วัญจกธรรม
วัญจกธรรม คือ ธรรมที่ล่อล่วง คตโกง มีอะไรที่เป็นธรรมล่อล่วงบ้าง หาอ่านได้จากที่ไหน
ขอช่วยอธิบายด้วยค่ะ
๑. ความพอใจในกาม ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นอปฏิกูลสัญญา
๒. ความพยาบาท ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นปฏิกูลสัญญา
๓. ถีนมิทธะ (ความท้อถอย ง่วงเหงา) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นสมาธิ
เบื้องต้นต้องเข้าใจนะครับว่า วัญจกธรรมนี้ เป็นอกุศลธรรมแต่ลวงเหมือนกับว่าเป็นกุศลธรรม และต้องเข้าใจความหมาย อปฏิกูลสัญญา ปฏิกูลสัญญา และสมาธิ ในที่นี้หมายถึงกุศลธรรม ดังนั้นบางคนนั่งหลับ ก็เข้าใจว่าเข้าสมาธิ ทำนองนี้ส่วนคำอธิบาย อปฏิกูลสัญญา
เชิญคลิกอ่านที่ ..
การลวงนี้ หมายถึงลวงตนเองเพราะไม่รู้ หรือว่าตั้งใจลวงผู้อื่นทั้งที่รู้ว่าไม่ใช่ หรือว่าใช่ทั้งสองอย่าง จึงกล่าวว่าเป็นวัญจกธรรม อนึ่งความพอใจในกาม คือ จริงๆ แล้วยังมีความติดข้องในกามอยู่ และกามเป็นของปฏิกูล แต่ลวงว่าเป็นอปฏิกูล ท่านวิทยากรจะช่วยยกตัวอย่างให้เข้าใจหน่อยได้ไหมค่ะ
ขอขอบคุณค่ะ
กามเป็นของปฏิกูล แต่ลวงว่าเป็นอปฏิกูล ตัวอย่างเช่น มารดาที่รักลูกมีความติดข้องในลูกน้อย เวลาที่ลูกถ่ายอุจจาระก็เอามือไปรับ ขณะนั้นเป็นปฏิกูลแต่ก็ลวงว่าไม่ปฏิกูล เพราะโลภะที่ติดข้องในลูก ฯลฯ
สภาพของอกุศลธรรมที่เกิด เช่น เวลาเห็นสิ่งที่ปฏิกูล แล้วขุ่นใจ ไม่สบายใจ แต่ไม่มีสติสัมปชัญญะระลึกได้ในขณะที่ขุ่นใจ หรือไม่สบายใจ ขณะนั้น ก็ย่อมจะไม่รู้ว่า จิตเป็นอกุศล เมื่อไม่รู้ ก็ย่อมจะถูกอกุศลลวงว่า ตนเป็นผู้ที่เจริญกุศลโดยมีปฏิกูลสัญญาคือ มีความรังเกียจในสิ่งปฏิกูล โดยคิดเอาเองว่า เป็นกุศล ทั้งที่ไม่ใช่กุศล อย่างบางท่าน ก็ไม่พอใจที่เห็นความสกปรกของบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหน้าตา อวัยวะต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นความเป็นปฏิกูล แต่เมื่อสติไม่เกิด ก็ย่อมจะไม่รู้ว่าขณะนั้น เป็นความรังเกียจด้วยโทสมูลจิต ไม่ใช่การเข้าใจความจริงว่า แม้สภาพธรรมอย่างนั้น ก็จะเกิดกับมนุษย์ผู้ใดก็ได้ เป็นธรรมดา เมื่อไม่รู้ ก็ย่อมเข้าใจคลาดเคลื่อนไปว่า โทสมูลจิตนั้นเหมือนเป็นความดี แต่ความจริง คือ ไม่ได้ระลึกว่าโทสมูลจิตซึ่งเกิดชั่วขณะเล็กน้อย เพราะอาศัยสิ่งปฏิกูลนั้นเป็นอารมณ์ ปรากฏแล้วดับไปอย่างรวดเร็วเป็นอกุศลจิต ไม่ใช่ตัวตน
ขออนุโมทนาในทุกคำตอบ ธรรมที่ล่อลวง เป็นเรื่องละเอียดและลึกซึ้งจริงๆ ไม่ทราบว่า วัญจกธรรม 38 ประการนี้ คัดมาจากไหน และสามารถค้นคว้า เพิ่มเติมในพระไตรปิฏกเล่มไหนได้บ้าง เพื่อจะได้สำรวมระวังในโอกาสต่อไป