จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 055
ทางกายเป็นอนัตตาอย่างไรที่กำลังกระทบสัมผัส ทางใจเป็นอนัตตาอย่างไรที่กำลังคิดนึก เพราะฉะนั้น ก็จะไม่พ้นจากการอบรมเจริญปัญญาพร้อมสติ ที่ระลึกรู้ลักษณะของ สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จริงๆ จึงจะเข้าใจอรรถของพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้
มีข้อสงสัยอะไรบ้างไหมคะในเรื่องนี้ อย่าลืมนะคะ เห็นนิมิต ซึ่งหมาย ถึงเครื่องหมายของ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลมที่ปรากฏทางตา เป็นรูปร่างสัณฐาน ต่างๆ
7909 เป็นรูป เป็นนาม หรือ เป็นนิมิต
ถาม อาจารย์พูดถึงคำว่า “นิมิต” ทำให้รู้สึกสับสน คือ ที่อาจารย์เคยพูดอยู่เสมอนั้น ให้พิจารณาว่าเป็นรูปเป็นนาม ไม่ได้พูดให้พิจารณาเป็นนิมิต
ท่านอาจารย์ รูป คือ สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ถูกไหมคะ ทางตา รูปอะไรปรากฏ
ผู้ฟัง สีครับ
ท่านอาจารย์ ค่ะ ตอบได้ เป็นคนหรือเปล่า เป็นโต๊ะ เก้าอี้หรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่เป็นครับ
ท่านอาจารย์ ไม่เป็นแน่หรือคะ ไม่เป็น ก็ประจักษ์ในความเป็นอนัตตา
ผู้ฟัง เป็น ก็ไม่ใช่เป็นจริง ที่ว่า
ท่านอาจารย์ ก็นั่นซิคะ ไม่ใช่จริง จึงเป็นนิมิต คือการที่จะเข้าใจสภาพธรรมจริงๆ ที่ว่าไม่เป็น เมื่อไม่ใช่ของจริงก็ใช้คำว่า “นิมิตตะ” เพราะเหตุว่าไม่ใช่ของจริง ไม่ใช่คน ไม่ใช่วัตถุสิ่ง ต่างๆ เป็นเพียงนิมิตตะ เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่า มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อยู่ที่ นั่น ท่านผู้ฟังหยิบนาฬิกาได้ เพราะเห็นนิมิตใช่ไหมคะ เครื่องหมายว่าในที่นี้มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม จึงหยิบ กระทบสัมผัสสิ่งที่แข็ง นาฬิกาไม่มี วัตถุสิ่งต่างๆ ก็ไม่มี แต่เป็นรูปที่ปรากฏทางตา ของจริงเป็นแต่เพียงรูปที่ปรากฏทางตา แต่ที่ใดมีธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ที่นั่นมีสี มีกลิ่น มีรส มีโอชะ เพราะฉะนั้นเมื่อมีสีปรากฏ จึงทำให้เกิดการตรึกนึก ถึงรูปร่างสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏ ยึดถือในนิมิต คือ รูปร่างสัณฐานนี้ว่าเป็นวัตถุสิ่งหนึ่ง คือ นาฬิกา ซึ่งจะต้องเห็นเป็นอนัตตาจริงๆ ที่จะละการยึดถือสภาพธรรมทั้งหลายว่าเป็น ตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล
7910 ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะเข้าถึงสภาพธรรมที่เป็นอนัตตา
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะเข้าถึงลักษณะของสภาพธรรมว่าเป็นอนัตตา ต้องเป็นการ ประจักษ์แจ้งด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องตามลำดับ และต้องเป็นการรู้ลักษณะของสภาพ ธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จึง จะดับความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตนได้
เพราะฉะนั้นเวลาอ่านคำว่า “อนัตตา” และหาความหมายของคำว่า “อนัตตา” รู้ ว่า อนัตตา หมายถึง สภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่วัตถุสิ่งหนึ่ง สิ่งใด อย่าคิดว่า เข้าใจแล้ว นั่นเป็นเพียงพูดตาม แต่ว่ายังไม่ได้เข้าใจจริงๆ ตราบใดที่ ยังเห็นนาฬิกา ไม่ใช่เห็นนิมิต เป็นแต่เพียงนิมิต เป็นแต่เพียงเครื่องหมายให้รู้ว่า มีธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม อยู่ที่นี่
ผู้ถาม ก็ระลึกได้ทั้ง ๒ อย่างนะครับ ระลึกเป็นนิมิตก็ได้ ระลึกเป็นรูปก็ได้
ท่านอาจารย์ จนกว่าจะไม่ปรากฏว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน เป็นวัตถุสิ่งใด สิ่งที่ ปรากฏทางตาเป็นแต่เพียงสภาพธรรมชนิดหนึ่ง และยังรู้ด้วยว่า สภาพธรรมชนิดนั้น เป็นเครื่องหมายของธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่ใช่เป็นเครื่องหมายของคน หรือสัตว์ เพราะ เหตุว่าในขณะที่สติยังไม่ได้ระลึกรู้อย่างถูกต้อง เห็นคน เห็นสัตว์ เห็นวัตถุสิ่งต่างๆ ไม่ ใช่รู้ว่า เห็นนิมิต คือ เครื่องหมายของธาตุดิน น้ำ ไฟ ลมเท่านั้น ยังเป็นเห็นคน ใช่ไหม คะ
เพราะฉะนั้นเห็นนิมิต การที่จะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง คือ เห็นนิมิต ซึ่ง เป็นเครื่องหมายของธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ด้วย ไม่ใช่เครื่องหมายของคนนี้หรือคนนั้น หรือ วัตถุสิ่งนั้นสิ่งนี้
ผู้ถาม ผมฟังว่ายังมีความหมายอีกอย่างหนึ่งของคำว่า “อนัตตา” อีกความหมายหนึ่งก็ว่า บังคับบัญชาไม่ได้ ใช่ไหมครับ
ท่านอาจารย์ ถูกต้องค่ะ ไม่มีใครจะเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมที่ปรากฏทางตาให้เป็นอย่างอื่นได้ นอกจากเป็นเพียงนิมิต เครื่องหมายองธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น
ผู้ฟัง ที่จริงคำว่า “อนัตตา” ตามความคิดนึกของผม คิดว่าเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ เป็น ของที่มีจริง และเขาพิสูจน์มาแล้วเป็นเหตุเป็นผล แล้วสามารถทำให้วัตถุนั้นปรากฏให้ คนพิสูจน์ได้ เช่นเดียวกับคำว่า “อนัตตา” ก็เช่นกัน พิสูจน์และปรากฏให้คนทั้งหลายรู้ ได้
ผมมีเพื่อนอยู่คนหนึ่ง เขาก็เคยถามผมว่า คุณก็ศึกษาธรรมนานพอสมควรแล้ว ศาสนาพุทธนั้นสอนอะไร ผมก็พูดถึงเรื่องอนัตตาให้ฟัง ทีนี้เขาก็เถียงว่า ไม่ใช่วิทยา- ศาสตร์ หมายถึง ของจริงตั้งออกมาเหมือนวิทยาศาสตร์ที่เป็นเครื่องคิดเลขอย่างนี้ ผม บอกว่า อันนี้ก็ได้สาธยายเรื่องอนัตตาให้ฟัง เขาเห็นทีไร ก็เป็นเครื่องคิดเลข ก็เถียงกัน อยู่นั่น อันนี้ผมมาคิดอีกทีว่า ศาสนาพุทธที่ไม่แพร่หลายมาก เพราะความยากลำบาก ของธรรมชาติ หรือตัวโมหะที่ปิดบัง ก็ทำให้เข้าใจว่า ทำให้ศาสนาพุทธแพร่หลายยาก มาก
ท่านอาจารย์ พระพุทธศาสนาเป็นพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ และทรงแสดงโดย ละเอียด สุขุม ลึกซึ้ง ซึ่งถ้าไม่พิจารณาโดยละเอียดรอบคอบแล้ว ก็จะทำให้เข้าใจคลาด เคลื่อนได้ ถ้าผู้ใดไม่พิจารณาโดยละเอียดถูกต้องจริงๆ ก็จะไม่พบพระธรรมที่แท้จริง และไม่สามารถอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ว่า พระผู้มีพระภาคและพระอริยสาวกทั้งหลาย ท่านได้รู้แจ้งอริยสัจธรรมอย่างไร
ถ้าเพียงแต่มีความสนใจในพระพุทธศาสนา แต่ไม่ศึกษา ก็ไม่มีทางเข้าใจธรรม โดยถูกต้อง
7912 อยากจะปฏิบัติ จะปฏิบัติอย่างไร
และบางท่านก็อยากจะปฏิบัติ ที่วัดไทยที่วิลเบอร์ดัน ก็ได้ไปสนทนา ธรรมกับอุบาสกอุบาสิกาที่นั่น และท่านบอกว่า ท่านต้องการปฏิบัติ จะปฏิบัติ อย่างไร ดูเหมือนทุกท่านอยากจะปฏิบัติ และขอคำอธิบาย หาหนทางที่จะ ปฏิบัติ ก็ได้เรียนให้ทราบว่า พิจารณาธรรมให้เข้าใจขึ้น และธรรมจะปฏิบัติ ไม่ใช่เราจะปฏิบัติ สติเป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นปฏิบัติกิจของสติ ปัญญาเป็น สภาพธรรมที่เกิดขึ้นปฏิบัติกิจของปัญญา
7913 เห็นขณะนี้เป็นอนัตตาหรือยัง
ถาม อนัตตาเห็นไม่ได้ ใช่ไหมครับ
ท่านอาจารย์ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา สภาพธรรมที่เป็นอนัตตาที่เห็นได้มีอย่างหนึ่ง คือ สีสันวัณณะ หรือสิ่งที่ปรากฏทางตา ในขณะที่กำลังเห็น สิ่งที่ปรากฏเป็นอนัตตา เป็น สภาพธรรมชนิดหนึ่ง
ผู้ฟัง ไม่ใช่รูปหรือครับ
ท่านอาจารย์ รูปซิคะ จะเอาอนัตตาออกจากรูป หรือรูปไม่ใช่อนัตตา หรืออนัตตาไม่ใช่รูป หรือ รูปก็เป็นอนัตตา
ผู้ฟัง คืออนัตตากับรูป ตัวเดียวกันหรือครับ
ท่านอาจารย์ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่เว้นเลย เพราะฉะนั้นสภาพธรรมทุกอย่างที่มีจริง ไม่ว่าจะปรากฏทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทั้งหมดเป็น อนัตตา คือ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
ผู้ฟัง อย่างนั้นที่เราเห็นก็เป็นอนัตตา
ท่านอาจารย์ สภาพจริงๆ เป็นอนัตตา แต่ผู้ที่เห็น เห็นอนัตตา หรือเห็นอัตตา เพราะฉะนั้นต้อง พิจารณาแม้ในขณะที่กำลังเห็นจริงๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อที่จะให้รู้จริงๆ ว่า เข้าใจความ หมายของคำว่า “อนัตตา” จริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่พูดตาม กำลังเห็นเป็นอนัตตาอย่างไร เห็นเป็นอนัตตา ถูกต้องนะคะ แต่เวลานี้ที่เห็นเป็นอนัตตาหรือยัง
ผู้ฟัง ...
ท่านอาจารย์ ค่ะ เพราะฉะนั้นต้องเป็นผู้ที่ละเอียด ต้องเป็นผู้ที่ตรง ต้องเป็นผู้ที่พิจารณา จึง สามารถเข้าใจพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงได้จริงๆ มิฉะนั้นแล้วถ้าเป็นผู้ที่ ผิวเผิน แล้วอยากจะปฏิบัติ ก็ไม่มีทางที่จะอบรมเจริญปัญญาได้ เพราะเหตุว่ามีความ รู้สึกว่าเป็นตัวตนที่จะปฏิบัติ ไม่เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นอนัตตาที่กำลัง ปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เมื่อไม่เข้าใจแล้ว จะปฏิบัติได้ อย่างไร เพราะเหตุว่าต้องเป็นสัมมาสติที่ปฏิบัติกิจของสัมมาสติ ต้องเป็นปัญญา คือ สัมมาทิฏฐิที่ปฏิบัติกิจของปัญญา คือ พิจารณารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง คือ เป็นอนัตตา
ผู้ฟัง ผู้เห็นก็ต้องเป็นอนัตตาด้วย
ท่านอาจารย์ ธรรมทั้งหลาย ไม่เว้นเลยค่ะ
ผู้ฟัง อย่างนั้นจิตกับอนัตตา ตัวเดียวกันหรือไม่
ท่านอาจารย์ จิตเป็นอนัตตา อนัตตาหมายถึงสภาพธรรมแต่ละอย่าง แต่ละชนิด สภาพธรรมที่มีจริงทั้งหมดทุกชนิด ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
ผู้ฟัง ในขณะที่เราเห็นก็เป็นรูป
ท่านอาจารย์ สิ่งที่ปรากฏทางตา
ผู้ฟัง รูปของอนัตตา
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่รูปของอนัตตานะคะ เดี๋ยวจะมีอนัตตาอีกส่วนหนึ่ง แล้วก็มีรูปของอนัตตา ไม่ใช่อย่างนั้น ต้องเข้าใจความหมายว่า อนัตตา หมายความถึงสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่วัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นแต่เพียงสภาพที่มีลักษณะอย่าง นั้นๆ แต่ละอย่าง อย่างสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นของจริง ใช่ไหมคะ ไม่ปรากฏทางหู ไม่ใช่ เสียง ไม่ใช่กลิ่น เป็นแต่เพียงสิ่งที่สามารถจะปรากฏทางตา เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไงคะ แต่เพราะเหตุว่าไม่เข้าใจความหมายของอนัตตาว่า ไม่ ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่วัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใด
เวลาที่ตาเห็น เคยเห็นเป็นวัตถุต่างๆ เคยเห็นเป็นคน เคยเห็นเป็นสัตว์ ต้องรู้ว่า ในขณะนั้น ไม่ได้รู้ความเป็นอนัตตาของสิ่งที่ปรากฏ
เพราะฉะนั้นจึงจะต้องศึกษาให้เข้าใจว่า เมื่อเป็นอนัตตาแล้ว ปรากฏอย่างไรจึง เป็นอนัตตา ถ้ารู้ว่าเป็นเพียงเครื่องหมายให้รู้ว่า มีธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุน้ำ ธาตุลม เท่า นั้น นั่นถูก แต่ถ้าเป็นเครื่องหมายว่า เป็นคนชื่อนี้ ต่างกับคนชื่อนั้น นั่นผิด
ผู้ฟัง ไม่มีทั้งดิน น้ำ ลม ไฟ
ท่านอาจารย์ ไม่มีได้อย่างไรละคะ
ผู้ฟัง เป็นสภาพอนัตตา
ท่านอาจารย์ ว่างไปหรือคะ
ผู้ฟัง ครับ
ท่านอาจารย์ จริงไหมคะ ลองกระทบสัมผัสทุกอย่าง อ่อนแข็งมีไหม ถ้ามีแล้วจะบอกว่าว่างไป ได้อย่างไร นั่นก็หมายความว่า เข้าใจความหมายของคำว่า “อนัตตา” ผิดเสียแล้ว
ผู้ฟัง อนัตตากับอาตมัน
ท่านอาจารย์ สุญญตาหรือเปล่าคะ ความหมายเดียวกัน คือ สูญจากการเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน
7914 เห็นสี สีมีความหมายอย่างไร เห็นอย่างไร
ผู้ถาม ที่ว่าเห็นสี สีมีความหมายอย่างไรครับ เห็นสี เห็นอย่างไรครับ
ท่านอาจารย์ สิ่งที่กำลังปรากฏทางตามีรูปร่างสัณฐานเป็นนิมิตให้รู้ว่า มีธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม อยู่ที่ไหน ทำให้เราหยิบจับทุกสิ่งทุกอย่างได้ถูก ถ้าไม่เห็น ก็จะไม่รู้ว่า มีดิน น้ำ ไฟ ลม อยู่ที่ไหน ต้องอาศัยกายสัมผัส แต่เวลาที่ตาเห็นแล้วสามารถที่จะรู้ได้ ก็เพราะเหตุว่าที่ ใดก็ตามที่มีธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ที่นั่นมีสี มีกลิ่น มีรส มีโอชะ อีก ๔ รูปรวมอยู่ด้วย
เพราะฉะนั้นสีที่ปรากฏทางตาก็เป็นนิมิต คือ เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่า มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมอยู่ที่นั่น แต่ปกติแล้วทุกคนเห็น แล้วก็เห็นนิมิตด้วย ตามปกติ ธรรมดาไม่เปลี่ยน แต่ว่านิมิตนั้นเป็นนิมิตของคนชื่อนั้น ชื่อนี้ หรือว่าวัตถุสิ่งของนั้นสิ่ง ของนี้ เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่การเห็นอนัตตา หรือไม่ใช่การรู้ว่า สภาพธรรมทั้งหลายเป็น อนัตตา เพราะเห็นคนชื่อต่างๆ แต่ถ้าเป็นปัญญาจริงๆ ก็รู้ว่าเป็นเพียงเครื่องหมายให้รู้ว่า มีธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม เมื่อเป็นธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม จึงไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่วัตถุสิ่ง ต่างๆ
ผู้ถาม เพราะฉะนั้นสีในที่นี้ก็ไม่ใช่สีที่เห็น
ท่านอาจารย์ เหมือนกันค่ะ กำลังปรากฏเป็นนิมิต เป็นรูปร่างสัณฐานต่างๆ สิ่งที่ปรากฏทางตา มีรูปร่างสัณฐานปรากฏไหมคะ
ผู้ถาม มีครับ
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม จะมีรูปร่างสัณฐานปรากฏเป็นเครื่องหมายของธาตุดิน น้ำ ไฟ ลมได้ไหม ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะตัวเล็ก ตัวใหญ่ สูงหรือต่ำ ก็เพราะฉะนั้นเป็นเครื่อง หมายให้รู้ว่า ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลมที่นั่นเป็นอย่างไร มากหรือน้อย
ผู้ถาม อย่างเห็นเก้าอี้สีแดง สีน้ำตาล เราเห็นก็แยกได้ทันทีว่า อันนี้แดง อันนี้น้ำตาล
ท่านอาจารย์ จำได้
ผู้ถาม แล้วอันนั้นก็ปรากฏสีแดง อันนี้สีน้ำตาล
ท่านอาจารย์ ค่ะ
ผู้ถาม ทีนี้ถ้าจะเห็นแบบผู้มีสติ ที่ว่าให้เห็นสี สีที่ว่านี้ เป็นสีอะไรกันแน่
ท่านอาจารย์ เหมือนกับปกติธรรมดา ไม่เปลี่ยน แต่ว่าความรู้ รู้ว่านี่เป็นแต่เพียงเครื่องหมาย ของธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ที่มีจริงๆ คือ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม และธาตุดิน น้ำ ไฟ ลมนั้นก็ไม่ ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่วัตถุสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น เป็นแต่เพียงธาตุอ่อนหรือแข็ง เย็นหรือร้อน ตึงหรือไหว ที่กระทบสัมผัสทางกาย แต่เพราะเหตุว่าทางตามารวมสีสัน- วัณณะกับรูปร่างสัณฐาน เลยทำให้ยึดถือว่าเป็นวัตถุต่างๆ เป็นสัตว์ เป็นบุคคลชื่อต่างๆ เพราะฉะนั้นชื่อก็เข้าไปติด ไปปิดบังอีก
ด้วยเหตุนี้การที่จะรู้ลักษณะของสภาพปรมัตถธรรม ซึ่งไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนจริงๆ จึงต้องเป็นผู้ที่ละเอียด เป็นผู้ที่อบรมเจริญปัญญาจนสามารถรู้ลักษณะ ที่แท้จริงของสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นแต่เพียงเครื่องหมายของธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ทางกายกระทบสัมผัส เป็นแต่เพียงเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว จึงไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนทั้งสิ้น แต่เพราะทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทาง ใจ เกิดดับสืบต่อกันอย่างเร็วมาก จึงมีการยึดถือสิ่งที่ปรากฏ ซึ่งเป็นนิมิตเครื่องหมาย ของธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม แต่เข้าใจว่าเป็นนิมิตเครื่องหมายของคนชื่อต่างๆ ของสัตว์ ของ วัตถุต่างๆ นั่นคือความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา จนกว่าจะเห็นจริงๆ ว่าเป็นอนัตตา
7915 ปรมัตถธรรมเป็นอนัตตา
ท่านอาจารย์ ปรมัตถธรรม ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ถ้าธรรมทั้งหลายแล้วก็ไม่เว้นเลยสัก อย่างเดียว เพราะฉะนั้นต้องทางตาที่กำลังเห็น เป็นอนัตตาอย่างไร ทางหูที่กำลังได้ยิน เป็นอนัตตาอย่างไร ทางจมูกที่กำลังได้กลิ่น เป็นอนัตตาอย่างไร ทางลิ้นที่กำลังลิ้มรส เป็นอนัตตาอย่างไร ทางกายที่กระทบสัมผัส เป็นอนัตตาอย่างไร ทางใจที่คิดนึก เป็น อนัตตาอย่างไร
เวลาที่กระทบสัมผัสแล้วรู้สึกว่าจับนาฬิกา เป็นอนัตตาไหมคะ ไม่เป็น แต่ถ้าสติ ระลึกลักษณะที่อ่อนที่แข็งเท่านั้นที่กำลังปรากฏกับสภาพรู้ ไม่ใช่เรารู้ สภาพรู้นั้นกำลังรู้ อ่อนหรือแข็ง เป็นเพียงสภาพรู้เท่านั้นเอง อย่าลืมว่า เท่านั้นเอง ถ้าเป็นเท่านั้นเอง จริงๆ ก็ไม่ใช่เราที่กำลังยึดถืออ่อนหรือแข็งว่าเป็นนาฬิกา แต่ขณะนั้นเป็นอ่อนหรือแข็ง ซึ่งกำลังปรากฏกับสภาพรู้ชนิดหนึ่ง ขณะหนึ่ง เป็นเพียงสภาพรู้ หรือธาตุรู้เท่านั้น
ทางหู เสียงปรากฏกับธาตุรู้หรือสภาพรู้เท่านั้น ทางใจ เรื่องราวปรากฏกับจิตที่ คิดนึกเท่านั้น ถ้าจิตไม่คิดนึก เรื่องนั้นไม่ปรากฏ ไม่มีในโลกใดๆ ทั้งสิ้น เพราะเหตุว่า ทางตาเพียงเห็นแล้วดับ ถ้าไม่คิดถึงสิ่งที่ปรากฏทางตา เรื่องของบุคคลต่างๆ ก็ไม่มี แต่ ถ้าคิดถึงคนหนึ่งคนใด วัตถุหนึ่งวัตถุใด เหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์ใด ในขณะนั้นก็เป็น เพียงสิ่งที่ปรากฏกับจิตที่กำลังคิดเรื่องนั้น เท่านั้นเองจริงๆ
เวลาที่สติเกิด ก็จะรู้ว่าเป็นเพียงสภาพรู้หรือธาตุรู้ซึ่งกำลังรู้เท่านั้นเองจริงๆ แต่ถ้าสติไม่ได้ระลึกรู้
ถาม
ท่านอาจารย์ ไม่ค่ะ แล้วก็ต้องมีสิ่งที่กำลังปรากฏให้รู้ด้วย เช่น ขณะที่อ่อนหรือแข็งกำลัง ปรากฏ สติระลึกรู้ว่า อ่อนหรือแข็งเท่านั้น กำลังปรากฏกับสภาพที่รู้เท่านั้นเหมือนกัน และสภาพรู้เกิดขึ้นรู้เท่านั้น รู้เท่านั้น รู้เท่านั้น ทีละขณะ ทีละขณะ ทีละอย่าง ทีละอย่าง จึงไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนจริงๆ เพราะฉะนั้นก็จะเว้นไม่ได้ ทางหนึ่งทางใด
ถาม
ท่านอาจารย์ ธรรมทุกอย่าง อย่าลืม
7916 เห็นนาฬิกา เป็นมิจฉาทิฏฐิหรือไม่
ถาม อย่างเห็นว่าเป็นนาฬิกา เป็นมิจฉาทิฏฐิหรือไม่
ท่านอาจารย์ การไม่รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วในขณะนั้นถ้าไม่อบรมเจริญสติปัฏฐาน จะ ไม่รู้จริงๆ ว่า ขณะนั้นเป็นโมหมูลจิต หรือโลภมูลจิต เกิดร่วมกับมิจฉาทิฏฐิ หรือว่าเป็น ทิฏฐิคตวิปปยุตต์ คือไม่เกิดร่วมกับมิจฉาทิฏฐิ
ผู้ถาม สักกายทิฏฐิกับเห็นเป็นอัตตา คนละอย่างกันหรือครับ
ท่านอาจารย์ สักกายทิฏฐิก็เป็นมิจฉาทิฏฐิประเภทหนึ่ง
ผู้ถาม เห็นนาฬิกา เป็นอัตตาไหมครับ
ท่านอาจารย์ หลายท่านเห็นแล้วก็ไม่สนใจเลย เกือบจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า มีอะไรอยู่ที่นี่ ขณะนั้น จิตต่างกับขณะที่กำลังพอใจในรูปร่างสัณฐาน และขณะนั้นก็ต่างกับจิตที่ยึดถือว่า ต้อง มีนาฬิกา จะกล่าวว่าเป็นอนัตตาไม่ได้ จะกล่าวว่าไม่ใช่นาฬิกาไม่ได้
ผู้ถาม
ท่านอาจารย์ ยึดถือว่าต้องเป็น ไม่ใช่อย่างอื่น
ผู้ถาม
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ยึดถือก็ได้ เพียงแต่นึกถึงเรื่อง นึกถึงรูปร่าง ยับยั้งความคิดไม่ได้ เวลาเห็น แล้วคิด แต่ความคิดขณะนั้นไม่ประกอบด้วยความยึดถือได้ เพียงแต่คิดเรื่อง
เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องละเอียดจริงๆ ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เคยยึดถือ ว่า เป็นเรา เป็นตัวตนตั้งแต่เกิดจนตาย
7917 ขณะนี้เป็นอะไร โลภะหรือเมตตา
ได้ถามคนไทยซึ่งพบที่วัดไทยว่า โลภะกับเมตตา อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล ทุกคนตอบได้เร็ว พร้อมกันด้วยว่า โลภะเป็นอกุศล เมตตาเป็นกุศล แต่ถ้าถามว่าขณะนี้ เป็นโลภะหรือว่าเป็นเมตตา ตอบไม่ได้ ใช่ไหมคะ แต่ถ้าถามเรื่องราวแล้วตอบได้ โลภะ ต้องเป็นอกุศล และเมตตาก็ต้องเป็นกุศล แต่ถ้าไม่อบรมเจริญสติปัฏฐานแล้ว ไม่ สามารถรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ขณะนี้เป็นโลภมูลจิต หรือขณะนี้เป็นมหากุศลจิตที่ ประกอบด้วยเมตตา แต่เรื่องของชื่อ ตอบได้ เพราะฉะนั้นเรื่องของอนัตตาก็แปลได้ พูด ตามได้ แต่ที่จะเห็นว่าเป็นอนัตตานั้น ต้องเป็นผู้ที่ละเอียด เป็นผู้ที่พิจารณา เป็นผู้ที่ อบรมเจริญปัญญาจริงๆ
เพราะฉะนั้นผู้ที่จะเข้าใจพระพุทธศาสนา และรู้ว่า คำสอนใดเป็นคำสอนที่แท้ จริงของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงต้องเป็นผู้ที่ละเอียดและไม่ผิวเผิน ต้องพิจารณาจริงๆ จนกว่าจะเข้าใจขึ้น แล้วสามารถประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพ ธรรมตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้นจะปราศจากการศึกษาไม่ได้ จะขาดการพิจารณาไม่ได้ จะขาดการ หาเหตุผลไม่ได้ เพราะเหตุว่าถ้าเป็นพระพุทธศาสนาแล้วประกอบด้วยเหตุผล แต่ถ้าไม่ ใช่จะไม่มีเหตุผลทันที ไม่สามารถจะหาเหตุผลได้
7918 ปุถุชนผู้มิได้สดับ
มีข้อสงสัยอะไรอีกบ้างไหมคะ ขอให้เข้าใจความหมายของผู้ที่ยังไม่รู้แจ้งอริยสัจ- ธรรม ซึ่งยังเป็นปุถุชน ข้อความในอัฏฐสาลินี อรรถกถาพระธัมมสังคินีปกรณ์ ติกนิกเขปกถา มีข้อความอธิบายคำว่า “ปุถุชนผู้มิได้สดับ” มีข้อความว่า
ส่วนในคำว่า “ปุถุชนผู้มิได้สดับ” นี้ มีวินิจฉัยว่า
ชนที่จะพึงรู้ได้ว่า ชื่อว่า “ผู้มิได้สดับ” เพราะไม่มีการเล่าเรียนศึกษาและมรรคผล
จริงอยู่ ชนใดไม่ได้เล่าเรียนศึกษา เพราะขาดการเรียน การสอบถาม และการวินิจฉัยในข้อธรรม มีขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปัจจยาการ และสติปัฏฐาน เป็นต้น ไม่มีมรรค ผลเพราะไม่ได้บรรลุมรรคผลที่ตนจะพึงบรรลุด้วยการปฏิบัติ ชนนั้นพึงรู้ได้ว่า ชื่อว่า “ผู้ มิได้สดับ” เพราะไม่มีการเล่าเรียนศึกษาและมรรคผล ชนผู้นี้นั้นชื่อว่า “ปุถุชน” ด้วย เหตุทั้งหลาย มีการยังมีกิเลสมากมายให้เกิดเป็นต้น
อย่าลืมนะคะ เมื่อไม่ได้ศึกษา ไม่ได้มรรคผล ก็ย่อมจะมีกิเลสมากมายเกิดขึ้น
7919 ชื่อว่าปุถุชน ด้วยอรรถว่า ยังกิเลสมากมายให้เกิด
ข้อความต่อไป มีว่า
อีกอย่างหนึ่ง ชนนี้เป็นปุถุ คือ เป็นพวกหนึ่ง เพราะเป็นผู้หยั่งลงภายในแห่ง ปุถุชน ก็ชนชั้นชื่อว่า “ปุถุชน” ด้วยเหตุทั้งหลาย มีการยังกิเลสเป็นต้นมากมาย คือ มี ประการต่างๆ ให้เกิด เป็นต้น ดังพระบาลีที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ชื่อว่า “ปุถุชน” ด้วยอรรถว่า ยังกิเลสมากมายให้เกิด
ยอมรับตามความเป็นจริงว่า มีกิเลสมาก สำหรับผู้เป็นปุภุชน ตราบใดที่ยังไม่รู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แล้วจะให้กิเลสน้อย เป็น สิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย เพียงแต่จะไม่รู้เท่านั้นเอง ว่าเป็นผู้ที่มีกิเลสมาก
7920 ยังพิฆาตสักกายทิฏฐิไม่ได้
ความมายต่อไปของปุถุชน คือ
ชื่อว่า ปุถุชน ด้วยอรรถว่า เป็นพวกที่ยังพิฆาต คือ ยังละ หรือปหานสักกายทิฏฐิ ไม่ได้เป็นจำนวนมาก
อย่าลืมสังเกตพยัญชนะที่ว่า ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เป็นพวกที่ยังพิฆาตสักกายทิฏฐิไม่ได้เป็นจำนวนมาก ไม่น้อย สักกายทิฏฐิ ทางตาที่กำลังเห็น เป็นวัตถุ เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ทางหูที่ กำลังได้ยิน เป็นเรื่องเป็นราว เป็นเหตุการณ์ต่างๆ ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทั้งหมดที่คิดนึกเป็นเรื่องสมมติสัจจะ แสดงให้เห็นว่า สักกายทิฏฐิมากแค่ไหน ทั้งทาง ตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
7921 ชื่อว่าปุถุชน ด้วยอรรถว่า จำนวนมากคอยแต่จะมองดูหน้าศาสดา
ชื่อว่า ปุถุชน ด้วยอรรถว่า จำนวนมากคอยแต่จะมองดูหน้าศาสดา
ไม่ได้พิจารณาเหตุผล เพียงแต่ดูว่า ใครเป็นศาสดา และศาสดาสอน ว่าอย่างไร ก็คอยที่จะเชื่อตามศาสดา คอยมองดูหน้าศาสดา แต่ไม่ใช่ผู้ พิจารณาเหตุผล
7922 ชื่อว่าปุถุชน ด้วยอรรถว่า ออกไปไม่ได้จากคติทั้งปวงเป็นส่วนมาก
ทุกคนเกิดมาแล้วก็ไปอยู่เรื่อยๆ จิตเกิดขึ้นไป เกิดขึ้นไป เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ ดับ แต่เวลาที่จิตเกิดที่จะไม่ไปสู่อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดไม่มี นี่เป็นขณะจิตหนึ่งๆ ซึ่งทำ ให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะทำให้ไปสู่เหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันในแต่ละชาติ ในชาตินี้จิตเกิดขึ้นไปสู่อารมณ์ ทางตา ทำให้เกิดเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ทางหู ทำให้ เกิดคิดนึกเป็นเรื่องเป็นราว ด้วยโลภะ โทสะต่างๆ
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 051
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 052
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 053
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 054
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 055
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 056
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 057
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 058
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 059
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 060
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 061
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 062
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 063
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 064
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 065
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 066
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 067
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 068
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 069
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 070
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 071
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 072
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 073
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 074
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 075
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 076
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 077
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 078
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 079
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 080
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 081
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 082
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 083
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 084
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 085
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 086
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 087
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 088
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 089
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 090
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 091
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 092
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 093
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 094
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 095
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 096
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 097
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 098
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 099
- จิตปรมัตถ์ ตอนที่ 100