สงสัยเรื่องสติ ครับ

 
insight
วันที่  14 ธ.ค. 2554
หมายเลข  20166
อ่าน  2,049

๑. สงสัยประโยคที่ว่า "สติจะเกิดก็เกิดเอง ไม่มีใครบังคับให้เกิดได้" แล้วอย่างการทำอานาปานสติ ซึ่งต้องรู้ลมหายใจ ซึ่งมันเกิดจากการรู้ที่มีแรงชักจูงให้รู้ อย่างนี้มันก็ไม่ได้เกิดเอง แต่เราต้องใช้การกำหนดไว้เล็กน้อยซึ่งประโยคดังกล่าวยังสงสัยครับ ว่าถูกรึเปล่า

๒. แล้วคำว่า "กำหนดรู้" ในมหาสติปัฏฐาน หมายความว่าอะไรครับ

๓. ปัญญา นั้นมาจากการมีสติใช่มั้ยครับ

๔. การเจริญสติ ตัวอย่าง คือ โกรธ บางทีก็เห็นเลยว่าโกรธ อย่างนี้ถูกมั้ยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 14 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. สติและปัญญาเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ เพราะเป็นธรรมไม่ใช่เรา แม้แต่การกำหนดลมหายใจ ไม่มีใครกำหนด แต่เมื่อไหร่ที่สติและปัญญาเกิดในขณะนั้น ชื่อว่าเป็นการระลึกลักษณะที่ปรากฏที่ลมหายใจครับ จึงไม่ต้องไปทำ ไปพยายามกำหนดให้สติเกิด เพราะเมื่อสติจะเกิด หรือปัญญาจะเกิดย่อมเกิดเอง โดยไม่มีการบังคับ เพราะบังคับไม่ได้ เป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา แต่เมื่อไหร่ที่จะพยายามกำหนดให้รู้ที่ลมหายใจเป็นตัวเรา คือเป็นโลภะที่ต้องการจะรู้ ไม่ใช่สติและปัญญาครับ


๒. กำหนดรู้ ไม่ใช่ตัวเราที่กำหนดรู้ แต่เป็นสติและปัญญาที่เกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้น รู้ด้วยปัญญา ระลึกรู้ด้วยสติว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เราครับ ดังนั้น กำหนดรู้ คือสติและปัญญากำหนดรู้ เมื่อเป็นสติและปัญญา จึงเป็นธรรม ไม่ใช่เราที่จะพยายามกำหนดรู้ สติและปัญญาเป็นอนัตตา บังคับให้เกิดก็ไม่ได้ บังคับให้กำหนดรู้ก็ไม่ได้ครับ

๓. ปัญญามาจากการฟัง ศึกษาพระธรรม จากการฟังเรื่องสภาพธรรมหรือเรื่องต่างๆ ที่เป็นพระธรรมของพระพุทธเจ้า มีสติแต่ไม่มีปัญญาก็ได้ แต่มีปัญญาแล้วต้องมีสติเสมอครับ เพราะฉะนั้น ปัญญาจึงเป็นธรรมอุปการะมากกับสติ แต่ไม่ได้หมายความว่า พยายามทำสติเพื่อให้มีปัญญาครับ

๔. สติปัฏฐานละเอียดลึกซึ้ง ไม่ใช่ปัญญาขั้นการคิด ขณะที่โกรธก็รู้ว่าโกรธ ใครก็รู้ได้ครับ แต่เป็นการคิดนึกถึงตัวโกรธ ไม่ได้รู้ว่าโกรธเป็นธรรม คือไม่ได้รู้ตรงลักษณะของโกรธจริงๆ ครับ ดังนั้น ปัญญาขั้นคิดนึกถึงความโกรธ กับปัญญาที่รู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นความโกรธ ที่เป็นการเจริญสติปัฏฐานนั้นต่างกันมากครับ เพราะต้องรู้ลักษณะ และต้องรู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เราด้วยครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 14 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ไม่สามารถบังคับให้เกิดขึ้นได้ แม้แต่สติและปัญญาก็เช่นเดียว ไม่สามารถบังคับให้เกิดขึ้นได้ แต่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย การที่สติปัฏฐานจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องมีเหตุสำคัญมาจากการได้ฟังพระธรรมบ่อยๆ เนืองๆ ฟังในเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงในชีวิตประจำวัน สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ, สภาพธรรมที่มีจริงทุกอย่าง เป็นที่ตั้งให้สติและปัญญาเกิดขึ้นระลึกรู้ตามความเป็นจริงได้ ไม่ว่าจะเป็นสภาพธรรมใดก็ตาม โดยไม่เลือกโดยไม่เจาะจง ขึ้นอยู่กับว่าสภาพธรรมใดจะปรากฏ สำคัญอยู่ที่ความเข้าใจถูกเห็นถูกตั้งแต่ต้นจริงๆ ไม่ใช่เรื่องของตัวตนที่ไปกำหนดรู้ แต่เป็นเรื่องของปัญญาที่เป็นความเข้าใจถูกเห็นถูกเท่านั้นจริงๆ ครับ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
insight
วันที่ 14 ธ.ค. 2554

ผมยังสงสัยข้อ ๑ และข้อ ๔ อยู่ครับ ที่ว่า จึงไม่ต้องไปทำ ไปพยายามกำหนดให้สติเกิด แล้วที่ถูกต้องควรรอเขาเกิดเองเหรอครับ แสดงว่าเราต้องรอเค้าอย่างเดียว นั่งดูลมหายใจ ก็รอสติมาเองอย่างนั้นเหรอครับ แล้วประโยคอีกอันในมหาสติปัฏฐาน ที่ว่า "ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า" สติตรงนี้มาจากไหนครับ


ข้อ ๔. ต้องรู้ลักษณะ และต้องรู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ต้องรู้ลักษณะที่ว่านี้ รู้ยังไงครับ แล้วต้องรู้ถึงขนาดที่ว่าธรรมไม่ใช่เราด้วยเหรอครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 14 ธ.ค. 2554

เรียน ความเห็นที่ 3 ครับ

ผมขอยกตัวอย่างนะครับ สิ่งใดที่สะสมมามาก สิ่งนั้นเกิดเองโดยไม่ต้องไปพยายาม เช่น เคยคิดบ้างไหมครับ หรือมีความพยายามบ้างไหมครับที่จะให้กิเลสเกิด หรือว่าไม่ต้องพยายามที่จะให้กิเลสเกิดเลย เช่น โลภะ ความติดข้อง แม้ไม่พยายาม กิเลสก็เกิดแล้ว อย่างรวดเร็วเลยใช่ไหมครับ เพราะอะไร เพราะสะสมมาเนิ่นนาน และสะสมมามากไม่ต้องทำ พยายามให้กิเลสเกิด กิเลสเกิดเอง ทันที อย่างรวดเร็ว เพราะสะสมมานานและมาก

ส่วนสภาพธรรมที่เป็นฝ่ายดี คือสติและปัญญา สะสมมามากหรือยังครับ ยังครับ เมื่อยังจะพยายามให้เกิดได้ไหม ก็ไม่ได้ครับ เพราะเป็นอนัตตา ต่อเมื่อใดสะสมมามาก อันอาศัยการฟังพระธรรม เมื่อสะสมมามาก สะสมความเข้าใจขั้นการฟัง เมื่อนั้นก็จะเกิดเอง ทำนองเดียวกับกิเลสนั่นเองครับที่เกิดเอง เพราะสะสมมามากแล้ว ไม่ต้องพยายามที่จะทำ ทำนองเดียวกับกิเลส ที่ไม่พยายาม เขาก็เกิดเองถูกไหมครับ สติและปัญญาก็เช่นกัน เพราะเป็นธรรมเช่นเดียวกับกิเลสครับ ต้องอาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น ไม่ใช่ความพยายามที่จะให้เกิดครับ แต่ต้องอาศัยการอบรมการฟังพระธรรมยาวนานครับ


แล้วประโยคอีกอันในมหาสติปัฏฐาน ที่ว่า "ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า" สติตรงนี้มาจากไหนครับ

- สติและปัญญาที่เกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ (เฉพาะหน้า) เกิดได้ก็ด้วยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม แต่ไม่ใช่ด้วยความพยายามที่จะทำ จะจดจ้องครับ เมื่ออบรมเหตุจนถึงพร้อม สติและปัญญาก็เกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเฉพาะหน้าเองครับ


ข้อ ๔. ต้องรู้ลักษณะ และต้องรู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ต้องรู้ลักษณะที่ว่านี้ รู้ยังไงครับ แล้วต้องรู้ถึงขนาดที่ว่าธรรม ไม่ใช่เราด้วยเหรอครับ

- ไม่ใช่ต้องระลึกยังไงครับ ตราบใดที่ปัญญาเรายังไม่ถึงจุดนั้น แต่กระผมกำลังอธิบายว่า สติปัฏฐานที่ถูกต้องนั้น จะต้องเป็นปัญญาที่รู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เราในขณะนั้นด้วย ดังนั้น เมื่อยังไม่รู้อย่างนั้น ก็แสดงว่า สิ่งที่คิดว่าเป็นสติปัฏฐานก็ไม่ใช่ครับ เพราะขณะที่สติปัฏฐานเกิด จะมีลักษณะของสภาพธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อรู้ลักษณะของสภาพธรรม ขณะนั้นจะมีเพียงธรรมนั้นที่ปรากฏ ไม่มีสัตว์ บุคคล สิ่งต่างๆ เลย จึงเข้าใจว่าเป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่เราครับ ดังนั้น ขอให้เริ่มกลับมาสู่ความเข้าใจเบื้องต้นใหม่ แม้แต่หนทางการอบรมปัญญาที่ถูกต้องว่าจะต้องเริ่มจากการฟังพระธรรมให้เข้าใจก่อนครับ แม้แต่คำว่า ธรรมคืออะไร ให้เข้าใจครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วิริยะ
วันที่ 14 ธ.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
insight
วันที่ 14 ธ.ค. 2554

ขอบคุณสำหรับคำตอบมากๆ ครับ ^ ^

คือผมเองนั่งรู้ลมหายใจ เข้าก็รู้ ออกก็รู้ แล้วขณะที่รู้ลม มันก็จะมีความคิดโผล่ พอผมเห็น/รู้ความคิดนั้น ความคิดนั้นมันก็จะหยุดแค่นั้น เหมือนดับไป จากนั้นก็มารู้ลมต่อไป แล้วสักพักความคิดก็มาอีก ก็เห็นความคิดอีก มันจะแบบรู้ลม เห็นความคิด ความคิดดับรู้ลมต่อ วนๆ ไป แต่ระยะเวลากว่าจะเห็นความคิด บางทีมันก็นานกว่าจะเห็น บางทีก็เร็ว บางทีก็คิดเพลิน แล้วสักพักก็รู้ว่าความคิดเกิด แต่ตอนรู้มันเหมือนกับว่า อยู่ดีๆ มันก็รู้/เห็นความคิดเอง แล้วมันก็ตัดวงจรความคิดปั๊บ เห็นความคิดดับไป มาเป็นการรู้ลมต่อแทน แต่ผมไม่ได้รู้เรื่องที่คิดนะครับ เห็นแค่ว่าเป็นสภาพของการคิด แล้วพอรู้ปุ๊บมันก็ตัดชั้วะไปเลย

คือก็ศึกษา ฟังมาตั้งแต่เด็กยันเข้ามหาลัย เพราะคุณแม่ชอบเปิดของอาจารย์ กับธรรมอื่นๆ ฟังแล้วพิจารณาไปด้วย ก็เห็นว่ามันจริง แต่พอฟังประโยคนี้แล้ว เอ๊ะ สงสัย ก็อยากถามให้ชัวร์เหมือนกัน เพราะกลัวว่าเราทำผิดหรือนี่ เพราะผมปฏิบัติ กับศึกษาปริยัติไปพร้อมกันด้วย เพื่อความชัวร์ แล้วก็กลัวพลาดมากที่สุด ของที่สุดครับ ^ ^"

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 14 ธ.ค. 2554

เรียน ความเห็นที่ 6 ครับ

อยากจะให้เริ่มจากความเข้าใจถูกเบื้องต้น ในขั้นการฟังนะครับ แต่ไม่ใช่จะเลือกไปปฏิบัติ เช่น จะพยายามเจริญอานาปานสติ ซึ่งจากที่ได้อ่านมานั้น ก็ไม่ได้มีปัญญาที่รู้ความจริงของสภาพธรรมเลย ซึ่งก็ต้องเข้าใจคำว่า ปฏิบัติ คือการระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีในชีวิตประจำวัน ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา แต่ไม่ใช่คือการตามระลึกลมหายใจ และปัญญาก็ไม่รู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ซึ่งไม่ถูกต้องนะครับในสิ่งที่ปฏิบัติ ดังนั้น ถ้ากลัวที่จะผิดพลาดที่สุด ก็หยุดในสิ่งที่ทำ ที่ปฏิบัติอยู่ครับ แล้วกลับมาฟังพระธรรมอย่างเดียว เพราะในความเป็นจริง ถ้าความเข้าใจไม่พอก็ปฏิบัติไม่ได้ และปฏิบัติผิด และปฏิบัติก็ไม่ใช่การรู้ลมหายใจ โดยที่ปัญญาไม่รู้ว่าเป็นธรรมครับ

เข้าใจผิดแต่หยุด ดีกว่าเข้าใจผิดแต่เดินต่อไปครับ ฟังพระธรรมเท่านั้นครับ เพราะปริยัติไม่ได้แยกจากปฏิบัติ สอดคล้องกันอยู่ครับ ขอให้พิจารณานะครับและถ้าเลิก หยุดได้ และกลับมาฟังพระธรรม นี่แหละครับคือการเริ่มที่ประเสริฐที่สุดครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
insight
วันที่ 14 ธ.ค. 2554

อ้าวเหรอครับ

แล้วฟังอย่างเดียว แล้วไม่ปฏิบัติ แล้วธรรมนั้นจะเกิดประโยชน์เหรอครับ แล้วถ้าขณะฟัง ใจฟุ้งซ่านจะทำยังไงล่ะครับ ก็ต้องฟังต่อไปเรื่อยๆ รึเปล่าครับ เพราะพระพุทธเจ้าเองท่านก็ตรัสรู้ด้วยการปฏิบัติ ไม่ใช่หรือครับ อดีตก็บำเพ็ญเพียรมาเหมือนกัน ทั้งฟัง ทั้งปฏิบัติ ซึ่งพระองค์ก็บอกพระอานนท์ก่อนปรินิพพานไว้ว่า อานนท์ จงประกอบความเพียรเถิด เธอจักเป็นผู้ไม่มีอาสวะโดยฉับพลัน เพียรในที่นี้ หมายถึง ฟัง หรือปฏิบัติ ครับ ตกลงคือเราต้องฟังอย่างเดียวเหรอครับ ถามเยอะนิดนึง คงไม่ว่ากันนะครับ คือต้องการเข้าใจจริงๆ ครับ ตอนนี้ผมเริ่มสับสนแล้วเหมือนกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 14 ธ.ค. 2554

เรียน ความเห็นที่ 8 ครับ

ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจคำว่า ปฏิบัติ ให้ถูกต้องก่อนครับ ก็จะทำให้เข้าใจว่า สิ่งที่ทำอยู่เป็นการปฏิบัติหรือไม่ครับ ซึ่งอาศัยการฟัง การปฏิบัติก็จะเกิดขึ้นเองครับ แม้พระอริยสาวกท่านได้ฟังพระธรรมก็ได้บรรลุ เช่น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขาอุบาสิกา ท่านก็ไม่ได้มากำหนดลมหายใจ ท่านฟังธรรมก็ได้บรรลุธรรม ดังนั้น เราก็จะต้องมาเข้าใจว่า ปฏิบัติที่ถูกต้องคืออะไรกันแน่ครับ และถ้าไม่ฟังให้เข้าใจให้ถูกต้องก่อน ปฏิบัติจะถูกต้องหรือไม่ครับ และเราจะปฏิบัติดังเช่น พระพุทธเจ้า หรือเราเป็นเพียงสาวก ดังเช่น ท่านอนาถ หรือนางวิสาขา ครับ แต่เพราะอาศัยการฟังพระธรรม เมื่อปัญญาเจริญขึ้น ก็จะทำให้สติและปัญญาเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ขณะนั้นเป็นการปฏิบัติแล้ว ไม่ต้องไปทำปฏิบัติอะไรเลย แม้แต่การทำความเพียร ก็ต้องเข้าใจว่า วิริยเจตสิกเกิดกับจิตเกือบทุกประเภท ดังนั้น ความเพียรที่ถูกต้อง ต้องประกอบด้วยปัญญา คือมีความเข้าใจหนทางที่ถูกต้องครับ ลองอ่านกระทู้เหล่านี้ดูนะครับ จะเป็นประโยชน์มากๆ ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ...

ศึกษาพระธรรม กับ ปฏิบัติธรรม

การปฏิบัติธรรม

จะเริ่มปฏิบัติธรรมในขั้นสูงต้องเริ่มอย่างไรครับ สาธุ ...

ปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การไปทำปฏิบัติ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
insight
วันที่ 14 ธ.ค. 2554

สาธุๆ

อ่อ คือไม่ต้องทำอะไรเลย นั่งเฉยๆ ฟังอย่างเดียวจนเข้าใจ แค่นั้นใช่มั้ยครับ อีกอันคือจะรู้ได้ไงว่าถ้าความเข้าใจเราพอแล้ว ฟังที่ว่านี้ = อ่านพระไตรปิฎกด้วยตัวเองได้มั้ยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 15 ธ.ค. 2554

เรียน ความเห็นที่ 10 ครับ

ก่อนอื่นก็ต้องรู้ว่า อะไรที่ทำ เรา หรือธรรมครับ ซึ่งความจริง เรา ไม่มี มีแต่ธรรมทั้งนั้น จึงไม่มีเราที่จะทำ แต่ธรรมเกิดทำหน้าที่ ดังนั้น อาศัยการฟังพระธรรม ที่เป็นเหตุให้เกิดปัญญา เมื่อฟังพระธรรมไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น จนถึงการที่สติและปัญญาเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรม ที่เป็นธรรม ไม่ใช่เรา ขณะนั้น ชื่อว่า ปฏิบัติ และจะรู้ว่าความเข้าใจพอแล้ว ไม่ต้องอบรมอีก คือถึงความเป็นพระอรหันต์ ดังนั้น จึงไม่มีคำว่าพอ สำหรับการอบรมปัญญาเลยครับ

ส่วนที่กล่าวว่า ฟัง ที่ว่านี้ อ่านพระไตรปิฎกเองได้ไหม

การอ่านพระไตรปิฎก เป็นสิ่งที่ยาก หากเรายังไม่มีความเข้าใจพื้นฐานเบื้องต้นของธรรมครับ ดังนั้น ต้องอาศัยกัลยาณมิตรผู้ที่มีปัญญา ฟังธรรมจากท่านเหล่านั้น ที่ได้นำพระธรรมจากพระไตรปิฎกให้เข้าใจอยู่แล้ว ฟังธรรมจากท่าน มีท่านอาจารย์สุจินต์ ซึ่งในเว็บนี้ มีไฟล์ฟังธรรมมากมาย ในหมวด ฟังธรรม ขณะที่ฟังธรรมเหล่านั้น ก็เป็นการอ่านหรือศึกษาพระไตรปิฎกแล้ว เพราะอธิบายมาจากพระไตรปิฎกครับ และเมื่อมีความเข้าใจพื้นฐานที่ถูกต้องพอสมควรแล้ว จึงค่อยๆ อ่านพระไตรปิฎก แต่ก็ต้องอาศัยการสอบถามจากผู้รู้ เพราะอาจจะเข้าใจผิด คิดเอาเองก็ได้ครับ ก่อนอื่น ฟังพระธรรมตามที่ผมแนะนำในหมวดฟังธรรมในเว็บก่อนนะครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
khampan.a
วันที่ 15 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การที่ปัญญาจะเจริญขึ้นได้นั้นต้องอาศัยเหตุ คือ การฟัง การศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ด้วยความละเอียดรอบคอบ ด้วยความอดทนและจริงใจพร้อมทั้งตั้งจิตไว้ชอบด้วย ว่า ศึกษา ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกเท่านั้น และการศึกษานั้น จะจากการฟัง การสนทนา การสอบถาม การอ่านพระไตรปิฎก การไตร่ตรองทบทวนพระธรรมที่ได้ยินได้ฟัง ล้วนเป็นการศึกษาทั้งนั้น เพราะทั้งหมด จากไม่รู้ เป็นรู้ขึ้น นี้แหละคือการศึกษา เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกยิ่งขึ้น อันดับแรก ยังไม่ต้องคิดถึงสติปัฏฐาน ยังไม่ต้องคิดถึงเรื่องปฏิบัติ แต่ขอให้เริ่มต้นจากการศึกษาให้เข้าใจว่า ขณะนี้เป็นธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรม ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ ศึกษาพระธรรมต่อไป จะเห็นได้ว่า พระพุทธศาสนา เป็นคำสอนที่เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก เป็นไปเพื่อละตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่ใช่สอนให้ไปทำอะไรด้วยความเป็นตัวตนหรือด้วยความไม่รู้ครับ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
insight
วันที่ 15 ธ.ค. 2554

สาธุๆ ขอบคุณในคำตอบครับ ^ ^

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 15 ธ.ค. 2554

ชอบที่อาจารย์ผเดิมยกตัวอย่างว่า โลภะเกิดขึ้นโดยไม่ต้องไปพยายามทำให้เกิดก็เกิด โทสะจะเกิดขึ้นก็ไม่ต้องไปพยายาม เกิดขึ้นเอง ทั้งนี้ก็เนื่องจากสะสมเหตุมามาก ในทางตรงกันข้าม สติหรือปัญญาจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องด้วยการสะสมเช่นกัน ไปพยายามให้เกิด ย่อมไม่เกิด

แต่ที่สำคัญที่สุด คือสะสมสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ หากไปสะสมการประพฤติปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง ย่อมไม่เป็นการสะสมเหตุปัจจัยที่จะทำให้สติและปัญญาที่แท้จริงเกิดได้ เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ที่ไปทำมา เป็นประสบการณ์ที่ผมโดนกับตัวเองมาแล้ว ก็ต้องเน้นการพิจารณาเรื่องนี้เป็นสำคัญนะครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิม, อาจารย์คำปั่น, คุณinsight และทุกๆ ท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
วิริยะ
วันที่ 15 ธ.ค. 2554

เรียนถาม

ขอเรียนถามต่อค่ะ ว่า การฟังพระธรรม การศึกษาพระธรรม การมีกัลยาณมิตรในการให้ความรู้ในเรื่องพระธรรม ในเบื้องต้น เพื่อให้เข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรม ไม่มีตัวเรา ทีนี้ ดิฉันได้ยินคำว่า สังขารขันธ์ปรุงแต่ง จากท่านอาจารย์สุจินต์บ่อยครั้ง อยากทราบว่า ฟังพระธรรมแล้ว สังขารขันธ์ ปรุงแต่งอย่างไร สังขารขันธ์ หมายถึง เจตสิก ๕ ใช่หรือไม่

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
paderm
วันที่ 15 ธ.ค. 2554

เรียน ความเห็นที่ 15 ครับ

สังขารขันธ์ หมายถึง เจตสิก ห้าสิบดวง ซึ่งมีทั้งอกุศลเจตสิกและเจตสิกฝ่ายดีด้วย แต่เมื่อพูดถึงการอบรมปัญญา มุ่งหมายถึงเจตสิกฝ่ายดีบางประการเท่านั้น ไม่ใช่เจตสิกห้าสิบดวงทั้งหมดครับ คือเจตสิกที่เป็นฝ่ายดี มีศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ ปัญญา คือธรรมฝ่ายดี เป็นต้นครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
jaturong
วันที่ 15 ธ.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
peem
วันที่ 15 ธ.ค. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
insight
วันที่ 15 ธ.ค. 2554

ผมเข้าใจในส่วนที่บอกมา

แต่ยังสงสัยอีกหน่อยนึง คือ

ทำไมบางคนอ่านพระไตรปิฎกตั้งหลายรอบแล้ว (เช่น พระที่ต้องศึกษาพระไตรปิฎก บางท่านก็อ่านจนจบทุกเล่ม หรือฆาราวาสเองหลายๆ คนก็อ่าน ศึกษา พิจารณาไป) แต่ทำไมก็ไม่เห็นแจ้งในอริยสัจจธรรม

หรือว่าต้องอ่าน/ศึกษา หลายๆ รอบครับ ถึงจะเห็น

แล้วถ้าเราศึกษาในพระไตรปิฎกหมดจนครบหลายๆ ๆ ๆ ๆ รอบ แล้วมันจบแค่นั้นเหรอครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
paderm
วันที่ 15 ธ.ค. 2554

เรียน ความเห็นที่ 20 ครับ

การศึกษาธรรม ต้องใช้เวลาอบรมยาวนาน ไม่เพียงชาตินี้ชาติเดียว ต้องอบรมนับชาติไม่ถ้วน ดังนั้น เพียงชาตินี้ แม้จะศึกษาตลอดชีวิต ฟังพระธรรม ปัญญาก็ยังน้อยอยู่ เพราะสะสมอวิชชาความไม่รู้มามากครับ จึงต้องฟังพระธรรมต่อไปเรื่อยๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
debit_a
วันที่ 15 ธ.ค. 2554

ขอสงสัยด้วยคนค่ะ คือประโยคในมหาสติปัฏฐาน

เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอด เรา ในที่นี้หมายถึงอะไรคะ สภาพธรรมหรือเราคะ เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอด อันนี้หมายความว่าอะไรคะ แล้วเวลาสติเกิดจะรู้ได้อย่างไรว่านั่นเป็นลักษณะของสติ ถ้าไม่เป็นการรบกวน คุณ paderm พอจะอธิบายแบบง่ายๆ เกี่ยวกับสติได้มั้ยคะ เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นของดิฉัน เช่น สภาพคิดเกิดขึ้น แล้วทำอย่างไร โดยเราเข้าใจสภาพคิดแล้วนะคะว่าเป็นอกุศลอย่างหนึ่ง เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ที่ไม่ใช่เขา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล หรือว่าคิดก็คิดไป ฟังพระธรรมอย่างเดียว รอสติมา อย่างที่บอกไว้ข้างบนคะ สงสัยในเรื่องของปัญญาค่ะว่าต้องมาจากการฟังเท่านั้นหรือคะ เพราะเท่าที่ศึกษามา ปัญญามาได้ด้วยกัน ๓ ทาง คือ ๑. โดยการสดับตรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน (สุตมยปัญญา) ๒. โดยการคิดค้น การตรึกตรอง (จินตามยปัญญา) ๓. โดยการอบรมจิต การเจริญภาวนา (ภาวนามยปัญญา)

ขอบคุณค่ะ ^ ^

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
เซจาน้อย
วันที่ 15 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
paderm
วันที่ 15 ธ.ค. 2554

เรียน ความเห็นที่ 23 ครับ

สำหรับในพระสูตรที่แสดงเรื่องสติปัฏฐาน แม้แต่เรื่องการรู้ลมหายใจ ผู้ที่อ่านพระสูตร ก็ตัองเข้าใจให้สอดคล้องกับพระอภิธรรมด้วยครับว่า มีแต่ธรรม ไม่ใช่เรา แต่เมื่อกล่าวโดยนัยพระสูตร แสดงถึง สัตว์ บุคคล สมมติให้รู้ว่าหมายถึง เรา แต่เราไม่มี มีแต่ ธรรม ดังนั้น เมื่กล่าวโดยสมมติ คือ เรา แต่ขณะที่ระลึกรู้ลมหายใจ มีสภาพธรรมปรากฏ ขณะที่ระลึก ไม่ใช่เราระลึก เป็นสติที่ทำหน้าที่เกิดขึ้น และขณะที่รู้ความจริง ไม่ใช่เราที่รู้ความจริง เป็นปัญญาที่ทำหน้าที่รู้ความจริงครับ และไม่มีเราที่กำหนดรู้ลมหายใจ แต่เป็นเพียงสภาพธรรมที่เป็นสติและปัญญา ที่เกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมขณะที่หายใจครับ แต่เมื่อกล่าวโดยพระสูตร จึงใช้คำสมมติ มีเรา มีสัตว์ บุคคล แต่การศึกษาธรรมต้องสอดคล้องทั้ง ๓ ปิฎก จึงไม่มีเรา มีแต่ธรรมครับ

ส่วนที่ถามว่า

เช่น สภาพคิดเกิดขึ้น แล้วทำอย่างไร โดยเราเข้าใจสภาพคิดแล้วนะคะ ว่าเป็นอกุศลอย่างหนึ่ง เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ที่ไม่ใช่เขา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล หรือว่าคิดก็คิดไป ฟังพระธรรมอย่างเดียว รอสติมา อย่างที่บอกไว้ข้างบนคะ

การคิดถึงสภาพธรรมว่าเป็นอกุศล ที่ไม่ใช่เรา กับขณะที่สติปัฏฐานเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังคิดที่ตรงลักษณะ แตกต่างกันครับ เพียงการคิด ไม่ใช่การรู้ตรงลักษณะ ไม่ใช่สติปัฏฐานครับ ซึ่งสติปัฏฐานจะเกิด ก็ต้องเป็นอนัตตา จึงไม่ใช่รอ หรือไม่รอ แต่เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม สติก็เกิดครับ จึงไม่มีเรา ไม่มีตัวตนที่จะรอเลย หรือไม่รอ แต่เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม สติก็เกิดเองครับ

และจากคำถามที่ว่า ปัญญาเกิดจากการฟัง ศึกษาพระธรรมเท่านั้นหรือ? ซึ่งผู้ถามได้ยกมาว่าปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณา และปัญญาขั้นภาวนาก็มี

ซึ่งจากที่กระผมได้กล่าวว่าปัญญาเกิดได้จากการฟัง ศึกษาพระธรรม แสดงถึงปัญญาเบื้องต้น จะเกิดได้ก็ด้วยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมก่อนครับ ถ้าไม่มีปัญญาเบื้องต้นแล้ว จินตามยปัญญาที่เป็นปัญญาขั้นคิดพิจารณาก็เกิดไม่ได้ และปัญญาขั้นภาวนาก็เกิดไม่ได้ หากขาดปัญญาเบื้องต้นครับ ดังนั้น ต้องเริ่มจากพื้นฐานความเข้าใจขั้นการฟัง ศึกษาพระธรรมเป็นเบื้องต้น เมื่อมีปัญญาขั้นนี้แล้ว ก็จะค่อยๆ ถึงปัญญาขั้นสูงต่อไปได้ครับ หากไม่ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมแล้ว ปัญญาขั้นสูงต่างๆ จะเกิดขึ้นได้อย่างไร

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
debit_a
วันที่ 15 ธ.ค. 2554

อนุโมทนาค่ะ ^ ^ ว่าแต่พอมีข้อความจากพระไตรปิฎกมั้ยคะ ที่ว่า เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม สติก็เกิด เพราะหาความหมาย สตินทรีย์ / สติจากหลายๆ เล่มอยู่เหมือนกันค่ะ ^ ^

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
paderm
วันที่ 16 ธ.ค. 2554

เรียน ความเห็นที่ 26 ครับ

ไม่ได้มีข้อความตรงๆ ที่กล่าวเช่นนั้นครับ แต่หากเป็นผู้ที่ได้ศึกษา คัมภีร์ปัจจัย อันแสดงถึงสภาพธรรมทั้งหลาย อาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น สติก็เป็นธรรม อาศัยเหตุปัจจัยพร้อมจึงเกิดขึ้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 29  
 
debit_a
วันที่ 16 ธ.ค. 2554

ขอบคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 30  
 
chatchai.k
วันที่ 21 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ