สภิยสูตร ... วันเสาร์ที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๖

 
มศพ.
วันที่  17 มี.ค. 2556
หมายเลข  22637
อ่าน  1,713

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺสพุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ

ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

สภิยสูตร

(ว่าด้วยทรงตอบปัญหาของสภิยปริพาชก)

...จาก...

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ หน้า ๔๗๑


(ภาพแสดงบรรยากาศการสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ ในวันมาฆบูชา

วันจันทร์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖)

...นำสนทนาโดย...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ คณะวิทยากร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ หน้า ๔๗๑

สภิยสูตร

(ว่าด้วยทรงตอบปัญหาของสภิยปริพาชก)

[๓๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลัน-

ทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล เทวดาผู้เป็นสาโลหิต

เก่าของสภิยปริพาชก ได้แสดงปัญหาขึ้นว่า ดูกร สภิยะ สมณะหรือพราหมณ์

ผู้ใด ท่านถามปัญหาเหล่านี้แล้วย่อมพยากรณ์ได้ ท่านพึงประพฤติพรหมจรรย์

ในสำนักของสมณะหรือพราหมณ์ผู้นั้นเถิด. ลำดับนั้นแล สภิยปริพาชกเรียน

ปัญหาในสำนักของเทวดานั้นแล เข้าไปหาสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้เป็นเจ้าหมู่

เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีซึ่งเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมาก

ยกย่องว่าดี คือปูรณกัสสป มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุทธกัจจายนะ

สัญชัยเวลัฏฐบุตร นิครนถ์นาฏบุตร แล้วจึงถามปัญหาเหล่านั้น สมณพราหมณ์

เหล่านั้นอันสภิยปริพาชกถามปัญหาแล้ว แก้ไม่ได้ เมื่อแก้ไม่ได้ ย่อมแสดง

ความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฏ ทั้งยังกลับถามสภิย-

ปริพาชกอีก.

ครั้งนั้นแล สภิยปริพาชกมีความดำริว่า ท่านสมณพราหมณ์ทั้งหลาย

ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชน

ส่วนมากยกย่องว่าดี คือ ปูรณกัสสป ฯลฯ นิครนถ์นาฏบุตร ถูกเราถาม

ปัญหาแล้ว แก้ไม่ได้ เมื่อแก้ไม่ได้ ย่อมแสดงความโกรธ ความขัดเคือง

และความไม่พอใจให้ปรากฏ ทั้งยังกลับถามเราในปัญหาเหล่านี้อีก ถ้ากระไร

เราพึงละเพศกลับมาบริโภคกามอีกเถิด ครั้งนั้นแล สภิยปริพาชกมีความดำริ

ว่า พระสมณโคดมนี้แล เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มี

เกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปเฝ้า

พระสมณโคดม แล้วทูลถามปัญหาเหล่านี้เถิด.

ลำดับนั้นแล สภิยปริพาชกมีความดำริว่า ท่านสมณพราหมณ์ทั้งหลาย

เป็นผู้เก่าแก่ เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ เป็นผู้เฒ่า รู้ราตรีนาน

บวชมานาน เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็น

เจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี คือ ปูรณกัสสป ฯลฯ นิครนถ์นาฎบุตร

ท่านสมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ถูกเราถามปัญหาแล้วแก้ไม่ได้ เมื่อแก้ไม่ได้

ย่อมแสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจให้ปรากฎ ทั้งยังกลับ

ถามเราในปัญหาเหล่านี้อีก ส่วนพระสมณโคดม ถูกเราถามเแล้วจักพยากรณ์

ในปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร เพราะพระสมณโคดมยังเป็นหนุ่มโดยพระชาติ ทั้ง

ยังเป็นผู้ใหม่โดยบรรพชา.

ลำดับนั้น สภิยปริพาชกมีความดำริว่า พระสมณโคดมเราไม่ควร

ดูหมิ่นดูแคลนว่า ยังเป็นหนุ่ม ถึงหากว่าพระสมณโคดมจะยังเป็นหนุ่ม แต่

ท่านก็เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม

แล้วทูลถามปัญหาเหล่านี้เถิด ลำดับนั้น สภิยปริพาชกได้หลีกจาริกไปทางพระ-

นครราชคฤห์ เมื่อเที่ยวจาริกไปโดยลำดับ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายัง

พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้นแล้วปราศรัย

กับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

[๓๖๕] ข้าพระองค์ ผู้มีความสงสัย

มีความเคลือบแคลง มาหวังจะทูลถามปัญหา

พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามปัญหาแล้ว

ขอจงตรัสพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ ตามลำดับ-

ปัญหา ให้สมควรแก่ธรรมเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า

ดูกร สภิยะ ท่านมาแต่ไกล หวังจะ

ถามปัญหา เราอันท่านถามปัญหาแล้ว จะ

กระทำที่สุดแห่งปัญหาเหล่านั้น จะพยากรณ์

แก่ท่านตามลำดับปัญหา ให้สมควรแก่ธรรม

ดูกร สภิยะ ท่านปรารถนาปัญหาข้อใด

ข้อหนึ่งในใจ ก็เชิญถามเราเถิด เราจะกระ

ทำที่สุดเฉพาะปัญหานั้นๆ แก่ท่าน.

[๓๖๖] ลำดับนั้น สภิยปริพาชกดำริว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ ไม่

เคยมีมาเลยหนอ เราไม่ได้แม้เพียงการให้โอกาสในสมณพราหมณ์เหล่าอื่นเลย

พระสมณโคดมได้ทรงให้โอกาสนี้แก่เราแล้ว สภิยปริพาชกมีใจชื่นชม เบิกบาน

เฟื่องฟู เกิดปีติโสมนัส ได้กราบทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

บัณฑิตกล่าวบุคคลผู้บรรลุอะไรว่า

เป็นภิกษุ กล่าวบุคคลว่าผู้สงบเสงี่ยมด้วย

อาการอย่างไร กล่าวบุคคลว่าผู้ฝึกตนแล้ว

อย่างไร และอย่างไรบัณฑิตจึงกล่าวบุคคล

ว่าผู้รู้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์อัน

ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสพยากรณ์

แก่ข้าพระองค์เถิด

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูกร สภิยะ

ผู้ใดถึงความดับกิเลสด้วยมรรคที่ตน

อบรมแล้ว ข้ามความสงสัยเสียได้ ละความ

ไม่เป็นและความเป็นได้เด็ดขาด อยู่จบ

พรหมจรรย์ มีภพใหม่สิ้นแล้ว ผู้นั้นบัณฑิต

กล่าวว่า เป็นภิกษุ

ผู้ใดวางเฉย ในอารมณ์มีรูปเป็นต้น

ทั้งหมด มีสติ ไม่เบียดเบียนสัตว์ในโลก

ทั้งปวง ข้ามโอฆะได้แล้ว เป็นผู้สงบ ไม่

ขุ่นมัว ไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น ผู้นั้นบัณฑิต

กล่าวว่า ผู้สงบเสงี่ยม

ผู้ใดอบรมอินทรีย์แล้ว แทงตลอด

โลกนี้และโลกอื่น ทั้งภายในทั้งภายนอกใน

โลกทั้งปวง รอเวลาสิ้นชีวิตอยู่ อบรมตน

แล้ว ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่า ผู้ฝึกตนแล้ว.

ผู้พิจารณาทั้งสองอย่าง คือ จุติและ

อุบัติ ตลอดกัปทั้งสิ้นแล้ว ปราศจากธุลี

ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ผู้หมดจด ถึงความ

สิ้นไปแห่งชาติ ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่า ผู้รู้

[๓๖๗] ลำดับนั้น สภิยปริพาชก ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้

มีพระภาคเจ้าแล้ว มีใจชื่นชม เบิกบาน เฟื่องฟู เกิดปีติโสมนัส ได้ทูลถาม

ปัญหาข้อต่อไป กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

บัณฑิตกล่าวบุคคลผู้บรรลุอะไรว่า

เป็นพราหมณ์ กล่าวบุคคลว่า เป็นสมณะ

ด้วยอาการอย่างไร กล่าวบุคคลผู้ล้างบาป

อย่างไร และอย่างไรบัณฑิตจึงกล่าวบุคคล

ว่า เป็นนาค (ผู้ประเสริฐ) ข้าแต่พระผู้มี

พระภาคเจ้า พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถาม

แล้ว ขอจงตรัสพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพยากรณ์ว่า

ผู้ใดลอยบาปทั้งหมดแล้ว เป็นผู้

ปราศจากมลทิน มีจิตตั้งมั่นดี ดำรงตนมั่น

ก้าวล่วงสงสารได้แล้ว เป็นผู้สำเร็จกิจ (เป็น

ผู้บริบูรณ์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น) ผู้นั้นอัน

ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว เป็นผู้คงที่

บัณฑิตกล่าวว่า เป็นพราหมณ์

ผู้ใดมีกิเลสสงบแล้ว ละบุญและบาป

ได้แล้ว ปราศจากกิเลสธุลี รู้โลกนี้และ

โลกหน้าแล้ว ล่วงชาติและมรณะได้ ผู้คง

ที่เห็นปานนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นสมณะ

ผู้ใด ล้างบาปได้หมดในโลกทั้งปวง

คือ อายตนะภายในและภายนอกแล้ว ย่อม

ไม่มาสู่กัป ในเทวดาและมนุษย์ผู้สมควรผู้

นั้นบัณฑิตกล่าวว่า ผู้ล้างบาป

ผู้ใดไม่กระทำบาปอะไรๆ ในโลก

สลัดออกซึ่งธรรมเป็นเครื่องประกอบและ

เครื่องผูกได้หมด ไม่ข้องอยู่ในธรรมเป็น

เครื่องข้องมีขันธ์เป็นต้นทั้งปวง หลุดพ้น

เด็ดขาด ผู้คงที่ เห็นปานนั้น บัณฑิตกล่าว

ว่า เป็นนาค

[๓๖๘] ลำดับนั้น สภิยปริพาชก ได้ทูลถามปัญหาข้อต่อไป

กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ท่านผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวใครว่าผู้ชนะ-

เขต กล่าวบุคคลว่า เป็นผู้ฉลาด ด้วยอาการ

อย่างไร อย่างไรจึงกล่าวบุคคลว่า เป็นบัณฑิต

และกล่าวบุคคลว่า เป็นมุนี ด้วยอาการ

อย่างไร ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ่า พระองค์

อันข้าพระองค์ทูลถามแล้วขอจงตรัสพยา-

กรณ์แก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูกร สภิยะ

ผู้ใดพิจารณา

เขตทั้งสิ้น คือ เขตที่เป็นของทิพย์ เขตของ

มนุษย์และเขตของพรหมแล้ว เป็นผู้หลุดพ้น

จากเครื่องผูกอันเป็นรากเหง้าแห่งเขตทั้งหมด

ผู้คงที่ เห็นปานนั้น ผู้นั้นท่านผู้รู้ทั้งหลาย

กล่าวว่า เป็นผู้ชนะเขต

ผู้ใดพิจารณากะเปาะฟอง ทั้งสิ้น

คือ กะเปาะฟองที่เป็นของทิพย์

กะเปาะฟองของมนุษย์ และกะเปาะฟอง

ของพรหมแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นจากเครื่องผูก

อันเป็นรากเหง้าแห่งกะเปาะฟองทั้งหมด

ผู้คงที่ เห็นปานนั้น ผู้นั้นท่านผู้รู้ทั้งหลาย

กล่าวว่า เป็นผู้ฉลาด

ผู้ใดพิจารณาอายตนะทั้งสอง คือ

อายตนะภายในและภายนอกแล้ว เป็นผู้มี

ปัญญาอันบริสุทธิ์ ก้าวล่วงธรรมดำและ

ธรรมขาวได้แล้ว ผู้คงที่ เห็นปานนั้น ผู้นั้น

ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่า เป็นบัณฑิต.

ผู้ใด รู้ธรรมของอสัตบุรุษและของ

สัตบุรุษในโลกทั้งปวง คือ ในภายในและ

ภายนอก แล้วดำรงอยู่ ผู้นั้นอันเทวดาและ

มนุษย์บูชา ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและข่าย

คือตัณหาและทิฏฐิแล้ว ท่านผู้รู้ทั้งหลาย

กล่าวว่า เป็นมุนี

[๓๖๙] ลำดับนั้น สภิยปริพาชก ได้ทูลถามปัญหาข้อต่อไป

กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

บัณฑิตกล่าวบุคคลผู้บรรลุอะไร ว่า

ผู้ถึงเวท กล่าวบุคคลว่า ผู้รู้ตาม ด้วยอาการ

อย่างไร กล่าวบุคคลว่า ผู้มีความเพียร ด้วย

อาการอย่างไร และบุคคลผู้อันบัณฑิตกล่าวว่า

เป็นผู้ชื่อว่า อาชาไนย ด้วยอาการอย่างไร

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์อันข้า

พระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสพยากรณ์

แก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูกร สภิยะ

ผู้ใดพิจารณาเวททั้งสิ้น อันเป็น

ของมีอยู่แห่งสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย

ปราศจากความกำหนัดในเวทนาทั้งปวง

ผู้นั้นล่วงเวททั้งหมดแล้ว บัณฑิตกล่าวว่า

ผู้ถึงเวท

ผู้ใด ใคร่ครวญธรรมอันเป็นเครื่องทำ

ให้เนิ่นช้า และนามรูปอันเป็นรากเหง้าแห่ง

โรค ทั้งภายในทั้งภายนอกแล้ว เป็นผู้หลุด

พ้นจากเครื่องผูกอันเป็นรากเหง้าแห่งโรค

ทั้งปวง ผู้คงที่เห็นปานนั้น ผู้นั้นบัณฑิต

กล่าวว่า ผู้รู้ตาม

ผู้ใด งดเว้นจากบาปทั้งหมด ล่วง

ความทุกข์ในนรกได้แล้ว ดำรงอยู่ ผู้นั้น

บัณฑิตกล่าวว่า ผู้มีความเพียร ผู้นั้นมีความ

แกล้วกล้า มีความเพียร ผู้คงที่เห็นปานนั้น

บัณฑิตกล่าวว่า เป็นนักปราชญ์

ผู้ใด ตัดเครื่องผูกอันเป็นรากเหง้า

แห่งธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งภายในทั้งภาย

นอกได้แล้ว หลุดพ้นแล้วจากเครื่องผูกอัน

เป็นรากเหง้าแห่งธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งปวง

ผู้คงที่ เห็นปานนั้น ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่า

เป็นผู้ชื่อว่า อาชาไนย

[๓๗๐] ลำดับนั้น สภิยปริพาชก ได้ทูลถามปัญหาข้อต่อไปกะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

บัณฑิตกล่าวบุคคลผู้บรรลุอะไร ว่า

ผู้สมบูรณ์ด้วยสุตะ กล่าวบุคคลว่า เป็นอริยะ

ด้วยอาการอย่างไร กล่าวบุคคลว่า ผู้มีจรณะ

ด้วยอาการอย่างไร และบุคคลผู้อันบัณฑิต

กล่าวว่าเป็นผู้ชื่อว่าปริพาชก ด้วยอาการ

อย่างไร ข้าแต่พระผู้พระภาคเจ้า พระองค์

อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสพยา

กรณ์แก่ข้าพระองค์เถิด

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูกร สภิยะ

บัณฑิตกล่าวบุคคลผู้ฟังแล้ว รู้ยิ่ง

ธรรมทั้งมวล ครอบงำธรรมที่มีโทษและไม่

มีโทษอะไรๆ อันมีอยู่ในโลกเสียได้ ไม่มี

ความสงสัย หลุดพ้นแล้ว ไม่มีทุกข์ในธรรม

มีขันธ์และอายตนะเป็นต้นทั้งปวง ว่า ผู้

สมบูรณ์ด้วยสุตะ.

บุคคลนั้นรู้แล้ว ตัดอาลัย (และ)

อาสวะได้แล้ว ย่อมไม่เข้าถึงการนอนใน

ครรภ์ บรรเทาสัญญา ๓ อย่าง และเปือกตม

คือ กามคุณแล้ว ย่อมไม่มาสู่กัป บัณฑิต

กล่าวว่า เป็นอริยะ

ผู้ใดในศาสนานี้ เป็นผู้บรรลุธรรม

ที่ควรบรรลุเพราะจรณะ เป็นผู้ฉลาด รู้ธรรม

ได้ในกาลทุกเมื่อ ไม่ข้องอยู่ในธรรมมีขันธ์

เป็นต้นทั้งปวง มีจิตหลุดพ้นแล้ว ไม่มีปฏิฆะ

นั้น บัณฑิตกล่าวว่า ผู้มีจรณะ

ผู้ใดขับไล่กรรมอันมีทุกข์เป็นผล

ซึ่งมีอยู่ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และเป็น

ปัจจุบันได้แล้ว มีปกติกำหนดด้วยปัญญา

เที่ยวไป กระทำมายากับทั้งมานะ ความโลภ

ความโกรธ และนามรูป ให้มีที่สุดได้แล้ว

ผู้นั้น บัณฑิตกล่าวว่า ปริพาชก ผู้บรรลุ

ธรรมที่ควรบรรลุ.

...ฯลฯ...

สภิยปริพาชก ได้บรรพชา อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว ครั้นท่านพระสภิยะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่

ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่ง

พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ

ต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้

มิได้มีอีก ก็ท่านพระสภิยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์

ทั้งหลายฉะนี้แล.

จบสภิยสูตรที่ ๖ .


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 17 มี.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

สภิยสูตร

(ว่าด้วยทรงตอบปัญหาของสภิยปริพาชก)

สภิยปริพาชก ได้เรียนปัญหาจากเทวดา (พรหมบุคคลอนาคามี สมัยที่เคย

ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกันกับตน ในกาลสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนาม

ว่ากัสสปะ) โดยที่เทวดาท่านนี้มุ่งถึงประโยชน์แก่สภิยปริพาชากเป็นสำคัญ ว่า

ถ้าใครตอบปัญหาเหล่านี้ได้ ก็ขอให้ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของผู้นั้น สภิยปริพาชก

ได้นำปัญหาที่ตนเรียนแล้ว ไปสอบถามจากสำนักของครูต่างๆ ท่านเหล่านั้นไม่

สามารถตอบได้ พร้อมกับแสดงอาการโกรธให้ปรากฏ ภายหลังสภิยปริพาชก จึงได้

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อครั้งที่พระองค์ประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้

กรุงราชคฤห์ แล้วได้กราบทูลถามปัญหากับพระองค์ ซึ่งปัญหาที่สภิยปริพาชกได้

ทูลถามพระองค์นั้น มีทั้งหมด ๕ หมวด หมวดละ ๔ ข้อ รวมเป็น ๒๐ ข้อ

(ขอยกเป็นมาหัวข้อสรุป เพียงปัญหาหมวดที่ ๑ พร้อมทั้งพระดำรัสตรัสตอบของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า)

ปัญหา หมวดที่ ๑ คือ

บุคคลบรรลุอะไร จึงเรียกว่า ภิกษุ?

ผู้สงบเสงี่ยม มีอาการอย่างไร?

ผู้ฝึกตนแล้ว เป็นอย่างไร?

บุคคลรู้อะไร จึงชื่อว่า ผู้รู้?

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบด้วยพระคาถา ว่า

ผู้ใด ถึงความดับกิเลสด้วยมรรคที่ตน

อบรมแล้ว ข้ามความสงสัยเสียได้ ละความ

ไม่เป็นและความเป็นได้เด็ดขาด อยู่จบ

พรหมจรรย์ มีภพใหม่สิ้นแล้ว ผู้นั้นบัณฑิต

กล่าวว่า เป็นภิกษุ

ผู้ใดวางเฉย ในอารมณ์มีรูปเป็นต้น

ทั้งหมด มีสติ ไม่เบียดเบียนสัตว์ในโลก

ทั้งปวง ข้ามโอฆะได้แล้ว เป็นผู้สงบ ไม่

ขุ่นมัว ไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น ผู้นั้นบัณฑิต

กล่าวว่า ผู้สงบเสงี่ยม

ผู้ใดอบรมอินทรีย์แล้ว แทงตลอด

โลกนี้และโลกอื่น ทั้งภายในทั้งภายนอกใน

โลกทั้งปวง รอเวลาสิ้นชีวิตอยู่ อบรมตน

แล้ว ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่า ผู้ฝึกตนแล้ว

ผู้พิจารณาทั้งสองอย่าง คือ จุติและ

อุบัติ ตลอดกัปทั้งสิ้นแล้ว ปราศจากธุลี

ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ผู้หมดจด ถึงความ

สิ้นไปแห่งชาติ ผู้นั้นบัณฑิตกล่าวว่า ผู้รู้.

(ตามที่ปรากฏในพระสูตร)

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบปัญหาทั้งหมดแล้ว สภิยปริพาชก ได้กราบทูล

ชื่นชมพระภาษิตของพระองค์ พร้อมทั้งได้ขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา ในที่สุด

ท่านก็ได้อุปสมบทในพระพุทธศาสนา ไม่นานท่านก็ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ถึงความ

เป็นพระอรหันต์ ห่างไกลจากกิเลสโดยประการทั้งปวง.

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

โอฆะ...?

วิจิกิจฉา

เป็นผู้สงบ

สงบ - ไม่สงบ

อยู่พรหมจรรย์ เป็นอย่างไร?

เป็นอริยะ เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง

พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ไม่หวั่นไหว

เวท ... เวทคู ฯลฯ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ธนัตถ์กานต์
วันที่ 17 มี.ค. 2556

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 17 มี.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nong
วันที่ 18 มี.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
j.jim
วันที่ 18 มี.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
tanakase
วันที่ 18 มี.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
tawich109
วันที่ 18 มี.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สาธุ... สาธุ... สาธุ...

ขอกราบอนุโมทนาในกุศลจิตของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chamaikorn
วันที่ 19 มี.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
natural
วันที่ 22 มี.ค. 2556

ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 22 มี.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 24 มี.ค. 2556

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ