กุหกสูตร ... วันเสาร์ที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๙

 
มศพ.
วันที่  18 ก.ย. 2559
หมายเลข  28201
อ่าน  1,040

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ

ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ

สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

••• ... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ... ..•••

... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ วันเสาร์ที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๙ คือ

กุหกสูตร

... จาก ...

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๒๐๓

. กุหกสูตร

(ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้พระเถระน่าเคารพ และ ไม่น่าเคารพ)

[๘๓] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่อง ของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้พูดหลอกลวง ๑ เป็นผู้พูดหวังลาภ ๑ เป็นผู้พูดเลียบเคียงหาลาภ ๑ เป็นผู้พูดคาดคั้นให้บริจาค ๑ เป็นผู้แสวงหาลาภด้วยลาภ ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระ ไม่เป็นผู้พูดหลอกลวง ๑ ไม่เป็นผู้พูดหวังลาภ ๑ ไม่เป็นผู้พูดเลียบเคียงหาลาภ ๑ ไม่เป็นผู้พูดคาดคั้นให้บริจาค ๑ ไม่เป็นผู้แสวงหาลาภ ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และ เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.

จบกุหกสูตรที่ ๓.

อรรถกถากุหกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกุหกสูตรที่ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า กุหโก ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยกุหกวัตถุ (เรื่องหลอกลวง) . บทว่า ลปโก ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยคำป้อยอที่อิงลาภ. บทว่า เนมิตฺติโก ได้แก่ เป็นผู้ทำท่าทีแห่งนิมิต [บอกใบ้] . บทว่า นิปฺเปสิโก ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยการพูดบีบบังคับ. บทว่า ลาเภน ลาภํ นิชิคึสิตา ได้แก่ เป็นผู้แสวงหาลาภด้วยลาภ. สุกกปักข์ (ธรรมฝ่ายดี) พึงทราบโดยนัยที่ตรงกันข้ามกันกับที่กล่าวแล้ว.

จบอรรถกถากุหกสูตรที่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 18 ก.ย. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

กุหกสูตร

(ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้พระเถระน่าเคารพ และ ไม่น่าเคารพ)

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงภิกษุผู้เถระ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่อง ของเพื่อนพรหมจรรย์ (ผู้ประพฤติประเสริฐ) ได้แก่

๑. พูดหลอกลวง

๒. พูดหวังลาภ

๓. พูดเลียบเคียงหาลาภ

๔. พูดคาดคั้นให้บริจาค

๕. แสวงหาลาภด้วยลาภ

และทรงแสดงภิกษุเถระ ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่อง ของเพื่อนพรหมจรรย์ ได้แก่

๑. ไม่พูดหลอกลวง

๒. ไม่พูดหวังลาภ

๓. ไม่พูดเลียบเคียงหาลาภ

๔. ไม่พูดคาดคั้นให้บริจาค

๕. ไม่แสวงหาลาภด้วยลาภ

(ตามข้อความที่ปรากฏในพระสูตร) .

ขอเชิญคลิกศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ลาภต่อลาภ

ภิกษุรับทองเงิน ได้หรือไม่? หรืออย่างไร?

ภิกษุต้องอาบัติ ถ้าไม่ปลงต้องตกนรกหรือไม่

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
papon
วันที่ 19 ก.ย. 2559

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 22 ก.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 23 ก.ย. 2559

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ