อกุศลมูลสูตร ... วันเสาร์ที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๖

 
มศพ.
วันที่  15 ธ.ค. 2556
หมายเลข  24178
อ่าน  2,839

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺสพุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิสงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
... สนทนาธรรมที่ ...


มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

อกุศลมูลสูตร (ว่าด้วยอกุศลมูล ๓ ประการ)

จาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เล่ม ๑ ภาค ๔- หน้าที่ ๓๓๘



(ภาพแสดงบรรยากาศการสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ วันอาสาฬหบูชา ๒๒ ก.ค. ๒๕๕๖)

...นำสนทนาโดย...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ คณะวิทยากร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เล่ม ๑ ภาค ๔- หน้าที่ ๓๓๘

๑. อกุศลมูลสูตร (ว่าด้วยอกุศลมูล ๓ ประการ) [๒๒๘] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน? คือ โลภะเป็นอกุศลมูล ๑ โทสะเป็นอกุศลมูล ๑ โมหะเป็นอกุศลมูล ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล ๓ ประการนี้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

โลภะ โทสะ และโมหะ เกิดแล้ว ในตน ย่อมเบียดเบียนบุรุษผู้มีจิตอันลามก เหมือนขุยไผ่ ย่อมเบียดเบียนไม้ไผ่ ฉะนั้น.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล. จบอกุศลมูลสูตรที่ ๑

อรรถกถาอกุศลมูลสูตร (นำมาเพียงบางส่วน)

ในอกุศลมูลสูตรที่ ๑ แห่งติกนิบาต พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า ตีณิ เป็นการกำหนดนับจำนวน. บทว่า อิมานิ เป็นคำ

ชี้ชัดถึงสิ่งที่อยู่เฉพาะหน้า. บทว่า อกุสลมูลานิ เป็นตัวอย่างแห่งธรรมที่

ทรงกำหนดไว้. ในบทว่า อกุสลมูลานิ นั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ กิเลส ชื่อว่า

เป็นอกุศลมูล เพราะเป็นทั้งอกุศล เป็นทั้งรากเหง้า (ของอกุศล) .

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็น อกุศลมูล เพราะเป็นรากเหง้า (ของอกุศลทั้งหลาย)

โดยความหมายว่า เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เป็นปภวะ (แดนเกิดก่อน) เป็นชนกะ

(ผู้ให้กำเนิด) เป็นสมุฏฐาปกะ (ผู้ให้ตั้งขึ้น) เป็นนิพพัตตกะ (ผู้ให้เกิด)

แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ เป็นทั้งการณะ (เหตุ) แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย.

เพราะว่า การณะ ท่านเรียกว่า เหตุ เพราะเป็นแดน คือ เป็นไปแห่งผล

เรียกว่า ปัจจัย เพราะเป็นเหตุให้ผลอาศัยเป็นไป เรียกว่า ปภวะ เพราะ

เป็นแดนเกิดก่อนแห่งผล เรียกว่า ชนกะ เพราะยังผลของตนให้เกิด เรียกว่า

สมุฏฐาปกะ เพราะให้เผล็ดผล และเรียกว่า นิพพัตตกะ เพราะยังผล

ให้เกิดขึ้น ฉันใด กิเลส มีโลภะ เป็นต้น ชื่อว่าเป็นรากเหง้า เพราะอรรถว่า

เป็นที่ตั้ง (แห่งอกุศลทั้งหลาย) ก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า

บทว่า อกุสลมูลานิ หมายความว่า เป็นเหตุให้ (อกุศลธรรมทั้งหลาย)

สำเร็จความเป็นธรรมที่ตั้งไว้สมบูรณ์แล้ว.

... บัณฑิตพึงถือเอามูล (รากเหง้านั่นแหละ) ว่าเป็นเหตุ ดุจโยนิโสมนสิการ

เป็นต้น เป็นเหตุ แห่งความเป็นกุศล (และ) ดุจอโยนิโสมนสิการเป็นต้น

เป็นเหตุแห่งความเป็นอกุศล. เมื่อไม่ถือเอามูลฐานแห่งความโลภเป็นต้น

ด้วยสามารถแห่งการยังความเป็นอกุศลให้สำเร็จ แล้วถือเอา (มูลฐาน)

ด้วยอำนาจแห่งการยังความเป็นธรรมที่ประดิษฐานไว้อย่างดีแล้ว ให้สำเร็จอย่างนี้.

เพราะว่าธรรมทั้งหลาย ที่ได้เหตุและปัจจัยแล้วจะประดิษฐานมั่นคง เหมือน

ต้นไม้ที่มีรากแผ่ไพศาล ส่วนธรรมที่เว้นจากเหตุจะไม่ประดิษฐานมั่นคง

เหมือนงาและสาหร่าย เป็นต้น เพราะฉะนั้น กิเลสทั้ง ๓ อย่าง จึงชื่อว่าเ

ป็นอกุศลมูล เพราะเป็นมูลเหตุที่เป็นอุปการะแก่อกุศลธรรมทั้งหลาย โดย

ความหมายมีเหตุเป็นต้น. แต่เพราะเหตุที่จิตตุปบาทที่เป็นอกุศลที่พ้นจาก

กิเลสที่เป็นรากเหง้า ย่อมไม่มี ฉะนั้น พึงทราบว่า ด้วยกิเลสที่เป็นมูลทั้ง

๓ พระองค์ทรงแสดงคลุมเอากองอกุศลทั้งหมดไว้. เพื่อจะทรงแสดงอกุศลมูล

เหล่านั้น โดยสรุป จึงตรัสคำมีอาทิว่า โลโภ อกุสลมูลํ ความโลภ

เป็นอกุศลมูล ดังนี้. บรรดาคำเหล่านั้น คำที่จะต้องกล่าวในความโลภเป็นต้น

ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล้วทั้งนั้น ก็ในตอนนั้นความโลภเป็นต้น

อันมรรคที่ ๓ จะพึงฆ่า มีมาแล้ว แต่ในพระสูตรนี้ ความโลภเป็นต้น

ไม่มีเหลือเลย นี่แหละเป็นข้อที่แตกต่างกัน.

พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถาดังต่อไปนี่ บทว่า ปาปเจตสํ ได้แก่

จิตลามก เพราะประกอบด้วยอกุศลธรรม. บทว่า หึสนฺติ ความว่า ย่อม

เบียดเบียนในขณะแห่งความเป็นไปของตน และในขณะแห่งวิบากในอนาคต.

บทว่า อตฺตสมฺภูตา ความว่า เกิดแล้วในตน. บทว่า ตจสารํ ได้แก่

ไม้มีหนาม อธิบายว่า ไม้ไผ่. บทว่า สมฺผลํ ได้แก่ ผลของตน. มีอธิบายว่า

ไม่เป็นไม้มีแก่นข้างใน เหมือนไม้ตะเคียน และไม้ประดู่ลายเป็นต้น

(แต่) เป็นไม้ไผ่ เป็นต้น ที่ได้นามว่า ตจสาระ เพราะมีแก่นอยู่ข้างนอก

คือ ความโลภเป็นต้นที่เกิดในตนนั่นเอง จะยังบุคคลผู้มีจิตลามก ปราศจาก

แก่นคือศีลในภายใน ให้พินาศไป เหมือนขุยไผ่ที่เกิดในตนนั่นเอง ย่อมเบียด

เบียนคือให้ต้นไผ่พินาศไป ฉะนั้น. จบอรรถกถาอกุศลมูลสูตรที่ ๑


...ขอความเจริญมั่นคงในกุศลธรรมจงมีแด่ทุกท่าน...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 15 ธ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

อกุศลมูลสูตร

(ว่าด้วยอกุศลมูล ๓ ประการ)

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า โลภะ โทสะ โมหะ เป็นรากเหง้าของอกุศลธรรม

ทั้งหลาย อกุศลธรรมเหล่านี้ ย่อมทำลายคนที่มีจิตอันลามก เหมือนกับขุยไผ่

ทำลายต้นไผ่ ฉะนั้น (ตามข้อความที่ปรากฏในพระสูตรและในอรรถกถา) .

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

กิเลสตัณหา

ปัญหาของสังคมเกิดขึ้น เพราะกิเลส ได้แก่ โลภะ โทสะ และโมหะ

กองทัพกิเลส

อกุศลที่เหนียวแน่น

โมหะ โมหเจตสิก ความเห็นผิด ความไม่รู้ อวิชชา

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 17 ธ.ค. 2556

กราบอนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 18 ธ.ค. 2556

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 19 ธ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุโมทนากุศลธรรมทั้งปวงที่เกิดกับท่านอาจารย์

วิทยากร

และ ผู้ที่ร่วมสนทนาครับ

* * * ------------------------------------ * * *

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 19 ธ.ค. 2556

ชีวิตในวันนี้ทั้งหมดเต็มไปด้วยความไม่รู้ เห็นก็ไม่รู้ ได้ยินก็ไม่รู้... คิดก็ไม่รู้

โปรยธุลีลงในจิต ไม่มีหิริโอตัปปะ เห็นก็ยังไม่รู้ความจริง... สะสมแต่อกุศลต่างๆ

สกปรก เน่าเหม็นซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ที่ไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่เข้าใจพระธรรมจึงกระทำแต่

อกุศลกรรมอันชั่วช้า แต่ละหนึ่งที่เกิดขึ้นของชีวิตแต่ละหนึ่งช่างเต็มไปด้วยอกุศล

ธรรมมากมายเพราะความไม่รู้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงกล่าวว่า โลภะ โทสะ

โมหะเป็นรากเหง้าของอกุศลธรรมทั้งหลาย อกุศลธรรมเหล่านี้ย่อมทำลาย

คนที่มีจิตอันลามก เหมือนกับขุยไผ่ทำลายต้นไผ่ ฉะนั้น

ข้อคิดซึ่งเป็นธรรมเตือนใจที่ดีมากๆ ... ทุกคนพอใจในสิ่งซึ่งว่างเปล่่า ทรัพย์

สินเงินทอง รถหรู บ้านใหญ่โต เงินในธนาค่าร แหวนเพชร เพราะขณะนั้นก็ดับไป

หมดแล้ว ทั้งหมดมีเมื่อคิดเท่านั้นเอง แท้จริงเป็นเพียงแต่ละขณะที่เกิดขึ้นเห็น ได้

ยิน... เห็นก็ดับ คิดก็ดับ ติดข้องก็ดับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของ อ.คำปั่น และทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ladawal
วันที่ 20 ธ.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 20 ธ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
napachant
วันที่ 20 ธ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Jans
วันที่ 21 ธ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ