อิริยาบถปิดบังทุกข์

 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่  9 ก.พ. 2554
หมายเลข  17858
อ่าน  2,696

เมื่อเช้ามืดวันนี้ฟังรายการบ้านธัมมะทาง สทท.เรื่องอิริยาบถปิดบังทุกข์ ผมขออนุโมทนาครับ ท่านอาจารย์กล่าวว่าขณะสติระลึกสภาพที่เห็นนั้นจะไม่มีสิ่งใดในโลกนี้ปรากฏเลย แม้แต่ตัวเรา ผมคิดว่าเป็นคำสำคัญ จึงขอเชิญท่านวิทยากรและท่านผู้ศึกษากรุณาสนทนาให้มากขึ้นครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chaiyut
วันที่ 10 ก.พ. 2554

ธรรมะมีทุกขณะ ไม่ว่าจะกำลังนั่ง, นอน, ยืน, หรือ เดิน แต่ตัวธรรมจริงๆ ไม่ใช่ท่านั่ง, ท่านอน, ท่ายืน , หรือ ท่าเดินครับ ที่อิริยาบถปิดบังทุกข์ เพราะเราสะสมความเห็นผิดจำผิดว่าเป็นกลุ่มก้อน เป็นตัวตนที่นั่ง,นอน , ยืน, เดิน ยึดถือสิ่งที่ประชุมรวมกันซึ่งทรงไว้ในท่าทางนั้นว่าเป็นอัตตา ด้วยความไม่รู้ จึงไม่เห็นทุกข์คือการเกิดขึ้นและดับที่แสนสั้นของสภาพธรรมแต่ละอย่าง ในขณะที่ทรงอิริยาบถอย่างนั้น ธรรมะมากมายเกิดแล้วดับไป แต่เพราะความรวดเร็วของการเกิดดับสืบต่อ เราจึงหลงเข้าใจผิดว่ายังมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยงอยู่ เพราะอวิชชาปกปิด ตัณหาฉาบทา และเห็นผิดด้วยทิฏฐิ จึงทำให้ไม่รู้สภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง ต้องฟังธรรมให้เข้าใจ จนกว่าจะมั่นคงในความเป็นธรรมครับ จึงจะเป็นปัจจัยให้เกิดการระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏได้ ทางหนึ่งทางใดก็ได้ ไม่ต้องเลือก, ไม่จดจ้อง, ไม่เจาะจง ขณะที่ระลึกรู้ตัวจริงของธรรม จะมีแต่ธรรมนั้นปรากฏกับปัญญา ไม่มีธรรมอื่นปะปนด้วย และไม่มีเราที่กำลังนั่ง, นอน, ยืน , หรือ เดิน ใดทั้งๆ สิ้น เป็นการเพิกอิริยาบถโดยความรู้ชัดในสภาพธรรมที่มีจริงครับ

ขอเชิญคลิกอ่าน >> ถามเรื่องอะไรคือ อิริยาบถปิดบังทุกข์

ปัญญาไม่เลือกอิริยาบถ เพราะธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา

เพิกอิริยาบถ [ตอน ๑...จำผิด]

เพิกอิริยาบถ [ตอน ๒...จนกว่าจะชิน จนกว่าจะรู้ชัด] จบ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 10 ก.พ. 2554

คลิ๊กอ่านแล้วทั้งหมดครับ อ่านพบที่ท่าน kulwilai กล่าวว่า "ถ้าสติสัมปชัญญะรู้ตรงลักษณะธรรมที่กำลังปรากฎอิริยาบถไม่มี" ทำให้ผมอยากฟังในประเด็น "ขณะสติระลึกสภาพที่เห็นนั้นจะไม่มีสิ่งใดในโลกนี้ปรากฏเลย แม้แต่ตัวเรา" เป็นคำสำคัญครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
พุทธรักษา
วันที่ 10 ก.พ. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 10 ก.พ. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 11 ก.พ. 2554
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 11 ก.พ. 2554

เวทนา ตัญหา อุปาทาน ฉาบทาอิริยาบถ บ่นถึงติดใจอิริยาบถ. ไม่เพียงเพิกอิริยาบถ แต่เพิกทุกสิ่งในโลก สติปัฏฐานเพิกตัวตน

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เซจาน้อย
วันที่ 11 ก.พ. 2554

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
intira2501
วันที่ 14 ก.พ. 2554

เวทนา ตัญหา อุปาทาน ฉาบทาอิริยาบถ บ่นถึงติดใจอิริยาบถ. ไม่เพียงเพิกอิริยาบถ คำว่า "เพิก" คืออะไรค่ะ ไม่เข้าใจและสามารถหาอ่านได้จากหนังสืออะไร ที่ไหน อย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chaiyut
วันที่ 15 ก.พ. 2554

เรียนคุณ intira2501 ครับ

คำว่า "เพิก" ถ้าโดยภาษาไทยของเรา ก็คือ การถอน การถลกออก การเบิก แต่โดยความหมายทางธรรม ไม่มีเรา ไม่มีตัวตนที่จะไปถอนอะไร แต่ฟังธรรม แล้วเป็นความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นจากการฟัง ว่าสิ่งที่มีจริงที่ปรากฏในขณะนี้ ถ้าหากกำลังนั่ง ขณะที่ทรงอยู่ในอิริยาบถนั่ง มีสิ่งที่มีจริงหรือไม่ อะไรเป็นสิ่งที่มีจริง นั่งมีจริง หรือ แข็งมีจริงนั่งมีจริง หรือ อ่อนมีจริง, นั่งมีจริง หรือ เย็นมีจริง, นั่งมีจริง หรือ ร้อนมีจริง ฯลฯ ตามปกติปุถุชนมีความเห็นผิดว่าเป็นเรา เป็นตัวตนที่นั่ง ยึดถือสิ่งที่มีจริงที่มาประชุมรวมกันแล้วทรงไว้ในอิริยาบถนั่งว่าเป็นอัตตา แต่ความจริง เมื่อปัญญาเจริญขึ้นๆ ปัญญาก็จะรู้ชัดว่า ไม่มีนั่ง ไม่มีเรา มีแต่สภาพธรรมที่ปรากฏชั่วขณะที่ระลึกรู้ได้ในขณะนั้นเท่านั้น ขณะนั่ง มีกายที่รับกระทบสัมผัสต่างๆ ได้ ที่กาย มีแข็ง-อ่อน, เย็น-ร้อน ฯลฯ ปรากฏ แต่ไม่ได้เพิก คือ ไม่ได้ถอนความเป็นอัตตา เพราะเหตุว่าหลงลืมสติ เห็นผิดว่าเป็นตัวตน เป็นคน เป็นสัตว์ที่นั่ง จนกว่าจะสามารถระลึกรู้ได้ว่า สิ่งที่ปรากฏชั่วขณะนั้น ไม่ใช่เรา เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่อาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิดและปรากฏเท่านั้น เช่น แข็ง ที่ปรากฏกับสติสัมปชัญญะ สภาพ แข็ง ในขณะนั้น เป็นแต่เพียงสิ่งที่มีจริงอย่างหนึ่ง เมื่อมีปัจจัยให้ระลึกรู้บ่อยๆ เนืองๆ ในสิ่งที่ปรากฏ ความรู้ชัดเพิ่มขึ้น ปัญญาจึงค่อยๆ เพิกถอนการยึดถือการรวมกันเป็นกลุ่มก้อนของสภาพธรรมที่มาประชุมรวมกันออก เพราะความจริง มีแต่แข็งในขณะที่แข็งปรากฏ แข็งก็เป็นแข็ง จะเป็นตัวตนได้อย่างไร แข็งเกิดขึ้นเป็นแข็ง แล้วก็ดับ แล้วก็มีสภาพธรรมใหม่เกิดสืบต่อ ให้ปัญญาได้ศึกษาต่อไปอีก ธรรมแต่ละอย่างๆ อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้นแตกต่างกัน ปรากฏให้จิตรู้ได้ในแต่ละทางแต่ละทวารของธรรมนั้นๆ และไม่ได้ปรากฏพร้อมกัน เพราะจิตเกิดดับทีละ ๑ ขณะ เมื่อรู้ชัดในธรรมที่มีจริงเพิ่มขึ้น ปัญญาจึงรู้ว่าไม่มีกลุ่มก้อนที่นั่ง ไม่มีเรานั่ง ไม่มีตัวตนของใครทั้งสิ้น มีแต่สภาพธรรมประเภทใดประเภทหนึ่งที่กำลังปรากฏให้อาศัยระลึกเพื่อเห็นถูกและค่อยๆ ละคลายการยึดถือลงเท่านั้นครับ

คุณ intira2501 สามารถหาฟังได้จาก ชุด สติปัฏฐาน 1 - 2 หรือจะเปิดฟังในเว็บเซต์ก็ได้ครับ ที่เมนูฟังธรรม เลือกหมวดสติปัฏฐาน แล้วพิมพ์คำว่า "เพิก" ลงในช่องค้นหาก็จะเจอไฟล์ฟังธรรมที่เป็นเรื่องของการเจริญสติปัฏฐาน ซึ่งอยู่ในส่วนของอิริยาปถบรรพที่ท่านอาจารย์ได้บรรยายไว้มากมายครับ

สำหรับการอ่านหนังสือ ส่วนตัว ผมคิดว่าหนังสือทุกเล่มที่มูลนิธิฯ มี ก็มุ่งให้เข้าใจธรรมที่มีจริงโดยประการต่างๆ อยู่แล้ว ถ้าจะมุ่งเข้าใจเฉพาะส่วน ควรตั้งต้นฟังให้เข้าใจธรรมจากท่านผู้รู้ก่อนแล้วพิจารณาไตร่ตรองตาม ถ้าเป็นไปได้ก็สืบค้นจากพระไตรปิฎกประกอบการศึกษาไปด้วย ซึ่งในกระดานสนทนาธรรมก็มีหลายกระทู้ที่พูดถึงเรื่องนี้อยู่ คุณ intira2501 สามารถพิมพ์ข้อความเพื่อสืบค้นกระทู้ที่ต้องการได้ ในช่องค้นหา ทางด้านขวาบนของกระดานสนทนาธรรมครับ ขอให้เจริญในธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 15 ก.พ. 2554

ขออนุโมทนาครับท่านchaiyut และคุณintira2501 การสนทนาธรรมเป็นกุศลครับ รู้ที่จิตตน สภาพธรรมที่สำแดงนั่นแหละ "เพิก" อิริยาบถอยู่แล้วครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
wannee.s
วันที่ 15 ก.พ. 2554

ขณะที่หลงลืมสติ ก็จะเห็นเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นสิ่งของ เป็นวัตถุต่างๆ มากมาย

ขณะนั้นไม่รู้จักลักษณะของธรรมะจริงๆ ที่่ำกำลังปรากฏ ถ้าเป็นปัญญาเกิดก็รู้ว่า

เป็นเพียงธรรมะอย่างหนึ่งที่เกิดชั่วขณะสั้นๆ แล้วดับไป จะไม่ปนกับทวารอื่นเลยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
พุทธรักษา
วันที่ 16 ก.พ. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
intira2501
วันที่ 26 ก.พ. 2554

ขอกราบขอบคุณและอนุโมทนาในกูศลจิตของท่านchaiyut ด้วยค่ะ ขอเรียนด้วยความจริงใจว่าตัวเองนี้ ไม่เคยเปิด-ปิด คอมพิวเตอร์เลยค่ะแต่มีวันหนึ่งเปิดวิทยุฟังได้ยินเสียงท่านอาจารย์บรรยายธรรม เมื่อจบรายการก็มีความมุ่งมั่นว่าต้องหาเว็บไซด์ให้ได้ จึงเป็นเรื่องยากมากค่ะที่จะเรียนรู้ได้ ในการใช้คอม การพิมพ์ ก็ขอขอบคุณค่ะที่กรุณาแนะนำค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
อย่าหยิ่งผยอง
วันที่ 9 พ.ค. 2567

ขออนุโมทนาสาธุกับทุกท่านค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ