ศรัทธา และ ความเลื่อมใส ต่างกันอย่างไร

 
sirijata
วันที่  6 พ.ย. 2551
หมายเลข  10311
อ่าน  10,022

ดิฉันอ่านพบในหนังสือสวดมนต์ว่า ผู้ใดมีศรัทธาในพระพุทธเจ้า มีศีล มีความเลื่อมใสในอริยสงฆ์ มีความเห็นตรง เขาผู้นั้นไม่จน ดิฉันจึงสงสัยว่าศรัทธา ต่างจาก ความเลื่อมใสอย่างไร เพราะในภาษาไทยเรา ก็ใช้ปนๆ กันอยู่ค่ะ

เมื่อคืนฟังท่านอาจารย์สุจินต์ บรรยาย ลักษณะของศรัทธา ว่า ศรัทธามีลักษณะผ่องใสจากอกุศล ทุกขณะที่มีกุศลอยู่จะมีศรัทธาเจตสิกประกอบอยู่ทุกครั้ง

ขอความกรุณาท่านอาจารย์และทุกท่านให้ความกระจ่างให้ด้วยค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 7 พ.ย. 2551

คำว่า ศรัทธา หรือ สัทธา เป็นคำภาษาบาลี ในภาษาไทยนิยมแปล ศรัทธา ว่าหมายถึงความเชื่อความเลื่อมใส ...

ขอเชิญคลิกอ่านรายละเอียดที่

ศรัทธา?

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 7 พ.ย. 2551

ขออนุญาตเสริมความเห็น 1 ครับ

ขอเชิญอ่านกระทู้

ความเชื่อกับความงมงาย

การบูชา เป็นกุศล เป็นความดีที่ควรจะอบรมเจริญ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 8 พ.ย. 2551

ในสมัยที่พระสารีบุตรเป็นฆราวาส เห็นท่านพระอัสสชิแล้วเลื่อมใสในกิริยามารยาทของท่าน ขณะนั้นศรัทธาเป็นกุศลเกิดร่วมกับโสภณจิตทุกประเภทค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornpaon
วันที่ 8 พ.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ . . .

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 9 พ.ย. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 9 พ.ย. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ลักษณะของศรัทธาในพระไตรปิฎกแสดงลักษณะไว้ ๒ อย่างคือ

๑. มีความเลื่อมใสเป็นลักษณะ

๒. มีการข่มนิวรณ์คือข่มกิเลสทำให้จิตผ่องใสเป็นลักษณะ

ศรัทธามีความเลื่อมใสเป็นลักษณะ จึงต้องมีวัตถุให้เลื่อมใส วัตถุนั้นต้องเป็นสิ่งที่ดี เช่น เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า เลื่อมใสในพระธรรม เลื่อมใสในพระสงฆ์ แต่การใช้คำว่าเลื่อมใสในสิ่งที่ไม่ดี เช่น เลื่อมใสในบุคคลที่เห็นผิด เลื่อมใสในความเชื่อ ความเห็นที่ผิด แต่ไม่ใช่ลักษณะของศรัทธาเพราะว่า

ความหมายศรัทธาประการที่สองคือ ต้องเป็นจิตที่ผ่องใสจากกิเลส แต่การใช้ภาษาว่าเลื่อมใส แต่ในสิ่งที่ผิดเป็นอกุศลไม่ใช่กุศลดังนั้น จึงไม่ใช่ศรัทธา เพราะศรัทธาเจตสิกจะไม่เกิดกับจิตที่เป็นอกุศลเลยครับ แสดงให้เห็นว่าลักษณะศรัทธามีสองประการตามที่กล่าวมาและต้องประกอบกัน เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
sirijata
วันที่ 10 พ.ย. 2551

ขอขอบพระคุณและอนุโมทนากับทุกท่านค่ะ

ดิฉันไปเปิดดูหนังสือสวดมนต์ พบว่าข้อสงสัยนี้อยู่ในอริยธนคาถา และบาลีใช้คำว่า สัทธา และ ปสาโท ซึ่งท่านผู้แปลใช้คำแรกว่า ศรัทธา ใช้คำที่สองว่า ความเลื่อมใส จึงเป็นเหตุให้สงสัยและเรียนถามมาค่ะ

ขอเรียนถามเพื่อให้ได้ความรู้กระจ่างชัดขึ้นว่า สัทธา และ ปสาโท ต่างกันอย่างไรคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
prachern.s
วันที่ 10 พ.ย. 2551

ในพระไตรปิฎก คำที่ท่านใช้อธิบายศรัทธา ก็มีทั้ง ศรัทธาและปสาท แต่ความหมาย ก็หมายถึงศรัทธา ในบางแห่งท่านจำแนกสัทธาเป็นหลายประเภท เช่น อาคมสัทธา อธิคมสัทธา ปสาทสัทธา เป็นต้น ดังนั้น คำว่า ปสาทสัทธา จึงเป็นสัทธาประเภทหนึ่งซึ่งต่างจากสัทธาประเภทอื่นๆ แต่ทั้งหมดเป็นชื่อเท่านั้น ขณะนี้มีศรัทธากำลังเกิดหรือไม่ควรพิจารณาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
sirijata
วันที่ 11 พ.ย. 2551

ขอขอบพระคุณอาจารย์และอนุโมทนากับทุกท่านค่ะ

ขอเรียนถามเพิ่มเติมว่า ...

ความเลื่อมใสในพระสงฆ์ ซึ่งปัจจุบันไม่ใช่พระอริยสงฆ์เป็นส่วนใหญ่ ในฐานะพุทธศาสนิกชน ควรปฏิบัติอย่างไรคะ เพื่อแสดงความเลื่อมใสในพระสงฆ์ที่ถูกต้อง

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 11 พ.ย. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

คำว่า สงฆ์ หมายถึงหมู่สาวกที่เป็นพระอริยเจ้า

แต่ภิกษุแต่ละรูปที่บวชมา เป็น สมมติสงฆ์

แต่พุทธศาสนิกชนย่อมปฏิบัติตนด้วยความเคารพ ทำหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนที่ดี โดยนอบน้อมท่านเหมือนท่านเป็นพระอริยบุคคล เพราะเราไม่ได้พิจารณาที่ภิกษุบุคคล แต่เราเคารพเพราะเพศภิกษุ เคารพในไตรจีวรที่ใส่เพราะเปรียบเหมือนธงชัยของพระอรหันต์ ไม่ได้พิจารณาภิกษุบุคคล แต่น้อมระลึกถึงคุณของพระอริยเจ้า

ดังนั้นพุทธศาสนิกชนที่ดี จึงควรปฏิบัติตนให้เหมาะสม ซึ่งในสิงคาลกสูตร แสดงเรื่องทิศทั้ง ๖ ในเรื่องของทิศเบื้องบนควรปฏิบัติตัวกับท่านอย่างไรครับ

[๒๐๔]  ดูก่อนคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบนอันกุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ

ด้วยกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑

ด้วยวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑

ด้วยมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑

ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู ๑

ด้วยให้อามิสทานเนืองๆ ๑.

จะเห็นได้ว่าพุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติตนให้เหมาะสมตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ มีการให้อาหาร ปัจจัย ๔ เป็นต้น ซึ่งในอรรถกถาอวุฏฐิกสูตร แสดงไว้ด้วยว่า ไม่ว่าจะเป็นสมณพราหมณ์ที่มีคุณธรรมหรือแม้สักว่าเพียงบวช ผู้ที่ให้ในที่ทั้งปวง ก็ให้แม้บุคคลที่สักว่าเพียงบวชครับ ผู้ที่ให้เช่นนี้ ชื่อว่าฝนตกในที่ทั้งปวง คือให้ ไม่ว่าในบุคคลใด โดยไม่ได้เลือกว่าคนนี้จะให้ คนนี้ไม่ให้ครับ

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดง เขต และไทยธรรม โดยการจำแนกจึงตรัสคำมีอาทิว่า สมณพฺราหฺมณา ดังนี้. ในคำว่า สมณพฺราหฺมณา นั้นพระองค์ทรงประสงค์เอาทั้งสมณะที่ลอยบาปแล้ว ทั้งสมณะเพียงสักว่าบรรพชาทั้งพราหมณ์ผู้ลอยบาปแล้ว และพราหมณ์เพียงกำเนิดในที่นี้.

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
sirijata
วันที่ 13 พ.ย. 2551

ขอบพระคุณค่ะ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Vachisaya
วันที่ 3 ก.ค. 2562

สวัสดีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chatchai.k
วันที่ 30 ม.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ