สนทนาธรรมที่เขาเต่า (๑) เรากำลังปฏิบัติ

 
พุทธรักษา
วันที่  16 เม.ย. 2552
หมายเลข  11976
อ่าน  953

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนทนาธรรมที่เขาเต่า ๑ - ๔ สิงหาคม ๒๕๓๗

ท่านอาจารย์ โดยมาก คนจะไม่เข้าใจคำว่า "ปฏิบัติ" เขาคิดไปว่า ต้องทำสิ่งหนึ่ง สิ่งใด (เช่น) ไปนั่ง หรือ ไปเชื่อตามคำสั่ง ว่าให้เดินอย่างนี้ อย่างนั้นแต่นั่น ไม่ใช่ "ปฏิบัติ" ถ้าใช้คำว่า "ภาวนา" หมายความว่า "อบรม" ให้เกิดขึ้น ให้มีขึ้น ให้มากขึ้น ให้เจริญขึ้น

เพราะฉะนั้น (ที่ว่า) เรากำลังปฏิบัติ อย่างเช่น การฟัง (พระธรรม) ก็สงเคราะห์เข้าใน "ภาวนา" ทั้งหมด เมื่อฟังแล้ว "เกิดความเข้าใจ" ความเข้าใจนี้ จะทำให้ เข้าใจ "สิ่งที่กำลังปรากฏ" พร้อม "สติ" นี่เป็น "การปฏิบัติ" โดย "สติ" เกิดขึ้น ระลึก

แม้ในขณะที่กำลังฟัง ขณะนี้ก็ต้องมี "สติ" เมื่อฟัง "เรื่อง" ของสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย มากขึ้นๆ จนกระทั่ง "เข้าใจเรื่องกรรม" .. "เข้าใจเรื่องไม่มีตัวตน" เป็นต้น ทุกอย่าง เกิดแล้วดับอย่างเช่น "จิต" เกิดขึ้นเพื่อรู้ (อารมณ์) เพียงขณะเดียว แล้วก็ดับ (การเกิดดับ ของสภาพธรรม เกิดดับสืบต่อกัน) ซึ่ง ต่อกันจนกระทั่ง ไม่เห็นว่า เป็นสภาพธรรม ที่เพียงเกิดขึ้น เพราะ "เหตุปัจจัย" แล้วดับ

แต่ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประจักษ์จนกระทั่งสามารถที่จะทรงแสดง เรื่อง "วิถีจิต" เริ่มจาก "ภวังคจิต" เมื่อ "วิถีจิต" จะเกิดทางหนึ่ง ทางใดจะต้องกระทบกับตา กระทบกับภวังค์แล้ว ภวังค์ ที่ถูกกระทบนี้ จะเริ่มนับอายุของ "รูป" ว่ามี ๑๗ ขณะ เริ่มนับ ตั้งแต่ขณะที่ (อารมณ์) กระทบภวังคจิต และดับไป แล้ว ภวังคจลนะ เกิดต่อ เริ่มไหวแต่ ยังเป็นภวังค์ เพียงแค่ไหว เท่านั้น ขณะนั้นยังไม่มี "การเห็น" (ภวังคจลนะ) ต้องดับไปก่อน แล้ว ภวังคุปัจเฉท คือ ภวังค์ขณะที่ ๓ เกิดขึ้น และ กระแสภวังค์สุดท้ายนี้ เมื่อ เกิด แล้วดับ ก็ยังเป็นภวังค์อีก และ หลังจากนั้น จึงมี "จิตก่อนเห็น" เกิดขึ้นคือ "ปัญจทวาราวัชชนจิต" หรือ "มโนทวาราวัชชนจิต"

(ขณะนั้น เพียงแต่รู้สึกตัว ว่า มีภวังค์ กระทบ ที่ภวังค์) เช่น ขณะที่กำลังนอนหลับอยู่ ถ้าเกิด "นึก" ขึ้นมา ขณะนั้น เป็น "มโนทวาราวัชชนจิต" แต่ถ้าเป็น ทางตา ก็เป็น "ปัญจทวาราวัชชนจิต" ปัญจ คือ ห้า ทวาร คือ ทางอาวัชชนะ คือ รำพึง หรือ รู้สึกตัว ปัญจทวาราวัชนจิต เพียงแต่ รู้สึกตัว เท่านั้นคือรู้ว่า มีสิ่งที่กระทบ แต่ยังไม่เห็น ถ้าเป็นทางตา และ ถ้าเป็นทางหู ก็ยังไม่ได้ยิน เป็นต้น เมื่อ "ปัญจทวาราวัชชนจิต" ดับไปแล้ว (เช่น จักขุทวาราวัชชนจิต ดับไป) ก็จะเป็นปัจจัยให้ "จักขุวิญญาณจิต" เกิดขึ้น ซึ่งก็จะทำให้เกิด "การเห็น" เดี๋ยวนี้ จักขุวิญญาณจิตทำหน้าที่ รู้ สิ่งที่ปรากฏทางตา เพียงขณะเดียว เพียงขณะเดียว ในสังสารวัฏฏ์ฎ์ทีละขณะๆ แล้วก็ ไม่มีอะไรเหลือ ชาติก่อนหายไปได้อย่างไร ไม่มีความทรงจำ หลงเหลืออยู่เลย อีกชาติหนึ่ง ข้างหน้า ก็เหมือนกับชาตินี้ ถ้าเราคิดถึงชาติหน้า ว่า เราจะต้องลืมทุกอย่าง แล้วเราจะมากังวลอะไร กับ เรื่องจุกๆ จิกๆ เพราะว่า สิ่งใดที่มีเหตุปัจจัย ให้เกิด ก็ต้องเกิด พอเกิดมาแล้วการสะสมของแต่ละคน ก็จะแสดงออกมา..เช่น (ทางตา) การเห็น ก็มี นานาทัศนะทางหู ที่ได้ยินเสียง ฯ และ ต่อจากนั้น ก็แล้วแต่ ความคิด คำพูด และ การกระทำซึ่งแต่ละคน ไม่เหมือนกันเลย เพราะ "การสะสม" ที่ต่างกัน. ทุกอย่าง ทั้งหมด (ที่ปรากฏออกมา) สะท้อนให้เห็น "การสะสม" ที่มีอยู่ทั้งหมด

และ ถ้าเรามี "สติ" เราจะรู้ได้เลย ใช่ไหม ว่านี่เราสะสม กุศล หรือ สะสมอกุศล อะไร แล้วเราจะพ้นจากสังสารวัฏฏ์ กิเลส กรรม วิบาก ได้อย่างไร นี่คือ ชีวิตจริงๆ ปรมัตถธรรม อริยสัจจธรรม ของแท้ พิสูจน์ได้เลย ว่า เป็นจริง อย่างนี้ รวดเร็ว อย่างนี้.เพราะว่า ทันที ที่เห็น หากไม่มี การศึกษา ก็ไม่มีทางจะทราบได้เลย ว่า ทันที ที่เห็น กิเลส ก็เกิดแล้ว ถ้า ปัญญา ไม่เกิด เพราะฉะนั้น ถ้ามี "เหตุ ปัจจัย" ก็เปลี่ยนแปลงได้คือ แทนที่ กิเลส จะเกิด ก็เป็น ปัญญา ที่เกิด สำหรับ ผู้ที่เข้าใจธรรม มากๆ และ "สติระลึก" จนกระทั่ง สามารถที่จะประจักษ์แจ้งการเกิดดับของสภาพธรรม ที่กำลังเกิดดับ ในขณะนี้ ซึ่งก็คือ การประจักษ์ "ไตรลักษณ์" นั่นเอง

เมื่อประจักษ์ การเกิดดับ ของสภาพธรรม คือ การประจักษ์ "ไตรลักษณ์" ก็จะเห็น ว่า ไม่มีอะไรเลย.!เราสามารถที่จะประจักษ์จริงๆ ว่า สภาพธรรมทั้งหมด เพียงเกิดขึ้นแล้วดับไป แล้วก็ ไม่เหลืออะไรเลยเพราะว่า สิ่งที่ดับไปแล้ว ก็ดับไปแล้ว ไม่เหลือแล้ว แล้วจะมีสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นให้เรา คิดใหม่ ต่อๆ ไปอีก

... ขออนุโมทนา ...

ขอเชิญอ่านเพิ่มเติม...

สนทนาธรรมที่เขาเต่า (๑) เรากำลังปฏิบัติ

สนทนาธรรมที่เขาเต่า (๒) การประจักษ์

สนทนาธรรมที่เขาเต่า (๓) สติปัฏฐาน ละ อภิชฌา และ โทมนัส

สนทนาธสนทนาธรรมที่เขาเต่า (๔) รู้ ว่า กิเลสมาก

สนทนาธรรมที่เขาเต่า (๕) ความสำคัญของเวทนา...?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 17 เม.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

ขออนุญาตเรียนสอบถามข้อสงสัยนะครับว่า

วิถีจิตแต่ละวิถีนั้น จะมีภวังคจิตคั่นอยู่เสมอหรือไม่ครับ เช่น ขณะที่ตามองเห็นสิ่งของนานสัก ๑ นาที วิถีจิตที่เกิดดับทางตาคงจะมีมากมาย แต่ละวิถีนั้นจะมีภวังคจิตเกิดคั่นทุกวิถีหรือไม่ครับ หรือว่าวิถีจิตเกิดต่อเนื่องกันโดยไม่ขาดสาย เสมือนอย่างที่เกิดขึ้นตามที่เราสามารถรับรู้ได้ ราวกับว่าเห็นอยู่ตลอดเวลาเลยทีเดียวครับ หรือภวังคจิตเกิดเฉพาะตอนที่เรากระพริบตา เนื่องจากขณะนั้นเปลือกตาปิดการมองเห็นไปหนึ่งขณะ รูปไม่กระทบจักขุประสาทรูป วิถีจิตช่วงนี้จึงไม่เกิดขึ้น ภวังคจิตทางตาจึงเกิดขึ้นคั่น ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prachern.s
วันที่ 17 เม.ย. 2552

ขณะที่ตามองเห็นสิ่งของนานสัก ๑ นาที วิถีจิตที่เกิดดับทางตา สลับกับวิถีจิตทางมโนทวาร และทวารอื่นๆ อีกก็มีหลายร้อย หลายพันหลายหมื่น หลายแสน วาระ แต่ละวาระก็มีภวังคจิตคั่นอยู่เสมอ เพราะกามวิถีไม่ได้เกิดต่อเนื่องกันยาวถึงวินาทีเลย แต่ละวาระเร็วกว่านั้นมาก ซึ่งไม่ใช่วิสัยของเราที่จะไปรู้ความเร็วของจิตได้ แต่รู้ได้ตามที่ท่านแสดงไว้ว่า ชั่วระยะกระพริบตา จิตเกิดดับแสนโกฏขณะ เร็วสักแค่ไหน และกี่วาระ ใครรู้บ้างครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 17 เม.ย. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
suwit02
วันที่ 18 เม.ย. 2552

เราสามารถที่จะประจักษ์จริงๆ ว่า สภาพธรรมทั้งหมด เพียงเกิดขึ้นแล้วดับไป แล้วก็ ไม่เหลืออะไรเลยเพราะว่า สิ่งที่ดับไปแล้ว ก็ดับไปแล้ว ไม่เหลือแล้ว

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 21 เม.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ajarnkruo
วันที่ 22 เม.ย. 2552

ชั่วลัดนิ้วมือเดียว จิตเกิดดับแสนโกฏิขณะ เพราะฉะนั้น จะกี่ขณะจิต หรือภวังค์จะเกิดตอนไหน ไม่สำคัญเท่ากับการศึกษาในสิ่งที่ปรากฏ ซึ่งมีให้ระลึกรู้ได้จริง ให้ทั่วเสียก่อนว่าเป็นธรรมะทั้งหมด ไม่ใช่เรา ไม่ว่าจะทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่เป็นหนทางเดียวที่จะละการยึดถือสภาพธรรมที่เล็กน้อย แสนสั้น เกิดปรากฏ และดับไปอย่างรวดเร็วว่าเป็นเรา เป็นตัวตนได้ทีละน้อย ไม่อย่างนั้น เราก็จะหลงอยู่แต่ในโลกของความคิดถึงชื่อ หลงอยู่กับความพยายามที่จะโยงความสัมพันธ์ของธรรมะชื่อต่างๆ ด้วยการอนุมาน แต่ความจริงเวลาที่สภาพธรรมนั้นๆ ปรากฏ จะไม่มีชื่อ ... เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่งครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ