อยากทราบเรื่องของกฐินอีกครับ

 
สมชายสมชาย
วันที่  22 ต.ค. 2554
หมายเลข  19922
อ่าน  1,698

บังเอิญเมื่อ 4-5 วันก่อนผมได้ไปร่วมงานทอดกฐินที่วัดในหมู่บ้านใกล้เคียงกันครับเมื่อทำ พิธีถวายกฐินเสร็จแล้ว ก็มีพระรูปหนึ่งท่านได้พูดเรื่องการรับกฐินและอานิสงส์กฐินท่าน พูดว่าในวัดที่มีพระจำพรรษาเพียงรูปเดียวก็สามารถทอดกฐินได้ และพระรูปเดียวก็รับ กฐินได้ และท่านได้พูดเรื่องอานิสงส์กฐินในส่วนของพระที่ได้รับว่าเมื่อได้รับกฐินแล้ว พระจะฉันอะไรเมื่อไรก็ได้ไม่ว่ากลางคืนดึกๆ ดื่นๆ ก็ฉันได้ผมเองก็งงๆ ท่านพูดถึงเรื่องฉัน คณะโภชนาและปรัมประโภชนาท่านว่าจะฉันอย่างไรก็ได้เมื่อได้รับกฐินแล้ว ท่านก็พูด ของท่านเรื้อยเปื่อยไป และครับทั้งพระทั้งโยมที่ไปร่วมงานก็นั่งฟังท่านโม้ไปอย่างนั้น แหละ แต่เท่าที่ผมพอจะทราบอยู่บ้างมันไม่เหมือนอย่างที่ท่านพูดเลยครับ

กระผมจึง ใคร่ขอรบกวนขอคำอธิบายให้หายข้องใจหน่อยครับ โดยเฉพาะเรื่องพระรูปเดียวรับกฐิน และเรื่องคณะโภชนาและปะรัมปะระโภชนาครับ

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 23 ต.ค. 2554

ตามพระวินัยของพระพุทธเจ้าที่ทรงบัญญัติไว้มีว่า การกรานกฐินเป็นสงฆกรรมประเภท หนึ่ง สังฆกรรมเป็นสงฆ์เป็นผู้ทำ ภิกษุรูปเดียวทำไม่ได้ ส่วนเรื่องการฉันอาหาร พระภิกษุ สามเณร จะฉันอาหารในเวลาวิกาล คือหลังเที่ยงวันไม่ได้ ไม่มีกรณียกเว้นใดๆ แม้แต่เวลาป่วย อาพาธก็ฉันไม่ได้

ขอเชิญคลิกอ่านกระทู้เกี่ยวกับกฐินที่ ...

ทอดกฐิน ต้องมีภิกษุอย่างต่ำกี่รูป

กฐิน ในพระพุทธศาสนา [ตอนที่ ๑]

กฐิน ในพระพุทธศาสนา [ตอนที่ ๒]

กฐิน ในพระพุทธศาสนา [ตอนที่ ๓]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
orawan.c
วันที่ 23 ต.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
สมชายสมชาย
วันที่ 23 ต.ค. 2554

คำว่า ปรัมปรโภชนา หมายความว่าอย่างไรครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prachern.s
วันที่ 24 ต.ค. 2554

คำว่า ปรัมปรโภชนา โดยศัพย์หมายถึงโภชนะทีหลัง อธิบายว่า อาหารที่เขา นิมนต์ทีหลัง คือเวลาคฤหัสถ์นิมนต์ภิกษุสงฆ์ไปฉันที่บ้าน ใครนิมนต์ก่อนให้ไป ฉันของเขาก่อน นิมนต์ทีหลังให้ไปฉันทีหลัง ถ้าพระฉันอาหารที่เขานิมนต์ทีหลัง ก่อน ฉันอาหารที่เขานิมนต์ก่อนทีหลัง เป็นอาบัติ คือต้องเรียงตามลำดับ

ดังข้อความในพระวินัยปิฎกว่า

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้าที่ 480 พระบัญญัติ

๓. เป็นปาจิตตีย์ เพราะโภชนะทีหลัง.

[๔๙๑] ที่ชื่อว่า โภชนะที่หลัง ความว่า ภิกษุรับนิมนต์ด้วยโภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งไว้แล้ว เว้นโภชนะนั้น ฉันโภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งอื่นนี่ชื่อว่า โภชนะทีหลัง


และมีการยกเว้นสิกขาบทนี้บางช่วง เช่น ในช่วงฤดูกาลที่เขาถวายจีวร เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เซจาน้อย
วันที่ 4 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 21 ต.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ