เจตนาคือกรรมที่มีในจิตทุกดวง

 
ลุงหมาน
วันที่  29 มิ.ย. 2554
หมายเลข  18638
อ่าน  5,464

๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างยกไม้กลอนส่งขึ้นไป ไม้กลอนที่ภิกษุผู้อยู่ข้างบนจับไว้ไม่มั่น ได้พลัดตกลงบน

กระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง ภิกษุผู้อยู่ข้างล่างนั้นถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เรา

ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระ

ภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุเธอคิดอย่างไร?

ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้าภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ.................... เมื่อได้อ่านพระไตรปิฎกพบข้อความนี้ ก็มิได้มีความขัดแย้ง แต่จะขอความกระจ่างจาก

ท่านอาจารย์ครับ คือว่าในจิตนั้นก็มีเจตนาเจตสิกประกอบด้วยทุกดวง เจตนาก็ชื่อว่า

กรรม และการกระทำก็เป็นชวนจิตจึงน่าจะทำกรรม ทำไมพระพุทธเจ้าจึงไม่ปรับอาบัติ

หรือว่าเป็นเจตนาที่อยู่ในวิบาก คือมารับผลของกรรม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 29 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย คำว่า ปาราชิก แปลว่า “ผู้แพ้” อาบัติขั้นสูงสุด เรียกว่า ปาราชิก เป็นความผิดที่

ภิกษุละเมิดข้อห้ามใดข้อห้ามหนึ่งในจำนวน ๔ ข้อ คือ เสพเมถุน ถือเอาของที่เจ้าของ

เขาไม่ได้ให้หรือลักขโมยนั่นเอง ฆ่ามนุษย์ให้ตาย หรือ อวดอุตริมนุสธรรม ภิกษุผู้

กระทำผิด เรียกว่า ต้องอาบัติปาราชิก โทษที่ได้รับเป็นโทษหนัก คือ การขาดจาก

ความเป็นภิกษุครับ ส่วนคำว่า เจตนา เป็นสภาพธรรมที่ตั้งใจ ขวนขวาย เกิดกับจิตทุกประเภทครับ

สำหรับข้อความที่คุณลุงหมานยกมานั้น เป็นเรื่องที่พระภิกษุกำลังทำนวกรรม คือ

การก่อสร้างอยู่ ภิกษุรูปหนึ่ง ส่งไม้ให้พระภิกษุอีกรูปที่อยู่ข้างบน แต่ภิกษุที่อยู่ข้างบน

จับไม้ไม่ดีไม้ก็เลยตกลงบนศีรษะของพระภิกษุที่ส่งไม้ให้ ถึงมรณภาพ ท่านก็เกิด

ความรังเกียจว่าท่านต้องอาบัติปาราชิกหรือไม่ เพราะอาบัติปาราชิก 1 ใน 4 ข้อ คือ

ฆ่ามนุษย์ครับ

พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามว่า เธอคิดอย่างไร ภิกษุรูปนั้น ทูลว่า ข้าพระองค์ไม่ได้จงใจ

ฆ่า ภิกษุนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก คือ ในข้อที่ฆ่ามนุษย์นั่น

เองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 29 มิ.ย. 2554

เหตุผลคืออย่างนี้ครับ เจตนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวงก็จริงครับ แต่ไม่ได้หมายความ

ว่า เจตนาเจตสิกที่เกิดกับจิต ชาติวิบากและกิริยาจะเป็นกรรม ที่จะเป็นกุศลกรรม หรือ

อกุศลกรรมครับ เช่น ขณะที่เห็น เป็นวิบาก เป็นผลของกรรม มีเจตนาเจตสิกเกิดร่วม

ด้วย แต่เจตนานั้นไม่ได้เป็นกรรมที่เป็นกุศลกรรม และเป็นอกุศลกรรม ที่เป็นสุจริตและ

ทุจริตครับ เพียงแต่ทำกิจ เกิดร่วมกัน ทีเป็นเจตนา อันเป็นผลของกรรมครับ ไม่ได้เป็น

จิตที่ทุจริตและสุจริตในขณะนั้นครับ แต่ที่พระพุทธเจ้าตรัสถาม พระองค์หมายถึง

เจตนาที่เป็นไปในอกุศลกรรม คือ เจตนาฆ่า เพราะความสุจริตและทุจริต เกิดจาก

เจตนาที่เป็นไปในกุศลกรรมและอกุศลกรรมครับ ไม่ได้เกิดจากจิตที่เป็นชาติวิบาก ที่

เป็นผลของกรรม ดังนั้นแม้มีเจตนาที่เกิดกับจิตชาติวิบาก แต่ก็ไม่เป็นกรรมที่เป็น

เจตนาที่เป็นสุจริตและทุจริตครับ และขณะที่พระภิกษุท่านกำลังจับไม้และจับไม่มั่น

ท่านก็มีเจตนาเกิดขึ้นคือเจตนาจะจับไม้ แต่ไม่ได้มีเจตนาทุจริต ที่จงใจ ตั้งใจจะฆ่า

จึงไม่ต้องอาบัติปาราชิกเพราะไม่มีเจตนาฆ่านั่นเอง ดังนั้น ขณะนั้นมีเจตนาก็จริง แต่

ไม่ใช่เจตนาทุจริตตั้งใจจะฆ่าครับ

เรื่องของเจตนาจึงเป็นไปทั้งที่เกิดกับจิตทุกชาติ ทุกประเภท จึงแบ่งเจตนาที่เป็น

2 อย่าง คือ เจตนาทีเกิดพร้อมกับจิตทุกประเภท เรียกว่า สหชาตกัมมปัจจัย และ

เจตนาทีเกิดกับจิตที่เป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรม อันสามารถให้ผลในขณะต่อไป เมื่อ

กรรมนั้นให้ผล เกิดวิบาก เรียกว่า นานักขณิกกัมมปัจจัยครับ เพราะฉะนั้น เจตนา

เจตสิกทีเกิดกับจิตทีเป็นผลของกรรม เกิดพร้อมกับจิตนั้น แต่ไม่ให้ผลและไม่เป็น

ทุจริต ไม่มีเจตนาจงในทุจริตอะไร เป็นสหชาตกัมมปัจจัย ส่วนเจตนาฆ่าและกรรม

นั้นสำเร็จคือสัตว์นั้นตาย และกรรมนั้นให้ผลได้ เจตนาที่เป็นเจตนาฆ่า เป็นเจตนา

ทุจริต เป็น นานักขณิกกัมมปัจจัย ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ... เจตนาเจตสิก -- สัพพจิตตสาธารณเจตสิก

เจตนามี ๒ ประเภท อะไรบ้าง

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 29 มิ.ย. 2554

ซึ่งในพระวินัย เรื่องต่อจากที่คุณลุงหมานยกมา พระภิกษุท่านก็จับไม้ไม่ดี

ไม้ก็หลุดลงมาโดนศีรษะพระอีกรูป ถึงมรณภาพ พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า เธอคิด

อย่างไร ภิกษุรูปนั้นก็ทูลว่า ข้าพระองค์ประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า

เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว

จะเห็นครับว่า แม้มีเจตนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง แต่ขณะที่เป็นทุจริตที่เป็นการ

ทำกรรมทีเป็นอกุศลกรรม ท่านมุ่งหมายถึง เจตนาทีเกิดกับจิต ทีเป็นเจตนาฆ่าเท่านั้น

ครับ เพราะเป็นเจตนาทุจริตประสงค์จะให้ตาย แต่เจตนาที่จับไม้ไม่มั่นคง มีเจตนา

จับไม้ แต่ไม่มีเจตนาฆ่า ก็มีเจตนาเกิดขึ้นเหมือนกัน แต่ไม่เป็นเจตนาทุจริตทีเป็น

อกุศลกรรม ทีเป็นเจตนาฆ่า แม้ภิกษุรูปนั้นตาย แต่ไม่เป็นปาณาติบาตเพราะไม่มี

เจตนาฆ่าครับ ไม่มีเจตนาทุจริตเพียงแต่เจตนาจับไม้ เป็นต้นครับ ดังนั้น จะต้องแยก

ว่าเจตนามีต่างๆ กัน คือที่เกิดร่วมกับจิตแต่ไม่มีเจตนาทุจริต และทีเป็นเพียงเจตนาทำ

สิ่งๆ ต่างๆ แต่ไม่ถึงกับเจตนาทุจริตที่เป็นอกุศลกรรมครับ

บาปไม่บาปจึงสำคัญที่เจตนาเป็นสำคัญ แม้ในองค์ปาณาติบาตก็แสดงว่า จะต้องมี

จิตคิดจะฆ่าครับ พระพุทธเจ้าจึงไม่ปรับอาบัติปาราชิกสำหรับภิกษุที่ไม่มีเจตนาฆ่านั่น

เองครับ คือ ไม่เป็นปาราชิกคือการฆ่ามนุษย์ ขออนุโมทนาครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

ถ้าไม่มีเจตนาก็ไม่บาป [มหาวิภังค์]

ปาณาติบาตนั้น มีองค์ ๕ [สีลขันธวรรค] อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 29 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น การศึกษาพระธรรมด้วยความละเอียดรอบคอบ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง, ตามความเป็นจริงแล้ว เจตนาเจตสิก เป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตทุกประเภท ไม่มียกเว้น ทุกครั้งที่จิตเกิดขึ้นจะต้องมีเจตนาเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นเจตนาที่เกิดกับจิตประเภทใด กล่าวคือ ถ้าเกิดร่วมกับกุศลจิตก็เป็นกุศล ถ้าเกิดร่วมกับอกุศลจิต ก็เป็นอกุศล ถ้าเกิดร่วมกับวิบากจิต ก็เป็นวิบาก ถ้าเกิดร่วมกับกิริยาจิต ก็เป็นกิริยา ความจริงเป็นอย่างไร ก็ต้องเป็นอย่างนั้น ไม่มีใครไปเปลี่ยนแปลงได้ เหตุการณ์ที่มีลักษณะคล้ายๆ กับประเด็นที่คุณลุงหมานยกมานั้น มีมากในพระวินัยซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็จะตรัสถามว่า เธอคิดอย่างไร หรือ มีเจตนาอย่างไร ภิกษุที่กระทำก็จะกราบทูลตามความเป็นจริงว่า ตนเองมีเจตนาฆ่า หรือ ไม่มีเจตนาฆ่า กล่าวคือ ถ้ามีเจตนาฆ่าและมนุษย์นั้นตาย เป็นอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที แต่ถ้าไม่มีเจตนาฆ่า ก็ไม่ต้องอาบัติ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่า องค์ของปาณาติบาต ประการหนึ่ง คือ มีเจตนาฆ่า หรือ มีจิตคิดจะฆ่า (วธกจิตฺตํ = อกุศลจิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับเจตนาที่เป็นไปในการฆ่า) ถ้าจะพิจารณาให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นเวลาเราเดินทางไปตามถนนหนทาง บางครั้งเหยียบมดบ้าง เหยียบแมลงบ้าง โดยที่เราไม่รู้เลย ไม่มีเจตนาฆ่าเลย หรือ แม้กระทั่งปิดประตู หนีบจิ้งจกตาย โดยไม่รู้ ไม่มีเจตนาฆ่าเลย ก็ไม่เป็นปาณาติบาต บาปย่อมไม่มี เพราะไม่ได้มีเจตนาฆ่า นั่นเอง

[แต่เวลาจะทำอะไร ถ้าสามารถกระทำด้วยความระมัดระวังขึ้น ก็จะเป็นการดี] ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณลุงหมาน,คุณผเดิมและทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 29 มิ.ย. 2554

ขอเรียนถามอาจารย์ผเดิมและอาจารย์คำปันเพิ่มเติมครับว่า

เจตนาที่เป็น นานักขณิกกัมมปัจจัย นั้น หมายความถึง ความรู้ตัวในการกระทำนั้นๆ ว่า

จะให้ผลอย่างไรหรือประสงค์ต่อผลที่จะเกิดจากการกระทำนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรือ

อกุศล ด้วยใช่ไหมครับ

เจตนาเช่นนี้จะร่วมถึงกรณีที่ รู้ตัวว่าขณะนั้นทำอะไร แต่เป็นการทำตามหน้าที่ ไม่ได้

คาดหวังหรือประสงค์ต่อผลที่จะเกิดขึ้นว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศล แต่ก็พอเล็งเห็นได้ว่า

จะเกิดอะไรก็ได้ ไม่กุศลก็อกุศล

ตัวอย่างเช่น

ทหารปืนใหญ่ ยิงปืนใหญ่ตอบโต้ประเทศฝ่ายตรงกันข้าม เนื่องจากอีกฝ่ายหนึ่งยิงปืน

ใหญ่เข้ามายังชายแดน

กรณีแรก ฝ่ายตรงกันข้ามหยุดยิง ทำให้ชาวบ้านไม่ได้รับความเดือนร้อน

กรณีที่สอง กระสุนปืนใหญ่ตกไปโดนชาวบ้านฝ่ายตรงข้ามตายไปหลายคน

เจตนายิงปืนทั้งสองกรณีที่เกิดขึ้น มีผลเหมือนกันหรือต่างกัน เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย

อย่างไรครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ลุงหมาน
วันที่ 29 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณครับ

การศึกษาพระธรรมคำสอนของผมนี่ต้องใช้เวลาอีกมากครับ ที่ได้รับความเมตตากับ

อาจารย์ที่ช่วยขยายความเห็นที่ถูกต้อง เท่าที่ผมยังเข้าใจมาแต่เดิมคือว่าเจตนานั้นเป็น

กรรม แต่ลืมนึกไปว่าเจตนานั้นเกิดกับชาติอะไร เช่น อกุศล กุศล วิบาก กิริยา พอได้ฟัง

ได้อ่านแล้วเข้าใจครับ ดีใจมากที่ได้รับความรู้จากอาจารย์ ขออนุโมทนาอีกครั้งนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 29 มิ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 5 ครับ

นานักขณิกกัมมปัจจัย หมายถึง กรรม คือ เจตนาเจตสิก ที่เกิดกับกุศลกรรมและ

อกุศล กรรมเป็นปัจจัยแก่สภาพธรรมะที่เกิดต่างขณะ คือเป็นปัจจัยแก่วิบากจิต วิบาก

เจตสิก และกัมมชรูปที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีการฆ่าสัตว์ ขณะนั้นเป็นอกุศลกรรม มีเจตนาเจตสิกเกิดร่วม

ด้วย เจตนาเจตสิกนั้นเป็นทั้งสหชาตกัมมปัจจัยคือเกิดพร้อมกับจิต และเจตสิกอื่นๆ

และเมื่อกรรมคือการฆ่าสัตว์นั้นให้ผล คือ ไปเกิดในนรก การเกิดในนรก เป็นสัตว์อบาย

เป็นผลของกรรมของการฆ่าสัตว์ และก็ต้องเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส

ไม่ดี อันเป็นผลของกรรมไม่ดี อันเนื่องมาจากการกระทำกรรมคือการฆ่าสัตว์ให้ผล

เจตนาเจตสิกที่เกิดตอนฆ่าสัตว์นั้นเอง เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย คือ เป็นปัจจัยให้ผล

เกิดขึ้น คือเกิดในอบายภูมิและได้รับกระทบสัมผัสไม่ดี ทีเป็นผลของกรรมไม่ดีครับ

ดังนั้นเพราะมีการกระทำกรรมที่เป็นอกุศลกรรม คือ มีเจตนาทำบาปและบาปนั้นสำเร็จ

คือฆ่าสำเร็จ เมื่อกรรมให้ผลคือไปเกิดในอบายภูมิ มีรูปไม่ดี รวมทั้งได้รับผลของกรรม

ไม่ดี ผลของกรรมที่ไม่ดีเหล่านี้ มาจากเหตุ คือ เจตนาเจตสิกที่เกิดตอนฆ่าสัตว์นั่นเอง

ให้ผลในขณะต่อๆ ไป คือ ในขณะที่เกิดเป็นสัตว์อบายภูมิ ปฏิสนธิจิตเกิดเป็นสัตว์ อบาย

เป็นต้นครับ

ดังนั้นเจตนาที่เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย ต้องรู้ตัวว่าทำอะไร คือ เป็นเจตนาที่เป็น

ในการกระทำที่เป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรมครับ เมื่อกรรมนั้นสำเร็จครบองค์ ก็มีผล

สามารถให้ผลในขณะต่อไป เมื่อกรรมนั้นให้ผล ก็เท่ากับว่า เจตนาทีเกิดในขณะที่ทำ

กรรมที่เป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรม เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยแล้ว คือ ให้ผลในขณะ

ต่อไป ไม่ใช่เกิดพร้อมกัน ดังเช่น สหชาตกัมมปัจจัยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 29 มิ.ย. 2554

ซึ่งจากตัวอย่างที่ คุณผู้ร่วมเดินทางได้ยกมานั้นที่ว่า

ทหารปืนใหญ่ ยิงปืนใหญ่ตอบโต้ประเทศฝ่ายตรงกันข้าม เนื่องจากอีกฝ่ายหนึ่งยิงปืน

ใหญ่เข้ามายังชายแดน

กรณีแรก ฝ่ายตรงกันข้ามหยุดยิง ทำให้ชาวบ้านไม่ได้รับความเดือนร้อน

กรณีที่สอง กระสุนปืนใหญ่ตกไปโดนชาวบ้านฝ่ายตรงข้ามตายไปหลายคน

เจตนายิงปืนทั้งสองกรณีที่เกิดขึ้น มีผลเหมือนกันหรือต่างกัน เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย

อย่างไรครับ

-----------------------------------------------------------

กรณีทั้งสองหากมีเจตนาที่เป็นอกุศล คือ เจตนาฆ่าเหมือนกัน

กรณีแรก หากไม่ยิงปืนใหญ่ตอบโต้ เท่ากับว่าไม่มีเจตนาฆ่า แพราะไม่มีการกระทำ

กรรม เท่ากับว่าไม่มีเจตนาที่เป็นบาป อกุศลจึงไม่มีเจตนาที่เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย

เพราะไม่มีการทำอกุศลกรรม เมื่อไม่มีการทำอกุศลกรรม ก็ไม่มีการให้ผลของกรรม

จึงไม่มีเจตนาที่จะเป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย เพราะนานักขณิกกัมมปัจจัย จะต้องเป็น

การทำอกุศลกรรม เช่น สัตว์นั้นตายเพราะปืนใหญ่ และเมื่อกรรมนั้นให้ผลคือไปเกิดใน

อบายภูมิ เพราะการฆ่าสัตว์นั้น เจตนาฆ่าเพราะยิงปืนใหญ่ เจตนานั้นจึงเป็นนานัก

ขณิกกัมมปัจจัย ให้ผลทำให้ไปเกิดในอบายภูมิ เป็นต้นครับ แต่หากมีการยิงปืนใหญ่

มีเจตนาฆ่า แต่กรรมนั้นไม่สำเร็จ ไม่มีใครตาย บาดเจ็บเลย กรรมนั้นก็ไม่สำเร็จไม่

สามารถทำให้ไปเกิดในอบายภูมิได้ ไม่เป็นปาณาติบาตเพราะยังไม่มีใครตาย กรรมคือ

การยิงปืนใหญ่ แม้ประสงค์จะให้เขาตาย แต่ไม่ตาย เจตนานั้นก็ไม่เป็นนานักขณิกกัม

มปัจจัย เพราะไม่เกิดผลในขณะต่อไป คือ เกิดในอบายถภูมิเพราะกรรมไม่สำเร็จ คือ

ไม่มีใครตายครับ

ส่วนกรณีที่สอง หากมีเจตนาฆ่าและกระสุนปืนใหญ่ก็ตกและก็มีชาวบ้านตายหลายคน

นั่นก็เท่ากับว่า กรรมนั้นสำเร็จครบองค์ ปาณาติบาตเพราะมีสัตว์ตาย เป็นอกุศลกรรม

ซึ่งกรรมนี้สามารถให้ผลได้เพราะสำเร็จแล้ว ทำให้ไปเกิดในอบายภูมิ เป็นต้นครับ และ

ได้รับสิ่งที่ไม่ดี เพราะกรรมนั้น ดังนั้น เจตนาฆ่าและยิงปืนใหญ่และทำให้สัตว์ตาย

เจตนานั้นเป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยได้ เพราะเมื่อมีการให้ผลของกรรมคือต้องตกนรก

มีผลในขณะต่อไป เจตนานั้นจึงเป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย ครับ เพราะเป็นเจตนาทีเป็น

อกุศลกรรม กรรมสำเร็จและให้ผลคือเกิดอบายภูมิ เป็นต้น คือให้ผลในขณะต่อๆ ไปนั่น

เอง ดังนั้นนานักขณิกกัมมปัจจัย หมายถึง เจตนาที่เป็นไปในกุศลกรรมและอกุศลกรรม

และให้ผลได้ในขณะต่อๆ ไป คือ เกิดวิบากจิต คือ ปฏิสนธิจิตไปเกิดในอบายภูมิ หรือ

สุคติภูมิ และทำใำห้ได้รับวิบากทางตา หู..กายที่ดีและไม่ดี อันเกิดจากเจตนาที่เป็นกรรม

ที่เป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรมครับ ขออนุโมทนา

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ........กัมมปัจจัย

เชิญคลิกฟังธรรมที่นี่ครับ

สหชาตและนานักขณิกกัมมปัจจัย 1

สหชาตและนานักขณิกกัมมปัจจัย 1

นานักขณิกกัมมปัจจัย ยังไม่เป็นปัจจัยจนกว่าผลจะเกิด

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 29 มิ.ย. 2554
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เมตตา
วันที่ 29 มิ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
พุทธรักษา
วันที่ 30 มิ.ย. 2554

สำคัญที่เจตนาผู้ตรงต่อสภาพธรรม...จะไม่หลอกตัวเอง ไม่เข้าข้างตัวเองไม่เห็นผิด เป็นชอบ.
เหตุ ย่อมสมควรแก่ผล เสมอ

กรรมดี..........ย่อมให้ ผลที่ดี กรรมชั่ว......ย่อมให้ ผลที่ชั่ว.
ทุกคน ไม่มีใครดีพร้อม ล้วนแต่สะสมทั้งกรรมดี และกรรมชั่วมาแล้วในอดีต-อนันตชาติรวมทั้งในปัจจุบัน และ อนาคต....ตราบที่ยังไม่ใช่พระโสดาบันย่อม "มีโอกาสสูง" ที่จะไปอบายภูมิ.
แต่ "ความเข้าใจพระธรรม" ตามที่พระผู้มีพระภาคฯ ทรงสอนเป็น "คำเตือน" ที่ควรพิจารณาอย่างยิ่ง.
พระองค์ทรงสรรเสริญ ในการเจริญ-สะสม-กรรมดี ไม่ทรงสรรเสริญ ในการสะสม-กรรมชั่ว.
แต่การสะสม-ของแต่ละบุคคล เป็น"อนัตตา"การดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ ความนิยมชมชอบ ฯลฯล้วนเป็นสิ่งสะท้อนถึงการสะสมของแต่ละบุคคล.
ไม่มีใครห้ามได้.............แต่ เข้าใจได้ ว่า เป็นไป ตามเหตุ ตามปัจจัย.
เราไม่สามารถเปลี่ยนเหตุปัจจัยภายนอกได้ ไม่สามารถเปลี่ยนใจคนอื่นได้แต่เรา "ฝึก-อบรม" จิตของเรา ให้เป็นไปในทางที่ดีได้.!
เราสะสม-เหตุปัจจัยที่ดีได้...ตามกำลัง "ปัญญา"ตราบเท่าที่ยังมีชีวิตอยู่...ด้วย "ปัญญา"
แม้ต้องทำตามหน้าที่ แต่อย่างน้อย เราก็รู้ ว่า อะไรถูก อะไรผิดอย่างน้อยก็ยังรู้ว่าผิด ซึ่งดีกว่าไม่รู้เลย.!
ความเข้าใจพระธรรม-คำสอน ที่มากขึ้นเป็น "เหตุ-ปัจจัย" ให้ขัดเกลากิเลสได้มากขึ้น.
ความเข้าใจพระธรรม-คำสอน ที่มากขึ้นเป็น "เหตุ-ปัจจัย" ให้เห็นคุณค่าของ "สะสมอริยทรัพย์" มากขึ้น.
การเกิดเป็นมนุษย์ และ มีโอกาสศึกษาพระธรรมเป็นเหตุมาจาก "การสะสมที่ดี"แต่จะ "สะสม" อะไรไป...ในชาติต่อไป.!
ชีวิตนี้...น้อยนักอีกไม่นาน...ก็ต้องจากไป เป็นอะไร ก็ไม่รู้.!..................................ขออัญเชิญ "พระปัจฉิมโอวาท" ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงเตือน "สติ" เป็นครั้งสุดท้าย.!
.
.
.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑- หน้าที่ 322

พระปัจฉิมวาจา
[๑๔๓]
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า
สังขารทั้งหลาย มีความ
เสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอ จงยัง ความไม่ประมาท ให้ถึงพร้อมเถิด.
นี้เป็น "
พระปัจฉิมวาจา" ของพระตถาคต.

.

ข้อความจากอรรถกถา
บทว่า อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ ความว่า จงยังกิจทั้งปวง ให้สำเร็จด้วย ความไม่ไปปราศจากสติ. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบรรทมที่เตียงปรินิพพาน ประทานพระโอวาท ที่ประทานมา ๔๕ พรรษา รวมลงในบท คือความไม่ประมาท อย่างเดียวเท่านั้น.
.
ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
aditap
วันที่ 30 มิ.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 30 มิ.ย. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ