ควรศึกษาพระธรรมอย่างไร

 
natural
วันที่  11 ต.ค. 2555
หมายเลข  21874
อ่าน  3,179

สำหรับผู้เริ่มต้น ควรศึกษาพระธรรมอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 11 ต.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ทรงแสดงจากพระปัญญาคุณที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ เหล่าสาวกได้สดับตรับฟัง เกิดปัญญาของตนเอง และก็กล่าวแสดงสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน จารึกเป็นพระไตรปิฎกที่เป็นพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระไตรปิฎกก็คือพระพุทธพจน์ทั้งหมด การจะเข้าใจพระธรรมก็ต้องศึกษาจากพระพุทธพจน์ที่เป็นพระไตรปิฎกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ แต่การจะเริ่มศึกษาเป็นไปตามลำดับอย่างไรนั้น ก็ต้องเข้าใจความจริงครับว่า พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎก มีอรรถ ความหมาย และความละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง ซึ่งหากอ่านเองโดยไม่ได้พิจารณาไตร่ตรองโดยละเอียด และไม่สนทนาสอบถามเลย ก็ย่อมจะทำให้เข้าใจผิดได้

เพราะฉะนั้นควรจะเริ่มอันดับแรก คือ ฟังจากผู้รู้ ผู้ที่เข้าใจพระธรรมอย่างถูกต้องในพระไตรปิฎกและได้อธิบายให้เราเข้าใจ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ดังนั้นควรเริ่มจากการฟังผู้รู้ ผู้มีปัญญา เป็นกัลยาณมิตรที่อธิบายพระธรรมที่ลึกซึ้งในพระไตรปิฎกให้เราเข้าใจ มีท่านอาจารย์สุจินต์ เป็นต้น ที่ได้กล่าวแสดงธรรมในส่วนต่างๆ ของพระไตรปิฎกไว้อย่างดี ให้เข้าใจกันได้ ครับ

ซึ่งเริ่มด้วยการฟัง ศึกษาพระธรรม ในส่วนเบื้องต้น เริ่มจากคำว่า ธรรม คืออะไร เมื่อมีความเข้าใจเบื้องต้นที่สำคัญว่า ธรรมคืออะไร เข้าใจความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมในขั้นการฟังว่า ไม่มีสัตว์ บุคคล มีแต่สภาพธรรมที่เป็นไป บังคับบัญชาไม่ได้ ความเข้าใจเบื้องต้นเช่นนี้ ก็จะทำให้สามารถศึกษาในส่วนต่างๆ ของพระธรรม มีการอ่านหนังสือธรรมที่ได้อธิบายในส่วนของพระไตรปิฎก รวมทั้งการอ่านพระไตรปิฎกได้เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้น ฟัง อ่านหนังสือที่อธิบายโดยท่านผู้รู้ ผู้มีความเข้าใจ ก็จะทำให้ปัญญาค่อยๆ เจริญขึ้นทีละน้อย โดยไม่มีกฎเกณฑ์ว่าจะฟังอย่างไร เท่าไหร่ ฟังเรื่องอะไรในขณะนั้น ก็เข้าใจขณะนั้น ก็ค่อยๆ สะสมปัญญาแล้ว เพียงแต่ว่าจะต้องอาศัยการสนทนา สอบถามบ้างบางเวลา เพื่อประโยชน์ในความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่คิดเอง และที่สำคัญที่สุด ก็อาศัยกัลยาณมิตร คือ ผู้ที่เข้าใจพระธรรม มีท่านอาจารย์สุจินต์ ฟัง หรือ อ่านในส่วนที่ท่านแสดงไว้ ก็ชื่อว่ากำลังศึกษาพระไตรปิฎกแล้ว เพราะท่านอาจารย์ก็แสดงธรรมที่มีจริงที่เป็นพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ควรเริ่มต้นอย่างไร

การศึกษาธรรม เราควรที่จะศึกษาส่วนใดก่อน

เชิญคลิกฟังคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ที่นี่ ครับ

เริ่มต้นด้วยความเข้าใจว่าเป็นธรรม

เริ่มต้นเพียงรู้แค่ ... เป็นธรรม ๑

เริ่มต้นเพียงรู้แค่ ... เป็นธรรม ๒

จะเริ่มต้นศึกษาจากพระไตรปิฎกเล่มไหน

ปัญญาเริ่มต้นจากการฟังพระธรรม

สามารถฟังธรรมจากพระไตรปิฎก โดยท่านอาจารย์สุจินต์ บรรยายที่นี่ ครับ

จากพระไตรปิฏก

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
natural
วันที่ 11 ต.ค. 2555

อนุโมทนาสำหรับคำตอบที่ทำให้เข้าใจยิ่งขึ้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 11 ต.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุญาตร่วมสนทนาด้วยนะครับ

ขณะใดที่เข้าใจธรรม ขณะนั้นไม่เสียเวลา และไม่เสียประโยชน์ ไม่รู้ คือ อวิชชา ถ้าไม่เริ่มรู้ ก็จะมีความไม่รู้เพิ่มมากยิ่งขึ้น พึงเป็นผู้เห็นประโยชน์ ของการได้เข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้อย่างมั่นคง ไม่ละทิ้งความมั่นคงที่จะเข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ โดยฟัง แล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้น ขณะที่เข้าใจ ก็ละแล้วซึ่งความไม่รู้ พระธรรม ลึกซึ้งอย่างยิ่ง เป็นไปเพื่อละคลายความไม่รู้และความเห็นผิด และเป็นความจริงที่ว่า ไม่สามารถเข้าใจธรรมได้ภายในเวลาวันสองวัน จากไม่รู้ เป็นรู้ขึ้นก็จะต้องเป็นผู้อดทน จริงใจ และตั้งจิตไว้ชอบในการฟัง ในการศึกษาด้วย ว่าไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น แต่เพื่อเข้าใจถูกเห็นถูก เท่านั้น ความรู้ (ปัญญา) ยากกว่าความไม่รู้ ความไม่รู้ ไม่ต้องทำอะไรเลย ก็ไม่รู้.

ทั้งหมด อ้างอิงจาก ... ปันธรรม-ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๒๑


จุดประสงค์ในการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม คือ เพื่อให้เข้าใจถูกว่าเป็นธรรมแต่ต้องอาศัยกาลเวลาที่ยาวนาน ไม่ใช่เพียงแค่วันสองวัน หรือชาติสองชาติเท่านั้น ไม่ว่าจะฟัง จะศึกษาจากส่วนใดของพระธรรมคำสอน เป็นพระสูตรต่างๆ บ้าง พระธรรมในส่วนต่างๆ หัวข้อต่างๆ ใช้พยัญชนะต่างๆ ก็คือ ให้เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ เอง ไม่พ้นไปจากธรรมเลย

ดังนั้น สำคัญที่จุดประสงค์จริงๆ ว่าขอเพียงเข้าใจ จะฟัง จะอ่าน จากส่วนใด ถ้ามีความเข้าใจถูก ก็เป็นการเริ่มต้นที่ถูกต้องแล้ว และจะเป็นปัจจัยให้ได้ฟัง ได้ศึกษา ได้สะสมปัญญาต่อไป ความเข้าใจจะค่อยๆ เจริญขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ถ้าเริ่มมีการฟัง มีการศึกษาตั้งแต่ครั้งที่ ๑ เป็นต้นมา พร้อมทั้งมีความจริงใจ ตั้งใจ อดทนที่จะฟังที่จะศึกษาต่อไป ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 11 ต.ค. 2555

สาวก แปลว่า ผู้ฟัง การที่เราจะศึกษาธรรม ต้องอาศัยการคบกับบัณฑิต เช่น ครู อาจารย์ที่มีความรู้ มีปัญญาแตกฉานในพระไตรปิฎก จะช่วยให้เราเข้าใจธรรม ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
natural
วันที่ 12 ต.ค. 2555

ขอขอบคุณและอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
songjea
วันที่ 19 ต.ค. 2555

ขออนุโมทนากับผู้ถาม และผู้ตอบซึ่งกรุณาตอบอย่างละเอียดครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ