นิวรณธรรม
นิวรณธรรม คืออย่างไรครับ
ขอนอบน้อมแ่ด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
นิวรณธรรมคือ ธรรมที่เป็นนิวรณ์
ก่อนอื่นจะต้องเข้าใจครับว่า นิวรณ์คือ เป็นธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้นจิตคือ ปิดกั้นจิตไม่ให้เป็นกุศลคือ เป็นอกุศล และเป็นธรรมที่บั่นทอนกำลังของปัญญาคือ ขณะที่นิวรณ์ที่เป็นอกุศลเกิด ปัญญาเกิดไม่ได้ในขณะนั้นชื่อว่า บั่นทอนปัญญา ครับ ซึ่งนิวรณ์ก็ิไม่พ้นจากสภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็นจิต เจตสิกที่เป็นจิตที่ไม่ดีและมีเจตสิกที่ไม่ดีเกิดร่วมด้วย
นิวรณ์ประการแรกคือ กามฉันทะ นั่นก็คือ โลภเจตสิกที่ติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัส หากเราเข้าใจความจริง ข้อหนึ่งของโลภะ คือ เป็นสภาพธรรมที่ติดข้องได้ทุกอย่าง ดังนั้น กามฉันทะ ความติดข้อง ก็ติดข้องได้เกือบทั้งหมด พูดง่ายๆ ครับว่าขณะนี้ติดข้องอะไรบ้าง ติดข้องในรูปร่างกายของตนเองไหม ติดข้องในตา หู จมูก ลิ้น กาย ติดข้องแม้ขณะที่เกิดความสุข โสมนัส เวลาเกิดความสุขในใจของตนเอง ก็ติดข้องอีก รวมความว่า สามารถเกิดโลภะติดข้องในตัวเอง และไม่ใช่เพียงตัวเองเท่านั้นที่ติดข้อง เมื่อเห็นใครบุคคลใดก็ติดข้องในบุคคลอื่น เช่น สัตว์เลี้ยง คนที่หน้าตาดี เป็นต้น ก็ติดข้องพอใจอันอาศัยผู้อื่นเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น กามฉันทะ จึงสามารถแบ่งได้เป็น ๒ อย่างคือ เกิดความยินดีติดข้อง เพราะอาศัย ตัวเอง เพราะถ้าไม่มีจิต เจตสิก รูปของตนเอง ก็ไม่มีการเกิดการติดข้องเกิดขึ้น ดังนั้น โลภะเกิดได้ เพราะอาศัยตัวเองที่เป็นสภาพธรรมที่เป็นจิต เจตสิก รูป ติดข้องเกิดได้ และกามฉันทะที่เป็นโลภะเกิดได้ เพราะอาศัยคนอื่นๆ สัตว์อื่นๆ ภายนอก และแม้ไม่ใช่สัตว์ บุคคล แม้สิ่งไม่มีชีวิต เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป้นต้น ที่เป็นรูปธรรมภายนอก ก็ทำให้ติดข้องเกิดกามฉันทะในสิ่งภายนอกได้ ครับ
นิวรณ์ที่ ๒ คือ พยาปาทะ ความพยาบาท ก็โดยนัยเดียวกันกับ กามฉันทะ ที่เป็นโลภะแบ่งเป็น ๒ คือ ความโกรธ ขุ่นเคืองใจที่เกิดขึ้นเพราะอาศัย ตนเองและผู้อื่น สิ่งอื่นประการแรกนั้น ปฏิฆะ ความขุ่นเคืองใจเกิดขึ้นได้ พูดง่ายๆ คือ โทสมูลจิตที่เกิดขึ้น มีอารมณ์คือ จิต เจตสิก รูปที่เนื่องกับตนเอง เช่น โกรธ ไม่พอใจ รูปร่างกายของตนเอง เห็นปาก ก็เกิดความไม่ชอบที่ไม่สวย เห็นผื่นขึ้นหน้าตนเอง ก็เกิดความไม่พอใจ ส่วนความไม่พอใจ ขุ่นเคืองใจ เกิดเพราะอาศัย บุคคลอื่นๆ สิ่งอื่นๆ เช่น เห็นคนที่ไม่ชอบเดินมา ก็เกิดความขุ่นเคืองใจ เป็นต้น
ถีนมิทธะ แบ่งเป็น ๒ คือ ถีนะ กับ มิทธะ
อุทธัจจกุกกุจจะนิวรณ์ แบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน กับกุกกุจจะ ความเดือดร้อนรำคาญใจ
วิจิกิจฉา แบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ ความลังเลสงสัยในตน และความลังเลสงสัยภายนอก ซึ่งขออธิบายดังนี้ครับ ความลังเลสงสัยในตนคือ ความลังเลสงสัยครับว่า เรามีจริงไหม หรือสงสัยว่า จิต เจตสิก รูปมีจริงไม่ อันเนื่องด้วยตนเอง สงสัยว่า เมื่อก่อนเราเป็นใคร และชาติหน้าจะเกิดเป็นไร เป็นต้น นี่คือความลังเลสงสัย ปรารภตนเอง และความลังเลสงสัยปรารภภายนอก เช่น สงสัยว่า พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์มีจริงหรือไม่ เป็นต้น ครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ ครับ
นิวรณ์ ๑๐ สัมโพชฌงค์ ๑๔ โดยปริยาย ๒ อย่าง เป็นไฉน
ขออนุโมทนา
เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน
นิวรณ์เป็นสภาพธรรมที่ไม่ดี แล้วสภาพธรรมที่ดีที่เป็นทางตรงกันข้ามมีอย่างไรบ้าง ครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
เรียนความเห็นที่ ๒ ครับ
ก็เป็นสภาพธรรมที่เป็น สภาพธรรมฝ่ายดี มี ปัญญา สติ อโลภะ ที่ไม่ใช่ สภาพธรรมที่ติดข้อง ไม่ใช่ กามฉันทะ ตรงข้ามกับกามฉันทะ อโทสะ ที่ตรงกันข้ามกับ พยาบาท และกุศลธรรมประการอื่นๆ เกิดขึ้นเมื่อใด ไม่มีนิวรณ์ ไม่เป็นเครื่องกางกั้นจิต เพราะจิตเป็นกุศลในขณะนั้น ครับ
ขออนุโมทนา
เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน
อุทธัจจะเป็นอกุศลธรรมอันเนื่องมาจากโมหะแล้ว ถ้าคนป่วยที่ฟุ้งซ่านด้วยโรคถือว่า เป็นอกุศลวิบากหรือไม่อย่างไรครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขณะที่ฟุ้งซ่าน เป็นอกุศลจิต ไม่ใช่วิบาก แต่เป็นบ้าได้ เพราะวิบากคือ การดื่มสุราในอดีตชาติ ครับ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เป็นการค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อยจริงๆ เพราะสิ่งที่กล่าวถึงก็ไม่พ้นไปจากขณะนี้เลย เพราะกล่าวได้ว่า ทุกขณะที่อกุศลเกิดขึ้นเป็นนิวรณ์แล้ว เพราะกางกั้นไม่ให้ความดีเกิดขึ้นเป็นไป ไม่ว่าจะด้วยความติดข้องยินดีพอใจ ด้วยความขุ่นเคืองใจ เป็นต้น ไม่พ้นไปจากชีวิตประจำวันเลย ขณะที่อกุศลเกิดขึ้นก็สะสมพอกพูนอกุศลยิ่งขึ้นไปอีก ทุกขณะที่อกุศลเกิดขึ้นนั้น จะไม่ปราศจากความฟุ้งซ่าน ความไม่สงบแห่งจิตเลย ไม่ปราศจากโมหะ ความไม่รู้ด้วย ทั้งหมดล้วนเป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย แต่เป็นธรรมฝ่ายที่ไม่ดีเป็นอกุศลธรรมที่จะต้องค่อยๆ ขัดเกลาละคลายด้วยความเข้าใจธรรมอย่างแท้จริง เพราะผู้ที่จะดับนิวรณ์ได้หมดสิ้น ก็ต้องถึงความเป็นพระอรหันต์เลยทีเดียว ครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ