โลภะเหมือนเพื่อน แต่ไม่ใช่เพื่อน

 
เมตตา
วันที่  26 พ.ค. 2558
หมายเลข  26574
อ่าน  1,076

โลภะ ตามไปตลอดเหมือนเพื่อนสนิท เห็นสิ่งสวยๆ งามๆ อาหารอร่อย ก็ชอบแล้ว ชอบเน่าก็ยังไม่รู้ ปัญญาเท่านั้นที่จะรู้ได้ ค่อยๆ รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ปัญญาไม่ลวง แต่รู้ตรงตามความเป็นจริง ยากแสนยากที่จะรู้ตรงตามความเป็นจริง โลภมีมากเท่าไหร่? ความไม่รู้มีมากแค่ไหน? ปัญญามีน้อยนิด อดทนหรือเปล่า วิริยรัมภกถา อดทนฟังพระธรรมเพื่อเข้าใจธรรม สะสมความเข้าใจธรรม ทำดี เพิ่มขึ้นโดยไม่หวัง ทั้งหมดเป็นไปเพื่อละตวามติดข้อง ขณะ เห็น แล้วไม่เข้าใจ ใครชนะ? อกุศลเกิดตามการสะสม เร็วมาก ค่อยๆ ละความหวังที่จะทำ เพื่อรู้ว่าไม่ใช่หนทาง แต่ฟังแล้วฟังอีกจนกว่าจะไม่หวัง ฟังให้เข้าใจสิ่งที่มีจริง หนทางเดียวจริงๆ เพราะติดข้องในสิ่งที่ไม่มี ปัญญาอาจหาญที่จะรู้ความจริงเป็นอย่างนี้ ปัญญาไม่ติดข้อง แช่มชื่น สุขแค่ไหนที่พ้นจากความติดข้อง ไม่ตกเป็นทาสของโลภ

ไม่ถูกโลภลวงเหมือนเพื่อน แต่ไม่ใช่เพื่อน เพื่อนที่แท้จริงก็คือ กุศลธรรมทั้งหลายมี ศรัทธา อโลภะ อโทสะ ปัญญา หิริ โอตัปปะ... เป็นต้น ปัญญาความเข้าใจถูกมีมากขึ้น โลภยิ่งหนีห่าง ปัญญารู้ว่านั่นไม่ใช่หนทาง มีเพียงปัญญาเท่านั้นที่จะรู้จักโลภ และละโลภเพื่อนที่เนียนเหมือนเพื่อนสนิท แต่โลภะไม่ใช่ปัญญา สภาพธรรมทำกิจของสภาพธรรม เป็นธาตุรู้ต้องรู้ ขณะนี้ฟังธรรมเข้าใจ ทำอยู่แล้วทุกขณะ สภาพธรรมทำกิจเข้าใจ ไม่มีเราทำ จะทำอย่างไรให้เข้าใจ ก็ยังเป็นเราคิดจะทำ ไม่ต้องทำอะไรเลยเพราะไม่มีใครทำกิจของสภาพธรรมได้ จิตทำกิจของเจตสิกไม่ได้ เจตสิกทำกิจของจิตก็ไม่ได้ เกิดแล้วตามเหตุปัจจัย หากความเข้าใจเกิดบ่อย ปัญญาก็เจริญขึ้น หากความติดข้องเกิดบ่อย อกุศลก็เจริญ เมื่อไรเข้าใจธรรมเมื่อนั้น รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามกำลังความเข้าใจ มาฟังธรรมไม่ต้องหวังอะไร ฟังเข้าใจ ปัญญาก็เกิดแล้ว เพราะขณะหวังไม่สามารภเข้าใจได้ ขณะนี้มีสิ่งที่มีจริงปรากฏ ให้เข้าใจได้ด้วยปัญญา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 26 พ.ค. 2558

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 16 [๒๙๙] โลภะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? การโลภ กิริยาที่โลภ ความโลภ การกำหนัดนัก กิริยาที่กำหนัดนักความกำหนัด ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่าโลภะมีในสมัยนั้น. [๗๙๒] บรรดากิเลสวัตถุ ๑๐ นั้น โลภะ เป็นไฉน? ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดีความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสงบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอันร้อยรัด ธรรมชาติอันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติเหมือนเส้นด้ายธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสองปณิธาน ธรรมชาติผู้นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน การหวัง กิริยาที่หวัง ความหวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร ความหวังชีวิต ธรรมชาติผู้กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบยิ่งการกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ความกระซิบ การละโมบ กิริยาที่ละโมบ ความละโมบ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ความใคร่ในอารมณ์ดีๆ ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ [คือราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุมีอย่างต่างๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดนแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌาอกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า โลภะ. [เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 435 [๒๖๓] ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน? รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหาธัมมตัณหา นี้เรียกว่า ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย.

... ... ... ... ... ... ... ... ... .

ทุกคำที่ตรัสไว้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกในสิ่งที่กำลังปรากฏโดยความเป็นอนัตตา ไม่มีใครจะไปทำอะไรได้ เพราะเกิดแล้ว เห็นเกิดแล้ว คิดเกิดแล้ว โลภ โทส เกิดแล้ว เพราะกำลังปรากฏ กล้าหาญที่จะรู้ความจริง ไม่มีเรา มีแต่ธรรม เป็นทาสของ โลภะ มานาน พอใจนายคนนี้มาก อดทนฟังให้เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ ทีละหนึ่งว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เพียงฟังเข้าใจเท่านั้น ค่อยๆ เข้าใจสภาพธรรมขึ้นเพื่อละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา ปัญญาค่อยๆ ทำหน้าที่ละ ฟังเพื่อละความไม่รู้ก่อน ความไม่รู้มีมาก ฟังแล้ว เข้าใจสิ่งที่กำลังมี จะเป็นเราได้อย่างไร เห็นเกิดแล้วดับ เป็นเราได้อย่างไร ตราบใดที่ยังไม่ประจักษ์ความเกิดขึ้นและดับไป ก็ติดข้องอย่างนี้แหละ

โง่มานาน ... หากไม่ฟังพระธรรมก็โง่ต่อไป เห็นประโยชน์ของพระธรรม ฟังธรรมเพื่อเข้าใจธรรม หากไม่เข้าใจก็ไม่รู้จักพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อไรจะน้อมไปจริงๆ ตามปัญญาว่าเป็นเพียงสิ่งที่มีจริง เกิดแล้วดับไปไม่เหลิอ แต่ละหนึ่งที่เกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัยเกิดขึ้นแล้วดับไป

กราบเท้า บูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ..

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 26 พ.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 26 พ.ค. 2558

...โลภะเหมือนเพื่อน แต่ไม่ใช่เพื่อน...

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ประสาน
วันที่ 27 พ.ค. 2558

ตราบใดที่่ยังไม่ประจักษ์แจ้งความเกิดขึ้นและดับไป ก็ติดข้องอย่างนี้แหละ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
j.jim
วันที่ 27 พ.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Jarunee.A
วันที่ 4 พ.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ