ส่วนข้อ ๓ เห็นรูปในตน คือเห็นผิดว่า "รูปขันธ์" อยู่ใน "นามขันธ์" ที่ยึดถือว่าเป็น "รูปขันธ์" กับ "ตัวตน" เนื่องเป็นอันเดียวกันครับ แต่ความจริง พระผู้มีพระภาคทรง "ตัวตน" ครับ แต่ความจริง รูปขันธ์จะไปอยู่ในนามขันธ์ไมได้ รูปเป็นรูป เป็นสภาพที่ไม่รู้อารมณ์ แตกต่างกันปุถุชนโดยสิ้นเชิงกับ นาม ที่เป็นสภาพรู้อารมณ์ และไม่มีรูปร่างใดๆ ด้วยเหตุนี้ผู้ที่เป็นปุถุชน เมื่อไม่เห็นแจ้งความแยกขาดจากกันโดยละเอียดของรูปและนาม ที่ต่างก็อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้นตามความเป็นจริงและยังไม่รู้แจ้งอริยสัจธรรม จึงเห็นผิดยึดถือว่า "นาม" เป็นตัวตนและสำคัญว่ารูปอยู่ในนามนั้น ทั้งๆ ที่นามแต่ละนามเกิดและดับเร็วยิ่งกว่ารูปใดๆ จะมีรูปอยู่ในนามได้อย่างไร ในเมื่อนามที่เกิดก่อนก็ดับไปก่อนรูปนั้นแล้ว แต่เมื่อยังไม่ประจักษ์การเกิดดับของสภาพธรรมจึงเสมือนว่า สิ่งนั้นยังเที่ยง ยังมี ยังรวมกันเป็นกลุ่มก้อนอยู่ แต่ความจริงสิ่งที่คิดว่ามีสภาพธรรมที่เกิดตรงนั้นเกิดแล้วดับแล้วทั้งหมดครับ เมื่อยังไม่มีความเห็นถูกหรือยังไม่พ้นจากความเป็นปุถุชน ก็ย่อมจะหลงยึดถือผิดในสภาพธรรมต่างๆ ด้วยความไม่รู้ต่อไป หนทางเดียวคืออบรมปัญญาด้วยการฟังพระธรรมให้เข้าใจถูก สะสมปัญญาและเจริญกุศลทุกประการจนกว่าจะถึงความเป็นพระอริยเจ้าครับ จึงจะดับสักกายทิฏฐิได้ทั้งหมด

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
happyland
วันที่ 11 ก.ย. 2554

สักกายทิฏฐิ กับ อัตตานุทิฏฐิ เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
paderm
วันที่ 12 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 13 ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

สักกายทิฏฐิ กับ อัตตานุทิฏฐิ เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
chatchai.k
วันที่ 16 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ