ปารสูตร และ ทุติยสูตร ... วันเสาร์ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๗

 
มศพ.
วันที่  28 ก.ย. 2557
หมายเลข  25581
อ่าน  1,157

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิธมฺมํ
สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ•••
..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
... สนทนาธรรมที่ ...


มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

ปารสูตร

จาก... พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ หน้า ๖๒

และ ทุติยสูตร

จาก ... [เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ ๒๘๑

...นำสนทนาโดย...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ หน้า ๖๒

ปารสูตร [ว่าด้วยธรรมเป็นเครื่องให้ถึงฝั่ง (คือพระนิพพาน) ]


[๙๗] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพี่อถึงฝั่ง (นิพพาน) จากที่มิใช่ฝั่ง (วัฏฏะ) ธรรม ๘ ประการ เป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบอาชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งมั่นชอบ ธรรม ๘ ประการนี้แลที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง.

พระผู้มีพระภาคเ จ้าสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

[๙๘] ในพวกมนุษย์ ชนที่ถึงฝั่งมีจำนวนน้อย แต่หมู่สัตว์นอกนี้
ย่อมวิ่งไปตามฝั่งนั่นเอง ส่วนชนเหล่าใด ประพฤติตามในธรรมที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ชนเหล่านั้น ข้ามบ่วงมฤตยูซึ่งแสนยากที่จะข้าม
ไปถึงฝั่งได้ บัณฑิต พึงละธรรมฝ่ายดำเสีย เจริญธรรมฝ่ายขาว
ออกจากความอาลัย อาศัยธรรมอันไม่มีความอาลัยแล้ว พึงละกามเสีย
เป็นผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกังวล ปรารถนาความยินดีในวิเวกที่สัตว์ยินดีได้ยาก บัณฑิต พึงยังตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองของจิต ชนเหล่าใด อบรมจิตดีแล้วโดยชอบ ในองค์เป็นเหตุให้ตรัสรู้ ไม่ถือมั่น ยินดีแล้วในความสละคืนความถือมั่น ชนเหล่านั้น เป็นผู้สิ้นอาสวะมีความรุ่งเรือง
ปรินิพพานแล้วในโลกนี้.

จบ ปารสูตรที่ ๔.

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ ๒๘๑

ทุติยสูตร

[๑๗๔] เทวดาทูลถามว่า

อะไรหนอ เป็นเพื่อนของคน อะไร

หนอ ย่อมปกครองคนนั้น และสัตว์ยินดี

ในอะไร จึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.

[๑๗๕] พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า

ศรัทธาเป็นเพื่อนของคน ปัญญา

ย่อมปกครองคนนั้น สัตว์ยินดีในพระ-

นิพพาน จึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.

อรรถกถาทุติยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสูตรที่ ๙ ต่อไป :-

บทว่า กิสฺส จาภิรโต แปลว่า ยินดีในอะไร. บทว่า ทุติยา

แปลว่า เป็นเพื่อน ของผู้ไปสู่สวรรค์และพระนิพพาน. บทว่า ปญฺญา เจนํ

ปสาสติ อธิบายว่า ปัญญา ย่อมแนะนำว่า เจ้าจงกระทำสิ่งนี้ อย่ากระทำสิ่งนี้

กะคนนั้น ดังนี้.

จบอรรถกถาทุติยสูตรที่ ๙


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 28 ก.ย. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ข้อความโดยสรุป ปารสูตร [ว่าด้วยธรรมเป็นเครื่องให้ถึงฝั่ง (คือพระนิพพาน) ] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ

เป็นต้นเป็นธรรมที่ทำให้ถึงซึ่งฝั่งคือพระนิพพาน [เป็นฝั่งที่เกษม เป็นฝั่งที่ปลอดภัย

จากกิเลสและความทุกข์ทั้งปวง เป็นฝั่งที่ตรงกันข้ามกับสังสารวัฏฏ์] เมื่ออบรม

เจริญให้มาก ก็สามารถไปถึงซึ่งฝั่งดังกล่าวนี้ได้ ซึ่งมีเป็นจำนวนน้อยที่จะถึงฝั่งได้,

ผู้ที่ประพฤติตามในพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วเท่านั้น ที่จะข้ามไปถึงฝั่งได้

เป็นผู้ไม่มีกิเลส เมื่อดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่มีการเกิดอีก.

ข้อความโดยสรุป

ทุติยสูตร

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสตอบปัญหาที่เทวดาทูลถาม ดังนี้

-อะไรเป็นเพื่อนของคน? ศรัทธา เป็นเพื่อนของคน

-อะไรเป็นเครื่องปกครองคน? ปัญญา เป็นเครื่องปกครองคน

-สัตว์ยินดีในอะไรจึงจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง? ยินดีในพระนิพพาน จึงจะพ้นจากทุกข์

ทั้งปวง (ตามข้อความที่ปรากฏในพระสูตร)


ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นได้ที่นี่ครับ อริยมรรคมีองค์ ๘ อริยมรรค อาลัย นิพพานเป็นเมืองแก้วใช่หรือไม่ นิพพานปรมัตถ์

ทำอย่างไรจะทำให้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นคะ

อะไรเป็นเครื่องปกครองคน?

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
tanrat
วันที่ 29 ก.ย. 2557

เช่นท่านอาจารย์สุจินต์กล่าวเตือนตลอดเวลา ว่าต้องเป็นผู้ตรง ผู้ไม่ผิวเผิน กับคำทุกคำ

ที่ทรงแสดงแล้ว ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์กับเราต่างกันมากยิ่ง

ไม่ใช่ฟังแล้วผ่านไปโดยไม่พิจรณาโดยแยบคาย แล้วจะบอกเราเข้าใจแล้ว ก่อนที่พระ

ผู้มีพระภาคจะทรงแสดงธรรม พระองค์ทรงเตือนสติของท่านผู้ฟังว่าขันติเป็นตบะอย่าง

ยิ่ง แล้วทรงแสดงธรรมะนั้นๆ หากผู้ที่เห็นว่าไม่เห็นจะมีอะไรๆ นั่นเราประมาทในพระ

ปัญญาธิคุณของท่านหรือเปล่า อริยมรรค 8 มีแค่ ความเห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ

การงานชอบ เพียรชอบ การระลึกชอบ ตั้งมั่นชอบ อาชีพชอบ ต้องพิจารณาให้ลึกซึ้งใน

อรรถะนั้นๆ คิดเองไม่ได้ต้องอาศัยพระปัญญาธิคุณ และความอนุเคราะห์เกื้อกูลจาก

กัลยาณมิตร เช่นท่านอาจารย์และคณะวิทยากรทุกท่าน

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
orawan.c
วันที่ 29 ก.ย. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 30 ก.ย. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 4 ต.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Jans
วันที่ 4 ต.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ