ขออนุญาติถามต่อจากข้อหมายเลข 019857 ครับ

 
สมชายสมชาย
วันที่  11 ต.ค. 2554
หมายเลข  19889
อ่าน  1,420

ข้อที่ว่าบรรพชิตไม่ควรมีบ้านและที่ดินเป็นของส่วนตัวนั้นทราบและเข้าใจแล้วครับขอ

อนุโมทนาและขอขอบคุณครับที่ให้ความรู้ แต่อยากจะทราบต่อไปว่าในพระวินัยมีห้าม

ไว้โดยเด็ดขาดหรือไม่ และมีปรับอาบัติอะไรเอาไว้หรือเปล่าครับ ขอความกรุณาให้ความ

ด้วยครับ

และยังมีอีกข้อครับคือเรื่องของกฐินครับอยากทราบว่าในพระวินัยนั้นภิกษุจำพรรษาจำนวน

เท่าไรจึงจะรับกฐินได้ถูกต้องครับ เท่าที่ผมทราบมาก็จำพรรษาตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไปจึงจะรับ

ได้ แต่ว่าที่ต่างจังหวัดแถวบ้านผมเห็นมีพระจำพรรษา 2-3 รูป ก็จัดทอดกฐินกันครับ เลย

ไม่รู้ว่าถูกต้องหรือไม่ ขอความกรุณาให้ความรู้ด้วยครับ ผมเองก็บวชแค่ 3 เดือนเองครับ

เลยไม่ค่อยรู้อะไรมากรู้แต่เพียงพื้นฐานต้นๆ เท่านั้นครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 11 ต.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

สำหรับพระภิกษุ การมีที่ดิน บ้านเป็นส่วนตัวอันนี้ผิดแน่นอนเป็นอาบัติครับ ในพระไตรปิฎก

ก็แสดงว่า เป็นของอกัปปิยะ ไม่สมควร พระรับไว้เมื่อมีผู้อื่นมาถวาย อันนี้ต้องอาบัติและ

การที่ภืกษุมีทรัพย์สมบัติก็เป็นอาบัติด้วยเช่นกัน และแม้มีผู้มาถวายที่ดิน สวน สระน้ำ แต่

ไม่ทำให้ถูกต้อง สงฆ์รับไว้ก็ต้องอาบัติทั้งหมดในภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อทำให้ถูกต้อง มีการ

รับด้วยความเหมาะสมเป็นกัปปิยะ เหมาะสมแล้ว เพื่อประโยชน์ในการใช้สอย บริโภคปัจจัย

4 อันนี้ไม่ผิด แต่เป็นของสงฆ์ จะเป็นของส่วนตัว ที่ดินและบ้านส่วนตัวไม่ได้ครับ

กฐินเป็นเรื่องของผ้าครับ ไม่เกี่ยวกับสร้างศาสนาวัตถุ โดยมีพระภิกษุแจ้งกับคฤหัสถ์ให้

ทอดกฐิน อันนี้ไม่ถูกต้องตรงตามพระวินัยเลยครับ ซึ่ง การถวายผ้าที่จะเป็นกฐิน พระภิกษุ

ไม่สามารถเอ่ยปากพูดกับคฤหัสถ์ว่าจะทำกฐินให้มาถวายผ้า ไมได้ครับ อันนี้ไม่เป็นกฐิน

ต้องเป็นคฤหัสถ์เองที่จะประสงค์ถวายผ้า จึงสามารถทำกฐินได้ครับ ดังนั้นในเรื่องนี้ ก็ผิด

ตั้งแต่ต้นที่พระภิกษุจะทำการทอดกฐิน โดยบอกกับคฤหัสถ์ว่าจะทอดกฐิน พระบอกไม่ได้

ครับ ต้องเป็นคฤหัสถ์มาถวายเอง และถ้ามีพระไม่ครบ 5 รูป ก็ทำการ กรานกฐินไม่ได้ด้วย

และผู้ที่จะทำกรานกฐินได้ พระภิกษุที่จะกรานกฐิน ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม จะต้อง

เป็นพระภิกษุที่มีความเข้าใจพระธรรมวินัย เข้าใจขั้นตอนในการกระทำสังฆกรรมที่ว่าด้วย

การกรานกฐินนี้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งเป็นพระเถระ เป็นผู้ทรงคุณเป็นพหูสูต สมควรแก่

ผ้าที่จะได้รับนั้น และที่สำคัญเป็นผู้มีผ้าเก่าที่ควรจะได้รับการเปลี่ยนเป็นผ้าใหม่ ทั้งหมด

นั้นต้องเป็นผู้ได้รับการอนุมัติจากสงฆ์ คฤหัสถ์จะเป็นผู้เจาะจงว่าจะถวายรูปนั้นรูปนี้ ไม่ได้

เลยครับ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 229

ว่าด้วยผู้ได้กรานกฐิน

วินิจฉัยในคำว่า เอวญฺจ ปน ภิกฺขเว กิน อตฺถริตพฺพ นี้พึงทราบดังนี้:-

ในมหาปัจจรีแก้ว่า ถามว่า ใครได้กรานกฐิน ใครไม่ได้?

ตอบว่า ว่าด้วยอำนาจแห่งจำนวนก่อน. ภิกษุ ๕ รูปเป็นอย่างต่ำย่อมได้

กราน, อย่างสูงแม้แสนก็ได้. หย่อน ๕ รูป ไม่ได้.

ว่าด้วยอำนาจภิกษุผู้จำพรรษา. ภิกษุผู้จำพรรษาในปุริมพรรษาปวารณาในวันปฐม

ปวารณาแล้ว ย่อมได้, ภิกษุผู้มีพรรษาขาด หรือจำพรรษาในปัจฉิมพรรษา ย่อมไม่ได้;

แม้ภิกษุที่จำพรรษาในวัดอื่นก็ไม่ได้. และภิกษุทั้งปวงผู้จำพรรษาหลัง เป็นคณปูรกะของ

ภิกษุผู้จำพรรษาต้นก็ได้, แต่พวกเธอไม่ได้อานิสงส์ อานิสงส์ย่อมสำเร็จแก่พวกภิกษุ

นอกนี้เท่านั้น. ถ้าภิกษุผู้จำพรรษาต้น มี ๔ รูปหรือ ๓ รูปหรือ ๒ รูปหรือรูปเดียว, พึง

นิมนต์ภิกษุผู้จำพรรษาหลังมาเพิ่มให้ครบคณะแล้ว กรานกฐินเถิด. ถ้าภิกษุผู้จำพรรษาต้น

มี ๔ รูป, มีสามเณรอายุครบอยู่รูปหนึ่ง, หากสามเณรนั้นอุปสมบทในพรรษาหลัง, เธอ

เป็นคณปูรกะได้ ทั้งได้อานิสงส์ด้วย

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ...ผู้ควรกรานกฐิน

กฐิน ในพระพุทธศาสนา [ตอนที่ ๑]

กฐิน ในพระพุทธศาสนา [ตอนที่ ๒]

กฐิน ในพระพุทธศาสนา [ตอนที่ ๓]

กฐิน ในพระพุทธศาสนา [ตอนที่ ๔]

กฐิน ในพระพุทธศาสนา [ตอนจบ]

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 12 ต.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น -พระพุทธศาสนา เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นคำสอนที่บริสุทธิ์อย่างยิ่ง เพราะเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก เป็นไปเพื่อขัดเกลาละคลายกิเลส จนกระทั่งสามารถดับได้ในที่สุด สำหรับชีวิตที่ต่างเพศกัน ระหว่างบรรพชิต กับ คฤหัสถ์

ก็ย่อมจะมีความประพฤติเป็นไปตามสมควรแก่เพศของตน โดยเฉพาะเพศบรรพชิต เป็นเพศที่จะต้องขัดเกลากิเลสเป็นอย่างยิ่ง เมื่อสละเพศคฤหัสถ์มุ่งสู่ความเป็นบรรพชิตแล้ว ย่อมไม่เหมือนกับคฤหัสถ์อย่างแน่นอน ทั้งเครื่องแต่งกาย ที่อยู่อาศัย การดำรงชีวิต และสิ่งที่สำคัญทีสุดก็คือ ศึกษาพระธรรมแล้วน้อมประพฤติตามพระธรรม เมื่อได้ศึกษาพระธรรมวินัยแล้ว ก็จะเห็นถึงความบริสุทธ์ของพระธรรมว่าเป็นไปเพือขัดเกลากิเลส ไม่ใช่เพิ่มกิเลส เมื่อเข้าใจอย่างนี้ก็จะสามารถดำเนินชีวิตให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย ไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และ น้อมประพฤติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ต่อไป -การศึกษาพระวินัย เป็นสิ่งทีจำเป็นมากสำหรับผู้ที่เป็นบรรพชิต (ถ้าคฤหัสถ์ ได้ศึกษา ด้วย ก็จะเป็นประโยชน์ด้วยเช่นกัน) จะทำให้ได้เข้าใจในแต่ละสิกขาบทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติ จะได้ไม่ล่วงละเมิดในส่วนที่พระองค์ทรงบัญญัติห้ามไว้ แม้แต่ในเรื่องกฐิน ก็เช่นเดียวกัน เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก เมื่อได้ศึกษาแล้วก็จะเข้าใจว่า ในวัดหนึ่งๆ ถ้ามีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ไม่ถึง ๕ รูป ไม่สามารถรับกฐินได้ (กฐิน เป็นเรื่องของผ้า ไม่เกี่ยวกับเงินทอง) จะไปนิมนต์มาจากวัดอื่นก็ไม่ได้ และที่น่าจะพิจารณาคือ จะรักษาพระวินัย หรือ จะกระทำผิดพระวินัย? ตามความเป็นจริงแล้ว วัดใดที่มีพระภิกษุไม่ถึง ๕ รูป ไม่สามารถรับกฐินได้ การไม่ได้รับกฐิน ไม่ได้ผิดพระวินัย เป็นเพียงไม่ได้รับอานิสงส์ของการรับกฐินเท่านั้น พระภิกษุในวัดนั้นๆ ก็สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ตามสมควรแก่ความเป็นบรรพชิต การไม่ได้รับกฐิน ไม่ได้เป็นเครื่องกั้นในการศึกษาพระธรรม และ อบรมเจริญปัญญาเลย แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้ากระทำไม่ถูกต้องแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ ก็ตาม ย่อมผิดพระวินัย การผิดพระวินัย ก็จะเป็นโทษแก่ภิกษุที่ล่วงละเมิด โดยส่วนเดียว ถ้าหากว่าเกิดมรณภาพในขณะที่ยังมีอาบัติติดตัวอยู่ ก็เป็นผู้มีอบายเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเท่านั้น, คฤหัสถ์ที่มีความรู้ในเรื่องของพระวินัย ก็สามารถกราบเรียนให้พระภิกษุในวัดนั้นๆ ได้ทราบก็ได้ว่า พระภิกษุอยู่จำพรรษาไม่ครบ ๕ รูป รับกฐินไม่ได้ และที่สำคัญ กฐิน พระภิกษุไม่สามารถไปขอจากคฤหัสถ์ได้เลย ถ้าเกิดจากการขอ นั่นไม่ใช่กฐิน การที่รู้ได้ว่า สิ่งใด ผิด สิ่งใด ถูกก็ต่อเมื่อได้ศึกษาพระธรรมวินัยแล้วมีความเข้าใจที่ถูกต้อง เท่านั้น ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pat_jesty
วันที่ 13 ต.ค. 2554

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ