สัตว์ทั้งหลายอาศัยกรรมเป็นแดนเกิด เกิดมาได้เพราะมีกรรม แต่

 
ampnop
วันที่  13 มิ.ย. 2555
หมายเลข  21253
อ่าน  5,461

สัตว์ทั้งหลาย อาศัยกรรมเป็นแดนเกิด เกิดมาได้เพราะมีกรรม แต่มีข้อสงสัยติดข้องอยู่ว่าแล้วสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วล่ะเป็นเพราะหมดกรรม หรือกรรมชนิดนั้นไม่มีผู้ใดทำแล้วจีงไม่ต้องมีสัตว์ชนิดนั้นเกิดมาอีก ใช่หรือไม่ และสัตว์บางชนิดมีปริมาณน้อยลงหรือหายากขี้น เป็นเพราะกรรมชนิดนั้นไม่ค่อยมีผู้ใดนิยมกระทำหรืออย่างไร อันนี้คือข้อสงสัย ติดข้อง

หากท่านผู้ทราบโปรดอธิบาย จักเป็นพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 13 มิ.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรื่องกรรม เป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งมาก กรรมที่ได้กระทำแล้วทั้งในปัจจุบันชาติและในอดีตชาติ มีมาก ทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม โดยที่ไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่า กรรมใดจะให้ผลเมื่อใด แสดงถึงความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมที่ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น การเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานเป็นผลของอกุศลกรรม ไม่ใช่ผลของกุศลกรรม มีความหลากหลายวิจิตรต่างๆ กัน ตามกรรมที่ได้กระทำแล้ว ถึงแม้สัตว์บางชนิดจะสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ก็ไม่ใช่ว่าสัตว์เหล่านั้นจะหมดการเกิด ตราบใดที่ยังไม่สามารถดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างหมดสิ้นถึงความเป็นพระอรหันต์ ยังต้องมีการเกิดอยู่ร่ำไป ซึ่งจะต้องเข้าใจพื้นฐานของความเป็นจริงของธรรมว่า สัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน แต่ละชีวิตก็เป็นแต่ละหนึ่งไม่เหมือนกันเลย เมื่อสิ้นสุดจากความเป็นสัตว์ประเภทนั้น ในภพนั้น ก็มีเหตุปัจจัยให้เกิดในภพใหม่อีก ตามควรแก่กรรมว่ากรรมใดจะให้ผลนำเกิด ซึ่งไม่สามารถที่จะรู้ได้ อาจจะเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานอีก หรือเกิดในอบายภูมิอื่นนอกเหนือจากการเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานก็ได้ หรือ เกิดในสุคติภูมิก็ได้ ตามเหตุตามปัจจัย

ประโยชน์ที่ควรจะได้พิจารณา คือ กรรม เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ผลของกรรม เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ผลของ กรรมเก่า (ซึ่งเป็นกรรมที่ได้กระทำแล้ว) ได้แก่ วิบากจิต วิบากเจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับวิบากจิต) และกัมมชรูป (รูป ที่เกิดจากกรรม เช่น จักขุปสาท โสตปสาท เป็นต้น) ส่วนกรรมใหม่หรือเหตุใหม่ นั้น ได้แก่ กุศลเจตนา กับ อกุศลเจตนา ที่เป็นไปในทางกาย วาจา และใจ ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดผลข้างหน้า

ในขณะนี้ ทุกคนได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ในสุคติภูมิ ไม่ได้เกิดในอบายภูมิ (ชาติต่อไปก็ไม่สามารถทราบได้ว่าจะเกิดที่ไหน หลังจากที่ละจากโลกนี้ไปแล้ว) การมีโอกาสได้คบสัปบุรุษซึ่งเป็นผู้ที่มีปัญญาพร้อมกับได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวันนั้น เป็นสิ่งที่ดีเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้ความเข้าใจถูกเห็นถูกเจริญขึ้น และจะเป็นเครื่องอุปการะเกื้อกูลให้กุศลธรรมประการอื่นๆ เจริญขึ้นด้วย อันเป็นการสะสมเหตุใหม่ที่ดีให้กับตนเอง เป็นที่พึ่งให้กับตนเองต่อไป เพราะสิ่งที่สัตว์โลกจะพึ่งได้จริงๆ คือกุศลธรรมเท่านั้น

เป็นไปไม่ได้ที่จะไปเกิดในอบายภูมิด้วยผลของกุศลกรรม เป็นไปไม่ได้เลย เพราะ กุศล ให้ผลเป็นสุข ให้เกิดในสุคติภูมิ เท่านั้น แต่อกุศลกรรม เพียงอย่างเดียว ที่จะเป็นเหตุให้ไปเกิดในอบายภูมิ ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 13 มิ.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรื่องกรรม เป็นเรื่องละเอียด โดยเฉพาะประเด็นนี้ครับ เมื่อศึกษาพระธรรม โดยละเอียดแล้ว สุดท้ายจะต้องย้อนกับมาที่ตัวปรมัตถธรรมเสมอ คือ เราจะต้องเข้าใจแยกกันก่อนว่า ปรมัตถธรรม คือ สิ่งที่มีจริง มีจิต เจตสิก รูปและนิพพาน ส่วนบัญญัติ เป็นสิ่งที่ไม่มีจริง เป็นสิ่งที่สมมติขึ้น ตั้งขึ้น ของชาวโลกที่เรียกขาน เพื่อให้เข้าใจว่า ลักษณะอย่างนี้เรียกว่าอย่างนี้ แต่ก็เพราะอาศัยสภาพธรรมที่มีจริง จึงมีบัญญัติ สมมติ ชื่อ เรื่องราวได้

เพราะฉะนั้น ไดโนเสาร์ อะไรมีจริง ชื่อไดโนเสาร์หรือไม่ ไม่ใช่ สิ่งที่มีจริง คือ จิต เจตสิก รูป ที่ประชุมรวมกัน และ เมื่อประชุมรวมกันของสิ่งที่มีจริงที่เป็น ปรมัตถธรรม จึงบัญญัติเรียกว่าไดโนเสาร์ (สัตว์ที่สูญพันธุ์)

ดังนั้น จึงกลับมาที่ตัวปรมัตถธรรม คือ กรรม ที่เป็นเจตนาเจตสิก ที่เกิดกับจิตที่เป็นอกุศล เมื่อให้ผล ย่อมให้ผลโดยเกิดนามและรูป ยังไม่มีชื่อนะครับ ก็คือ เป็นแต่เพียง สภาพธรรมที่เกิดขึ้น เพราะอกุศลกรรมเป็นปัจจัย ส่วนเมื่อเกิดนามและรูปแล้ว เราก็ไปใส่ชื่อให้เขาเองว่า ลักษณะอย่างนี้ เรียกว่าอย่างนี้ นี่คือ สมมติบัญญัติแล้ว ที่ตั้งชื่อขึ้นมา

ดังนั้น ชื่อสัตว์สูญพันธ์ุ เช่น ไดโนเสาร์ต่างๆ ชื่อต่างๆ ที่สมมติขึ้น ไม่ได้เกิดจากกรรมเป็นปัจจัย คือ อกุศลกรรมเป็นปัจจัย แต่ในความเป็นจริง อกุศลกรรม ตามความหมายที่กล่าวมาว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน กรรมที่เป็นปรมัตถธรรม นั้น ก็จะต้องให้ผลเป็นปรมัตถธรรม คือ เป็นตัว จิต เจตสิก รูป ที่เกิด ไม่ใช่ กรรม จะทำให้เกิดผล คือ ชื่อสัตว์ต่างๆ และสมมติว่าเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ การเข้าใจความจริงให้ตรง คือ กลับมาที่ตัวปรมัตถ์ ว่า ตัวปรมัตถ์ คือ กรรม ย่อมให้ผลเป็นปรมัตถ์ คือ ผลของกรรมที่เป็น นามและรูป ไม่ใช่ชื่อของสัตว์

เมื่อเข้าใจถูกดังนี้ เราก็จะไม่สงสัยเลยว่า ทำไมสัตว์ตัวนี้สูญพันธุ์ ไม่สูญพันธุ์ เพราะรู้แล้วว่า กรรม ย่อมไม่ให้ผล เป็นชื่อ สมมติ เรื่องราว ที่เป็นสัตว์สูญพันธุ์ หรือ ไม่สูญพันธุ์ แต่ กรรมให้ผล เป็นนามและรูป ครับ

เพราะฉะนั้น สัตว์สูญพันธุ์จึงถูกสมมติขึ้น จากสิ่งที่มีจริง แม้ลักษณะของสัตว์นั้น ไม่มีแล้ว แต่เมื่อเกิดใหม่ อะไรยังมีอยู่ครับ ก็คือ ตัวปรมัตถธรรมอีกนั่นเองครับ คือ ยังมี จิต เจตสิก รูป เกิดต่อ ก็แล้วแต่ว่า จะเกิดเป็นลักษณะ รูปร่างอะไร ตามแต่กรรมจะจัดแต่งตามความวิจิตรของกรรม และก็ไปใส่ชื่อเรียกว่าสัตว์ประเภทนี้อีก เพราะอาศัย จิต เจตสิก รูป ที่เกิดขึ้นใหม่นั่นเอง ครับ

สัตว์มีได้ แม้ที่เรียกว่า สัตว์สูญพันธุ์ไปแล้ว เพราะ มีการประชุมกันของ จิต เจตสิก และรูป และ การเกิดมีขึ้นของจิต เจตสิก รูป คือ นาม รูป เพราะ อาศัย กรรม คือ การทำอกุศลกรรม เป็นปัจจัยให้เกิดปฏิสนธิ เกิด จิต เจตสิกและรูปเกิดขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 13 มิ.ย. 2555

ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ไม่ได้หมายความว่า เพราะ ทำกรรมประเภทนี้ อย่างนี้เหมือนกัน จึงเกิดเป็นสัตว์ลักษณะอย่างนี้เหมือนกัน ครับ ดังนั้น จึงไม่ใช่การสรุปลงไปว่า กรรมประเภททนี้ ทำให้เกิดเป็นสุนัข กรรมประเภทนี้ ทำให้เกิดเป็นไดโนเสาร์ เพราะ ในความเป็นจริง อกุศลกรรมที่ทำ แม้ไม่เหมือนกัน คือ ระดับของกิเลสไม่เท่ากัน แต่ต่างก็เป็นอกุศลกรรม ก็เป็นปัจจัยให้เกิดเป็นสัตว์ประเภทเดียวกันได้ จึงไม่สามารถสรุปได้ว่า เพราะทำกรรมประเภทนี้ จะต้องทำให้เกิดเป็นสัตว์ประเภทนี้ ครับ จึงไม่ใช่ว่า ไม่มีการทำกรรมประเภทนี้อีก จึงไม่มีการเกิดของสัตว์ประเภทนี้ หรือ สูญพันธุ์ไป ครับ แต่ เราสามารถเข้าใจได้ว่า เพราะ อกุศลกรรมเป็นปัจจัย จึงเป็นปัจจัย ให้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน และที่สัตว์มีความแตกต่างกันไป ก็เพราะ ความแตกต่างของ จิต คือ ตามระดับอกุศลกรรมที่ให้ผล แม้สัตว์ที่สมมติว่าเป็นประเภทเดียวกัน แต่ก็ยังมี ความแตกต่างกัน ไม่มากก็น้อย อันแสดงถึงความวิจิตรของจิต ครับ

ดังนั้น ชื่อ สมมติ เรื่องราว บัญญัติที่สมมติว่าเป็นสัตว์สูญพันธุ์ หรือ ชื่อบุคคลต่างๆ สูญไป ไม่ต่างจากความฝัน แต่สิ่งที่ยังจะต้องเกิดต่อไป ตราบใดที่ยังมีกิเลส คือ จิต เจตสิก รูป ที่เกิดดับสืบต่อกันไป อันเรียกว่า วัฏฏะ เพราะฉะนั้น อะไรที่ควรสูญไป นั่นคือ กิเลส ที่ควรทำให้สูญไปด้วยการเจริญอบรมปัญญา เพราะ ตราบใดที่มีกิเลส ก็ยังไม่สูญจากความเป็นบุคคลนี้ ต้องเกิดเป็นสัตว์ต่างๆ ตามสมมติเรื่องราว และ หลงยึดถือเรื่องราวว่ามีจริง ทั้งๆ ที่เป็นแต่เพียงสภาพธรรม

ความไม่รู้ ไม่ทำให้สูญหายจากสังสารวัฏฏ์

ปัญญา ทำให้สูญหายไปจากสังสารวัฏฏ์ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ampnop
วันที่ 14 มิ.ย. 2555

สาธุ อนุโมทนา

ผมเข้าใจตามที่ท่านอธิบาย แต่เป็นเพียงความเข้าใจแบบปกติธรรมดา เหมือนเรียนหนังสือครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ampnop
วันที่ 14 มิ.ย. 2555

กรณีเดิมที่ยังสงลัยคือที่ว่ากรรมเป็นตัวกำหนด แต่ปัจุบันนี้มีวิทยาการคือการโคลนนิ่ง

ถ้ามองอย่างปกติปุถุชนคนที่กำหนดก็คือมนุษย์ ขอได้โปรดอธิบาย

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 14 มิ.ย. 2555

เรียนความเห็นที่ 5 ครับ

การโคลนนิ่ง ก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่มีจริง คือ จิต เจตสิก รูป ที่เกิดปฏิสนธิ การเกิด เป็นการเกิดขึ้นของจิต เจตสิก รูปนั่นเอง ซึ่งถ้าเราย้อนมาที่เหตุผลครับว่า การเกิด ที่เป็นปฏิสนธิจิต ไม่ว่าจะเป็นของสัตว์เดรัจฉาน หรือ มนุษย์ หรือ สัตว์ต่างๆ ก็ต้องอาศัยกรรมเป็นปัจจัย ที่เป็นกุศลกรรม หรือ อกุศลกรรมในอดีต เป็นปัจจัยให้เกิดขึ้น ครับ เพราะฉะนั้น จะเกิดด้วยวิธีอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดจากการอยู่ในครรภ์ เกิดจากการโคลนนิ่ง (เกิดจากเหงื่อไคล) ถ้าไม่มีกรรมให้เกิด สัตว์นั้นก็เกิดไม่ได้เลย ครับ เพราะฉะนั้น การทำโคลนนิ่ง ก็เป็นปัจจัย หรือ เหตุที่ไกล แต่เหตุที่สำคัญจริงๆ คือ เพราะ มีกรรมที่ทำให้สัตว์นั้นเกิด สัตว์นั้นจึงเกิดขึ้น และในความเป็นจริง การทำโคลนนิ่งทุกครั้งก็ไม่ได้หมายความว่าจะสำเร็จทุกครั้ง ก็เป็นอันแสดงว่า ถ้าไม่มีกรรม ที่ทำให้สัตว์นั้นเกิดในขณะนั้น ที่สมมติว่าทำโคลนนิ่งอยู่ สัตว์นั้นก็ไม่เกิดเลย ครับ

เปรียบดังที่เราถูกคนอื่นตี โดยมากเราก็โทษว่าเป็นเพราะคนอื่น แต่ในความเป็นจริง ถ้าไม่มีกรรมที่ทำให้จะต้องเจ็บ ที่อกุศลกรรมให้ผล ก็จะไม่ถูกตีเลย เพราฉะนั้น เพราะ มีกรรมที่เป็นอกุศลกรรมเป็นปัจจัยสำคัญ จึงทำให้ถูกตี เกิดการเจ็บเกิดขึ้นได้ การเกิด ก็เช่นกัน ไม่ว่าจะเกิดด้วยวิธีใด ก็เพราะมีกรรมเป็นปัจจัยสำคัญ แต่อาศัยองค์ประกอบ ในการกระทำ ที่สมมติว่ามนุษย์ทำการโคลนนิ่ง ก็ทำให้เกิดสัตว์ได้ แต่กรรมเป็นปัจจัย สำคัญ ครับ หากเราย้อนมาที่ตังปรมัตถ์เสมอ คือ กรรม และ ผลของกรรม การเกิด เป็น ปฏิสนธิจิต เป็นผลของกรรม เกิดจากกรรมที่เป็นปรมัตถธรรม เป็นปัจจัยทำให้เกิดเป็นสำคัญ ครับ

ซึ่ง ประเด็นการเกิดด้วยโคลนนิ่ง นั้นได้อธิบายไว้ในกระทู้นี้แล้ว เชิญคลิก ครับ

โคลนนิ่ง

การโคลนนิ่งสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
nong
วันที่ 14 มิ.ย. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
jaturong
วันที่ 14 มิ.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pat_jesty
วันที่ 14 มิ.ย. 2555

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ampnop
วันที่ 14 มิ.ย. 2555

ผมอ่านจาก link ที่ท่านให้ไว้ว่า "ที่สำคัญ ไม่มีวิญญาณที่ล่องลอยแล้วก็มาเข้าไปในครรภ์ในไข่ เพื่อมาเกิดเป็นสัตว์นะครับ อันนี้ต้องเข้าใจใหม่ ในความเป็นจริง วิญญาณ คือ จิต ซึ่งขณะที่จุติจิต (ตาย) ดับไป เคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้ ปฏิสนธิจิตเกิดต่อเป็นอีกบุคคลทันที ไม่มีการเดินทาง ไม่มีการเคลื่อนที่ ไม่มีวิญญาณล่องลอยเข้าไปในครรภ์ ในน้ำยา สารเคมี แต่เป็นเพียงจิตที่เกิดขึ้นและดับไป ปฏิสนธิจิตเกิดต่อเกิดเป็นสัตว์ที่เป็นโคลนนิ่งได้นั่นเองครับ

ดังนั้นเมื่อเป็นนามธรรมที่เป็นจิต จึงไม่มีการเดินทาง ไม่มีรูปร่างที่เป็นวิญญาณล่องลอยมาปฏิสนธิเกิดครับ"

ถ้าเป็นอย่างนี้คนเดิมก็ไม่มีอีกแล้วเพราะจุติจิตดับแล้ว ปฏิสนธิจิตเกิดก็เป็นจิตดวงใหม่ จะว่าเป็นของเดิมก็ไม่ใช่ แต่พระพุทธองค์ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญบารมีสะสม และทุกชาติที่ท่านแสดง จะทรงสรุปว่านั่นคือเรา เช่นนกคุ่มหรือพญาวานร

จีงสงสัยว่าเอาอะไรมาสะสมและสะสมลงไปที่ตรงไหนครับ และถ้ามีการสะสมได้ ก็แสดงว่าตัวตนเดิมยังอยู่เพื่อบำเพ็ญบารมี แสดงว่าตัวตนก็มีใช่ไหมครับ กรุณาตอบด้วยครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 14 มิ.ย. 2555

เรียนความเห็นที่ 10 ครับ

จากคำถามที่ว่า

ถ้าเป็นอย่างนี้ คนเดิมก็ไม่มีอีกแล้วเพราะจุติจิตดับแล้ว ปฏิสนธิจิตเกิดก็เป็นจิตดวงใหม่ จะว่าเป็นของเดิมก็ไม่ใช่ แต่พระพุทธองค์ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญบารมีสะสม และทุกชาติที่ท่านแสดงจะทรงสรุปว่านั่นคือเรา เช่นนกคุ่มหรือพญาวานร จีงสงสัยว่าเอาอะไรมาสะสมและสะสมลงไปที่ตรงไหนครับ และถ้ามีการสะสมได้ก็แสดงว่าตัวตนเดิมยังอยู่เพื่อบำเพ็ญบารมี แสดงว่าตัวตนก็มีใช่ไหมครับ

กรุณาตอบด้วยครับ


ในความเป็นจริง มีแต่ จิต เจตสิก รูป ที่เกิดขึ้นและดับไป และเมื่อจิตนั้นดับไป จิตนั้น จะไม่กลับมาอีกเลยครับ แต่ การสะสมของจิตที่เกิดสืบต่อไม่หายไป การสะสมความดี ความดีที่เกิดขึ้นไม่ได้สูญหายไป แต่สะสมต่อไปในจิตขณะต่อไปที่เกิดขึ้น การสะสม คุณความดี บารมีของพระโพธิสัตว์จึงไม่ได้หายไปไหนเลย ครับ ดังนั้น สภาพธรรมที่ สะสม คือ จิต เจตสิก แต่ไม่ใช่ รูปร่างกาย ไม่ใช่ บัญญัติสมมติว่าเป็นคนนั้น คนนี้ ครับ ดังนั้น เราจะต้องเข้าใจครับว่า พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า มีทั้ง ปรมัตถเทศนา คือ แสดงโดยไม่มีสัตว์ บุคคล คือ มีแต่จิต เจตสิก รูป และ แสดงโดย สมมติเทศนา คือ แสดงโดยสมมติบัญญัติว่าเป็นคนนั้น คนนี้ เพราะฉะนั้น พญาวานร นกคุ่ม มีได้ เพราะมีสิ่งที่มีจริง คือ จิต เจตสิก และรูป เมื่อมีจิต เจตสิก และรูปลักษณะอย่างนี้ จึง แต่งตั้งบัญญัติว่าเป็นนกคุ่ม พญาวานร แต่เมื่อ สัตว์เหล่านั้นตายลง พญาวานร จะ ไม่กลับมาอีก จะไม่กลับมาเป็นลักษณะอย่างนั้นอีก แต่สิ่งที่ยังมีเกิดขึ้น สืบต่อกันไป คือ สิ่งที่มีจริง ที่เป็น จิต เจตสิก และรูปใหม่ที่เกิดขึ้นและดับไป สืบเนื่องกันไป และก็บัญญัติ แต่งตั้งสมมติใหม่ว่า พระเวสสันดร สิ่งที่สะสมไม่ได้หายไปไหน ก็คือ สะสม ต่อไปในจิตขณะต่อไปนั่นเอง จนถึงความเป็นพระพุทธเจ้า ได้ ครับ เพราะอาศัยการเกิดดับสืบต่อของจิต เจตสิกที่สะสมความดีมาจนถึงที่สุดของบารมีนั่นเองครับ

เพราะฉะนั้น สัตว์ บุคคล ไม่มี มีแต่ จิต เจตสิก และรูปที่เกิดขึ้นและดับไป แต่พระองค์ แสดงโดยนัย สัตว์ บุคคล เพื่อให้เห็นถึงการทำความดี ตามสมมติชาวโลก และเราก็จะต้องเข้าใจว่า แสดงโดยนัยสมมตินั่นเองครับ เปรียบเหมือนที่กล่าวว่า ตนเป็นที่พึ่งของ ตน แต่ พระอภิธรรมแสดงว่า ไม่มีตัวตน เป็นอนัตตา เป็นจิต เจตสิก รูป แต่เมื่อแสดงว่า ตนเป็นที่พึ่งของตน ก็ไม่ใช่หมายความว่า มีตัวตน มีสัตว์ บุคคล จริงๆ แต่กำลังแสดงว่า การอบรมปัญญา ต้องอบรมด้วยตนเอง ไม่ใช่ผู้อื่นจะทำได้ ซึ่ง ตนก็คือจิต เจตสิก ครับ

เมื่อเข้าใจโดยนัยเทศนาทั้งสอง ก็ย่อมเข้าใจความจริง ทุกๆ ประการ แม้แต่การเกิดในอดีตชาติของพระโพธิสัตว์ ก็ไม่พ้นจากการเกิดขึ้นของจิต เจตสิก รูป ที่เกิดดับสืบเนื่องกันไป และ ก็เป็นการสะสมในจิตขณะต่อไป ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ampnop
วันที่ 14 มิ.ย. 2555

ผมยอมรับในคำสอนของพระพุทธองค์ทุกอย่างโดยไม่โต้แย้งว่าผิดเลย เพียงแต่เข้าใจว่าตัวเองคือผมเองที่ยังไม่สามารถเข้าใจได้เอง จึงยังมีข้อติดข้องสงสัย ไม่รู้ไม่เข้าใจอีกมากมาย จำเป็นต้องอาศัยท่านผู้รู้ช่วยอธิบาย บัดนี้ก็ได้พบแลัว นับเป็นบุญกุศล และขอขอบพระคุณท่านไว้นะที่นี้ด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ampnop
วันที่ 14 มิ.ย. 2555

ท่านอาจารย์ Paderm ครับ จากที่ท่านอธิบายคือ

"เมื่อจิตนั้นดับไป จิตนั้นจะไม่กลับมาอีกเลย แต่ การสะสมของจิตที่เกิดสืบต่อไม่หายไป"

ผมยังสงสัยว่า การสะสมของจิตคืออะไรและสะสมไว้ที่ไหน เพราะที่เกิดก็ดับไปแล้ว และ ที่เกิดใหม่ก็เป็นของใหม่

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
ampnop
วันที่ 15 มิ.ย. 2555

เข้าใจแล้วครับ

ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
nong
วันที่ 16 มิ.ย. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ