คำสอนที่แท้จริงอยู่เพียง 500 ปี

 
truth
วันที่  7 มิ.ย. 2554
หมายเลข  18492
อ่าน  7,287

คำสอนที่แท้จริงมีอายุอยู่ได้เพียง 500 เท่านั้น แล้ว ตอนนี้เราใช้คำสอนของใครกัน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรอานนท์ ก็ถ้าสตรีจักไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ใน ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์จักตั้งอยู่ได้นานสัทธรรมจะพึงตั้งอยู่ได้ ตลอดพันปี ก็เพราะสตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศ แล้ว บัดนี้ พรหมจรรย์จักไม่ตั้งอยู่ได้นาน สัทธรรมจักตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น ดูกร อานนท์ สตรีได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยใด ธรรมวินัยนั้นเป็น พรหมจรรย์ไม่ตั้งอยู่ได้นาน เปรียบเหมือนตระกูลเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีหญิงมาก มีชาย น้อย ตระกูลเหล่านั้นถูกพวกโจรผู้ลักทรัพย์กำจัดได้ง่าย อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือน หนอนขยอกที่ลงในนาข้าวสาลีที่สมบูรณ์ นาข้าวสาลีนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน อีกประการ หนึ่ง เปรียบเหมือนเพลี้ยที่ลงในไร่อ้อยที่สมบูรณ์ ไร่อ้อยนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน ดูกร อานนท์ บุรุษกั้นทำนบแห่งสระใหญ่ไว้ก่อน เพื่อไม่ให้น้ำไหลไป แม้ฉันใด เราบัญญัติครุ ธรรม ๘ ประการแก่ภิกษุณี เพื่อไม่ให้ภิกษุณีละเมิดตลอดชีวิต ฉันนั้นเหมือนกันฯ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 7 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

จากข้อความพระไตรปิฎกที่ยกมานั้น เป็นเรื่องของการที่ท่านพระมหาปชาบดีขอบวช ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสห้าม พระอานนท์ก็กราบทูลขอร้องให้สตรีได้ออกบวชจนท้ายสุด พระพุทธเจ้าก็ให้บวชโดยให้รับครุธรรม 8 ประการ เป็นอุปสมบทของสตรีทั้งหลาย ซึ่งข้อความในพระไตรปิฎกถ้าสตรีบวชเป็นบรรพชิต ศาสนาคือพระสัทธรรม จักตั้งได้อยู่เพียง 500 ปี

ซึ่งข้อความในพระไตรปิฎกที่อรรถกถาอธิบายต่อครับว่า หากแต่ว่าเมื่อเราบัญญัติครุธรรม 8 ประการให้สตรีรักษาในการบวชก็จะทำให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้ เป็นพันปีครับ และที่พระองค์ทรงห้ามพระนางมหาปชาบดีบ่อยๆ ในการที่จะขอบวช เพื่อให้สตรีทั้งหลายเห็นถึงความยากในการที่จะได้บรรพชา และก็จะรักษาบรรพชานั้น และการประพฤติครุธรรมก็จะเป็นการรักษาภิกษุณีและพระศาสนาให้มีอายุยืนยาวขึ้นครับ ปรียบเหมือน บ่อน้ำที่ไม่มีการสร้างขอบน้ำขังได้น้อย แต่เมื่อบ่อน้ำมีการสร้างขอบ ก็จะทำให้น้ำขังได้มาก ฉันใด

พระองค์ก็ทรงบัญญัติครุธรรม ให้สตรีรักษาเพื่อพระศาสนาจะได้อายุยืนยาวขึ้น เป็นพันปี

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 7 มิ.ย. 2554

แต่ข้อสงสัยก็มีว่าถ้ามีอายุเพียงแค่พันปีแล้วปัจจุบัน 2500 ปีแล้วศึกษาธรรมของใคร

ข้อความในพรไตรปิฎกก็อธิบายต่อไปครับว่า คำว่า พันปี นั้นหมายถึงอะไร พันปีแรก คือ การที่มีพระอรหันต์ที่ท่านได้ปฏิสัมภิทา คือ สามารถอธิบายธรรมได้แตกฉาน และ ยุคพันปีแรกก็มีพระอรหันต์ที่ได้ฤทธิ์ด้วยครับ ศาสนายังไม่หมดสิ้นครับ พอพันปีที่สอง พระอรหันต์ทีได้ฤทธิ์ ได้ปฏิสัมภิทา ไม่มีแล้ว แต่ยังมีพระอรหันต์ที่ไม่ได้ฤทธ์และ ปฏิสัมภิทาครับ จะเห็นว่าค่อยๆ เสื่อมไป พันปีที่สาม ก็จะไม่มีพระอรหันต์ จะมีแค่เพียง พระอนาคามีครับ ส่วนพันปีที่ 4 สูงสุดเพียงพระสกทาคามี และพันปีที่ 5 ก็เพียงพระ โสดาบันครับ ดังนั้นอายุพระศาสนา ผู้บรรลุได้ถึงพันปีที่ 5

ดังนั้นพระปริยัติธรรมก็ยังคงมีอยู่ เพราะผู้ที่จะบรรลุโดยไม่อาศัยพระปริยัติธรรม ศึกษาพระธรรมไม่มีครับ แต่พระปริยัติ พระศาสนาก็จะเสื่อมไปเรื่อยจากยุคแรก มายุคปัจจุบันและถึงอนาคต

ดังนั้นขณะนี้ก็ยังมีคำสอนของพระพุทธเจ้า ยังไม่อันตรธานและเมื่อยังมีการบรรลุ ธรรมก็แสดงว่าก็ยังมีพระสัทธรรม คำสอนอยู่ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ อรรถกถาโคตมีสูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

การอันตรธานแห่งปริยัตินั่นแล เป็นมูล (เหตุ) แห่งอันตรธาน ๕ อย่างนี้ จริงอยู่ เมื่อพระปริยัตติอันตรธานไป ปฏิบัติก็ย่อมอันตรธาน เมื่อปริยัตติคงอยู่ ปฏิบัติก็คงอยู่.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 7 มิ.ย. 2554

ที่สำคัญ การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด พิจารณาด้วยเหตุผล ไตรตรองด้วย ปัญญา ไม่ใช่เชื่อทันทีจากใคร สอบสวนจากพระธรรมวินัยและมื่อสอบสวนแล้วก็ พิจารณาเหตุผลว่าเป็นจริงอย่างนั้นหรือไม่ครับ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง แสดงถึงสิ่งที่มีจริง ไม่ได้แสดงถึงสิ่งที่ไม่มีจริง แสดงในสิ่งที่มีในชีวิตประจำวัน ให้ เข้าใจความจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ดังนั้นคำพูดใด คำสอนใดจากใครที่แสดงให้เห็น ความจริงที่มีในขณะนี้ที่เป็นธรรม ที่เป็นอริยสัจจะ นั่นเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่คำสอนใด สอนว่ามีเรา มีตัวเราทำ ปฏิบัติ มีสัตว์บุคคลจริงๆ นั่นไม่ใช่คำสอนของ พระพุทธเจ้าครับ คำสอนได้ สอนให้ได้ สอนให้ติด สอนเพื่อไม่เบื่อหน่ายไม่คลาย กำหนัด นั่นไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า โดยนัยตรงกันข้าม คำสอนใดสอนให้ละ ความติดข้องและละกิเลสประการต่างๆ แต่ด้วยหนทางที่ถูกนั่นเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าครับ

ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pamali
วันที่ 7 มิ.ย. 2554
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Komsan
วันที่ 7 มิ.ย. 2554
ขอขอบคุณและขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
daris
วันที่ 7 มิ.ย. 2554

ขอกราบเรียนถามเพิ่มเติมครับ เป็นสิ่งที่สงสัยมาระยะหนึ่งแล้ว

ถ้าพิจารณาจากอรรถกถาโคตมีสูตรที่ท่านอาจารย์ paderm ช่วยกรุณาอธิบายข้างต้น สมัยนี้เป็นพันปีที่สามหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน แสดงว่าสมัยนี้ไม่มีพระอรหันต์ อยู่แล้วใช่มั้ยครับ จะมีอย่างมากเพียงระดับพระอนาคามี

หากเป็นเช่นนั้นแล้ว การที่พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงหลายๆ ท่านทั้งที่ยังอยู่และทั้งที่ มรณภาพไปแล้วได้รับการยกย่องจากศิษยานุศิษย์ ว่าเป็นพระอรหันต์ หมดกิเลสแล้ว จะ ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงแค่ไหนครับ (ไม่ได้มีเจตนาจะสงสัยในการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบของท่านเหล่านั้นนะครับ)

และไหนๆ จะ พูดถึงประเด็นนี้แล้วจะขอเรียนถามว่า "อริยบุคคล" จะ "บอกกล่าว" กับผู้ อื่นว่าตนเป็นอริยบุคคลหรือไม่ ทั้งทางตรง ทั่งทางอ้อม (เช่น กล่าวว่า กิเลสหมดแล้ว กิเลสน้อยแล้ว ได้ผ่านวิปัสสนาญาณทั้ง 16 มาแล้ว) เพราะหากเป็นพระสงฆ์หากกล่าว เช่นนั้นน่าจะเป็นการอ้างคุณวิเศษแม้จะมีในตัวจริงๆ แต่หากเป็นฆารวาสแล้วจะ บอกกล่าวหรือไม่

ขอความกรุณาไขข้อข้องใจด้วยครับ

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
truth
วันที่ 7 มิ.ย. 2554

อ่านดูอย่างวิเคราะห์แล้ว ส่วนที่กล่าวถึง ครุธรรม ๘ ประการแก่ภิกษุณี นั้นไม่เกี่ยวอะไร กันกับ ความบริสุทธิ์หรือความไม่บริสุทธิ์ของพุทธศาสนาน่ะครับ แต่ส่วนที่เกี่ยวข้องกัน โดยตรงคือ เรื่องสตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย ตรงนี้ต่างหากที่เกี่ยว กันโดยตรงที่จะทำให้พระสัทธรรมอยู่ได้เพียง 500 ปี

อีกอย่างคือ ถ้าเราจะวิเคราะห์คัมภีร์ให้ถูกต้องเราจะต้องเอาคัมภีร์อธิบายกันเองเพื่อให้ เกิดความชัดเจน เพราะถ้านำคัมภีร์ของคนอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากพระพุทธเจ้า โดย เฉพาะผู้ที่ไม่ได้เกิดอยู่ในสมัยเดียวกับพระพุทธเจ้าด้วยแล้ว ยิ่งไกลกับความเป็นจริง เพราะฉะนั้น คำถามก็คือ มีตรงไหนของคำพูดของพระพุทะเจ้าที่ระบุเอาไว้ในพระ ไตรปิฎกที่กล่าวอธิบายเอาไว้ว่า:

พันปี นั้นหมายถึงอะไร พันปีแรก คือ การที่มีพระอรหันต์ที่ท่านได้ปฏิสัมภิทา คือ สามารถอธิบายธรรมได้แตกฉาน และ ยุคพันปีแรกก็มีพระอรหันต์ที่ได้ฤทธิ์ด้วยครับ ศาสนายังไม่หมดสิ้นครับ พอพันปีที่สอง พระอรหันต์ทีได้ฤทธิ์ ได้ปฏิสัมภิทา ไม่มีแล้ว แต่ยังมีพระอรหันต์ที่ไม่ได้ฤทธ์และ ปฏิสัมภิทาครับ จะเห็นว่าค่อยๆ เสื่อมไป พันปีที่สาม ก็จะไม่มีพระอรหันต์ จะมีแค่เพียง พระอนาคามีครับ ส่วนพันปีที่ 4 สูงสุดเพียงพระสกทาคามี และพันปีที่ 5 ก็เพียงพระ โสดาบันครับ ดังนั้นอายุพระศาสนา ผู้บรรลุได้ถึงพันปีที่ 5 ดังนั้นพระปริยัติธรรมก็ยังคงมีอยู่ เพราผู้ที่จะบรรลุโดยไม่อาศัยพระปริยัติธรรมศึกษาพระธรรมไม่มีครับ

แต่พระปริยัติ พระศาสนาก็จะเสื่อมไปเรื่อยจากยุคแรก มายุคปัจจุบันและถึงอนาคต

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
truth
วันที่ 7 มิ.ย. 2554

ใช้เหตุผลที่ไม่เกี่ยวข้องไปสนับสนุนจุดยืน หรือ ข้อสรุป (conclusion) โดยเหตุผลชุด ที่ถูกยกไปนั้นอาจจะเป็นความจริง แต่กระนั้นมันไม่สามารถถูกนำไปสนับสนุนจุดยืน หรือ ข้อสรุป นั้นๆ ได้ เพราะมันไม่ได้เกี่ยวกัน

ในหลายครั้งด้วยกันที่ เมื่อมีการนำเสนอ เหตุผล หรือ หลักฐาน เพื่อพิสูจน์เรื่องหนึ่ง เรื่องใด และ อีกฝ่าย (เช่น ฝ่าย เอ) ไม่สามารถที่จะโต้ตอบ หรือหักล้างเหตุผล หรือ หลักฐานของอีกฝ่ายได้ (เช่นฝ่าย บี) ฝ่าย เอ ก็จะเริ่มยกข้อมูลต่างๆ มามากมาย ที่เมื่อวิเคราะห์ดูแล้ว ข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นไม่อาจจะนำไปหักล้าง ฝ่าย บี ได้เลย ทั้งนี้ เพราะไม่มีความเกี่ยวข้องกัน และที่ฝ่าย เอ ทำเช่นนี้ก็เพราะต้องการสร้างภาพให้เกิด ความเข้าใจผิดว่า ตนเองสามารถหักล้าง หรือ โต้ตอบฝ่าย บีได้แล้ว ทั้งๆ ที่ในความเป็น จริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย

ยกตัวอย่างเช่น นาย บี พูดว่า 1+1 เท่ากับ 2 สมมติว่า นาย เอ ไม่เห็นด้วย แต่เนื่องจากตัวเองไม่สามารถหักล้างนาย บี ได้ จึงนำข้อมูลมานำเสนอว่า 5+9 เท่ากับ 14 / 10+10 เท่ากับ 20 / 25+25 เท่ากับ 50 จะเห็นได้ว่าข้อมูลที่นาย เอ นำมานั้นถูก ต้อง แต่กระนั้นก็ตาม มันไม่สามารถถูกนำไปหักล้าง หลักฐานของนาย บีได้ เพราะมัน ไม่เกี่ยวข้องกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 7 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 7 และ 8 ครับ

เชิญคลิกอ่านข้อความในพระไตรปิฎกที่นี่ครับ จะอธิบายเหตุผลทั้งหมดในเรื่อง 500 ปี เรื่อง 1000 ปี และอธิบาย 1000 ปีหมายถึงอะไรครับ โดยเฉพาะในความเห็นที่ 9 ครับ

ขอให้มาตุคามพึงได้การออกบวชเป็นบรรพชิต [โคตมีสูตร]

ซึ่งเมื่ออ่านลิ้งค์แล้วในเรื่องอายุพระศาสนา จะเห็นว่าเกี่ยวกับเรื่องครุธรรมเพราะการที่ สตรีจะบวชเป็นบรรพชิตจะต้องถือครุธรรม เปรียบเหมือนสระที่ไม่มีขอบก็ย่อมขังน้ำได้ ไม่ดี แต่ถ้าสระที่มีขอบก็จะสามารถขังน้ำได้ดี การที่สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ถ้ามีครุธรรมก็ย่อมสามารถทรงพระศาสนาให้มีอายุยาวนานขึ้นครับ

ดังข้อความในพระไตรปิฎกที่ลิ้งมาข้างต้นครับ และข้อความในพระไตรปิฎกก็แสดงเหตุผลในเรื่องนี้ได้ดี ในความเห็นที่ 10 ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาเพื่อความเข้าใจถูกอันรักษาศาสนานี้ไว้ให้ดำรงยาวนานครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 7 มิ.ย. 2554

เรื่องอายุพระศาสนา เกี่ยวข้องกับครุธรรมและเรื่องพันปีหมายถึงอะไร

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 499

ก็แล ด้วยคำว่า มหโต ตฬากสฺส ปฏิกจฺเจว ปาลึ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเนื้อความนี้ว่า เมื่อชอบแห่งสระใหญ่แม้ไม่ได้ก่อแล้ว น้ำน้อยหนึ่งพึงขังอยู่ได้, แต่เมื่อได้ก่อขอบไว้เสียก่อนแล้ว น้ำใดไม่พึงขังอยู่ เพราะเหตุที่มิได้ก่อขอบไว้, น้ำแม้นั้นพึงขังอยู่ได้ เมื่อได้ก่อขอบแล้ว ข้อนี้ ฉันใด; ครุธรรมเหล่านี้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรีบบัญญัติเสียก่อน เพื่อ กันความละเมิด ในเมื่อยังไม่เกิดเรื่อง,

เมื่อครุธรรมเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้มิได้ทรงบัญญัติ พระสัทธรรมจะพึงตั้งอยู่ได้ห้าร้อยปี เพราะเหตุที่มาตุคามบวช, แต่เพราะเหตุที่ทรงบัญญัติครุธรรมเหล่านั้นไว้ก่อน พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ได้อีกห้าร้อยปี ข้อนี้ ก็ฉันนั้นแล จึงรวมความว่า พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ตลอดพันปีที่ตรัสทีแรกนั่นเอง ด้วยประการฉะนี้.

แต่คำว่า พันปี นั้น พระองค์ตรัสด้วยอำนาจพระขีณาสพผู้ถึงความแตกฉานในปฏิสัมภิทาเท่านั้น. แต่เมื่อจะตั้งอยู่ยิ่งกว่าพันปีนั้นบ้าง จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระขีณาสพสุกขวิปัสสกะ, จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระอนาคามี, จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระสกทาคามี, จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจพระโสดาบัน, รวมความว่า พระปฏิเวธสัทธรรม จักตั้งอยู่ตลอดห้าพันปี ด้วยประการฉะนี้. ฝ่ายพระปริยัติธรรม จักตั้งอยู่เช่นนั้นเหมือนกัน. เมื่อปริยัติไม่มี ปฏิเวธจะมีไม่ได้เลย เมื่อปริยัติมี ปฏิเวธจะไม่มี ก็ไม่ได้. แต่เมื่อปริยัติ แม้เสื่อมสูญไปแล้ว เพศจะเป็นไปตลอดกาลนานฉะนี้แล.

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 7 มิ.ย. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 18492 ความคิดเห็นที่ 6 โดย daris

ขอกราบเรียนถามเพิ่มเติมครับ เป็นสิ่งที่สงสัยมาระยะหนึ่งแล้ว

ถ้าพิจารณาจากอรรถกถาโคตมีสูตรที่ท่านอาจารย์ paderm ช่วยกรุณาอธิบายข้างต้น สมัยนี้เป็นพันปีที่สามหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน แสดงว่าสมัยนี้ไม่มีพระอรหันต์อยู่แล้วใช่มั๊ยครับ จะมีอย่างมากเพียงระดับพระอนาคามี

หากเป็นเช่นนั้นแล้ว การที่พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงหลายๆ ท่านทั้งที่ยังอยู่และทั้งที่มรณภาพไปแล้วได้รับการยกย่องจากศิษยานุศิษย์ ว่าเป็นพระอรหันต์ หมดกิเลสแล้ว จะถูกต้องตรงกับความเป็นจริงแค่ไหนครับ (ไม่ได้มีเจตนาจะสงสัยในการปฏิบัติดีปฏบัติชอบของท่านเหล่านั้นนะครับ)

และไหนๆ จะ พูดถึงประเด็นนี้แล้วจะขอเรียนถามว่า "อริยบุคคล" จะ "บอกกล่าว" กับผู้อื่นว่าตนเป็นอริยบุคคลหรือไม่ ทั้งทางตรง ทั่งทางอ้อม (เช่นกล่าวว่า กิเลสหมดแล้ว กิเลสน้อยแล้ว ได้ผ่านวิปัสสนาญาณทั้ง 16 มาแล้ว) เพราะหากเป็นพระสงฆ์หากกล่าวเช่นนั้นน่าจะเป็นการอ้างคุณวิเศษแม้จะมีในตัวจริงๆ แต่หากเป็นฆารวาสแล้วจะบอกกล่าวหรือไม่

ขอความกรุณาไขข้อข้องใจด้วยครับ

ขอบพระคุณครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

ยุคนี้ ไม่มีพระอรหันต์แล้ว จริงเหรอ?

และโดยปกติแล้ว พระอริยเจ้้าทั้งหลายจะไม่อยากล่าวคุณธรรมที่ท่านได้บรรลุ เปรียบเหมือนผู้มีทรัพย์มาก ไม่อยากให้ผู้อื่นรู้ว่าตนมีทรัพย์มากครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
truth
วันที่ 7 มิ.ย. 2554

ถ้าอย่างนี้เรากล่าวได้ไหมว่าเกิดการขัดแย้งกันเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
truth
วันที่ 7 มิ.ย. 2554

ส่วนที่ยกมานี้เป็นคำอธิบายน่ะครับไม่ใช่คำของพระพุทธเจ้าที่จะมาขยายกันเอง และอีกอย่างเราจะต้องแยกให้ออกระหว่าง พระสัทธรรมอยู่ได้แค่ 500 ปี กับ พุทธศาสนาอยู่ได้ 5000 ปี กล่าวคือ พุทธศาสนาอาจจะมีอายุได้ ห้าพันปี แต่คำสอนที่บริสุทธิ์มีได้แค่ 500 ปีเท่านั้น

ผมได้พูดไปชัดแล้วว่า อ่านดูอย่างวิเคราะห์แล้ว ส่วนที่กล่าวถึง ครุธรรม ๘ ประการแก่ภิกษุณี นั้นไม่เกี่ยวอะไร กันกับ ความบริสุทธิ์หรือความไม่บริสุทธิ์ของพุทธศาสนาน่ะครับ แต่ส่วนที่เกี่ยวข้องกัน โดยตรงคือ เรื่องสตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย ตรงนี้ต่างหากที่เกี่ยว กันโดยตรงที่จะทำให้พระสัทธรรมอยู่ได้เพียง 500 ปี

อีกอย่างคือ ถ้าเราจะวิเคราะห์คัมภีร์ให้ถูกต้องเราจะต้องเอาคัมภีร์อธิบายกันเองเพื่อให้ เกิดความชัดเจน เพราะถ้านำคัมภีร์ของคนอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากพระพุทธเจ้า โดย เฉพาะผู้ที่ไม่ได้เกิดอยู่ในสมัยเดียวกับพระพุทธเจ้าด้วยแล้ว ยิ่งไกลกับความเป็นจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
paderm
วันที่ 7 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 13 ครับ จากคำกล่าวที่ว่า

และอีกอย่างเราจะต้องแยกให้ออกระหว่าง พระสัทธรรมอยู่ได้แค่ 500 ปี กับ พุทธ ศาสนาอยู่ได้ 5000 ปี กล่าวคือ พุทธศาสนาอาจจะมีอายุได้ ห้าพันปี แต่คำสอนที่ บริสุทธิ์มีได้แค่ 500 ปีเท่านั้น


พระพุทธศาสนาคือคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าไม่มีคำสอนที่ถูกต้องแล้ว คือพระ ปริยัติธรรมจะกล่าวว่ามีพระพุทธศาสนาไม่ได้ครับ ดังนั้นเพราะมีคำสอนที่ถูกต้องอยู่ แต่ สัตว์โลกจะเข้าใจได้มากหรือน้อย นั่นก็แสดงถึงความเสื่อมครับดังนั้นพระพุทธศาสนา จะอันตรธานสิ้นไปก็เพราะปริยัติอันตรธาน คือพระสัทธรรมที่ถูกต้องอันตรธานครับ ดังนั้นคำสอนที่ถูกต้ออคือพระพุทธศาสนาครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎกที่แสดงว่า การอันตรธานของพระปริยัติ คือ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นพระสัทธรรม เป็นเหตุให้เกิดอันตรธานอย่างอื่นด้วย คือการอันตรธานของพระบรมสารีริกธาตุ การ อันตรธาตุของการบรรลุธรรม เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

การอันตรธานแห่งปริยัตินั่นแล เป็นมูล (เหตุ) แห่งอันตรธาน ๕ อย่างนี้ จริงอยู่ เมื่อพระปริยัตติอันตรธานไป ปฏิบัติก็ย่อมอันตรธาน เมื่อปริยัตติคงอยู่ ปฏิบัติก็คงอยู่.


ซึ่งถ้าปริยัติคือสอนของพระพุทธเจ้าที่ถูกต้องอันตรธานแล้วตั้งแต่ 500 ปีตามที่ กล่าวมา พระบรมสารีริกธาตุก็ต้องอันตรธานไปหมดแล้ว การบรรลุธรรมก็ต้องไม่มี ตั้งแต่สมัยหลัง 500 ปีนั้นแล้วเพราะที่จะบรรลุธรรมจะไม่อาศัยปริยัติไม่มีเลย พระธรรม เป็นศาสดาแทนพระองค์

ดังนั้นก็ต้องแยกนะครับว่า ถ้ายังมีพระสัทธรรมที่ถูกต้องอยู่จะกล่าวว่าศาสนามีอายุแค่ 500 ปีไม่ไ่ด้ตราบใดที่ยังมีพระสัทธรรมที่ถูกต้องอยู่ครับ

และเมื่อการทำสังคายนาครั้งแรก ที่ท่านพระมหากัสสปะได้ทำ พระองค์ทรงเห็น ว่าหากพระมหากัสสปะทำสังคายนา พระสัทธรรมหรือคำสอนของเราก็จะดำรงต่อไป ได้ 5 พันปี ไม่ใช่แค่ 500 ปีครับ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ หน้าที่ 554

ข้อความบางตอนจาก อรรถกถาโคตมีสูตร

ปฏิเวธสัทธรรมถูกดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี โดยอาการดังกล่าวมานี้แม้พระปริยัติธรรม ก็ดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปีนั้นเหมือนกัน. เพราะเมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมก็มีไม่ได้ แม้เมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมไม่มี ก็เมื่อปริยัติธรรมแม้อันตรธาน ไปแล้วเพศ (แห่งบรรพชิต) ก็จักแปรเป็นอย่างอื่นไปแล.


และจากคำกล่าวที่ว่าผมได้พูดไปชัดแล้วว่า

อ่านดูอย่างวิเคราะห์แล้ว ส่วนที่กล่าวถึง ครุธรรม ๘ ประการแก่ภิกษุณี นั้นไม่เกี่ยวอะไร กันกับ ความบริสุทธิ์หรือความไม่บริสุทธิ์ของพุทธศาสนาน่ะครับ แต่ส่วนที่เกี่ยวข้องกัน โดยตรงคือ เรื่องสตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย ตรงนี้ต่างหากที่เกี่ยว กันโดยตรงที่จะทำให้พระสัทธรรมอยู่ได้เพียง 500 ปี


ประเด็นคือเข้าใจคำว่าพระสัทธรรมว่าอย่างไร ถ้ายังมีพระธรรมที่ถูกต้องอยู่ จะมากหรือจะน้อย จะกล่าวว่าไม่มีได้หรือไม่ ดังนั้นปัจจุบันก็ยังพระสัทธรรมที่ถูกต้องอยู่ จะกล่าวว่าไม่มีไม่ได้ครับ เมื่อยังมีพระศาสนาก็ยังมี ไม่ใช่แค่ 500 ปีครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
truth
วันที่ 7 มิ.ย. 2554

พุทธพจน์เท่านั้นที่สามารถใช้เป็นหลักฐานได้ เพราะฉะนั้นวิธีที่ถูกต้องที่สุดเพื่อที่จะให้ ได้มาซึ่งข้อสรุปที่ถูกต้องและใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุดก็คือ ให้พุทธพจน์ขยายกัน เอง เพราะคำอธิบายเป็นของมนุษย์และไม่รู้ว่าเป็นคนยุคไหนได้อธิบายกันไว้โดย เฉพาะถ้าไม่ได้อยู่ร่วมสมัยกันกับพระพุทธเจ้าด้วยแล้ว ยิ่งห่างไกลความจริง เพราะ ฉะนั้น พุทธพจน์เท่านั้นที่จะต้องถูกนำมาให้ขยายกันเอง แต่ถ้าไม่มีเราก็จะต้องยืนยัน ไปตามพุทธพจน์นั้น อีกอย่างที่เราจะต้องระวังให้ดีก็คือ การสร้างข้อยกเว้นโดย ปราศจากหลักฐานในเรื่องเดียวกัน

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพุทธพจน์บอกว่า “การฆ่าสัตว์นั้นถือว่าเป็นบาป” แน่นอนการที่ใคร จะมาบอกว่า ถ้าฆ่าเพื่อนำมาเป็นอาหารก็ไม่ถือว่ามีบาปแต่อย่างใด ที่บาปนั้นเพราะฆ่า ด้วยสาเหตุอื่น แน่นอนการพูดยกเว้นเช่นนี้จะต้องมีพุทธพจน์มาบอกหรือขยายกันเอง หรือ ถ้าพุทธพจน์กล่าวว่า “การดื่มเหล้า หรือ สุรานั้นเป็นบาป” แน่นอนถ้าใครจะมาพูด ว่า ที่บาปนั้นในกรณีที่ดื่มแล้วเมา แต่ถ้าไม่เมาก็ไม่ถือว่ามีบาป การพูดเช่นนี้เป็นการ สร้างข้อยกเว้น ซึ่งตามหลักการวิเคราะห์คัมภีร์แล้ว ไม่ว่าจะคัมภีร์เล่มใดหรือศาสนา ไหน ก็จะต้องมีข้อความจากคัมภีร์ด้วยกันเองมาขยาย ไม่ใช่นำเอาความเห็นของมนุษย์ เข้าไปขยายกันเอง เพราะมิเช่นนั้นแล้ว ศาสนาที่บริสุทธิ์ หรือคำสอนที่บริสุทธิ์ เป้า หมายที่แท้จริงของคำพูดพระพุทธเจ้าจะไม่มีความหมายเลย เพราะจะถูกบิดเบือนไป ตามที่ตนเองต้องการ

เพราะฉะนั้นการสร้างข้อยกเว้นจะต้องใช้คัมภีร์ด้วยกันขยายกันเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
paderm
วันที่ 7 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 15 และจากข้อความบางตอนในความคิดเห็นที่ 13 ครับ

จากคำกล่าวที่ว่า

อีกอย่างคือ ถ้าเราจะวิเคราะห์คัมภีร์ให้ถูกต้องเราจะต้องเอาคัมภีร์อธิบายกันเองเพื่อ ให้ เกิดความชัดเจน เพราะถ้านำคัมภีร์ของคนอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากพระพุทธเจ้า โดย เฉพาะผู้ที่ไม่ได้เกิดอยู่ในสมัยเดียวกับพระพุทธเจ้าด้วยแล้ว ยิ่งไกลกับความเป็นจริง


ส่วนประเด็นเรื่องคัมภีร์ที่อธิบายนั้น ท่านเป็นพระอรรกถาจารย์ผู้ทรงความรู้ สามารถอธิบายให้เข้าใจเนื้อความที่ลึกของพระธรรมที่พระองค์แสดง การปฏิเสธ โดยไม่พิจารณาเหตุผลว่าถูกต้องหรือไม่ย่อมเป็นโทษ เพราะฉะนั้นควรศึกษาพระธรรม วินัยด้วยความเคารพและพิจาณาเหตุผลอย่างถูกต้อง ครับ หากปฏิเสธทันที ไม่ศึกษา ก่อนก็ไม่ได้ประโยชน์ครับ ธรรมจึงไม่ใชเรื่องคิดเอง วิเคราะห์เอง แต่อาศัยผู้รู้ที่เป็นกัลยาณมิตรผู้มีปัญญา มีพระอรรถกถาจารย์ เป็นต้นครับ ก็จะทำให้เราเข้าใจดีขึ้น การปฏิเสธโดยไม่ศึกษาก่อนย่อมไม่ควรเป็นอย่างยิ่งครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

อรรถกถา

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
truth
วันที่ 7 มิ.ย. 2554

การอ้างว่าเป็นผู้มีความรู้จะไม่มีความหมายแต่อย่างใดถ้า ผู้ที่รู้เองไม่ได้หยิบยกส่วนที่ เป็นพุทธพจน์มาขยายกันเองให้เกิดความชัดเจน แต่ได้ใช้ความเห็นของตนเอง โดย เฉพาะผู้ที่ไม่ได้เกิดอยู่ในสมัยเดียวกับพระพุทธเจ้าด้วยแล้ว ยิ่งไกลกับความเป็นจริง และอย่างที่ได้บอกไปชัดเจนแล้วว่า

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพุทธพจน์บอกว่า “การฆ่าสัตว์นั้นถือว่าเป็นบาป” แน่นอนการที่ใคร จะมาบอกว่า ถ้าฆ่าเพื่อนำมาเป็นอาหารก็ไม่ถือว่ามีบาปแต่อย่างใด ที่บาปนั้นเพราะฆ่า ด้วยสาเหตุอื่น แน่นอนการพูดยกเว้นเช่นนี้จะต้องมีพุทธพจน์มาบอกหรือขยายกันเอง หรือ ถ้าพุทธพจน์กล่าวว่า “การดื่มเหล้า หรือ สุรานั้นเป็นบาป” แน่นอนถ้าใครจะมาพูด ว่า ที่บาปนั้นในกรณีที่ดื่มแล้วเมาแต่ถ้าไม่เมาก็ไม่ถือว่ามีบาปการพูดเช่นนี้เป็นการสร้าง ข้อยกเว้น ซึ่งตามหลักการวิเคราะห์คัมภีร์แล้ว ไม่ว่าจะคัมภีร์เล่มใดหรือศาสนาไหน ก็จะ ต้องมีข้อความจากคัมภีร์ด้วยกันเองมาขยาย ไม่ใช่นำเอาความเห็นของมนุษย์เข้าไป ขยายกันเอง เพราะมิเช่นนั้นแล้ว ศาสนาที่บริสุทธิ์ หรือคำสอนที่บริสุทธิ์ เป้าหมายที่แท้ จริงของคำพูดพระพุทธเจ้าจะไม่มีความหมายเลย เพราะจะถูกบิดเบือนไปตามที่ตนเอง ต้องการเพราะฉะนั้นการสร้างข้อยกเว้นจะต้องใช้คัมภีร์ด้วยกันขยายกันเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
paderm
วันที่ 7 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 17

ซึ่งข้อความในอรรถกถาจารย์ท่านก็นำส่วนของพระไตรปิฎกมาขยายครับ ไม่ได้เอา ส่วนอื่นจากนอกพระไตรปิฎกมาขยาย แม้แต่คำว่า 500 ปีและ พันปี ท่านก็ขยายว่า หมายความถึงอะไร ซึ่งก็ได้ยกข้อความที่ท่านอธิบายให้ผู้อ่านแต่ละท่านว่าท่านมุ่งหมาย ถึงอะไรครับ ซึ่งข้อความที่ท่านขยายเป็ประโยชน์มาก ทำให้เราได้มีความเข้าใจถูกต้อง ว่าท่านมุ่งหมายอะไร แม้แต่เรื่องการฆ่าสัตว์ อรรถกถาท่านก็อธิบายไว้ถูกต้องเช่นกัน โดยนัยเรื่อง 500 ปีและ พันปีซึ่งก็ได้ยกข้อความที่ท่านอธิบายมาให้เข้าใจแล้วครับ อ่านอีกครั้งนะครับ จะแสดงว่าพระปริยัติจะดำรงอยู่ 5 พันปีและแสดงว่าพันปี และ 500 ปีท่านมุ่งหมายถึงอะไรครับ

ขออนุโมทนาครับ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ หน้าที่ 554

ข้อความบางตอนจาก อรรถกถาโคตมีสูตร ปฏิเวธสัทธรรมถูกดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี โดยอาการดังกล่าวมานี้ แม้พระปริยัติธรรมก็ดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปีนั้นเหมือนกัน. เพราะเมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมก็มีไม่ได้ แม้เมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมไม่มี ก็เมื่อปริยัติธรรมแม้อันตรธานไปแล้วเพศ (แห่งบรรพชิต) ก็จักแปรเป็นอย่างอื่นไปแล.


พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 499

... แต่เพราะเหตุที่ทรงบัญญัติครุธรรมเหล่านั้นไว้ก่อนพระสัทธรรมจักตั้งอยู่ได้อีกห้าร้อยปี ข้อนี้ ก็ฉันนั้นแล จึงรวมความว่าพระสัทธรรมจักตั้งอยู่ตลอดพันปีที่ตรัสทีแรกนั่นเอง ด้วยประการฉะนี้.

แต่คำว่า พันปี นั้น พระองค์ตรัสด้วยอำนาจพระขีณาสพผู้ถึงความแตกฉานในปฏิสัมภิทาเท่านั้น. แต่เมื่อจะตั้งอยู่ยิ่งกว่าพันปีนั้นบ้าง จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระขีณาสพสุกขวิปัสสกะ, จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระอนาคามี, จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระสกทาคามี, จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจพระโสดาบัน, รวมความว่า พระปฏิเวธสัทธรรมจักตั้งอยู่ตลอดห้าพันปี ด้วยประการฉะนี้. ฝ่ายพระปริยัติธรรม จักตั้งอยู่เช่นนั้นเหมือนกัน. เมื่อปริยัติไม่มี ปฏิเวธจะมีไม่ได้เลย เมื่อปริยัติมี ปฏิเวธจะไม่มี ก็ไม่ได้. แต่เมื่อปริยัติ แม้เสื่อมสูญไปแล้ว เพศจะเป็นไปตลอดกาลนานฉะนี้แล.


คำถามครับคำถามมีอยู่ว่าถ้าหากพระสัทธรรมที่แท้จริงไม่มีตั้งแต่ 500 ปีหลังพุทธกาลแล้ว ผู้ที่บรรลุหลัง 500 ปี หลังพุทธกาลมีบ้างไหมครับ?

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่ 8 มิ.ย. 2554

เรียน ท่านผู้ใช้นามว่า truth ด้วยความเคารพ

จากความคิดเห็นที่ 15 ข้อความตอนที่ว่า

พุทธจน์เท่านั้นที่สามารถใช้เป็น หลักฐานได้ เพราะฉะนั้นวิธีที่ถูกต้องที่สุดเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งข้อสรุปที่ถูกต้องและใกล้ เคียงกับความจริงมากที่สุดก็คือให้พุทธพจน์ขยายกันเอง เพราะคำอธิบายเป็นของมนุษย์ และไม่รู้ว่าเป็นคนยุคไหนได้อธิบายกันไว้โดยเฉพาะถ้าไม่ได้อยู่ร่วมสมัยกันกับพระพุทธเจ้าด้วยแล้ว ยิ่งห่างไกลความจริง เพราะฉะนั้น พุทธพจน์เท่านั้นที่จะต้องถูกนำมาให้ขยายกันเอง แต่ถ้าไม่มีเราก็จะต้องยืนยันไปตามพุทธพจน์นั้น

กระผมขอร่วมแสดงคิดเห็นดังนี้

1 ข้อความที่กระผมขีดเส้นใต้ เพราะคำอธิบายเป็นของมนุษย์ ฟังดูราวกับว่า คุณ เข้าใจว่าพระพุทธเจ้าไม่ใช่มนุษย์ ดังนั้นมนุษย์จะมาบังอาจอธิบายคำของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ ความจริงพระพุทธเจ้าก็เป็นมนุษย์ธรรมดาเหมือนเรานี่แหละครับ แต่เป็นมนุษย์ที่ ฝึกตัวเองมาแล้วเป็นอย่างดีจนหมดกิเลส และมนุษย์ธรรมดาอย่างเราๆ ก็สามารถฝึกตน เองให้หมดกิเลสได้เช่นเดียวกัน คำสอนของพระพุทธเจ้าจึงเป็นคำสอนของมนุษย์ โดยมนุษย์ แลเพื่อมนุษย์โดยตรงครับ

2 ถึงจะเป็นคำสอนของมนุษย์ก็จริง แต่เพราะระดับจิตใจ ระดับความความสามารถ ที่จะเข้าใจคำสอนนั้นของมนุษย์แต่ละคนก็ไม่เท่ากัน อย่าว่าแต่สมัยนี้ที่ไม่มีองค์พระ พุทธเจ้าอยู่แล้วเลย แม้ในสมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงประกาศคำสอนอยู่แท้ๆ คนที่ไม่ เข้าใจคำสอนของพระองค์ก็มีอยู่มากมาย แม้พระองค์จะตรัสคำสอนแล้วทรงอธิบายคำ สอนนั้นซ้ำอีกด้วยพระองค์เอง (= พุทธพจน์เท่านั้นที่จะต้องถูกนำมาขยายกันเอง) คน ที่ไม่เข้าใจก็ยังมีอยู่มากมายอยู่นั่นเอง ดังคำที่ว่า "คนที่ข้ามฝั่งได้มีน้อย คนส่วนใหญ่ ได้แต่วิ่งเลาะไปตามชายฝั่ง"

3 ถ้าคุณสามารถเข้าใจพุทธพจน์ได้ด้วยตัวคุณเอง กระผมก็ขออนุโมทนา คุณไม่ ต้องพึ่งคำอธิบายของคนที่คุณไม่รู้ว่าเป็นคนยุคไหน และไม่ได้อยู่ร่วมสมัยกับพระ พุทธองค์หรอกครับ แต่คนที่ยังมีกิเลสหนาปัญญาหยาบเขาอาจจะต้องพึ่ง เพราะฉะนั้น จึงเกิดมีระดับชั้นของคัมภีร์ที่ลดหลั่นกันไปตามห้วงเวลาที่ผ่านไป แต่ทุกคำอธิบายย่อม มุ่งไปที่พุทธพจน์ และอธิบายไว้ด้วยเจตนาที่จะให้เข้าใจพุทธพจน์ที่ถูกต้องทั้งนั้น และ มีเป้าหมายเพื่อเป็นเครื่องช่วยให้กระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งปวงทั้งนั้น ถ้าคุณไม่ต้องการคำอธิบายของมนุษย์ กระผมก็หวังว่าคุณจะโชคดีได้พบคำตอบ ต่างๆ ด้วยตัวของคุณเอง

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 8 มิ.ย. 2554

"...แต่ทุกคำอธิบาย ย่อมมุ่งไปที่พุทธพจน์ และอธิบายไว้ด้วยเจตนาที่จะให้เข้าใจพุทธพจน์ที่ถูกต้องทั้งนั้น และ มีเป้าหมายเพื่อเป็นเครื่องช่วยให้กระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งปวงทั้งนั้น..."

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
paderm
วันที่ 8 มิ.ย. 2554

ขออนุโมทนา นาวาเอกทองย้อยครับ ที่ร่วมแสดงความเห็นที่มีประโยชน์เพื่อความเข้าใจถูกในพระธรรมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
Sensory
วันที่ 9 มิ.ย. 2554

"ดูกร อานนท์ บุรุษกั้นทำนบแห่งสระใหญ่ไว้ก่อน เพื่อไม่ให้น้ำไหลไป แม้ฉันใด เราบัญญัติครุธรรม ๘ ประการแก่ภิกษุณี เพื่อไม่ให้ภิกษุณีละเมิดตลอดชีวิต ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ"

เรียนท่านผู้ัตั้งกระทู้คะ ดิฉันอ่านข้อความนี้ก็เข้าใจได้ทันทีว่า เพราะพระพุทธองค์ทรง ตั้งครุธรรม8ประการกั้นไว้ พระสัทธรรมจึงอยู่รอดมาจนถึงทุกวันนี้ไงคะ ส่วนภิกษุณีก็เสื่อมไป ปัจจุบันไม่มีพระภิกษุณีแล้ว เหลือแต่แม่ชี ซึ่งแม่ชีไม่ถือว่าเป็น บรรพชิตค่ะ เพราะถือว่าเป็นอุบาสิกา

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
พรรณี
วันที่ 9 มิ.ย. 2554

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ

พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยการสั่งสมพระปัญญาและพระบารมีถึงสี่อสง ขัยกับอีกแสนกัลป์ และขณะนี้เรามีพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ดังปรากฎในพระไตร ปิฏก สืบทอดมาถึงสองพันห้าร้อยกว่าปี ก็ควรที่จะหมั่นศึกษาอบรมเจริญปัญญาตามคำ สอนของพระพุทธองค์ให้เกิดความเข้าใจ ถ้าเกิดความลังเลสงสัยก็จะไม่ไปถึงไหนเพราะมี สิ่งคอยปิดกั้นเสียแล้ว

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่ 9 มิ.ย. 2554

เรียน ท่านเจ้าของกระทู้ ด้วยความเคาพ

ระหว่างที่อ่านความคิดเห็นของญาติธรรมในกระทู้นี้ กระผมพบคำอะไรที่น่าสนใจ มากอยู่คำหนึ่ง แต่ในตอนที่เขียนแสดงความคิดเห็นออกไป ลืมนึกถึงคำนั้น จึงเหมือน กับมีอะไรที่ยังพูดไม่หมด ตอนนี้นึกออกแล้ว คือข้อความที่ว่า "แต่คำสอนที่บริสุทธิ์มีได้แค่ 500 ปีเท่านั้น"

คำว่า "คำสอนที่บริสุทธิ์" นี่แหละที่กระผมเห็นว่าน่าสนใจมาก คำนี้เป็นคำที่ท่าน ผู้ตั้งกระทู้ใช้ขึ้นมาเอง (ท่านอาจจะอ้างอิงมาจากท่านผู้อื่นอีกต่อหนึ่งก็ได้) ประเด็นก็คือ คำสอนที่บริสุทธิ์ หมายถึงอะไร? มีขอบข่ายแค่ไหน?

เรื่องราวตอนนี้ ในพระไตรปิฎก (โคตมีสูตร) ใช้คำว่า ปญฺเจวทานิ อานนฺท วสฺสส ตานิ สทฺธมฺโม ฐสฺสติ แปลว่า ดูก่อนอานนท์ บัดนี้ พระสัทธรรม จักดำรงอยู่ 500 ปีเท่านั้น (พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี เล่ม ๒๓ ข้อ ๑๔๑ หน้า ๒๘๖) "คำอธิบาย" (ตามคำที่ท่านผู้ตั้งกระทู้ใช้) บอกว่า สิ่งที่ "จักดำรงอยู่" ตามระยะ เวลาที่ระบุ (500 ปี/1,000ปี) หมายถึงผู้บรรลุมรรคผลในระดับต่างๆ ท่านผู้ตั้งกระทู้บอกว่า หมายถึง คำสอนที่บริสุทธิ์

พระพุทธพจน์ตามพระไตรปิฎก บอกว่า สทฺธมฺโม - พระสัทธรรม กระผมเชื่อว่า ท่านผู้ตั้งกระทู้คงพอใจที่จะให้ยึดตามพระพุทธพจน์ ถ้ายึดตามพระ พุทธพจน์ ก็ต้องไปหาความหมายของคำว่า สทฺธมฺโม-พระสัทธรรม ความหมายที่ยอมรับกันทั่วไป พระสัทธรรม หมายถึง พระปริยัติสัทธรรม พระปฏิ ปัติสัทธรรม และพระปฏิเวธสัทธรรม (ขอความเห็นใจจากท่านผู้ตั้งกระทู้ กรุณาอย่าเพิ่ง เรียกหาหลักฐานว่า ความหมายเช่นนี้มาจากพระพุทธพจน์ด้วยกันหรือเปล่า เพราะเดี๋ยวเราจะ ไม่ไปถึงไหน ตามคำของความคิดเห็นของคุณ พรรณี ข้างบน) ปริยัติสัทธรรม ก็หมายถึงหลักคำสอนทั้งปวงของพระพุทธองค์อันจะพึงศึกษา เรียนรู้ให้เข้าใจ เพื่อเป็นพื้นฐานแห่งปฏิปัติสัทธรรมต่อไป ยกตัวอย่างเช่น หลักอริยสัจ สี่ที่ปรากฏอยู่ในปฐมเทศนา

ถ้าสรุปว่า อริยสัจสี่เป็นหลักคำสอนที่บริสุทธิ์ ท่านเจ้าของกระทู้คงจะพอใจ และ ยอมรับได้ ใช่ไหมครับ

ก็อันว่าอริยสัจสี่นั้น พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้เมื่อประมาณ 2,600 ปีมาแล้ว ถ้าใช้เกณฑ์ที่ท่านเจ้าของกระทู้ยืนยัน คือ "คำสอนบริสุทธิ์มีได้แค่ 500 ปีเท่านั้น" บัดนี้ล่วงมา 2,600 ปีแล้ว คำสอนเรื่องอริยสัจสี่ก็ต้องอันตรธานไปหมดแล้ว ถ้ายึดตามเกณฑ์ที่ท่านผู้ตั้งกระทู้เชื่อ ก็แปลว่าคำสอนเรื่องอริยสัจสี่ที่ปรากฏให้ เราได้ศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติตามอยู่ทุกวันนี้ ย่อมจะไม่ใช่คำสอนที่บริสุทธิ์ เพราะคำ สอนที่บริสุทธิ์ได้อันตรธานไปหมดเมื่อประมาณ 2,000 ปีที่ล่วงมาแล้ว

ขอชวนคิดเพียงแค่นี้แหละครับ แค่นี้ก็จะเห็นได้ว่า จะเกิดความสับสนยุ่งเหยิงขึ้น ในแนวคิดหลักคำสอนว่าขัดแย้งกันอุตลุดไปหมด เผลอๆ อาจจะมีผู้เสนอให้ตีความโค ตมีสูตรว่าไม่ใช่พระพุทธพจน์ ทีนี้สนุกละขอรับท่าน นี่แค่พระสูตรเดียว ข้อความตอน เดียว และจากคำคำเดียวเท่านั้น ถ้าต้องตีความกันทั้งพระไตรปิฎกจะทำอย่างไรกัน ก็ เป็นอันว่าไม่ต้องไปไหนกันละทีนี้

ทั้งหลายทั้งปวงนี้ไม่ได้แปลว่า สงสัยไม่ได้ หรือห้ามสงสัย สงสัยแล้วจะเป็นบาป จะตกนรก ต้องเชื่อตามคัมภีร์ทุกตัวอักษร ต้องเชื่อคัมภีร์ทุกระดับชั้นโดยไม่มีข้อแม้ฯลฯ แต่แปลว่า การศึกษาปฏิบัติพระพุทธศาสนานั้นต้องตั้งเจตนาให้ถูก และต้องมี กุศลจิตเป็นพื้นฐานครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
oj.simon
วันที่ 9 มิ.ย. 2554

พบว่ากระทู้นี้มีความเห็นที่แตกต่างกันใน พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 541

โดยผมขอตั้งประเด็นขึ้นใหม่ว่าตามพระ สูตรนี้ครุธรรม 8 ประการเกื้อกูลต่อสิ่งใดเป็นที่สุด

ผมมีความรู้น้อย หากไม่รังเกียจผมขอสนทนาด้วยคนนะครับ คือผม เห็นว่าเราต้องกลับไปพิจารณาว่าในพระสูตรนี้พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธพระนางมหา ปชาบดีโคตมีไม่ให้บวช โดยมีพุทธประสงค์เป็นเอกปริยายเพื่อมุ่งประโยชน์โดยตรงต่อ สิ่งใดเป็นสำคัญ (ที่สุด) คำตอบคือทรงมีพุทธประสงค์ที่จะให้พระศาสนาของพระองค์มี อายุสืบต่อยาวนานที่สุด จึงปฏิเสธมิให้มาตุคามบวช ข้อใหญ่ใจความของพระสูตรอยู่ ตรงนี้ครับ ผมจึงเห็นว่าเมื่อเบื้องต้นท่านทรงเล็งเห็นแก่ประโยชน์แห่งการสืบต่อ อายุพระศาสนาแล้ว ต่อมาในเบื้องปลายปรากฏว่ามีการกำหนดครุธรรม 8 ประการไว้นี้ จึงต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการสืบต่ออายุพระศาสนาเท่านั้น จะเป็นการกลั่นแกล้ง สตรีหรือเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างอื่นคงไม่ได้ครับ ดังนั้น เม่ือพระนางมหาปชาบดีโค ตมียอมรับครุธรรม 8 ประการแล้ว พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้มาตุคามบวช ทั้งนี้ เนื้อ ความในพระสูตรมีพุทธพจน์ขยายกันเองสมบูรณ์อยู่ในตัวแล้ว ดังนี้ (ปุถุชนไม่ต้องไป อธิบายอะไรอีก)

1. เหตุที่ทำให้ธรรมวินัยนั้นจักไม่ตั้งอยู่นาน คือ ดูก่อนอานนท์ตระกูลใดตระกูลหนึ่งที่มีหญิงมาก ชายน้อยตระกูลนั้นถูกพวกโจรกำจัดได้ง่าย แม้ฉันใดมาตุคามได้ออกบวชเป็นบรรพชิตใน ธรรมวินัยใด พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนั้นจักไม่ตั้งอยู่นาน ฉันนั้นเหมือนกัน

2. อุปมาสิ่งที่ทำให้พรหมจรรย์นั้นจักไม่ตั้งอยู่นาน คือ อนึ่ง ขยอกลงในนาข้าวที่สมบูรณ์นาข้าวนั้นก็ย่อมไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด... เพลี้ยลงในไร่อ้อยนั้นก็ย่อมไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใดมาตุคามได้ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยใด พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนั้น ย่อมไม่ตั้งอยู่นาน

3. สิ่งที่เป็นหนทางแก้ไขในเรื่องพรหมจรรย์จักไม่ตั้งอยู่นานนั้นมีอุปมา กล่าวคือ อนึ่ง บุรุษกั้นคันสระใหญ่ไว้ก่อนเพื่อไม่ให้น้ำไหลออก ฉันใดเราบัญญัติครุธรรม 8 ประการไม่ให้ภิกษุณีก้าวล่วงตลอดชีวิตเสียก่อน ฉันนั้นเหมือนกัน. เมื่อบริบทในพระสูตรเริ่มต้นจากการที่พระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นว่าพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนั้นจักไม่ตั้งอยู่นาน ดังนั้น คำว่า “ น้ำไหลออก ” ในที่นี้จะนำไปอุปมากับสิ่งอื่นคงไม่ได้นอกจาก พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนั้นจักไม่ตั้งอยู่นาน การกั้นคันสระใหญ่ไว้ก่อนจึงเป็นการอุปมาให้เห็นว่าครุธรรม 8 ประการ สามารถยังให้พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนั้นจักตั้งอยู่นานได้ต่อไปครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 28  
 
oj.simon
วันที่ 9 มิ.ย. 2554

เรียนทุกท่านที่เคารพ

ความเห็นที่ 27 ข้างต้นนี้เป็นความพยายามของผมที่จะสื่อกับความเห็นที่ 7 ของคณุ truth ตรงข้อความว่า " ครุธรรม ๘ ประการแก่ภิกษุณี นั้นไม่เกี่ยวอะไรกันกับ ความบริสุทธิ์หรือความไม่บริสุทธิ์ของพุทธศาสนาน่ะครับ แต่ส่วนที่เกี่ยวข้องกันโดย ตรงคือ เรื่องสตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย ตรงนี้ต่างหากที่เกี่ยวกัน โดยตรงที่จะทำให้พระสัทธรรมอยู่ได้เพียง 500 ปี " ซึ่งโดยความเห็นที่ 27 ผมพยายาม ชี้ให้เห็นว่าครุธรรม ๘ ประการเกี่ยวข้องโดยตรงกับความบริสุทธิ์หรือความไม่บริสุทธิ์ ของพุทธศาสนา กล่าวคือครุธรรม ๘ ประการมีอุปการะให้พระธรรมวินัยตั้งอยู่นานได้ ตามเดิมแล้ว โดยพระพุทธองค์ทรงอุปมาครุธรรมนี้เป็นดั่งคั้นกันสระใหญ่ไว้ไม่ให้น้ำ ไหลออกได้แล้ว โดยทางอุปมาน้ำก็คือ พรหมจรรย์ในธรรมวินัยที่สามารถตั้งอยู่นาน ได้ตามเดิมแล้วครับ

สำหรับข้อที่ว่าสัทธรรมอยู่ได้นานเพียงใด ในข้อนี้ผมเห็นว่าหากพระพุทธองค์ อนุญาตให้มาตุคามบวชโดยไม่มีการกำหนดครุธรรมดังกล่าวไว้ จะมีผลให้พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้เพียง 500 ปีเท่านั้น แต่ในเม่ือครุธรรม 8 ประการมีอุปการะให้พรหมจรรย์ใน ธรรมวินัยตั้งอยู่นานได้ตามเดิมแล้ว ผมก็เข้าใจเอาเองว่าพระสัทธรรมจะตั้งอยู่นาน ตั้งแต่ 1,000 ปีขึ้นไป ซึ่งแตกต่างไปจาก จำนวน 500 ปีมาก กล่าวคือ จำนวน 500 ปี เป็นการกำหนดขั้นสูงไว้ (maximum) ไม่ให้เกินจำนวนดังกล่าว ส่วนจำนวน 1,000 ปี เป็นการกำหนดขั้นต่ำ (minimum) ไว้ว่าตั้งแต่ 1,000 ปีขึ้นไปแต่ไม่ให้เกินเลขสี่หลัก คือหลักพัน โดยเริ่มตั้งแต่ 1,000 ปีถึง 9,999 ปี ทั้งนี้จะกี่ปีก็ขึ้นอยู่กับว่าท่านจะนำหลัก ฐานใดมาเป็นเกณฑ์ตัดสิน หากท่านถือหลักฐานตามอรรถกถาจารย์ พระสัทธรรมก็จะ ตั้งอยู่นาน 5,000 ปี หากท่านถือหลักฐานตามพุทธวัจนะที่ว่า " ตราบใดที่โลกนี้ยัง ปรากฏอริยมรรคมีองค์แปด และมีผู้ปฏิบัติตามอยู่ ตราบนั้นโลกก็จะไม่ว่างจากพระ อรหันต์ " พระสัทธรรมของพระพุทธเจ้าสมัยสมเด็จพระโคดมก็จะตั้งนานอยู่ตราบนั้น แต่ maximum ไม่ถึง 10,000 ปี

เพื่อความเข้าใจ (ผิดหรือถูกก็ไม่ทราบครับ) ผมขอเปรียบเทียบกำหนดยืนยาวของพระสัทธรรมในสมัยพระศรีอริยะเมตไตรยดังนี้ครับ คือ เมื่อพิจารณาแล้วพบว่ามนุษย์ในสมัยท่านมีอายุขัย 80,000 ปี ดังนั้นพระสัทธรรมของ ท่านก็มีจำนวนข้ันต่ำเป็นหมื่นปี แต่จำนวนสูงสุดจะถึงแสนปีหรือไม่ ผมไม่ทราบครับ ความเห็นเช่นนี้จะผิดหรือถูกหรือไม่ อย่างไร ก็ขอทุกท่านได้โปรดพิจารณา หากเป็น ความเห็นผิดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 29  
 
โชติธัมโม
วันที่ 9 มิ.ย. 2554

"ธรรม" อันละเอียด สุขุม ลุ่มลึก ที่เรียกว่า "พระอภิธรรม" นี้ ผู้ที่ (ทรงตรัสรู้) และทรง แสดงได้ ต้องเป็น "พระสัพพัญญูพุทธเจ้า" เท่านั้น.

และขออนุญาตนำคำที่ท่านเผดิมได้เคยตอบไว้ครับ ก่อนที่จะ ปฏิเสธหรือยอมรับในสิ่งใด ต้องศึกษาให้เข้าใจในสิ่งนั้นอย่างละเอียด รอบคอบ พระ อภิธรรมจะเป็นพระพุทธพจน์หรือไม่ สำคัญคือศึกษาให้เข้าใจในพระ- อภิธรรมอย่าง ละเอียดรอบคอบด้วยปัญญา หากเราเข้าใจความจริงที่ถูกต้องว่า สิ่งใด มีจริง สามารถ พิสูจน์ได้ สิ่งนั้นเป็นสัจจะ พระอภิธรรมแสดงถึงความจริงที่มีในขณะนี้ เห็นมีจริง ได้ยิน มีจริง เสียงมีจริง เป็นอภิธรรม เพราะเป็นธรรมที่ละเอียดยิ่งโดยสภาวะ และไม่เปลี่ยน ลักษณะ เพราะฉะนั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงสัจจะ ความจริง แม้พระอภิธรรมก็เป็น ความจริงที่มีในขณะนี้ แสดงถึงความไม่ใช่สัตว์ บุคคลเพราะเป็นอภิธรรม เป็นธรรม แสดงถึงความเป็นอนัตตาคือว่างจากสัตว์ บุคคลตัวตนนั่นเอง พระอภิธรรม จึงสอด คล้องกับพระสูตรและพระวินัยอันเป็นพระธรรมของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 ปิฎกครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 30  
 
โชติธัมโม
วันที่ 9 มิ.ย. 2554

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

ผู้คัดค้านพระอภิธรรมชื่อว่า ทำลายชินจักร บุคคลเมื่อคัดค้านพระ อภิธรรม ชื่อว่า ย่อมให้การประหารในชินจักรนี้ ย่อม คัดค้านพระสัพพัญญุตญาณ ย่อมหมิ่นเวสารัชชญาณของพระศาสดา ย่อมขัดแย้งบริษัทผู้ ต้องการฟัง ย่อมผูกเครื่องกั้นอริยมรรค จักปรากฏในเภทกรวัตถุ ๑๘ อย่าง อย่างใดอย่าง หนึ่ง เป็นผู้ควร แก่อุเขปนิยกรรม นิยสกรรม ตัชชนียกรรม เพราะทำกรรมนั้น จึงควร ส่งเธอ ไปว่า เจ้าจงไป จงเป็นคนกินเดนเลี้ยงชีพเถิด ดังนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 31  
 
โชติธัมโม
วันที่ 9 มิ.ย. 2554

เชิญคลิกอ่านที่นี่ พระพุทธพจน์ [มหาวิภังค์]

ขอน้อมจิตอนุโมทนาในกุศลจิตที่ท่านเผดิม ได้เพียรกรุณาเผยแพร่ธรรมที่ถูกต้อง ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยไม่คิดที่จะตอบเพื่อเอาชนะ แต่ตอบ เพื่อให้ผู้ถามมีความเห็นที่ถูก มีความเข้าใจที่ถูก สมกับเป็นการแสดงความรู้แบบ บัณฑิต หาใช่ถาม-ตอบ เพื่อเอาชนะไม่

ขอนอบน้อมในบุญกุศลด้วยเศียรเกล้าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 32  
 
oj.simon
วันที่ 9 มิ.ย. 2554

เรียน ความเห็นที่ 30 และผู้รู้ทุกท่านครับ

ผมมีความรู้น้อยครับ โปรดกรุณาแปลประโยคนี้ให้ด้วยครับ " จักปรากฏในเภทกร วัตถุ ๑๘ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้ควรแก่อุเขปนิยกรรม นิยสกรรม ตัชชนียกรรม "

อนึ่ง เนื่องด้วยความเห็นที่ 29 ที่ 30 ได้ลงไว้ก่อนหน้าที่ผมจะส่งความเห็นที่ 28 ไป ลงในกระทู้ ดังนั้น ขอท่านเจ้าของความเห็นที่ 29 ที่ 30 และท่านผู้รู้อื่นๆ โปรดช่วยให้ ความกระจ่างตรงประเด็นแก่ผมด้วยครับว่าความเห็นที่ 27 ที่ 28 ผิดถูกอย่างไรครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 33  
 
paderm
วันที่ 9 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 32 ครับ

จากคามเห็นที่ 30 ที่แสดงเรื่องผู้ที่คัดค้านพระอภิธรรม ก็ย่อมปรากฎใน เภทกรวัตถุ 18 ประการ คือ เรื่องที่ทำให้สงฆ์แตกกัน ทะเลาะวิวาทกัน ซึ่งเป็นเหตุประการหนึ่งใน การทำสังฆเภท (การทำสงฆ์ให้แตกแยก) ซึ่งการคัดค้านในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรง แสดงไว้ ก็ย่อมทำให้เกิดความแตกแยกในสงฆ์สำหรับผู้พูดครับ และควรแก่การทำ อุเขปนิยกรรม นิยสกรรม ตัชชนียกรรม อันเป็นการลงโทษกับภิกษุนั้นที่ทำอย่างนั้น

คือคัดค้านพระอภิธรรม อันเป็นเภทกรวัตถุ เรื่องที่ทำให้สงฆ์แตกแยก ทะเลาะครับ ซึ่งเภทกรวัตถุ 18 ประการดังนี้ ๑. สิ่งไม่ใช่ธรรม กล่าวว่า เป็นธรรม ๒. สิ่งที่เป็นธรรม กล่าวว่า ไม่ใช่ธรรม ๓. สิ่งที่ไม่ใช่วินัย กล่าวว่า เป็นวินัย

๔. วินัย กล่าวว่า ไม่ใช่วินัย

๕. สิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ กล่าวว่า ไม่ได้ตรัสไว้

๖. สิ่งที่ตรัสไว้ กล่าวว่า ไม่ได้ตรัสไว้

๗. สิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเคยทำมา กล่าวว่า ไม่เคยทำมา

๘. สิ่งที่เคยทำมา กล่าวว่า ไม่เคยทำมา

๙. สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ กล่าวว่า ไม่ได้ทรงบัญญัติไว้

๑๐. สิกขาบทที่ไม่ทรงบัญญัติไว้ กล่าวว่า บัญญัติไว้

๑๑. วัตถุเป็นอาบัติ กล่าวว่า ไม่เป็นอาบัติ

๑๒. วัตถุไม่เป็นอาบัติ กล่าวว่า เป็นอาบัติ

๑๓. อาบัติเบา กล่าวว่า เป็นอาบัติหนัก

๑๔. อาบัติหนัก กล่าวว่า เป็นอาบัติเบา

๑๕. อาบัติที่แก้ไขได้ กล่าวว่า แก้ไขไม่ได้

๑๖. อาบัติที่แก้ไขไม่ได้ กล่าวว่า แก้ไขได้

๑๗. อาบัติหยาบช้า กล่าวว่า เป็นอาบัติไม่หยาบช้า

๑๘. อาบัติไม่หยาบช้า กล่าวว่า เป็นอาบัติหยาบช้า

 
  ความคิดเห็นที่ 35  
 
oj.simon
วันที่ 9 มิ.ย. 2554

เรียน ท่านเจ้าของความเห็นที่ 30 และผู้รู้ทุกท่านครับ

เนื่องด้วยความเห็นที่ 29 ที่ 30 ได้ลงไว้ก่อนหน้าที่ผมจะนำความเห็นที่ 28 ไปลง ไว้ในกระทู้นี้ ดังนั้น ขอท่านเจ้าของความเห็นที่ 30 และท่านผู้รู้ทุกท่านได้โปรด ตอบกระทู้ให้ถูกต้องตรงประเด็นให้สมกับที่เป็นบัณฑิตด้วยว่าความเห็นที่ 27 ที่ 28 ผิดถูกอย่างไรครับ

ผมรับทราบความเห็นของท่านอาจารย์เผดิม ตามความเห็นที่ 33 แล้วครับ ขอ อนุโมทนาในกุศลจิตของท่านอาจรย์เป็นอย่างสูงครับ กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตามแต่ผมก็ ยังคงต้องการทราบว่าความเห็นที่ 27 ที่ 28 ของผมผิดถูกอย่างไรครับ ทั้งนี้ ผมจักได้ นำคำตอบไปใช้ตั้งจิตหรือความเห็นให้ตรงต่อไปครับ

ขอนุโมทนาในกุศลจิตของทุก ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 36  
 
paderm
วันที่ 9 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 35 ครับ

จากความเห็นที่ 27 และ 28 ที่ได้อ่านนั้น

ในความเห็นที่ 27 ผู้เขียนมีความเข้าใจถูกต้องครับ ในเรื่องของครุธรรม ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการที่จะทำ ให้พระศาสนา มีอายุนานขึ้นครับ เปรียบเหมือนการกั้นขอบสระ ครุธรรมก็เช่นกัน ดังนั้น ท่านเข้าใจถูกแล้วครับ ขออนุโมทนาครับ

ส่วนความเห็นที่ 28 นั้น พระศาสนาจะดำรงอยู่พันปี คำว่าพันปีท่านมุ่งหมายถึงพระ อรหันต์ทีไ่ด้ปฏิสัมภิทา พอพันปีที่สองก็จะเหลือแต่พระอรหันต์ที่ไมไ่ด้ฤทธิ์อะไรครับ ไล่ไปเรื่อยจนถึงพันปีสุดท้ายคือพันปีที่ห้า ครบห้าพันปี ก็อันตรธานการบรรลุธรรม ไม่มีการบรรลุธรรมแล้วครับ ดังคำอธิบายของอรรถกถาให้เข้าใจเพิ่มเติมในความเห็นที่ 10 ครับ จะแสดงว่าปฏิเวธสัทธรรม คือการบรรลุธรรมดำรงได้เพียงห้าพันปีครับ ขออนุโมทนาที่สนทนาเพื่อความเข้าใจถูกในพระธรรมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 37  
 
oj.simon
วันที่ 9 มิ.ย. 2554

เรียน อาจารย์เผดิมที่เคารพ

ฤาความเห็นที่ 30 ท่านจะแสดงโดยนัยให้เห็นว่าความเห็นที่ 27 ที่ 28 ของผมเป็น คำคัดค้านพระอภิธรรมครับ แต่ผมแน่ใจครับว่าความเห็นของผมดังกล่าวมิใช่คำคัด ค้านพระอภิธรรมแต่อย่างใด เพราะผมมีเจตนาบริสุทธิที่เพียงแต่พยายามจะทำความ เข้าใจในพระธรรมให้ถูกต้องเท่านั้นครับ นอกจากนี้ผมเป็นฆารวาสขาดองค์ประกอบไม่ สามารถทำให้สงฆ์แตกกันได้ครับ ผู้ที่จะทำสงฆ์ให้แตกกันได้มีแต่สงฆ์ด้วยกันเท่านั้น ครับ

ขณะที่ผมเขียนความเห็นนี้อยู่ได้ทราบคำตอบจากอาจารย์เผดิมตามความเห็นที่ 36 แล้วครับ

ขอขอบพระคุณในความมีเมตตาและขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่าน อาจารย์เผดิมด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 38  
 
paderm
วันที่ 9 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 37 ครับ

ความเห็นที่ 30 ไม่ได้มุ่งหมายถึงความเห็นที่ 27 และ 28 ครับ ท่านมุ่งหมายถึง บุคคลที่ ปฏิเสธพระอภิธรรม ซึ่งปัจจุบันก็มักอ้างว่าพระอภิธรรมเป็นคัมภีร์รุ่นหลังประมาณนั้นครับ ไม่เกี่ยวกับความคิดเห็นที่ 27 และ 28 เลยครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 39  
 
oj.simon
วันที่ 9 มิ.ย. 2554
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 40  
 
โชติธัมโม
วันที่ 10 มิ.ย. 2554

ท่านเผดิมกล่าวถูกต้องแล้วครับ ขอน้อมจิตอนุโมทนาในบุญกุศลที่ท่านได้สะสมมาด้วยเศียรเกล้าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 41  
 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่ 10 มิ.ย. 2554

กระผมอยากจะสนับสนุนความเห็นที่ 27 และ 28 แต่ก็อยากจะให้เราย้อนไปดูความเห็นที่ 13 และ 15 ซึ่งเป็นกระทู้ต้นประเด็นด้วย

ตามนัยแห่งความเห็นที่ 13 และ 15 นั้น ท่านเจ้าของความเห็นต้องการจะบอกว่า ในเมื่อพระพุทธพจน์ระบุว่าพรหมจรรย์หรือพระสัทธรรมจะดำรงอยู่ได้เพียง 500 ปี (อันมีสาเหตุมาจากสตรีเข้ามาบวชในพระศาสนา) แม้จะมีพระพุทธพจน์เป็นคำอุปมาในตอนท้ายพระสูตรนี้ (โคตมีสูตร) เกี่ยวกับการที่สตรีเข้ามาบวชและเกี่ยวกับการที่ทรงบัญญัติครุธรรม แต่ก็ไม่มีพระพุทธพจน์ระบุชัดๆ ว่าพระสัทธรรมจะกลับดำรงอยู่ได้ 1,000 ปีเหมือนเดิม

เมื่อท่านผู้รู้ยกคำอธิบายในคัมภีร์ชั้นอรรถกถามาชี้แจง ท่านผู้ตั้งกระทู้ก็แย้งว่า คำระบุเช่นนั้นเป็นเพียง "คำอธิบายของมนุษย์" (ตามที่ผู้ตั้งกระทู้เรียก) เป็นเหตุให้ผู้ตั้งกระทู้เทียบเคียงไปถึงเรื่องข้อยกเว้นในคำสอน เช่นฆ่าสัตว์เป็นบาป แต่คำอธิบายของมนุษย์บอกว่าถ้าฆ่าเป็นอาหารไม่บาป (ดูความเห็นที่ 15) ซึ่งก็แปลว่า ท่านผู้ตั้งกระทู้ยังคงยืนยันว่า ตามพุทธพจน์แล้วพระสัทธรรมจะต้องดำรงอยู่ได้เพียง 500 ปี

กระผมอ่านความเห็นทั้งหมดจนถึงขณะนี้ รู้สึกว่าเราจะยังไม่ได้ตอบปัญหาคาใจของท่านผู้ตั้งกระทู้ในประเด็นนี้ให้ขาวกระจ่าง เฉพาะความเห็นที่ 27 ตอนท้ายนั้นเหมือนกับจะตอบแล้ว แต่กระผมเชื่อว่าท่านผู้ตั้งกระทู้จะยังไม่พอใจแน่นอน

กระผมจะขออนุญาตเสริมความเห็นที่ 27 ด้วยเจตนาที่จะช่วยญาติธรรมของเราให้เข้าใจเงื่อนแง่ของพระธรรมเท่าที่สติปัญญาจะพึงมี ดังนี้ครับ

คำอุปมาที่สำคัญมากก็คืออุปมาการบัญญัติครุธรรมว่าเหมือนทำทำนบ (เหมือง/ฝาย) กั้นน้ำ กระผมเชื่อว่าในเวลาที่ตรัสคำอุปมานี้คนทั้งหลายในเวลานั้นย่อมจะเข้าใจผลที่ประสงค์ของกระทำเช่นนั้นอย่างชัดแจ้งอยู่แล้วว่าทำทำนบกั้นน้ำทำไม จึงไม่ต้องพูดถึง คือละไว้ฐานเข้าใจ เหมือนระบบการสื่อสารสมัยโบราณใช้ม้าเร็วเพื่อให้ข่าวสารจากต้นทางไปถึงปลายทางอย่างรวดเร็ว แต่สมัยนี้เราพูดกันว่า "ส่งอีเมล์ไปเลย" แค่นี้โดยไม่มีใครที่เข้าใจระบบดีแล้วจะต้องมาบอกอีกว่าส่งอีเมล์ดีอย่างไร ฉันใดก็ฉันนั้น

แต่ถ้าจะให้ชี้ชัด ก็ต้องบอกว่า การได้ผลผลิตทางการเกษตรเต็มเม็ดเต็มหน่วย นั่นคือผลที่ประสงค์ของการทำทำนบกั้นน้ำ

ถ้าไม่ทำทำนบ ผลผลิตทางการเกษตรอาจลดลง 50% แต่เมื่อทำทำนบ ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 100% เหมือนเดิม ฉันใด ถ้าไม่ทรงบัญญัติครุธรรม พระสัทธรรมจะดำรงอยู่ได้เพียง 500 ปี (จากเดิม 1,000 ปี) แต่เมื่อทรงบัญญัติครุธรรม พระสัทธรรมก็จะกลับดำรงอยู่ได้ 1,000 ปีเหมือนเดิม ฉันนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 42  
 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่ 10 มิ.ย. 2554

ความเห็นที่ 41 ของกระผม ก็คงไม่พ้นที่จะถูกแย้งว่า "ก็ยังเป็นคำอธิบายของมนุษย์อยู่นั่นเอง ซ้ำยังเป็นการตีความ ซึ่งคนอื่นๆ อาจจะไม่ได้ตีความแบบนี้ก็ได้"

ภาษาในพระไตรปิฎกนั้นไม่ใช่ภาษามารดาของเราประการหนึ่ง และไม่ใช่ภาษาที่ยังใช้สื่อสารกันอยู่ในชีวิตประจำวันอีกประการหนึ่ง เพราะฉะนั้น จะเกณฑ์ให้ทุกถ้อยคำสำนวนต้องแจ่มแจ้ง อ่านแล้วต้องเข้าใจทะลุปรุโปร่งเหมือนภาษามารดาของเราคงจะยาก ก็เพราะเหตุนี้แหละจึงเกิดมีคัมภีร์ระดับอรรถกถา ฎีกา ฯลฯ หลดหลั่นกันมา เพื่ออธิบายคำที่ยังไม่แจ่มแจ้ง สำหรับคนรุ่นหลัง

น่าสังเกตว่า ท่านเจ้าของกระทู้ท่านมีทัศนะที่ไม่ยอมรับคัมภีร์ตั้งแต่ชั้นอรรถกถาลงมา ดังที่ท่านกล่าวว่า เพราะคำอธิบายเป็นของมนุษย์และไม่รู้ว่าเป็นคนยุคไหนได้อธิบายกันไว้โดยเฉพาะถ้าไม่ได้อยู่ร่วมสมัยกันกับพระพุทธเจ้าด้วยแล้ว ยิ่งห่างไกลความจริง (จากความคิดเห็นที่ 15) แต่ในขณะเดียวกันวิธีแสวงหาความรู้ของท่านก็ดูเหมือนจะสวนทางกับทัศนะของตัวท่านเองอย่างน่าสังเกต

ผู้รจนาคัมภีร์ชั้นอรรถถานั้นท่านอยู่ห่างยุคสมัยของพระพุทธองค์ราว 1,000 ปี ท่านผู้ตั้งกระทู้ยังไม่เชื่อถือเลย พวกเราชาวบ้านธรรมะอยู่ห่างออกมาอีก 1,500 ปี รวมแล้วห่างออกมาตั้ง 2,500 ปี จะมีอะไรเหลือไว้ให้ท่านเชื่อถือ?

ทางที่ถูกท่านน่าจะย้อนยุคขึ้นไปหาพระไตรปิฎก โดยการศึกษาถ้อยคำภาษาในพระไตรปิฎกให้แตกฉาน ท่านก็จะได้พบคำตอบที่ต้องการโดยไม่ต้องพึ่งคำอธิบายของมนุษย์ แต่พระไตรปิฎกเถรวาทเป็นภาษาบาลี และท่านผู้ตั้งกระทู้ก็คงจะไม่ได้รู้ภาษาบาลีแตกฉานมาตั้งแตแรกเกิด เพราะฉะนั้นท่านก็จำจะต้องเรียนหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีก่อน แต่หลักไวยากรณ์บาลีที่มีเรียนกันอยู่ก็แต่งโดยมนุษย์ที่ไม่ได้อยู่ร่วมสมัยกับพระพุทธองค์ ท่านผู้ตั้งกระทู้ก็ย่อมจะไม่เชื่อถืออีกนั่นแหละ เช่นคำว่า สทฺธมฺโม ที่ผู้แต่งไวยากรณ์อธิบายความหมาย เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าอธิบายตรงตามความมุ่งหมายของพระพุทธองค์ เพราะฉะนั้นท่านก็ควรจะต้องย้อนยุคไปเกิดในสมัยที่พระพุทธองค์ยังไม่ปรินิพพาน จึงจะเข้าใจพระธรรมคำสอนได้แจ่มแจ้ง

ถ้าท่านฟังดูแล้วเห็นว่านี่เป็นการพูดประชด กระผมก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร เพราะท่านไม่เอาคำอธิบายของมนุษย์นี่ครับ

จะเห็นได้ว่า ในที่สุดแล้วเราก็ต้องตั้งหลักให้ถูกในการศึกษาพระธรรม คือควรฟังผู้ที่เดินอยู่ข้างหน้าเราบ้าง การฟังนั้นจะช่วยให้เรารู้อะไรเพิ่มขึ้นเสมอ แม้แต่ฟังคนที่ไม่รู้อะไรเลย เราก็ยังได้ความรู้อยู่นั่นเอง คือได้รู้ว่าเขาไม่รู้อะไรเลย

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 44  
 
oj.simon
วันที่ 13 มิ.ย. 2554

เท่าที่ทราบทุกศาสนาต้องตั้งต้นด้วยศรัทธา ผมเชื่อนะครับว่าเบื้องต้นท่านเจ้าของกระทู้นี้ก็มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่พอสมควร มิฉะนั้นแล้วท่านก็คงไม่ทราบเนื้อความในพระสูตรจนสงสัยนำกระทู้ขึ้นมาถามผู้รู้ได้ดอกครับ เพียงแต่ท่านสับสนระหว่างการใช้พระสูตรกับอรรถกถาอยู่เท่านั้น

ซึ่งตอนแรกที่ผมทราบพระสูตรนี้บางส่วนก็เกิดความสับสนเหมือนกันว่าปัจจุบันพระสัทธรรมยังคงตั้งอยู่หรือไม่หนอ แต่ก็อาศัยศรัทธาเชื่อว่าปัจจุบันพระสัทธรรมยังคงมีอยู่ครับ อย่าลืมนะครับว่าพุทธศาสนาของเราก็จำเป็นต้องมีศรัทธาในเบื้องต้นด้วยเช่นเดียวกับศาสนาอื่นๆ ในโลก แต่จะแตกต่างกับทุกศาสนาในโลกที่สุดตรงที่พุทธเรามีปัญญาเป็นเบื้องปลาย ขอให้ทุกท่านจงมีศรัทธาแล้วก้าวให้พ้นศรัทธาไปสู่ปัญญาให้ได้ เมื่อใดท่านได้ประจักษ์ในพระสัทธรรมด้วยปัญญาแล้ว เมื่อนั้นท่านก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อใครทั้งพระไตรปิฎก อรรถกถาและรวมไปถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยครับ เพราะเมื่อท่านพระสารีบุตรได้ประจักษ์ในพระสัทธรรมแล้ว ท่านก็ตอบทุกคนว่าท่านไม่เชื่อพระพุทธเจ้าอีกต่อไป จนทุกคนนำความขึ้นไปกราบทูล พระพุทธองค์ทรงเรียกท่านพระสารีบุตรไปถาม ได้ความว่าท่านพระสารีบุตรได้พ้นความสงสัยด้วยปัญญารู้แจ้งในพระสัทธรรมแล้ว

ดังนั้น เมื่อมีปัญญาประจักษ์ในพระสัทธรรมจึงไม่จำเป็นต้องใช้ศรัทธาเชื่อพระพุทธเจ้าอีกต่อไป ซึ่งในข้อนี้พระพุทธองค์ก็ได้ทรงตรัสรับรองปัญญาของท่านพระสารีบุตรดังกล่าวนี้ไว้ด้วย ขอทุกท่านจงอย่าทิ้งศรัทธา แล้วศึกษาธรรมให้ยิ่งๆ ขึ้นไปจนเข้าสู่ปัญญาให้ได้ครับ

ผมขออาราธนาบารมีแห่งคุณพระศรีรัตนตรัยให้ทุกท่านมีศรัทธาศึกษาธรรมและเจริญในธรรมจนได้ปัญญาทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 45  
 
oj.simon
วันที่ 13 มิ.ย. 2554

ต่อความเห็นที่ 44 ครับ

โดยส่วนตัวแล้วผมขอขอบคุณคุณ truth ที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาเพราะทำให้ผมได้อ่านพระสูตรฉบับเต็มครับ เมื่ออ่านแล้ว (อ่านอยู่ 2 วันก่อนทำความเห็นที่ 27 ที่ 28) ก็ยิ่งทำให้หายสงสัยและแแน่ใจว่าปัจจุบันพระสัทธรรมยังคงตั้งอยู่ด้วยผลแห่งครุธรรม 8 ประการ ทั้งนี้ เนื้อความในพระสูตรเดียวกันนี้เองที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรับรองว่าครุธรรมดังกล่าวเป็นเครื่องยังให้ปัจจุบันพระสัทธรรมคงตั้งอยู่เช่นเดียวกันกับคันที่กั้นน้ำไว้ได้แล้วครับ

ตราบใดที่เรายังต้องอาศัยศรัทธาศึกษาพระธรรมอยู่ ตราบนั้นเราก็ยังต้องยก ย่องพระพุทธวจนซึ่งเป็นหลักฐานชั้นต้นอ้างอิง ยามเมื่อไม่เข้าใจจำเป็นต้องมีคำอธิบายก็สามารถใช้อรรถกถาซึ่งเป็นหลักฐานชั้นหลังรองลงมาอ้างอิงได้ตามลำดับ ผมเชื่อว่าต่างก็มีคุณด้วยกันทั้งสิ้น แต่โดยหลักการหากหลักฐานชั้นหลังขัดกับหลักฐานชั้นต้นแล้วเราก็ต้องกลับไปถือตามหลักฐานที่ได้มาโดยตรงจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าครับ

ขอขอบคุณทุกๆ ท่านครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอาจารย์เผดิม และท่านนาวาเอกทองย้อย ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 48  
 
michii
วันที่ 22 ก.ค. 2554

ขอเสนอความเห็นส่วนตัวนะคะ

คิดว่าถ้าอ่านพระไตรปิฎกให้ครบถ้วนจะเห็นได้เลย ว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่มีขัดแย้งกันเองแน่นอน และการที่พระอรรถกถาจารย์ใน ยุคก่อนด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า ในพระธรรมทั้งหลาย ท่านจะเพิ่มเติมอะไรลง ไปท่านจะบอกไว้เสมอว่านี่เป็นส่วนเพิ่ม ส่วนขยาย ให้เราสามารถเข้าใจได้ชัดเจนมาก ขึ้น ว่าส่วนไหนคือพุทธพจน์ส่วนไหนคือท่านขยายไว้ (การที่ท่านสามารถใส่ไว้แล้ว สามารถผ่านการสังคยานามาไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง โดยความเห็นพ้องต้องกันของสงฆ์ใน ที่ประชุมนั้น ก็น่าจะพอสามารถเชื่อถือได้ว่า ส่วนขยายนั้น สอดคล้องต้องกันกับคำสอน ของพระพุทธเจ้าด้วย ท่านไม่ได้คิดขึ้นเองคนเดียว แล้วใส่ลงไป)

 
  ความคิดเห็นที่ 50  
 
paderm
วันที่ 22 ก.ค. 2554

ขออนุโมทนาในความเห็นถูกของคุณ michii ด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 51  
 
homenumber5
วันที่ 22 ก.ค. 2554

อ่านมาแล้ว ขอกราบเรียนท่านเผดิมกรุณาสรุปและตอบคำถามดังนี้ค่ะ

๑. การที่ผู้หญิงออกบวชทั้งในยุคพุทธกาลและหลังกึ่งพุทธกาลคือปัจจุบันนี้ เป็นผลดีต่อ ศาสนาหรือไม่ (โดยรับครุธรรม๘ประการ)

๒. ดิฉันเข้าใจว่ายังมีอริยบุคคล แต่ท่านอยู่ในชั้นพรหม สุทธาวาสเนื่องจากบางท่าน สำเร็จอรหันต์แต่ยังไม่ละทิ้งสังขารและพระอริยบุคคลที่ไม่ถึงชั้นอรหันต์ท่านก็ยังอยู่ในชั้น พรหมเข้าใจถูกต้องหรือไม่คะ

๓. ส่วนที่จะรู้ว่าท่านใดบนโลกมนุษย์นี้เป็นอริยบุคคลหรือไม่ ข้อนี้หากท่านใดตอบว่ารู้ ท่านนั้นเข้าข่ายอวดอุตริใช่หรือไม่คะ

๔. การที่จะรู้ว่าท่านใดเป็นอริยบุคคลนั้น สู้มาสิกขาพระธรรมให้เข้าใจดีกว่าเพราะ พระอริยบุคคลท่านสำเร็จได้ด้วยการสิกขาธรรมและปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัยจริงไหมคะ

๕. การสร้างบุญกิริยาวัตถุมีตั้งสิบข้อ ไม่ทราบว่าข้อไหน บอกให้ ชาวพุทธไปค้นหา อริยบุคคล พระพุทธเจ้าทรงให้เราสิกขาพระธรรมและปฏิบัติ มิได้ให้ไปหาพระอริยบุคคล เพื่อไปสิกขาจากท่านเหล่านั้นใช่หรือไม่คะ

๖. การถกเถียงเรื่องคำสอนพระพุทธศาสนา ในทุกที่ ทุกประเด็น ท้ายสุดต้องอ้างอิงพระไตรปิฎกเท่านั้นจึงจะสิ้นสุด ใช่ไหมคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 52  
 
paderm
วันที่ 22 ก.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 51 ครับ

๑. การที่ผู้หญิงออกบวชทั้งในยุคพุทธกาลและหลังกึ่งพุทธกาลคือปัจจุบันนี้ เป็นผลดี ต่อศาสนาหรือไม่ (โดยรับครุธรรม๘ประการ)

การที่ผู้หญิงออกบวชในธรรมวินัย พระพุทธเจ้าตรัสว่า อายุพระศาสนาจะสั้นลง แต่ เมื่อเราบัญญัติครูธรรม 8 ประการให้รักษาแล้ว อายุพระศาสนาก็จะดำรงยาวนานจนถึง 5 พันปีครับ ดังนั้น การที่สตรีบวขโดยไม่มีครุธรรมเป็นธรรมที่รักษาย่อมไม่ดีแน่นอนครับ แต่พระองค์ตรัสรู้ความจริงทั้งหมด พระองค์จึงมีวิธีแก้ไชให้พระศาสนาดำรงยาวนานคือ การบัญญัติการรักษาพระครุธรรมครั บ ซึ่งในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ก็มีสตรีที่บวข และเป็นผู้เลิศด้านต่างๆ และสมัยพระพุทธเจ้าเราก็มีสตรีบวขและเป็นเลิศในด้านต่างๆ พุทธบริษัทของพระพุทธเจ้าจึงมี 4 ครับ

๒. ดิฉันเข้าใจว่ายังมีอริยบุคคล แต่ท่านอยู่ในชั้นพรหม สุทธาวาสเนื่องจากบางท่าน สำเร็จอรหันต์แต่ยังไม่ละทิ้งสังขารและพระอริยบุคคลที่ไม่ถึงชั้นอรหันต์ท่านก็ยังอยู่ใน ชั้นพรหมเข้าใจถูกต้องหรือไม่คะ

ข้อความในอรรถกถาที่อธิบายแต่ละพันปี มีพระอริยบุคคลขั้นใด จนถึงสมัยนี้สูงสุด เพียงพระอนาคามี ท่านมุ่งหมายถึงโลกมนุษย์ครับ ส่วนในเทวโลกและพรหมโลก มี พระอริยบุคคลทุกขั้นครับ รวมทั้งที่พรหมโลกก็มีพระอรหันต์ด้วยครับ แต่ที่ภพมนุษย์ ปัจจุบันไม่มีพระอรหันต์แล้วเพราะค่อยๆ เสื่อมไปครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 53  
 
paderm
วันที่ 22 ก.ค. 2554

๓. ส่วนที่จะรู้ว่าท่านใดบนโลกมนุษย์นี้เป็นอริยบุคคลหรือไม่ ข้อนี้หากท่านใดตอบว่ารู้ ท่านนั้นเข้าข่ายอวดอุตริใช่หรือไม่คะ

การรู้ รู้ด้วยปัญญา ไม่ใช่เดาเอาครับ ดังนั้น การพยากรณ์ว่าคนนั้นเป็น คนนี้เป็นก็เท่า กับการอวดคุณที่ไม่มีจริงนั่นเองครับ

๔. การที่จะรู้ว่าท่านใดเป็นอริยบุคคลนั้น สู้มาสิกขาพระธรรมให้เข้าใจดีกว่าเพราะพระ อริยบุคคลท่านสำเร็จได้ด้วยการสิกขาธรรมและปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัยจริงไหมคะ

ถูกต้องครับ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา การรู้ว่าใครเป็นก็รู้ไม่จริงเพราะไม่รู้หนทางที่ ถูกในการถึงความเป็นพระอริยบุคคลเลยคัรบ ดังนั้นประโยชน์ของการรู้ว่าใครเป็น ไม่ใช่ ประโยชน์สำคัญเท่ากับปัญญาของตนเองเจริญขึ้นสามารถถึงความเป็นพระอริยบุคคล เองได้ครับ ดังนั้นการศึกษาพระธรรม ขัดเกลากิเลสตนเองสำคัญกว่ามากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 54  
 
paderm
วันที่ 22 ก.ค. 2554

๕. การสร้างบุญกิริยาวัตถุมีตั้งสิบข้อ ไม่ทราบว่าข้อไหน บอกให้ ชาวพุทธไปค้นหา อริยบุคคล พระพุทธเจ้าทรงให้เราสิกขาพระธรรมและปฏิบัติ มิได้ให้ไปหาพระ อริยบุคคลเพื่อไปสิกขาจากท่านเหล่านั้นใช่หรือไม่คะ

ถูกต้องครับ ไม่มีบุญข้อไหนที่ให้ไปหาพระอริยบุคคลแล้วจะเป็นบุญ แต่พระองค์ แสดงว่าการเห็นพระอริยบุคคล คือ เห็นด้วยปัญญา เห็นด้วยการศึกษาพระธรรม ผู้ใด เห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราครับ ซึ่งก็เป็นจริงดังผู้ถาม อาศัยท่านผู้รู้ก็เข้าไปหา ไปนั่งใกล้ เงี่ยโสต ลงฟังและสอบถาม สนทนาเพื่อความเข้าใจของตนที่จะเจริญขึ้นนี่คือ ประโยชน์ครับ

๖. การถกเถียงเรื่องคำสอนพระพุทธศาสนา ในทุกที่ ทุกประเด็นท้ายสุดต้องอ้างอิงพระ ไตรปิฎกเท่านั้นจึงจะสิ้นสุด ใช่ไหมคะ

ในประเด็นธรรมที่ยังเป็นที่สงสัยก็ต้องอาศัยพระไตรปิฎก ในการอธิบาย แต่ก็ต้องเข้า ใจว่า อ่านข้อความเดียวกัน ก็ตีความแตกต่างกันไป ก็ต้องอาศัยผู้รู้ ผู้มีปัญญารุ่นก่อนๆ ที่ช่วยขยายความและก็นำมาพิจารณาประกอบด้วยแต่ไม่ได้เชื่อทันที ก็นำข้อความนั้น มาพิจาณาว่าสอดคล้องกันหรือไม่ครับ เพื่อที่จะได้เข้าใจให้ตรงและละเอียดขึ้น

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนานะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 55  
 
oj.simon
วันที่ 23 ก.ค. 2554

ต่อข้อซักถามตามกระทู้ที่ 51

สำหรับส่วนตัวผมมีความเห็นว่าการได้พบพระอริยบุคคล แท้เป็นบุญวาสนาอย่างยิ่งครับ ปรากฏรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ตามที่ท่านอาจารย์เผดิมตอบกระทู้ไว้ว่าปัจจุบันเป็นกึ่งพุทธกาลยังคงมีพระอริย บุคคลชั้นอนาคามีอยู่ ซึ่งผมเห็นว่าการจะได้พบท่านหรือไม่นั้นเป็นบุญวาสนาของแต่ ละคนที่สะสมไว้

2. เมื่อได้พบกับท่านเหล่านั้นแล้วเราก็จะได้เข้าไปหาไปนั่งใกล้เงี่ยโสตลงฟังและสอบ ถามสนทนาเพื่อความเข้าใจของตนให้เจริญขึ้นในทางธรรมนี่คือบุญครับ

3. พระอริยเจ้าแท้ย่อมสอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดีได้แน่นอน ไม่ เหมือนกับคนที่อ้างพุทธศาสนาหากินโดยสิ้นเชิง

4. ผู้ที่ได้พบท่านต้องเคยสะสมปัญญามาพอสมควร มิฉะนั้นแล้วก็เป็นการสูญเปล่า เพราะมัวแต่จะเข้าไปขอของดี ขอเลขขอหวย

ในเรื่องนี้ผมขอยกตัวอย่างที่ผมมี โอกาสได้พบพระท่านหนึ่งที่สวนโมขฯ ครั้งแรกที่พบท่านบอกว่าการที่ผมมาหาท่าน เพราะผมยังโง่ นอกจากนี้ยังเอยปากไล่ผมไม่ให้มาหาท่านหากผมยังโง่อยู่อีก แล้วไล่ให้ ผมไปดูโรงมหรสพทางวิญญาณ โดยเจาะจงให้ดูภาพพระพุทธเจ้ากำลังทำความเพียร อยู่ที่หลังม่านความโง่ของเรา และอีกหลายๆ ภาพ ขณะนั้นผมยังไม่ค่อยทราบความหมายเท่าใด ผมมีโอกาสได้พบท่านอีกประมาณ 3-4 ครั้ง ท่านบอกว่าการฝึกอานาปณะ สตินั้นง่ายไปไหนมาไหนก็ฝึกได้เพราะเป็นลมหายใขเข้าออกของเราเอง สำเร็จก็ช่าง ไม่สำเร็จก็ช่างไม่อันตราย แล้วผมก็ได้อาศัยอ่านธรรมจากหนังสือท่านเรื่อยมา ต่อมา ภายในสัปดาห์ที่ท่านละสังขาร ผมได้อ่านบทความบรรยายภาพซึ่งท่านไล่ให้ผมไปดู เชื่อมั้ยครับว่าผมมีความรู้สึกจุกอยู่ในอกและสะอื้นอยู่เป็นอาทิตย์ด้วยความซาบซึ่งใน บุญคุณและเสียดายที่พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบหาได้ยากยิ่งได้จากเราไปอีกองค์หนึ่ง แล้ว

สรุป ผมถือว่าการได้พบพระรูปนั้นกับการได้พบมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา และบ้านธรรมะ (สถานที่รวมไว้ซึ่งบัณฑิต) นี้เป็นบุญวาสนาของผมครับ

ขออนุโมทนาในทุกความเห็นที่เป็นกุศลครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 56  
 
oj.simon
วันที่ 23 ก.ค. 2554

ขออนุโมทนาท่านนาวาเอกทองย้อยด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 57  
 
paderm
วันที่ 23 ก.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 55 ครับ

การจะรู้ว่าใครเป็นพระอริยบุคคลก็ด้วยปัญญาครับเพราะปัญญาเป็นเรื่องของนามธรรม ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา ผู้ที่เข้าใจหนทางที่ถูกในการอบรมปัญญาและมีปัญญาถึง ความเป็นพระอริยบุคคล เทียบเท่า หรือ สูงกว่า จึงจะรู้ว่าบุคคลนั้นเป็นพระอริยบุคคล หรือไม่ครับ

บุคคลนั้นจะต้องมีปัญญาเข้าใจหนทางในการดับกิเลส ถึงความเป็นพระอริยบุคคลเช่นกัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 739

ข้อความบางตอนจากทารุกัมมิกสูตร

พ. ดูก่อนคฤหบดี ท่านผู้เป็นคฤหัสถ์ บริโภคกาม อยู่ครองเรือนนอนเบียดเสียดบุตร บริโภคจันทน์แคว้นกาสี ทัดทรงดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีทองและเงินอยู่ พึงรู้ข้อนี้ได้ยากว่า ภิกษุเหล่านี้เป็นพระอรหันต์ หรือเป็นผู้บรรลุอรหัตตมรรค


เรื่อง จะรู้บุคคลใดต้องมีปัญญาเท่าบุคคลนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 161

ข้อความบางตอนจากอรรถกถาปฐมโกกาลิกสูตร

บทว่า อปฺปเมยฺย ปมินนฺโต ความว่า กำหนดนับบุคคลผู้เป็นขีณาสพ ผู้มี คุณอันใครๆ ประมาณไม่ได้ อย่างนี้ว่า ศีลมีประมาณเท่านี้สมาธิมีประมาณเท่านี้ ปัญญามีประมาณเท่านี้. ด้วยคำว่า โกธ วิทฺวา วิกปฺปเยความว่า ใครผู้มีปัญญา ผู้มีเมธาในโลกนี้พึงกำหนด ท่านแสดงว่า พระขีณาสพเท่านั้น พึงกำหนดนับพระขีณาสพ (พระอรหันต์) .

บทว่า นิธุตนฺต มญฺเ ความว่าก็ผู้ใดเป็นปุถุชน ปรารภจะวัดพระขีณาสพนั้น เรากล่าวผู้นั้นว่า ไม่มีธุตธรรมคือมีปัญญาต่ำทราม.

 
  ความคิดเห็นที่ 58  
 
paderm
วันที่ 23 ก.ค. 2554

ดังนั้นเราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นพระอริยบุคคล เพียงข้อปฏิบัติภายนอกและธรรมที่แสดงไม่มาก เพราะตัวเราจะต้องมีความเข้าใจหนทางในการดับกิเลสอย่างถูกต้อง จึงจะรู้ว่าสิ่งที่ผู้อื่นแสดงถูกต้องตามพระธรรมวินัยหรือไม่ครับ

ดังที่มีผู้ที่สอนธรรม ที่ได้ปฏิเสธพระอภิธรรมไม่ใช่พุทธวจนะ นั่นก็แสดงถึงความไม่ ตรงและไม่ถูกต้องแล้วครับ ดังนั้นหากเราเป็นผู้ศึกษาธรรมโดยละเอียดรอบคอบ กว้าง ขวางก็จะทราบว่าคำพูดใด ของใครถูกต้องตรงตามพระวินัย หากกล่าวขัดแย้งไม่ตรง ตามพระธรรมแล้ว ไม่ต้องกล่าวถึงการเป็นพระอริยบุคคลครับ เป็นไม่ได้แน่นอนครับ เพราะแม้ความเข้าใจในเรื่องพระธรรมก็ไม่ตรงกับพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ครับ เช่น เรื่อง พระอภิธรรมไม่ใช่พระพุทธพจน์ เป็นต้น ดังนั้น พระพุทธศาสนาจึงเป็น เรื่องของปัญญา การจะรู้ว่าใครเป็นพระอริยบุคคล เราจะต้องศึกษาพระธรรมอย่าง รอบคอบ ละอียด เป็นปัญญาของเราเอง เมื่อได้ฟังพระธรรมจากใครพูด ก็จะรู้ว่าตรงตามพระธรรมที่แสดงหรือไม่ ถ้าไม่ตรงตามพระธรรมแล้ว ไม่ต้องกล่าวถึงความเป็นพระอริยบุคคล เพราะข้อปฏิบัติและพระธรรมที่แสดงผิดจากพระธรรมวินัย ก็ไม่มีทางถึงความเป็นพระอริยบุคคลได้ครับ ธรรมจึงเป็นเรื่องละเอียดเพราะเป็นเรื่องของปัญญา

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

ผู้คัดค้านพระอภิธรรมมีโทษอย่างไร

ผู้คัดค้านพระอภิธรรม ย่อมผูกเครื่องกั้นอริยมรรค

 
  ความคิดเห็นที่ 61  
 
oj.simon
วันที่ 26 ก.ค. 2554

เรียน ท่านอาจารย์เผดิม

ผมเห็นด้วยกับข้ออรรถข้อธรรมของท่านอาจารย์อย่างยิ่งครับ สำหรับความเห็นที่ 55 ผมเพียงชี้ให้เห็นว่าอย่างน้อยการได้พบบัณฑิต เช่น การได้ค้นพบมูลนิธิศึกษาและเผย แพร่พระพุทธศาสนา บ้านธรรมะของผม และหรือการได้พบพระรูปนั้นเป็นบุญ วาสนาของผมแล้ว โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าการที่พระรูปนั้นว่าผมโง่ก็ เพราะท่านพยายามปลูกความเป็นพุทธะในตัวผมให้ตื่นขึ้น ส่วน พุทธะในตัวผมจะตื่นหรือไม่เป็นเรื่องปัญญาของผมเอง ทั้งนี้ ไม่เกี่ยวว่าท่านเป็นพระ อริยบุคคลหรือไม่ สำหรับผมเพียงเท่านี้ท่านก็เปลี่ยมไปด้วยเมตตากรุณาอย่างยิ่งยวด กับผมแล้ว

อนึ่ง ผู้ที่ไม่เคยศรัทธาในพระไตรรัตน์ กลับมามีศรัทธาเป็นผู้ตื่นแล้ว ส่วนผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมย่อม เป็นผู้ตื่นยิ่งกว่า สำหรับผู้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลย่อมเลิศกว่า บ้านธรรมะ และพระรูป นั้นเป็นผู้ปลูกผมจากผู้ไม่เคยมีศรัทธาให้มามีศรัทธาในพระไตรรัตน์ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 62  
 
paderm
วันที่ 26 ก.ค. 2554

เรียนควาเห็นที่ 61 ครับ

เข้าใจตามที่ คุณ oj.simon อธิบายครับ และเมื่อเราได้เข้ามาในพระพุทธศาสนา อย่างเต็มตัวและได้อ่าน ได้ศึกษาพระธรรมที่ถูกต้องอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว ก็จะทำ ให้เข้าใจถูกว่าหนทางไหนผิด หนทางไหนถูกครับ และก็ไม่ไปเสพคุ้นกับหนทางที่ผิด อีกครับ เพราะจะทำให้เป็นผู้มีความเห็นผิดทีละเล็กละน้อยได้ครับ พระพุทธองค์ตรัสว่า เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความเห็นผิด มี 2 ประการคือ การฟังอสัทธรรม ประการที่หนึ่ง และอโยนิโสมนสิการ ประการที่สองครับ ดังนั้นถ้าเรามีความเข้าใจถูกเกิดขึ้นจริงๆ แล้ว ก็จะสามารถอธิบายว่า ความเห็นนี้ผิด ผิดอย่างไร ความเห็นนี้ถูก ถูกอย่างไร และจึง เลือกเสพคุ้นในทางเห็นผิดครับ ดังนั้นเราจะต้องเลือกเสพคุ้นในหนทางที่ถูกนั่นเอง

กระผมขอเล่าเรื่องส่วนตัว เผื่อจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านครับ เพื่อควาเห็นถูกและ การเสพคุ้นที่ถูกต้อง สมัยเมื่อผมเรียนปริญญาตรี เอกปรัชญาและศาสนา ต้องมีการทำงานวิจัยย่อย ผมได้ทำในหัวข้อเรื่อง กรรมในแนวคิดของท่านพระรูปหนึ่ง ซึ่งสมัยนั้นก็มี แต่หนังสือท่านเยอะแยะมากมาย ก็หาข้อมูลได้โดยง่าย เมื่อตอนนั้นยังไม่ได้ศึกษาพระ ธรรมเลย พูดง่ายๆ ว่าไม่สนใจธรรม แต่ต้องทำงานวิจัยที่เกี่ยวกับศาสนาก็ทำกันไปครับ ผมได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับความคิดของพระรูปนั้นมากมาย หลายเล่ม ด้วยความที่ยัง ไม่ไ่ด้ฟังพระธรรมของพระพุทธเจ้าเลย ก็ดูเป็นคำที่ง่ายก็พอมีเหตุผลบ้าง แต่ก็มีข้อสงสัยอยู่บ้าง แต่ก็ไม่เป็นไร เพียงทำให้จบๆ กันไปจะได้จบปริญญตรีเท่านั้นครับ

หลังจากทำเสร็จแล้ว จบปริญญาตรี อีก 2-3 ปี กลับมาสนใจพระธรรม และได้ฟัง ธรรมจากท่านอาจารย์สุจินต์ มีความเข้าใจขึ้นประกอบกับอ่านพระธรรมคือ พระไตรปิฎก และได้คำอธิบายจากท่านอาจารย์สุจินต์ ทำให้มีความเห็นถูกในพระธรรมเพิ่มขึ้น ก็กลับ ไปคิดพิจารณาในสิ่งที่ตนเองได้ทำคือ งานวิจัยย่อยที่ได้ทำสมัยปริญญตรี เพราะคิดว่า การเผยแพร่สิ่งที่ผิด ย่อมมีโทษมาก เป็นอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ ก็ได้คิดพิจารณา ไตร่ตรองด้วยความรอบคอบ ก็รู้ว่าไม่ตรงตามพระธรรมวินัยที่พระองค์แสดงอย่างมาก หลายเรื่อง

ซึ่งกระผมจะแสดงความเห็นต่อไปใน ความคิดเห็นอื่น เพื่อประโยชน์ในความเห็นถูกครับ เมื่อพิจาณาแล้วว่า งานวิจัยของเราไม่ถูกต้อง ผิดพระธรรมวินัยที่พระ พุทธเจ้าแสดง หลังจากจบไปหลายปี จึงกลับไปที่มหาวิทยาลัย ที่เอกปรัชญาและ ศาสนา และหาและถาม งานวิจัยผมว่าอยู่ไหน เมื่อผมได้เจอ ผมจึงใช้ปากกา ขีดเขียน ที่หน้าปกด้านในที่หน้าสุด และเขียนไว้ว่า "งานวิจัยเล่มนี้ไม่ถูกต้อง ไม่ควรอ่านและเผยแพร่" จำไม่ได้ว่าเขียนกี่ครั้งครับ เพราะผมไม่อยากให้รุ่นน้อง คนอื่นๆ มาอ่านและมาเข้า ใจผิดนั่นเองครับ นี่ขอยกตัวอย่าง คือ เมื่อเราได้เข้ามาในพระธรรมวินัยแล้วและได้ ศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบ จึงรู้ว่าหนทางใดถูก หรือ ผิด คำสอนใดถูก คำสอนใดผิดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 63  
 
paderm
วันที่ 26 ก.ค. 2554

นับเป็นโอกาสดี ที่กระผมจะได้กล่าวธรรมในเรื่องนี้ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจถูกในประเด็น ของความคิดเห็นของพระรูปหนึ่งครับ เพราะผมก็ได้อ่านความคิดของท่านนั้นมามาก เพราะทำงานวิจัยของท่านมา เพื่อประโยชน์ในการรักษาพระศาสนาและเพื่อความเห็น ถูกมากขึ้นของผู้ทีไ่ด้อ่านครับ

ประเด็นที่หนึ่ง สัตว์ฆ่ากันเองไม่มีเจตนาเป็นกิริยา ไม่เป็นอกุศล

กระผมได้อ่านหนังสือและก็ได้อ่านความคิดเห็นในเรื่องของกรรมของท่านนั้นไว้ว่า สัตว์ฆ่ากันเองไม่บาป เป็นสัญชาตญาณ ไม่มีเจตนาดังนั้น การกระทำที่สัตว์ฆ่ากันเอง นั้น จึงเป็นเพียงกิริยาจิต ไม่ใช่อกุศล

อธิบาย ... จิตทั้งหมด มี 4 ชาติ คือ กุศล อกุศล วิบากและกิริยา กริยาจิตหมายถึง จิต ที่ไม่เป็นทั้งกุศล หรือ อกุศล ซึ่ง สัตว์เดรัจฉานในความเป็นจริงแล้ว ก็คือ จิต เจตสิก รูปที่ประชุมรวมกัน ดังนั้นที่บัญญัติว่าสัตว์เดรัจฉานเพราะมีสภาพธรรมที่มีจริงคือ จิต เจตสิก รูปนั่นเองครับ ดังนั้นเมื่อมีจิต เจตสิก ก็ต้องมีเจตนาเจตสิกด้วยครับ ไม่ใช่ เจตนาเจตสิกจะมีเฉพาะมนุษย์เท่านั้นครับ พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า เมื่อบุคคลกลับ ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็ยากจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์เพระาอบายภูมิมีสัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น โดยมากมีแต่การกระทำอกุศลกรรม จากธรรมที่พระองค์ได้แสดงไว้ในข้อนี้ ก็ แสดงว่า สัตว์มีการกระทำกรรม มีการกระทำอกุศลรรม มีเจตนาที่เป็นไปในทุจริตด้วย

ดังนั้นขณะที่มีจิตคิดจะฆ่า สัตว์ใดสัตว์หนึ่งด้วยเหตุผลมาเพื่อเป็นอาหาร ขณะนั้นมีเจตนาฆ่าแล้ว อกุศลไม่เปลี่ยนลักษณะไม่ว่าเกิดดกับใคร มนุษย์หรือสัตว์เดรัจฉาน เจตนาฆ่าก็ต้องเป็นเจตนาฆ่า และเมื่อทำกรรมสำเร็จก็เป็นอกุศลกรรม เป็นปาณาติบาตนั่นเองครับ ดังนั้นการฆ่ากันของสัตว์ไม่ใช่เป็นเพียงกิริยาครับ เป็นอกุศลกรรมครับ ที่เป็นจิต ชาติ อกุศล

 
  ความคิดเห็นที่ 64  
 
paderm
วันที่ 26 ก.ค. 2554

ประเด็นที่สอง นิพพานคือ ปัจจุบันนี้ ขณะนี้ หรือ นิพพานสำหรับทุกคน

ขอยกข้อความที่ได้มีการกล่าวในประเด็นนี้ครับ ท่านกล่าวว่า

เมื่อกิเลสนั้นดับลงไป มันก็มีความเย็นกิเลสไม่เกิดขึ้นรบกวน มันก็มีความเย็น ดังนั้น ทุกคนไม่ใช่ว่าจะมีกิเลสเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา มันมีเวลาที่กิเลสไม่เกิด หรือว่า กิเลสมันดับไปเองตามธรรมดา มันก็ต้องมีความเย็นในความหมายของนิพพาน ฉะนั้น จึงพูดได้เต็มปากว่า นิพพานนั้นมีสำหรับทุกคน และมีอยู่สำหรับทุกคน ในลักษณะที่มากบ้าง น้อยบ้าง ชั่วขณะบ้าง หรือ นานหน่อยบ้าง หรือถ้าดีถึงที่สุดก็ตลอดกาล.


อธิบาย ... พระธรรมเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง ความจริงของสภาพธรรม มี 2 อย่าง คือ นามธรรมและรูปธรรม นามธรรม คือ จิต เจตสิก และนิพพาน ดังนั้น นิพพานเป็นสภาพ ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่มีการเกิดขึ้นและดับไป นิพพานจึงไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิก พระนิพพานจะมีปรากฎได้กับจิตที่เป็นระดับโลกุตตรมรรค เช่น โสดาปัตติมรรค เป็นต้น คือ เป็นอารมณ์ให้รู้ได้กับบบุคคลที่เป็นพระอริยเจ้านั่นเองครับ ไม่ใช่ทั่วไปสำหรับทุกคน

ดังนั้น การที่จิตสงบจากกิเลสชั่วคราว ไม่มีโลภะ โทสะและโมหะในขณะนั้น ไมได้ หมายถึงการนิพพานชั่วขณะน้อยๆ แต่หมายถึง จิตที่เป็นกุศลในขณะนั้นครับ ซึ่งขณะที่สงบจากกิเลสชั่วคราว ขณะนั้นเป็นจิต เมื่อเป็นจิต เป็นสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง เพราะฉะนั้นจะเป็นพระนิพพานที่ไม่มีปัจจุยปรุงแต่งในขณะนั้นไม่ไ่ด้ครับ

ดังนั้นพระ นิพพานจึงไม่ไ่ด้ปรากฎกับทุกๆ คน หากปรากฎกับทุกๆ คน จะมากหรือน้อยตามที่กล่าว มา ก็แสดงว่าพระนิพพานยังเป็นสภพาธรรมที่ทมีปัจจัยปรุงแต่งอยู่นั่นเองครับ เพราะใน ความเป็นจริง ความสงบของจิตที่ไม่มีโลภะ โทสะและโมหะ เป็นสภาพธรรมที่เป็นจิต ไม่ใช่นิพพานครับ ดังนั้นจะนำความสงบชั่วขณะ เป็นนิพพานในปัจจุบันขณะนี้ไม่ไ่ด้ ซึ่งในความเห็นผิด 62 ประการในพรหมชาลสูตร ได้แสดงความเห็นผิดข้อหนึ่งว่า บุคคลมีความเห็นผิดว่านิพพานในปัจจุบันครับ ดังนั้นจึงไม่ควรปนสภาพธรรมที่เป็น กุศล สงบจากกิเลสในขณะนั้นว่าเป็นพระนิพพานครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 65  
 
paderm
วันที่ 26 ก.ค. 2554

ประเด็นที่สาม การปฏิเสธภพภูมิ ชาติหน้า เพียงแต่สวรรค์ในอก นรกในใจเท่านั้น

อธิบาย ... พระพุทธเจ้า ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จะต้องมีการบำเพ็ญบารมี คือ คุณธรรมนับชาติไม่ถ้วน ดังนั้น จึงเป็นมีการเกิดเป็นบุคคลต่างๆ มีพระเวสสันดร เป็นต้น จึงไม่ใช่เกิดมาแพียงชาตินี้ชาติเดียว แล้วจะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า แต่เพราะ การสะสมการเกิดมาเป็นบุคคลต่างๆ ในอดีตชาติ ที่สะสมบารมีมานั่นเองครับ ดังนั้นภพ ภูมิก่อนๆ มี แต่ด้วยความเห็นถูกว่า เป็นการสมมติว่าเป็นสัตว์ บุคคลนั้น แต่ในความเป็น จริงคือสภาพธรรมทีเ่ป็น จิต เจตสิก รูป ดังนั้นเมื่อเรากล่าวถึง สัตว์ บุคคล ภพภูมิก่อนๆ ก็ด้วยความเข้าใจถูกทีเ่ป็นสภาพธรรมที่เป็น จิต เจตสิก รูป และก็มีสถานที่ที่เป็นโอกาสโลก ที่เป็นที่อยู่ของหมู่สัตว์ ไม่ใช่เพียงโลกนี้ แม้ นรกและสวรรค์ก็มีครับ

พระพุทธเจ้า แสดงโลกไว้ 3 ประการ ม่ใช่เพียงโลกเดียว โลก 3 คือ สัตวโลก โอกาสโลกและสังขารโลก ดังนั้นโลกจึงไม่ใช่มีเพียงประการเดียวคือ สังขารโลกทีเ่ป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ ที่เป็นกุศลจิต อกุศลจิต ที่จะเป็นนรกและสวรรค์ในใจเท่านั้น ครับ แต่ยังมีโลกอื่น คือ สถานที่ที่เหล่าสัตว์จะต้องได้รับผลของกรรมที่ไม่ดี คือ นรก ที เป็นอบายภูมิ และสถานที่ที่เป็นการเสวยผลของกรรมที่ดี คือ สวรรค์ ดังนั้นจึงเป็นโลก ที่เรียกว่า โอกาสโลกนั่นเองครับ

เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงเป็นโลกวิทู ผู้รู้แจ้งโลก แสดงโลกตามความเป็นจริง พระองค์ไมไ่ด้ตรัสรู้เพียงโลกเดีวคือ สังขารโลกทีเ่ป็น สภาพธรรมทีเ่กิดดับ ที่เป็นกุศล อกุศลจึงกล่าวว่าเป็นนรกและสวรรค์ในใจเท่านั้น แต่ ตรัสรู้โลกทั้งหมดและทรงแสดงตามความเป็นจริงครับในโลก ทีเ่รียกว่าโอกาสโลก ที เ่ป็นสถานที่อยู่ของหมู่สัตว์ครับ เพราะฉะนั้นเมื่อมีการทำกุศลกรรมและอกุศลกรรม ก็มี สถานที่ที่เหมาะสมกับการได้รับผลของกรรมต่างๆ ครับ จึงไม่ใช่มีเพียงภพภูมินี้เท่านั้น

ดังนั้น ที่พระองค์แสดงเรื่องนรก สวรรค์ที่เป็นสถานที่ได้รับผลของกรรม ที่มีจริงเพื่อให้สัตว์โลกเห็นประโยชน์ของการเจริญกุศล และเห็นโทษของการทำอกุศลกรรม ครับ

ส่วนประเด็นปฏิเสธเรื่องเทวดา หรือ โอปปาติกะว่าไม่มีจริง

ผู้ที่ทำกรรมดีมีครับ ผลของกรรมดีก็ต้องมี และไม่ใช่กรรมดีจะให้ผลเพียงชาตินี้ แม้ ให้ผลในชาติถัดๆ ไปก็มีด้วยครับ ดังนั้นกุศลที่ประณีตมากก็ย่อมให้ผลที่ประณีตด้วยครับ จึงมีการเกิดขึ้นของเทวดาได้ครับ ตามกุศลที่ประณีต แม้พระโพธิสัตว์ก่อนจะจุติเป็นเจ้า ชายสิทธัตถะ ก็เป็นเทวดาชั้นดุสิตครับ

กลับการกล่าวแย้งว่า เรื่องเทวดา ภพภูมิ เป็นการนำเรื่องของพราหมณ์เข้ามาภายหลัง

อธิบาย ... ลัทธิพราหมณ์ก็ส่วนหนึ่ง พระพุทธศาสนาก็ส่วนหนึ่ง ดังนั้นการแสดงเรื่อง เทวดา พรหม ที่มีเหมือนกับพวกพราหมณ์นับถือ ไม่ได้เป็นการแสดงว่า พระพุทธ ศาสนาไปรับลัทธิพราหมณ์มาอธิบายครับ เพราะเรื่องเทวดา พรหม ภพภูมิ นรก สวรรค์ เป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธศานา ไม่ใช่ทั้งหมด แต่พระองค์ก็แสดงตามความเป็นจริงใน สิ่งที่มีจริงนั่นเอง ให้เห็นถึงกรรมและผลของกรรมที่บุคคลทำ จึงเป็นโลกที่เป็นสัตว์โลก แต่ลัทธิพราหมณ์ก้ไม่ไ่ด้เข้าใจเหตุของการเป็นเทวดา พรหมและเข้าใจผิดในความเป็น ผู้สร้างและความยึดถือในสภาพธรรมซึ่งพระพุทธศาสนาก็ได้อะธิบายให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ครับ ดังนั้นสิ่งที่เหมือนกันเล็กน้อย จึงไม่ใช่เป็นการนำลัทธิอื่นมา และไปปฏิเสธสิ่งที่ พระองค์แสดงไว้ ในเรื่อง โอปปาติกะ เรื่อง นรก สวรรค์ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 66  
 
paderm
วันที่ 26 ก.ค. 2554

ประเด็น อธิบาย เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท

1.1 ปฏิจจสมุปบาทเฉพาะชาตินี้ ขณะนี้เท่านั้น ไม่หมายถึงชาติหน้า ภพหน้า ภพอดีต

ปฏิจจสมุปบาท คือ ความเป็นไปของสภาพธรรมที่เกิดขึ้น ดังเช่น เพราะอวิชชา เป็น ปัจจัยให้เกิดสังขาร (การทำบุญ กุศลและอกุศล) และเพราะสังขาร (การกระทำกุศลหรือ อกุศล) เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ (การเกิดขึ้นของจิต) คำว่าวิญญาณจึงไม่ได้หมายถึง วิญญาณที่เป็นจิตที่เป็นผลของกรรมในชาตินี้ คือ การเห็น การได้ ยิน การได้กลิ่น การ ลิ้มรส การรู้กระทบสัมผัสเท่านั้นครับ วิญญาณในที่นี้หมายถึง ปฏิสนธิวิญญาณด้วย หมายถึง ขณะที่เกิดนั่นเอง

ดังนั้นเพราะการกระทำกุศลกรรม และ อกุศลกรรมในอดีตชาติ จึงเป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ ปฏิสนธิวิญญาณในขณะที่เกิดต่างๆ กันไป ดังนั้นจึงไม่ได้หมายถึงเพียงภพ ชาตินี้เท่านั้น การกระทำทีเ่ป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรมในอดีตชาติมี มิฉะนั้นจะมาเกิด ในภพภูมินี้ในขณะนี้ได้อย่างไร ถ้าไม่มีอดีตชาติ อันเป็นการกระทำกรรมในอดีตชาตินั่น เองครับ ดังนั้นปฏิจจสมุปบาทจึงเป็นเรื่องทั้งขณะนี้และครอบคลุมทั้งในอดีตและ อนาคตด้วยครับ พระธรรมของพระพุทธเจ้าลึกซึ้งและตรัสรู้สัจจะ ตามความเป็นจริง โดยครอบคลุมทุกส่วนไม่เหลือครับ มิเช่นนั้นก็มิใช่สัพพัญญูแน่นนอนครับ


1.2 ปฏิจจสมุปบาท ในเด็กทารกไม่มี แต่เด็กโตถึงมี

ปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องของความเป็นไปของสภาพธรรม จึงไม่เว้นเลย ไม่ว่าสัตว์ บุคคลใด อายุเท่าไหร่ เพราะในความเป็นจริง เด็กทารกก็มีจิต ขณะที่เกิดก็เป็นปฏิสนธิ จิตเกิดขึ้น ก็ไม่พ้นจากปฏิจจสมุปบาทแล้วครับ บุคคลที่จะพ้นจากปฏิจจสมุปบาทคือ ไม่มีกิเลสและไม่มีการเกิดขึ้นของจิต เจตสิก รูปอีกเลย นั่นจึงเป็นการพ้นจากวงจร ปฏฺจจสมุปบาทครับ แต่เด็กทารกก็ยังมีจิตและเจตสิกและก็ยังมีกิเลส จึงไม่พ้นไปจาก ปฏิจจสมุปบาทครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 67  
 
paderm
วันที่ 26 ก.ค. 2554

ตามที่กล่าวมานั้นเพื่อประโยชน์ในความเห็นถูกของผู้อ่านและเพื่อรักษาพระธรรมวินัย ของพระพุทธเจ้าให้ถูกต้อง ไม่ผิดเพี้ยนไปเป็นสัทธรรมปฏิรูปนั่นเองครับ และประโยชน์ ก็คือ เมื่อรู้ว่าเป็นคำสอนที่ไม่ถูกต้อง ก็ไม่ควรเสพคุ้น ไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส

เพราะการเลื่อมใสในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง พระพุทธองค์แสดงว่าบาปเป็นอันมากครับ เพราะเมื่อเลื่อมใสแล้ว ก็ต้องเสพคุ้นกับความคิดของผู้นั้นก็ทำให้เข้าใจผิดในพระธรรม วินัย เมื่อเป็นความเห็นผิดจึงบาปมากนั่นเองครับส่วนผู้ที่เลื่อมใสในหนทางที่ถูกต้องใน บุคคลที่ควรเลื่อมใสก็ประสบบุญเป็นอันมากครับ เพราะทำให้เสพคุ้นกับความเห็นถูก และก็ทำให้มีปัญญา เจริญในความเห็นถูกจึงประสบบุญเป็นอันมากครับ

จะเห็นนะครับว่า การศึกษาพระธรรมที่ถูกต้องแล้ว จะเกิดปัญญาและสามารถแยก ออกว่าคำสอนใดผิด คำสอนใดถูก เพราะหากแยกไม่ไ่ด้ และเข้าใจว่าหนทางอื่นๆ ก็ถูก ทั้งนั้น ไปสู่จุดหมายเดียว พระองค์จะไม่ทรงแสดงเลยว่า มรรคมี 2 อย่าง คือ สัมมา มรรคและมิจฉามรรคด้วยครับ การเสพคุ้นในสิ่งที่ถูกและไม่เสพคุ้นไม่เลื่อมใสในสิ่งที่ ผิด ย่อมนำมาซึ่งความเจริญกับบุคคลนั้น ดังมงคลข้อที่ 1 และ 2 ว่า ไม่คบคนพาลและ คบบัณฑิตครับ

ดังนั้นการเลื่อมใส เชื่อ สิ่งใดก็ต้องศึกษาพระธรรมให้ละเอียดรอบคอบ ด้วยการเทียบเคียงกับพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าเป็นสำคัญครับ

หวังว่าคงเป้นประโยชน์กับผู้อ่านและคุณ oj.simon ด้วยความหวังดี เพื่อเจริญใน ธรรมวินัยนี้และขอให้พิจารณาเหตุผลในธรรมที่ได้อ่านมาเพื่อจะได้เลื่อมใสในสิ่งที่ควร เลื่อมใสและไม่เลื่อมใสในบุคคลที่ไม่ควรเลื่อมใสครั

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 69  
 
มกร
วันที่ 26 ก.ค. 2554

การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 71  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 28 ก.ค. 2554

ขออนุโมทนาทุกท่านที่สนใจพระธรรม

การได้พบพระธรรมในหนทางที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดในชาตินี้ที่ได้เกิดมา ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน

โดยเฉพาะคุณ paderm ที่ได้มีเมตตาแสดงความจริง ด้วยความตรง และจริงใจ อันเป็นสิ่งควรค่าแก่การอนุโมทนาอย่างยิ่ง ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 72  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 28 ก.ค. 2554

พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง แสดงถึงสิ่งที่มีจริง ไม่ได้แสดงถึงสิ่งที่ไม่มีจริง แสดงในสิ่งที่มีในชีวิตประจำวัน ให้ เข้าใจความจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ดังนั้นคำพูดใด คำสอนใดจากใครที่แสดงให้เห็น ความจริงที่มีในขณะนี้ที่เป็นธรรม ที่เป็นอริยสัจจะ นั่นเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่คำสอนใด สอนว่ามีเรา มีตัวเราทำ ปฏิบัติ มีสัตว์บุคคลจริงๆ นั่นไม่ใช่คำสอนของ พระพุทธเจ้าครับ คำสอนได้ สอนให้ได้ สอนให้ติด สอนเพื่อไม่เบื่อหน่ายไม่คลาย กำหนัด นั่นไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า โดยนัยตรงกันข้าม คำสอนใดสอนให้ละ ความติดข้องและละกิเลสประการต่างๆ แต่ด้วยหนทางที่ถูกนั่นเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าครับ


ด้วยความเป็นอนัตตา ทุกอย่างเนื่่องด้วยเหตุปัจจัย ข้อความข้างบนนี้ ชัดเจนครับ ผมศึกษาใหม่ ก็ยังพอพิจารณาได้ พุทธศาสนา เป็นศาสนาที่เป็นเหตุ เป็นผลกัน ระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้น

ขออนุโมทนาใจดีดีของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 74  
 
oj.simon
วันที่ 30 ก.ค. 2554

เรียน อาจารย์เผดิมครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านอาจารย์เผดิมครับ ผมเห็นด้วยกันกับความ เห็นของท่านอาจารย์ตั้งแต่ความเห็นที่ 63 ถึง 67 ทั้งสิ้นครับ ผมขออนุญาตสอด แทรกเกร็ดความรู้ของผมในประเด็นต่างๆ ของท่านอาจารย์ ดังต่อไปนี้ครับ

1. ในข้อที่ว่าการฆ่ากันของสัตว์ไม่ใช่เป็นเพียงกิริยา เป็นอกุศลกรรมที่เป็นจิตชาติ ผม ขออนุโมทนาในคำอธิบายนี้ของท่านอาจารย์ โดยขอยกตัวอย่างให้เห็น เช่น การที่สุนัขหรือแมวมีความผูกพันรักใคร่เจ้าของ รู้จักประจบประแจงขอข้าวกินได้ก็เพราะพวก เค้าสามารถรู้สำนึกโดยประสงค์ผลในการกระทำของตนเพื่อให้เจ้านายรัก เลี้ยงดูให้ อาหารแก่ตน ดังนั้น เมื่อสัตว์ดังกล่าวไปทำร้ายสัตว์ตัวอื่นก็ย่อมมีสำนึกในการกระทำที่ ประสงค์ผลอันเป็นอกุศลกรรม ด้วยเค้าอาจจะไม่รู้จักหิริโอตตัปปะครับ จึงทำให้ความ เป็นเดรัจฉานเกิดมีขึ้นยาวนานครับ

2. ในข้อที่ว่าพระนิพพานมีสภาวธรรมเป็นอย่างไร ผมขออนุโมทนาในคำอธิบายของ ท่านอาจารย์ แต่ผมจะขอเว้นไว้ไม่ยกตัวอย่างหรือกล่าวถึง เนื่องด้วยความด้อยปัญญา ของผม

3. ผมขออนุโมทนาในข้อที่ว่าภพภูมิอื่นมีจริง

4. ปฏิจจสมุปบาท คือธรรมหนึ่งในสองลักษณะครับ กล่าวคือเป็นธรรมที่เป็นตัว กฎ ส่วนการที่สัตว์ปฏิบัติตนไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศลกรรม เป็นเรื่องการเป็น ไปตามกฎหรือเรียกอีกอย่างคือการทำหน้าที่ไปตามธรรมนั้นๆ ครับ ดังนั้น ไม่ว่า ในเด็กหรือผู้ใหญ่ ไม่ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงอุบัติขึ้นในโลกนี้หรือไม่ ตัว ปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นตัวกฎย่อมมีในโลกอยู่แล้วครับ ข้อสำคัญการมีองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นบุญใหญ่ของพวกเรา เพราะ ธรรมของพระองค์เม่ือนำมาปฏิบัติแล้วย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของมนุษย์ที่ถูก ต้องแท้จริงครับ

อนึ่ง พระภิกษุรูปที่ผมกล่าวอ้างในความเห็นที่ 55

ผมขอแยกพิจารณาไว้ดังนี้

- ผมไม่ทราบว่าท่านมีความเห็นเรื่องการฆ่ากันของสัตว์ว่าอย่างไร เนื่องจากผมไม่เคยรับทราบเรื่องนี้จากท่านมาก่อนครับ

- เรื่องพระนิพพานท่านสอนให้เห็นอัตตัมมยตา คือความไม่เอากับกิเลสตัณหา อุปาทานอีกแล้ว หรือก็คือท่านให้ว่างจากตัวกูของกูครับ

- เรื่องภพชาติแม้ในหนังสือตลอดชีวิตของท่านไม่ปรากฏเรื่องนี้ไว้เลย

แต่สำหรับผมที่เคยพบท่านๆ ได้เปรยไว้ว่าเมื่อคุณฟังอาตมาแล้ว ไม่ใช่ว่ากลับไปฆ่าตัว ตายไม่ได้ ทำอย่างนี้มันไม่จบ หรืออีกคราวหนึ่งผมได้ยินท่านกล่าวไว้ในโอกาสวันออก พรรษาว่าแม้ตามพระไตรปิฎกจะปรากฏว่าพระพุทธองค์ทรงเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ก็ตามแต่อาตมาไม่ขอกล่าวถึง ขอให้พวกเราสนใจแก่นแท้ในการเข้าถึงพระ พุทธองค์โดยตรง ให้สมกับที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่าผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราดี กว่าการได้พบพระพุทธองค์แล้วแต่ไม่สามารถเข้าถึงท่านได้ ในข้อนี้ทำให้ผมมั่นใจว่า ท่านมิได้ปฏิเสธเรื่องภพภูมิอื่น แต่ท่านเลือกที่จะไม่พูดถึงเท่านั้นครับ

- แนวความคิดของผมเรื่อง ปฏิจจสมุปบาทตามข้อ 4 ข้างต้นผมได้มาจากพระภิกษุรูปนั้นครับ

ผมขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งของท่านอาจารย์เผดิม ครับ ผมยังหวังในความเมตตาจาก อาจารย์และทุกท่านในการที่ผมจะได้ติดตาม สนทนาธรรมในโอกาสต่อๆ ไปครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 75  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 74 ครับ

ประเด็นเรื่องการฆ่าสัตว์เป็นกิริยา ไม่บาป

ใช่ครับ ดังนั้นการฆ่าสัตว์อื่น จึงไม่ได้จำกัดเฉพาะมนุษย์ แม้สัตว์เดรัจฉานก็มี จิตและ เจตสิก มีเจตนา เจตสิกด้วย ที่สำคัญจะรู้หรือไม่รู้ โทษของอกุศลก็ตาม แต่ขณะนั้น เป็นเจตนาฆ่า จึงเป็นอกุศลกรรมครับ

เหมือนดังที่ว่า คนที่ทำบาป รู้โทษบ้าง แต่ก็ยังทำบาป กับคนที่ไม่รู้ ไม่เห็นโทษเลย ไม่มีหิริ โอตตัปปะเกิดบ้างเลย ทำบาป สองคนนี้ใครบาปกว่ากัน คนที่สองบาปกว่า ครับ เพราะทำไปด้วยความไม่รู้ ด้วยอกุศลล้วนๆ เหมือนกับจับก้อนเหล็กแดง เมื่อคน นั้นไม่รู้ว่าก้อนเหล็กแดง ก็จับไปเต็มๆ ครับ ดังนั้นเมื่อมีเจตนาฆ่า จะรู้หรือไม่รู้ จะมีหิริ หรือ ไม่มีหิริเลย แต่ขณะนั้นมีจิตคิดจะฆ่าแล้ว และการฆ่าสำเร็จก็เป็นปาณาติบาต ไม่ ว่าใครครับ

สำหรับความเห็นที่ผมแสดงมานั้นเพราะผมได้อ่านหนังสือจากท่านนั้นโดยตรงหลาย เล่มมากเพราะต้องทำงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องของท่าน ดังนั้นจึงนำคำอธิบายเพื่อให้ถูก ต้อง รักษาพระธรรมวินัยนี้ไว้ แม้แต่ในเรื่อง การฆ่าสัตว์เป็นกิริยาที่ผมได้อ่านมาครับ ส่วนประเด็นเรื่อง ไม่มีปฏิจจสมุปบาท ในเด็กทารก แต่มีในเด็กโต นั้นในหนังสือ ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ ครับ

ซึ่งจากที่ คุณ oj.simon ยกข้อความที่ได้ฟังมา ว่า

ดังนั้น ไม่ว่าในเด็กหรือผู้ใหญ่ ไม่ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงอุบัติขึ้นในโลกนี้ หรือไม่ ตัวปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นตัวกฎย่อมมีในโลกอยู่แล้วครับ

ประเด็นในที่นี้ เด็กของท่าน หมายถึง เด็กกุมารที่รู้เรื่องแล้วมีวงจรปฏิจจสมุปบาท แต่ เด็กทารก หรือเด็กที่อยู่ในครรภ์ ยังไม่มีวงจรปฏิจจสมุปบาท เพราะยังไม่รู้เรื่องอะไรครับ คำตอบ .. ความจริง วงจรปฏิจจสมุปบาท เริ่มมีตั้งแต่ปฏิสนธิจิติเกิดขึ้นในครรภ์แล้ว ครับ เมื่อปฏิสนธิจิตเกิด นามรูปก็เกิดพร้อมกันในขณะนั้น และรูปอื่นๆ ก็เกิดพร้อมกันมา ในขณะต่อไป แม้ในขณะที่เด็กอยู่ในครรภ์ ก็มีวงจรปฏิจจสมุปบาทแล้วครับ ไม่ต้องรอ ให้เป็นเด็กกุมารที่พอรู้เรื่องได้ จึงจะมีวงจรปฏิจจสมุปบาทครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 76  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ค. 2554

และจากคำกล่าวที่ว่า

- เรื่องพระนิพพานท่านสอนให้เห็นอัตตัมมยตา คือความไม่เอากับกิเลส ตัณหา อุปาทานอีกแล้ว หรือก็คือท่านให้ว่างจากตัวกูของกูครับ

จากหนังสือที่ผมอ่าน คือ นิพพานสำหรับทุกคน ซึ่งผมได้ยกข้อความที่ได้กล่าวไว้ใน หนังสือ ในความห็นที่ 64 แล้วครับ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดว่า ขณะทีป็นกุศลก็ว่างจาก กิเลส ก็เป็นนิพพานน้อยๆ ซึ่งไม่ตรงตามพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในเรื่องพระ นิพพานตามที่ได้อธิบายในความเห็นที่ 64 ครับ

พระนิพพาน มี 2 อย่าง คือ สอุปาทเสสนิพพาน คือ ว่างจากกิเลสทั้งหมด ไม่มีกิเลส เลยแต่ยังมีขันธ์ 5 อยู่ กับอนุปาทิเสสนิพพาน คือ ว่างจากขันธ์ 5 ไม่มีสภาพธรรมที่ เป็นขันธ์ 5 เกิดขึ้นเลยครับ

ส่วนประเด็นเรื่องพระนิพพานคือการว่างจากตัวกูของกู

ธรรมเป็นเรื่องละเอียดครับ แม้แต่การว่างจากความเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคล ไม่มีกิเลส ที่ยึดถือว่าเป็นเราแล้ว แต่ก็ยังไมใช่การละกิเลสได้หมดจริงเพียงเพราะการละตัวกูของกู ครับ เพราะการละความเป็นเรา ละได้เมื่อเป็นพระโสดาบันครับ ดังนั้นพระนิพพาน มี 2 อย่าง นั่นคือ สอุปาทิเสสนิพพาน คือ ยังมีขันธ์ 5 อยู่แต่ไม่มีกิเลสแล้ว เช่น พระ พุทธเจ้าตรัสรู้ที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระองค์มีขันธ์ 5 อยู่ แ ต่ก็ไม่มีกิเลสเหลือเลยครับ เป็นสอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานอีกประเภทหนึ่ง คือ อนุปาทาทิเสสนิพพาน คือ การดับขันธ์ 5 หมดไม่เหลือเลยครับ เมื่อคราวที่พระพุทธองค์ปรินิพพานที่กุสินารานั่น เองครับ จะเห็นนะครับว่านิพพานมี 2 อย่างดังนั้น การดับตัวกูของกู ดับความเป็นเรา ภาษาธรรมเรียกว่า สักกายทิฏฐิ พระโสดาบันดับได้ แต่ยังมีกิเลสอีกมากที่ยังต้องละ

ดังนั้น เพียงละตัวกูของกู สักกายทิฏฐิ สำคัญผิดว่าเป็นเรา ก็ยังไม่ชื่อว่าละกิเลสได้หมด เมื่อมใช่การละกิเลสได้หมด จึงไม่ใช่ สอุปาทิเสสนิพพานครับ เพราะสอุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง การละกิเลสหมดไม่เหลือเลยครับ ดังนั้นการว่างจากการมีตัวกูของกู จากสักกายทิฏฐิเท่านั้น ไม่ใช่เป็นพระนิพพานตามเหตุผลที่กล่าวมาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 77  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ค. 2554

กรณีเรื่องปฏิเสธการข้ามภพ ข้ามชาติ ปฏิเสธ นรก สวรรค์

การปฏิเสธเรื่องปฏิจจสมุปบาทในขณะนี้เท่านั้น ไม่มีเรื่องข้ามภพ ข้ามชาติก็เท่ากับ ว่า ปฏิเสธเรื่องอดีตชาติและอนาคตครับ

ขอนำข้อความที่มีผู้กล่าวไว้ว่า

เรื่องนรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้านั้น เขาพูดกันก่อนพุทธกาล เขาถือกันอยู่ก่อนพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมาในโลกนี่ ประชาชนเขาถือนรกสวรรค์ชนิดนั้นกันแล้วทั้งนั้น พระพุทธเจ้าท่านก็เป็นพระพุทธเจ้าตามแบบของท่าน คือท่านไม่คัดค้านใคร พุทธบริษัทเราทั้งหลายช่วยจำไว้ด้วย ช่วยฟังและจำไว้ด้วยว่า พระพุทธเจ้านั้นท่านมีปฏิปทาของท่าน คือ ไม่คัดค้านใคร เมื่อเขาว่าไปตามแบบของเขา ท่านก็จะไม่คัดค้าน ท่านก็บอกว่า “อย่างนันดีแล้ว, แต่เราไม่ว่าอย่างนั้น เราว่าอย่างนี้.” แล้วก็ว่าของท่านไป คือไม่ไปหาว่าเขาพูดผิด พระพุทธเจ้าจะไม่คัดค้านผูที่พูดไม่ตรงกับท่าน แล้วหาว่า เขาพูดผิด ท่านก็ตรัสขึ้นมาว่า “โอ้ นรกที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฉันเห็นแล้ว สวรรค์ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฉันเห็นแล้ว” ที่พระพุทธเจ้าตรัส ก็หมายความว่า นรกที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี้ พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสคนแรก


ตอบ ... พระพุทธเจ้า เป็นผู้กล่าวสัจจะ ความจริง สิ่งใดผิดท่านก็ต้องกล่าวว่าผิด สิ่งใดถูกท่านก็ต้องกล่าวไว้ถูกครับ ไม่มีการเอนตามความคิของชาวโลกสมัยนั้นว่า ถ้าเขาว่าอย่างนี้ก็ต้องเป็อนย่างนี้ หากสิ่งนั้นผิด พระองค์จะไม่โอนอ่อนตามเลยถ้าสิ่งนั้นผิด และพระองค์จะอนุโมทนา กล่าวสรรเสริญยอมรับในสิ่งที่ถูก นี่คือ ปฏิปทาที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าครับ

ดังนั้นพระพุทธเจ้าย่อมคัดค้านในสิ่งที่ผิดเสมอครับ ดังนั้นการที่กล่าวว่า ท่านไม่พูดถึง ไม่ใช่จะเห็นด้วยกับเรื่อภพชาติครับ เพราะในเรื่องการปฏิเสธ ปฏิจจสมุ ปบาทว่าไม่มีการข้ามภพข้ามชาติและจากคำกล่าวที่ พระะพุทธเจ้า ไม่คัดค้านชาวโลก เรื่อง นรกใต้ดิน สวรรค์ และโอนอ่อนตามความคิดชาวโลก ก็แสดงถึงการไม่เห็นด้วยว่า นรก สวรรค์ มีจริง ภพชาติหน้ามีจริงครับ

ซึ่งเป็นไปไมได้เลย ถ้าสิ่งที่ไม่จริงพระพุทธเจ้าจะไม่คัดค้านเพราะอะไรครับ เพราะพระองค์ตรัสรู้ขึ้นมาเพื่อให้สัตว์โลกมีความเห็นถูกนั่นเองครับแต่เพราะ สวรรค์ นรก มีจริงพระองค์จึงแสดงตามความเป็นจริงครับ

การสนทนานี้เพื่อประโยชน์เพื่อรักษาพระศาสนาที่ถูกต้องไว้และเพื่อให้ผู้ทีได้อ่านได้ พิจารณาเหตุผลที่กล่าวมาเพื่อความเห็นถูกและด้วยความหวังดีครับ หากมีประเด็นที่ยัง สงสัย สามารถสนทนาเพื่อความเข้าใจถูกได้ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 78  
 
oj.simon
วันที่ 30 ก.ค. 2554

ผมขออนุญาตต่อความเห็นที่ 75 ถึง 77 ดังนี้ครับ

- คนที่ทำบาป รู้โทษบ้าง แต่ก็ยังทำบาป กับคนที่ไม่รู้ ไม่เห็นโทษเลยไม่มีหิริ โอตตัปปะ เกิดบ้างเลย ทำบาป สองคนนี้ใครบาปกว่ากัน คนที่สองบาปกว่าครับ ในข้อนี้ผมเข้าใจ ว่าคนที่สองบาปกว่าเนื่องจากเค้ามีอวิชาอยู่เต็มเปรี่ยม ไม่มีโอกาสรู้ในเรื่องของบุญเลย ผิดกับคนแรกที่แม้ทำบาปอยู่บ้าง แต่เค้าก็ยังมีความรู้ในทางบุญอยู่บ้าง หากเค้ากลับใจ หันมาพยายามละความชั่วที่มีอยู่ พยายามไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้นอีก พยายามทำความดี ให้เกิดขึ้น และพยายามรักษาความดีเอาไว้เค้าย่อมมีโอกาสบรรลุธรรมได้ครับ แต่ในข้อ นี้ผมยังสงสัยอยู่ว่าหากคนแรกไม่เคยกลับใจในการทำบาปเลยจนล่วงลงสู่อบาย ทุคติ วินิบาตนรกแล้ว ผมว่ากรณีนี้ทั้งสองคนน่าจะบาปพอกัน ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกหรือไม่ ครับ

- การว่างจากการมีตัวกูของกู คือว่างจากสักกายทิฏฐิ เป็นคุณสมบัติในชั้นพระโสดาบัน เท่านั้น ไม่ใช่เป็นพระนิพพานตามความหมายที่แท้จริง ในข้อนี้ท่านอาจารย์แสดงให้ผม เห็นได้แจ่มแจ้งในใจแล้วครับ

- หากเรานับถือพุทธแล้วคงจะ ปฏิเสธการข้ามภพ ข้ามชาติ ปฏิเสธ นรก สวรรค์ไม่ได้ อย่างแน่นอนครับ ที่ว่ามานี้ไม่ใช่ว่าผมจะจำได้ว่าผมข้ามภพชาติมาอย่างไรนะครับ แต่ผมอาศัยหลักฐานจากธัมมะจักกัปปะวัตะนะสุตรบทที่ว่า " เทเวนะ วา มา เรนะ วา พรัมหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ " กับบทที่ว่า " ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา​​​ " ไปจนถึง " พรหมกายิกาเทวา สัททะมันุสาเวสุง " ยังมีบทที่ว่า " พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิฯ " และ " อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง " บทเหล่านี้ย่อมยืนยันถึงความมีอยู่ของเทวดา มาร พรหมที่ยอมรับในพระพุทธ ปัญญาว่าธรรมจักรอันยอดเยี่ยมที่พระองค์ได้ทรงแสดงไว้แล้วนี้ เหล่าเทวดา มาร พหรมหรือใครๆ ในโลกก็ให้หมุนกลับไม่ได้ แม้ทั้งหนึ่งหมื่นโลกธาตุที่เหล่า เทวดา มาร พรหมอาศัยอยู่ก็ยังสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นหวั่นไหว เนื่องจากแสงสว่าง อันเจิดจ้าหาที่สุดไม่ได้แห่งพระธรรมได้เกิดขึ้นบนโลกเราแล้วครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของอาจารย์และทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 79  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 31 ก.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิมเป็นอย่างมากครับ ที่ได้อธิบายในสิ่งที่ได้ศึกษามาแล้วอย่างละเอียดเพื่อนำความเห็นที่ถูกต้องมาเผยแพร่

เห็นได้ว่าพระธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก หากไม่ได้มีการศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว การกล่าวสิ่งใดออกไป (โดยเฉพาะด้วยความเห็นส่วนตัว) ย่อมมีโอกาสทำให้เกิดความเข้าใจที่ผิดและเป็นโทษได้จริงๆ

ดังนั้น ที่สำคัญผู้ศึกษาธรรมะก็ต้องมีความละเอียดรอบคอบในการศึกษาด้วยเช่นกัน เมื่อยังศึกษาได้ไม่เข้าใจถี่ถ้วนแล้ว ไม่ควรที่จะสรุปเอาเป็นความเชื่อของตนเองเสียทีเดียว เพราะจะกลายเป็นการสร้างทิฎฐิมานะที่แก้ไขได้ยากยิ่ง อันตรายมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 80  
 
paderm
วันที่ 31 ก.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 78 ครับ

จากคำกล่าวที่ว่า

- คนที่ทำบาป รู้โทษบ้าง แต่ก็ยังทำบาป กับคนที่ไม่รู้ ไม่เห็นโทษเลยไม่มีหิริ โอตตัปปะ เกิดบ้างเลย ทำบาป สองคนนี้ใครบาปกว่ากัน คนที่สองบาปกว่าครับ ในข้อนี้ผมเข้าใจ ว่าคนที่สองบาปกว่าเนื่องจากเค้ามีอวิชาอยู่เต็มเปรี่ยม ไม่มีโอกาสรู้ในเรื่องของบุญเลย ผิดกับคนแรกที่แม้ทำบาปอยู่บ้าง แต่เค้าก็ยังมีความรู้ในทางบุญอยู่บ้าง หากเค้ากลับใจ หันมาพยายามละความชั่วที่มีอยู่ พยายามไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้นอีก พยายามทำความดี ให้เกิดขึ้น และพยายามรักษาความดีเอาไว้เค้าย่อมมีโอกาสบรรลุธรรมได้ครับ แต่ในข้อ นี้ผมยังสงสัยอยู่ว่าหากคนแรกไม่เคยกลับใจในการทำบาปเลยจนล่วงลงสู่ อบาย ทุคติ วินิบาตนรกแล้ว ผมว่ากรณีนี้ทั้งสองคนน่าจะบาปพอกัน ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกหรือไม่ ครับ


ตามประเด็นที่ผมได้กล่าวนั้น มุ่งหมายอธิบายถึง ขณะที่ทำบาปครับ ว่า ขณะที่ทำบาปนั้น บาปของใครมีกำลังมากกว่า และทำให้เกิดผลของกรรมที่ไม่ดีมากกว่ากัน ดังนั้นการ พิจารณาว่าบาปมาก บาปน้อย คือ อกุศลจิตที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นล้วนๆ ไม่มีกุศลสลับเลย ดังเช่น คนที่ไม่รู้ว่าทำชั่ว และไม่รู้เลยว่าอะไรดี อะไรชั่ว นั่นก็เท่ากับว่าไม่มีกุศลจิตที่จะ ละอาย สลับกับการทำบาป ก่อนทำบาป หรือหลังทำบาปเลย ก็เท่ากับว่า ชวนจิต คือ จิตที่แล่นไปด้วยอกุศลล้วนๆ เลยครับ ดังนั้นอกุศลกรรมนั้นจึงมีกำลังมากกว่า คนที่ทำ บาป แต่ยังพอรู้ว่าอะไรดี ไม่ดี ก็อาจะเกิดความละอาย บ้าง เกิดกุศลจิตสลับได้บ้าง แต่ ก็ยังทำบาปอยู่ ดังนั้นจึงไม่ใช่มีอกุศลเกิดล้วนๆ แต่มีกุศลสลับเล็กน้อย จึงมีกำลัง ของอกุศลน้อยกว่าคนที่ทำชั่วโดยไม่รู้ผิดชอบชั่วดี ไม่มีความละอายเกิดขึ้นเลยครับ

ดังเช่น การจับถ่านไฟผู้ที่ไม่รู้ว่าถ่านไฟแดง ก็จับเต็มๆ ก็ได้รับความร้อนเต็มๆ ต่างกับ ผู้ที่พอรู้ว่าเป็นถ่านไฟที่ร้อน แต่ก็ต้องจับจึงจับไม่เต็มเหมือนกับผู้ที่ไม่รู้ว่าเป็นถ่านไฟ ครับ ความร้อนที่ได้รับก็น้อยกว่า ดังนั้นประเด็นนี้ จึงมุ่งหมายถึงขณะที่กำลังทำ อกุศลกรรมนั่นเองครับ ของคนที่ไม่รู้ผิดชอบชั่วดีเลย กับคนที่รู้ผิดชอบชั่วดีบ้างว่า อกุศลกรรมของใครมีกำลังมากกว่ากัน หรือบาปมากกว่ากันครับ แต่ไมได้หมายถึง ขณะอื่นๆ ที่กลับตัวกลับใจครับ และที่สำคัญผลของการทำอกุศลกรรมของทั้งสองคนก็อาจ ไปเกิดในนรกทั้งคู่ แต่ในนรกก็แบ่งภพภูมิตามกำลังของอกุศลกรรมไว้ด้วยครับ ดังนั้น ผู้ที่ทำอกุศลกรรมมีกำลังมาก ก็ย่อมไปเกิดในนรกที่เป็นนรกที่ร้อนแรง ทารุณ เผ็ดร้อน มากกว่า อกุศลกรรมที่มีกำลังอ่อนกว่าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 81  
 
paderm
วันที่ 31 ก.ค. 2554

- การว่างจากการมีตัวกูของกู คือว่างจากสักกายทิฏฐิ เป็นคุณสมบัติในชั้นพระโสดาบัน เท่านั้น ไม่ใช่เป็นพระนิพพานตามความหมายที่แท้จริง ในข้อนี้ท่านอาจารย์แสดงให้ผม เห็นได้แจ่มแจ้งในใจแล้วครับ

ตอบ ... ขออนุโมทนาที่มีความเห็นถูกครับ


- หากเรานับถือพุทธแล้วคงจะ ปฏิเสธการข้ามภพ ข้ามชาติ ปฏิเสธ นรก สวรรค์ไม่ได้ อย่างแน่นอนครับ ที่ว่ามานี้ไม่ใช่ว่าผมจะจำได้ว่าผมข้ามภพชาติมาอย่างไรนะครับ แต่ ผมอาศัยหลักฐานจากธัมมะจักกัปปะวัตะนะสุตรบทที่ว่า " เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัม หมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ " กับบทที่ว่า " ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา​​​ " ไปจน ถึง " พรหมกายิกาเทวา สัททะมันุสาเวสุง " ยังมีบทที่ว่า " พรัหมะโลกา สัทโท อัพ ภุคคัจฉิฯ " และ " อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง " บทเหล่านี้ย่อมยืนยันถึงความมี อยู่ของเทวดา มาร พรหมที่ยอมรับในพระพุทธปัญญาว่าธรรมจักรอันยอดเยี่ยมที่ พระองค์ได้ทรงแสดง ไว้แล้วนี้ เหล่าเทวดา มาร พหรมหรือใครๆ ในโลกก็ให้หมุนกลับ ไม่ได้ แม้ทั้งหนึ่งหมื่นโลกธาตุที่เหล่าเทวดา มาร พรหมอาศัยอยู่ก็ยังสั่นสะเทือนเลื่อน ลั่นหวั่นไหว เนื่องจากแสงสว่างอันเจิดจ้าหาที่สุดไม่ได้แห่งพระธรรมได้เกิดขึ้นบนโลก เรา แล้วครับ

ตอบ ... ขออนุโมทนาที่ความเห็นถูกครับ การศึกษาธรรมด้วยความละเอียดรอบคอบ ย่่อม ได้ความเห็นถูกและได้สาระจากพระธรรม ขออนุโมทนาที่ คุณ oj.simon เป็นผู้ตรงที่ สอบถามเพื่อความเข้าใจและเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญาครับ

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องอื่น ประเด็นอื่น ก็ร่วมสนทนาต่อได้ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 82  
 
oj.simon
วันที่ 1 ส.ค. 2554
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านอาจารย์เผดิมครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 85  
 
peem
วันที่ 24 ม.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 88  
 
chatchai.k
วันที่ 20 ม.ค. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

การที่ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ทำให้มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏแล้วก็หมดไป ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหูทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จิตทุกขณะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หมดไป ไม่มีอะไรเหลือเลยจริงๆ จากภพหนึ่งไปอีกภพหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ควรสั่งสมไปทุกภพทุกชาติ นั่นก็คือ กุศล (รวมถึงการอบรมเจริญปัญญา ในชีวิตประจำวันด้วย)

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ