การศึกษาธรรมต้องเป็นไปโดยลำดับ

 
จักรกฤษณ์
วันที่  21 มิ.ย. 2554
หมายเลข  18598
อ่าน  2,478

พระพุทธภาษิต

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมดามหาสมุทรย่อมลุ่มไปเป็นลำดับ, ลึกลงไปโดยลำดับ, ซึ้งลงไป

โดยลำดับ, ไม่โกรกชัน (เป็นผาลึกชัน) ทีเดียว ฉันใด.

ในธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน มีการศึกษาโดยลำดับ, มีการทำโดยลำดับ, มีการปฏิบัติโดย

ลำดับ, การตรัสรู้อรหัตตผลไม่มีอาการลึกทีเดียว ถึงฉันนั้น.

(วิสุทธุโปสถสูตร. อัตถก. อัง. ส. ๒๓ น. ๒๑๐)

พระสูตรนี้ผมอ่านพบในหนังสือเล่มหนึ่ง แต่ผมสืบค้นในพระไตรปิฎกแล้ว ไม่พบ จึง

ไม่แน่ใจว่ามีอยู่ในส่วนใด

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อได้อ่านพระพุทธภาษิตนี้แล้ว น้อมไปในพระมหากรุณาคุณของ

พระพุทธองค์ที่ทรงเตือนผู้ศึกษาธรรมทั้งหลายอย่างชัดเจนว่า การศึกษาต้องเป็นไป

ตามลำดับจริงๆ ครับ

ท่านอาจารย์สุจินต์ก็เมตตาพร่ำสอนตักเตือนผู้ศึกษาทั้งหลายตามพระพุทธภาษิตนี้

เรียกได้ว่าทุกครั้งทีเดียวที่ท่านมีโอกาส ว่า "ต้องเริ่มจากการฟังให้เข้าใจก่อน" คำนี้ได้

ยินจากท่านอาจารย์มาเป็นพันๆ ครั้ง แล้วครับ

เห็นได้ถึงเมตตาของท่านอาจารย์จริงๆ ครับ รู้สึกได้ถึงความกรุณาของท่านอาจารย์

จริงๆ ทำให้ผมต้องเตือนตัวเองว่า จงเป็นผู้ว่าง่าย ต้องศึกษาธรรมไปตามลำดับ

เมื่อความอยากความหวังเกิดขึ้น ก็ทำให้นึกไปว่า อย่าให้คำสั่งสอนตักเตือนของท่าน

อาจารย์สูญเปล่า กลายเป็นผู้ว่ายาก ไปเลย

กราบขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านอาจารย์สุจินต์เป็นอย่างยิ่งและขออนุโมทนากับ

ผู้ร่วมศึกษาธรรมทุกๆ ท่านด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 21 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ข้อความเรื่องการศึกษาเป็นลำดับที่คุณจักรกฤษณ์ยกมานั้น เป็นข้อความในพระ

ไตรปิฎกที่ว่า พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 402

ข้อความบางตอนจาก ปหาราทสูตร

ปหาราทอสูรทูลว่า. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่า

อัศจรรย์อันไม่เคยมีมาสักเท่าไร ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว จึงอภิรมย์อยู่.

พระพุทธเจ้าตรัสว่า. มี ๘ ประการ ปหาราทะ ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อน

ปหาราทะ มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนเหว ฉันใด

ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตาม

ลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับมิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตตผลโดยตรง

ดูก่อนปหาราทะ ข้อที่ในธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตาม

ลำดับมีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตตผลโดยตรงนี้เป็นธรรมที่

น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในธรรมวินัยที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึง

อภิรมย์อยู่.

----------------------------------------------------------------------------

จะเห็นว่าการบรรลุธรรมถึงความเป็นพระอรหันต์ก็ต้องเป็นไปตามลำดับ ซึ่งข้อความ

ในอรรถกถาอธิบายว่าการบรรลุธรรมไม่ใช่เหมือนกับกบก้าวกระโดด แต่ต้องเป็นไป

ตามลำดับคือต้องเป็นพระโสดาบัน เป็นพระสกทาคามี เป็นพระอนาคามีและจึงถึง

ความเป็นพระอรหันต์ครับ แต่ก่อนจะถึงความเป็นพระโสดาบัน ปัญญาก็ต้องค่อยๆ

เจริญตามลำดับคือ ได้วิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ และก่อนถึงวิปัสสนาญาณก็ต้องเจริญ

สติปัฏฐานจนทั่วทั้ง 6 ทวาร และก่อนจะถึงการเจริญสติปัฏฐานก็จะต้องอบรมปัญญา

ขั้นการฟังให้มากพอครับ ดังนั้นจึงต้องเริ่มจากปัญญาขั้นต้นคือการฟังให้เข้าใจ เริ่ม

จากคำว่าธรรมคืออะไร การศึกษาและอบรมปัญญาจึงเป็นไปตามลำดับตามที่กล่าวมา

ดังเช่น มหาสมุทรก็ค่อยๆ ลาดลุ่มไปตามลำดับ ดังเช่นที่พระพุทธองค์ได้อุปมาไว้ครับ

แม้กิเลสก็ต้องละเป็นลำดับ การศึกษาและปัญญาจึงเป็นไปตามลำดับเช่นกันครับ จะ

ละโลภะ โทสะทันที่ไม่ได้ ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่การศึกษาเป็นลำดับ แต่กิเลสที่ละเป็น

อันดับแรก คือ การยึดถือว่าเป็นสัตว์ บุคคล ยึดถือว่าเป็นเรา ดังนั้นการศึกษาเป็น

ลำดับ ปัญญาที่เจริญเป็นลำดับแรกคือ การฟังให้เข้าใจว่าขณะนี้มีแต่ธรรมไม่ใช่เรา

จนถึงปัญญาที่เกิดพร้อมสติระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรม

ไม่ใช่เรา การฟังพระธรรมที่ค่อยๆ เข้าใจก็เป็นปริยัติ จนถึงสติและปัญญาเกิดรู้ความจริง

ก็เป็นปฏิบัติและการรู้แจ้งอริยสัจธรรม ก็เป็นปฏิเวธ ดังนั้น พระพุทธศาสนาจึงเป็นเรื่อง

ของเหตุผลและเป็นการศึกษา อบรมปัญญา ละกิเลสไปตามลำดับครับ ขออนุโมทนา

คุณจักรกฤษณ์ครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 21 มิ.ย. 2554

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณจักรกฤษณ์ท่านเจ้าของกระทู้และคุณเผดิมครับ

ชอบกระทู้นี้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 21 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก เป็นไปเพื่อการกำจัดกิเลส และสำหรับผู้ที่เป็นสาวกมีโอกาสได้ฟังได้ศึกษานั้น ก็จะต้องสะสมความเข้าใจไปทีละเล็กทีละน้อยจริงๆ เพราะเหตุว่าพระธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งมาก จะเข้าใจในทันทีทันใด หรือ ฟังพระธรรมวันนี้แล้วจะให้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลเลย ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และประการที่สำคัญ จะต้องเป็นผู้ตั้งจิตไว้ชอบในการศึกษาด้วย ว่าไม่ใช่เพื่ออะไรอื่นทั้งสิ้น กล่าวคือ ไม่ใช่เพื่อลาภ ยศ สักการะ สรรเสริญ เป็นต้นซึ่งเป็นการเพิ่มกิเลสให้กับตนเอง แต่เพื่อเข้าใจธรรมตามความเป็นจริงเท่านั้น ปัญญา เป็นพืชที่โตช้ามาก ถ้าหากไม่เริ่มสะสมไปทีละเล็กทีละน้อย ก็จะไม่สามารถถึงความเจริญสมบูรณ์พร้อม ได้ เพราะฉะนั้นแล้วจึงควรอย่างยิ่งที่แต่ละบุคคลจะเห็นประโยชน์ของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในภพนี้ชาตินี้ที่ได้มีโอกาสพบพระพุทธศาสนาว่า การที่จะมีโอกาสได้ฟังพระธรรมในภพนี้ชาตินี้ จะเหลืออยู่อีกเท่าใด [ปัญญา ต้องอบรมเจริญขึ้น โดยไม่ต้องรอ] และพระธรรมก็เป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งมาก การมีโอกาสได้ฟัง ได้ศึกษา สะสมความเข้าใจไปทีละเล็กทีละน้อย ย่อมเป็นสิ่งที่ดี มีคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง เพราะความเข้าใจที่ได้สะสมไว้ไม่สูญหายไปไหน มีแต่จะเจริญมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า การฟังในครั้งหลังๆ เทียบกับการฟังครั้งแรกๆ ไม่ได้เลย เพราะเหตุว่า ความรู้ความเข้าใจจะค่อยๆ เจริญขึ้นไปตามลำดับ นั่นเอง ครับ. ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมอีก ๑ กระทู้ได้ที่นี่ ครับ การศึกษาต้องตามลำดับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณจักรกฤษณ์และทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
bsomsuda
วันที่ 22 มิ.ย. 2554

เห็นลำดับของการศึกษาธรรมชัดเจนค่ะ

ก็คงต้องค่อยๆ ศึกษาไป

อบรมเหตุเพื่อให้ปัญญาค่อยๆ เจริญ
(โดยไม่คาดหวัง)

ค่อยๆ ละความไม่รู้

จนกว่าจะรู้และมั่นคงในความจริงจริงๆ ว่า..

"ทุกอย่างเป็นธรรม ไม่ใช่เรา"

เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
โชติธัมโม
วันที่ 22 มิ.ย. 2554

---------ค่อยๆ ละความไม่รู้ ------------ จนกว่าจะรู้และมั่นคงในความจริงจริงๆ ว่า..---------

-- "ทุกอย่างเป็นธรรม ไม่ใช่เรา"------------ ----------ขออนุโมทนาบุญกับท่านจักกฤษณ์

และทุกๆ ท่านด้วยเศียรเกล้าครับ---------

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
orawan.c
วันที่ 22 มิ.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 22 มิ.ย. 2554

ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า ขณะใดที่หวัง ขณะนั้นเป็น

เครื่องกั้นปัญญาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
aurasa
วันที่ 22 มิ.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ ได้พิสูจน์ด้วยตนเอง มาแล้วว่าเป็นดังที่อจ.คำปั่น กล่าวไว้ สะสมปัญญา ไปวันละเล็กละน้อย แต่มั่นคง ไม่หวั่นไหวที่จะฟังพระธรรมต่อไป จน กว่า..เมื่อไรก็เมื่อนั้น ไม่หวังสิ่งใด นอกจากความเข้าใจจริงๆ ค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
kinder
วันที่ 22 มิ.ย. 2554
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่ 23 มิ.ย. 2554

จากวาทะของความคิดเห็นที่ 8

สะสมปัญญา ไปวันละเล็กละน้อย แต่มั่นคง ไม่หวั่นไหวที่จะฟังพระธรรมต่อไป

ทำให้นึกถึงผู้สนใจธรรมะอีกหลายท่านที่มักจะเข้าใจว่า ธรรมะนั้นจะเอาแต่ ฟัง

อย่างเดียวไม่ได้ ต้อง ปฏิบัติ ด้วย

กระผมไม่มีปัญญาที่จะอธิบายว่า ฟัง กับ ปฏิบัติ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร

ขอความกรุณาท่านผู้รู้ช่วยขมวดหรือจะว่าขยายก็ตาม ให้ผู้สนใจธรรมะที่ยังพูดและเชื่อ

เช่นข้างต้นนั้นอยู่ ให้เข้าใจด้วยครับ จะเป็นมหากุศลอย่างยิ่ง - ขอขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 23 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 10 ครับ

ดังนั้นต้องเข้าใจคำว่าปฏิบัติ โดยทั่วไปแล้วก็จะเข้าใจว่า ปฏิบัติ คือต้องมีการทำ

ทำอะไรสักอย่างที่ไม่ใช่การฟัง เช่น การนั่งสมาธิ การเดินจงกรม เป็นต้น นี่คือ การ

ปฏิบัติ มีวิธีการให้เห็นเป็นรูปธรรม แต่การศึกษาพระธรรมอย่างละเอียดรอบคอบ

ย่อมเข้าใจความจริงที่พระองค์ทรงแสดงว่า สภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่ใช่

สัตว์ บุคคล มีแต่ธรรม ที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม ดังนั้นใครปฏฺบัติ คำตอบคือไม่มี

เรา แต่ธรรมปฏิบัติ หน้าที่ อกุศลปฏิบัติหน้าที่รู้และละกิเลสได้ไหมครับ ไม่ได้ แต่ต้อง

เป็นธรรมฝ่ายดี คือ สติและปัญญา เป็นต้น ดังนั้นจึงไม่มีเราปฏิบัติ แต่เป็นธรรมฝ่ายดี

ปฏิบัติคือเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ คือ สติและปัญญาเกิดขึ้นรู้ความจริงในขณะนี้ เพราะ

เมื่อศึกษาแล้วก็รู้ว่า ธรรม มีอยู่ในขณะนี้ การจะรู้ความจริงก็ต้องรู้ในขณะนี้นี่เองเพราะ

ธรรมมีในชีวิตประจำวันครับ การปฏิบัติ คือ ธรรมปฏิบัติ สติและปัญญาเกิดในขณะนั้น

ขณะนั้นก็ชื่อว่าปฏิบัติครับ แต่ขณะที่นั่งสมาธิ เดินจงกรม แต่ปัญญาและสติไม่เกิดรู้

ความจริง ทีเป็นธรรมไม่ใช่เรา จะกล่าวว่าปฏิบัติไม่่ได้เพราะไม่มีสภาพธรรมฝ่ายดี

คือ สติและปัญญาเกิดรู้ความจริงในขณะนั้นครับ และเหตุให้สติและปัญญาจะเกิดรู้

ความจริงในขณะนี้ได้อย่างไร ก็ด้วยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ขณะที่เข้าใจ

จากการฟังทีละเล็กละน้อย สังขารขันธ์ที่เป็นปัญญาก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้นทีละน้อย จนในที่

สุด สติและปัญญาก็เกิดรู้ความจริงในขณะนี้ ที่เป็นปฏิบัติครับ ดังนั้น การฟังพระธรรม

ศึกษาพระธรรมที่เป็นปริยัติจึงเกี่ยวเนื่องกันกับปฏิบัติอย่างแน่นอนที่สุดครับ ถ้าไม่มี

การฟังให้เข้าใจ ปัญญาก็ไม่เจริญและย่อมปฏิบัติผิดเพราะเข้าใจสิ่งที่ผิดว่าถูกนั่นเอง

ครับ ดังนั้นการฟังพระธรรม ปัญญาเจริญขึ้นเรื่อยๆ ก็ย่อมถึงการปฏิบัติได้ คือ สติและ

ปัญญารู้ความจริงในชีวิตประจำวันนั่นเอง ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
เมตตา
วันที่ 23 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนา อ.กำปั่น และ คุณpaderm ด้วยค่ะ


[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 21

ว่าด้วยกถาวัตถุ ๑๐

[๓๕๑] พ. ดูก่อนอานนท์ สาวกไม่ควรจะติดตามศาสดาเพียงเพื่อ

ฟังสุตตุ เคยยะ และไวยากรณ์เลย นั้น เพราะเหตุไร เพราะธรรมทั้งหลาย

อันพวกเธอสดับแล้ว ทรงจำแล้ว คล่องปากแล้ว เพ่งตามด้วยใจแล้ว แทง

ตลอดดีแล้วด้วยความเห็น เป็นเวลานาน ดูก่อนอานนท์ แต่สาวกควรจะใกล้

ชิดติดตามศาสดาเพื่อฟังเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่าง

ยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว

เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ

ความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่อง

ความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ

เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ.

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...

ปริยัติ...เพื่อน้อมสู่ปฏิบัติ

ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 24 มิ.ย. 2554

ถ้าไม่มีความเข้าใจธรรมเป็นพื้นฐาน ปัจจัยที่จะให้พิจารณาสภาพธรรมก็ไม่มีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Sensory
วันที่ 24 มิ.ย. 2554

ขออนุโมทนาทุกท่านค่ะ

ต้องเป็นไปตามลำดับเพราะถ้าข้ามลำดับ ก็แปลว่าไม่ได้เริ่มทางที่ถูกเลยค่ะ

จึงเนิ่นช้าไปอีก

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ