ปฐม - ทุติย นกุหนาสูตร ... วันเสาร์ที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๙

 
มศพ.
วันที่  2 ต.ค. 2559
หมายเลข  28250
อ่าน  1,024

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••

... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ
วันเสาร์ที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๙

คือ

ปฐม นกุหนาสูตร และ ทุติย นกุหนาสูตร

...จาก...

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ หน้าที่ ๒๐๗ , ๒๑๗


[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ หน้า ๒๐๗

๘. ปฐม นกุหนาสูตร

(ว่าด้วยแนวประพฤติพรหมจรรย์)

[๒๑๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ ภิกษุ ไม่อยู่ประพฤติเพื่อจะหลอกลวงชน ไม่อยู่ประพฤติเพื่อประจบคน ไม่อยู่ประพฤติเพื่ออานิสงส์ คือ ลาภ สักการะ ความสรรเสริญ ไม่อยู่ประพฤติ ด้วยคิดว่า ชนจงรู้จักเราด้วยอาการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่แท้พรหมจรรย์นี้ ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติ เพื่อการสำรวม และเพื่อการละ. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ ดังนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ได้ทรงแสดงพรหมจรรย์ เครื่องกำจัดจัญไร อันเป็นเหตุให้ถึงฝั่ง คือ นิพพาน เพื่อการสำรวม เพื่อการละ, ทางนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีประโยชน์ใหญ่ ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ทรงดำเนินไปแล้ว ชนเหล่า ใดๆ ย่อมปฏิบัติพรหมจรรย์ นั้น ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ชนเหล่านั้นๆ ผู้กระทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา จักกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ได้.
เนื้อความแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบ ปฐม นกุหนาสูตรที่ ๘ .
[เล่มที่ 45]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เล่ม ๔๕
หน้าที่ ๒๑๗

๙. ทุติย นกุหนาสูตร
(ว่าด้วยพรหมจรรย์เครื่องกำจัดจัญไร)

[๒๑๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ ภิกษุไม่อยู่ประพฤติเพื่อจะหลอกลวงชน ไม่อยู่ประพฤติเพื่อจะประจบคน ไม่อยู่ประพฤติเพื่ออานิสงส์ คือ ลาภ สักการะ และความสรรเสริญ ไม่อยู่ประพฤติด้วยคิดว่า ชนจงรู้จักเราด้วยอาการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่แท้พรหมจรรย์นี้ ภิกษุอยู่ประพฤติ เพื่อความรู้ยิ่ง และ เพื่อกำหนดรู้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ ดังนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ได้ทรงแสดงพรหมจรรย์ เครื่องกำจัดจัญไร อันเป็นเหตุให้ถึงฝั่ง คือ นิพพาน เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้, ทางนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีประโยชน์ใหญ่ ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ทรงดำเนินไปแล้ว ชนเหล่าใดๆ ย่อมปฏิบัติพรหมจรรย์นั้น ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ชนเหล่านั้นๆ ผู้กระทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา จักกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ได้.

เนื้อความแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบ ทุติย นกุหนาสูตรที่ ๙.

อรรถกถา ทุติย นกุหนาสูตร
ใน ทุติยนกุหนาสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- บทว่า อภิญฺญตฺถํ ได้แก่ เพื่อความรู้ธรรมทั้งปวง โดยจำแนก มีกุศลเป็นต้น และโดยจำแนก มีขันธ์เป็นต้น โดยไม่วิปริต ด้วยความรู้อันวิเศษยิ่ง. บทว่า ปริญฺญตฺถํได้แก่ เพื่อกำหนดรู้และเพื่อก้าวล่วงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ โดยนัยมีอาทิว่า อิทํ ทุกฺขํ (นี้เป็นทุกข์) ดังนี้. ในบทนั้น ความรู้ยิ่งในสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง เป็นวิสัยของอริยสัจจ์ ๔. ก็การรู้รอบ คือ การกำหนดรู้. ผิว่า การกำหนดรู้ เป็นวิสัย ของทุกข์สัจจ์ไซร้ พรหมจรรย์ เว้นจากการตรัสรู้ ด้วยปหานะ สัจฉิกิริยา และภาวนาย่อมเป็นไปไม่ได้. พึงทราบว่า ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาปหานะ (ละ) เป็นต้น. บทที่เหลือ มีเนื้อความได้กล่าวไว้แล้วในสูตรตามลำดับ.


จบ อรรถกถา ทุติย นกุหนาสูตรที่ ๙.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 2 ต.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความโดยสรุป
ปฐม นกุหนาสูตร *

(ว่าด้วยแนวประพฤติพรหมจรรย์)

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า พรหมจรรย์ ภิกษุไม่ควรอยู่ประพฤติ เพื่อจุดประสงค์อื่น คือ เพื่อหลอกลวงคน เพื่อประจบคน เพื่อลาภ สักการะ สรรเสริญเป็นต้น แต่ควรอยู่ประพฤติเพื่อการสำรวม และ เพื่อการละ

ทุติย นกุหนาสูตร
(ว่าด้วยพรหมจรรย์เครื่องกำจัดจัญไร)

ระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า พรหมจรรย์ ภิกษุไม่ควรอยู่ประพฤติ เพื่อจุด ประสงค์อื่น คือ เพื่อหลอกลวงคน เพื่อประจบคน เพื่อลาภ สักการะ สรรเสริญเป็นต้น แต่ควรอยู่เพื่อรู้ยิ่ง และ เพื่อกำหนดรู้.
หมายเหตุ คำว่า นกุหนา ซึ่งเป็นชื่อของพระสูตร หมายถึง ไม่ใช่เพื่อหลอกลวงมาจากคำภาษาบาลีว่า (ไม่ใช่) + กุหนา (การหลอกลวง) ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นได้ที่นี่ ครับ

..........เรื่องของพรหมจรรย์..........
อยู่พรหมจรรย์ เป็นอย่างไร?
บุคคลเหล่านั้นอยู่ที่ไหน
รู้ทุกข์...
ทางอื่น ไม่มี [คาถาธรรมบท]

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 4 ต.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 4 ต.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Noparat
วันที่ 4 ต.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 6 ต.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Guest
วันที่ 7 ต.ค. 2559

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ