ธรรมไพเราะ เพราะว่า เป็น สัจจธรรม

 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่  10 ก.ค. 2556
หมายเลข  23155
อ่าน  1,389

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จากเก็บไว้ในหทัย หน้า ๕๙

ธรรมไพเราะ เพราะว่า เป็น สัจจธรรม ที่พิสูจน์ได้ ทุกกาลสมัย แม้ในขณะนี้ อย่างเช่น การเห็น ก็เป็น สิ่งที่มีจริง และ ก็เป็น อนัตตา ด้วย เพราะฉะนั้น คำที่ไพเราะ คือ คำจริง ถ้าเป็นคำไม่จริง เป็นคำเท็จ แม้เมื่อฟังดู เหมือนจะไพเราะ แต่ว่าเมื่อไม่จริงแล้ว ก็ย่อมไม่ใช่ คำที่มีความไพเราะ คำถาม คำว่า "ไพเราะ" และ "พิสูจน์ได้" มีคำแปล มีความหมาย ว่าอย่างไรคะ มาจากคำใดในภาษาบาลี กรุณายกตัวอย่างในพระสูตร และในทางเรื่องราวด้วยค่ะ

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา ท่านผู้รู้ สำหรับคำอธิบายค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 10 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ประโยชน์อยู่ที่ความเข้าใจถูกเห็นถูก จากการที่ได้ฟังได้ศึกษาพระธรรม ตามที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ในภาษาของตนๆ เพราะทุกคำที่ได้ยินได้ฟังนั้น ล้วนกล่าวถึงสิ่งที่มีจริง เพื่อเข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริงว่า เป็นธรรม ไม่ใช่เรา พระธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ไพเราะ เพราะเป็นพระธรรมคำสอน ที่ถูกต้อง ไม่มีผิดเลย ที่สอนให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดของพระธรรมคำสอน ก็คือ เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกโดยตลอด และ ที่จะเข้าใจเห็นถึงความไพเราะ ของพระธรรมได้ ต้องเป็นผู้มีศรัทธาเห็นประโยชน์ของพระธรรม ฟังและมีความเข้าใจ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในสมัยพุทธกาล ผู้ที่ได้ฟังพระธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีความ เข้าใจที่ได้ฟังความจริง จึงมีการชื่นชมพระภาษิตของพระองค์ ว่าพระธรรมที่พระองค์ ทรงแสดงนั้น ไพเราะ นำมาซึ่งความแจ่มแจ้ง เปรียบเหมือน หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง เหมือนส่องประทีปในที่มืด ด้วยหมายว่าคนผู้มีจักษุ จักเห็นรูปได้ ซึ่งทั้งหมดก็มาจากเหตุที่สำคัญคือได้ฟังพระธรรม นั่นเอง

ธรรม ทนต่อการพิสูจน์ เพราะธรรมมีจริงๆ เป็นสิ่งที่จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใด ก็ตาม ผู้ที่จะพิสูจน์ธรรมว่าเป็นสิ่งที่มีจริง ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของ ใครนั้น ก็จะต้องเป็นผู้ที่มีปัญญา ผู้ไม่มีปัญญาไม่สามารถที่จะรู้ธรรมตามความเป็นจริง ได้เลย แม้จะมีธรรมอยู่ทุกขณะก็ตาม

และ ที่กล่าวถึงคำภาษาบาลีนั้น คงไม่สำคัญเท่ากับความเข้าใจถูกเห็นถูกในธรรม ด้วยภาษาของตน คือ ภาษาไทยครับ ไพเราะ มาจากภาษาบาลี ว่า อภิกฺกนฺตํ กลฺยาณํ ส่วน พิสูจน์ มาจากภาษาบาลี ว่า ฌาย ซึ่งมีอรรถว่า เพ่งพินิจด้วยปัญญา ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ธรรมอันพระผู้มีพระภาคแสดงแล้ว ไพเราะทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด

พระธรรมไพเราะคืออย่างไร

ไพเราะทุกคำที่ท่านกล่าว

ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อการเพ่งพิสูจน์

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 10 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

คำที่มีความไพเราะ ไม่ใช่ด้วยอักษร ที่มีความวิจิตร คำพูดที่สละสลวย แต่คำใด ที่ทำให้เกิดปัญญา ทำให้เกิดความเห็นถูก และ คำที่ทำให้ละอวิชชา และ ละกิเลส ประการต่างๆ มีความเห็นผิด เป็นต้น คำนั้นเป็นคำที่ไพเราะ

พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงทุกคำ ตรัสรู้ด้วยพระปัญญา อันเกิดจากการ ประจักษ์สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ที่เป็น จิต เจตสิก รูป และ พระนิพพาน ถ่ายทอด ด้วยพระปัญญา ให้เข้าใจ ความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ แต่ ด้วยปัญญา ที่รู้ความจริง เท่านั้น พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงทุกคำ จึงเป็นคำที่แสดง ความจริง ที่เป็นสัจจะ เพราะ ไม่ว่าจะกล่าวโดยนัยพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสภาพธรรม ที่มีจริงทั้งนั้น อันควรค่าแก่การรู้ความจริงนั้น พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงทุกคำ จึงเป็นคำที่ไพเราะ ไพเราะ เพราะทำให้ ผู้ที่ฟัง ที่สะสมปัญญามา เกิดปัญญาความเห็นถูก และแม้ขณะที่เข้าใจขึ้น พระธรรม ก็ไพเราะขึ้น สำหรับผู้ที่มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น อันแสดงถึงอีกนัยที่ว่า เบิกบานเพราะ เข้าใจพระธรรม ไพเราะ เพราะ เบิกบานในธรรม ที่ได้ยินได้ฟัง ด้วยความเข้าใจ ที่เกิดขึ้น ครับ

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่

ไพเราะด้วยปัญญาที่เบิกบาน [ปริสาสูตร]

ขออนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nopwong
วันที่ 10 ก.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 11 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา อจ.คำปั่น และ อจ.ผเดิม เป็นอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
raynu.p
วันที่ 11 ก.ค. 2556

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ต.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ