กรรม ตอนที่ 13
ถาม ยังไม่ได้คิดเพียงแค่อยากได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้คิดยังไม่เป็นอกุศลกรรม
เป็นโลภมูลจิต ถ้าเข้าไปในร้านใหญ่ๆ เห็นของสวยๆ งามๆ แล้วก็อยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ ในขณะนั้นไม่ใช่อกุศลกรรม
ถาม เคยอ่านเจอในอัฏฐสาลินีว่า แท้จริงขณะที่จิตโลภเกิดขึ้นโดยมีวัตถุอื่น ขณะนั้นอกุศลกรรมบถยังไม่ขาดตราบเท่าที่ยังไม่คิดว่า ไฉนหนอสิ่งนี้พึงเป็นของของเรา ผมคิดเอาน่าจะมีความมหมายว่า ต้องการสิ่งนี้
ท่านอาจารย์ ไฉนหนอของนั้นจะเป็นของของเรา ในทางทุจริต
ถาม ไม่ได้กล่าวว่าอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ ต้องกล่าวไว้เพราะอยู่ในหัวข้ออกุศลกรรมบถ โดยมากต้องดูหัวข้อ แม้แต่ในเรื่องสมาธินิเทศ เช่นในวิสุทธิมรรค ชื่อหนังสือบอกแล้วว่าวิสุทธิมรรค หนทางแห่งความบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นแม้แต่สมาธินิเทศ ก็ต้องเป็นสัมมาสมาธิ จะไม่กล่าวถึงมิจฉาสมาธิเลย ในหมวดนั้นตอนนั้น ฉันใด ในเรื่องของอกุศลกรรมบถก็เหมือนกันฉันนั้น
ถาม ถ้าเป็นอย่างนั้นก็แสดงว่าโดยทางทุจริต เพราะฉะนั้นก็คือจิตคิดที่จะขโมย
ท่านอาจารย์ คิดที่จะได้สิ่งนั้นมาเป็นของตน โดยวิธีใดก็ตามแต่ ในทางทุจริต
ถาม ถ้าเป็นอทินนาทานที่ไม่ครบองค์ก็แสดงว่า เป็นอภิชฌาที่ครบองค์ไปแล้วเพราะอทินนาทานต้องมีจิตคิดที่จะขโมยแน่ๆ
3733 มโนกรรมไม่ใช่แค่เพียงคิดไว้ในใจ
เรื่องของมโนกรรม ไม่ใช่เพียงอยู่เพียงใจ คิดไปเถอะทั้งวันทั้งคืน แต่ไม่ได้กระทำกรรมตามที่คิดก็ไม่สำเร็จ เช่นอยากจะได้ของคนอื่น แล้วก็นึกไปอยากจะได้ของๆ เขา จะเป็นการได้ของบุคคลอื่นมาได้อย่างไร นั่งคิดไปๆ ไม่มีวันที่ของคนอื่นจะมาเป็น ของท่านได้สำหรับผู้ที่คิดอย่างนั้น เพราะฉะนั้นก็ต้องมีการล่วงออกไปทางกาย หรือ ทางวาจา แต่ว่าสำหรับการกระทำทางกายที่ไม่เป็นมโนกรรม มี เป็นแต่เพียงกายกรรม เช่น เวลาที่เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดอาจจะเป็นของที่ไม่ทราบว่าเจ้าของอยู่ที่ไหน และก็เห็นว่าเป็นสิ่งที่เล็กน้อย และไม่ได้คิดมาก่อนด้วยว่า ต้องการของสิ่งนี้ แต่เมื่อผ่านไปเห็นเข้า เช่น ดอกไม้ในสวน หรืออะไรก็ตามแต่ ของในป่าหรืออะไรอย่างนั้น แล้วก็คิดว่าต้องการของสิ่งนั้น แล้วก็เด็ดไป ถือไปจะเป็นผลไม้ หรือดอกไม้ก็ตาม ถ้ามีผลไม้ที่หล่นอยู่ใต้ต้น เมื่อมีความอยากได้ ก็เก็บเอาไป ขณะนั้นก็เป็นกายกรรม แต่ไม่เป็นมโนกรรม เพราะฉะนั้น กายกรรมไม่เป็นมโนกรรม วจีกรรมไม่เป็นมโนกรรม ที่แสดงเรื่องของกรรม ๓ ก็เพื่อที่จะแยกให้เห็นว่า กายกรรมไม่ใช่มโนกรรม วจีกรรมไม่ใช่มโนกรรม แต่สำหรับมโนกรรมที่เป็นมโนกรรมโดยคิดอยู่ในใจเฉยๆ ไม่ได้ล่วงไปทางกายทางวาจานั้นไม่สามารถจะสำเร็จลงไปได้ แต่ว่าต่างกับกายกรรม และวจีกรรม โดยที่ว่ามโนกรรมมีความตั้งใจเกิดขึ้นทางใจก่อน จึงจัดเป็นมโนกรรม
ถ้าโกรธคนหนึ่งแล้วก็คิดที่จะฆ่าคนนั้น แล้วก็จ้างคนอื่นไปฆ่าคนนั้น ขณะนั้น การฆ่าที่สำเร็จลงไปเป็นมโนกรรม แม้ว่าเป็นปาณาติบาตซึ่งเป็นข้อของกายกรรมก็จริง แต่กรรมนั้นสำเร็จลงเพราะมโนกรรม ไม่ใช่เพียงกายกรรม แต่ถ้าโกรธระงับไม่อยู่เลย เกิดประทุษร้ายคนนั้น แล้วคนนั้นตาย ขณะนั้นก็เป็นกายกรรม ซึ่งไม่มีความผูกพยาบาทคิดมาก่อนเลยว่าต้องการที่จะฆ่าคนนั้น แต่เกิดบันดาลโทสะ หรือป้องกันตัว หรืออะไรก็ตามแต่ซึ่งทำให้บุคคลนั้นตายไป ขณะนั้นก็เป็นกายกรรม ซึ่งไม่ใช่มโนกรรม เพราะฉะนั้น องค์ของมโนกรรมก็ดี หรือองค์ของกายกรรม วจีกรรมก็ดี เป็นการแสดงให้เห็นว่า ผลที่เกิดขึ้นจากกาย จากวาจานั้นๆ เป็นกายกรรม หรือว่า เป็นมโนกรรม
3734 ความเห็นผิดในเรื่องของกรรม
สำหรับเรื่องของความเห็นผิดที่ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลของวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่ว ไม่มี โลกนี้ ไม่มี โลกหน้า ไม่มี มารดา ไม่มี บิดา ไม่มี เป็นไปได้ไหม ที่จะเห็นผิดอย่างนี้
ทุกคนรู้ว่า ทุกคนมีมารดาบิดา แต่เข้าใจว่า สิ่งใดๆ ที่กระทำต่อท่านไม่ว่าจะเป็นทางกาย ทางวาจานั้น ไม่มีผล แต่ไม่ใช่ว่าคนนั้นจะไม่รู้ว่าคนนี้เป็นบิดามารดา หรือไม่ย่อมเชื่อว่านี่เป็นบิดามารดา เพราะว่าทุกคนต้องมีมารดาบิดา
เพราะฉะนั้นทุกคนย่อมรู้ว่ามีมารดาบิดา แต่บางคนอาจจะคิดว่า การกระทำสิ่งใดๆ ต่อท่านทั้งทางกาย ทางวาจานั้น ไม่มีผล แต่ความจริงแล้ว ย่อมมีผล
ผู้ที่เห็นผิดก็เชื่อว่า สัตว์ผู้เป็นอุปปาติกะ ไม่มี หรือว่าสมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้ และปรโลกให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ไม่มีในโลก คือ ไม่เชื่อในพระปัญญาคุณของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล
ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม การกระทำทางกายทางวาจาก็มีเป็นประจำทุกวัน แล้วแต่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศลขั้นไหน ข้อความต่อไปพระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล หรือเพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล
นี่ก็แสดงให้เห็นว่าโลกหน้ามี โลกอื่นมี และผลของอกุศลกรรมก็ต้องมีด้วย เพราะเหตุว่าสัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง ทางวาจา ๔ อย่าง และทางใจ ๓ อย่าง แต่อย่าลืมว่าพระผู้พระภาคตรัสว่า สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไป
เพราะฉะนั้นที่จะให้เห็นนรก เห็นสวรรค์เดี๋ยวนี้ ยังเห็นไม่ได้ จนกว่าจะเมื่อตายไป จะรอให้ถึงเวลานั้นแล้วก็พิสูจน์ได้ ไปพิสูจน์กันที่โน้น แต่ว่าไม่ใช่พิสูจน์กันที่นี่
เมื่อทราบว่า มารดาบิดาเป็นพรหมของบุตร คือเป็นผู้ให้กำเนิด ถ้าไม่มีมารดาบิดา คนนั้นเกิดมาในโลกนี้ไม่ได้ ที่คนนั้นจะเกิดมาในโลกจนกระทั่งมีเงินมีทอง ไม่ว่าจะเป็นวัยกลางของชีวิตก็ตามแต่ อย่าลืมว่าเพราะบิดามารดาเป็นพรหม คือ เป็นผู้ให้กำเนิด
เรื่องของบิดามารดาเป็นเรื่องของตัวท่าน แต่เรื่องของบุตร เป็นเรื่องที่จะต้องรู้จักพระคุณว่า มารดาบิดาเป็นผู้ที่มีคุณโดยสถานหนึ่งสถานใด ไม่ว่าจะเป็นโดยเป็นพรหม คือ ผู้ให้กำเนิด หรือเป็นบุรพาจารย์ คือ เป็นครูคนแรกในชีวิตที่จะสั่งสอนลูกแม้แต่ให้เดิน ให้รับประทานอาหาร ให้แต่งตัว ให้ทำทุกสิ่งทุกอย่าง หรือว่าเป็นบุรพเทพหรือเป็นอาหุเนยยบุคคลของบุตร คือ ผู้ที่ควรจะได้รับของที่บุตรจะนำมาให้เป็นการบูชา
เพราะฉะนั้นเรื่องของบุตรต้องเป็นเรื่องของบุตร ไม่จำเป็นต้องไประลึกถึงบิดามารดาในทางส่วนตัวของท่าน ว่าท่านจะไม่ทำหน้าที่นั้น จะเป็นด้วยเคราะห์กรรมของบุตรนั้นเอง ใช่ไหมคะ หรือว่าจะต้องไปคิดว่าเป็นการกระทำของบิดามารดาซึ่งไม่สมควร เรื่องของใครก็ต้องเป็นเรื่องของคนนั้น ในเมื่อเป็นบุตรก็ควรจะทำหน้าที่ของบุตร ส่วนบิดามารดาจะมีเคราะห์กรรมที่ทำให้ต้องพลัดพรากจากกันอย่างไร ก็ต้องเป็นเรื่องของบุตรด้วย ถ้าบุตรทำกรรมมาดี ก็จะไม่มีการพลัดพรากจากบิดามารดา ก็ย่อมจะได้รับการอุปถัมภ์อุปการะจากบิดามารดา ก็ควรจะคำนึงถึงกรรมของตน และไม่ควรสร้างกรรมต่อไป โดยการที่ไม่เห็นคุณของบิดามารดา
สำหรับทางฝ่ายกุศลกรรมนะคะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั่นแลย่อมขึ้นในปัจจุบัน ในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อๆ ไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นสมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง มีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก สมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก
ทางฝ่ายกุศลก็ให้ผลตามกาละ คืออาจจะเป็นในปัจจุบันชาติ หรือในชาติหน้า หรือในชาติต่อๆ ไปได้
สำหรับการรับผลของกุศลกรรม และอกุศลกรรมในกามภูมิ ๑๑ ภูมิ คือ ในอบายภูมิ ๔ ภูมิ ได้แก่ นรก ๑ เดรัจฉาน ๑ เปรต ๑ อสุรกาย ๑ และในสุคติภูมิ ๗ คือในมนุษย์ ๑ ในสวรรค์ ๖ ชั้น
ผลของกรรมที่จะได้รับ บางครั้งอาจจะแม้นเหมือนกับกรรมที่ได้กระทำแล้ว แต่ว่าบางครั้งก็ไม่แม้นเหมือนกับกรรมที่กระทำแล้ว เพราะเหตุว่าโลกย่อมเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ สมัยก่อนไม่มีรถยนต์ ไม่มีการขับรถชนคนตาย แต่ก็มีเจตนาที่จะเบียดเบียน ที่จะประทุษร้าย แต่วัตถุเครื่องใช้ในแต่ละสมัยย่อมต่างกัน
เพราะฉะนั้นผลของกรรมที่จะได้รับในแต่ละยุคในแต่ละสมัย ย่อมแม้นเหมือนกับกรรมที่ได้กระทำแล้วบ้าง และไม่แม้นเหมือนกับกรรมที่ได้กระทำแล้วบ้าง
อย่างผลของกุศลวิบากในแต่ละประเทศก็ย่อมจะต่างกัน รสของผลไม้อร่อยๆ ในเมืองร้อนกับในเมืองหนาวก็ต่างกัน แต่เมื่อเป็นผลของกุศลวิบาก ก็ย่อมจะได้รับผลที่น่าพอใจ แต่ว่าผลที่น่าพอใจจะเป็นรสผลไม้ชนิดใด ในกาลไหน ก็ย่อมแล้วแต่ทวาร และอารมณ์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเหมาะควรแก่กรรมนั้นๆ
หรือแม้แต่ในสวรรค์ อารมณ์ทั้งหลายประณีตกว่าในมนุษย์ แต่ก็เป็นผลของกุศลกรรม ในสวรรค์ก็มีอารมณ์ที่ประณีตมากกว่าในมนุษย์ แต่ในมนุษย์ก็มีอารมณ์ที่ประณีตเมื่อเป็นผลของกุศลด้วย แต่ก็จะเห็นได้ว่าผลของกุศลในมนุษย์กับผลของกุศลในสวรรค์ก็ย่อมต่างกันไปตามควรแก่ทวาร และอารมณ์ที่จะเกิดขึ้นนั้นๆ เพราะกรรมนั้นๆ
แต่ให้ทราบว่าถ้าเป็นผลของกุศลกรรม ย่อมทำให้ได้รับกระทบอารมณ์ที่น่าพอใจทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แต่ไม่เที่ยง อย่าลืมนะคะ เพราะฉะนั้น ชั่วขณะเล็กน้อยที่ได้รับผลของกุศลกรรม แล้วก็หมดไป แล้วก็ย่อมได้รับผลของอกุศลกรรมเมื่อถึงโอกาสที่จะอกุศลกรรมจะให้ผล
ถาม การสอนธรรมที่ผิดๆ เป็นการทำทุจริตหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ เป็นโทษ
ถาม คือผู้ที่สอนเข้าใจว่าคำสอนนั้นเป็นคำสอนที่ถูก แล้วก็มีความปรารถนาดี มีความเมตตาต่อผู้อื่นถึงสอน
ท่านอาจารย์ อันนี้ต้องขอให้แยกกัน ขณะที่ปรารถนาดีหวังดีนั้นเป็นส่วนหนึ่ง แต่ขณะที่เข้าใจธรรมผิดเป็นอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นมโนกรรม ถ้าเข้าใจธรรมผิด ยังขยายออกไปถึงบุคคลอื่นที่จะทำให้บุคคลอื่นเข้าใจผิดด้วย ก็เป็นวจีทุจริต เป็นมโนกรรมทางวจีทวาร เป็นอกุศลกรรม
ถาม ก็แล้วแต่ว่า บางขณะก็มีจิตที่มีความปรารถนาดีขณะนั้นก็ไม่เป็นอกุศลกรรม ก็สลับกันไป
ท่านอาจารย์ ก็ต้องแล้วแต่ผู้ฟังด้วย สามารถจะช่วยผู้พูดธรรมไม่ให้ได้รับโทษมากคือ พิจารณาสิ่งที่ได้ฟัง แล้วเลือกเชื่อสิ่งที่ถูกต้อง นี่ก็เป็นทางที่จะช่วยผู้พูดธรรมที่คาดเคลื่อนหรือที่เข้าใจผิด เพราะเหตุว่าเรื่องของวจีกรรม เมื่อได้กล่าวไปแล้ว โทษมากหรือโทษน้อย ยังขึ้นอยู่กับการทำลายประโยชน์ เมื่อผู้ที่ได้ฟังเชื่อมาก เสียประโยชน์มาก ก็เป็นโทษมาก ไหนว่าถ้าได้ยินได้ฟังแล้วพิจารณาในเหตุผล แล้วก็เลือกเชื่อในสิ่งที่มีเหตุมีผล สิ่งที่ไม่เป็นเหตุเป็นผลก็ไม่เชื่อ ผู้ที่มีความเห็นผิดที่กล่าวผิดผู้เดียว ก็ย่อมที่จะเป็นผู้ได้รับโทษจากความเห็นผิดของตนเอง แต่ว่าผู้ที่พิจารณาแล้วก็เลือกเชื่อในสิ่งที่มีเหตุผลก็ช่วยบรรเทาผลหรือโทษซึ่งจะเกิดเพราะวาจาผิดของบุคคลนั้นได้
เช่นเดียวกับเรื่องของมุสาวาท ถ้าใครพูดสิ่งที่ไม่จริง ทำให้คนอื่นเชื่อ เกิดความเข้าใจผิด เสียหายมาก ก็เป็นโทษมาก แต่ถึงเขาจะพูดสิ่งที่ไม่จริง แต่คนที่ฟังไม่เชื่อ โทษก็น้อยกว่าการที่ทำให้คนอื่นเชื่อผิด
3734 ความเห็นผิดในเรื่องของกรรม
สำหรับเรื่องของความเห็นผิดที่ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลของวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่ว ไม่มี โลกนี้ ไม่มี โลกหน้า ไม่มี มารดา ไม่มี บิดา ไม่มี เป็นไปได้ไหม ที่จะเห็นผิดอย่างนี้
ทุกคนรู้ว่า ทุกคนมีมารดาบิดา แต่เข้าใจว่า สิ่งใดๆ ที่กระทำต่อท่านไม่ว่าจะเป็นทางกาย ทางวาจานั้น ไม่มีผล แต่ไม่ใช่ว่าคนนั้นจะไม่รู้ว่าคนนี้เป็นบิดามารดา หรือไม่ย่อมเชื่อว่านี่เป็นบิดามารดา เพราะว่าทุกคนต้องมีมารดาบิดา
เพราะฉะนั้นทุกคนย่อมรู้ว่ามีมารดาบิดา แต่บางคนอาจจะคิดว่า การกระทำสิ่งใดๆ ต่อท่านทั้งทางกาย ทางวาจานั้น ไม่มีผล แต่ความจริงแล้ว ย่อมมีผล
ผู้ที่เห็นผิดก็เชื่อว่า สัตว์ผู้เป็นอุปปาติกะ ไม่มี หรือว่าสมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้ และปรโลกให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ไม่มีในโลก คือ ไม่เชื่อในพระปัญญาคุณของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล
ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม การกระทำทางกายทางวาจาก็มีเป็นประจำทุกวัน แล้วแต่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศลขั้นไหน ข้อความต่อไปพระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล หรือเพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล
นี่ก็แสดงให้เห็นว่าโลกหน้ามี โลกอื่นมี และผลของอกุศลกรรมก็ต้องมีด้วย เพราะเหตุว่าสัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง ทางวาจา ๔ อย่าง และทางใจ ๓ อย่าง แต่อย่าลืมว่าพระผู้พระภาคตรัสว่า สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไป
เพราะฉะนั้นที่จะให้เห็นนรก เห็นสวรรค์เดี๋ยวนี้ ยังเห็นไม่ได้ จนกว่าจะเมื่อตายไป จะรอให้ถึงเวลานั้นแล้วก็พิสูจน์ได้ ไปพิสูจน์กันที่โน้น แต่ว่าไม่ใช่พิสูจน์กันที่นี่
เมื่อทราบว่า มารดาบิดาเป็นพรหมของบุตร คือเป็นผู้ให้กำเนิด ถ้าไม่มีมารดาบิดา คนนั้นเกิดมาในโลกนี้ไม่ได้ ที่คนนั้นจะเกิดมาในโลกจนกระทั่งมีเงินมีทอง ไม่ว่าจะเป็นวัยกลางของชีวิตก็ตามแต่ อย่าลืมว่าเพราะบิดามารดาเป็นพรหม คือ เป็นผู้ให้กำเนิด
เรื่องของบิดามารดาเป็นเรื่องของตัวท่าน แต่เรื่องของบุตร เป็นเรื่องที่จะต้องรู้จักพระคุณว่า มารดาบิดาเป็นผู้ที่มีคุณโดยสถานหนึ่งสถานใด ไม่ว่าจะเป็นโดยเป็นพรหม คือ ผู้ให้กำเนิด หรือเป็นบุรพาจารย์ คือ เป็นครูคนแรกในชีวิตที่จะสั่งสอนลูกแม้แต่ให้เดิน ให้รับประทานอาหาร ให้แต่งตัว ให้ทำทุกสิ่งทุกอย่าง หรือว่าเป็นบุรพเทพหรือเป็นอาหุเนยยบุคคลของบุตร คือ ผู้ที่ควรจะได้รับของที่บุตรจะนำมาให้เป็นการบูชา
เพราะฉะนั้นเรื่องของบุตรต้องเป็นเรื่องของบุตร ไม่จำเป็นต้องไประลึกถึงบิดามารดาในทางส่วนตัวของท่าน ว่าท่านจะไม่ทำหน้าที่นั้น จะเป็นด้วยเคราะห์กรรมของบุตรนั้นเอง ใช่ไหมคะ หรือว่าจะต้องไปคิดว่าเป็นการกระทำของบิดามารดาซึ่งไม่สมควร เรื่องของใครก็ต้องเป็นเรื่องของคนนั้น ในเมื่อเป็นบุตรก็ควรจะทำหน้าที่ของบุตร ส่วนบิดามารดาจะมีเคราะห์กรรมที่ทำให้ต้องพลัดพรากจากกันอย่างไร ก็ต้องเป็นเรื่องของบุตรด้วย ถ้าบุตรทำกรรมมาดี ก็จะไม่มีการพลัดพรากจากบิดามารดา ก็ย่อมจะได้รับการอุปถัมภ์อุปการะจากบิดามารดา ก็ควรจะคำนึงถึงกรรมของตน และไม่ควรสร้างกรรมต่อไป โดยการที่ไม่เห็นคุณของบิดามารดา
สำหรับทางฝ่ายกุศลกรรมนะคะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั่นแลย่อมขึ้นในปัจจุบัน ในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อๆ ไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นสมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง มีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก สมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก
ทางฝ่ายกุศลก็ให้ผลตามกาละ คืออาจจะเป็นในปัจจุบันชาติ หรือในชาติหน้า หรือในชาติต่อๆ ไปได้
สำหรับการรับผลของกุศลกรรม และอกุศลกรรมในกามภูมิ ๑๑ ภูมิ คือ ในอบายภูมิ ๔ ภูมิ ได้แก่ นรก ๑ เดรัจฉาน ๑ เปรต ๑ อสุรกาย ๑ และในสุคติภูมิ ๗ คือในมนุษย์ ๑ ในสวรรค์ ๖ ชั้น
ผลของกรรมที่จะได้รับ บางครั้งอาจจะแม้นเหมือนกับกรรมที่ได้กระทำแล้ว แต่ว่าบางครั้งก็ไม่แม้นเหมือนกับกรรมที่กระทำแล้ว เพราะเหตุว่าโลกย่อมเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ สมัยก่อนไม่มีรถยนต์ ไม่มีการขับรถชนคนตาย แต่ก็มีเจตนาที่จะเบียดเบียน ที่จะประทุษร้าย แต่วัตถุเครื่องใช้ในแต่ละสมัยย่อมต่างกัน
เพราะฉะนั้นผลของกรรมที่จะได้รับในแต่ละยุคในแต่ละสมัย ย่อมแม้นเหมือนกับกรรมที่ได้กระทำแล้วบ้าง และไม่แม้นเหมือนกับกรรมที่ได้กระทำแล้วบ้าง
อย่างผลของกุศลวิบากในแต่ละประเทศก็ย่อมจะต่างกัน รสของผลไม้อร่อยๆ ในเมืองร้อนกับในเมืองหนาวก็ต่างกัน แต่เมื่อเป็นผลของกุศลวิบาก ก็ย่อมจะได้รับผลที่น่าพอใจ แต่ว่าผลที่น่าพอใจจะเป็นรสผลไม้ชนิดใด ในกาลไหน ก็ย่อมแล้วแต่ทวาร และอารมณ์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเหมาะควรแก่กรรมนั้นๆ
หรือแม้แต่ในสวรรค์ อารมณ์ทั้งหลายประณีตกว่าในมนุษย์ แต่ก็เป็นผลของกุศลกรรม ในสวรรค์ก็มีอารมณ์ที่ประณีตมากกว่าในมนุษย์ แต่ในมนุษย์ก็มีอารมณ์ที่ประณีตเมื่อเป็นผลของกุศลด้วย แต่ก็จะเห็นได้ว่าผลของกุศลในมนุษย์กับผลของกุศลในสวรรค์ก็ย่อมต่างกันไปตามควรแก่ทวาร และอารมณ์ที่จะเกิดขึ้นนั้นๆ เพราะกรรมนั้นๆ
แต่ให้ทราบว่าถ้าเป็นผลของกุศลกรรม ย่อมทำให้ได้รับกระทบอารมณ์ที่น่าพอใจทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แต่ไม่เที่ยง อย่าลืมนะคะ เพราะฉะนั้น ชั่วขณะเล็กน้อยที่ได้รับผลของกุศลกรรม แล้วก็หมดไป แล้วก็ย่อมได้รับผลของอกุศลกรรมเมื่อถึงโอกาสที่จะอกุศลกรรมจะให้ผล
3852 กุศลวิบากไม่เที่ยง
ถ้าเป็นของกุศลกรรม ย่อมทำให้ได้รับกับอารมณ์ที่น่าพอใจทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แต่ไม่เที่ยง อย่าลืมนะคะ เพราะฉะนั้นชั่วขณะเล็กน้อยที่ได้รับผลของกุศลกรรม แล้วก็หมดไป แล้วก็ได้รับผลของของอกุศลกรรมเมื่อถึงโอกาสที่อกุศลกรรมจะให้ผล
ซึ่งขอกล่าวถึงข้อความในสารัตถปกาสินี อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค สุพรหมสูตร ซึ่งมีข้อความว่า
ได้ยินว่าเทพบุตรนั้น อันเหล่าเทพอัปสรห้อมล้อมแล้ว ไปยังสนามกีฬานันทวัน
นี่ก็เป็นที่เพลิดเพลินมาก ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ใครๆ ก็ย่อมจะไปเที่ยว ไม่ว่าจะในมนุษย์หรือในสวรรค์ เพราะฉะนั้นที่เที่ยวของมนุษยโลกก็อย่างหนึ่ง ที่เข้าใจว่าในโลกมนุษย์มีที่ๆ น่าเพลิดเพลิน มีอิฏฐารมณ์ทางตา ทางหู ก็อย่างหนึ่ง แต่ว่าบนสวรรค์ที่เที่ยว ที่เพลิดเพลินก็เป็นสวนนันทวัน
เทพบุตรนั้นนั่ง ณ อาสนะที่จัดไว้ ใต้ต้นปาริฉัตร เหล่าเทพธิดา ๕๐๐ ก็นั่งล้อมเทพบุตรนั้น เหล่าเทพธิดา ๕๐๐ ก็ปีนขึ้นต้นไม้ ถามว่า ก็ต้นไม้แม้สูง ๑๐๐ โยชน์
ท่านผู้ฟังที่อยากจะคิดคำนวณว่า บนสวรรค์จะกว้างใหญ่สักเท่าไร ต้นไม้สูง ๕๐๐ โยชน์ ก็พิสูจน์เวลาที่ถึงที่นั่น ไม่ใช่ที่นี่
ถามว่า ก็ต้นไม้แม้สูง ๑๐๐ โยชน์ ก็น้อมลงมาถึงมือด้วยอำนาจจิตของเหล่าเทวดา มิใช่หรือ
นี่คือความสุขในสวรรค์ ไม่ต้องลำบากเลย แม้ว่าจะต้องการดอกไม้ ต้นไม้ก็น้อมกิ่งลงมา เพราะฉะนั้นจึงมีคำถามว่า เหตุใดเทพธิดาเหล่านั้นจึงต้องปีนขึ้นเล่า น่าสงสัยใช่ไหมคะ อยู่บนสวรรค์แล้วก็ต้องมีเรื่องสนุก ตามที่เคยสนุกในสังสารวัฏฏ์
ตอบว่า เพราะเทพธิดาเหล่านั้นสนใจแต่จะเล่น
อยู่เฉยๆ ไม่เป็น ในโลกมนุษย์นี้ก็เช่นเดียวกัน ไม่มีใครนั่งเฉยๆ อยู่เฉยๆ ทุกคนก็แสวงหาที่เที่ยว ที่จะสนุก แม้ว่าจะขึ้นไปอยู่บนสวรรค์แล้ว ก็สนใจแต่จะเล่น
แต่ครั้นปีนขึ้นไปแล้ว ก็ขับเพลงด้วยเสียงอันไพเราะ ทำดอกไม้ทั้งหลายให้หล่นลง
ในขณะนี้บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ย่อมมีเทพธิดาซึ่งกำลังทำอย่างนี้อยู่ คนละโลก
เหล่าเทพธิดานอกนี้ คือ ที่ไม่ได้ปีนขึ้นเก็บดอกไม้เหล่านั้น ก็เก็บดอกไม้เหล่านั้นมาทำเป็นพวงมาลัยขั้วเดียวกัน เป็นต้น ครั้นนั้น เหล่าเทพธิดาที่ปีนขึ้นต้นไม้ก็ทำกาละ คือ จุติด้วยอำนาจอุปัทเฉทกกรรมประหารครั้งเดียวเท่านั้น ไปบังเกิดในอเวจีนรก เสวยทุกข์ใหญ่
สำหรับอุปัจเฉทกกรรมหรืออุปฆาตกกรรมย่อมมีในมนุษย์ และในสวรรค์บางเหล่า กับเทพธิดาหรือเทพบุตรบางพวก เพราะฉะนั้นสำหรับเทพธิดาที่กำลังปีนต้นไม้เล่น และขับเพลงด้วยเสียงอันไพเราะ ทำดอกไม้ทั้งหลายให้หล่นลง มีอุปัจเฉทกกรรมเกิดขึ้น ตัดรอนความสุขที่กำลังสุขอย่างยิ่งในสวนนันทวัน ไปเกิดในอเวจีนรก เสวยทุกข์ใหญ่
ไม่มีใครทำได้ นอกจากกรรม ซึ่งขณะไหน เมื่อไรย่อมได้ทั้งสิ้น ทุกคนควรจะเห็นว่า สิ่งซึ่งไม่คาดฝันว่าจะเกิด กรรมก็ยังกระทำให้เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะเมื่อคิดถึงเหตุการณ์ประจำวัน อุบัติเหตุต่างๆ ที่เกิดขึ้น ก็ย่อมเป็นไปตามกรรมทั้งสิ้น
เมื่อเวลาล่วงไป เทพบุตรก็นึกรำพึงว่า ไม่ได้ยินเสียงเทพธิดาเหล่านั้น ดอกไม้ก็ไม่หล่น เขาไปไหนกันหนอ ก็เห็นว่าไปเกิดในนรก เกิดรันทดใจเพราะความโศกในของรัก จึงดำริว่า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เหล่าเทพธิดาก็ไปตามกรรม
คือยังเห็นหลัดๆ ยังสนุกสนาน ยังเพลิดเพลิน ยังขับเพลง แต่ว่าเพียงอุปัจเฉทกกรรม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เหล่าเทพธิดาก็ไปตามกรรม
ตัวเราจะมีอายุสังขารเท่าไรกันเล่า เทพบุตรนั้นดำริว่าในวันที่ ๗ เราก็จะพึงทำกาละ พร้อมกับเหล่าเทพธิดา ๕๐๐ ส่วนที่เหลือ พากันไปเกิดในนรกนั้นเหมือนกัน รันทดระทมเพราะความโศกที่รุนแรง เทพบุตรนั้นก็ดำริว่าในมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลก นอกจากพระตถาคตแล้ว ก็ไม่มีใครสามารถดับความโศกของเรานี้ได้ จึงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กล่าวคาถา
ตามข้อความสุพรหมสูตร ซึ่งมีข้อความว่า
สุพรหมเทวบุตรยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
จิตนี้สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์
ทุกคนลองพิจารณาดู ถ้าเห็นอย่างนี้จะสะดุ้งสักแค่ไหน
จิตนี้สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ ใจนี้หวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์
ถ้าเห็นนรกจริงๆ จะรู้ว่าอกุศลกรรมทั้งหลายไม่ควรกระทำเลย เพราะเหตุว่าจะต้องได้รับผลที่เป็นทุกข์มาก เทพบุตรกราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
จิตนี้สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ ใจนี้หวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์ ทั้งเมื่อกิจไม่เกิดขึ้น ทั้งเกิดขึ้นแล้วก็ตาม ถ้าความไม่สะดุ้งกลัวมีอยู่ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว โปรดตรัสบอกความไม่สะดุ้งนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด
ข้อความที่ว่า จิตนี้สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ ใจนี้หวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์ ทั้งเมื่อกิจไม่เกิดขึ้น ทั้งเกิดขึ้นแล้วก็ตาม กิจที่ไม่เกิดขึ้น คือ จุติกิจที่ยังไม่เกิดขึ้น
สำหรับทุกคนในขณะนี้ คือ กิจที่ยังไม่เกิดขึ้น เห็น กำลังเห็นเป็นกิจหนึ่งของจิตที่กำลังเกิดอยู่ ได้ยิน ขณะที่กำลังได้ยินก็เป็นกิจที่เกิดขึ้น แต่ว่ากิจหนึ่งที่ยังไม่เกิดในภพนี้ในชาตินี้ คือ จุติกิจ กิจสุดท้ายที่จะทำให้เคลื่อนพ้นจากสภาพความเป็นบุคคลนี้
เพราะฉะนั้นที่กล่าวว่า ใจนี้หวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์ ทั้งเมื่อกิจไม่เกิดขึ้น คือ จุติจิตของตนเองยังไม่เกิด ทั้งเกิดขึ้นแล้วก็ตาม คือ จุติจิตของคนอื่นที่เกิดแล้ว ซึ่งมองเห็นอยู่ชัดๆ ว่าหนีไม่พ้น จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน แต่ว่าเมื่อเห็นจุติจิตของคนอื่นก็คือจุติจิตของคนอื่นเกิดขึ้นแล้ว กิจนั้นของบุคคลนั้นเกิดขึ้นแล้ว แต่สำหรับตัวผู้ที่มีชีวิตอยู่ เป็นกิจที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเมื่อมีความหวาดเสียว มีความสะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ ก็กราบทูลว่า โปรดตรัสบอกความไม่สะดุ้งนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด
มีหนทางไหมที่จะพ้นจากความสะดุ้ง ความหวาดเสียว ซึ่งก็มีหนทางเดียว ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เรายังไม่มองความสวัสดีแห่งสัตว์ทั้งหลาย นอกจากปัญญา และความเพียร นอกจากความสำรวมอินทรีย์ นอกจากความสละวางทุกสิ่งทุกอย่าง
ข้อความในพระไตรปิฎก สุพรหมสูตรมีว่า
สุพรหมเทวบุตรเมื่อกล่าวดังนี้แล้วก็อันตรธานไปในที่นั้นเอง
ข้อความในอรรถกถามีว่า
เมื่อจบธรรมเทศนา เทพบุตรนั้นก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
แสดงให้เห็นว่า หลงลืมสตินานมากไหมคะ ระหว่างที่อยู่ที่สวนนันทวัน กำลังเพลิดเพลิน ฟังเพลงขับ และดูดอกไม้ที่กำลังร่วงหล่นลงมา แต่ว่าเมื่อได้ฟังพระธรรมก็ระลึกได้
นี่คือผลของสะสมสั่งสมกุศลที่จะทำให้ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ถ้าได้ฟังบ่อยๆ และระลึกบ่อยๆ จนกระทั่งชิน จนกระทั่งชำนาญ ถึงแม้ว่าจะเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีเวลาที่จะเพลิดเพลินมากมายทีเดียว แต่เพียงได้ฟังพระธรรมเทศนาให้สำรวมอินทรีย์ คือ ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ในขณะนั้นนั่นเอง ย่อมระลึกได้ ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจถูก และได้สะสมอบรมอุปนิสัยมาเป็นอันมาก ก็ทำให้สภาพธรรมปรากฏในขณะนั้นตามความเป็นจริงได้
เพราะฉะนั้นก็ต้องปัญญา และความเพียร ไม่ใช่เพียงแต่เข้าใจ แต่จะต้องมีการสะสมอบรมระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
- เมตตา ตอนที่ 01
- เมตตา ตอนที่ 02
- เมตตา ตอนที่ 03
- เมตตา ตอนที่ 04
- เมตตา ตอนที่ 05
- เมตตา ตอนที่ 06
- เมตตา ตอนที่ 07
- เมตตา ตอนที่ 08
- เมตตา ตอนที่ 09
- เมตตา ตอนที่ 10
- เมตตา ตอนที่ 11
- เมตตา ตอนที่ 12
- เมตตา ตอนที่ 13
- เมตตา ตอนที่ 14
- เมตตา ตอนที่ 15
- เมตตา ตอนที่ 16
- เมตตา ตอนที่ 17
- เมตตา ตอนที่ 18
- เมตตา ตอนที่ 19
- เมตตา ตอนที่ 20
- กรรม ตอนที่ 01
- กรรม ตอนที่ 02
- กรรม ตอนที่ 03
- กรรม ตอนที่ 04
- กรรม ตอนที่ 05
- กรรม ตอนที่ 06
- กรรม ตอนที่ 07
- กรรม ตอนที่ 08
- กรรม ตอนที่ 09
- กรรม ตอนที่ 10
- กรรม ตอนที่ 11
- กรรม ตอนที่ 12
- กรรม ตอนที่ 13
- กรรม ตอนที่ 14
- กรรม ตอนที่ 15
- กรรม ตอนที่ 16
- กรรม ตอนที่ 17
- กรรม ตอนที่ 18
- กรรม ตอนที่ 19
- กรรม ตอนที่ 20