เรื่องของความรู้สึก

 
คนรักธรรมะ
วันที่  27 ก.ย. 2552
หมายเลข  13729
อ่าน  1,456

ขอเรียนถามค่ะว่า...

การที่เราอยู่ในเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ในขณะนั้น มีความรู้สึกแว่บหนึ่งขึ้นมาและรู้สึกคุ้นกับเหตุการณ์ลักษณะนี้ แต่นึกไม่ออกว่า เกิดที่ไหน เมื่อไร รู้แต่ว่าคุ้นมากแต่ก็เป็นความรู้สึกแค่เสี้ยววินาทีเท่านั้น

จึงสงสัยว่า เป็นเพราะในอดีตชาติ เราเคยอยู่ในเหตุการณ์ในลักษณะนี้มาแล้ว ใช่หรือไม่คะ (เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวัยเด็กค่ะ)

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะรบกวนถาม คือ ปกติเวลาฟังเพลง บางทีฟังรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง บางทีเพลงจบยังไม่รู้เลยว่า เพลงที่เขาร้องมีเนื่อหาอย่างไร

แต่มีอยู่ครั้งหนึ่ง ตั้งใจว่า จะฟังเพลงให้รู้เรื่อง (เนื่อหาของเพลง) จึงหลับตาและตั้งใจฟัง ตอนเริ่มก็ตั้งใจดี ในระหว่างฟังก็เผลอไปคิด แต่ไม่รู้ตัว มารู้สึกตัวอีกที จึงได้ยินเสียงพลงเหมือนเดิม แต่ไม่รู้เนื้อหาของเพลงแล้ว ทำให้เข้าใจในตอนนั้นเลยว่า...ที่คนเราไม่มีสมาธิเพราะใจไม่จดจ่อนี่เอง เผลอไปคิดโน่นคิดนี่ จึงทำให้ฟังไม่รู้เรื่องและรู้ว่า จิตทำงานได้ทีละอย่าง เมื่อได้ยินจะไม่คิด เมื่อคิดจะไม่ได้ยิน อย่างนี้ถือว่า ได้รู้ตามความเป็นจริงแล้วใช่หรือไม่คะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 28 ก.ย. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

จากคำถามที่หนึ่งที่ว่า

การที่เราอยู่ในเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ในขณะนั้น มีความรู้สึกแว่บหนึ่งขึ้นมา

และรู้สึกคุ้นกับเหตุการณ์ลักษณะนี้ แต่นึกไม่ออกว่า เกิดที่ไหน เมื่อไร รู้แต่ว่าคุ้นมาก

แต่ก็เป็นความรู้สึกแค่เสี้ยววินาทีเท่านั้น

จึงสงสัยว่า เป็นเพราะในอดีตชาติ เราเคยอยู่ในเหตุการณ์ในลักษณะนี้มาแล้ว ใช่

หรือไม่คะ (เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวัยเด็กค่ะ)

ในสังสารวัฏฏ์ที่ผ่านมา ก็เคยมีเหตุการณ์ต่างๆ มากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งในขณะที่เห็น

ได้ยิน....คิดนึกพบประสบในเหตุการณ์ในช่วงอดีต ขณะนั้นก็ต้องมีสัญญาเจตสิกที่ทำ

หน้าที่จำเกิดกับจิตทุกดวงอยู่แล้ว จำในสิ่งที่เห็น ได้ยินและคิดนึกในเหตุการณ์นั้น

มาปัจจุบันก็อาจมีเหตุการณ์ที่คล้ายๆ กัน จิตเป็นสภาพธรรมที่สะสม เมื่อมีเหตุปัจจัย

ให้ระลึกขึ้นได้ในเหตุการณ์ที่คล้ายๆ กัน ก็ระลึกเหมือนคุ้นๆ ว่าเคยเกิดขึ้น ที่สำคัญประโยชน์ของการรู้อย่างนี้คืออะไร ดังนั้นต้องศึกษาธรรมย่อมจะเข้าใจ

ความจริงว่าทุกอย่างเป็นธรรมและก็ดับไปแล้ว ชาติไหนๆ ก็อาจจะคุ้นกับเหตุการณ์ใด

เหตุการณ์หนึ่งและก็ต้องมาถามในคำถามนี้อีกในชาติใดชาติหนึ่ง ประโยชน์คือเข้าใจ

ว่าทุกอย่างเกิดขึ้นและดับไการเข้าใจความจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราคือหน

ทางที่จะไม่ต้องมีการมาคุ้นกับเหตุการณ์มาสุขทุกข์กับชีวิตที่เกิดมาอีก เพราะความเกิด

นำมาซึ่ความทุกข์ทั้งปวง หนทางเดียวคืออบรมปัญญานะครั

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 28 ก.ย. 2552

ส่วนคำถามที่สองที่ถามว่า

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะรบกวนถาม คือ ปกติเวลาฟังเพลง บางทีฟังรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง บางทีเพลงจบยังไม่รู้เลยว่า เพลงที่เขาร้องมีเนื่อหาอย่างไร

แต่มีอยู่ครั้งหนึ่ง ตั้งใจว่า จะฟังเพลงให้รู้เรื่อง (เนื่อหาของเพลง) จึงหลับตาและตั้งใจฟัง ตอนเริ่มก็ตั้งใจดี ในระหว่างฟังก็เผลอไปคิด แต่ไม่รู้ตัว มารู้สึกตัวอีกที จึงได้ยินเสียงพลงเหมือนเดิม แต่ไม่รู้เนื้อหาของเพลงแล้ว ทำให้เข้าใจในตอนนั้นเลยว่า...ที่คนเราไม่มีสมาธิเพราะใจไม่จดจ่อนี่เอง เผลอไปคิดโน่นคิดนี่ จึงทำให้ฟังไม่รู้เรื่องและรู้ว่า จิตทำงานได้ทีละอย่าง เมื่อได้ยินจะไม่คิด เมื่อคิดจะไม่ได้ยิน อย่างนี้ถือว่า ได้รู้ตามความเป็นจริงแล้วใช่หรือไม่คะ

เป็นความจริงอย่างนั้นครับที่กล่าวว่า จิตมีกิจหน้าที่ของจิตแต่ละประเภท จิตแต่ละ

ดวงเมื่อเกิดขึ้นก็ทำหน้าที่แตกต่างกันไป ขณะที่เห็น ไม่ได้คิดถึงเรื่องราวของเพลง

แต่เพียงสีเท่านั้น ขณะที่ได้ยิน ได้ยินเพียงเสียง แต่ยังไม่รู้ความหมาย จิตได้ยินทำ

กิจเห็นได้ยินเสียงเท่านั้น (รู้เสียง) แต่เมื่อจิตอื่นเกิดสืบต่อก็นึกคิดถึงความหมายของ

เสียงสูงๆ ต่ำๆ เป็นเรื่องราวเป็นเนื้อหาของเพลงครับ ดังนั้นขณะที่ได้ยิน ยังไม่รู้ความ

หมายเนื้อเพลงครับ ขณะที่คิดถึงเรื่องอื่น ขณะนั้นจะคิดเรื่องเนื้อเพลงไมได้ แต่ความ

เข้าใจเพียงเท่านี้ยังไม่พอ ขอให้เริ่มจากความเข้าใจว่าธรรมคืออะไร เพราะเป็นรากฐาน

สำคัญสำหรับการเข้าใจความจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา แม้แต่ความนึกคิดก็เป็นธรรมไม่

ใช่เรา อันเป็นหนทางในการดับกิเลสครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornpaon
วันที่ 28 ก.ย. 2552

สนทนากันนะคะ

หมู่สัตว์เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์มายาวนานนับชาติไม่ถ้วน (และจำไม่ได้)

ย่อมเคยเกิดในภพภูมิต่างๆ มีสถานภาพและอยู่ในสถานการณ์หลากหลายมากมาย

แต่เรื่องทั้งหลายในอดีตชาติเหล่านั้นก็ผ่านไปแล้ว ควรสนใจในปัจจุบันดีกว่าค่ะ

เรื่องได้ยินแต่ไม่ได้ฟัง หรือตั้งใจไว้อย่างหนึ่งแต่กลับเผลอไปคิดอีกอย่าง

ก็แสดงให้เห็นถึงความจริงในเรื่อง อนัตตา

สภาพธรรมไม่ใช่ตัวตน ไม่มีใครเป็นเจ้าของ บังคับบัญชาไม่ได้

ค่อยๆ เข้าใจขึ้นตามลำดับทีละนิดน่ะค่ะ ฟังต่อไป ศึกษาต่อไปนะคะ

ดิฉันก็กำลังศึกษา ยากมากกว่าจะเข้าใจนิดหน่อยในแต่ละเรื่อง

แต่ละคำ แต่ละลักษณะ บอกตามตรงว่า นานจริงๆ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
คุณ
วันที่ 29 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 29 ก.ย. 2552

อนุโมทนาสาธุ คุณpaderm สำหรับคำตอบค่ะ

ตอนนี้ก็พยายามอบรมปัญญาอยู่ค่ะ แต่ความสงสัยก็ยังมีอยู่ เพราะปัญญายังอ่อนอยู่มาก ก็ได้แต่รบกวนท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะอยู่เรื่อยๆ ค่ะ

คุณpornpaon คะ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆ ค่ะ

เมื่อได้หัดอบรมปัญญา ก็พอจะเข้าใจความเป็นอนัตตาอยู่บ้าง (แต่คำๆ นี้เคยเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่เหมือนกัน ^^) คือ สภาวธรรมทั้งหลาย บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของได้ ไม่มีตัวตนใดๆ ดังนั้น ความนึกคิด ความจำใดๆ แม้มันจะเคยดับไป แต่มันก็จะคอยแวะเวียนผุดขึ้นมาใหม่อีกตามเหตุปัจจัย (แต่เข้าใจว่าไม่ใช่จิตดวงเดิม) ทำได้ก็แค่เพียงเข้าใจว่า มันเป็นอนัตตา อย่าเผลอไปยึดไว้ (แต่ก็ยังเผลออยู่บ้าง^^)

จริงอย่างที่คุณว่า...คำแต่ละคำ แต่ละลักษณะนั้น บางทีกว่าจะเข้าใจ ก็ใช้เวลานานเหมือนกัน เพราะเรายังใช้ความรู้แบบปุถุชนแปลความหมายอยู่ ก็ทำให้เข้าใจไม่ตรง หรือ เข้าใจได้ยากมากๆ (อ่านแล้วท้อบ่อยๆ ค่ะ อีกอย่างเพิ่งเริ่มหันมาสนใจศึกษาไม่นาน ความรู้ยังน้อยมากๆ )

ยินดีค่ะที่ได้สนทนาธรรม และขอรับทุกคำแนะนำค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 29 ก.ย. 2552

เรียนความเห็นที่ 5 ไม่เป็นไรครับ แม้ความเข้าใจน้อย เพียงแต่ขอให้เริ่มจากสิ่งที่ถูกก่อน เป็นเบื้องต้น ขอให้เริ่มรู้จักว่าธรรมคืออะไรเป็นเบื้องต้น ก็จะทำให้เข้าในสิ่งต่างๆ เพิ่มขึ้นครับ

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ..ปัญญาขั้นการฟัง ..รู้ว่าธรรมคืออะไร

เชิญคลิกฟังที่นี่......รู้จักธรรมะ รู้จักสิ่งที่มีจริง

ฟังธรรมะครั้งเดียวไม่พอ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 29 ก.ย. 2552

สติปัฎฐานเกิดรู้ได้เฉพาะตนด้วยปัญญา เช่น ขณะที่แข็งกำลังปรากฏสติระลึกรู้ตรง

ลักษณะแข็งขณะนั้น ไม่ใช่เรา ไม่ปนกับทวารอื่น ระลึกรู้ทีละอย่าง เป็นปกติธรรมดาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 30 ก.ย. 2552

ตรงที่ไม่ใช่เรานี่...ตอนนี้ก็พยายามทำความเข้าใจไปตามนั้นอยู่ค่ะ คือเมื่อเวลากระทบ เช่น ยืน จะรู้สึก ว่าฝ่าเท้ากระทบกับพื้น คือความรู้สึกแข็ง (ความรู้สึกจะเกิดก่อนแว๊บเดียว แล้วจิตจะเริ่มพากษ์ตาม) ในขณะที่รู้สึกแข็งเกิด ขณะนั้นความรู้สึกเป็นเรา ไม่มี (จะมีอีกทีก็ตอนที่จิตเริ่มพากษ์ เริ่มกลับมามีตัวเรา คงจะยังเป็นความเคยชิน แต่ความรู้สึกว่า มีตัวเรา มันก็เป็นเพียงอาการของจิต คือ นาม)

อย่างนี้ถือว่าเข้าใจได้ถูกต้องหรือยังคะ หรือว่ายังมีตรงไหนที่ต้องปรับปรุงอยู่ ขอคำแนะนำเพิ่มเติมค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ย. 2552

เรียนความเห็นที่ 9

คงต้องเริ่มเข้าใจให้ถูกต้องก่อนว่าสติปัฏฐานคือการมีสตินั้นคืออย่างไรจึงจะถูกต้องอธิบายง่ายๆ เวลาเด็กกระทบแข็ง ขณะนั้นก็รู้แข็ง เด็กก็รู้ เป็นสติปัฏฐานที่เป็นปัญญา

หรือไม่ ไม่เลยครับ เพราะไม่ได้มีปัญญารู้อะไร ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว เมื่อกระทบ

แข็งก็ต้องมีจิตที่รู้แข็ง ตามที่บอกว่ามีความรู้สึกแข็ง ทุกคนก็เป็นอย่างนั้นแต่นั่นไม่ใช่

ปัญญาเพราะเป็นจิตที่รู้ ไม่ใช่ปัญญาที่รู้

ดังนั้นการเจริญสติปัฏฐานจึงไม่ใช่เป็นเรื่องของความรู้สึกที่เป็นจิตที่รู้แข็ง แต่เป็น

เรื่องของปัญญา ว่าขณะที่กระทบแข็ง ขณะนั้นปัญญารู้ว่าเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เรา

โดยไม่ใช่การคิดนึก แต่รู้ลักษณะขณะนั้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ตรงนี้สำคัญมากครับ

ขณะนั้นต้องมีปัญญาด้วยจึงจะเป็นการเจริญสติปัฏฐาน และการพยายามที่จะจดจ้อง

ตามรู้ ตามดูในสิ่งที่เกิดขึ้น นั่นไม่ใช่หนทางเพราะธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา

ที่จะตามดู ตามรู้เพราะนั่นไม่ใช่ปัญญา แต่เป็นโลภะที่ต้องการดูในขณะนั้นครับ ขอให้

กลับมาสู่ความเข้าใจใหม่ คือฟังให้เข้าใจว่าธรรมคืออะไรและทุกอย่างเป็นอนัตตาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 1 ต.ค. 2552

ขอบคุณค่ะ ที่ชี้แนะ เพราะเคยไปเรียนครั้งเดียว (รูปนาม ในอิริยาบถใหญ่ ยืน เดิน นั่งนอน) อาจารย์ท่านสอนไว้ว่า

เมื่อตั้งกายไว้ในอาการท่าทางอย่างไร ก็ให้รู้ความเป็นไปในรูปกาย ในอาการท่าทางที่ตั้งอย่างนั้น

ความมีสติระลึกรู้ได้ในอาการที่มี

ตามสังเกตว่า แต่ละขณะยังอยู่ในอาการท่าทางนั้นๆ

จึงเข้าใจว่า การมีสติระลึกรู้ในอาการต่างๆ นั้น คือ มีความรู้สึกตัว เมื่อรู้สึกตัวตามสังเกตก็จะเห็นว่า รูปแสดงความทุกข์ เช่น เกิดอาการเมื่อย ก็ให้เข้าใจว่า รูปทุกข์ ไม่ใช่เราทุกข์ ตรงนี้ก็ยังเป็นคิดอยู่ (และเป็นเช่นนี้ในทุกอิริยาบถ) จนเห็นว่า รูป กับ นามคนละส่วนกัน

อาจจะยังเข้าใจไม่ดีพอ การมาปฎิบัติต่อเองก็อาจจะมีความคลาดเคลื่อนไปจากคำสอน ก็ต้องขอคำแนะนำเพิ่มด้วยนะคะ

ดังนั้นการเจริญสติปัฏฐานจึงไม่ใช่เป็นเรื่องของความรู้สึกที่เป็นจิตที่รู้แข็ง แต่เป็น

เรื่องของปัญญา ว่าขณะที่กระทบแข็ง ขณะนั้นปัญญารู้ว่าเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เรา

โดยไม่ใช่การคิดนึก แต่รู้ลักษณะขณะนั้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ตรงนี้สำคัญมากครับ

ตรงที่คุณ paderm กล่าวไว้ ดังที่ยกมานี้ น่าสนใจค่ะ

กรณีอย่างนี้ ความรู้สึกนี่ ถือว่า เป็นสิ่งที่ธรรมดาอยู่แล้วที่จะต้องมีเมื่อเกิดการกระทบใดๆ จึงไม่ใช่ปัญญา ใช่ไหมคะ (พอจะเข้าใจขึ้นบ้างแล้วค่ะ)

แต่ว่า ปัญญาที่ไปรู้ว่า ธรรม (การกระทบใดๆ ) นั้นไม่ใช่เรา จะเกิดขึ้นได้อย่างไรคะ

ขอรบกวนช่วยอธิบาย แต่รู้ลักษณะขณะนั้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เพิ่มเติมเพื่อความรู้ที่ถูกต้องด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ (หรือว่า ต้องใช้ความคิดช่วยไปก่อน ในช่วงแรกของการฝึก)

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
paderm
วันที่ 1 ต.ค. 2552

เรียนความเห็นที่ 11 ก่อนที่จะไปที่คำว่า รู้ลักษณะขณะนั้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ก็ต้องเข้าใจก่อนเป็น

เบื้องต้นว่า การอบรมสติปัฏฐานนั้น ปัญญารู้อะไร รู้ธรรมที่มีในขณะนี้ จึงต้อนย้อนกลับ

มาว่ารู้ธรรมแล้วธรรมคืออะไร ธรรมคือสิ่งที่มีจริงเพราะมีลักษณะ เช่น แข็งมีจริงไหม มี

จริงเพราะมีลักษณะแข็งให้รู้ ร้อนมีจริงไหม มีจริงเพราะมีลักษณะให้รู้ แต่อาการท่าทาง

ไม่มีจริง ไม่มีลักษณะให้รู้ ธรรมจึงเป็นสิ่งที่มีจริงที่มีลักษณะปรากฎให้รู้ได้ในชีวิต

ประจำวัน เห็นมีจริงไหม ได้ยินมีจริงไหม เสียงมีจริงไหม แต่เพราะเรายึดถือสิ่งเสียงที่

ได้ยิน เป็นคนนั้นคนนี้ ยึดถือสิ่งที่เพียงแข็งเป็นโต๊ะ เก้าอี้ นั่นคือการยึดถือด้วยความ

เป็น สัตว์ บุคคลตัวตน

ดังนั้นจึงต้องอบรมปัญญาเพื่อรู้ความจริงว่าเป็นธรรม ไม่ใชเรา ไม่ใช่สัตว์บุคคล

นั่นคือการเจริญสติปัฏฐาน ซึ่งไม่ใช่การรู้อาการท่าทางเพราะรู้ว่านั่งใครก็รู้ รู้ว่ายืนใคร

ก็รู้แต่ไมได้ละความยึดถือว่าเป็นเราเลย นึกคิดเอาเท่านั้น ทุกข์ไม่ต้องรอให้เมื่อย

ขณะนี้มีทุกข์ไหม สิ่งใดเกิดขึ้นและดับไปเป็นทุกข์แล้ว ดังนั้นกับคำว่า รู้ลักษณะขณะ

นั้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา จึงเป็นเรื่องที่ไกลเพราะเป็นเรื่องของปัญญาแต่สิ่งที่ควรรู้อบรม

เบื้องต้นเลยคือปัญญาขั้นการฟัง ให้เข้าใจพื้นฐานก่อนครับว่า ธรรม คืออะไร ก็จะไม่

ปฏิบัติผิดนะครับ

เชิญคลิกฟังที่นี่ครับ

ในชีวิตประจำวัน มีธรรมะทุกวัน รู้จักธรรมะ รู้จักสิ่งที่มีจริง

วิธีที่ดีที่สุดในการศึกษาพระธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 2 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ แล้วจะค่อยๆ เรียนรู้เพิ่มเติมไปค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 2 ต.ค. 2552

ขออนุญาตถามเพิ่มเติมค่ะ (อาจจะยังมีความเข้าใจในความหมายของคำน้อยเกินไป ต้องขอคำอธิบายเพิ่มเติมค่ะ)

สติ คือ การระลึกได้ ใช่หรือไม่คะ สงสัยว่า การระลึกได้ แตกต่างจาก รู้สึกตัวอย่างไร

สติปัฏฐาน คือ การเจริญสติโดยอาศัยฐานทั้ง 4 เป็นที่ตั้งแห่งสติใช่หรือไม่คะ

ผู้ที่เริ่มต้นเจริญสติปัฏฐาน จำเป็นจะต้องเจริญสติปัฏฐานที่เหมาะกับจริตและอินทรีย์ ของตัวเองเท่านั้น (พิจารณาจาก ทิฏฐิจริต ตัณหาจริต และ อินทรีย์แก่ อินทรีย์อ่อน) ใช่หรือไม่คะ

การฝึกเจริญสติปัฏฐาน ก็เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริง ว่ากายและใจล้วนตกอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ และละคลายความยึดมั่นถือมั่นว่ากายและจิตเป็นของเรา ถูกต้องหรือไม่คะ

ดังนั้น จากที่เคยเข้าใจ ว่า การดูจิต คือการดูให้เห็นความจริงของจิตใจ ว่าเป็นไตรลักษณ์ โดยที่ไม่ได้ไปกำหนดเพ่งหรือจ้องดู เพียงแต่อาศัยสติ ที่ระลึกรู้สึกตัวขึ้นมาเป็นขณะๆ ตามธรรมชาติ เมื่อสติเกิดก็ให้พิจารณาสิ่งที่ปรากฏ ว่าอาการทึ่เกิดแล้วกับจิตในขณะนั้นเป็นโลภะ โทสะ หรือโมหะ มีเวทนาอะไรที่กำลังเกิดอยู่บ้าง และดูว่า มีเหตุปัจจัยอะไรที่เป็นสาเหตุให้เกิดขึ้นมา และถ้าสติเกิดขึ้นบ่อยๆ หรือต่อเนื่องลองสังเกตดูว่าอาการเหล่านั้นจะยังอยู่หรือดับไปแล้ว ดับไปตอนไหน ดับไปเพราะอะไร ซึ่งเมื่อพิจารณาก็จะเห็นว่า อาการของจิตต่างๆ ล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปตามเหตุปัจจัย ไม่เที่ยง ควบคุมไม่ได้ แต่การที่มีสติระลึกรู้ ทำให้ไม่หลงไม่เผลอปรุงแต่งหรือหลงยินดี ยินร้าย ไปตามอาการของจิต

ส่วนการพิจารณา (นึกคิด) ก็คงจำเป็น เพราะเมื่อสภาวธรรมใดๆ เกิดขึ้นแต่ไม่นำมาพิจารณา ก็จะไม่เกิดความเห็นที่ถูกต้องขึ้นมาได้

อาจจะเป็นเพราะว่า พระท่านสอนให้ดูสภาวธรรมโดยตรง เห็นของจริงๆ ก็จะทำให้รู้จักสภาวธรรมจริงๆ และเข้าใจได้เร็วยิ่งขึ้น

เข้าใจมาในลักษณะนี้ค่ะ หากยังมีตรงไหนคลาดเคลื่อน ขอรับผิดไว้เองค่ะ เพราะสิ่งที่พระท่านสอนไว้ อาจจะนำมาอธิบายได้ไม่ทั้งหมด เป็นเพียงความเข้าใจส่วนตัว และอยากทราบความเห็นจากท่านผู้รู้ในแนวทางที่ท่านเห็นว่าถูกต้องด้วยค่ะ เพื่อเป็นความรู้ค่ะ (ขอให้ถือว่าเป็นการสนทนาเพื่อเพิ่มความรู้ให้กับผู้เริ่มฝึกเจริญสติคนนี้ค่ะ เพราะยังมีความรู้อยู่น้อย)

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
paderm
วันที่ 2 ต.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เรียนความเห็นที่ 14

สติ คือ การระลึกได้ ใช่หรือไม่คะ สงสัยว่า การระลึกได้ แตกต่างจาก รู้สึกตัวอย่างไร

สติเป็นสภาพธรรมฝ่ายดี ทำหน้าที่คือระลึก ระลึกที่จะให้เป็นสติขั้นทาน ระลึกที่จะ

งดเว้นการฆ่า เป็นต้น เป็นสติขั้นศีลระลึกเป็นไปในการอบรมเจริญเมตตา เป็นสติขั้น

สมถภาวนา ส่วนสติขั้นวิปัสสนาภาวนาหรือสติปัฏฐานนั้น คือสติที่ระลึกในตัวธรรมที่มี

จริงในขณะนี้

ส่วนความรู้สึกตัว ขณะนี้กำลังนั่งอยู่ รู้สึกตัวว่านั่งใช่ไหม ขณะที่โกรธ ก็รู้ว่าโกรธ

รู้สึกตัวใช่ไหม ขณะที่ต้องการก็รู้สึกตัวว่ากำลังต้องการอยู่ รู้สึกตัวอยู่ใช่ไหม แต่ไม่ใช่

การเจริญสติปัฏฐานที่เป็นสติในขั้นวิปัสสนาเลยครับ เพราะไม่ได้รู้ตัวธรรมที่มีลักษณะ

ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ไม่ได้มีปัญญารู้ว่าเป็นธรรมในขณะนั้น ก็ไม่สามารถละความเห็น

ผิดว่าเป็นเราได้ จึงเป็นเรื่องละเอียดอย่างยิ่ง

สำหรับข้อนี้ ขอถามคุณรักธรรมะเพื่อสนทนากันนะครับ ถามว่า ขณะที่ลืมกุญแจ

แล้วนึกขึ้นได้ว่าอยู่ที่ไหน ขณะที่นึกขึ้นได้ มีสติหรือรู้สึกตัวใช่ไหมครับ ขอถามก่อนนะ

จะได้รู้ว่าเข้าใจอย่างไร

สติปัฏฐาน คือ การเจริญสติโดยอาศัยฐานทั้ง 4 เป็นที่ตั้งแห่งสติใช่หรือไม่คะ

สติปัฏฐานที่มี 4 เพราะอารมณ์ของสติหรือที่ตั้งของสติทั้งหมดแล้วก็มีแค่ 4 หมวด

เท่านั้น คงไม่ต้องห่วงเรื่องคำครับ แต่ความเข้าใจสำคัญที่สุด ไม่มีเราที่จะไปเลือก

หมวดไหนก่อน แล้วแต่สติจะระลึกสภาพธรรมใดก็สภาพธรรมนั้นครับ

ผู้ที่เริ่มต้นเจริญสติปัฏฐาน จำเป็นจะต้องเจริญสติปัฏฐานที่เหมาะกับจริตและอินทรีย์

ของตัวเองเท่านั้น (พิจารณาจาก ทิฏฐิจริต ตัณหาจริต และ อินทรีย์แก่ อินทรีย์อ่อน)

ใช่หรือไม่คะ

แล้วรู้ไหมครับว่าตัวเองมีจริตอะไรบ้างหรือก็เดาเอา เราต้องไม่ลืมคำนี้เสมอเป็น

เบื้องต้นพื้นฐานว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา สติและปัญญาเป็นธรรมไหม เป็นธรรม

และเมื่อเป็นธรรมแล้วเป็นอนัตตาด้วยหรือเปล่า ก็ต้องเป็นด้วย แล้วอนัตตาหมายความ

ว่าอย่างไร คือบังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีเราที่จะไปบังคับบัญชา เมื่อบังคับไมได้ เราจะ

บังคับสติให้ไปเกิดรู้ที่หมวดนั้น หมวดนี้ได้ไหม หรือแล้วแต่สติว่าจะเกิดระลึกสภาพ

ธรรมใดก็สภาพธรรมนั้น เลือกที่จะเห็นสิ่งใดได้ไหมก็ไมได้ สติก็เช่นกันเป็นธรรมไม่ใช่

เรา หากคิดว่าบังคับได้ก็ขัดกับหลักอนัตตาก็ผิดหนทางอีกแล้วครับ เมื่อเริ่มศึกษาก็มี

เราที่จะพยายามจะทำ จะปฏิบัติแต่เราลืมว่าทุกอย่างเป็นธรรม และเป็นอนัตตา เป็น

หน้าที่ของธรรมทั้งหมดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
paderm
วันที่ 2 ต.ค. 2552

การฝึกเจริญสติปัฏฐาน ก็เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริง ว่ากายและใจล้วนตกอยู่ใต้กฎ

ไตรลักษณ์ และละคลายความยึดมั่นถือมั่นว่ากายและจิตเป็นของเรา ถูกต้องหรือไม่ค่ะ

สังเกตไหมว่าจะมีเราทำตลอด เหมือนบังคับให้ฝึกสติได้ แต่สติจะเกิดเป็นอนัตตา

ไม่มีใครฝึกอะไรได้ แต่เมื่อมีความเข้าใจธรรมขั้นการฟังเพิ่มขึ้น ธรรมทำหน้าที่ฝึกเอง

ไม่มีเราจะทำสติ จะฝึกสติให้เกิดขึ้นเพราะก็ลืมคำว่าอนัตตาอีกแล้วครับ ซึ่งการจะเห็น

การเกิดดับของสภาพธรรมนั้นเป็นเรื่องไกล ต้องเข้าใจว่าเป็นธรรมในขณะนี้ก่อน โดย

ต้องเริ่มจากการฟังให้เข้าใจว่าธรรมคืออะไรครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
paderm
วันที่ 2 ต.ค. 2552

และจากคำกล่าวที่ว่า

ดังนั้น จากที่เคยเข้าใจ ว่า การดูจิต คือการดูให้เห็นความจริงของจิตใจ ว่าเป็น

ไตรลักษณ์ โดยที่ไม่ได้ไปกำหนดเพ่งหรือจ้องดู เพียงแต่อาศัยสติ ที่ระลึกรู้สึกตัวขึ้น

มาเป็นขณะๆ ตามธรรมชาติ เมื่อสติเกิดก็ให้พิจารณาสิ่งที่ปรากฏ ว่าอาการทึ่เกิดแล้ว

กับจิตในขณะนั้นเป็นโลภะ โทสะ หรือโมหะ มีเวทนาอะไรที่กำลังเกิดอยู่บ้าง และดูว่า

มีเหตุปัจจัยอะไรที่เป็นสาเหตุให้เกิดขึ้นมา และถ้าสติเกิดขึ้นบ่อยๆ หรือต่อเนื่องลอง

สังเกตดูว่าอาการเหล่านั้นจะยังอยู่หรือดับไปแล้ว ดับไปตอนไหน ดับไปเพราะอะไร ซึ่งเมื่อพิจารณาก็จะเห็นว่า อาการของจิตต่างๆ ล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปตามเหตุ

ปัจจัย ไม่เที่ยง ควบคุมไม่ได้ แต่การที่มีสติระลึกรู้ทำให้ไม่หลงไม่เผลอปรุงแต่งหรือ

หลงยินดี ยินร้าย ไปตามอาการของจิต ดังนั้นการดูจิตก็คือการคิดในสภาพธรรมที่ดับไป แต่ไม่ใช่การรู้ลักษณะของสภาพธรรม แม้ไม่ได้กำหนดเพ่งหรือจ้องดูแต่ก็เป็นการคิดนึก ซึ่งการคิดนึกไม่ใช่สติปัฏฐาน

หากจะกล่าวว่าไม่ใช่การคิดนึกแต่ขณะนั้นปัญญารุอะไรและมีลักษณะอะไรให้รู้เพราะ

ขณะที่คิดนึก ดูจิต ไม่ได้มีลักษณะปรากฎให้รู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ต่างจากการเจริญ

สติปัฏฐานที่ถูกต้องเป็นการรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น และปัญญาก็รู้ด้วยว่า

เป็นธรรม แต่ไม่ใช่ปัญญาที่ไปรู้ว่านี่โลภะ โทะ โมหะเพราะว่ายังไม่มีปัญญาที่รู้ว่าเป็น

ธรรมเลยครับ ส่วนเรื่องปัญญาเห็นการเกิดดับยิ่งไกลเข้าไปอีกหากยังไม่รู้ว่าเป็นธรรม

ไม่ใช่เรา ธรรมเป็นเรื่องละเอียดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
paderm
วันที่ 2 ต.ค. 2552

ส่วนในประเด็นที่กล่าวว่า

เพราะให้ดูของจริง สอนให้ดูสภาวธรรมโดยตรง เห็นของจริงๆ ก็จะทำให้รู้จักสภาวะ

ธรรมจริงๆ และเข้าใจได้เร็วยิ่งขึ้น

ถ้ายังไม่มีปัญญาที่รู้ว่าสติคืออะไรในขั้นการฟัง ปัญญาในการเจริญสติปัฏฐานจะ

เกิดได้ไหม จะดูตัวสภาวธรรมที่มีในขณะนี้ไหม เพราะเป็นเรื่องของปัญญาครับ ต้อง

เข้าใจก่อนว่าธรรมคืออะไร แม้ขั้นการฟัง อันเป็นพื้นฐานให้สติเกิดได้ จึงไม่ใช่ข้ามขั้น

ไปดูตัวสภาวธรรม แต่ลืมความเข้าใจขั้นการฟังอันเป็นพื้นฐาน ในการเจริญสตินั่นเอง

ดูก็เป็นเราดู ไม่ใช่สติ เป็นเพียงการนึกคิด ขอให้เข้าใจว่า ปัญญาไม่ใช่ก้าวกระโดด

แต่ต้องเริ่มจากการฟังให้เข้าใจซึ่งใช้เวลานานมากๆ ๆ ๆ กว่าจะเป็นปัจจัยให้สติเกิด ที่จะ

ไปดูตัวสภาวธรรมเลยเพื่อเป็นทางที่เร็วคงเป็นไปไม่ได้หากไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง

แม้แต่คำว่าธรรมและสติ เพราะถ้าเข้าใจคำสองคำนี้ผิด ก็สำคัญว่าสิ่งที่ไม่ใช่ เป็นสติ

ขณะที่กำลังดูครับ ขออนุโมทนา อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 4 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ คุณpaderm

เรียนคุณpaderm ในความเห็นที่ 15 ค่ะ

สติเป็นสภาพธรรมฝ่ายดี ทำหน้าที่คือระลึก ระลึกที่จะให้เป็นสติขั้นทาน ระลึกที่จะ

งดเว้นการฆ่า เป็นต้น เป็นสติขั้นศีลระลึกเป็นไปในการอบรมเจริญเมตตา เป็นสติขั้น

สมถภาวนา ส่วนสติขั้นวิปัสสนาภาวนาหรือสติปัฏฐานนั้นคือสติที่ระลึกในตัวธรรมที่มี

จริงในขณะนี้

จากที่อ่านทำให้เข้าใจไปว่า การระลึกมีลักษณะ เป็นจิตที่ประกอบไปด้วยสัญ-

ญา (จำได้) ใช่หรือไม่คะ คือ เมื่อเข้าใจว่าการฆ่าเป็นบาป ผิดศีล เมื่อเจอสัตว์ที่ไม่

ชอบ รังเกียจ อาจจะเคยมีปกติฆ่า แต่เมื่อระลึกรู้ (จำได้) ว่าเป็นบาปจึงงดเสีย คือสติ

ระลึกรู้ ขั้นศีล ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกต้องไหมคะ

ส่วนสติขั้นสมถะ คือการระลึกที่เป็นไปในการอบรมเจริญเมตตา ยังไม่เข้าใจเลย

ค่ะ รู้เพียงแต่ว่า สมถะ คือ การเพ่งอารมณ์อันใดอันหนึ่ง จนจิตมีสมาธิแนบแน่น สงบ

แต่ไม่รู้ว่า เกี่ยวข้องอย่างไรกับการอบรมเจริญเมตตา (ปกติก็ทำสมถะไม่ค่อยได้อยู่-

แล้วค่ะ) ส่วนสติขั้นวิปัสสนา คือ การระลึกถึงสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ตรงนี้อยู่ใน

ขั้นสงสัยความเข้าใจของตัวเองอยู่ค่ะ

สำหรับข้อนี้ ขอถามคุณรักธรรมะเพื่อสนทนากันนะครับ ถามว่า ขณะที่ลืมกุญแจ

แล้วนึกขึ้นได้ว่าอยู่ที่ไหน ขณะที่นึกขึ้นได้ มีสติหรือรู้สึกตัวใช่ไหมครับ ขอถามก่อนนะ

จะได้รู้ว่าเข้าใจอย่างไร

จากคำถามนี้ขอตอบว่า การนึกได้ กับ มีสติระลึกรู้ น่าจะมีความหมายคนละอย่าง

ในความเข้าใจคือว่า ขณะที่นึกได้ อาจจะไม่มีสติรู้สึกตัวก็ได้ค่ะ

จากคำถามที่ว่า แล้วรู้ไหมครับว่าตัวเองมีจริตอะไรบ้างหรือก็เดาเอา

ขอตอบว่า คิดว่าตัวเองมีทั้งตัณหาจริต และ ทิฏฐิจริต ส่วนอินทรีย์อ่อนแน่นอนค่ะ

เราต้องไม่ลืมคำนี้เสมอเป็นเบื้องต้นพื้นฐานว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา สติและ

ปัญญาเป็นธรรมไหม เป็นธรรมและเมื่อเป็นธรรมแล้วเป็นอนัตตาด้วยหรือเปล่า ก็ต้อง

เป็นด้วย แล้วอนัตตาหมายความว่าอย่างไร คือบังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีเราที่จะไปบัง-

คับบัญชา เมื่อบังคับไมได้ เราจะบังคับสติให้ไปเกิดรู้ที่หมวดนั้น หมวดนี้ได้ไหม

หรือแล้วแต่สติว่าจะเกิดระลึกสภาพธรรมใด ก็สภาพธรรมนั้น เลือกที่จะเห็นสิ่งใดได้

ไหม ก็ไมได้ สติก็เช่นกันเป็นธรรมไม่ใช่เรา หากคิดว่าบังคับได้ก็ขัดกับหลักอนัตตาก็

ผิดหนทางอีกแล้วครับ เมื่อเริ่มศึกษาก็มีเราที่จะพยายามจะทำ จะปฏิบัติแต่เราลืมว่า

ทุกอย่างเป็นธรรมและเป็นอนัตตา เป็นหน้าที่ของธรรมทั้งหมดครับ

และความเห็นที่ 16

สังเกตไหมว่าจะมีเราทำตลอด เหมือนบังคับให้ฝึกสติได้ แต่สติจะเกิดเป็นอนัตตา

ไม่มีใครฝึกอะไรได้

ตรงนี้ก็เข้าใจค่ะว่า ไม่สามารถที่จะเลือกระลึกรู้สภาวธรรมใดๆ ได้ตามต้องการ

เพราะสติเป็นอนัตตา กำหนดไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร เกิดขึ้นแล้วไประลึกรู้สภาพ

ธรรมใดๆ ในขณะนั้นๆ บังคับไม่ได้เลยจริงๆ ค่ะ เพียงแต่เพราะการที่บังคับไม่ได้

นี่เอง จึงต้องเริ่มต้นหัดเจริญสติเพียงฐานใดฐานหนึ่งให้ชำนาญก่อน อีกทั้งบุคคลทั้ง

หลายมีจริตที่แตกต่างกัน การเจริญสติ ก็ควรที่จะเริ่มต้นจากฐานที่เหมาะกับจริตของ

ตนเองเสียก่อนจึงจะเข้าใจได้ง่ายและเร็ว ท่านว่า เมื่อฝึกเจริญสติบ่อยๆ จนจิตเริ่มจำ

สภาวะได้ สติก็จะเกิดได้บ่อยจนเป็นอัตโนมัติค่ะ

จากความคิดเห็นที่ 17

ดังนั้นการดูจิตก็คือการคิดในสภาพธรรมที่ดับไป แต่ไม่ใช่การรู้ลักษณะของสภาพธรรม แม้ไมได้กำหนดเพ่งหรือจ้องดูแต่กเป็นการคิดนึก ซึ่งการคิดนึกไม่ใช่สติปัฏฐาน

หากจะกล่าวว่าไม่ใช่การคิดนึก แต่ขณะนั้นปัญญารุอะไร และมีลักาณะอะไรให้รู้ เพราะ

ขณะที่คิดนึก ดูจิต ไมได้มีลักษณะปรากฎให้รู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ต่างจากการเจริญ

สติปัฏฐานที่ถูกต้อง เป็นการรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น และปัญญก็รู้ด้วยว่า

เป็นธรรม แต่ไม่ใช่ปัญญาที่ไปรู้ว่านี่โลภะ โทะ โมหะเพราะว่ายังไม่มีปัญญาที่รู้ว่าเป็น

ธรรมเลยครับ ส่วนเรื่องปัญญาเห็นการเกิดดับยิ่งไกลเข้าไปอีกหากยังไม่รู้ว่าเป็นธรรม

จิตมีเกิดดับรวดเร็วมากๆ ๆ จึงไม่มีทางที่จะระลึกรู้ได้ทันตรงสภาวะที่เกิด ทำได้แค่

เพียงตามรู้สภาวะที่เพิ่งดับ (ในความเห็นคุณpaderm คือการนึกคิด) และรู้สภาวะที่

เกิดอยู่ในปัจจุบันขณะที่มียังมีสติเท่านั้น ซึ่งมันก็ชั่วแว๊บเดียวเท่านั้น ในแต่ละขณะที่

สติเกิด แต่ถ้าสติเกิดบ่อยๆ ก็จะเห็นความแปรปรวนของจิตได้ง่ายขึ้น และเข้าใจความ

เป็นไตรลักษณ์ของจิตเช่นกัน และแม้แต่ความรู้สึกว่า มีเรา เป็นเรา เป็นของเรา ก็เป็น

แค่สภาวะหนึ่งที่จิตปรุงแต่งขึ้นมาชั่วขณะ และดับไป ไม่ได้มีเราอยู่อย่างถาวร แต่เกิด

ขึ้นมาตามเหตุปัจจัย เช่น ถูกตำหนิ ความเคยชินจะปรุงแต่งว่า มีเราที่ถูกตำหนิ โดยที่

ขณะที่ก่อนจะถูกตำหนิ อาจจะไม่ได้รู้สึกว่ามีเราอยู่ก่อนเลย แต่ด้วยความไวของจิต จึง

ปรุงแต่ง ความรู้สึกว่ามีเรา ให้เกิดขึ้นบ่อยๆ จนเหมือนต่อเนื่อง เมื่อเกิดบ่อยจิตก็เคย

ชินที่จะปรุงแต่งอย่างนี้เรื่อยๆ ไป จนเกิดความเข้าใจผิด เห็นผิดไปได้

ส่วนการที่จะละความเห็นผิดว่า ไม่ใช่เรา ในขั้นการฝึก คงจะไม่สามารถถอดถอน

ความเห็นผิดนี้ได้ในทันที เพราะสั่งสมมานานแสนนาน จึงต้องใช้เวลาเรียนรู้จนกว่า

จิตจะเข้าใจ จิตจำสภาวะได้ สติก็เกิดบ่อยจนเป็นอัตโนมัติ เมื่อจิตเข้าใจแจ่มแจ้ง จิต

จะถอดถอนความเห็นผิดเองโดยอัตโนมัติเช่นกัน (ซึ่งก็ขึ้นอยู่ปัญญาของแต่ละบุคคล)


จากความคิดเห็นที่ 17

ถ้ายังไม่มีปัญญาที่รู้ว่าสติคืออะไรในขั้นการฟัง ปัญญาในการเจริญสติปัฏฐานจะ

เกิดได้ไหม จะดูตัวสภาวธรรมที่มีในขณะนี้ไหม เพราะเป็นเรื่องของปัญญาครับ ต้อง

เข้าใจก่อนว่าธรรมคืออะไรแม้ขั้นการฟัง อันเป็นพื้นฐานให้สติเกิดได้ จึงไม่ใช่ข้ามขั้น

ไปดูตัวสภาวธรรม แต่ลืมความเข้าใจขั้นการฟังอันเป็นพื้นฐานในการเจริญสตินั่นเอง

ดูก็เป็นเราดูไม่ใช่ส ติ เป็นเพียงการนึกคิด ขอให้เข้าใจว่า ปัญญาไม่ใช่ก้าวกระโดด

แต่ต้องเริ่มจากการฟังให้เข้าใจซึ่งใช้เวลานานมากๆ ๆ ๆ กว่าจะเป็นปัจจัยให้สติเกิด ที่จะ

ไปดูตัวสภาวธรรมเลยเพื่อเป็นทางที่เร็วคงเป็นไปไมได้หากไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง

แม้แต่คำว่าธรรมและสติ เพราะถ้าเข้าใจคำสองคำนี้ผิดก็สำคัญว่า สิ่งที่ไม่ใช่ เป็นสติ

ขณะที่กำลังดูครับ ขออนุโมทนา

การฟังก็สำคัญค่ะ อันนี้เห็นด้วย แต่สามารถทำควบคู่ไปกับการดูสภาวะจริงๆ ก็น่า

จะได้นะคะ แต่ก็น่าแปลกนะคะ ที่คนฝึกเจริญสติตามคำสอนของพระรูปนี้ กลับมีความ

ทุกข์ทางใจลดน้อยลงได้ ซึ่งก็เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของพระพุทธองค์ คือ สอนเพื่อ

ให้รู้วิธีปฏิบัติ เพื่อความพ้นไปจากทุกข์ แม้ทุกข์จะยังไม่หมดเพราะไม่ใช่พระอรหันต์

แต่ลดน้อยลงได้ สำหรับปุถุชนก็ถือว่าดีมากๆ แล้วค่ะ แลกเปลี่ยนสนทนากันค่ะ และ

ขอรับผิดในความเห็นทั้งหมดเพียงผู้เดียวค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 5 ต.ค. 2552

เรียนคุณpaderm ค่ะ

จากที่ไปหาข้อมูลเกี่ยวกับสติมา เพิ่งทราบว่า สติ เป็น สังขารขันธ์ ค่ะ ดังนั้นที่

เคยตอบไว้ช่วงต้นๆ ใน คห.ที่ 19 ก็ไม่แน่ใจว่าคำตอบจะถูกต้องหรือไม่ แต่จากที่อ่าน

พบข้อความว่า สิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวันทั้งหมด ซึ่งเป็นนามธรรม ไม่ใช่จิต ไม่ใช่

เวทนา ไม่ใช่สัญญา เป็นสังขารขันธ์ทั้งหมด อยากขอรบกวนให้ช่วยอธิบายเพิ่มเติม

ค่ะ ว่าจิต เวทนา สัญญา เอง ก็ถือเป็นสังขารขันธ์ด้วยหรือเปล่าคะ เพราะทั้งหมดก็มี

สภาพเป็นนามธรรม และเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงในชีวิตประจำวันและ สติ เป็นสัญญา หรือไม่

คะ

ขอบคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 7 ต.ค. 2552

เรียนคุณpaderm ค่ะ

ตอนนี้เข้าใจ สำหรับคำถามที่ถามไว้ในความเห็นที่ 20 แล้วค่ะ (เป็นเพราะอ่านประโยคนี้แล้ว ตีความหมายผิดไป ก็เลยงง นิดหน่อย)

จริงๆ ขันธ์ 5 ก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

คงไม่รบกวนสำหรับคำถามนี้แล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
paderm
วันที่ 10 ต.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขออภัย ไม่ได้เข้ามาตอบเพราะไมใด้เข้าเวปครับ

เรียนคุณรักธรรมะดังนี้นะครับ

จากคำกล่าวที่ว่า

เพียงแต่ เพราะการที่บังคับไม่ได้นี่เอง จึงต้องเริ่มต้นหัดเจริญสติเพียงฐานใดฐาน

หนึ่งให้ชำนาญก่อน อีกทั้งบุคคลทั้งหลายมีจริตที่แตกต่างกัน การเจริญสติ ก็ควรที่จะ

เริ่มต้นจากฐานที่เหมาะกับจริตของตนเองเสียก่อนจึงจะเข้าใจได้ง่ายและเร็ว ท่านว่า

เมื่อฝึกเจริญสติบ่อยๆ จนจิตเริ่มจำสภาวะได้ สติก็จะเกิดได้บ่อยจนเป็นอัตโนมัติค่ะ

คำว่าอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ต้องเป็นอย่างนั้นตลอด แม้แต่การเจริญสติ สติเป็น

ธรรม เมื่อเป็นธรรม สติก็ต้องเป็นอนัตตาด้วย สติเป็นอนัตตาอย่างไรคือ สติจะเกิดเมื่อ

ไหร่อย่างไร ที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้และสติจะไม่เกิดจะบังคับให้เกิดก็ไม่ได้ครับ ดังนั้นที่

กล่าวว่า ต้องเริ่มหัดเจริญสติ นี่ก็เป็นการที่จะทำสติขึ้นมาแล้ว โดยลืมว่าไม่ต้องไปหัด

ให้สติเกิด ฟังธรรมไปเรื่อยๆ ในเรื่องสภาพธรรม สติก็จะเกิดเองโดยไม่มีการที่จะไปหัด

ทำสติ เพราะสติไม่ได้เกิดจากการหัด แต่เกิดจากเหตุปัจจัยคือการฟังธรรมในเรื่อง

สภาพธรรมครับ จึงไม่มีการหัด ธรรมทั้งหลายทำหน้าที่เอง

ส่วนที่กล่าวว่าสัตว์มีจริตแตกต่างกัน จึงควรเริ่มจากฐานที่เหมาะกับของจริตตัวเอง

เห็นไหมว่ามีการจงใจเลือกที่จะเลือกหมวด ลืมไปอีกแล้วว่าธรรมเป็นอนัตตา สติเวลา

เกิดมีใครจะเลือกให้รู้หมวดไหน อย่างไรได้ไหม หรือว่าแล้วแต่สติจะเกิดระลึกรู้อะไรก็

แล้วสติเพราะเป็นธรรม เป็นอนัตตา ต้องมั่นคงในความเป็นอนัตตา เวลาเห็น เลือกให้

เห็นสิ่งใดได้ไหม สติก็เช่นกัน เลือกให้รู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งตามที่จะเลือกให้เหมาะกับจริตตัว

เองได้ไหม ไม่ได้เลยครับ ธรรมเป็นอนัตตาจริงๆ แม้แต่ตัวสติที่จะเกิดระลึกรู้อารมณ์ใด

ถ้าหากจะกล่าวว่าต้องฝึกให้ชำนาญ ก็เลือกรู้ได้ เมื่อไหร่ที่จะเลือกรู้ในสภาพธรรมใด

ลืมคำว่าอนัตตาอีกแล้ว ก็ไม่ใช่หนทางที่ถูกต้องครับ ค่อยๆ พิจารณาเหตุผลดูว่าเป็น

จริงอย่างไร ในเรื่องของการที่จะฝึก เรื่องที่จะเลือกอารมณ์ที่ให้เหมาะกับจริตว่าขัดกับ

หลักอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้หรือไม่เมื่อเข้าใจย่อมสามารถแยกออกว่าหนทางใดผิด

หนทางใดถูก โดยไม่สำคัญเลยว่าจะเป็นผู้ใดกล่าว แต่สำคัญที่ว่าถูกต้องตรงตามพระ

ธรรมวินัยหรือขัดกับหลักพระธรรมวินัยแม้คำว่าอนัตตาหรือไม่ครับ แม้จะกล่าวว่าไม่

เลือกสติ แต่ขณะที่จะฝึก ขณะที่จะเลือกอารมณ์ ให้เหมาะกับจริต เป็นการจงใจ จะทำ

ที่ขัดกับหลักอนัตตาหรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
paderm
วันที่ 10 ต.ค. 2552

และจากคำกล่าวที่ว่า

จิตมีเกิดดับรวดเร็วมากๆ ๆ จึงไม่มีทางที่จะระลึกรู้ได้ทันตรงสภาวะที่เกิด ทำได้แค่เพียง

ตามรู้สภาวะที่เพิ่งดับ (ในความเห็นคุณpaderm คือการนึกคิด) และรู้สภาวะที่เกิดอยู่ใน

ปัจจุบันขณะที่มียังมีสติเท่านั้น ซึ่งมันก็ชั่วแว๊บเดียวเท่านั้น ในแต่ละขณะที่สติเกิด

แต่ถ้าสติเกิดบ่อยๆ ก็จะเห็นความแปรปรวนของจิตได้ง่ายขึ้น และเข้าใจความเป็น

ไตรลักษณ์ของจิตเช่นกัน

ขอให้เริ่มศึกษาจากพระไตรปิฎกเป็นสำคัญนะครับ ไม่ใช่ฟังจากใครคนใดคนหนึ่ง

แล้วเชื่อ ซึ่งในพระไตรปิฎกได้แสดงปัญญามีหลายระดับและที่สำคัญเป็นลำดับขั้น

ด้วย ตรงนี้สำคัญมาก ดังนั้นปัญญาที่เป็นวิปัสสนาญานขั้นแรก ไม่ได้รู้การเกิดดับของ

สภาพธรรม ซึ่งการรู้การเกิดดับของสภาพธรรมนั้นเป็นวิปัสสนาญานขั้นที่ 3 และ 4 แต่

ปัญญาที่เป็นวิปัสสนาญานขั้นที่ 1 ก่อนคือ รู้ความเป็นสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ว่าเป็น

นามธรรมและรูปธรรมที่แยกขาดจากกัน แต่ไม่ใช่การรู้การเกิดดับของสภาพธรรมเลย

ถ้าไม่รู้ตัวธรรมในขณะนี้ก่อน แล้วจะไปรู้การเกิดดับของสภาพธรรมเป็นไปไม่ได้ครับ

และที่สำคัญก็คือก่อนจะไปถึงวิปัสสนาญานขั้นที่ 1 ก็ต้องอบรมปัญญาขั้นการฟังก่อน

จนเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิด แต่ก็ยังไม่รู้การเกิดดับนะครับ จนถึงวิปัสสนาญานขั้นที่

1 ก็ยังไม่รู้การเกิดดับอีกเช่นกัน จะเห็นได้ว่าถ้าไม่ศึกษาข้อความในพระไตรปิฎก เราก็

เชื่อในสิ่งที่ฟังจากใครคนหนึ่ง แต่พระพุทธเจ้าท่านบอกไม่ให้เชื่อใครแต่ต้องเทียบ

เคียงกับพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าก่อนว่าลงกันได้ไหม ถูกต้องหรือไม่ จึงจะเชื่อ

เพราะถูกต้องนั่นเองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
paderm
วันที่ 10 ต.ค. 2552

และจากคำกล่าวที่ว่า

ส่วนการที่จะละความเห็นผิดว่า ไม่ใช่เรา ในขั้นการฝึก คงจะไม่สามารถถอดถอน

ความเห็นผิดนี้ได้ในทันที เพราะสั่งสมมานานแสนนาน จึงต้องใช้เวลาเรียนรู้จนกว่าจิต

จะเข้าใจ จิตจำสภาวะได้ สติก็เกิดบ่อยจนเป็นอัตโนมัติ เมื่อจิตเข้าใจแจ่มแจ้ง จิตจะ

ถอดถอนความเห็นผิดเองโดยอัตโนมัติเช่นกัน (ซึ่งก็ขึ้นอยู่ปัญญาของแต่ละบุคคล)

คงต้องย้ำอีกครั้งว่าต้องเริ่มศึกษาธรรมด้วยตนเอง ถ้าเราเชื่อตามใครคนหนึ่งพูด

อย่างเดียวคงไม่ได้ อย่างเช่นที่กล่าวว่าจิตจำสภาวะได้เมื่อศึกษาพระอภิธรรมแล้ว จิต

ไม่ได้ทำหน้าที่จำเลย จึงไม่ใช่ทำหน้าที่จำสภาวะ แต่จิตเป็นสภาพรู้เท่านั้น คือทำ

หน้าที่รู้อารมณ์เท่านั้น ไม่ใช่จำครับ สัญญาเจตสิกทำหน้าที่จำ และจิตก็ไม่ใช่ทำหน้า-

ที่เข้าใจแจ่มแจ้ง แต่ปัญญาทำหน้าที่เข้าใจแจ่มแจ้งครับ จิตก็ไม่ใช่ทำหน้าที่ถอด

ถอนความเห็นผิด ปัญญาทำหน้าที่ถอดถอนความเห็นผิด การศึกษาธรรม จึงต้อง

ศึกษาให้เข้าใจถูก แม้แต่คำนั้น คำว่าจิต คำว่าสติเพราะถ้าเข้าใจผิด ฟังตามๆ กันมา

ปฏิบัติก็จะผิดไปด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 13 ต.ค. 2552

เรียนคุณpaderm ขออนุโมทนาในเมตตาจิตค่ะ

ฟังธรรมไปเรื่อยๆ ในเรื่องสภาพธรรม สติก็จะเกิดเอง โดยไม่มีการที่จะไปหัดทำสติ

เพราะสติไมได้เกิดจากการหัด แต่เกิดจากเหตุปัจจัยคือการฟังธรรมในเรื่องสภาพธรรม

ครับ จึงไม่มีการหัด ธรรมทั้งหลายทำหน้าที่เอง

คิดว่าพอจะเข้าใจสิ่งที่คุณต้องการจะสื่อแล้วค่ะ เพียงแต่เกิดความสงสัย ก็อยากจะ

ได้คำอธิบายเพิ่มค่ะ ว่า การฟังธรรมะไปเรื่อยๆ สติจะเกิดขึ้นเองได้อย่างไรคะ เพราะการ

อ่านการฟังก็อาศัยเพียงเข้าใจในสมมติบัญญัติ จากตัวหนังสือ สติที่เกิดขึ้นมานั้น ก็อาศัย

สัญญา (จำได้) ใช่ไหมคะ เลยนึกได้ แต่สงสัยว่า แล้วจะเข้าใจสภาวธรรมจริงๆ ได้หรือ

คะ (ตรงนี้ขอถามเพิ่มสักนิดค่ะว่า ขณะก่อนที่สัญญา (จำได้) เกิด สติ (ระลึกรู้) ต้อง

เกิดขึ้นก่อนเสมอหรือไม่คะ หรือว่า สัญญาเกิดก่อน แล้วสติจึงเกิดตาม หรือ ไม่เกี่ยว

ข้องกันเลย ตรงนี้สงสัยอยู่ อยากจะขอคำตอบด้วยเลยค่ะ)

แล้วที่ว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวท ก็ไม่ถูกต้องสิคะ เพราะการปฏิบัตินั้นเมื่อเริ่มปฏิบัติ

ก็ดูจะเป็นการจงใจอยู่ กว่าจะกลายเป็นความเคยชิน (ปฎิบัติในที่นี้ คือ มรรค 8 ใช่มั๊ยคะ

แล้วสัมมาสติ คือ การเจริญสติปัฏฐาน ใช่หรือไม่คะ)

เหตุใดพระป่าที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบบางรูปท่านก็สอนในลักษณะนี้ คือ ให้พิจารณา

สภาวะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง แม้แต่การพิจารณาตามดูจิตและอาการของจิต ก็ด้วย

เช่นกันค่ะ อาจจะเป็นไปได้ว่า เรื่องที่ท่านสอนว่า เมื่อจิต (+สัญญา) จำสภาวะได้แม่นยำ

เป็นเหตุให้สติเกิด เพราะธรรมชาติของจิตมักจะไหลไปตามความเคยชิน จิตไปรู้อะไรได้

บ่อย ก็จะจำสภาวะนั้นได้แม่น (เป็นภาษาพูด อาจจะขัดกับพระอภิธรรมหรือเปล่าตรงนี้ไม่ทราบนะคะ) ก็คงคล้ายๆ กับการฟังธรรมะบ่อยๆ แล้วสติเกิด เพียงแต่คนละแนวทางกันหรือเปล่าคะ

การรู้พระไตรปิฎกเป็นสิ่งที่จำเป็น เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ เพราะจะทำให้เข้าใจคำสอน

ที่ถูกต้อง และสามารถที่จะเทียบเคียงหรืออธิบายสภาวะเป็นคำพูด เพื่อที่จะไว้สื่อสาร

กันได้ แต่ถ้าบางคนที่สติปัญญา ความสามารถที่จะจดจำทำความเข้าใจพระอภิธรรมได้

ทั้งหมด มีไม่มาก (อย่างเช่น คนรักธรรมะคนนี้ เป็นต้น) มันก็คงต้องใช้เวลามากๆ จริงๆ กว่าที่จะอ่านและฟัง เพื่อเรียนรู้ จนเข้าใจได้แต่ละเรื่อง ก็เลยเข้าใจว่า ปฏิบัติไปด้วย

ศึกษาพระธรรมไปด้วย (ตามความสามารถ) น่าจะดีกว่าน่ะค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
paderm
วันที่ 13 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาในความสนใจใคร่ที่จะเข้าใจจริงๆ เช่นกันครับ

ประเด็นที่คุณถามมีดังนี้

การฟังธรรมะไปเรื่อยๆ สติจะเกิดขึ้นเองได้อย่างไรคะ เพราะการอ่านการฟังก็อาศัย

เพียงเข้าใจในสมมติบัญญัติ จากตัวหนังสือ สติที่เกิดขึ้นมานั้น ก็อาศัยสัญญา (จำได้)

ใช่ไหมคะ เลยนึกได้ แต่สงสัยว่า แล้วจะเข้าใจสภาวธรรมจริงๆ ได้หรือคะ

ก่อนอื่นคงต้องอธิบายคำว่าสติซ้ำอีกครั้งนะครับ สติเป็นสภาพธรรมฝ่ายดี ขณะใด

ที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นมีสติเกิดร่วมด้วย สติทำหน้าที่ระลึก ระลึกเป็นไปในกุศล กุศลมี

หลายระดับ คือขั้นทาน ศีล ภาวนา สติจึงมีหลายระดับเช่นกันเพราะเมื่อกุศลเกิดสติ

ย่อมเกิดร่วมด้วยเสมอ สติจึงมีหลายระดับทั้งขั้นทาน ศีล และภาวนา รวมทั้งการเจริญ

สติปัฏฐานที่เป็นกุศลขั้นวิปัสสนาภาวนา สติก็เกิดร่วมด้วย

ขณะที่ฟังธรรมเรื่องทาน มีความเข้าใจ เห็นประโยชน์ของการให้ ขณะที่เข้าใจ เป็น

กุศลมีสติเกิดร่วมด้วย เมื่อเห็นประโยชน์จึงระลึก (สติ) ที่จะให้ เพราะอะไร เพราะอาศัย

จากการฟังในเรื่องทานนั่นเอง ถ้าไม่ได้ฟังธรรมเรื่องทานก็คงไม่เห็นประโยชน์ที่จะให้

ทานมากขึ้น โดยทำนองเดียวกัน ในการอบรมวิปัสสนาภาวนาหรือสติปัฏฐาน ก็ต้องรู้

ว่าสติและปัญญารู้อะไรก็คือรู้ตัวธรรมที่มีจริงในขณะนี้ เพราะอาศัยการฟังว่าธรรมคือ

อะไร คือสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ มีลักษณะให้รู้ เมื่ออาศัยการฟังบ่อยๆ ความเข้าใจมากขึ้น

ใช่ไหม นั่นคือปัญญาขั้นการฟังมากขึ้น ค่อยๆ จับด้ามมีด ด้ามมีดก็ค่อยๆ สึกไปเรื่อยๆ

อาศัยการฟังในเรื่องความจริงของสภาพธรรม ก็ทำให้ปัญญาเจริญขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็คือ

ปัญญาขั้นปริยัตินะครับ ยังไม่ใช่ปฏิบัติ แต่เมื่อปัญญาขั้นปริยัติเจริญขึ้นก็นำไปสู่การ

ปฏิบัติ ซึ่งเราก็ต้องเข้าใจว่าปฏิบัติคืออย่างไร ขณะไหน ขณะใดที่ปัญญาที่เกิดจากการ

ฟัง (ปริยัติ) เจริญขึ้นจนพร้อม เหมือนหยดน้ำทีละหยดจนในที่สุดน้ำเต็มตุ่ม แต่ก็ต้อง

อาศัยทีละหยดคือปัญญาที่เกิดทีละน้อยจากการฟัง เมื่อปัญญาเจริญจนถึงจุดหนึ่ง สติ

ก็เกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา (ปฏิบัติ) โดย

ไม่ใช่การไปตามดู หรือไปฝึกอะไร เพราะปัญญาขั้นการฟังที่เจริญขึ้นนั่นเองเป็นการฝึก

อยู่แล้ว จนสามารถที่สติเกิดระลึกความจริงของสภาพธรรมโดยมีปัญญาเกิดร่วมด้วยว่า

เป็นธรรมไม่ใช่เรา ไม่ใช่แค่ตามดูว่านี่โลภะ โทสะครับ ขณะใดที่สติเกิดระลึกรู้ลักษณะ

ของสภาพธรรมในขณะนี้ ขณะนั้นคือปฏิบัตินั่นเอง แต่เพราะอาศัยการฟัง (ปริยัติ) ใน

เรื่องของสภาพธรรมจนเข้าใจ ขณะนี้คุณก็กำลังสนทนาเพื่อความเข้าใจถูก เมื่อเข้าใจ

ปัญญาก็เจริญแล้วเพราะละทางผิด เห็นถูกในสิ่งที่เป็นจริงนั่นเอง พระสาวกทั้งหลาย

ต้องเป็นผู้ฟังจึงจะเกิดการปฏิบัติที่ถูกต้อง

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
paderm
วันที่ 13 ต.ค. 2552

ถ้าการงานอย่างหนึ่ง ต้องใช้น้ำเต็มตุ่มจึงจะสำเร็จ แต่เรามีนำเพียงน้ำก้นตุ่มจะทำ

การงานนั้นสำเร็จไหมครับ ฉันใด การงานเปรียบเหมือนขณะที่สติเกิดระลึกความจริง

(ปฏิบัติ) น้ำเต็มตุ่มเปรียบเหมือน การฟังที่สมบูรณ์จนเป็นปัจจัยให้สติเกิด ปัญญาขั้น

การฟังทีละน้อย ที่ค่อยๆ เกิดขึ้นเปรียบเหมือนน้ำทีละหยด แต่เมื่อปัญญาเราน้อยอยู่จะ

ไปดูสภาวธรรม (ปฏิบัติ) เลยได้อย่างไร นี่จึงเป็นเหตุผลว่าต้องฟังให้เข้าใจ จนเป็น

ปัจจัยให้สติเกิดครับ แต่ต้องใช้เวลานานมากๆ นะครับ คงพอเข้าใจขึ้นนะ

ดังนั้นประเด็นที่คุณกล่าวว่าให้ดูสภาวธรรมเลย เหมือนให้จิตกับสัญญาจำ จนมั่น-

คงให้สติเกิดอะไรประมาณนั้น ผมก็ได้อธิบายไปแล้วว่า ไปดูสภาวธรรมหรือปฏิบัติเลย

ไม่ได้ ต้องฟังให้เข้าใจก่อน จะควบคู่ไม่ได้ ดังอุปมาที่ผมยกมาให้คุณเข้าใจครับในเรื่อง

เมื่อการงาน (ปฏิบัติ) จะต้องสำเร็จด้วยน้ำเต็มตุ่ม แต่เรามีน้ำเพียงเล็กน้อย (ความเข้าใจ

ขั้นการฟัง) การงานก็ไม่สำเร็จ (ปฏิบัติไม่สำเร็จ) สรุปคือถ้าความเข้าใจน้อย จะปฏิบัติไม่

ได้ ต้องเป็นทีละขั้นนะครับ ปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นว่าใครคนใด

กล่าว แต่ต้องเป็นเหตุ เป็นผลไม่ขัดแย้งกับหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้านั่นเอง

ครับ ยังไงฝากลิ้งให้คุณอ่านด้วยนะครับ ในเรื่องคำว่าปฏิบัติ เป็นประโยชน์มากๆ ครับ ปฏิบัติ

สมัยนี้ไม่ชอบการศึกษาค่ะ ชอบไปทำ ไปปฏิบัติ

ไปปฏิบัติธรรม?

 
  ความคิดเห็นที่ 28  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 16 ต.ค. 2552

ขอบคุณค่ะคุณpaderm

จากการสนทนาก็ช่วยให้เห็นความสำคัญของการศึกษาพระธรรมจากการอ่านและฟังให้มากขึ้น

หากว่ามีข้อสงสัยในสิ่งที่อ่านที่ฟัง จะขอนำมาสอบถามในนี้อีกนะคะ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ