การให้อภัย

 
นิ้ง
วันที่  12 ก.ย. 2556
หมายเลข  23577
อ่าน  6,186

การให้อภัย สำคัญอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 12 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การให้อภัย หรือ อภัยทาน สำหรับคำว่า ภัย คือ สิ่งที่นำมาซึ่งความน่ากลัว

อภัย คือ ความไม่มีภัย ความไม่มีความน่ากลัว ไม่นำมาซึ่งสิ่งไม่ดี ดังนั้น ให้อภัย หรือ อภัยทาน จึงเป็นการให้ความไม่มีภัย คือ ให้ความไม่น่ากลัว ให้ความไม่มีโทษ ดังนั้น การให้อภัย อภัยทานจึงเป็นการให้ที่ไม่ใช่วัตถุสิ่งของ แต่เป็นการให้ที่เกิดจากกุศลจิตของผู้ให้ เมื่อเกิดกุศลจิต ที่จะงดเว้นจากบาปมีการไม่ฆ่า เป็นต้น ขณะนั้นก็ให้ความไม่มีภัย ให้ความไม่น่ากลัว กับสัตว์อื่น ทำให้สัตว์อื่นปลอดภัยจากการกระทำของตนเองที่เกิดจากกุศลจิต กุศลขั้นศีล ๕ เป็นต้น ที่เป็นการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เป็นต้น ก็ชื่อว่า อภัยทาน

อภัยทาน อีกนัยหนึ่ง คือ ความไม่โกรธ ผู้อื่น เมื่อได้รับสิ่งที่กระทบทางตา หู กาย อันสมมติว่าเป็นการกระทำของผู้อื่น เมื่อไม่โกรธ ก็ให้ความไม่มีภัย กับผู้นั้น เพราะภัยสิ่งที่น่ากลัว มาจากกิเลส หากไม่มีกิเลสก็จะไม่นำมาซึ่งความน่ากลัว การกระทำที่ไม่ดี ไม่ได้เลย ครับ เมื่อไม่โกรธ ก็ให้อภัย คือ ไม่มีภัย กับผู้อื่นในขณะนั้น เพราะไม่มีการกระทำทางกายที่ไม่ดี ไม่มีการกระทำทางวาจาที่ไม่ดี่ อันมีเหตุมาจากความโกรธ ที่เป็นภัย อภัยทานจึงสูงกว่า มีอานิสงส์มากกว่า อามิสทาน เพราะอภัยทานเป็นการให้ ที่สละยากกว่า เพราะเกิดจากกุศลจิตขั้นศีล ที่งดเว้นจากบาป ไม่ใช่ เป็นการสละวัตถุภายนอกที่เป็นรูปธรรม อันเป็นอามิสทาน ครับ

การให้อภัยอย่างแท้จริงคะ?

ตามที่กล่าวแล้ว ให้อภัย คือ ให้ความไม่มีภัยกับผู้อื่น คือ ให้ความไม่น่ากลัวกับผู้อื่น ขณะใดที่ ไมทำร้ายเขาทางกาย วาจา งดเว้นจากการกระทำเหล่านั้น ขณะนั้นเป็นการให้อภัยอย่างแท้จริง ในกุศลขั้นศีล ครับ ที่งดเว้นจากการล่วงศีล 5 อันเป็นจิตที่เป็นกุศลในขณะนั้น และขณะที่ให้อภัยที่แท้จริง อีกนัยหนึ่ง คือ เมื่อใดที่โกรธแล้ว ก็คิดได้ด้วยกุศล ก็ไม่โกรธ บุคคลอื่น จึงไม่คิดไม่ดีกับผู้อื่น เมื่อนั้น ก็ชื่อว่าให้อภัยอย่างแท้จริง ในกุศลขั้นคิดพิจารณาถูกต้องที่คิดที่จะไม่โกรธเขาอีกด้วยกุศล ไม่ใช่ด้วยความจำทน เพราะ เขามีอำนาจ ครับ

และ การให้อภัยอย่างแท้จริงสูงสุด คือ กิเลสของตนเอง เป็นภัย เป็นศัตรู เป็นสิ่งที่น่ากลัว คนอื่น ไม่ใช่ภันที่แท้จริง เพราะ สิ่งที่ทำร้ายใจของตนเองได้ ที่แท้ คือกิเลสที่เกิดขึ้นในจิตใจ ดังนั้น การให้ความไม่มีภัย อันเป็นอภัยทานอันสูงสุด ก็สามารถกล่าวได้ว่า การละความไม่มีภัย คือ การละกิเลสของตนเองทีเกิดขึ้น ขณะใดก็ชื่อว่า ไม่มีภัย คือ กิเลสในขณะนั้น ขณะที่ให้ทาน ทำบุญประการต่างๆ ก็ชื่อไม่มีภัย คือ กิเลสเกิดขึ้น เพราะ จิตเป็นกุศล แต่ยังไม่พ้นจากภัย คือ การเกิด ไม่พ้นจากภัย คือ กิเลสที่สะสมอยู่ในจิตใจอยู่ การให้อภัยที่สูงสุด คือ การละ สิ่งที่เป็นภัย เป็นศัตรูในจิตใจจนหมดสิ้น จึงกล่าวได้ว่า ปัญญาที่ดับกิเลสหมดสิ้นแล้ว ถึงความเป็นพะรอรหันต์เป็นการให้อภัย ให้ความไม่มีภัยกับจิตใจของตนเอง เพราะละกิเลสที่เป็นภัยได้จนหมดแล้วนั่นเอง ครับ

เราจะรู้ใจเราได้ยังไงว่า เรา "ให้อภัย" แล้ว...

ใจของตนเองที่รู้ เป็นสำคัญ ไม่ใช่ใคร และขณะที่ให้อภัยแล้วคือ ให้ความไม่มีภัยกับตนเองก่อนเลยในขณะนั้นคือ เป็นกุศลจิตที่คิดที่จะไม่โกรธคนอื่น คิดที่จะไม่ทำร้ายคนอื่น ทางกาย วาจา ไม่คิดที่จะฆ่า ไม่คิดที่จะลักขโมย เป็นต้น ขณะนั้น ก็ให้อภัย ให้ความไม่น่ากลัวกับตนเอง คือ ละกิเลสที่เคยเกิดแล้วที่เคยโกรธ และให้อภัยกับผู้อื่นที่ไม่คิดจะให้สิ่งไม่ดีกับเขาครับ ใจของตนเองที่จะรู้และ จะรู้จิตของตนเองได้อย่างไรว่า ให้อภัยแล้ว ก็ด้วยปัญญาที่รู้ว่า จิตเป็นกุศลหรือไม่ และ ไม่โกรธแล้ว แต่ไม่โกรธด้วยจิตอะไร ถ้าไม่โกรธ แต่ ยังขุ่นเคืองใจ อดทนอยู่ ก็ไม่ได้ให้อภัยจริงๆ แต่ไม่โกรธ แต่เกิดจิตที่เป็นกุศลแทน คือ ความมีเมตตา หวังดี อย่างนี้ เป็นการให้อภัยแล้ว ซึ่งปัญญาของตนเองเท่านั้นที่จะรู้ได้

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะรู้ได้ก็ด้วยการศึกษาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นสำคัญ พระธรรมที่ได้ศึกษาและเกิดปัญญาแล้ว ย่อมนำมาซึ่ง ความเข้าใจถูก ความเข้าใจถูก ย่อมทำให้คิดถูก เมื่อคิดถูก กาย วาจา ก็ดี และ คิดให้ให้อภัย แม้เกิดอกุศล เกิดความโกรธขึ้น ไม่มีตัวเรา พยายามที่จะละกิเลสได้ หากไม่ได้ศึกษาพระธรรม แต่ปัญญาที่เกิดจากการศึกษาพระธรรม ย่อมปรุงแต่งให้ละกิเลสได้ และเจริญขึ้นของกุศลไปตามลำดับ ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

ให้อภัย

ธรรมทาน กับ อภัยทาน ทานอย่างไหนมีอานิสงส์มากกว่ากันครับ

ขอเรียนถาม ระหว่างการให้ธรรมเป็นทาน กับ อภัยทาน ธรรมใดมีอานิสงส์มากกว่ากันครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
isme404
วันที่ 12 ก.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
isme404
วันที่ 12 ก.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 12 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การให้ภัยหรือไม่ถือโทษ การไม่โกรธเมื่อผู้อื่นล่วงเกินต่อเรา แสดงให้เห็นถึงสภาพจิตในขณะนั้นว่าเป็นสภาพจิตที่ดี เป็นกุศลจิต เป็นจิตที่ประกอบด้วยธรรมฝ่ายดี มี ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เป็นต้น เพราะขณะนั้นไม่ผูกโกรธ ซึ่งเป็นความจริงที่ว่า กุศล ย่อมให้ผลที่ดี นำมาซึ่งความสุขความเจริญ และที่สำคัญการให้ภัย เป็นกุศลที่สูงกว่าการให้วัตถุทาน เพราะเหตุว่าสำหรับบางบุคคลให้วัตถุทานได้ง่ายมาก แต่ให้อภัยคนอื่นยาก จึงเป็นเรื่องที่ควรจะพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง ให้อภัย คือ ไม่ถือโทษโกรธคนอื่น ต้องเป็นกุศลในขณะนั้น แต่ตราบใดที่ยังมีกิเลสอยู่ ก็ยังมีเหตุปัจจัยให้ความโกรธ ความไม่พอใจเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ซึ่งจะต้องขัดเกลาด้วยความเข้าใจพระธรรมอย่างแท้จริง

ประโยชน์ของการให้อภัย คือเริ่มจากตัวเอง ขณะที่ให้ภัยเป็นการขัดเกลากิเลสของตนเอง แทนที่จะสะสมความผูกโกรธ ความไม่พอใจมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ให้ภัยในความผิดของคนอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ ก็ตาม และที่สำคัญก็เป็นประโยชน์กับบุคคลอื่นอีกด้วย ทำให้เขาเกิดความสบายใจ ไม่มีภัย กล่าวได้ว่าเป็นการรักษาทั้งตนเองและผู้อื่นด้วย พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแเสดงเกื้อกูลให้เกิดกุศล ไม่ใช่กุศล ประโยชน์สูงสุด คือ เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเองที่สะสมมาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ และเพื่อสะสมปัญญาซึ่งเป็นความเข้าใจถูก เห็นถูก ต่อไป ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

คำสั้นๆ ...ให้อภัย

....ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 12 ก.ย. 2556

ก็ต้องเห็นโทษของการขาดเมตตา ทำให้เราและคนอื่นไม่มีความสุข จึงเจริญเมตตาได้ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Parinya
วันที่ 13 ก.ย. 2556

ขออนุญาติเข้ามาแสดงความคิดเห็น ของคำว่าการให้อภัยโดยกล่าวคำว่า "ไม่เป็นไร"

ขอยกตัวอย่างเช่น มีคนมาขอยืมเงินของคุณไป แต่พอถึงเวลาเขาไม่สามารถนำมาคืนได้ ถ้าท่านมีจิตเมตตากับผู้ที่ยืม ท่านไม่คิดหวงและห่วงเงินที่ได้ให้ยืมไปแล้ว ท่านก็กล่าวคำว่า "ไม่เป็นไร" แล้วสังเกตจิตของตนเองซิครับ เป็นจิตที่มีแต่ความเมตตาปราศจากความโลภ อีกตัวอย่าง ถ้าคุณเป็นผู้นำของกลุ่มที่จะไปท่องเที่ยวด้วยกัน แต่มีเพื่อนอีกคนที่ได้ลงชื่อไว้แล้วไม่สามารถจะมาได้จริงฯ ท่านกล่าวคำว่า "ไม่เป็นไร" คำพูดนี้เป็นคำพูดที่มีเมตตาจิตที่ออกจากจิตของท่านแสดงว่า ท่านไม่ได้ห่วงเรื่องอื่นๆ เช่นที่นั่งว่างไปหนึ่งที่ ที่พักขาดรายได้นิดหน่อย ซึ่งถ้าท่านอาจจะออกมากหน่อย ท่านก็จะเป็นทั้งผู้ที่เสียสละ และเป็นผู้ที่ให้อภัยผู้อื่น ทำได้บ่อยๆ จนกลายเป็นความเคยชิน เมตตาจิตก็จะเกิดมากขึ้น ผู้ที่ได้รับความเมตตาและการให้อภัยจากท่าน ก็ย่อมได้รับความสบายใจ สิ่งที่ยกตัวอย่างมานี้ เป็นธรรมที่มีอยู่จริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งความจริงที่พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านได้ตรัสรู้และมาสั่งสอนเรามีประโยชน์มาก ถ้าท่านทำได้บ่อยๆ เนืองๆ ท่านก็จะไม่ยึดถือหรือเสียดายกับวัตถุซึ่งเป็นทรัพย์ภายนอก แต่ในทางตรงกันข้ามท่านกำลังสร้าง อริยทรัพย์ คือทรัพย์ภายในไว้ในจิตของท่าน

ขออนุโมทนา

ปริญญา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Jans
วันที่ 14 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Noki
วันที่ 9 ก.พ. 2563

สาธุ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ