ถ้าไม่มีสมาธิที่ตั้งมั่นดีก่อน แล้วจะระลึกรู้สภาพธรรม ได้อย่างไร?
ถ้าไม่มีสมาธิที่มั่นคงดีก่อน (หมายถึงกุศลจิตที่เกิดต่อเนี่อง) แล้วจะระลึกรู้สภาพธรรมได้อย่างไร? สภาพธรรมเกิด ดับ รวดเร็วมากกว่าความเร็วของแสง
ขอความคิดเห็นด้วยครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม กิจ หน้าที่ที่ทำหน้าที่ระลึก คือ สติ ไม่ใช่ สมาธิ สมาธิทำกิจหน้าที่ตั้งมั่นในอารมณ์นั้นครับ
ขณะนี้เพียงเห็นใช่ไหมครับ เห็นเกิด อกุศลเกิดต่อทันที ติดข้อง ชอบแล้วโดยไม่รู้ตัวรวดเร็วถึงปานนั้น คือ อกุศลเกิดแทรกขึ้นได้ทันทีอย่างรวดเร็ว ทั้งๆ ที่ จิตเกิดดับรวดเร็วกว่าแสง แต่อกุศลจิตก็เกิดได้ทันทีรวดเร็ว ขณะนี้ ได้ยิน เพียงแค่ได้ยิน อกุศลเกิดได้ทันที ชอบในเสียงที่ได้ยิน หรือ ไม่ชอบในเสียงที่ได้ยิน อกุศลเกิดต่ออย่างรวดเร็ว ทั้งๆ ที่จิตเกิดดับ รวดเร็วกว่าแสง แต่ทำไม อกุศลก็เกิดต่อได้อย่างรวดเร็ว นี่คือ สัจจะ ความจริงของสภาพธรรมที่เป็นอกุศลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ต่อจากสภาพธรรมที่เกิดขึ้น นี่คือการมองมุมกลับของฝ่ายอกุศลที่เกิดต่ออย่างรวดเร็วได้ หลังจากสภาพธรรมนั้นเกิดขึ้นและดับไป อกุศลก็เกิดต่อทันที ทำไมล่ะครับ ถึงเกิดอกุศลเกิดต่อได้ และเกิดได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อสภาพธรรมที่เพิ่งดับ ก็เพราะว่า อกุศลนั้น สะสมมาเนิ่นนานนับชาติไม่ถ้วน จนชำนาญ ว่องไว เพียงเห็น สภาพธรรมที่เห็นดับไป อกุศลสามารถเกิดต่ออย่างรวดเร็ว เพราะสะสมมามาก และบ่อยๆ นับชาติไม่ถ้วน ฉันใด การอบรมเจริญสติปัฏฐาน คือ ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้
สำคัญที่ สติและปัญญา ไม่ใช่สมาธิ แต่เพราะไมได้สะสมปัญญามามาก ก็ทำให้สติไม่สามารถเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรม เช่น เห็น เมื่อเห็นเกิดขึ้น เห็นดับไป ปัญญาก็ไม่เกิดต่อ พร้อมสติที่ระลึกว่าเป็นธรรมใช่เรา เพราะอะไรครับ เพราะสะสมปัญญามาน้อย ไม่ใช่สะสมสมาธิมาน้อย จึงทำไม่เกิดสติและปัญญาระลึกลักษณะของสภาพธรรมนั่นเอง แต่เมื่อมีการสะสมปัญญามามาก ไม่ใช่สะสมสมาธิมามากนะครับ ก็ทำให้ปัญญาและสติ สามารถเกิดแทรก สภาพธรรมที่เป็นเห็นที่ดับไปและรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราได้ ดังเช่น อกุศลเกิดแทรก หลังจากเห็นที่ดับไปนั่นเองครับ จึงไม่ใช่เรื่องของสมาธิที่จะทำให้ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดดับอย่างรวดเร็วทัน แต่ เป็นปัญญาต่างหากที่คมกล้า จึงจะสามารถรู้การเกิดดับของสภาพธรรมที่เกิดดับอย่างรวดเร็ว
ซึ่งหากได้ศึกษาธรรมอย่างละเอียด โดยเฉพาะเรื่องวิปัสสนาญาณ ญาณ เป็นชื่อของปัญญา นะครับ ไม่ใช่สมาธิที่เป็น ฌาน วิปัสสนาญาณที่ ๓ และ ๔ คือ สัมมสนญาณและ อุทยัพพยญาณ คือ ปัญญาที่เห็นการเกิดดับของสภาพธรรม ซึ่งวิปัสสนาญาณ ขั้นที่ ๓ และ ๔ เป็นขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ ที่ไม่ใช่ สมาธิตั้งมั่นเป็นฌานนะครับ ดังนั้นจึงไม่ใช่จะต้องมีสมาธิเป็นอุปจารสมาธิ หรือ ถึงขั้นฌานจะทำให้เห็นการเกิดดับของสภาพธรรม แต่ ปัญญาต่างหากที่เป็นญาณ ไม่ใช่ ฌานที่จะเห็นการเกิดดับของสภาพธรรมที่เป็นวิปัสสนาญาณที่ ๓ และ ๔ ครับ
ขออนุโมทนา
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
* * การระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม กิจ หน้าที่ที่ทำหน้าที่ระลึก คือ สติ ไม่ใช่ สมาธิ สมาธิทำกิจหน้าที่ตั้งมั่นในอารมณ์นั้นครับ * * *
ขออนุญาตโต้แย้ง * *
สติ และปัญญาเกิดร่วมกับกุศลจิต ใช่ไหม? สมถก็เป็นมหากุศลณานสัปยุตต ถ้าสติคุณเกิดได้ทัน สมาธิคุณไม่มั่นคง ปัญญาเจตสิกต้องเกิดต่อมา (ใช้พิจารณาธรรม) ซึ่งจะต้องเกิดกับกุศลจิตซึ่งไม่มีกำลังและความเร็ว ไม่คมพอ ไม่ต่อเนื่อง ก็คงจะมีประโยชน์ไม่มากนัก ช (เพราะสาเหตุใด?) เพราะไม่ฟังธรรมะ บ่อยๆ เนืองๆ หรือ? ขอให้เสนอความคิดเห็นโต้แย้ง หรือเพราะขาดการเพียรฝึกฝนในสมถะ จึงเกิดขึ้นได้เพียงชั่วครู่ไม่มีกำลังอ่อนปวกเปียก ไม่สามารถที่จะจำแนกรูปและนามให้ขาดออกจากกันได้ ปัญญาคุณจะไม่มั่นคงพอที่จะพิจารณาสภาพธรรมที่เกิดขึ้น และดับไปอย่างเร็วมาก โดยส่วนมากปัญญาคุณก็อาจจะดับไปก่อนหรือหลังสภาพธรรมไม่มาก เพราะมีนิวรณ์ ๕ เข้ามาตัดกำลัง ปัญญาก็จะขาดไปเสียก่อน (อุปมาเหมีอน การจุดไฟแช็ค ที่ฝนไปกับถ่าน ไฟแช็คมีเพียงแต่ประกายไฟเท่านั้น โดยที่ไม่มีการลุกไหม้ของแก๊ส จึงไม่มีแสงไฟ ส่องสว่างขึ้นมา) สมถะจะต้องมีการฝึกฝนให้มีกำลัง กุศลจิตจะ เกิดบ่อย เร็ว คม เกิดขึ้นต่อเนื่อง จึงจะประจักษ์สภาพธรรมได้อย่างชัดเจนอย่าง ต่อเนื่อง เนืองๆ สามารถเจริญวิปัสนาได้เป็น ชม. หรือหลายๆ นาทีติดต่อกันโดยไม่ขาดตอน หรือถ้าขาดก็จะต่อกลับไปได้อีกอย่างรวดเร็ว เสมือนไฟแช็คที่ถูกจุดติดขึ้นมา ส่องแสงสว่างให้เราได้เห็น ประจักษ์สภาพธรรมได้อย่างชัดเจน บ่อยๆ เนืองๆ จนจิตรู้แจ้งชัด ปล่อยวางสัญญาวิปลาสเก่าๆ เข้าถึงสภาพไตรลักษณ์ ของขันธ์ ๕ ดังนั้นเราจึงต้องเจริญ กุศลจิตให้เกิดมากๆ โดยการใช้สมถะเป็นเครื่องมือ อบรมจิต เพราะปัญญามิได้เกิดขึ้นจากการฟังธรรมเพียงอย่างเดียว หรีอว่า ท่านจะโต้แย้งว่า มีตัวตนในการเจริญสมถะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ต้องมีพื้นฐานความเข้าใจพระธรรมตั้งแต่ต้นว่า
ธรรม คือ อะไร
สมาธิ คือ อะไร
เป็นต้น
เพราะเหตุว่าสภาพธรรมที่มีจริงทุกอย่างทุกประการนั้น สามารถศึกษาและเข้าใจได้ เพราะมีจริงในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องไปทำอะไรที่ผิดปกติขึ้นมาที่จะไปจดจ้องต้องการเพื่อให้สติปัญญาเกิด เพราะการไปทำอย่างนั้น ไม่ใ่ช่หนทางที่จะเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา มีแต่จะทำให้กิเลสอกุศลธรรมเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น สำคัญอยู่ที่ความเข้าใจถูกเห็นถูกจริงๆ เพราะสะสมอวิชชาความไม่รู้มาอย่างยาวนานการที่จะค่อยๆ ขัดเกลาละคลายอวิชชาลงได้ ต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ เมื่อมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น มั่นคงในความเป็นจริงของสภาพธรรมยิ่งขึ้น ก็จะเป็นเหตุให้สติและปัญญาเกิดขึ้นระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงได้สภาพธรรมที่ระลึก คือ สติ สภาพธรรมที่รู้ตามความเป็นจริง คือ ปัญญา
ส่วนสมาธิ คือ เอกัคคตาเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่ตั้งมั่นในอารมณ์ที่จิตรู้เท่านั้น ทั้งหมดเป็นธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น จึงขอให้เริ่มต้นที่จะฟัง ที่จะศึกษาพระธรรมให้เข้าใจเป็นปัญญาของตนเอง ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
เรียน ความเห็นที่ 3 ครับ
เราจะต้องมีความเข้าใจให้ถูกต้องก่อนครับว่า ขณะที่สติปัฏฐานเกิด เป็น ขณิกสมาธิหรือ เป็น สมาธิระดับฌาน ซึ่งขณะที่สติปัฏฐานเกิด มีสมาธิด้วย และเป็นสัมมาสมาธิที่เป็น ขณิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วขณะ ดังนั้น สำคัญที่ปัญญา ไม่ใช่สมาธิในการทำให้สติปัฏฐานเกิด ส่วน คำอุปมา เรื่องไฟแช็คไม่มีในพระไตรปิฎกนะครับ ไม่มีในคำสอนของพระพุทธเจ้า
และจากคำกล่าวที่ว่า
ดังนั้นเราจึงต้องเจริญ กุศลจิตให้เกิดมากๆ โดยการใช้สมถเป็นเครื่องมือ อบรมจิต เพราะปัญญามิได้เกิดขึ้นจากการฟังธรรมเพียงอย่างเดียวหรีอว่า ท่านจะโต้แย้งว่า มีตัวตนในการเจริญสมถ
- ก็ต้องพิจารณาให้ละเอียดนะครับ กุศลจะเกิดมากๆ เพราะอะไร กุศลประการอื่นๆ เกิดมากๆ เพราะปัญญามีมาก หรือ เพราะกุศลอื่นๆ เกิดมาก เช่น ทาน ศีล ทำให้ปัญญามีมาก ตรงนี้ต้องคิดพิจารณานะครับ ซึ่งข้อความในพระไตรปิฎกก็แสดงชัดเจนครับว่า วิชชา หรือ ปัญญาเป็นหัวหน้าของกุศลธรรมทั้งหลาย ความหมาย คือ เพราะมีปัญญามากขึ้น กุศลธรรมประการต่างๆ มี ทาน ศีล เป็นต้น ก็เจริญมากขึ้นตามไปด้วยครับ
ดังนั้น เพราะอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ปัญญาจึงเจริญขึ้น เมื่อปัญญาเจริญขึ้น ก็ทำให้กุศลธรรมประการต่างๆ เจริญขึ้นตามปัญญา เพราะเมื่อมีสัมมาทิฏฐิความเห็นถูก ก็ย่อมคิดถูก วาจาก็ถูก การกระทำทางกายก็ถูก ระลึกก็ถูก ตามปัญญาที่เจริญขึ้น คือ สัมมาทิฏฐินั่นเองครับ
ดังนั้น ปัญญาต่างหากที่ทำให้ กุศลธรรมประการต่างๆ เจริญขึ้น รวมทั้ง ความเห็นถูก ปัญญาที่เป็นการเจริญสติปัฏฐาน เมื่อเกิดขึ้น ก็ทำให้ธรรมอื่นๆ คือ องค์สมถะ ที่ไม่ใช่มีองค์เดียวนะครับ คล้อยตามเกิดขึ้นตามไปด้วยหลายๆ องค์นั่นเองครับ ส่วนผู้ร่วมสนทนาที่ยกอุปมา มาเรื่องไฟแช็ค อันเกิดจากความคิดของตนเอง ที่ไม่ตรงตามพระธรรม และไม่มีในพระไตรปิฎก ขอความกรุณา ยกพระธรรมตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ประกอบกับความคิดเห็นก็จะเป็นประโยชน์มากครับ
ขอยกข้อความในพระไตรปิฎกดังนี้ครับ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 1
๑. อวิชชาสูตร
[๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความละอายบาป ความสะดุ้งกลัวบาป ความเห็นชอบ ย่อมเกิดมีแก่ผู้รู้แจ้ง ประกอบด้วยวิชชา ความดำริชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นชอบ เจรจาชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริชอบ การงานชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาชอบ การเลี้ยงชีพชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานชอบพยายามชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพชอบ ระลึกชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามชอบตั้งใจชอบย่อมบังเกิดมีแก่ผู้มีระลึกชอบ.
ผู้ร่วมสนทนาได้สอบถามกระผม และกระผมก็ได้ตอบไปแล้วในคำถามนั้นครับ
ขออนุญาตเรียนสอบถาม บ้างนะครับ
เป็นการ่วมสนทนาเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
ข้อที่ ๑. นางวิสาขา ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นพระโสดาบันหรือไม่ และท่านได้ฌาน อบรมสมถภาวนาด้วย หรือ เจริญวิปัสสนาอย่างเดียวก็บรรลุธรรม
ข้อที่ ๒. ผู้ที่เจริญวิปัสสนาอย่างเดียวแล้วบรรลุธรรมมีหรือไม่ หรือ จะต้องอบรมสมถภาวนาควบคู่กันไปกับวิปัสสนาจึงจะบรรลุธรรม
ข้อที่ ๓. พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ คือ ใคร ท่านอบรมสมถภาวนาหรือไม่
ข้อที่ ๔. ขณะที่สติปัฏฐานเกิด หรือ วิปัสสนาเกิด มีองค์ของสมถะ หรือ ไม่ หรือ ต้องไปทำสมถะอีกครับ
ข้อที่ ๕. ข้อความที่ว่า
[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 206
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิไม่ได้เอกัคคตาจิต มากกว่าโดยแท้
หมายความว่าอย่างไรครับ
ร่วมสนทนาครับ ถ้ายกข้อความในพระไตรปิฎกประกอบ โดยไม่อุปมาคิดเองก็จะเป็นประโยชน์มากครับ โดยกระผมจะตอบโดยยกข้อความในพระไตรปิฎกตอบต่อไปครับในประเด็นที่ถามครับ
ขออนุโมทนา
๑๑. สัจจสังยุต สมาธิวรรคที่ ๑ สมาธิสูตรผู้มีใจตั้งมั่นย่อมรู้ตามความเป็นจริง
[๑๖๕๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ย่อมรู้อะไรตามความเป็นจริง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธ- * คามินีปฏิปทา.
* * * ถ้าท่านอ่านพระสูตรนี้แล้ว มีความเห็นเช่นไร? * * *
ขอความคิดเห็นด้วย
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
เรียน ความเห็นที่ 6 ครับ
จากพระสูตรที่ยกมาให้อธิบายได้อธิบายไปแล้ว ในกระทู้นี้ครับ เชิญคลิก
การเจริญสติปัฐาน โดยไม่เจริญสมถะควบคู่กันไป ปัญญาไม่สามารถแทงตลอดได้
อยู่ในความคิดเห็นที่ 8 ได้อธิบายสูตรนี้ไว้แล้วครับ
และกระผมขอสอบถามร่วมสนทนาด้วยครับ
โดยคำถาม ๕ ข้อ อยู่ในความคิดเห็น 5 ข้างต้นครับ
เรียนร่วมสนทนาธรรมครับ
ผมอุปมาจาก ประสพการณ์ การปฏิบัติด้วยตัวเองครับ ไม่ต้องลอกแบบมาจากพระสูตร ให้เห็นข้อเท็จจริงดั่งที่ผมเสนอไป ไม่จำเป็นต้องยกพระสูตร หรือพระอภิธรรม มาสนับสนุน ก็พูดได้ โต้แย้งได้ เพราะได้รับความรู้จากประสพการณ์การปฏิบัติจริงๆ พูดมาจากความเห็น ความเข้าใจจากจิต เอาจากประสพการณ์ล้วนๆ ไม่ใช่ฟังเขาบรรยายมา หรือจดจำมาจากหนังสือแต่อย่างไร
คงจะเจริญสติปัฐานได้ยากถ้าไม่มี การเจริญสมถไปด้วยกัน ธรรมะสองอย่างนี้เกี้อกูลกัน สนับสนุนซึ่งกันและกัน เพราะถ้าคุณเจริญไปทั้งชีวิตก็ยังไม่เกิดปัญญารู้แจ้งในสภาพธรรมผิดกับคนที่มีกุศลจิตเกิดได้ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ
สติปัฐาน ๔ ที่คุณเข้าใจว่าถูกต้อง เกิดกับคุณบ่อยๆ เนืองๆ ไหม?
สติปัฐาน ๔ ที่คุณเข้าใจว่าถูกต้อง มีสติเกิดขึ้น ได้กี่ครั้งต่อ ๑ ชม. นาที?
เรียน ความเห็นที่ 8 ครับ
เมื่อพระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน ได้ตรัสกับอานนท์ว่า
เธอจงมีพระธรรมเป็นศาสดาแทนพระองค์ นั่นคือ สำคัญคือ เทียบเคียงกับพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง หากเราไม่เทียบเคียงกับพระธรรม ว่าสิ่งที่เราทำ ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่ ก็เท่ากับว่า มีตัวเราเป็นมาตรฐาน ไม่ได้มีพระธรรมเป็นที่พึ่งดังเช่นชาวพุทธ กล่าวว่ามีพระธรรมเป็นที่พึ่งเลย
ดังนั้น เรียนร่วมสนทนาในคำถาม ๕ ข้อครับ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องครับ ขออนุโมทนา
ข้อที่ ๑. นางวิสาขา ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นพระโสดาบันหรือไม่ และท่านได้ฌานอบรมสมถภาวนาด้วย หรือ เจริญวิปัสสนาอย่างเดียวก็บรรลุธรรม
ข้อที่ ๒. ผู้ที่เจริญวิปัสสนาอย่างเดียวแล้วบรรลุธรรมมีหรือไม่ หรือ จะต้องอบรมสมถภาวนาควบคู่กันไปกับวิปัสสนาจึงจะบรรลุธรรม
ข้อที่ ๓. พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ คือ ใคร ท่านอบรมสมถภาวนาหรือไม่
ข้อที่ ๔. ขณะที่สติปัฏฐานเกิด หรือ วิปัสสนาเกิด มีองค์ของสมถะ หรือ ไม่ หรือ ต้องไปทำสมถะอีกครับ
ข้อที่ ๕. ข้อความที่ว่า
[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 206
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิไม่ได้เอกัคคตาจิต มากกว่าโดยแท้
หมายความว่าอย่างไรครับ
ไม่ต้องไปทำอะไรที่ผิดปกติขึ้นมาที่จะไปจดจ้องต้องการเพื่อให้สติปัญญาเกิด เพราะการไปทำอย่างนั้น ไม่ใช่หนทางที่จะเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา
ท่านคำปั่นกล่าวถูกต้องแล้ว
ขออนุโมทนาครับ
ปัญญาจะเกิดต้องทรงอยู่เนื่องด้วยสมาธิ แต่สมาธิเกิด ... ไม่เกิดปัญญาเลยก็มี เพราะ สมาธิเป็นฐานของความเห็น แม้อ่านหนังสืออยู่แล้วมีความเข้าใจนั้นๆ ของตัวอักษร ก็มีสมาธิแล้วนะครับ
ความแตกฉานจึงควรเป็นความเห็นหรือที่เรียกกันว่าปัญญานั้นเองครับ ถ้าขณะใดสมาธิเกิดแล้วมีความเห็นที่มิได้เข้าปรุงแต่งด้วยสังขารตามความเกิดดับของสิ่งทั้งหลาย ณ ขณะนั้น ผมยังเห็นเป็นสมาธิเท่านั้นเอง .. แต่พอเห็นดับแล้วต่อด้วย เหตุเกิด แล้วมีความพินิจพิจารณาซ้ำด้วยความเป็นกลาง เมื่อนั้น ... ปัญญาเกิดคมกล้าตัดความไม่รู้ขาดเสียได้ อันนี้น่าจะเป็นปัญญา ฉะนั้น ปัญญาเป็นผู้ตัดความหลงผิด .. ส่วนสมาธินั้น ก็ต้องมีเป็นแน่แท้ แต่ไม่ใช้สมาธิที่ต้องเข้าทำกัน ควรเป็นสมาธิธรรมดาๆ นี้แหละครับ คือแบบลืมตากันนี้แหละ แต่เวลานั้นเป็นเอกอารมณ์เดียว ... ที่กำลังเห็นธรรมเกิดดับอยู่โดยไม่มีเจตนาเข้าปรุงด้วยคิดขวางขั้นเลยครับ ...
ขอท่านผู้รู้แนะนำอีกทีนะครับถ้าผิดพลาดไปขอรับ
เรียน ความเห็นที่ 11 ครับ
สมาธิเกิดกับจิตทุกขณะอยู่แล้วครับ ขณะที่เป็นปัญญาที่เป็นสติปัฏฐาน เป็น ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ สมาธิเกิดขึ้น เป็นอกุศลจิตก็ได้ กุศลจิตก็ได้ มีสมาธิ แต่ไม่มีปัญญาก็ได้ ขณะที่รู้ความจริงต้องเป็นปัญญา การเห็นการเกิดดับ เป็นปัญญาที่เห็น มีสมาธิ ที่เป็นเอกัคคตาเจตสิกเกิดร่วมด้วยในขณะนั้นที่เป็น สัมมาสมาธิ แต่เป็นสมาธิชั่วขณะ ไม่ใช่ตั้งมั่นเป็นฌาน การเห็นการเกิดดับ จึงเป็นเรื่องของปัญญาที่เป็นวิปัสสนาญาณระดับสูง ขั้นที่ ๓ และ ๔ ครับ
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
สมาธิเกิดกับจิตทุกขณะอยู่แล้วครับ ขณะที่เป็นปัญญาที่เป็นสติปัฏฐาน เป็น ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ สมาธิเกิดขึ้น
เด็กทารก ก็มีขณิกสมาธิ
ขออนุญาตเรียนสอบถาม บ้างนะครับ
เป็นการ่วมสนทนาเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
ข้อที่ ๑. นางวิสาขา ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นพระโสดาบันหรือไม่ และท่านได้ฌาน อบรมสมถภาวนาด้วย หรือ เจริญวิปัสสนาอย่างเดียวก็บรรลุธรรม
ข้อที่ ๒. ผู้ที่เจริญวิปัสสนาอย่างเดียวแล้วบรรลุธรรมมีหรือไม่ หรือ จะต้องอบรมสมถภาวนาควบคู่กันไปกับวิปัสสนาจึงจะบรรลุธรรม
ข้อที่ ๓. พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ คือ ใคร ท่านอบรมสมถภาวนาหรือไม่
ข้อที่ ๔. ขณะที่สติปัฏฐานเกิด หรือ วิปัสสนาเกิด มีองค์ของสมถะ หรือ ไม่ หรือ ต้องไปทำสมถะอีกครับ
ข้อที่ ๕. ข้อความที่ว่า
[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 206
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิไม่ได้เอกัคคตาจิต มากกว่าโดยแท้
คุณทำยังกะ ผมเป็นเด็กนักเรียนเลยนะครับ ให้ทำการบ้าน ตอบคำถาม ๕ ข้อ
เอาละในเมื่อคุณเสนอมา หลายครั้ง ผมพยายามหลีกเลี่ยงการพิมพ์มากๆ เพราะว่าพิมพ์สัมผัสไม่เป็น (และอีกประการหนึ่ง คือหน้ากระดานของคุณเป็นสีขาว ควรจะเปลี่ยนให้เป็นสีทึบ ทำลายตาของผมมาก)
๑. นางวิสาขา ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นพระโสดาบัน ไม่มีณานเพราะจุติที่ดุสิต แต่ไม่มีบันทึกว่าท่านมิได้เจริญสมาธิเลย (อย่าคิดว่าคำถามข้อนี้จะช่วยสนับสนุนคุณได้)
๒. ผู้ที่เจริญวิปัสสนาอย่างเดียวแล้วบรรลุธรรมมีหรือไม่ หรือ จะต้องอบรมสมถภาวนาควบคู่กันไปกับวิปัสสนาจึงจะบรรลุธรรม
ตอบ ไม่ทราบครับ เพราะคงมีแต่พุทธองค์เท่านั้นที่ทรงทราบ คุณก็อ่านมาเช่นกัน
ข้อที่ ๓. พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ คือ ใคร ท่านอบรมสมถภาวนาหรือไม่
ไม่ทราบ ไม่จำเป็นต้องรู้ ไม่อ่าน เพราะไม่สนใจ ไม่จดจำ (จำเฉพาะผู้ที่โดดเด่น)
ข้อที่ ๔. ขณะที่สติปัฏฐานเกิด หรือ วิปัสสนาเกิด มีองค์ของสมถะ หรือ ไม่ หรือ ต้องไปทำสมถะอีกครับ
ตอบว่า มี แต่ไม่มีกำลัง เกิดตามกิจของจิต ไม่มั่นคง ต้องเจริญอีก ไม่เจริญ ค้านพระพุทธพจน์
๕. สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิไม่ได้เอกัคคตาจิต มากกว่าโดยแท้
ตอบว่า ได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย มีแต่พุทธเจ้าที่ทรงรู้ เราจะรู้หรือว่าตัวเองหรีอผู้อี่นว่า ควรจะเจริญสมาธิหรีอไม่ ไม่ควรกล่าวคำสอนที่ปิดทางผู้อื่น เราจะเอาวิชาสถิติมาตัดสินด้วยหรือ? ธรรมะของพระองค์กล่าวครอบคลุมหมู่สรรพสัตว์ มนุษย์ เทวดา มาร พรหม
(หรือว่า ธรรมะที่คุณเผยแพร่ คุณอาจจะกล่าวสอนเฉพาะอภัพพบุคคล ต้องมีฉลากกำกับไว้ด้วย จึงจะควร)
เรียน คุณ apitum ขอร่วมสนทนาด้วย
จากข้อความที่คุณเขียน
"ถ้าไม่มีสมาธิที่มั่นคงดีก่อน (หมายถึงกุศลจิตที่เกิดต่อเนี่อง) แล้วจะระลึกรู้สภาพธรรมได้อย่างไร? สภาพธรรมเกิด ดับ รวดเร็วมากกว่าความเร็วของแสง ขอความคิดเห็นด้วยครับ"
ขอสนทนาดังนี้
อวิชชาก็เกิด ดับ เร็ว เท่ากับ สมาธิในทุกฌาณ เท่ากับ จิตทุกประเภท
แต่ไม่รู้จัก อริยสัจจ์ทั้ง ๔
สมาธิ จะมั่นคงดีต่อเนื่องก็ต้อง อบรมพร้อม ญาณในอริยสัจจ์ทั้ง ๔
ไม่ใช่อบรมกับกุศลที่ไม่ใช่อริยสัจจ์ สมาธิก็ไม่แข็งแรง ไม่เจริญเติบโตเป็นอริยสัจจ์
แม้จะเกิด ดับเร็ว เกิดทีละเล็กน้อย ทีละดวง แต่มีการสั่งสมความรู้ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ ด้วยสามารถแห่งชวนวิถี นิสสยปัจจัย หรือ อาเสวนปัจจัย เป็นต้น จนวิปัสสนาญาณมรรคจิตประหารกิเลสก็เป็นจิตดวงเดียว เกิด ดับเร็วเท่ากับจิดอื่นทุกดวง แต่ต่างกันที่ การสั่งสมญาณ
ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔
สมาธิ สติ ปัญญา แข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ ตามกำลังของอินทรีย์ พร้อมกัน
ตั้งแต่เริ่มเกิดเป็นสัจจญาณ ในอริยสัจจ์ ทั้ง ๔
ประภาส
เรียนคุณ apitum
กระผมจะต้องไปอินเดียเพื่อปฏิบัติหน้าที่สำคัญของมูลนิธิฯ ณ เช้านี้ ไม่สามารถสนทนาต่อได้ เรียนสหายธรรมทั้งหลายสนทนาธรรมกันนะครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ
การศึกษาธรรมะ สำคัญที่ความเข้าใจถูกก่อน ถ้ามีความมั่นคงเข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรมะ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร และขณะนี้ธรรมะก็มีอยู่แล้วเป็นปกติธรรมดา แต่สติจะเกิดหรือไม่ ก็อยู่ที่การสะสมความเข้าใจ ถ้าเหตุปัจจัยพร้อมก็เกิดเองค่ะ
กราบอนุโมทนาอาจารย์ paderm ในการไปปฏิบัติหน้าที่สำคัญของมูลนิธิฯ สาธุ ค่ะ
ขอขอบพระคุณคำตอบของทุกท่านที่อธิบายให้ความเข้าใจค่ะ
สมาธิ สติ ปัญญา แข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ ตามกำลังของอินทรีย์ พร้อมกันตั้งแต่เริ่มเกิดเป็นสัจจญาณ ในอริยสัจจ์ ทั้ง ๔
ชอบครับ คำข้างบนนั้น มันช่างตรงกับความเห็นที่ปฏิบัติมาเลยครับ
ขอบคุณ คุณประภาส ด้วยครับ
เมื่อเหตุคือสมาธิ ผลก็คือสมาธิ
เมื่อเหตุคือปัญญา ผลก็คือปัญญา
สมาธิที่เป็นมหัคคตกุศลเป็นการขัดเกลากิเลสอย่างกลาง
คือ กิเลสที่กำลังกลุ้มรุมจิตใจไม่ให้สงบ (นิวรณธรรม)
ผู้ที่เข้าใจถูกในหนทางของการอบรมเจริญปัญญา
บางท่านก็มีการเจริญสมาธิภาวนา เพื่อเป็นธรรมเครื่องอยู่
แต่ไม่ใช่เพื่อการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม
เพราะการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมต้องเป็นการอบรมเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้น
ดังนั้น การอบรมสมาธิจึงเป็นเรื่องอัธยาศัยของแต่ละคน
เพราะสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนามีอารมณ์ต่างกัน
มีจุดประสงค์ต่างกัน
ผลจึงต่างกันค่ะ