สมถภาวนา ตอนที่ 16
ยากที่จะรู้ เพราะว่า เกิดดับอย่างรวดเร็ว ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นโลภมูลจิต ดับไปแล้ว อาจจะมีลักษณะของสภาพธรรมอย่างอื่น เกิด แต่ถ้าสติไม่เกิด พร้อมสัมปชัญญะที่จะระลึกศึกษา รู้ลักษณะของสภาพของจิตในขณะนั้น จริงๆ ก็ยังคงเป็นการคาดคะเนอยู่นั่นเอง ไม่ใช่เป็นการรู้ลักษณะของจิตจริงๆ เพราะฉะนั้น แม้แต่โลภมูลจิต ซึ่งคงจะมี หรือว่าควรจะมี เท่านั้น ใช่ไหมคะ แต่ไม่ได้รู้ลักษณะของโลภมูลจิต จริงๆ ที่กำลังมี ว่ามีลักษณะอย่างไร เพราะฉะนั้น ที่เรียนถามให้พิจารณาว่า เวลาที่คิดจะจับจ้องที่ลมหายใจ ต่างกับขณะก่อนที่คิดจับจ้อง ที่ลมหมายใจอย่างไรหรือไม่ เพราะเหตุว่า ลักษณะของโลภะอย่างที่ไม่เคยรู้มาก่อน จะย้ายจากอารมณ์ ๑ ไปสู่อีกอารมณ์ ๑ ได้ไหม นี่ต้องเป็นปัญญาพร้อมสัมปชัญญะ ที่จะระลึกรู้ลักษณะสภาพของจิต ว่า เป็นจิตที่สงบ หรือไม่สงบ ความต่างกันของจิตต้องมี ในจิตที่สงบ และในจิตที่ไม่สงบ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่รู้ความจริงอย่างนี้ เจริญสมถภาวนาไม่ได้ เพราะฉะนั้น การเจริญสมถภาวนาจริงๆ จะยากหรือจะง่าย เพราะเหตุว่าต้องเป็นปัญญา ที่สามารถจะรู้ลักษณะของจิตในขณะนี้เอง เพื่อที่จะได้รู้ว่าขณะใด เป็นโลภะ ขณะใดสงบ แต่ถ้ายังไม่สามารถที่จะรู้ได้ ก็เป็นโลภะไปทั้งหมด แต่ก็เข้าใจว่าสงบได้ เพราะเหตุว่าไม่รู้แม้ลักษณะของโลภมูลจิตที่กำลังมีในขณะนี้ เพราะว่าไม่มีอาการที่ต่างกันเลย เพียงแต่เปลี่ยนอารมณ์ ด้วยเหตุนี้ ในพระไตรปิฎก เมื่อเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับที่นิโคธารมใกล้กรุงกบิลพัสด์ ทุลถามว่า พระอริยสาวกส่วนมาก อยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร พระผู้มีพระภาค ไม่ได้กล่าวถึงอานาปานเลย แต่กล่าวถึง พุทธานุสติ ธรรมานุสติ และสังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวดานุสติ แล้วผู้ที่ยังไม่เป็นพระอริยบุคคล ควรจะอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร ที่สงบ นี่เป็นสิ่งที่น่าคิด เพราะว่าจะต้องรู้ลักษณะของจิตที่สงบจริงๆ ว่าขณะใดที่จิตผ่องใส เป็นกุศล เวลาที่มีการศึกษาธรรม เข้าใจธรรม ระลึกถึงพระพุทธคุณ ไม่ใช่เพียงแต่ว่าตามว่า อรหังสัมมาสัมพุทโธ หรือว่านโมตัสสภควโต เพราะว่าถึงแม้ว่าจะกล่าวอย่างนั้น โดยขาดสัมปชัญญะที่จะพิจารณาลักษณะของจิต ขณะจิตไม่สงบได้ จะกล่าวคำพูดอะไรด้วยโลภมูลจิตก็ได้ ไม่มีความต่างกัน แต่ว่าขณะใดที่ความสงบเกิดขึ้น แม้ไม่ได้กล่าวอย่างนั้น สติสัมปชัญญะ ที่รู้ลักษณะของความสงบ ขณะนั้นก็ยังมีได้ โดยที่ว่าไม่ต้องกล่าวคำว่า นโมตัสส อรหโต สัมมาสัมพุทโธ แต่ว่าสภาพของจิต กำลังน้อมระลึกถึง พระพุทธคุณ แล้วเกิดความปีติ ผ่องใส เป็น กุศลในขณะนั้น นั่นก็เป็นพุทธานุสติ
5065 อริยสาวกผู้อยู่ด้วยความประมาท
ท่านอาจารย์ ในคราวก่อนได้กล่าวถึง สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค นันทิยสูตร ซึ่งมีข้อความว่า พระอริยสาวกผู้อยู่ด้วยความประมาทนั้นคืออย่างไรแล้วพระอริยสาวกผุ้อยู่ด้วยความประมาทนั้นอย่างไร ซึ่งท่านผู้ฟัง คงจะจำได้ ที่ว่า อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตลอดไปตามบทของพระพุทธคุณ จนกระทั่งถึง เป็นผู้จำแนกธรรม อริยสาวกนั้นพอใจแล้วด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้น ไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีปราโมทย์ เมื่อไม่มีปราโมทย์ ก็ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติ ก็ไม่มีปัสสัทธิ เมื่อไม่มีปัสสัทธิ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ จิตของผู้มีความทุกข์ย่อมไม่เป็นสมาธิ เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความประมาท ซึ่งข้อความตอนนี้ก็ ได้กล่าวถึงแล้วในคราวก่อน ที่ว่าสงัดในกลางวันนั้น คือสงบจากกิเลส วันนี้ รู้สึกว่าสงบจากกิเลสสอะไรบ้างไหมคะ ถ้ากุศลจิตไม่เกิด จะไม่ปรากฏความสงัด หรือความสงบจากกิเลส แต่ในขณะที่ไม่ว่าสภาพธรรม ใดๆ จะเกิดขึ้น ปรากฏ หรือว่าจะมีความยินดียินร้ายในอารมณ์ใดๆ ที่ปรากฏ แต่เวลาที่สติเกิดขึ้น ระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น เวลาที่สงบจาก อกุศล ขณะนั้นคือสงัดจากกิเลส ในกลาวัน คือในชีวิตประจำวันจริงๆ ชีวิตประจำวันจริงๆ มีโลภะมาก มีโทสะมาก ถ้าสติไม่เกิด ขณะนั้นไม่สามารถที่จะสงัด หรือสงบจากกิเลสได้ เพราะว่าชีวิตประจำวัน ของทุกท่าน จะต้องมีการพบปะกับบุคคลต่างๆ อยู่เสมอ มีการคิดนึกตรึกตรอง ในเรื่องกิจการงาน ในธุระกิจต่างๆ อยู่เสมอ แต่สติก็สามารถที่จะเกิดได้ ขณะใดที่สติเกิด ขณะนั้นสงบแล้ว หรือสงัดในเวลากลางวัน แต่ถ้าอยู่ในที่หลีกเร้น ไม่มีใครเลย แต่เต็มไปด้วยกิเลสมาก แม้ในเวลากลางคืน ก็ไม่ชื่อว่าหลีกเร้น หรือว่าไม่ชื่อว่าสงัดเพราะเหตุว่าขณะนั้นจิตเป็นอกุศล
5066 พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย
ท่านอาจารย์ สำหรับผู้ที่อยู่ด้วยความประมาท ข้อความใน อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ข้อ ๕๓ ฐิติสูตร พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญแม้ซึ่งความตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไฉนจะสรรเสริญความเสื่อมรอบในกุศลธรรมทั้งหลายเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เราสรรเสริญความเจริญ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ความตั้งอยู่ไม่ใช่ความเสื่อม ในกุศลธรรมทั้งหลาย ซึ่งท่านผู้ฟังจะพิจารณา กับชีวิตของท่านได้ ว่าในขณะนี้ ท่านเสื่อมในกุศลธรรม หรือว่าตั้งอยู่ในกุศลธรรม หรือว่าเจริญในกุศลธรรม ตามความเป็นจริง
5067 ความเสื่อมในกุศลธรรม มิใช่ความตั้งอยู่ มิใช่ความเจริญ
ท่านอาจารย์ ข้อความต่อไปพระผู้มีพระภาค ตรัส ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความตั้งอยู่ มิใช่ความเจริญ อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เท่าไร ธรรมเหล่านั้นของภิกษุนั้น ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่เจริญขึ้น ดูกรภิกาุทั้งหลาย เรากล่าวข้อนี้ว่าเป็นความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความตั้งอยู่ มิใช่ความเจริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย มีอยู่ มิใช่ความตั้งอยู่ มิใช่ความเจริญ อย่างนี้แล บางท่านเคยรู้สึกท้อถอย ในการเจริญกุศลบ้างไหมคะ บางท่านต้องการเจริญกุศลอย่างมาก เหลือเกิน พยายามเจริญ แล้วในที่สุดก็เกิดท้อถอย เพราะไม่เห็นผลของกุศล เคยรู้สึกอย่างนี้ไหมคะ มีท่านผู้ฟังท่าน ๑ ก็เป็นผู้ที่พากเพียรในการฟังธรรม ในการเจริญกุศลทั้ง ทาน และศีล แต่ว่าท่านคงเป็นผู้ที่ ละความปรารถนาไม่ได้ เพราะฉะนั้น เวลาที่เป็นผู้ที่มีความปรารถนามาก ปกติก็ย่อมจะปรารถนาในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ แต่เวลาเปลี่ยนเป็นความพอใจในกุศล ท่านก็ปรารถนากุศลอย่างมาก จนกระทั่งขวนขวาย ในการกุศล แต่แล้วเพราะอกุศลทั้งหลาย ยังไม่ได้ดับเป็นสมุจเฉท เพราะฉะนั้น จึงเกิดความท้อถอย และเบื่อหน่าย แม้ในกุศลขั้นทาน สำหรับการฟังธรรม ก็ท้อถอย เบื่อหน่ายไปด้วย แต่ท่านผู้ฟังจะสังเกตุได้ว่า ถึงแม้ว่าท่านจะบางครั้ง บางขณะ รู้สึกท้อถอย หรือว่ารู้สึกเบื่อหน่าย แต่เพราะเหตุว่า การฟังธรรมที่ได้สะสมมาแล้ว .การพิจารณาเหตุผลว่าธรรมประการใด เป็นธรรมที่ควรเว้น ควรละ ธรรมประการใด เป็นธรรมที่ควรเจริญ เวลาที่ได้ฟังธรรมอีกครั้ง ๑ ย่อมจะมีปัจจัยที่ทำให้พิจารณา ได้ถูกต้องโดยเร็วว่า ธรรมใดเป็นกุศล ธรรมใดเป็นอกุศล แต่มิฉะนั้น ถ้าเป็นผู้ที่ไม่ได้ฟังธรรมมากอ่น เวลาที่เกิดความท้อถอยเบื่อหน่ายนี่คะ ก็คงจะท้อถอยเบื่อหน่ายนานทีเดียว เคยเป็นอย่างนี้บ้างไหมคะที่มีการท้อถอยหรือว่าไม่เห็นผลของกุศลก็เลยเกิดความเบื่อหน่าย
5068 ความเจริญในกุศลธรรม มิใช่ความตั้งอยู่ มิใช่ความเสื่อม
ท่านอาจารย์ ซึ่งต่อไปพระผู้มีพระภาค จะทรงแสดงหนทาง ที่จะทำให้กุศลเจริญขึ้น ข้อความต่อไปพระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความตั้งอยู่ มีใช่ความเสื่อมอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เท่าไร ธรรมเหล่านั้นของภิกษุ ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่เสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวข้อนี้ว่า เป็นความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความตั้งอยู่ มิใช่ความเสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความตั้งอยู่ มิใช่ความเสื่อม อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่นไซ้ มื่อเป็นอย่างนั้น ภิกษุพึงศึกษาว่า ‘เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน’ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล นี่เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือเปล่า คะ การที่จะรู้วาระจิตของตน เพื่อที่ว่ากุศลจะได้เจริญขึ้น เพราะเหตุว่า ถ้าไม่มีการระลึกรู้ลักษณะของจิตเลย ย่อมไม่ทราบว่า ขณะนั้นเป็นกุศล หรือว่าเป็น อกุศล อย่างไร
5069 ความตั้งอยู่ในกุศลธรรม มิใช่ความเสื่อม มิใช่ความเจริญ
ท่านอาจารย์ สำหรับผู้ที่กุศลไม่ตั้งอยู่ และไม่เจริญ ย่อมเป็นผู้ที่เสื่อมในกุศลธรรม เพราะฉะนั้น แต่ละท่านก็ควรจะพิจารณา เพื่อที่จะแก้ไขว่า ถ้าท่านเป็นผู้ที่เสื่อมในกุศลธรรม พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความเสื่อม มิใช่ความเจริญ อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เท่าไร ธรรมเหล่านั้นของภิกษุนั้น ย่อมไม่เสื่อม ย่อมไม่เจริญขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวข้อนี้ว่า เป็นความตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความเสื่อม มิใช่ความเจริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตั้งอยู่ ในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความเสื่อม มิใช่ความเจริญ อย่างนี้แล นี่ก็เป็นปกติ ชีวติของบุคคลทั้งหลายที่มีจริง ตามความเป็นจริง พระผู้มีพระภาค จึงทรงแสดง ประเภทของบุคคลทั้งหลายว่า แต่ละบุคคล จะอยู่ในประเภทใด สำหรับบางท่าน ไม่เสื่อม แล้วก็ไม่เจริญ แต่ว่ามีเท่าไรก็อยู่เท่านั้น เป็นการตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย
5150 การรู้วาระจิตของตนทำให้กุศลธรรมเจริญขึ้น
ท่านอาจารย์ ขณะนี้ ท่านผู้ฟังที่กำลังฟัง ศึกษาวาระจิตของตน ยากไหมคะ ขณะนี้คะ กุศล หรือ อกุศล ที่ยากเพราะเหตุว่ าจิตเกิดดับสืบต่อกันอย่างรวดเร็วมาก เพราะฉะนั้น ถ้าไม่เป็นผู้ที่มีปกติเจริญสติ ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ย่อมไม่ทราบวาระจิตว่า ขณะนี้เป็น อกุศล หรือเป็นกุศล เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า การรู้วาระจิตนี่คะ จะมีประโยชน์ มากที่จะทำให้กุศลธรรมเจริญขึ้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า หากว่า ภิกษุไม่ฉลาดในวาระจิต ของผู้อื่นไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุทั้นพึงศึกษาว่า เราจะเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แล ต่อไปพระผู้มีพระภาค ทรงอุปมาเพื่อที่จะให้เห็นประโยชน์ ของการศึกษาวาระจิตของตน พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตนอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือน สตรีหรือบุรุษที่เป็นหนุมสาว มีปกติชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนในคันฉ่องอันบริสุทธิหมดจด หรือในภาชนะน้ำอันใส ถ้าเห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็
พยายามเพื่อขจัดธุลีหรือจุดดำนั้นเสีย ถ้าว่าไม่เห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็ย่อมดีใจ มีความดำริอันบริบูรณ์ด้วยเหตุนั้นแลว่า เป็นลาภของเราหนอ หน้าของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การพิจารณาของภิกษุว่า เรามีอภิชฌาอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้ ไม่มีอภิชฌาอยู่ โดยมาก ทุกท่านตอบได้ไหม คะ ว่า สำหรับท่านที่เป็นผู้ที่ ระลึกรู้ลักษณะของจิตว่า จะเป็นผู้ที่มี อภิชฌาอยู่โดยมาก หรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่ โดยมาก ข้อความต่อไป พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า เราเป็นผู้มีจิตพยาบาทอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้ มีจิตไม่พยาบาทอยู่ โดยมาก เราเป็นผู้มีอันถีนมิทธะกลุ้มรุมอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ อยู่โดยมาก ถีนะมิถะก็ได้แก่ความหดหู่ ความท้อถอย เราเป็นผู้ฟุ้งซ่านอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านอยู่โดยมาก เราเป็นผู้มีความสงสัยอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัยอยู่โดยมาก เราเป็นผู้มีความโกรธอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้ไม่มึความโกรธอยู่โดยมาก เราเป็นผู้มีจิตเศร้าหมองอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้มีจิตไม่เศร้าหมอง อยู่โดยมาก เราเป็นผู้มีกายอันปรารถแรงกล้าอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้มีกายอันมิได้ปรารถแรงกล้าอยู่โดยมาก เราเป็นผู้เกียจคร้านอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่โดยมาก เราเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมาก ดังนี้ ย่อมเป็นอุปการมากในกุศลธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าภิกษุเมื่อพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ เป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมาก ดังนี้ไซร้ ภิกษุนั้น ควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสหาะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติ และสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อละธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าอันไฟไหม้ หรือมีศีรษะอันไฟไหม้ พึงทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติ และสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟไหม้ผ้า หรือไฟไหม้ศีรษะนั้น ฉันใด ภิกษุนั้นพึงทำความพึงทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติ และสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อ ละธรรมทั้งหลาย ที่เป็นบาป อกุศลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก้ถ้าภิกษุเมื่อพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่โดยมาก ข้อความซ้ำ ต่อไป นถึง เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมาก ดังนี้ไซร้ ภิกษุนั้นควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้ว พึงทำความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้น มีท่านผู้ฟังสงสัยอะไรไหมคะ ในตอนนี้ แม้ว่าจะทรงเตือน ให้ระลึกได้ว่าขณะ นี้ ถ้าสติไม่เกิดขึ้น ไม่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมแล้ว ก็เหมือนบุคคลที่มีผ้าอันไฟไหม้ หรือมีศีรษะอันไฟไหม้ ไม่ใช่ในขณะอื่น แต่ในขณะที่สติไม่เกิดขึ้น ไม่ระลึกรู้ลักษณะของธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น พระธรรมทั้งหมดที่ทรงแสดงก็ เพื่อที่จะ อุปการเกื้อกูลให้เป็นผู้ที่เจริญกุศลธรรมจึงจะเป็นผู้ที่ไม่ประมาท
5151 วิหารธรรมของอริยสาวกผู้ทราบชัดในพระศาสนา
ท่านอาจารย์ ยังมีข้อสงสัยอะไรบ้างไหมคะ สำหรับสมถภาวนาในชีวิตประจำวัน สำหรับผู้ที่มีปกติเจริญสติปัฏฐาน ท่านผู้ฟังก็จะได้ทราบแล้วจากใน อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ซึ่งครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะได้เสด็จ เข้าไปเฝ้า ได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผล ทราบชัดพระศาสนาแล้ว ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมชนิดไหนเป็นส่วนมาก พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดุกร มหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผล ทาบชัดพระศาสนาแล้ว ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ เป็นส่วนมาก คือ อริยสาวกในศาสนานี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตเนืองๆ ว่า แม้เพราะเหตุนี้ แม้เพราะเหตุนี้ ซึ่งภาษาบาลีคือ อิติปิโสภควา พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ภาษาบาลีคือ อรหัง ตรัสรู้เองโดยชอบ สัมมาสัมพุทโธ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ วิชชา จรณะสัมปันโน เสด็จไปดีแล้ว สุคะโต ทรงรู้แจ้งโลก โลกะวิฑู เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า อะนุตตโร ปุริสะธรรม สาระถิ เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย สัตถาเทวมนุส สานัง เป็นผู้เบิกบานแล้ว พุทโธ เป็นผู้จำแนกธรรม ภควา ท่านผู้ฟังระลึกอย่างนี้ หรือเปล่า คะหรือสวด ข้อความต่อไปพระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรมหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคตเนืองๆ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรง เพราะปรารถพระตถาคต ย่อมได้ ความซาบซึ้ง อรรถ ย่อมได้ความซาบซึ้งธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจประกอบด้วย มีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูกรมหานามะ นี้ อาตมาภาพกล่าวว่า อริยสาวกเป็นผู้ถึงความสงบเรียบร้อย ในเมื่อหมู่สัตว์ ยังไม่สงบ เรียบร้อย เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ ในเมื่อหมู่สัตว์ยังมีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมกระแสธรรม ย่อมเจริญพุทธานุสสติ ต่อไป ก็เป็นการระลึกถึงพระธรรม เป็นธรรมานุสติ พระสงฆ์ เป็นสังฆานุสติ ศีลเป็นสีลานุสติ จาคะเป็นจาคานุสติ และเทวดาคือ เทตานุสติ ตอนท้ายของพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรมหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผลแล้ว ทราบชัดพระศาสนาแล้ว ย่อมอยู่ด้วย
วิหารธรรมนี้ เป็นส่วนมาก นี่เป็นปกติชีวิตประจำวัน ขอพระอริยสาวก เพราะฉะนั้น เรื่องของสมถภาวนา คือการอบรมเจริญความสงบ เป็นเรื่องที่ควรเจริญ แต่ว่าต้องถูกต้องด้้วย มิฉะนนั้นแล้วก็ ไม่เใช่ความสงบ แต่ก็อาจจะคิดว่าสงบ เพราะฉะนั้น สำหรับผู้ที่เป็นพระอริยสาวก ผู้ที่ทราบชัดพระศาสนาแล้ว ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก เพราะฉะนั้น สำหรับท่านผู้ฟัง ที่ต้องการความสงบ หรือต้องการที่จะเจริญสมถภาวนา จะปฏิบัติอย่างไรคะ เพราะแม้แต่พระอริยสาวก ท่านก็เป็นผู้ที่เจริญความสงบ โดยการระลึกถึงพุทธานุสติ ธรรมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวดานุสติ
5152 ระลึกถึงพระพุทธคุณได้โดยไม่จำเป็นต้องท่อง
ผู้ถาม. มีบางท่าน ที่ไม่เข้าใจความหมายของคำว่า อิติปีโส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ เป็นต้น แล้วก็สวดมนต์
ท่านอาจารย์ แล้วก็ อะไร นะคะ
ผู้ถาม. สวดมนต์ โดยที่ ไม่ได้ระลึกในลักษณะว่า พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ตรัสรู้แล้ว เองโดยชอบ อะไรต่างๆ เหล่านี้ จะถือว่าเป็นผู้ที่อยู่ในวิหารธรรมข้อนี้ ไหมครับ
ท่านอาจารย์ เพียงสวด ใช่ไหมคะ
ผู้ถาม. ครับ
ท่านอาจารย์ มีใครสามารถรู้ถึงจิต ในขณะที่กำลังสวดของบุคคลอื่น ได้ไหม เมื่อไม่ได้ จึงควรศึกษาวาระจิตของตน เพราะเหตุว่า ไม่สามารถที่จะรู้วาระจิตของผู้อื่น เพราะฉะนั้น แต่ละท่าน นี่คะ ก็ควรที่จะเกิดสติ คือการระลึกได้ ว่าในขณะที่ท่อง หรือในขณะที่สวด เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล แต่ว่าจิต เป็นสภาพธรรม ที่ละเอียดมาก แล้วก็เกิด ดับ สืบต่อกันอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้น ในการอบรมเจริญ แม้สมถะคือความสงบ ก็จะต้องประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ และ ปัญญาที่รู้ลักษณะของจิตในขณะนั้น ว่าเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล ลองพูดสิคะ อิติปิโส ภควา พอที่จะรู้ลักษณะของจิตในขณะนั้นไหมคะ ว่าเป็นกุศล หรือเปล่า แต่ว่าเวลาที่ศึกษาพระธรรม แล้วก็เกิดความรู้ความเข้าใจในสภาพธรรม มีความซาบซึ้งในพระพุทธคุณที่พระผู้มีพระภาค ตรัสรู้ และ ทรงแสดงธรรม ในขณะนั้น ลักษณะของจิต ผ่องใส เพราะระลึกถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาค ในขณะนั้นไม่ได้ เอย คำว่า อิติปิโส ภควา แต่ว่าความรู้สึกเป็น อิติปีโส ภควา แม้เพราะเหตุนั้น แม้เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสรู้ และทรงแสดงธรรม ที่ทำให้ผู้ศึกษาสามารถที่จะเกิดความเข้าใจ และเห็นพระพุทธคุณได้
ผู้ถาม. ถ้าเป็นในลักษณะนี้ ก็เท่าำกับว่า อยู่ในวิหารธรรม
ท่านอาจารย์ ขณะใดที่เข้าใจ ธรรม ศึกษาโดยการอ่าน โดยการฟัง เกิดความซาบซึ้ง ปีติผ่องใส ระลึกถึงพระพุทธคุณ ในขณะนั้นเป็นพุทธานุสติ เป็นความสงบ คะ แต่ไม่ใช่ว่าต้องท่อง แต่เป็นความเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจธรรม จะเห็นพระคุณของพระพุทธเจ้า ได้ไหมคะ อาจจะเกิดความเลื่อมใสเล็กๆ น้อยๆ ได้ ว่าเป็นผู้ที่ปราศจากกิเลส หรือ เป็นผู้ที่ควรเคารพ
5153 เจริญความสงบไม่ได้หากปราศจากสติสัมปชัญญะ
ผู้ถาม. มีการปฏิบัติ อันนี้ก็ เท่าที่ศึกษามาคือการเจริญสมาธิ หายใจเข้า พุท หายใจออกโธ อะไรต่างๆ เหล่านี้ ในขณะนั้น ก็เท่ากับว่า ที่ได้ฟังใน อังคุตตรนิกาย ฉกนิบาต ที่ท่านอาจารย์ได้บรรยายเมื่อกี้นี้ ก็ไม่ได้อยู่ในวิหารธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสไว้เลย เพียงแต่เป็นสมาธิแต่ละขณะ แต่ละขณะ ที่คิด คำว่าพุท คำ คำว่า โธ คำ
ท่านอาจารย์ คะ เพราะฉะนั้น การที่จะเจริญความสงบ อย่าลืมว่า ถ้าปราศจากสติสัมปชัญญะ ที่รู้วาระจิต คือ รู้สภาพของจิตในขณะนั้น ว่า เป็นกุศล หรือ เป็นอกุศล แล้วละก็ ไม่สามารถจะสงบได้ ธรรมดาของบุคคลซึ่งมีความยินดีพอใจในรูปในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ซึ่งเป็นชีวิตประจำวัน ไม่มีใครที่ไม่ปรารถนาใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ใช่ไหมคะ เพราะฉะนั้น เมื่อมีความต้องการ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งยังไม่ได้ลดลงไปด้วยปัญญา ที่รู้สภาพธรรม ยิ่งขึ้น ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น เวลาที่มีความปรารถนา แทนที่จะเป็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อาจจะปรารถนาความจดจ้อง ที่ลมหายใจ ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว ลักษณะที่แท้จริง คือปรมัตถธรรม ของลมหายใจ นั้นก็คือ โผฏฐัพพะ ธรรมดาๆ นั่นเอง เวลาที่กระทบสัมผัส สิ่ง ๑ สิ่งใด รู้สึกว่าอ่อนหรือแข็ง เย็นหรือร้อน เป็นสภาพธรรม ที่ปรากฏให้รู้ได้ ทางกาย ฉันใด ลมหายใจก็คือโผฏฐัพพะ ลักษณะที่อ่อน ที่เบา
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 01
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 02
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 03
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 04
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 05
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 06
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 07
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 08
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 09
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 10
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 11
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 12
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 13
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 14
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 15
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 16
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 17
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 18
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 19
- วินัยคฤหัสถ์ ตอนที่ 20
- สมถภาวนา ตอนที่ 01
- สมถภาวนา ตอนที่ 02
- สมถภาวนา ตอนที่ 03
- สมถภาวนา ตอนที่ 04
- สมถภาวนา ตอนที่ 05
- สมถภาวนา ตอนที่ 06
- สมถภาวนา ตอนที่ 07
- สมถภาวนา ตอนที่ 08
- สมถภาวนา ตอนที่ 09
- สมถภาวนา ตอนที่ 10
- สมถภาวนา ตอนที่ 11
- สมถภาวนา ตอนที่ 12
- สมถภาวนา ตอนที่ 13
- สมถภาวนา ตอนที่ 14
- สมถภาวนา ตอนที่ 15
- สมถภาวนา ตอนที่ 16
- สมถภาวนา ตอนที่ 17
- สมถภาวนา ตอนที่ 18
- สมถภาวนา ตอนที่ 19
- สมถภาวนา ตอนที่ 20