ไม่ยอมคน

 
fam
วันที่  28 ก.ค. 2554
หมายเลข  18821
อ่าน  5,090

อยากเรียนถามท่านอาจารย์ทั้งหลายค่ะ ดิฉันเป็นคนที่ไม่ค่อยยอมคนไม่ทราบจะทำ

ประการใดดี ตอนเด็กๆ เป็นคนขี้ขลาดมากแต่ก็มาเริ่มคิดว่าถ้าเราไม่ปกป้องตัวเองแล้ว

ใครจะมาปกป้องเรา ก็เลยเริ่มไม่ยอมคน ใครมาละเมิดสิทธ์ของตัวเองจะไม่ยอมเลยค่ะ

ทำให้ตอนนี้ถ้ามีใครมาว่าแม้เพียงเล็กน้อยก็จะโกรธมาก บางครั้งโกรธจนลืมสติ ยิ่งตอน

นี้ศึกษาธรรมะมากขึ้นก็ยิ่งเห็นข้อเสียของตัวเองมากขึ้น อยากปรับปรุงตัวค่ะ แต่ก็ไม่อยาก

ให้ใครมารังแก ท่านผู้รู้กรุณาช่วยตอบด้วยค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 28 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระัรัตนตรัย

ธรรมทั้งหลายมีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น แม้แต่ความไม่ยอมคน แม้แต่คำว่าการละเมิด

สิทธิของเราก็จะไม่ยอม ดังนั้นเพราะกิเลสที่สะสมมา หากพิจารณาก็จะเห็นถึงความ

สำคัญตนที่เป็นมานะ ความถือตัว ความสำคัญตน สำคัญผิดว่าตัวเองมีสิทธิ ก็เพราะ

ความยึดถือในความเป็นเรา และเพราะความสำคัญตนที่เป็นมานะนั่นเองครับ ดังนั้น

เมื่อมีกิเลสเหล่านี้ ย่อมแป็นปัจจัยให้คิดผิด และเกิดจิตที่เป็นโทสะเกิดขึ้นเมื่อได้รับ

กระทบ คือ เมื่อเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัสในชีวิตประจำวันที่ไม่ดี จึงทำ

ให้เกิดโทสะ เมื่อเกิดโทสะแล้ว จิตที่ไม่ดี ย่อมทำให้เกิด กายและวาจาที่ไม่ดีครับ

ดังนั้นเราจะต้องเข้าใจความจริงของสภาพธรรมว่า ในความเป็นจริงมีแต่ธรรมไม่ใช่

เรา ดังนั้น การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้กระทบสัมผัสที่ไม่ดี เช่น ได้

ยินเสียงที่ไม่ดี (เสียงว่า เป็นต้น) ในความเป็นจริงเป็นเพียงสภาพธรรมที่เป็นผลของ

กรรม ที่ให้ผลครับ ไม่มีใครทำให้ กรรมของเราที่เคยทำอกุศลกรรมไว้ในอดีตมาให้ผล

ครับ ทำให้ได้ยินเสียงที่ไม่ดี ดังนั้นจึงไม่สามารถโทษใครได้เลย หากได้ยินเสียงที่

ไม่ดีครับ ดังนั้นการปกป้องตนเองที่ถูกต้อง คือ ขณะที่จิตเป็นกุศล เพราะขณะที่จิต

เป็นอกุศล ไมได้รักษา ไม่ได้ปกป้องตนเองเลยครับ เพราะอกุศลที่เกิดขึ้น ทำร้ายจิตใจ

ตนเองและทำร้ายผู้อื่นก็ได้ และเมื่อล่วงออกมาทางกายและวาจา อันถึงกับการทำ

อกุศลกรรม ก็ทำให้กรรมที่ไม่ดีให้ผลในสิ่งที่ไม่ดีในอนาคตได้ครับ ดังนั้นการทำไม่ดี จะ

ชื่อว่าปกป้อง รักษาตนเองในขณะนั้นไมได้ครับ แต่กับทำร้าย ไม่รักษาเลยในขณะนั้น

แต่ขณะที่เป็นจิตที่ดี เป็นกุศล มีเมตตาและขันติ ปกป้อง รักษาทั้งตนเองและผู้อื่นด้วย

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ..... ผู้รักษาตน...ผู้ไม่รักษาตน [อัตตรักขิตสูตร]

รักษาตนและรักษาผู้อื่น [อรรถกถาจักกวัตติสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 28 ก.ค. 2554

เพราะฉะนั้นการยึดถือที่ผิดว่ามีเรา มีตัวเรา มีความสำคัญตนที่เป็นมานะ จึงสำคัญว่ามี

สิทธิของเรา เมื่อมีแต่ธรรม สิทธิก็เป็นเพียงความคิดนึกที่เข้าใจผิดว่ามีสิทธิของตนเท่า

นั้นครับ จึงเป็นปัจจัยให้เกดิอกุศลที่จะปกป้องตนเองด้วยการกระทำที่ไม่ดีนั่นเอง

การพิจารณาที่ถูกต้อง คือ การรักษา ปกป้องตนเอง คือ แทนที่จะปกป้องด้วยการ

กระทำที่เป็นอกุศล ก็ปกป้องรักษาตนเองด้วยจิตที่เป้นกุศล มีความอดทนและเมตตากับ

บุคคลที่กระทำสิ่งที่ไม่ดี โดยเข้าใจว่าการได้รับสิ่งที่ไม่ดีนั้นเป็นผลของกรรมที่ไม่ดีของ

เราเองที่ทำไว้ครับ เมื่อกรรมนั้นให้ผลจึงทำให้ได้ยินเสียงที่ไม่ดี เป็นต้น และห้ามไม่

ไ้ด้ที่จะไม่ให้ใครมารังแก เพราะเป็นผลของกรรมที่ไม่ดีให้ผลที่ทำไว้เองครับ เมื่อเป็น

เช่นนี้ควรหรือที่เราจะไปทำอกุศลต่อ ที่จะเป็นเหตุปัจจัยให้ได้รับสิ่งที่ไม่ดีอีกครับ

ท้าวสักกะเทวราช ถูก จอมอสูร กล่าวว่า คนอื่นทนไม่ได้ แต่ท้าวสักกะ ท่านพิจารณาว่า

ใครจะว่าเราอย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของตนสำคัญที่สุด ประโยชน์ตนของท่านคือการ

ปกป้องรักษาใจของท่าน คือ เป็นขันติ เป็นกุศลในขณะนั้นนั่นเองครับ เพราะหากท่าน

ว่ากลับ อกุศลก็เกิดกับท่านและก็เป็นบาป ก็สร้างเหตุใหม่ที่ไม่ดีอีกนั่นเองครับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 470

[๘๗๕] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า

บุคคลจงสำคัญเห็นว่า ผู้นี้อดกลั้น

ต่อเราเพราะความกลัวหรือหาไม่ก็ตามที

ประโยชน์ทั้งหลายมีประโยชน์ของตนเป็น

อย่างยิ่ง ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติไม่มี

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 28 ก.ค. 2554

การยอมคน คือ ยอมด้วยจิตเป็นกุศล คือ ด้วยเมตตาและขันติ การรักษาตนเอง ปก

ป้องตนเองจริงๆ คือขณะที่จิตเป็นกุศลครับ กรรไม่ดีก็มีมากแล้วและก็ดีรับผลของกรรม

ที่ไม่ดีในอดีตที่เคยทำไว้ เพราะกรรมที่เคยทำมา ไม่ควรสร้างเหตุใหม่ที่ไม่ดีอีกครับ

ประโยชน์ตนเป็นสิ่งที่สำคัญ คือ กุศลธรรมครับ ส่วนการไม่ยอมคน คนไม่มี มีแต่ธรรม

ดังนั้น ไม่ยอมที่จะเป็นอกุศล ดีกว่าการไม่ยอมที่เข้าใจผิดคิดว่ามีคนมาว่าเรา เพราะมี

แต่เสียงที่ได้ยินเท่านั้น และเราก็หลงคิดนึกไปผิดเองครับ

แต่ก็ต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมไปเรื่อยๆ ใจก็จะค่อยๆ น้อม อ่อนไป

ตามปัญญาทีเกิด กุศลธรรมก็จะค่อยๆ เกิดขึ้น แต่ต้องอาศัยระยะเวลายาวนานครับ ก็ขอ

อนุโมทนา คุณ famที่เห็นกิเลสและเห็นโทษของกิเลสที่เกิดขึ้นครับ นี่คือประโยชน์

ของการศึกษาพระธรรม คือ เห็นกิเลสของตนเองและตั้งใจปรับปรุงขัดเกลากิเลสของ

ตนเองเป็นสำคัญ ซึ่งกีมีวิธีเดียวคือการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรมครับ แต่ที่สำคัญที่

สุด ก็ควรเข้าใจความจริงในสิ่งทีเกิดแล้วว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราครับ ขออนุโมทนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 83

" เธออย่าได้กล่าวคำหยาบกะใครๆ , ชนเหล่าอื่น

ถูกเธอว่าแล้ว จะพึงตอบเธอ, เพราะการกล่าวแข่งขัน

กันให้เกิดทุกข์ อาชญาตอบพึงถูกต้องเธอ, ผิเธอ

อาจยังตนไม่ให้หวั่นไหวได้ ดังกังสดาล (ระฆัง) ที่ถูกกำจัด

แล้วไซร้ เธอนั่นย่อมบรรลุพระนิพพาน, การกล่าว

แข่งขันกัน ย่อมไม่มีแก่เธอ."

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
fam
วันที่ 28 ก.ค. 2554
ขอบพระคุณ คุณpaderm มากค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 28 ก.ค. 2554

การไม่ยอมคนเป็นกิเลสที่เราสะสมมาในอดีต ทำให้ปัจจุบันเกิดกิเลสประเภทนี้อีก

ก็ต้องเห็นโทษของความไม่ดี ถ้าอยากเป็นคนดีก็ต้องยอมคน ในพระไตรปิฏกก็

แสดงไว้ว่า ท่านพระสารีบุตร ถูกตีที่หลัง ท่านก็ไม่หันกลับไปมองเลย และท่าน

ก็ไม่โกรธคนที่ตีหลังท่าน ส่วนพระราหุล มีคนว่าท่านไม่ได้เก็บไม้กวาด ทั้่งๆ ที่

ท่านไม่ได้เป็นคนทำ ท่านก็ขอโทษ และก็เก็บไม้กวาด นี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการ

ยอมคน และกว่าจะเป็นพระอรหันต์ ก็ต้องสะสมบารมี สะสมความดี และปัญญา่ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 28 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว เท่านั้น ที่จะเป็นเครื่องฝึกที่ดี จากที่มากไปด้วยอกุศล มากไปด้วยความโกรธขุ่นเคืองใจไม่พอใจ ก็จะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อได้รับการฝึกด้วยพระธรรม ซึ่งก็คือ ด้วยความเข้าใจที่ค่อยๆ เจริญขึ้นจากการฟังได้พระธรรม ได้สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูกไปตามลำดับ นั่นเอง ถึงแม้ว่า อกุศล-ธรรมที่ได้สะสมมา มีมาก แต่ก็ไม่มีกำลังเท่ากับธรรมฝ่ายดี คือ กุศลธรรม เพราะกุศล-ธรรมเท่านั้น ที่จะเป็นธรรมที่ละคลายขัดเกลาอกุศล จนกระทั่งสามารถดับอกุศลได้อย่างเด็ดขาด [เมื่อกุศลถึงขึ้นที่เป็นโลกุตตรกุศล ซึ่งก็คือ มรรคจิต เกิดขึ้นทำกิจดับกิเลสตามลำดับขั้น] การไม่ยอมคน แสดงถึงอกุศลที่เกิดขึ้น ปราศจากความอ่อนโยน ปราศจากความเมตตาต่อผู้อื่น ซึ่งเป็นความเกิดขึ้นเป็นไปของสภาพธรรม คือ อกุศลธรรม ในทางตรงกันข้าม การยอมคน คือ มีเมตตา เข้าใจในการสะสมของแต่ละบุคคลที่ทำให้มีพฤติกรรมแตกต่างไป ไม่ถือโทษโกรธ เพราะแต่ละคนก็มีทั้งส่วนที่ดีและไม่ดี ด้วยกันทั้งนั้น แม้แต่ตัวเราเองก็เช่นเดียวกัน (คือ มีทั้งดี และไม่ดี) พร้อมที่จะให้อภัยและช่วยเหลือผู้นั้นได้ทุกเมื่อ ชีวิตประจำวัน จะหลีกหนีอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจไปไม่ได้ เพราะเมื่อมีเหตุที่ทำให้ประสบเหตุการณ์อย่างนี้ ก็ต้องได้ประสบ ตามเหตุตามปัจจัย แต่เมื่อได้ประสบกับสิ่งที่ไม่น่าพอใจประการต่างๆ แล้วหงุดหงิด ไม่พอใจ เกิดความขุ่นเคืองใจขึ้นในขณะนั้น

ก็เพราะว่า เป็นบุคคลที่ได้สะสมมาที่จะมีอุปนิสัยอย่างนั้น ความขุ่นเคืองใจ ความไม่พอใจ จึงเกิดขึ้น และเกิดบ่อยมากกว่าบุคคลผู้ที่ได้สะสมมาในเรื่องของความอดทนขณะที่ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ เกิดขึ้น ตนเองเท่านั้นที่เป็นทุกข์ เป็นทุกข์เพราะกิเลสคือโทสะหรือความโกรธ คนอื่นจะทำให้ไม่ได้เลย ถ้าไม่ได้ศึกษาพระธรรม ไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่ได้อบรมเจริญปัญญา ก็จะเป็นเหตุให้ไม่เห็นโทษของอกุศลธรรม ไม่เห็นคุณของกุศลธรรม ก็จะมีแต่สะสมกิเลสประการต่างๆ เป็นอุปนิสัยที่หนาแน่นขึ้น จนยากที่จะแก้ไขได้ ดังนั้น จึงไม่ควรที่จะเป็นอย่างนี้เลย แต่ควรอย่างยิ่งที่จะศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญาเพื่อความเข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง และขัดเกลากิเลสของตนเอง ต่อไป ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Jans
วันที่ 28 ก.ค. 2554
ขอบคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านคะ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
วิริยะ
วันที่ 29 ก.ค. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 29 ก.ค. 2554

ห็นคุณค่าของผู้มีจิตเป็นผ้าเช็ดธุลีไหม

มีความอ่อนน้อม ไม่มีมานะ ไม่มีความสำคัญตน

ถ้าเป็นผ้าเช็ดธุลีได้เสมอๆ ก็เป็นความสบายใจ

ไม่ว่าใครจะประพฤติต่อท่าน ด้วยกาย วาจา อย่างไร

ไม่เดือดร้อนเลย เพราะว่า ไม่มีถือตน ว่ามีความสำคัญ -----------------------เชิญคลิกอ่าน..ผ้าเช็ดธุลี

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 31 ก.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนา อ.ผเดิม อ.วรรณี และอ.คำปัน ครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ