ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

 
ผู้แสวงหา
วันที่  1 ก.พ. 2556
หมายเลข  22426
อ่าน  5,058

คำว่า ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายความว่าอย่างไร?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 1 ก.พ. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สำคัญที่การเริ่มต้นฟังพระธรรมให้เข้าใจว่า ธรรมคืออะไร มีจริงๆ ในขณะนี้หรือไม่? ธรรมละเอียดลึกซึ้งมาก ต้องอาศัยการสะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อยจริงๆ ไม่ควรเริ่มต้นด้วยการไปทำ ไปพิจารณาอะไรด้วยความเป็นตัวตน จดจ้องต้องการ ซึ่งไม่ได้เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกเลย

ธรรมที่พระพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นสิ่งที่มีจริง เป็นปรมัตถธรรม เมื่อเป็นสิ่งที่มีจริง มีลักษณะให้รู้ได้นั้น ก็เป็นที่ตั้งให้สติปัฏฐานเกิดขึ้น ระลึกรู้ตามความเป็นจริงได้ สำคัญที่ความเข้า ใจถูกเห็นถูกว่ามีเพียงพอที่จะให้สติปัฏฐานเกิดหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องบังคับบัญชา เพราะบังคับบัญชาไม่ได้ ธรรมเป็นอนัตตาไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ทั้งสติ ทั้งปัญญา ก็เป็นเช่นนี้ เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย การเจริญสติปัฏฐาน ไม่ใช่เรื่องไปเจาะจงอารมณ์ เพราะเหตุว่าสภาพธรรมใดปรากฏ ก็ระลึกรู้สภาพธรรมนั้น ในขณะที่ระลึกรู้นั้นก็ระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ ซึ่งไม่พ้นไปจากกาย เวทนา จิต และ ธรรม ซึ่งเป็นปรมัตถธรรมทั้งสิ้น สภาพธรรมใดๆ ก็ ตามที่ปรากฏ อันนอกเหนือไปจากกาย เวทนา จิต แล้ว นอกนั้น เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้งหมด เช่น สี ลักษณะที่ปรากฏทางตา เสียง ลักษณะที่ปรากฏทางหู กลิ่น ลักษณะที่ปรากฏทางจมูก รส ลักษณะที่ปรากฏทางลิ้น เป็นต้น [ซึ่งเป็นทุกขสัจจ์] เป็นสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ถ้าสติปัฏฐานเกิดระลึกรู้สภาพธรรมเหล่านี้ ก็เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยที่ไม่ใช่เรื่องคิดเลยว่าจะพิจารณาอย่างไร แต่สติเกิดขึ้นระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ทั้งหมดนั้น เป็นเรื่องของความเข้าใจถูกเห็นถูกตั้งแต่ต้น ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่ได้สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกในเรื่องของสภาพธรรมให้เข้าใจจริงๆ แล้ว ย่อมไม่มีเหตุที่สติปัฏฐานจะเกิดได้เลย ที่สำคัญที่สุด จะขาดการฟังพระธรรมไม่ได้เลยทีเดียว ครับ

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในหัวข้อนี้ ครับ

ธัมมานุปัสสนา

ธัมมานุปัสสนา

ขอเชิญคลิกฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้ที่นี่ครับ

พิจารณาธัมมานุปัสสนาทำอย่างไร

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 1 ก.พ. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การพิจารณาธรรม คือ การระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เว้นจากกาย เวทนา จิต แต่เป็นธรรมที่นอกเหนือ คือ เป็น จิต เจตสิก รูปที่นอกเหนือจากสภาพธรรมที่ปรากฎทางกาย เวทนา และ จิตทั้งหมด ยกตัวอย่าง เช่น ระลึกลักษณะสภาพธรรมที่เป็นเจตสิก ที่เป็นอกุศล เช่น โลภเจตสิก โทสเจตสิก หรือ ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นอกุศลประการต่างๆ เช่น นิวรณ์ 5 เป็นต้น ดังนั้น การพิจารณา ธัมมานุปัสสนาไม่ใช่การคิดนึก แต่เป็นการที่สติเกิดระลึกลักษณะ และ ไม่สามารถบังคับสติให้เกิด เลือกรู้ลักษณะของสภาพธรรมอะไรตามใจชอบได้ จึงแล้วแต่ว่าสติจะเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมอะไร ดังนั้น สำคัญที่เหตุ คือ การฟังพระธรรมเป็นสำคัญ ปัญญาที่เจริญขึ้น จะทำให้สติเกิดโดยไม่ต้องไปใส่ชื่อเลย ว่าเป็นหมวดไหน ข้อใด ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nopwong
วันที่ 2 ก.พ. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nong
วันที่ 3 ก.พ. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
orawan.c
วันที่ 10 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
papon
วันที่ 11 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 12 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ