ทิฏฐิ

 
gboy
วันที่  26 ก.พ. 2554
หมายเลข  17949
อ่าน  3,976

ภวทิฏฐิ กับ สัสตทิฏฐิ และ วิภวทิฏฐิ กับ อุจเฉททิฏฐิ คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chaiyut
วันที่ 26 ก.พ. 2554

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นความเห็นผิด คือ ทิฏฐิเจตสิกครับ ภวทิฏฐิ ก็คือ สัสตทิฏฐิ (ความเห็นผิดว่าเที่ยง) วิภวทิฏฐิ ก็คือ อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นผิดว่าขาดสูญ) โดยความละเอียด ทิฏฐิทั้ง ๒ แตกต่างกันไปในลักษณะของการถือมั่น แต่เวลาที่เกิด ต้องเกิดร่วมกับตัณหา ดังข้อความบางตอนจาก ...

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 79

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ภเว ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ.

บทว่า วิภเว ได้แก่ อุจเฉททิฏฐิ.

ถ้ากล่าวโดยนัยของตัณหา ...

ภวตัณหา มุ่งถึง ตัณหา คือ ความยินดีพอใจในรูปภพ อรูปภพ ในฌาน ซึ่งเกิดพร้อมกับกับสัสตทิฏฐิ โดยมีความเห็นผิดว่า ภพที่อยู่ หรือที่ปรารถนานั้นเที่ยง ยั่งยืน จึงเป็นเหตุให้มีความเห็นผิดเมื่ออยู่ในภพนั้น หรือ เป็นเหตุให้มีการเจริญฌานเพื่อที่จะได้เกิดในรูปภพ หรือ อรูปภพซึ่งมีอายุยืน ที่ผู้นั้นเห็นผิดว่าไม่แก่ ไม่ตาย หรืออีกแบบหนึ่ง คือ มีความพอใจในความเห็นผิดว่าสิ่งที่ยึดถืออยู่เที่ยง เช่น เห็นผิดว่าตัวตนนี้เที่ยง เห็นว่าโลกเที่ยง เป็นต้น

เชิญคลิกอ่านตัวอย่างที่นี่ >>

พระพุทธเจ้าโปรดพกพรหม [พกสูตร]

วิภวตัณหา มุ่งถึง ตัณหาที่ประกอบกับอุจเฉททิฏฐิ คือ ความยินดีในความเห็นผิดว่าขาดสูญ เช่น เห็นผิดว่าตายแล้วไม่เกิดอีก สูญไปเลยโดยไม่มีเหตุปัจจัย

ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่ >>

กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

ภวตัณหา

สัสสตทิฏฐิ

วิภวตัณหา

ขอเชิญคลิกฟังที่นี่ >>

กามตัณหา - ภวตัณหา - วิภวตัณหา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
gboy
วันที่ 2 มี.ค. 2554
ขอบคุณครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 1 ต.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ