๖. รัตนสูตร ในขุททกปาฐะ ว่าด้วยรัตนอันประณีต
[เล่มที่ 39] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑
๖. รัตนสูตร
ว่าด้วยรัตนอันประณีต
อรรถกถา
ประโยชน์แห่งบทตั้ง เรื่องกรุงเวสาลี 219
การนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า 222
พรรณนาคาถาว่า ยมฺพุทฺธเสฏฺโ 248
พรรณนาคาถาว่า เย สุปฺปยุตฺตา 253
พรรณนาคาถาว่า เย อริยสจฺจาน 256
พรรณนา ๓ คาถาว่า ยานีธ เป็นต้น 269
ขอเชิญรับฟังจากซีดี...
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 39]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 215
รัตนสูตร
ว่าด้วยรัตนอันประณีต
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรัตนสูตรเป็นคาถาว่าดังนี้
[๗] หมู่ภูตเหล่าใด อยู่ภาคพื้นดิน หรือเหล่าใดอยู่ภาคพื้นอากาศ มาประชุมกันแล้วในที่นี้ ขอหมู่ภูตทั้งหมด จงมีใจดี และจงฟังสุภาษิตโดยเคารพเพราะฉะนั้น ขอท่าทั้งหมดจงตั้งใจฟัง จงแผ่เมตตาในหมู่ประชาที่เป็นมนุษย์ มนุษย์เหล่าใด ย่อมนำพลีกรรมไปทั้งกลางวันและกลางคืน เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงไม่ประมาท ช่วยรักษามนุษย์เหล่านั้น.
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกที่นี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ทรัพย์เครื่องปลื้มใจและรัตนะนั้นที่เสมอด้วยพระตถาคตไม่มีเลย แม้อันนี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า. ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี.
พระศากยมุนี พระหฤทัยตั้งมั่นทรงบรรลุธรรมใด เป็นที่สิ้นกิเลส ปราศจากราคะ เป็นอมตธรรมประณีต สิ่งไรๆ ที่เสมอด้วยธรรมนั้นไม่มี แม้อันนี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม. ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 216
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญสมาธิอันใดว่าเป็นธรรมอันสะอาด ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวสมาธิอันใดว่าให้ผลโดยลำดับ สมาธิอื่นที่เสมอด้วยสมาธิอันนั้น ไม่มี แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม. ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี.
บุคคลเหล่าใด ๘ จำพวก ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว บุคคลเหล่านั้นเป็นสาวกของพระสุคต ควรแก่ทักษิณาทาน ทานทั้งหลาย ที่เขาถวายในบุคคลเหล่านั้นย่อมมีผลมาก แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี.
พระอริยบุคคลเหล่าใด ในศาสนาของพระพุทธโคดม ประกอบดีแล้ว มีใจมั่นคง ปราศจากความอาลัย พระอริยบุคคลเหล่านั้น ถึงพระอรหัตที่ควรถึงหยั่งเข้าสู่พระนิพพาน ได้ความดับกิเลสเปล่าๆ เสวยผลอยู่ แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี.
พระโสดาบันจำพวกใด ทำให้แจ้งอริยสัจ ๔ ที่พระศาสดาผู้มีปัญญาลึกซึ้งทรงแสดงดีแล้ว ถึงแม้ว่าพระใสดาบันจำพวกนั้น จะเป็นผู้ประมาทอย่างแรงกล้า ท่านก็ไม่ถือเอาภพที่ ๘ แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 217
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสอย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่ สังโยชนธรรมเหล่านั้นย่อมเป็นอันพระโสดาบันละได้แล้ว พร้อมกับทัสสนสัมปทา [คือโสดาปัตติมรรค] ทีเดียว อนึ่ง พระโสดาบันเป็นผู้พ้นแล้วจากอบายทั้ง ๔ ไม่อาจที่จะทำอภิฐาน ๖ [คืออนันตริยกรรม ๕ กับการเข้ารีต] แม้อันนี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมี.
ถึงแม้ว่า พระโสดาบันนั้น ยังทำบาปกรรมทางกายวาจาหรือใจไปบ้าง [เพราะความประมาท] ท่านก็ไม่อาจจะปกปิดบาปกรรมนั้นได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสความที่พระโสดาบัน ผู้เห็นบทคือพระนิพพานแล้ว ไม่อาจปกปิดบาปกรรมนั้นไว้แล้ว แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมี.
พุ่มไม้งามในป่า ยอดมีดอกบานสะพรั่งในต้นเดือนคิมหะ แห่งฤดูคิมหันต์ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ อันให้ถึงพระนิพพานเพื่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่สัตว์ทั้งหลาย ก็อุปมาฉันนั้นแม้อันนี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า. ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมี.
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงรู้ธรรมอันประเสริฐ ประทานธรรมอันประเสริญ ทรงนำมาซึ่งธรรมอัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 218
ประเสริฐ เป็นผู้ยอดเยี่ยม ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ. แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า.ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมี.
กรรมเก่าของพระอริยบุคคลเหล่าใดสิ้นแล้วกรรมสมภพใหม่ ย่อมไม่มี พระอริยบุคคลเหล่าใด มีจิตอันหน่ายแล้วในภพต่อไป พระอริยบุคคลเหล่านั้น มีพืชสิ้นไปแล้ว มีความพอใจงอกไม่ได้แล้ว เป็นผู้มีปัญญา ย่อมปรินิพพานดับสนิท เหมือนประทีปดวงนี้ฉะนั้น. แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมี.
ท้าวสักกเทวราชตรัสเสริมเป็นคาถาว่าดังนี้
หมู่ภูตเหล่าใดอยู่ภาคพื้นดิน หรือเหล่าใดอยู่ภาคพื้นอากาศ มาประชุมกันในที่นี้ พวกเรานอบน้อมพระตถาคตพุทธะ ผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมี.
หมู่ภูตเหล่าใดอยู่ภาคพื้นดิน หรือเหล่าใดอยู่ภาคพื้นอากาศ มาประชุมกันแล้วในที่นี้พวกเรานอบน้อมพระตถาคตธรรม อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมี.
หมู่ภูตเหล่าใด อยู่ภาคพื้นดิน หรือเหล่าใดอยู่ภาคพื้นอากาศ มาประชุมกันแล้วในที่นี้ พวกเรานอบน้อมพระตถาคตสงฆ์ อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้วขอความสวัสดี จงมี.
จบรัตนสูตร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 219
พรรณนารัตนสูตร
ประโยชน์แห่งบทตั้ง
บัดนี้ ถึงลำดับการพรรณนาความแห่งรัตนสูตรที่ยกขึ้นตั้งในลำดับต่อจากมงคลสูตรนั้น โดยนัยเป็นต้นว่า ยานีธ ภูตานิ. ข้าพเจ้าจักกล่าวประโยชน์แห่งการตั้งรัตนสูตรนั้นไว้ในที่นี้ ต่อจากนั้น เมื่อแสดงการหยั่งลงสู่ความแห่งสูตรนี้ ทางนิทานวจนะอันบริสุทธิ์ดี เหมือนการลงสู่น้ำในแม่น้ำและหนองเป็นต้น ทางท่าน้ำที่หมดจดดี ประกาศนัยนี้ว่า สูตรนี้ผู้ใดกล่าว กล่าวเมื่อใด กล่าวที่ไหน กล่าวเพราะเหตุใด แล้วจึงทำการพรรณนาความแห่งรัตนสูตรนี้.
ในสองสูตรนั้น เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการรักษาตัวเอง และการกำจัดอาสวะทั้งหลายที่มีการทำไม่ดี และการไม่ทำดีเป็นปัจจัยด้วยมงคลสูตร ส่วนสูตรนี้ ให้สำเร็จการรักษาผู้อื่น และการกำจัดอาสวะทั้งหลายที่มีอมนุษย์เป็นต้นเป็นปัจจัย ฉะนั้น สูตรนี้จึงเป็นอันตั้งไว้ในลำดับต่อจากมงคลสูตรนั้นแล.
ประโยชน์แห่งการตั้งรัตนสูตรนั้นไว้ในที่นี้เท่านี้ก่อน
เรื่องกรุงเวสาลี
บัดนี้ ในข้อว่า เยน วุตฺตํ ยทา ยตฺถ ยสฺมา เจตํ นี้ ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ก็สูตรนี้ผู้ใดกล่าว กล่าวเมื่อใด กล่าวที่ใด และกล่าวเพราะเหตุใด.ขอชี้แจงดังนี้ ความจริง สูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เดียวตรัส พระสาวกเป็นต้นหากล่าวไม่. ตรัสเมื่อใด. ตรัสเมื่อกรุงเวสาลีถูกอุปัทวะทั้งหลาย มีทุพภิกข-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 220
ภัยเป็นต้นเข้าขัดขวาง พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพวกเจ้าลิจฉวีทูลร้องขอนำเสด็จมาแต่กรุงราชคฤห์ เมื่อนั้น รัตนสูตรนั้น พระองค์ก็ตรัสเพื่อบำบัดอุปัทวะเหล่านั้น ในกรุงเวสาลี. การวิสัชนาปัญหาเหล่านั้นโดยสังเขปมีเท่านี้. ส่วนพิศดาร พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย พรรณนาไว้นับแต่เรื่องกรุงเวสาลีเป็นต้นไป.
ดังได้สดับมา พระอัครมเหสีของพระเจ้ากรุงพาราณสีทรงพระครรภ์.พระนางทรงทราบแล้วก็ได้กราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ. พระราชาก็พระราชทานเครื่องบริหารพระครรภ์. พระนางได้รับบริหารพระครรภ์มาเป็นอย่างดีก็เสด็จเข้าสู่เรือนประสูติ ในเวลาพระครรภ์แก่. เหล่าท่านผู้มีบุญย่อมออกจากครรภ์ในเวลาใกล้รุ่ง. ก็ในบรรดาท่านผู้มีบุญเหล่านั้น พระอัครมเหสีพระองค์นั้น ก็เป็นผู้มีบุญพระองค์หนึ่ง ด้วยเหตุนั้น เวลาใกล้รุ่ง พระนางก็ประสูติชิ้นเนื้อเสมือนดอกชะบามีพื้นกลีบสีแดงดังครั่ง ต่อจากนั้น พระเทวีพระองค์อื่นๆ ก็ประสูติพระโอรสเสมือนรูปทอง. พระอัครมเหสีประสูติชิ้นเนื้อ ดังนั้นพระนางทรงดำริว่า "เสียงติเตียนจะพึงเกิดแก่เรา ต่อเบื้องพระพักตร์ของพระราชา" เพราะทรงกลัวการติเตียนนั้น จึงทรงสั่งให้ใส่ชิ้นเนื้อนั้นลงในภาชนะใบหนึ่ง เอาภาชนะอีกใบหนึ่งครอบปิดไว้ ประทับตราพระราชลัญจกรแล้ว ให้ลอยไปตามกระแสแม่น้ำคงคา พอเจ้าหน้าที่ทั้งหลายทิ้งลงไป เทวดาทั้งหลายก็จัดการอารักขา ทั้งเอายางมหาหิงคุ์จารึกแผ่นทองผูกติดไว้ที่ภาชนะนั้นว่า พระราชโอรสธิดาของพระอัครมเหสีแห่งพระเจ้ากรุงพาราณสี. ต่อนั้นภาชนะนั้น มิได้ถูกภัยคือคลื่นรบกวน ก็ลอยไปตามกระแสแม่น้ำคงคา.
สมัยนั้น ดาบสรูปหนึ่งอาศัยครอบครัวของคนเลี้ยงโค อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา. เช้าตรู่ ดาบสรูปนั้นก็ลงสู่แม่น้ำคงคา แลเห็นภาชนะนั้นลอยมา ก็ถือเอาด้วยบังสุกุลสัญญา ด้วยเข้าใจว่าเป็นของที่เขาทิ้งแล้ว. ต่อนั้น ก็แล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 221
เห็นแผ่นจารึกอักษรและตราพระราชลัญจกร ก็แก้ออกเห็นชิ้นเนื้อนั้น ครั้นเห็นแล้ว ดาบสรูปนั้นก็คิดว่า เห็นทีจะเป็นสัตว์เกิดในครรภ์ ดังนั้น จึงไม่เน่าเหม็น ก็นำชิ้นเนื้อนั้น ไปยังอาศรม วางไว้ในที่สะอาด. ล่วงไปครึ่งเดือนชิ้นเนื้อก็แยกเป็น ๒ ชิ้น ดาบสเห็นแล้ว ก็วางไว้อย่างดี. ต่อจากนั้น ล่วงไปอีกครึ่งเดือน ชิ้นเนื้อแต่ละชิ้นก็เกิดปมชิ้นละ ๕ สาขา เพื่อเป็นมือ เท้าและศีรษะ ดาบสก็บรรจงวางไว้เป็นอย่างดีอีก. ต่อนั้น อีกครึ่งเดือน ชิ้นเนื้อชิ้นหนึ่งก็เป็นทารก เสมือนรูปทอง อีกชิ้นหนึ่งก็เป็นทาริกา ดาบสเกิดความรักดังบุตรในทารกทั้งสองนั้น. น้ำนมก็บังเกิดจากหัวนิ้วแม่มือของดาบสนั้นตั้งแต่นั้นมา ดาบสได้น้ำนมและอาหารมาก็บริโภคอาหาร หยอดน้ำนมในปากของทารกทั้งสอง. สิ่งใดๆ เข้าไปในท้องของทารกนั้น สิ่งนั้นๆ ทั้งหมดก็จะแลเห็นเหมือนเข้าไปในภาชนะทำด้วยแก้วมณี. ทารกทั้งสอง ไม่มีผิวอย่างนี้. แต่อาจารย์พวกอื่นๆ กล่าวว่า ผิวของทารกทั้งสองนั้น ใสถึงกันและกันเหมือนถูกร้อยด้ายวางไว้. ทารกเหล่านั้น จึงปรากฏชื่อว่า ลิจฉวี เพราะไม่มีผิว หรือเพราะมีผิวใส ด้วยประการฉะนี้.
ดาบสเลี้ยงทารก พอตะวันขึ้นก็เข้าบ้านแสวงหาอาหาร ตอนสายๆ ก็กลับ. คนเลี้ยงโคทั้งหลาย รู้ถึงการขวนขวายนั้นของดาบสนั้น ก็กล่าวว่าท่านเจ้าข้า การเลี้ยงทารกเป็นกังวลห่วงใยของเหล่านักบวช ขอท่านโปรดให้ทารกแก่พวกเราเถิด พวกเราจะช่วยกันเลี้ยง ขอท่านโปรดทำกิจกรรมของท่านเถิด. ดาบสก็ยอมรับ. วันรุ่งขึ้น พวกคนเลี้ยงโค ก็ช่วยกันทำหนทางให้เรียบแล้วโรยทราย ยกธง มีดนตรีบรรเลงพากันมายังอาศรม. ดาบสกล่าวว่าทารกทั้งสองมีบุญมาก พวกท่านจงช่วยกันเลี้ยงให้เจริญวัย ด้วยความไม่ประมาท ครั้นให้เจริญวัยแล้ว จงจัดการอาวาหวิวาหกันและกัน ให้พระราชา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 222
ทรงยินดีด้วยปัญจโครส จงเลือกหาภูมิประเทศช่วยกันสร้างพระนครขึ้น จงอภิเษกพระกุมารเสีย ณ ที่นั้น แล้วมอบทารกให้. พวกคนเลี้ยงโครับคำแล้วก็นำทารกไปเลี้ยงดู.
ทารกทั้งสอง เจริญเติบโตก็เล่นการเล่น ใช้มือบ้าง เท้าบ้าง ทุบถีบพวกเด็กลูกของคนเลี้ยงโคอื่นๆ ในที่ทะเลาะกัน เด็กลูกคนเลี้ยงโคเหล่านั้นก็ร้องไห้ ถูกมารดาบิดาถามว่าร้องไห้ทำไม ก็บอกว่า เจ้าเด็กไม่มีพ่อแม่ที่ดาบสเลี้ยงเหล่านี้ ข่มเหงเรา. แต่นั้น มารดาบิดาของเด็กเหล่านั้นก็กล่าวว่าทารกสองคนนี้ชอบข่มเหงให้เด็กอื่นๆ เดือดร้อน จะไม่สงเคราะห์มัน ละเว้นมันเสีย. เขาว่าตั้งแต่นั้นมา ประเทศที่นั้น จึงถูกเรียกว่า วัชชี ขนาด ๓๐๐ โยชน์. ครั้งนั้น พวกคนเลี้ยงโคทำพระราชาให้ยินดีแล้ว เลือกเอาประเทศที่นั้นสร้างพระนครลงในประเทศนั้น แล้วอภิเษกพระกุมาร ซึ่งพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา ตั้งเป็นพระราชา ได้ทำการวิวาหมงคลกับทาริกาของพระองค์ ได้วางกติกากฎเกณฑ์ไว้ว่า จะไม่นำทาริกามาจากภายนอก และไม่ให้ทาริกาจากที่นี้แก่ใครๆ โดยการอยู่ร่วมกันครั้งแรกของพระกุมารกุมารีนั้น ก็เกิดทารกคู่หนึ่ง เป็นธิดา ๑ โอรส ๑ โดยอาการอย่างนี้ ก็เกิดเป็นคู่ๆ ถึง ๑๖ ครั้ง.แต่นั้น เมื่อทารกเหล่านั้น เจริญวัยโดยลำดับ นครนั้นก็ไม่พอที่จะบรรจุอารามอุทยาน สถานที่อยู่ บริวารและสมบัติ จึงล้อมรอบด้วยประการ ๓ ชั้น ระหว่างคาวุต หนึ่งๆ เพราะนครนั้น ถูกขยายกว้างออกบ่อยๆ จึงเกิดนามว่าเวสาลีนี้แล.
นี้เรื่องกรุงเวสาลี
การนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็กรุงเวสาลีนี้ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติก็มั่นคงไพบูลย์ด้วยว่า ในกรุงเวสาลีนั้นมีเจ้าอยู่ถึง ๗ ,๗๐๗ พระองค์. พระยุพราชเสนาบดีและภัณฑาคาริกเป็นต้นก็เหมือนกัน เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 223
สมัยนั้นแล กรุงเวสาลีมั่นคงเจริญ มีคนมากมีคนเกลื่อนกล่น มีอาหารหาได้ง่าย มีปราสาท ๗,๗๐๗ หลัง มีเรือนยอด ๗,๗๐๗ หลัง มีอาราม ๗,๗๐๗ อาราม มีสระโบกขรณี ๗,๗๐๗ สระ.
สมัยต่อมา กรุงเวสาลีนั้นเกิดทุพภิกขภัย ฝนแล้งข้าวกล้าตายนึ่ง.คนยากคนจนตายก่อน เขาทิ้งคนเหล่านั้นไปนอกนคร. พวกอมนุษย์ได้กลิ่นคนตายก็พากันเข้าพระนคร. แต่นั้น ผู้คนก็ตายเพิ่มมากขึ้น. เพราะความปฏิกูลนั้น อหิวาตกโรคก็เกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย. ชาวกรุงเวสาลีถูกภัย ๓ อย่างคือ ทุพภิกขภัย อมนุสสภัย และโรคภัยเบียดเบียน ก็เข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า ขอเดชะ เกิดภัย ๓ อย่างในพระนครนี้แล้ว พระเจ้าข้า แต่ก่อนนี้ นับได้ ๗ ชั่วราชสกุล ไม่เคยเกิดภัยเช่นนี้เลย ชรอยพระองค์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้ ภัยนั้นจึงเกิดขึ้น. พระราชาทรงประชุมเจ้าลิจฉวีทุกพระองค์ในที่ว่าราชการตรัสว่า ขอได้โปรดพิจารณาทบทวนข้อที่เราไม่ตั้งอยู่ในธรรมเถิด เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น พิจารณาทบทวนถึงประเพณีทุกอย่าง ก็ไม่ทรงเห็นข้อบกพร่องไรๆ แต่นั้น ก็ไม่เห็นโทษขององค์พระราชา จึงพากันคิดว่า ภัยนี้ของเรา จะระงับไปได้อย่างไร. ในที่ประชุมนั้น เจ้าลิจฉวีบางพวก อ้างถึงศาสดาทั้ง ๖ ว่า พอศาสดาเหล่านั้นย่างเท้าลงเท่านั้น ภัยก็จะระงับไป บางพวกตรัสว่า ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติแล้วในโลก, พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ปวงสัตว์ ทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก พอพระองค์ย่างพระบาทลงเท่านั้น ภัยทุกอย่าง ก็จะระงับไป ด้วยเหตุนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น จึงดีพระทัยตรัสว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น บัดนี้ ประทับอยู่ที่ไหนเล่า พวกเราส่งคนไปเชิญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 224
จะไม่เสด็จมาน่ะสิ. เจ้าลิจฉวีอีกพวกหนึ่งตรัสว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้า ทรงเอ็นดูสัตว์ เหตุไร จะไม่เสด็จมาเล่า. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น บัดนี้ประทับอยู่กรุงราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารทรงอุปฐากอยู่ เกรงท้าวเธอจะไม่ให้เสด็จมา. ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นเราจะทูลพระเจ้าพิมพิสารให้ทรงเข้าพระทัยแล้วนำพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา แล้วทรงมอบเครื่องบรรณาการเป็นอันมากส่งเจ้าลิจฉวีสองพระองค์ พร้อมด้วยกองกำลังขนาดใหญ่ไปยังราชสำนักพระเจ้าพิมพิสาร โดยสั่งว่า ขอท่านทูลพระเจ้าพิมพิสารให้เข้าพระทัยแล้ว นำพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา เจ้าลิจฉวีทั้งสองพระองค์เสด็จไปถวายเครื่องบรรณาการแด่พระเจ้าพิมพิสาร แล้วแจ้งให้ทรงทราบเรื่องราวแล้วทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดส่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมายังนครของข้าพระองค์ด้วยเถิด. พระราชาไม่ทรงรับรองตรัสว่า พวกท่านทรงรู้เอาเองเถิด. เจ้าลิจฉวีก็ทูลรับว่า ดีละ พระเจ้าข้า แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภัย ๓ อย่างเกิดขึ้นในนครของข้าพระองค์ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงเสด็จมาไซร้ ความสวัสดีก็จะพึงมีแก่พวกข้าพระองค์ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาว่าเมื่อตรัสรัตนสูตรในกรุงเวสาลีการอารักขาจักแผ่ไปแสนโกฏิจักรวาล จบสูตรสัตว์ ๘๔,๐๐๐ จักตรัสรู้ธรรม แล้วจึงทรงรับนิมนต์. ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว โปรดให้โฆษณาไปในพระนครว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์เสด็จไปกรุงเวสาลีแล้ว เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพระองค์ทรงรับจะเสด็จไปกรุงเวสาลีหรือพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าถวายพระพร มหาบพิตร. ท้าวเธอทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้นโปรดทรงรอจนกว่าจะจัดแจงหนทางถวายนะ พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 225
ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสาร ทรงทำพื้นที่ ๕ โยชน์ ระหว่างกรุงราชคฤห์และแม่น้ำคงคาให้ราบเรียบแล้ว ให้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงเวลาที่จะเสด็จไป พระผู้มีพระภาคเจ้า อันภิกษุ ๕๐๐ รูป แวดล้อมแล้วเสด็จไป พระราชาทรงเอาดอกไม้ ๕ สีโปรยหนทาง ๕ โยชน์เพียงหัวเข่า ให้ยกธงผ้า หม้อน้ำและต้นกล้วยเป็นต้น ให้กั้นเศวตฉัตร ๒ ชั้นสำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉัตรชั้นเดียวสำหรับพระภิกษุแต่ละรูป ทรงทำการบูชาด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้นพร้อมด้วยราชบริพารของพระองค์ ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในวิหารหลังหนึ่งๆ ถวายมหาทาน ทรงนำเสด็จสู่ฝั่งแม่น้ำคงคา ๕ วัน. ณ ที่นี้ ทรงประดับเรือด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง แล้วทรงส่งสาสน์ไปถวายเจ้าลิจฉวีกรุงเวสาลีว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้ว ขอเจ้าลิจฉวีทุกพระองค์ ตกแต่งหนทางถวายการรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นตกลงกันว่า จะทำการบูชาเป็นสองเท่า ทำพื้นที่ ๓ โยชน์ระหว่างกรุงเวสาลี และแม่น้ำคงคาให้เรียบร้อย จัดเศวตฉัตร ๔ ชั้น สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า สำหรับพระภิกษุแต่ละรูปๆ ละ ๒ ชั้น ทำการบูชา เสด็จมาคอยอยู่.
ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสาร ทรงทำเรือขนาน ๒ ลำแล้วสร้างมณฑปประดับด้วยพวงดอกไม้ ปูลาดพุทธอาสน์ทำด้วยรัตนะล้วน ณ มณฑปนั้น.ที่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์นั้น. แม้ภิกษุ ๕๐๐ รูปก็ลงเรือนั่งกันตามสมควร พระราชาส่งเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ลงน้ำประมาณแต่พระศอกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่กันริมฝั่งแม่น้ำคงคานี้นี่แหละ จนกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จกลับมา แล้วก็เสด็จกลับ.เทวดาเบื้องบนจนถึงอกนิษฐภพ ได้พากันทำการบูชา. นาคราชทั้งหลาย มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 226
กัมพลนาคและอัสสตรนาคเป็นต้น ซึ่งอาศัยอยู่ใต้แม่น้ำคงคา ก็พากันทำการบูชา. ด้วยการบูชาใหญ่อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปทางแม่น้ำคงคาสิ้นระยะทางไกลประมาณโยชน์หนึ่ง ก็เข้าเขตแดนของพวกเจ้าลิจฉวีกรุงเวสาลี.
ต่อนั้น พวกเจ้าลิจฉวีก็ทำการบูชาเป็น ๒ เท่าที่พระเจ้าพิมพิสารทรงทำการบูชา ออกไปรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงในน้ำประมาณแค่พระศอ.ขณะนั้นเอง ครู่นั้นเอง มหาเมฆมียอดคลุมด้วยความมืดมีแสงฟ้าแลบเคลื่อนตัวไปส่งเสียงคำรามครืนครั่นก็ตั้งขึ้นทั้งสี่ทิศ. ลำดับนั้น พอพระผู้มีพระภาคเจ้ายกพระบาทแรกวางลงริมฝั่งแม่น้ำคงคา ฝนโบกขรพรรษก็โปรยเม็ดลงมาชนเหล่าใดต้องการจะเปียก ชนเหล่านั้น เท่านั้นย่อมเปียก ผู้ไม่ต้องการเปียกก็ไม่เปียก ในที่ทุกแห่ง น้ำย่อมไหลไปเพียงแค่เข่า แค่ขา แค่สะเอว แค่คอ ซากศพทั้งปวงถูกน้ำพัดส่งลงสู่แม่น้ำคงคา พื้นดินก็สะอาดสะอ้าน.
พวกเจ้าลิจฉวีให้พระผู้มีพระเจ้าประทับอยู่ทุกๆ หนึ่งโยชน์ในระหว่างทางถวายมหาทาน ทรงทำการบูชาเป็นทวีคูณ ๓ วัน จึงนำเสด็จสู่กรุงเวสาลี.เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงเวสาลี ท้าวสักกะจอมทวยเทพ อันหมู่เทพห้อมล้อมก็เสด็จมาถึง. พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับยืนใกล้ประตูพระนครทรงเรียกท่านพระอานนท์มาสั่งว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงเรียนรัตนสูตรนี้ ถือเครื่องประกอบพลีกรรม เที่ยวเดินไประหว่างปราการ ๓ ชั้นแห่งกรุงเวสาลีกับพวกเจ้าลิจฉวีราชกุมาร ทำพระปริตร แล้วได้ตรัสรัตนสูตร.
การวิสัชนาปัญหาเหล่านั้นว่า ก็พระสูตรนี้ผู้ใดกล่าว กล่าวเมื่อใด กล่าวที่ใดและกล่าวเพราะเหตุใด ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลาย พรรณนาไว้พิสดารตั้งแต่เรื่องกรุงเวสาลีเป็นต้นไป ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 227
ดังนั้น ในวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงเวสาลีนั่นเอง รัตนสูตรนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสใกล้ประตูกรุงเวสาลี เพื่อกำจัดอุปัทวะเหล่านั้น ท่านพระอานนท์ก็เรียนเอา เมื่อจะกล่าวเพื่อเป็นปริตร [ป้องกันอุปัทวะ] จึงเอาบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าตักน้ำมา เดินประพรมไปทั่วพระนคร. พอพระเถระกล่าวว่า ยงฺกิญฺจิ เท่านั้น พวกอมนุษย์ที่อาศัยกองขยะและที่ฝาเรือนเป็นต้น ซึ่งยังไม่หนีไปในตอนแรก ก็พากันหนีไปทางประตูทั้ง ๔. ประตูทั้งหลาย ก็ไม่มีที่ว่าง อมนุษย์บางพวก เมื่อไม่ได้ที่ว่างที่ประตูทั้งหลาย ก็ทลายกำแพงเมืองหนีไป. พอพวกอมนุษย์พากันไปแล้ว ที่เนื้อตัวของพวกมนุษย์ทั้งหลาย โรคก็สงบไป พวกมนุษย์ทั้งหลาย ก็พากันออกมาบูชาพระเถระ ด้วยดอกไม้ของหอมเป็นต้นทุกอย่าง มหาชนเอาของหอมทุกอย่างฉาบทาสัณฐาคารที่ประชุม ท่ามกลางพระนคร ทำเพดานขจิตด้วยรัตนะ ประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง ปูพุทธอาสน์ลง ณ ที่นั้นแล้วนำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามา.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าสู่สัณฐาคาร ประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขาปูไว้. ทั้งภิกษุสงฆ์ คณะเจ้า และมนุษย์ทั้งหลายก็นั่ง ณ อาสนะที่เหมาะที่ควร. แม้ท้าวสักกะ จอมทวยเทพก็ประทับนั่งใกล้กับเทวบริษัท ในเทวโลกทั้งสอง ทั้งเทวดาอื่นๆ ด้วย. แม้ท่านพระอานนทเถระ ก็เที่ยวเดินไปทั่วกรุงเวสาลี ทำอารักขาแล้ว ก็มาพร้อมกับชาวกรุงเวสาลี นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง. ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสรัตนสูตรนั้นนั่นแหละแก่ทุกคนแล.
ก็มาติกา หัวข้อใด ข้าพเจ้าตั้งไว้ว่า ข้าพเจ้าจักประกาศนัยนี้ว่ารัตนสูตรนี้ผู้ใดกล่าว กล่าวเมื่อใด กล่าวที่ใด และกล่าวเพราะเหตุใด มาติกานั้นเป็นอันข้าพเจ้ากล่าวไว้พิสดารแล้วโดยประการทั้งปวง ด้วยถ้อยคำมีประมาณเท่านี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 228
พรรณนาคาถาว่า ยานีธ
บัดนี้ จะเริ่มพรรณนาความ เพราะข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ว่าจักพรรณนาความแห่งรัตนสูตรนั้น แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พระผู้พระภาคเจ้าตรัส ๕ คาถาต้น ที่เหลือท่านพระอานนทเถระกล่าว จะอย่างไรก็ตาม ประโยชน์อะไรของเราด้วยคาถาเล็กน้อย ที่ยังไม่ได้ตรวจตรานี้ ข้าพเจ้าจักพรรณนาความแห่งรัตนสูตรนี้ แม้โดยประการทั้งปวง.
จะพรรณนาคาถาแรกว่า ยานีธ ภูตานิ เป็นต้น. ในคาถาแรกนั้นบทว่า ยานิ ได้แก่ เช่นใด ไม่ว่าจะมีศักดิ์น้อยหรือศักดิ์มาก. บทว่า อิธ แปลว่า ในประเทศนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงสถานที่ประชุมในขณะนั้น. ในบทว่า ภูตานิ ภูตศัทพ์ ใช้หมายถึงสิ่งที่มีอยู่ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างว่า ภูตสฺมึ ปาจิตฺติยํ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะภูตคาม. ใช้หมายถึง ขันธปัญจก ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูตมิทํ ภิกฺขเวสมนุปสฺสถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงพิจารณาเห็นขันธปัญจกนี้. ใช้หมายถึงรูป มีปฐวีธาตุเป็นต้น ๔ อย่าง ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า จตฺตาโร โข ภิกฺขุ มหาภูตา เหตุ ดูก่อนภิกษุ มหาภูตรูป ๔ แลเป็นเหตุ. ใช้หมายถึงพระขีณาสพ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า โย จ กาลฆโสภูโต ก็พระขีณาสพใดแล กินกาลเวลา. ใช้หมายถึงสรรพสัตว์ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า สพฺเพว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ สรรพสัตว์จักทอดทิ้งเรือนร่างไว้ในโลก. ใช้หมายถึงต้นไม้เป็นต้น ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูตคามปาตพฺยตาย ในเพราะพรากภูตคาม. ใช้หมายถึงหมู่สัตว์ภายใต้เทพชั้นจาตุมมหาราช ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูตํภูตโต สญฺชานาติ จำได้ซึ่งหมู่สัตว์โดยเป็นหมู่สัตว์ ก็จริง ถึงกระนั้น ภูตศัพท์ พึงทราบว่าใช้ในอรรถว่า อมนุษย์ โดยไม่ต่างกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 229
บทว่า สมาคตานิ แปลว่า ประชุมแล้ว. บทว่า ภุมฺมานิ ได้แก่อันบังเกิดที่พื้นดิน. ศัพท์ว่า วา ใช้ในความว่า ไม่แน่นอน. ด้วย วา ศัพท์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำวิกัปอันหนึ่งนี้ว่า ยานีธ ภุมฺมานิ วาภูตานิ สมาคตานิ แล้วตรัสว่า ยานิ ว อนฺตสิกฺเข เพื่อทรงทำวิกัปที่สองอีก. ความว่า หรือสัตว์เหล่าใด เป็นแล้วเกิดแล้วในอากาศ สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดมาประชุมแล้วในที่นี้. ก็ในข้อนี้ สัตว์ทั้งหลายที่บังเกิดแล้ว เป็นแล้ว ตั้งแต่เทพชั้นยามา จนถึงชั้นอกนิษฐะ พึงทราบว่า เป็นแล้ว [เกิดแล้ว] ในอากาศเพราะเป็นสัตว์ที่บังเกิดในวิมานอันปรากฏในอากาศ. สัตว์ทั้งหลายภายใต้แต่นั้นตั้งแต่ขุนเขาสิเนรุ จนถึงจำพวกที่สิงอยู่ในต้นไม้และเถาวัลย์เป็นต้น และจำพวกที่บังเกิดแล้วเป็นแล้วที่แผ่นดิน สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด พึงทราบว่าสัตว์เกิดที่พื้นดิน เพราะเป็นสัตว์ที่บังเกิด ณ พื้นดิน และ ณ ต้นไม้เถาวัลย์และภูเขาเป็นต้น ที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นดิน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงกำหนดหมู่สัตว์อมนุษย์ทุกหมู่เหล่า ด้วยสองบทว่า ภุมฺมานิ วา ยานิ ว อนฺตลิกฺเข ทรงกำกับด้วยอีกบทหนึ่งจึงตรัสว่า สพฺเพว ภูตา สุมนา ภวนฺตุ. บทว่า สพฺเพ ได้แก่ ไม่เหลือเลย. ศัพท์ว่า เอว ลงในอรรถว่าอวธารณะ ห้ามความอื่น อธิบายว่าไม่ละเว้นแม้แต่ผู้เดียว. บทว่า ภูตา ได้แก่ พวกอมนุษย์. บทว่า สุมนาภวนฺตุ ได้แก่ จงเป็นผู้เกิดปีติโสมนัส. คำว่า อโถปิ เป็นนิบาตทั้งสองคำ ลงในอรรถคือ การยึดพากย์ [ประโยค] เพื่อประกอบไว้ในกิจคือหน้าที่อื่น. บทว่า สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิตํ ได้แก่ ทำให้เป็นประโยชน์ ทำไว้ในใจ รวบรวมโดยใจทั้งหมดแล้วจงฟังเทศนาของเรา อันจะนำมาซึ่งทิพยสมบัติและโลกุตรสุข.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 230
ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงระบุพวกภูตด้วยพระดำรัสที่ไม่แน่นอนว่า ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ แล้วจึงทรงกำหนดเป็นสองส่วนอีกว่า ภุมมานิ วา ยานิ ว อนฺตลิกฺเข ต่อจากนั้น ก็ตรัสรวมอีกว่า สพฺเพว ภูตา ทรงประกอบสัตว์ไว้ในอาสยสมบัติ ด้วยพระดำรัสนี้ว่า สุมนา ภวนฺตุ ทรงประกอบสัตว์ในประโยคสมบัติ ด้วยพระดำรัสว่า สกฺกจฺจํสุณนฺตุ ภาสิตํ ทรงประกอบสัตว์ไว้ในสมบัติคือโยนิโสมนสิการ และในสมบัติ คือการโฆษณาจากผู้อื่น ก็เหมือนกัน ทรงประกอบสัตว์ไว้ในสมบัติคือการตั้งตนไว้ชอบและการเข้าหาสัตบุรุษ และในสมบัติ คือเหตุแห่งสมาธิและปัญญา ก็เหมือนกัน จึงทรงจบพระคาถา.
พรรณนาคาถาว่า ตสฺมา หิ
จะกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า ตสฺมา หิ เป็นต้น. ในคาถานั้น บทว่า ตสฺมา เป็นคำกล่าวเหตุ. บทว่า ภูตา เป็นคำเรียกเชิญ. บทว่า นิสาเมถ ได้แก่ จงฟัง. บทว่า สพฺเพ ได้แก่ ไม่เหลือเลย. ท่านอธิบายไว้อย่างไร.ท่านอธิบายว่า เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลาย ละทิพยสถานและความพรั่งพร้อมแห่งเครื่องอุปโภคบริโภคในทิพยสถานนั้น มาประชุมในที่นี้ ก็เพื่อฟังธรรม ไม่ใช่เพื่อดูการรำการฟ้อนเป็นต้น ฉะนั้นแล ขอท่านทั้งหลายที่เป็นภูตทั้งหมดโปรดตั้งใจฟัง.
อีกอย่างหนึ่ง ด้วยพระดำรัสว่า สุมนา ภวนฺตุ สกฺกจฺจํ สุณนฺตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่า ภูตเหล่านั้นมีใจดี และอยากฟัง โดยเคารพจึงตรัสว่า เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลาย ประกอบด้วยความเป็นผู้มีใจดีด้วยอัตตสัมมาปณิธิ โยนิโสมนสิการ และอาสยสุทธิ ด้วยความเป็นผู้อยากฟังโดยเคารพ และด้วยปโยคสุทธิ โดยเป็นปทัฏฐานแห่งการเข้าหาสัตบุรุษและการโฆษณาจากผู้อื่น ฉะนั้นแล ขอภูตทั้งหลายทั้งหมดโปรดตั้งใจฟังเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 231
อีกอย่างหนึ่ง คำใด ตรัสว่า ภาสิตํ ท้ายคาถาต้น ทรงอ้างคำนั้นเป็นตัวเหตุ จึงตรัสว่า เพราะเหตุที่ธรรมดาภาษิตของเรา หาได้ยากยิ่ง เพราะขณะที่เว้นจากอขณะทั้งปวง หาได้ยาก และมีอานิสงส์มาก เพราะปฏิบัติด้วยพระคุณมีปัญญาคุณและกรุณาคุณเป็นต้น ทั้งเราก็ประสงค์จะกล่าวภาสิตนั้นจึงได้กล่าวว่า สุณนฺตุ ภาสิตํ ฉะนั้นแล ขอท่านภูตทั้งหลายทุกท่านโปรดตั้งใจฟังเถิด. พระดำรัสนี้เป็นอันทรงอธิบายด้วยบทแห่งคาถานี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงยกเหตุนี้อย่างนี้ ทรงประกอบภูตทั้งหลายไว้ในการตั้งใจฟังภาษิตของพระองค์ จึงทรงเริ่มตรัสภาษิตที่พึงตั้งใจฟังว่า เมตฺตํ กโรถ มานุสิยา ปชาย. ภาษิตนั้นมีความว่า ประชาชนชาวมนุษย์นี้ใดถูกอุปัทวะทั้ง ๓ ขัดขวางแล้ว ขอท่านทั้งหลายจงเข้าไปตั้งเมตตาความเป็นมิตร ความมีอัธยาศัย เอื้อประโยชน์แก่ประชาชนคนมนุษย์นั้นเถิด.แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า มานุสิกํ คำนั้นไม่ถูก เพราะภูตที่อยู่พื้นดินไม่เกิด อาจารย์พวกอื่นพรรณนาความแม้อันใด ความแม้อันนั้นก็ไม่ถูก. ส่วนในที่นี้มีอธิบายว่า เราไม่กล่าวด้วยกำลังความเป็นใหญ่ว่าเป็นพุทธะ. ก็แต่ว่าสิ่งไรเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกท่าน และแก่ประชาชนคนมนุษย์นี้ เราจะกล่าวสิ่งนั้น ว่า เมตฺตํ กโรถ มานุสิยา ปชาย ขอพวกท่านจงทำเมตตาแก่ประชาชนคนมนุษย์เถิด.
อนึ่งในข้อนี้ เมตตาพึงทราบว่าเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ทำเมตตาโดยพระสูตรทั้งหลายเป็นต้นอย่างนี้ว่า
ราชฤษีเหล่าใด ชนะแผ่นดิน ๗ ทวีป ท่องเที่ยวบูชายัญ อัสสเมธะ ปริสเมธะ สัมมาปาสะ วาชเปยยะและนิรัคคฬะ ราชฤษีเหล่านั้น ไม่ได้เสวย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 232
แม้แต่เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งเมตตาจิต ที่อบรมดีแล้ว. ถ้าบุคคลมีจิตไม่คิดร้ายสัตว์ แม้แต่ตัวเดียว ประพฤติเมตตา ย่อมเป็นผู้ฉลาดด้วยจิตนั้น อริยชนมีใจเอ็นดูสัตว์มีชีวิตทุกหมู่เหล่า ชื่อว่าประกอบบุญเป็นอันมาก. ดังนี้.
และโดยอานิสงส์ ๑๑ ประการ.
เมตตา พึงทราบว่าเป็นประโยชน์เกื้อกูล แม้แก่สัตว์ทั้งหลายที่เขาทำเมตตา โดยพระสูตรเป็นต้นอย่างนี้ว่า
เทวตานุกมฺปิโต โปโส สทา ภทฺรานิ ปสฺสติ
บุคคลอันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว ย่อมเห็นความเจริญทุกเมื่อ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงว่าเมตตามีประโยชน์เกื้อกูลแก่คนแม้ทั้งสองฝ่ายอย่างนี้ จึงตรัสว่า เมตฺตํ กโรถ มานุสิยา ปชาย บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงแม้อุปการะจึงตรัสว่า
ทิวา จ รตฺโต จ หรนฺติ เย พลึ ตสฺมา หิ เน รกฺขถ อปฺปมตฺตา.
เพราะฉะนั้นแล ขอท่านทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาท ช่วยปกปักรักษาพวกคนที่นำพลีมาบูชา ทั้งกลางวันทั้งกลางคืนด้วยเถิด.
ภาษิตนั้น มีความว่า มนุษย์เหล่าใดสร้างเทวดาแม้ด้วยภาพเขียนและแกะด้วยไม้เป็นต้นแล้วเข้าไปยังรุกขเจดีย์เป็นต้น ทำพลีกรรมเซ่นสรวงในเวลากลางวันและทำพลีกรรมในเวลากลางคืน วันข้างแรมเป็นต้น อุทิศเทวดาทั้งหลาย หรือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 233
ถวายสลากภัตตทานเป็นอาทิ ทำพลีกรรมมุ่งถึงอารักขเทวดาจนถึงด้วยการมอบปัตติทานให้ส่วนบุญแก่พรหมและเทวดาทั้งหลายและทำพลีกรรมในเวลากลางคืน ด้วยการยกฉัตรตามประทีปประดับมาลัย และด้วยจัดให้มีการฟังธรรมตลอดคืนยังรุ่งเป็นต้น มนุษย์เหล่านั้น พวกท่านจะไม่พึงอารักขาได้อย่างไร.เพราะเหตุที่มนุษย์พวกใดทำพลีกรรมอุทิศพวกท่านทั้งกลางวันทั้งกลางคืนอย่างนี้ ฉะนั้น พวกท่านโปรดรักษามนุษย์พวกนั้นเถิด. อธิบายว่า ฉะนั้น พวกท่านจงคุ้มครองรักษามนุษย์พวกนั้น คือเป็นผู้ไม่ประมาท ทำความเป็นผู้กตัญญูนั้นไว้ในดวงใจ ระลึกถึงอยู่เป็นนิตย์ จงนำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเขาออกไป จงนำเข้าไปแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล.
พรรณนาคาถาว่า ยงฺกิญจิ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงว่ามนุษย์มีอุปการะในเทวดาทั้งหลายอย่างนี้แล้ว จึงทรงเริ่มประกอบสัจจวจนะ. โดยนัยว่า ยงฺกิญฺจิ วิตฺตํ ดังนี้เป็นต้น เพื่อทรงระงับอุปัทวะของมนุษย์เหล่านั้น และเพื่อการฟังธรรมของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายด้วยการประกาศคุณของพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. ในสัจจวจนะนั้น บทว่า ยงฺกิญฺจิ ความว่า ท่านยึดถือไม่เหลือเลยโดยไม่กำหนดไว้ คือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ควรทำการแลกเปลี่ยนได้ในถิ่นนั้นๆ.บทว่า วิตฺตํ ได้แก่ทรัพย์. จริงอยู่ทรัพย์นั้น ชื่อว่า วิตตะ เพราะให้เกิดความปลื้มใจ. ทรงแสดงมนุษยโลกด้วยบทว่า อิธ วา. ทรงแสดงโลกที่เหลือนอกจากมนุษยโลกนั้น ด้วยบทว่า หุรํ วา. ด้วยสองบทนั้น พึงทราบว่ากินความถึงนาคและสุบรรณ เป็นต้นที่เหลือ เว้นมนุษย์และเทวดาทั้งหลายเพราะเมื่อพร้อมที่จะถือเอาโลกทั้งปวง เว้นมนุษย์ทั้งหลาย ก็ได้ตรัสไว้ข้างหน้าว่า สคฺเคสุ วา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 234
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันใด สำหรับมนุษย์ ที่เป็นทรัพย์ใช้แลกเปลี่ยนและที่ใช้เป็นเครื่องประดับเครื่องบริโภคและเครื่องอุปโภค มี ทอง เงิน แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ แก้วประพาฬ แก้วทับทิมและแก้วลายเป็นต้นและทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันใด สำหรับนาคและครุฑ เป็นต้น ที่อุบัติในภพทั้งหลาย อันกว้างหลายร้อยโยชน์ในวิมานรัตนะ ณ ภาคพื้นดินที่ลาดด้วยทรายแก้วมุกดาและแก้วมณี ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันนั้น ก็เป็นอันแสดงแล้วด้วยบททั้งสองนี้ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า สคฺเคสุ วา ได้แก่ เทวโลกที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร.เทวโลกเหล่านั้น ชื่อว่า สัคคะ สวรรค์ เพราะดำเนินไป คือถึงได้ ด้วยกรรมอันงาม. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัคคะ เพราะมีอารมณ์ดีเลิศ. บทว่า ยํ ได้แก่ ที่มีเจ้าของหรือไม่มีเจ้าของอันใด. บทว่า รตนํ ได้แก่ ชื่อว่า รัตนะเพราะนำพาให้เกิด เพิ่มพูนความยินดี. คำว่า รัตนะ นี้ เป็นชื่อของทุกสิ่งที่ทำให้งดงาม มีค่ามาก ชั่งไม่ได้ เห็นยาก และเป็นของบริโภคใช้สอยของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทราม เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
จิตฺตีกตํ มหคฺฆญฺจ อตุลํ ทุลฺลภทสฺสนํ อโนมสตฺตปริโภคํ รตนํ เตน วุจฺจติ.
ของที่ทำให้เขายำเกรง มีค่ามาก ชั่งไม่ได้ เห็นได้ยาก เป็นเครื่องใช้สอยของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทราม ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า รัตนะ.
บทว่า ปณีตํ ได้แก่สูงสุด ประเสริฐสุด ไม่น้อยเลย น่าเอิบอาบใจรัตนะใด ในสวรรค์ทั้งหลายตั้งต้นแต่วิมานสุธรรมสภา ไพชยนต์ปราสาทที่เป็นรัตนะล้วนขนาดหลายร้อยโยชน์มีเจ้าของ และรัตนะใดที่เกี่ยวข้องอยู่ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 235
วิมานอันว่างเปล่าในสวรรค์ทั้งหลาย ที่ทำอบายเท่านั้นให้เต็มปรี่ เพราะไม่ใช่สมัยที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ ไม่มีเจ้าของ ก็หรือว่ารัตนะแม้อื่นใด ที่อาศัยอยู่ในพื้นดิน มหาสมุทร และภูเขาหิมวันต์ เป็นต้น ไม่มีเจ้าของ รัตนะอื่นนั้น ก็เป็นอันทรงแสดงแล้วด้วยบทแห่งคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้.
ศัพท์ว่า น ในบทคาถาว่า น โน สมํ อตฺถิ ตถาคเตน ลงในความปฏิเสธ. ศัพท์ว่า โน ลงในความห้ามความอื่น. บทว่า สมํ ได้แก่เทียบ. บทว่า อตฺถิ แปลว่า มีอยู่. บทว่า ตถาคเตน ได้แก่ ด้วยพระพุทธเจ้า. ท่านอธิบายไว้อย่างไร. อธิบายไว้ดังนี้ ทรัพย์เครื่องปลื้มใจและรัตนะ นั้นใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศไว้แล้ว บรรดาทรัพย์เครื่องปลื้มใจ และรัตนะนั้น รัตนะแม้แต่สักอย่างหนึ่ง ซึ่งเสมอด้วยพุทธรัตนะไม่มีเลย จริงอยู่ ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแม้นั้นใด ชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่าทำให้เกิดความยำเกรง ทรัพย์เครื่องปลื้มใจนั้น คืออะไร คือจักรรัตนะและมณีรัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วมหาชนจะไม่ทำความเคารพยำเกรงในที่อื่น ใครๆ ถือเอาดอกไม้และของหอมเป็นต้นแล้ว จะไม่ไปสถานของยักษ์หรือสถานของภูต ชนแม้ทุกคน จะทำความเคารพยำเกรง บูชาเฉพาะจักรรัตนะและมณีรัตนะเท่านั้น ปรารถนาพรนั้นๆ และพรบางอย่างที่ปรารถนาแล้วๆ ของเขาก็สำเร็จผลได้ รัตนะแม้นั้น เสมอด้วยพุทธรัตนะย่อมไม่มี.
ก็หากว่าทรัพย์เครื่องปลื้มใจชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่า ทำให้เกิดความเคารพยำเกรง พระตถาคตเท่านั้น ก็ชื่อว่า รัตนะ. จริงอยู่เมื่อพระตถาคตเสด็จอุบัติแล้ว เทวดาแลมนุษย์ ผู้มีศักดิ์มาก ทุกหมู่เหล่าเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ย่อมไม่ทำความเคารพยำเกรงในรัตนะอื่น ย่อมไม่บูชารัตนะไรๆ อื่น. จริงอย่างนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ก็บูชาพระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 236
ตถาคต ด้วยพวงรัตนะขนาดเท่าภูเขาสิเนรุ. และเทวดาเหล่าอื่นและมนุษย์ทั้งหลายมีพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าโกศลและท่านอนาถบิณฑิกะ เป็นต้นก็บูชาตามกำลัง. พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสละพระราชทรัพย์ ๙๖ โกฏิทรงสร้างวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลัง ทั่วชมพูทวีป อุทิศถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เสร็จปรินิพพานแล้ว. ก็จะป่วยกล่าวไปไย สำหรับหมู่คนที่เคารพยำเกรงเหล่าอื่นเล่า. อนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าพระองค์ไรๆ อื่น แม้ปรินิพพานแล้ว การทำความเคารพยำเกรง อุทิศสถานที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่ประกาศพระธรรมจักรและสถานที่ปรินิพพาน หรือเจดีย์ คือ พระปฏิมา [พระพุทธรูป] ก็เป็นไปเหมือนของพระผู้มีพระภาคเจ้า. รัตนะที่เสมอด้วยพระตถาคต แม้เพราะอรรถว่าทำให้เกิดความเคารพยำเกรง ย่อมไม่มีด้วยประการฉะนี้.
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ แม้นั้นใด ชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่ามีค่ามากก็เหมือนกัน ทรัพย์เครื่องปลื้มใจนั้น คืออะไร. คือ ผ้าแคว้นกาสี เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้าแคว้นกาสีแม้เก่าก็ยังมีสีสรร มีสัมผัสสบาย และมีค่ามาก. ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแม้นั้น เสมอด้วยพุทธะรัตนะ ย่อมไม่มี. ก็หากว่าทรัพย์เครื่องปลื้มใจ ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่า มีค่ามาก. พระตถาคตเท่านั้น ชื่อว่ารัตนะ จริงอยู่ พระตถาคตทรงรับแม้บังสุกุลจีวรของชนเหล่าใด ทานนั้นของชนเหล่านั้น ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก ทั่งนี้ ก็เพราะพระตถาคตนั้นมีค่ามาก. ด้วยคำกล่าวถึงข้อที่พระตถาคตทรงมีค่ามากอย่างนี้ พึงทราบบทแห่งพระสูตร ที่สาธกความไม่มีโทษในข้อนี้ดังนี้ว่า
ตถาคตนั้น รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของตนเหล่าใด ทานนั้นของชนเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เรากล่าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 237
ดังนี้ก็เพราะพระตถาคตนั้นมีค่ามาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนผ้าแคว้นกาสีนั้น มีค่ามาก แม่ฉันใดเราก็กล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปมาฉันนั้น.
รัตนะเสมอด้วยพระตถาคต แม้เพราะอรรถว่ามีค่ามาก ย่อมไม่มีด้วยประการฉะนี้.
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ แม้นั้นใด ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่า ชั่งไม่ได้ก็เหมือนกัน. ทรัพย์เครื่องปลื้มใจนั้นคืออะไร คือ จักรรัตนะ ของพระเจ้าจักรพรรดิมีดุมเป็นมณีอินทนิล มีซี่เป็นรัตนะ ๗,๐๐๐ ซี่ มีกงแก้วประพาฬมีที่ต่อเป็นทองสีแดง เกิดขึ้น ซึ่งซี่กำเกลี้ยงวางบนซี่ทุกสิบซี่ รับลมแล้วจะทำเสียงเป็นเหมือนเสียงดนตรีเครื่อง ๕ ที่ผู้ชำนาญบรรเลงแล้ว ทั้งสองข้างของดุมมีหน้าราชสีห์สองหน้า ข้างในล้อรถมีรู ไม่มีคนทำหรือคนให้ทำ มันตั้งขึ้นแต่อุตุ มีกรรมเป็นปัจจัย ซึ่งพระราชาทรงบำเพ็ญจักรวรรดิวัตร ๑๐ ประการแล้ว วันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ทรงสนานพระเศียรแล้ว ทรงถืออุโบสถเสด็จขึ้นบนพระมหาปราสาท ทรงชำระศีล ประทับนั่งแล้วจะทอดพระเนตรเห็นจักรรัตนะปรากฏขึ้น เหมือนดวงจันทร์เพ็ญและดวงอาทิตย์ จะทรงได้ยินเสียงมาตั้งแต่ ๑๒ โยชน์ เห็นสีสรรมาแต่ ๓ โยชน์ ซึ่งมหาชนแลเห็นจะพากันแตกตื่นอย่างเหลือเกินว่า ชรอยดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ เกิดขึ้นแล้ว แล่นมาเหนือพระนคร ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ทางด้านทิศตะวันออกภายในพระราชนิเวศน์แล้วหยุดอยู่เหมือนเพลาหัก ในที่นี้มหาชนควรบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น.
หัตถิรัตนะ ช้างแก้วก็เกิดขึ้นติดตามจักรรัตนะนั้นนั่นแล คือช้างเผือกปลอด เท้าแดง มีกำลัง ๗ ช้างสาร มีฤทธิ์ไปทางอากาศได้ มาจากช้าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 238
ตระกูลอุโบสถก็มี จากตระกูลช้างฉัททันต์ก็มี ถ้ามาจากตระกูลอุโบสถก็เป็นพี่ของช้างทั้งหมด ถ้ามาจากตระกูลฉัททันต์ ก็เป็นน้องของช้างทั้งหมด มีการศึกษาที่ศึกษาแล้ว ฝึกมาแล้ว ช้างนั้นพาบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ ตระเวนทั่วชมพูทวีป ไปแล้วกลับมาเอง ก่อนอาหารเช้านั่นแล.
อัสสรัตนะ ก็เกิดติดตามหัตถิรัตนะแม้นั้นนั่นแล คือม้าขาวปลอดเท้าแดง ศีรษะดังกา มีผมดังหญ้ามุงกระต่าย มาจากตระกูลพระยาม้าพลาหก.ในข้อนี้ คำที่เหลือก็เช่นเดียวกับหัตถิรัตนะนั่นแหละ.
มณีรัตนะ ก็เกิดติดตามอัสสรัตนะแม้นั้น มณีนั้นเป็นแก้วไพฑูรย์งามโดยธรรมชาติ แปดเหลี่ยม เจียระไนอย่างดี โดยยาวก็เสมือนดุมแห่งจักรมาจากเวปุลลบรรพต มณีนั้น ยามมืดแม้ที่ประกอบด้วยองค์ ๔ อยู่ถึงยอดธงของพระราชา ก็ส่องแสงสว่างไปตั้งโยชน์ ซึ่งโดยแสงสว่าง พวกมนุษย์สำคัญว่ากลางวัน ก็ประกอบการงาน มองเห็นโดยที่สุดแม้กระทั่งมดดำมดแดง.
อิตถีรัตนะ ก็เกิดติดตามมณีรัตนะแม้นั้นแล คือสตรีที่เป็นพระอัครมเหสีโดยปกติหรือมาจากอุตตรกุรุทวีป หรือจากราชตระกูลมัททราช เว้นจากโทษ ๖ มีสูงเกินไปเป็นต้น ล่วงวรรณะของมนุษย์ แต่ไม่ถึงวรรณะทิพย์ ซึ่งสำหรับพระราชา ก็จะมีกายอุ่นเมื่อยามเย็น จะมีกายเย็นเมื่อยามร้อน มีสัมผัสเหมือนปุยนุ่นที่ชีแล้ว ๗ ครั้ง กลิ่นจันทน์จะโชยออกจากกาย กลิ่นอุบลจะโชยออกจากปาก และเป็นผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติเป็นอันมาก มีตื่นก่อนเป็นต้น.
คหปติรัตนะ ก็เกิดติดตามอิตถีรัตนะแม้นั้นแล ก็คือเศรษฐี ผู้ทำการงานโดยปกติของพระราชา ซึ่งพอจักรรัตนะเกิดขึ้น ก็ปรากฏทิพยจักษุเห็นขุมทรัพย์ได้ประมาณโยชน์หนึ่งโดยรอบ ทั้งที่ไม่มีเจ้าของ ทั้งที่มีเจ้าของก็เข้าเฝ้าพระราชาทูลปรารถนาว่า ข้าแต่เทวราช ขอพระองค์โปรดทรงวาง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 239
พระราชภาระกิจเถิด ข้าพระบาทจักทำกิจที่ควรทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของพระองค์เองพระเจ้าข้า.
ปริณายกรัตนะ ก็เกิดติดตามคหปติรัตนะแม้นั้นแลโดยปกติ ก็คือพระเชษฐราชโอรสของพระราชา พอจักรรัตนะเกิดขึ้น ก็เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาความฉลาดอย่างเหลือเกิน สามารถกำหนดรู้จิตใจของบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ ด้วยใจตนแล้ว ทำการนิคคหะลงโทษและปัคคหะยกย่อง ปริณายกนั้น ก็เข้าเฝ้าพระราชาทูลปรารถนาว่า ข้าแต่เทวราช ขอพระองค์โปรดทรงวางพระราชภาระเถิด ข้าพระบาทจักบริหารราชการแผ่นดินของพระองค์เองพระเจ้าข้า. ก็หรือว่าทรัพย์เครื่องปลื้มใจแม้อื่นใด เห็นปานนั้น ชื่อว่า รัตนะเพราะอรรถว่าชั่งไม่ได้ ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันใด ไม่สามารถพินิจพิจารณาตีราคาว่า มีค่าร้อยหนึ่ง พันหนึ่ง หรือโกฏิหนึ่ง ในทรัพย์เครื่องปลื้มใจนั้นแม้รัตนะสักอย่างหนึ่ง ซึ่งเสมอด้วยพุทธรัตนะ ไม่มีเลย หากว่าทรัพย์เครื่องปลื้มใจ ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าชั่งไม่ได้ พระตถาคตเท่านั้น ชื่อว่ารัตนะ.จริงอยู่พระตถาคตใครๆ ก็ไม่สามารถพินิจพิจารณาโดยศีล โดยสมาธิหรือโดยบรรดาปัญญาเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วกำหนดว่า ทรงมีพระคุณเท่านี้ ทรงเสมอ หรือเทียบเคียงกับผู้นี้ รัตนะเสมอด้วยพระตถาคต แม้เพราะอรรถว่าชั่งไม่ได้ ไม่มีเลย ด้วยประการฉะนี้.
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแม้นั้นใด ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่า เห็นได้ยาก ก็เหมือนกัน. ทรัพย์เครื่องปลื้มใจนี้ ก็คือความเป็นของปรากฏได้ยากได้แก่ พระเจ้าจักรพรรดิ และรัตนะ ๗ ประการของพระเจ้าจักรพรรดินั้น รัตนะแม้นั้น ที่เสมอด้วยพุทธรัตนะไม่มี. ก็หากว่าทรัพย์เครื่องปลื้มใจ ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่า เห็นได้ยากไซร้ พระตถาคตเท่านั้น ชื่อว่า รัตนะ.ความเป็นรัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิเป็นต้น จักเห็นได้ยากมาแค่ไหนเล่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 240
จริงอยู่รัตนะเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นเป็นอันมาก ในกัปเดียวเท่านั้น แต่เพราะเหตุที่โลกต้องว่างเปล่าจากพระตถาคตนับเป็นอสงไขยกัป ฉะนั้น พระตถาคตเท่านั้นชื่อว่าเห็นได้ยาก เพราะเกิดขึ้นบางครั้งบางคราว. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสมัยปรินิพพาน (๑) ดังนี้ว่า
ดูก่อนอานนท์ เทวดาทั้งทลายกล่าวโทษว่า พวกเราพากันมาแต่ไกล หมายจะเฝ้าพระตถาคต เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลกในกาลบางครั้งบางคราว วันนี้นี่แหละ ยามท้ายแห่งราตรี พระตถาคตก็จักเสด็จปรินิพพาน แต่ภิกษุผู้มีศักดิ์มากรูปนี้ ยืนอยู่เบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้ากีดขวางอยู่ พวกเราไม่ได้โอกาสจะเฝ้าพระตถาคต
รัตนะที่เสมอด้วยพระตถาคต แม้เพราะอรรถว่าเห็นได้ยากย่อมไม่มีด้วยประการฉะนี้
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแม้นั้นได้ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องบริโภคใช้สอยของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทราม ก็เหมือนกัน. ทรัพย์เครื่องปลื้มใจนั้นคืออะไร คือรัตนะเป็นต้นของพระเจ้าจักรพรรดิ. จริงอยู่ รัตนะนั้นไม่ใช่บังเกิด เพื่อเป็นเครื่องบริโภค แม้ด้วยความฝัน ของบุรุษต่ำทรามผู้มีตระกูลต่ำ เช่นคนจัณฑาล ช่างจักสาน พราน ช่างรถ และ คนเทขยะเป็นต้น ซึ่งมีทรัพย์ตั้งแสนโกฏิก็ดี อยู่บนมหาปราสาท ๗ ชั้นก็ดี แต่เป็นเครื่องบริโภคของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทราม เพราะบังเกิดเพื่อเป็นเครื่องบริโภคของพระราชามหากษัตริย์ ผู้เป็นอุภโตสุชาติ บำเพ็ญจักรวรรดิวัตร ๑๐ ประการบริบูรณ์ แม้รัตนะนั้น ที่เสมอกับพุทธรัตนะ ไม่มีเลย. ก็หากว่าทรัพย์เครื่อง
(๑) ที. มหา. ๑๐/ข้อ ๑๓๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 241
ปลื้มใจ ชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องบริโภคของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทรามไซร้ พระตถาคตเท่านั้น ชื่อว่ารัตนะ. จริงอยู่ พระตถาคต มิใช่เป็นเครื่องบริโภคแม้ด้วยความฝันของครูทั้ง ๖ มีบูรณกัสสปะเป็นต้น ซึ่งสมมติกันว่าเป็นสัตว์ต่ำทราม ผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสสัย มีทัสสนะอันวิปริต และของสัตว์เหล่าอื่นเห็นปานนั้น แต่เป็นเครื่องบริโภค ของเหล่าท่านผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสสัยผู้สามารถบรรลุพระอรหัต เมื่อจบคาถาแม้ ๔ บท ผู้มีญาณทัสสนะทำลายกิเลส มีท่านพระพาหิยทารุจีริยะเป็นต้น และของพระมหาสาวกทั้งหลายอื่นๆ ผู้เป็นบุตรของตระกูลใหญ่ จริงอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ไม่ต่ำทรามเหล่านั้นเมื่อยังทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ และปาริจริยานุตตริยะเป็นต้น ให้สำเร็จชื่อว่าบริโภคใช้สอยพระตถาคต. รัตนะที่เสมอด้วยพระตถาคต แม้เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องบริโภคของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทรามไม่มีเลย ด้วยประการฉะนี้.
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแม้นั้นใด โดยไม่วิเศษชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่า ให้เกิดความยินดี ทรัพย์เครื่องปลื้มใจนั้น คืออะไร คือจักรรัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิ. จริงอยู่ พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงเห็นจักรรัตนะแม้นั้นแล้วก็ทรงดีพระราชหฤทัย จักรรัตนะนั้น นำความยินดีมาให้แก่พระราชา แม้ด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงจับพระสุวรรณภิงคารด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงประพรมด้วยพระหัตถ์ขวา มีพระราชโองการว่า จักรรัตนะจงดำเนินไป จักรรัตนะ จงมีชัยชนะ. แต่นั้น จักรรัตนะก็เปล่งเสียงไพเราะดังดนตรีเครื่อง ๕ เหาะไปทิศบูรพา. พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงยกจตุรงคเสนาแผ่กว้างประมาณ ๑๒ โยชน์ติดตามไป ด้วยอานุภาพของจักรรัตนะ ไม่สูงนักไม่ต่ำนัก ภาคพื้นดินอย่างต่ำแค่ต้นไม้สูง อย่างสูงแค่ต้นไม้ต่ำ ทรงรับเครื่อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 242
บรรณาการจากมือของพวกที่ถือบรรณาการ มีดอกไม้ ผลไม้และหน่อไม้ในต้นไม้เป็นต้นถวาย ฝ่ายพระราชาที่เคยเป็นปฏิปักษ์ ที่มาเฝ้าด้วยความเคารพนบนอบอย่างยิ่งว่า ขอเชิญเสด็จมาเถิด พระมหาราชเจ้า ก็ทรงอนุศาสน์สั่งสอนโดยนัยว่า ไม่ควรฆ่าสัตว์มีชีวิต ดังนี้เป็นต้น จึงเสด็จไป. ก็ในที่ใดพระราชามีพระราชประสงค์จะเสวย หรือประสงค์จะบรรทมกลางวัน ในที่นั้นจักรรัตนะก็จะลงจากอากาศแล้วหยุดอยู่เหมือนเพลาหัก ณ พื้นดินที่ราบเรียบเหมาะแก่กิจทุกอย่าง มีกิจเกี่ยวกับน้ำเป็นต้น เมื่อพระราชาเกิดจิตคิดจะเสด็จไปอีก จักรรัตนะก็กระทำเสียงโดยนัยก่อนนั่นแล จึงแล่นไป. ฝ่ายบริษัท [ขบวนทัพ] ขนาด ๑๒ โยชน์ ได้ยินเสียงนั้น ก็พากันเหาะไป. จักรรัตนะลงสู่มหาสมุทรทิศบูรพาโดยลำดับ เมื่อจักรรัตนะนั้น ลงสมุทรน้ำก็หดตัวไปประมาณโยชน์หนึ่ง หยุดนิ่งเหมือนทำความจงรักภักดี. มหาชนก็ถือรัตนะทั้ง๗ ตามความต้องการ พระราชาทรงจับสุวรรณภิงคารอีก ทรงประพรมด้วยน้ำว่า ราชกิจของเราดำเนินตั้งต้นแต่นี้ไป แล้วเสด็จกลับ. กองทัพอยู่ข้างหน้าจักรรัตนะอยู่ข้างหลัง พระราชาอยู่กลาง. น้ำเข้าเต็มที่ตลอดสถานที่จักรรัตนะถอนตัวไป. จักรรัตนะก็ไปในสมุทรด้านทิศทักษิณ ทิศปัจฉิม และทิศอุดรโดยอุบายนี้นี่แล.
จักรรัตนะตระเวนไปตลอด ๔ ทิศอย่างนี้แล้ว ก็ขึ้นสู่อากาศประมาณ ๓๐๐ โยชน์. พระราชาประทับยืนบนจักรรัตนะนั้น ทรงพิชิตชัยชนะด้วยอานุภาพจักรรัตนะ ทรงตรวจดูจักรวาลหนึ่ง ซึ่งประดับด้วยทวีปใหญ่ ๔ ทวีปและทวีปน้อย ๒,๐๐๐ ทวีป เหมือนสวนบัวบุณฑริกที่บานเต็มที่แล้ว อย่างนี้คือ บุพพวิเทหทวีป ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐ ทวีป มีปริมณฑล ๗,๐๐๐โยชน์ อุตตรกุรุทวีปก็เหมือนกัน มีปริมณฑล ๘,๐๐๐ โยชน์ อปรโคยาน-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 243
ทวีป มีปริมณฑล ๗,๐๐๐ โยชน์เหมือนกัน และชมพูทวีป มีปริมณฑล ๑,๐๐๐ โยชน์. พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นั้น กำลังทรงตรวจดูอย่างนี้ ก็ทรงเกิดความยินดีมิใช่น้อยเลย จักรรัตนะนั้น ให้เกิดความยินดีแก่พระราชาแม้ด้วยอาการอย่างนี้. จักรรัตนะแม้นั้น ที่เสมอด้วยพุทธรัตนะ หามีไม่.ก็หากว่าชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าให้เกิดความยินดีไซร้ พระตถาคตเท่านั้น ชื่อว่า รัตนะ จักรรัตนะอย่างเดียว จักทำอะไรได้.
จริงอยู่ ความยินดีในจักรวรรดิ ที่รัตนะแม้ทุกอย่างมีจักรรัตนะเป็นต้นทำให้เกิด ก็ยังไม่นับไม่เท่าเสี้ยว แม้ส่วนของความยินดี ที่เป็นทรัพย์อันใด พระตถาคตทรงทำให้เกิดความยินดีในปฐมฌาน ความยินดีในปฐมฌาณ ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ความยินดีในอากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ความยินดีในโสดาปัตติมรรค ความยินดีในโสดาปัตติผลและสกทามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรคและอรหัตตผลแก่เทวดาและมนุษย์ นับจำนวนไม่ได้ ผู้รับสนองพระโอวาทของพระองค์. ยิ่งกว่า ประณีตกว่า ความยินดีแม้อันนั้น รัตนะเสมอด้วยพระตถาคต แม้เพราะอรรถว่าให้เกิดความ ยินดี ไม่มีด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง ธรรมดารัตนะนี้มี ๒ อย่าง คือ สวิญญาณกรัตนะ และอวิญญาณกรัตนะ. บรรดารัตนะทั้งสองนั้น อวิญญาณกรัตนะ ได้แก่จักรรัตนะ และมณีรัตนะ ก็หรือรัตนะแม้อื่นใด มีทองและเงินเป็นต้นที่เกี่ยวเนื่องด้วยอนินทรีย์, สวิญญาณกรัตนะ ได้แก่ รัตนะมีหัตถิรัตนะเป็นต้นมีปริณายกรัตนะเป็นที่สุด ก็หรือว่า รัตนะแม้อื่นใดเห็นปานนั้น ที่เกี่ยวเนื่องด้วยอินทรีย์. เมื่อเป็นดังนั้น ในรัตนะทั้งสองอย่าง สวิญญาณกรัตนะกล่าว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 244
กันว่าเป็นเลิศ ในข้อนี้. เพราะเหตุไร. เพราะเหตุว่า รัตนะมีทอง เงิน แก้วมณี แก้วมุกดาเป็นต้น ถูกนำเข้าไปใช้เป็นเครื่องประดับของหัตถิรัตนะเป็นต้น ที่เป็นสวิญญาณกรัตนะ.
แม้สวิญญาณกรัตนะ ก็มี ๒ อย่าง คือรัตนะที่เป็นสัตว์เดียรฉานและรัตนะที่เป็นมนุษย์. บรรดาสวิญญาณกรัตนะ ๒ อย่างนั้น รัตนะที่เป็นมนุษย์กล่าวกันว่าเป็นเลิศ. เพราะเหตุไร. เพราะเหตุว่า รัตนะที่เป็นสัตว์เดียรัจฉาน ย่อมเป็นพาหนะของรัตนะที่เป็นมนุษย์. แม้มนุสสรัตนะก็มี ๒ อย่างคืออิตถีรัตนะ และปุริสรัตนะ. บรรดามนุสสรัตนะทั้งสองนั้น ปุริสรัตนะกล่าวกันว่าเป็นเลิศ. เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า อิตถีรัตนะต้องเป็นบริจาริกาของปรุสรัตนะ. แม้ปุริสรัตนะก็มี ๒ คือ. อคาริกรัตนะ และอนคาริกรัตนะ.บรรดาปุริสรัตนะทั้ง ๒ นั้น. อนคาริกรัตนะ กล่าวกันว่าเป็นเลิศ. เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ในอคาริกรัตนะ แม้พระเจ้าจักรพรรดิเป็นเลิศ ก็ยังไหว้อนคาริกรัตนะ. ผู้กอปรด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ บำรุงนั่งใกล้ ประสบสมบัติที่เป็นทิพย์และมนุษย์ บรรลุนิพพานสมบัติในที่สุด
เมื่อเป็นดังนั้น แม้อนคาริกรัตนะ ก็มี ๒ อย่าง คือ อริยรัตนะและปุถุชนรัตนะ.
แม้อริยรัตนะ ก็มี ๒ อย่าง คือเสขรัตนะ และอเสขรัตนะ
แม้อเสขรัตนะ ก็มี ๒ อย่าง คือ สุกขวิปัสสกรัตนะ และสมาถยานิกรัตนะ.
แม้้สมถยานิกรัตนะ ก็มี ๒ อย่าง คือที่บรรลุสาวกบารมี และไม่บรรลุ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 245
บรรดาสมถยานิกรัตนะทั้งสองนั้น สมถยานิกรัตนะที่บรรลุสาวกบารมีกล่าวกันว่าเป็นเลิศ เพราะเหตุไร. เพราะเหตุว่า มีคุณมาก. ปัจเจกพุทธรัตนะ กล่าวกันว่าเป็นเลิศ แม้กว่าสาวกปารมีปัตตรัตนะ. เพราะเหตุไร.เพราะเหตุว่า มีคุณมาก. พระสาวกหลายร้อย แม้เช่นท่านพระสารีบุตร ท่านพระโมคคัลลานะ ก็ไม่ถึงแม้ส่วนร้อยแห่งคุณทั้งหลายของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์เดียว.
สัมมาสัมพุทธรัตนะ กล่าวกันว่าเป็นเลิศ แม้กว่าปัจเจกพุทธรัตนะ เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า มีคุณมาก. ก็หากว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั่งขัดสมาธิเบียดกัน ทั่วทั้งชมพูทวีป ก็ไม่เท่า ไม่เท่าเสี้ยว ไม่เท่าส่วนเสี้ยวแห่งพระคุณทั้งหลายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเท้าหรือ ฯลฯ พระตถาคตกล่าวกันว่า เป็นเลิศแห่งสัตว์เหล่านั้นเป็นต้น. รัตนะที่เสมอด้วยพระตถาคต ไม่มีเลย โดยปริยายบางอย่าง ด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า น โน สมํ อตฺถิตถาคเตน รัตนะที่เสมอด้วยตถาคตไม่มีเลย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความที่พระพุทธรัตนะ อันรัตนะอื่นๆ เปรียบไม่ได้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อระงับอุปัทวะที่เกิดแก่สัตว์เหล่านั้น ไม่ทรงอาศัยชาติ ไม่ทรงอาศัยโคตร ไม่ทรงอาศัยความเป็นกุลบุตร ไม่ทรงอาศัยความเป็นผู้มีวรรณะงามเป็นต้น หากแต่ทรงอาศัยความที่พระพุทธรัตนะไม่มีอะไรเทียบเทียมได้ด้วยคุณทั้งหลาย มีศีลขันธ์และสมาธิขันธ์เป็นต้น ในโลกที่มีอเวจีเป็นต้น มีภวัคคพรหมเป็นที่สุด จึงทรงประกอบสัจจวจนะว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 246
อิทมฺปิ พุทฺเธ รัตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ แม้อันนี้ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี ดังนี้
สัจจวจนะนั้น มีความดังนี้ว่า ความที่พระพุทธเจ้าไม่มีใครเทียบได้โดยพระคุณทั้งหลายนั้นๆ กับทรัพย์เครื่องปลื้มใจหรือรัตนะทุกอย่างที่มีในโลกนี้หรือโลกอื่น หรือในสวรรค์ทั้งหลายแม้อันนี้ ชื่อว่าเป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า ก็หากว่า ข้อนี้เป็นสัจจะไซร้ เมื่อเป็นดังนั้น ด้วยสัจจะนี้ขอความสวัสดีจงมี ขอความที่สิ่งดีงามทั้งหลายมีอยู่ ความไม่มีโรค ความปราศจากอุปัทวะ จงมีแก่สัตว์เหล่านี้. ก็ในข้อนี้ พึงทราบความว่า รัตนะประณีต ได้แก่ ความเป็นรัตนะประณีต คือภาวะที่พระพุทธเจ้าเป็นรัตนะประณีต เหมือนความที่ว่า เพราะเป็นตน หรือเพราะเนื่องอยู่กับตน ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า จกฺขุํ โข อานนฺท สุญฺํ อตฺเตน วา อตฺตนิเยนวา ดูก่อนอานนท์ จักษุแลว่างเปล่าจากตน หรือจากสิ่งที่เนื่องอยู่กับตน.จริงอยู่ นอกจากนี้ จักษุก็เป็นอันปฏิเสธไม่ได้ว่าตน หรือสิ่งที่เนื่องอยู่กับตนฉะนั้น. แท้จริง โดยประการนอกจากนี้ พระพุทธเจ้าย่อมไม่สำเร็จเป็นรัตนะด้วยว่ารัตนะไม่มีอยู่ในสิ่งใด สิ่งนั้นก็ย่อมไม่สำเร็จเป็นรัตนะ. แต่ว่ารัตนะที่เกี่ยวพันโดยวิธีไรๆ ก็ตาม ที่นับว่าเป็นประโยชน์ มีผู้คนทำความเคารพยำเกรงเป็นต้น มีอยู่ในสิ่งใด เพราะเหตุที่สิ่งนั้น ท่านมุ่งหมายเอาความเป็นรัตนะ จึงบัญญัติว่ารัตนะ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงสำเร็จว่ารัตนะ เพราะรัตนะนั้นมีอยู่. อีกนัยหนึ่ง บทว่า อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ พึงทราบความอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าเป็นรัตนะ โดยประการแม้นี้. พอพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระคาถา ความสวัสดีก็เกิดแก่ราชสกุล ภัยก็ระงับไป พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 247
พรรณนาคาถาว่า ขยํ วิราคํ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะอย่างนี้แล้ว บัดนี้จึงทรงเริ่มตรัสว่า ขยํ วิราคํ เป็นต้น. ในคำนั้น เพราะเหตุที่กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นหมดสิ้นไป เพราะทำให้แจ้งพระนิพพาน หรือเพราะเหตุที่พระนิพพานนั้น พอกิเลสเหล่านั้นสิ้นไป โดยดับไม่เกิด และเพราะเหตุที่พระนิพพานนั้นไม่ประกอบด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น โดยความประจวบ และโดยอารมณ์หรือเพราะเหตุที่เมื่อบุคคลทำให้แจ้งพระนิพพานนั้นแล้ว กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ก็คลายออกไปสิ้นเชิง ปราศจากไป ถูกกำจัดไป ฉะนั้นพระนิพพาน ท่านจึงเรียกว่า ขยะ ว่า วิราคะ แต่เพราะเหตุที่พระนิพพานนั้น ความเกิดไม่ปรากฏ ความเสื่อมไม่ปรากฏ ความที่จิตแปรปรวนไม่มี ฉะนั้น พระนิพพานนั้น ท่านจึงทำว่าไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย เรียกว่า อมตะ แต่ [ในที่นี้] ท่านเรียกว่า ประณีต เพราะอรรถว่า สูงสุด และเพราะอรรถว่า ไม่อิ่ม.บทว่า ยทชฺฌคา ได้แก่ บรรลุ พบ ได้กระทำให้แจ้งด้วยกำลังญาณของตน ซึ่งพระนิพพานนั้น. บทว่า สกฺยมุนี ได้แก่ ชื่อว่า ศากยะเพราะทรงเป็นโอรสของสกุลศากยะ ชื่อว่า มุนี เพราะประกอบด้วย โมเนยยธรรม มุนีคือศากยะ ชื่อว่า พระศากยมุนี. บทว่า สมาหิโต ได้แก่ ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธิเป็นอริยมรรค. บทว่า น เตน ธมฺเมน สมตฺถิกิญฺจิ ความว่า ธรรมชาติไรๆ ที่เสมอด้วยธรรมที่พระศากยมุนีทรงบรรลุแล้ว มีนามว่า ขยะ เป็นต้นนั้น ไม่มี. เพราะฉะนั้น แม้ในพระสูตรอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้เป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายไม่ว่าเป็นสังขตะหรืออสังขตะ เพียงใด วิราคธรรม ท่านกล่าวว่าเป็นยอดของธรรมเหล่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 248
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความที่นิพพานธรรมอันธรรมอื่นๆ เทียบไม่ได้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อระงับอุปัทวะที่เกิดแก่สัตว์เหล่านั้น ทรงอาศัยความที่รัตนะ คือนิพพานธรรม ไม่มีธรรมอื่นจะเหมือน ด้วยคุณทั้งหลายคือความเป็นธรรมเป็นที่สิ้นกิเลส สำรอกกิเลส เป็นอมตธรรมและธรรมอันประณีต จึงทรงประกอบสัจจวจนะว่า อิทมฺปิ ธมฺเม รตนํ ปณีตํ เอ-เตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ แม้อันนี้ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรมด้วยสัจจวจนะนี้ ขอความสวัสดี จงมี. ความของสัจจวจนะนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วในคาถาต้นนั่นแล. พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถาแม้นี้แล.
พรรณนาคาถาว่า ยมฺพุทฺธเสฏฺโ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะ ด้วยคุณแห่งนิพพานธรรมอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงทรงเริ่มตรัสด้วยพระคุณแห่งมรรคธรรมว่า ยมฺพุทฺธเสฏฺโ เป็นต้น. ในคำนั้น ชื่อว่า พุทธะ โดยนัยเป็นต้นว่า ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย. ชื่อว่า เสฏฐะ เพราะเป็นผู้สูงสุด และควรสรรเสริญ, ชื่อว่าพุทธเสฏฐะ เพราะเป็นผู้ตรัสรู้ เป็นผู้สูงสุดและควรสรรเสริญ. อีกนัยหนึ่งชื่อว่า พุทธเสฏฐะ เพราะเป็นผู้ประเสริฐสุด ในพระพุทธะทั้งหลาย ที่เรียกว่าอนุพุทธะปัจเจกพุทธะและสุตพุทธะ. พระพุทธะผู้ประเสริฐสุดพระองค์นั้นทรงชม สรรเสริญ ประกาศสมาธิธรรมใดไว้ในบาลีนั้นๆ โดยนัยเป็นต้นว่ามรรคมีองค์ ๘ ประเสริฐสุดแห่งมรรคทั้งหลาย เกษมเพื่อบรรลุพระนิพพานและว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิอันเป็นอริยะ ที่มีเหตุมีเครื่องประกอบแก่ท่านทั้งหลาย. มทว่า สุจึ ได้แก่ ผ่องแผ้วสิ้นเชิง เพราะทำการตัดมลทินคือกิเลสได้เด็ดขาด. บทว่า สมาธิมานนฺตริกญฺมาหุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 249
ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวถึงสมาธิอันใดว่า อนันตริกสมาธิ สมาธิเกิดในลำดับ เพราะอำนวยผลแน่นอนในลำดับการดำเนินการปฏิบัติของตน. อันตรายใดๆ ที่ห้ามกันความเกิดผลแห่งอนันตริกสมาธินั้น เมื่อสมาธิอันเป็นตัวมรรคเกิดขึ้นแล้ว หามีไม่. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ก็บุคคลนี้ พึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล และพึงเป็นเวลาที่กัปไหม้ กัปก็จะยังไม่พึงไหม้ตราบเท่าที่บุคคลนี้ ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล บุคคลผู้นี้เรียกว่า ฐิตกัปปี ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัป บุคคลผู้มีมรรคพรั่งพร้อมทั้งหมด ก็เป็นฐิติกัปปี ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัป.
บทว่า สมาธินา เตน สโม น วิชฺชติ ความว่า รูปาวจรสมาธิหรืออรูปาวจรสมาธิใดๆ ที่เสมอด้วยอนันตริกสมาธิอันสะอาด ที่พระพุทธะผู้ประเสริฐสุดสรรเสริญแล้วนั้น ไม่มีเลย. เพราะเหตุไร เพราะสัตว์แม้เกิดในพรหมโลกนั้นๆ เพราะอบรมสมาธิเหล่านั้นแล้ว ก็ยังมีการเกิดในอบายมีนรกเป็นต้นอีกได้ และเพราะพระอริยบุคคลตัดการเกิดทุกอย่างได้เด็ดขาด เพราะอบรมสมาธิที่เป็นตัวพระอรหัตนี้แล้ว. เพราะฉะนั้น แม้ในสูตรอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า (๑)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นสังขตะ [อันปัจจัยปรุงแต่ง] มีประมาณเท่าใด ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ กล่าวกันว่าเป็นเลิศว่าสังขตธรรมเหล่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความที่อนันตริกสมาธิ อันสมาธิอื่นๆ เทียบไม่ได้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยความที่รัตนะคือมรรคธรรม อันรัตนะอื่นไม่เทียบได้ โดยนัยก่อนนั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวนะว่า อทมฺปิ ธมฺเม ฯเปฯ สุวตฺถิ โหตุ แม้อันนี้ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม ฯลฯ ขอ
(๑) อัคคัปปสาทสูตร อัง. จตุกนิบาต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 250
ความสวัสดีจงมี. ความของสัจจวนะนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวมาก่อนแล้วนั่นแล. พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้แล.
พรรณนาคาถาว่า เย ปคฺคลา
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะ แม้ด้วยคุณแห่งมรรคธรรมอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงทรงเริ่มตรัสแม้ด้วยสังฆคุณว่า เย ปุคฺคลา เป็นต้น.ในคำนั้น ศัพท์ว่า เย เป็นนิเทศไม่แน่นอน. บทว่า ปุคฺคลา ได้แก่สัตว์ทั้งหลาย. ศัพท์ว่า อฏฺ เป็นการกำหนดจำนวนสัตว์เหล่านั้น จริงอยู่สัตว์เหล่านั้น มี ๘ คือ ผู้ปฎิบัติ [มรรค] ๔ ผู้ตั้งอยู่ในผล ๔. บทว่า สตํปสฏฺา ได้แก่ อันสัตบุรุษ คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก และเทวดาและมนุษย์เหล่าอื่น สรรเสริญแล้ว. เพราะเหตุไร. เพราะประกอบด้วยคุณ มีศีลที่เกิดร่วมกันเป็นต้น. ความจริง คุณทั้งหลายของสัตบุรุษเหล่านั้น มีศีลสมาธิเป็นต้นเกิดร่วมกัน เหมือนสีและกลิ่นเป็นต้นที่เกิดร่วมกันของดอกจำปาและดอกพิกุลเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น บุคคลเหล่านั้นจึงเป็นที่รัก.ที่ต้องใจ ที่น่าสรรเสริญ ของสัตบุรุษทั้งหลาย เหมือนดอกไม้ทั้งหลาย ที่พร้อมด้วยสีและกลิ่นเป็นต้น เป็นที่รักที่ต้องใจน่าสรรเสริญของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เยปุคฺคลา อฏฺ สตํ ปสฏฺา.
อีกนัยหนึ่ง ศัพท์ว่า เย เป็นนิเทศไม่แน่นอน. บทว่า ปุคฺคลาได้แก่สัตว์ทั้งหลาย. ศัพท์ว่า อฏฺสตํ เป็นการกำหนดจำนวนสัตว์เหล่านั้น.จริงอยู่ สัตว์เหล่านั้น ได้แก่พระโสดาบัน ๓ พวก คือ เอกพิชี โกลังโกละและสัตตักขัตตุปรมะ พระสกทาคามี ๓ พวก ผู้บรรลุผลในกามภพ รูปภพ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 251
และอรูปภพ. พระโสดาบันและพระสกทาคามีเหล่านั้นทั้งหมดมี ๒๔ พวกโดยปฏิปทา ๔. พระอนาคามีในเทพชั้นอวิหามี ๕ พวกคือ อันตราปรินิพพายี อุปหัจจปรินิพพายี สสังขารปรินิพพายี อสังขารปรินิพพายี อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี. พระอนาคานีในเทพชั้นอตัปปา สุทัสสา สุทัสสี ก็มีชั้นละ ๕ พวกเหมือนกัน.ส่วนในเทพชั้นอกนิษฐ์ มี ๔ พวกเว้นอุทธังโสโต รวมพระอนาคามี ๒๔ พวก.พระอรหันต์มี ๒ พวกคือ สุกขวิปัสสกและสมถยานิก. พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรคมี ๔ พวก รวมเป็นพระอริยบุคคล ๕๔ พวก. พระอริยบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดคุณด้วย ๒ พวกคือ ฝ่ายสัทธาธุระและฝ่ายปัญญาธุระรวมเป็น ๑๐๘ พวก.คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.
บทว่า จตฺตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนฺติ ความว่า บุคคลที่ทรงยกอุเทศไว้โดยพิศดารว่าพระอริยบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดมี ๘ พวกก็ดี ๑๐๘ พวกก็ดี ว่าโดยสังเขป พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตตมรรค พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลรวมเป็น ๑ คู่. อย่างนี้จนถึงพระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล รวมเป็น ๑ คู่ รวมทั้งหมดเป็น ๔ คู่. ศัพท์ว่า เต ในบทว่า เต ทกฺขิเณยฺยา เป็นศัพท์นิเทศอธิบาย กำหนดแน่นอน ซึ่งบทอุเทศ ที่ยกตั้งไว้ไม่แน่นอน. บุคคลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้พิศดารว่ามี ๘ พวกหรือ ๑๐๘ พวกสังเขปว่า มี ๔ คู่ แม้ทั้งหมด ย่อมควรทักษิณา เหตุนั้น จึงชื่อว่า ทักขิเณยยะ.ไทยธรรมที่บุคคลเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมไม่คำนึงถึงว่า ภิกษุรูปนี้จักทำกิจกรรมเป็นหมอยาหรือกิจกรรมรับใช้อันนี้แก่เรา ดังนี้เป็นต้นแล้วถวาย ชื่อว่าทักษิณา. บุคคลผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น และบุคคลเหล่านี้ผู้เป็นเช่นนั้นชื่อว่า ย่อมควรแก่ทักษิณานั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เตทกฺขิเณยฺยา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 252
บทว่า สุคตสฺส สาวกา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า สุคต เพราะทรงประกอบด้วยการเสด็จไปงดงาม เพราะเสด็จไปสู่สถานที่อันงาม เพราะเสด็จไปด้วยดี และเพราะตรัสดี. เป็นสาวกของพระสุคตพระองค์นั้น.ท่านเหล่านั้นทั้งหมดชื่อว่า สาวก เพราะฟังพระดำรัส. คนอื่นๆ ถึงฟังก็จริงถึงเช่นนั้น เขาฟังแล้วก็ไม่ทำกิจที่ควรทำ. ส่วนท่านที่เป็นสาวกเหล่านี้ ฟังแล้ว ทำกิจที่ควรทำคือ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บรรลุมรรคผล เพราะฉะนั้น ท่านเหล่านี้ จึงตรัสเรียกว่า สาวก.
บทว่า เอเตสุ ทินฺนานิ มหปฺผลานิ ความว่า ทานทั้งหลายแม้เล็กน้อย ที่ถวายในสาวกของพระตถาคตเหล่านั้น ชื่อว่ามีผลมาก เพราะเป็นทานที่เข้าถึงความเป็นทักษิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้แม้ในสูตร (๑) อื่นว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ คือคณะมีประมาณเพียงใด คือสงฆ์สาวกของพระตถาคต กล่าวกันว่าเป็นเลิศของสงฆ์คณะเหล่านั้น คือสงฆ์ ๔ คู่ ๘ บุคคล นี่สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ เป็นวิบากอันเลิศ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณของสังฆรัตนะโดยพระผู้ตั้งอยู่ในมรรค พระผู้ตั้งอยู่ในผลทั้งหมดอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแลจึงทรงประกอบสัจจวจนะว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ แม้อันนี้ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ความของสัจจวจนะนั้นก็พึงทราบ ตามนัยที่กล่าวมาก่อนนั่นแล. พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิกัปป์ พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถาแม้นี้แล.
(๑) ปสาทสูตร อัง. จตุกนิบาต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 253
พรรณนาคาถาว่า เย สุปฺปยุตฺตา
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะด้วยคุณของสังฆรัตนะ โดยพระผู้ตั้งอยู่ในมรรคและพระผู้ตั้งอยู่ในผล อย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงเริ่มตรัสด้วยคุณของพระขีณาสวบุคคลทั้งหลาย ผู้เสวยสุขในผลสมาบัติบางเหล่าเท่านั้น ว่า เย สุปฺปยุตฺตา เป็นต้น. ในคำนั้น คำว่า เย เป็นคำอุเทศที่ไม่แน่นอน.บทว่า สุปฺปยุตฺตา แปลว่า ประกอบดีแล้ว อธิบายว่า ละอเนสนา การแสวงหาที่ไม่สมควรหลายอย่างเสีย แล้วอาศัยการเลี้ยงชีวิตที่บริสุทธิ์ เริ่มประ-กอบตนไว้ในวิปัสสนา. อีกนัยหนึ่ง บทว่า สุปฺปยุตฺตา ได้แก่ ประกอบด้วยกายประโยคและวจีประโยคอันหมดจดดี. ทรงแสดงศีลขันธ์ของพระขีณาสวบุคคลเหล่านั้น ด้วยบทว่า สุปฺปยุตฺตา นั้น. บทว่า มนสา ทฬฺเหน ได้แก่ ด้วยใจที่หนักแน่น. อธิบายว่า ด้วยใจอันประกอบด้วยสมาธิที่มั่นคง.ทรงแสดงสมาธิขันธ์ของพระขีณาสวบุคคลเหล่านั้น ด้วยบทว่า มนสา ทฬฺเหน นั้น. บทว่า นิกฺกามิโน ได้แก่ เป็นผู้ไม่อาลัย ในกายและชีวิต มีความพยายามออกจากกิเลสทั้งปวง อันผู้มีปัญญาเป็นธุระกระทำแล้วด้วยความเพียร.ทรงแสดงปัญญาขันธ์ที่ประกอบด้วยความเพียร ของพระขีณาสวบุคคลเหล่านั้น ด้วยบทว่า นิกฺกามิโน นั้น.
บทว่า โคตมสาสนมฺหิ ได้แก่ ในศาสนาของพระตถาคตผู้มีพระนามว่าโคดมโดยพระโคตรนั่นแล. ด้วยบทว่า โคตมสาสนมฺหิ นั้น ทรงแสดงว่า พวกคนนอกศาสนานี้ ผู้ทำตบะเพื่อเทพเจ้า แม้มีประการต่างๆ ก็ไม่มีความพยายามออกจากกิเลสทั้งหลาย เพราะไม่มีคุณมีความประกอบอย่างดีเป็นต้น คำว่า เต เป็นคำอธิบายอุเทศที่ตั้งไว้ก่อน. ในคำว่า ปตฺติปตฺตานี้ คุณควรบรรลุ เหตุนั้นจึงชื่อว่า ปตฺติ คุณที่ควรบรรลุ ซึ่งบุคคลบรรลุแล้วจะเป็นผู้เกษมปลอดจากโยคะสิ้นเชิง ซื่อว่า ปตฺตพฺพา. คำนี้เป็นชื่อของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 254
พระอรหัตตผล. ผู้บรรลุคุณควรบรรลุนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า ปตฺติปตฺตา.บทว่า อมตํ ได้แก่ พระนิพพาน. บทว่า วิคยฺห ได้แก่เข้าถึงโดยอารมณ์ บทว่า ลทฺธา แปลว่า ได้แล้ว. บทว่า มุธา ได้แก่ โดยไม่มีค่าคือ ไม่ทำค่าแม้เพียงกากณึกหนึ่ง. บทว่า นิพฺพุตึ ได้แก่ ผลสมาบัติ ที่ระงับความกระวนกระวายด้วยอำนาจกิเลสเสียแล้ว. บทว่า ภุญฺชมานา ได้แก่ เสวยอยู่. ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ท่านอธิบายว่า ชนเหล่าใด ในศาสนาของพระโคดมนี้ ชื่อว่าประกอบดีแล้ว เพราะถึงพร้อมด้วยศีล ชื่อว่า มีใจหนักแน่นเพราะถึงพร้อมด้วยสมาธิ ชื่อว่าไร้ความอาลัยเพราะถึงพร้อมด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น ก็เข้าถึงอมตะด้วยสัมมาปฏิบัตินี้เป็นผู้ได้เปล่าๆ เสวยความดับซึ่งเข้าใจได้ว่าผลสมาบัติ ชื่อว่า เป็นผู้บรรลุคุณที่ควรบรรลุ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณของสังฆรัตนะ โดยพระขีณาสวบุคคล ผู้เสวยผลสมาบัติอย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวจนะ ว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ แม้อันนี้ ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ความแห่งสัจจวจนะนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวก่อนแล้ว พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถาแม้นี้แล.
พรรณนาคาถาว่า ยถินฺทขีโล
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะมีสังฆรัตนะเป็นที่ตั้ง โดยขีณาสวบุคคล อย่างนี้แล้ว ทรงเริ่มตรัส โดยคุณของพระโสดาบันเท่านั้นว่า ยถินฺทขีโล เป็นต้น. ในคำนั้น บทว่า ยถา เป็นคำอุปมา. คำว่า อินฺทขีโล นี้ เป็นชื่อของเสาไม้แก่นที่เขาตอกจมดิน ๘ ศอก หรือ ๑๐ ศอกภายในธรณีประตู เพื่อป้องกันประตูพระนคร. บทว่า ปวึ แปลว่า แผ่นดิน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 255
บทว่า สิโต ได้แก่ เข้าไปอาศัยอยู่ข้างใน. บทว่า สิยา แปลว่า พึงเป็น.บทว่า จตุพฺภิ วาเตหิ แปลว่า อันลมที่พัดมาแต่ ๔ ทิศ. บทว่า อสมฺปิกมฺปิโย ได้แก่ไม่อาจให้ไหว หรือขยับเขยื้อนได้. บทว่า ตถูปมํ แปลว่าเหมือนฉันนั้น. บทว่า สปฺปุริสํ ได้แก่ บุรุษสูงสุด บทว่า วทามิ แปลว่ากล่าว บทว่า โย อริยสจฺจานิ อเวจฺจ ปสฺสติ แปลว่า ผู้ใดหยั่งเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญา. ในข้อนั้น อริยสัจทั้งหลาย พึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในกุมารปัญหา และคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั่นแล.
ส่วนความสังเขปในข้อนี้ มีดังนี้ เหมือนอย่างว่าเสาเขื่อน จมติดดินเพราะมีรากลึก ลมพัดมา ๔ ทิศ ก็พึงให้ไหวไม่ได้ ฉันใด สัตบุรุษใดหยั่งเห็นอริยสัจ เรากล่าวสัตบุรุษแม้นี้ อุปมาฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า สัตบุรุษแม้นั้น เป็นผู้อันลมคือวาทะของเดียรถีย์ทั้งปวงทำให้ไหวไม่ได้ คือใครๆ ก็ไม่อาจให้ไหวหรือเขยื้อนจากทัสสนะนั้นได้ เหมือนเสาเขื่อน อันลมพัดมา ๔ ทิศ ทำให้ไหวไม่ได้ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้แม้ในสูตรอื่นว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เสาเหล็กหรือเสาเขื่อนลงรากลึก ฝังอย่างดี ไม่หวั่น ไม่ไหว แม้หากว่าลมฝนแรงกล้าพัดมาด้านทิศบูรพา, ก็ไม่พึงหวั่นไม่พึงไหวไม่พึงขยับเขยื้อน แม้หากว่าลมฝนแรงกล้าพัดมาด้านทิศปัจฉิม, ทิศทักษิณ, ทิศอุดร ก็ไม่พึงหวั่นไม่พึงไหว ไม่พึงขยับเขยื้อน เพราะเหตุไร เพราะลงรากลึก เพราะเสาเขื่อนเขาฝังไว้ดีแล้ว ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 256
ย่อมรู้ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ตรวจดูหน้าของสมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านเมื่อรู้ ก็รู้เมื่อเห็นก็เห็นอย่างนี้แน่นอน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะอริยสัจ ๔ สมณะหรือพราหมณ์ผู้นั้นเห็นอย่างดีแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณของสังฆรัตนะโดยอำนาจพระโสดาบัน ที่ประจักษ์แก่คนเป็นอันมากเท่านั้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวจนะว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ แม้อันนี้ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์. ความของสัจจวจนะนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาก่อนแล้วนั้นแล. พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถาแม้นี้แล.
พรรณนาคาถาว่า เย อริยสจฺจานิ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะ อันมีสังฆรัตนะเป็นที่ตั้งด้วยคุณของพระโสดาบัน โดยไม่แปลกกันอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงทรงเริ่มตรัสว่า เย อริยสจฺจานิ เป็นต้น ด้วยคุณของพระโสดาบันสัตตักขัตตุปรมะน้องน้อยของพระโสดาบันทั้งหมด บรรดาพระโสดาบัน ๓ ประเภท คือเอกพิชี โกลังโกละ สัตตักขัตตุปรมะ เหมือนที่ตรัสไว้ว่า
บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ย่อมชื่อว่าโสดาบันเพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ โสดาบันนั้น บังเกิดภพเดียวเท่านั้น ก็ทำที่สุดทุกข์ นี้ชื่อ เอกพิชี. โสดาบันท่องเที่ยวอยู่ ๒ หรือ ๓ ตระกูล ก็เหมือนกัน ย่อมทำที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 257
สุดทุกข์ได้ นี้ชื่อ โกลังโกละ โสดาบันยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ๗ ครั้ง ก็เหมือนกันย่อมทำที่สุดทุกข์ได้ นี้ชื่อ สัตตักขัตตุปรมะ.
ในคำนั้น คำว่า เย อริยสจฺจานิ นี้ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.บทว่า วิภาวยนฺติ ได้แก่ กำจัดความมืดคือกิเลส อันปกปิดสัจจะแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งปรากฏแก่ตน ด้วยแสงสว่างแห่งปัญญา. บทว่า คมฺภีรปญฺเนได้แก่ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระปัญญา มีกำลัง ซึ่งใครๆ ไม่ได้ด้วยญาณของโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก ด้วยพระปัญญาที่หาประมาณมิได้ ท่านอธิบายว่า ผู้เป็นสัพพัญญู.
บทว่า สุเทสิตานิ ได้แก่ ทรงแสดงด้วยดี ด้วยนัยนั้นๆ มีสมาสนัย อัพพยาสนัย สากัลยนัย เวกัลยนัยเป็นต้น. บทว่า กิญฺจาปิ เต โหนฺติภุสปฺปมตฺตา ความว่า บุคคลทั้งหลาย ผู้อบรมอริยสัจแล้วเหล่านั้น อาศัยฐานะแห่งความประมาท มีความเป็นเทวราชและความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิเป็นต้น เป็นผู้ประมาทอย่างร้ายแรง ก็จริง ถึงเช่นนั้น นามรูปใดพึงตั้งอยู่เพราะวิญญาณที่โสดาปัตติมรรคญาณปรุงแต่งดับไป แล้วเกิดในสังสารวัฏฏ์ที่มีเบื้องต้นเบื้องปลายตามไปไม่รู้แล้ว ถึง ๗ ภพ ก็ไม่ถือเอาภพที่ ๘ เพราะนามรูปนั้นดับไป เพราะตั้งอยู่ไม่ได้ แต่ในภพที่ ๗ นั่งเอง ก็จักเริ่มวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณของสังฆรัตนะ โดยพระโสดาบันสัตตักขัตตุปรมะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวจนะว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ แม้อันนี้ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ความของสัจจวจนะนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาก่อนแล้วนั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 258
พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้แล.
พรรณนาคาถาว่า สหาวสฺส
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะ มีสังฆรัตนะเป็นที่ตั้ง ด้วยคุณคือการไม่ถือเอาภพที่ ๘ ของพระโสดาบันสัตตักขัตตุปรมะอย่างนี้แล้ว บัดนี้จึงเริ่มตรัสว่า สหาวสฺส เป็นต้น ด้วยคุณของพระโสดาบันสัตตักขัตตุปรมะนั้นนั่นแล แม้จะยังถือภพ ๗ ภพ ซึ่งแปลกจากบุคคลอื่นๆ ที่ยังละการถือภพไม่ได้. ในคำนั้น บทว่า สหาว แปลว่า พร้อมกับ. บทว่า อสฺสได้แก่ ของบรรดาพระโสดาบันที่ตรัสว่า พระโสดาบันเหล่านั้น ไม่ถือเอาภพที่ ๘ ภพใดภพหนึ่ง. บทว่า ทสฺสนสมฺปทาย ได้แก่ ด้วยความถึงพร้อมแห่งโสดาปัตติมรรค. จริงอยู่ โสดาปัตติมรรคเห็นพระนิพพานแล้วท่านจึงเรียกว่า ทัสสนะ เพราะเห็นพระนิพพานก่อนธรรมทั้งปวง ด้วยความถึงพร้อมแห่งกิจที่ควรทำ. ความปรากฏแห่งโสดาปัตติมรรคนั้นอยู่ในตน ชื่อว่า ทัสสนสัมปทา. พร้อมด้วยทัสสนสัมปทานั้นนั่นแล. ศัพท์ว่า สุ ในคำว่า ตยสฺสุ ธมฺมา ชหิตา ภวนฺติ นี้เป็นนิบาต ลงในอรรถสักว่าทำบทให้เต็ม เหมือนในประโยคเป็นต้นว่า อิทํ สุ เม สาริปุตฺต มหาวิกฏโภชนสฺมึ โหติ ดูก่อนสารีบุตร นี้แล เป็นการฉันอาหารแบบมหาวิกัฎของเราละ ในข้อนี้มีความอย่างนี้ว่า เพราะเหตุว่า ธรรมดา [สังโยชน์เบื้องต่ำ ๓] ย่อมเป็นอันพระโสดาบัน ละได้แล้ว เป็นอันสละแล้ว พร้อมด้วยทัสสนสัมปทาของพระโสดาบันนั้น.
บัดนี้ เพื่อทรงแสดงธรรมที่พระโสดาบันละได้แล้ว จึงตรัสว่า สกฺกายทิฏฺิ วิจิกิจฺฉิตญฺจ สีลพฺพตํ วาปิ ยทตฺถิ กิญฺจิ ในธรรม ๓ อย่างนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 259
เมื่อกายยังมีอยู่ ทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ในกาย ที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ที่มีอยู่ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ หรือว่าเมื่อกายยังมีอยู่ ทิฏฐิความเห็นในกายนั้น แม้เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ อธิบายว่า ทิฏฐิที่มีอยู่ในกาย ตามที่กล่าวมาแล้ว. หรือทิฏฐิความเห็นในกายที่มีอยู่นั่นแล แม้เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ อธิบายว่า ทิฏฐิในกายตามที่กล่าวมาแล้ว อันมีอยู่ ซึ่งเป็นไปอย่างนี้ว่า อัตตา กล่าวคือรูปเป็นต้น. ทิฏฐิทั้งปวง ย่อมเป็นอันพระโสดาบันละแล้วทั้งนั้น เพราะละสักกายทิฏฐินั้นได้แล้ว ด้วยว่า สักกายทิฏฐินั้นเป็นมูลรากของธรรมคือกิเลสเหล่านั้น ปัญญาท่านเรียกว่า จิกิจฉิตะเพราะระงับพยาธิคือกิเลสทั้งปวง. ปัญญาจิกิจฉิตะ ปัญญาแก้ไขนั้นไปปราศแล้วจากสิ่งนี้หรือสิ่งนี้ไปปราศแล้วจากปัญญาจิกิจฉิตะนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า วิจิกิจฉิตะ.คำนี้เป็นชื่อของความสงสัยที่มีวัตถุ ๘ ที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า สงสัยในพระศาสดา. ความสงสัยแม้ทั้งหมด เป็นอันละได้แล้วก็เพราะละวิจิกิจฉานั้นได้แล้ว จริงอยู่ ความสงสัยนั้นเป็นมูลรากของกิเลสเหล่านั้น. ศีลต่างอย่างมีโคศีล ศีลวัว กุกกุรศีล ศีลสุนัขเป็นต้น และวัตรมีโควัตรและกุกกุรวัตรเป็นต้น ที่มาในบาลีประเทศเป็นต้นอย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์ภายนอกพระศาสนานี้ ถือความบริสุทธิ์ด้วยศีล บริสุทธิ์ด้วยวัตรเรียกว่า ศีลวัตร. ตบะเพื่อเทพเจ้ามีความเปลือยกาย ความมีศีรษะโล้นเป็นต้นแม้ทุกอย่าง เป็นอันละได้แล้ว ก็เพราะละศีลวัตรนั้น. จริงอยู่ ศีลวัตรนั้นเป็นมูลรากของตบะนั้น. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ท้ายคาถาทั้งหมดว่า ยทตฺถิ กิญฺจิ อย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่. พึงทราบว่าบรรดาสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิจะละได้ก็ด้วยความถึงพร้อมด้วยการเห็นทุกข์ วิจิกิจฉาจะละได้ก็ด้วยความถึงพร้อมด้วยการเห็นสมุทัย สีลัพพตะ [ปรามาส] จะละได้ ก็ด้วยความถึงพร้อมด้วยการเห็นมรรคและการเห็นพระนิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 260
พรรณนาคาถาว่า จตูหปาเยหิ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงการละกิเลสวัฏฏ์ของพระโสดาบันนั้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อกิเลสวัฏฏ์นั้น มีอยู่ วิปากวัฏฏ์ใดพึงมี เมื่อทรงแสดงการละวิปากวัฏฏ์แม้นั้น เพราะละกิเลสวัฎนั้นได้จึงตรัสว่า จตูหปาเยหิ จ วิปฺปมุตฺโต ในคำนั้น ชื่อว่าอบายมี ๔ คือ นิรยะ ติรัจฉานะ เปตติวิสยะและอสุรกายะ อธิบายว่า พระโสดาบันนั้น แม้ยังถือภพ ๗ ก็หลุดพ้นจากอบายทั้ง ๔ นั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงการละวิปากวัฏฏ์ของพระโสดาบันนั้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ กรรมวัฏฏ์ใด เป็นมูลรากของวิปากวัฎนี้ เมื่อทรงแสดงการละกรรมวัฏฏ์แม้นั้น จึงตรัสว่า ฉ จาภิานานิ อภพฺโพ กาตุํ และไม่ควรทำอภิฐานะ ๖. ในคำนั้น บทว่า อภิานานิ ได้แก่ ฐานะอันหยาบ. พระโสดาบันนั้น ไม่ควรทำอภิฐานะนั้น. ก็อภิฐานะเหล่านั้น พึงทราบว่ากรรมคือ มาตุฆาต ฆ่ามารดา ปิตุฆาต ฆ่าบิดา อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ โลหิตุปบาท ทำโลหิตของพระพุทธเจ้าให้ห้อ สังฆเภททำสงฆ์ให้แตกกัน อัญญสัตถารุทเทส นับถือศาสดาอื่นคือเข้ารีต ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในเอกนิบาต อังคุตตรนิกาย โดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ [สัมมาทิฏฐิ] จะพึงปลงชีวิตมารดาเสีย ไม่เป็นฐานะ ไม่เป็นโอกาส [คือเป็นไปไม่ได้]. จริงอยู่ อริยสาวก ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่พึงปลงชีวิตแม้แต่มดดำมดแดงก็จริง ถึงอย่างนั้น อภิฐานะ ๖ นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ก็เพื่อตำหนิภาวะแห่งปุถุชน. แท้จริง ปุถุชนย่อมทำแม้อภิฐาน ซึ่งมีโทษมากอย่างนี้ได้ ก็เพราะไม่ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ส่วนพระโสดาบัน ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่ควรจะทำอภิฐานะเหล่านั้น. ส่วนการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 261
ใช้อภัพพศัพท์ในที่นี้ ก็เพื่อแสดงว่าพระโสดาบันไม่ทำแม้ในภพอื่น. ความจริงแม้ในภพอื่น พระโสดาบันถึงไม่รู้ว่าตนเป็นอริยสาวกโดยธรรมดานั่นเอง ก็ไม่ทำบาป ๖ อย่างนั้น หรือทำเวร ๕ มีปาณาติบาตเป็นต้น หรือถึงฐานะ ๖ พร้อมกับการนับถือศาสดาอื่น ซึ่งอาจารย์บางพวกหมายถึงแล้วกล่าวว่า ฉ จาภิฐานานิ ดังนี้ก็มี ก็พระอริยสาวกและเด็กชาวบ้านผู้จับปลาตายเป็นต้น เป็นตัวอย่างในข้อนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณของอริยสาวกแม้ยังถือภพ ๗ อยู่ซึ่งเป็นสังฆรัตนะ โดยคุณที่แปลกจากบุคคลอื่นๆ ที่ยังละการถือภพไม่ได้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวจนะว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ แม้อันนี้ ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์นั้น. ความของสัจจวจนะนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวมาก่อนแล้วนั่นแล. พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้แล.
พรรณนาคาถาว่า กิญฺจาปิ โส
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะ มีสังฆรัตนะเป็นที่ตั้ง โดยที่แปลกจากบุคคลอื่น ที่ยังละการถือภพไม่ได้ของพระโสดาบันแม้ยังถือภพ ๗ ภพ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ พระโสดาบันผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ. ไม่ใช่ไม่ควรทำอภิฐานะ ๖ อย่างเดียวก็หาไม่ ทั้งยังไม่ควรทำบาปกรรมแม้เล็กน้อยอะไรๆ แล้วปกปิดบาปกรรมนั้นด้วย ดังนั้น จึงทรงเริ่มตรัสโดยคุณคือพระโสดาบันผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ แม้อยู่ด้วยความประมาท ก็ไม่มีการปกปิดกรรมที่ทำมาแล้วว่า กิญฺจาปิ โส กมฺมํ กโรติ ปาปกํ พระโสดาบันนั้น แม้ทำบาปกรรมก็จริง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 262
พระดำรัสนั้นมีความดังนี้ ถึงแม้ว่าพระโสดาบันนั้น ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ อาศัยการอยู่อย่างประมาท ด้วยหลงลืมสติ เว้นสิกขาบทที่เป็นโลกวัชชะ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงการจงใจล่วงละเมิดตรัสไว้ว่า สิกขาบทใด เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายย่อมไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทนั้นของเรา แม้เพราะเหตุแห่งชีวิตดังนี้. ย่อมทำบาปกรรมอย่างอื่นทางกายซึ่งพระพุทธเจ้าทรงรังเกียจ กล่าวคือการล่วงละเมิดสิกขาบทที่เป็นปัณณติวัชชะมีกุฏิการสิกขาบทและสหเสยยสิกขาบทเป็นต้นก็ดี ทำบาปกรรมทางวาจา มีสอนธรรมแก่อนุปสัมบันว่าพร้อมกัน แสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕ - ๖ คำ การพูดเพ้อเจ้อ พูดคำหยาบเป็นต้นก็ดี ทำบาปกรรมทางใจ ไม่ว่าในที่ไหนๆ คือการทำให้เกิดโลภะ โทสะ การยินดีทองเป็นต้น การไม่พิจารณาเป็นต้นในการบริโภคจีวรเป็นอาทิก็ดี พระโสดาบันนั้น ก็ไม่ควรปกปิดบาปกรรมนั้น คือพระโสดาบันนั้น รู้ว่ากรรมนี้ไม่สมควร ไม่ควรทำ ก็ไม่ปกปิดบาปกรรมนั้นแม้แต่ครู่เดียว ในทันใดนั้นเอง ก็กระทำให้แจ้งคือเปิดเผยในพระศาสดา หรือในเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนแล้ว กระทำคืนตามธรรม หรือระวังข้อที่ควรระวัง อย่างนี้ว่าข้าพเจ้าจักไม่ทำอีก. เพราะเหตุไร. เพราะเหตุว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความที่พระโสดาบันผู้เห็นบทคือพระนิพพานแล้ว ไม่ควรปกปิดบาปกรรม อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความที่บุคคล ผู้เห็นบทคือพระนิพพาน ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ ไม่ควรที่จะทำบาปกรรมแม้เห็นปานนั้น แล้วปกปิดบาปกรรมนั้นไว้. ตรัสไว้อย่างไร. ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เด็กเยาว์อ่อนนอนหงาย เอามือเอาเท้าเหยียบถ่านไฟ ย่อมหดกลับฉับพลัน ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถึงแม้ว่า พระโสดาบันต้อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 263
อาบัติเห็นปานนั้น การออกจากอาบัติเห็นปานนั้น ย่อมปรากฏ ทีนั้นแหละพระโสดาบันย่อมรีบแสดง เปิดเผย ทำให้ง่าย ในพระศาสดาหรือในเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชน ครั้นแล้วก็สำรวมระวังต่อไป นี้เป็นธรรมดาของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณของสังฆรัตนะด้วยคุณของพระโสดาบันแม้อยู่ด้วยความประมาท แต่ก็ถึงพร้อมด้วยทัสสนะไม่มีการปกปิดบาปกรรมที่ทำแล้วอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวจนะว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ แม้อันนี้ ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ความของสัจจวจนะนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาก่อนแล้วทั้งนั้น.พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้แล.
พรรณนาคาถาว่า วนปฺปคุมฺเพ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะ มีสังฆรัตนะเป็นที่ตั้งโดยประการแห่งคุณนั้นๆ ของบุคคลทั้งหลาย ที่เนื่องอยู่ในพระสงฆ์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยพระปริยัติธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงคุณพระรัตนตรัย ก็ทรงแสดงอย่างสังเขปในที่นี้ และทรงแสดงไว้พิศดารในที่อื่นจึงทรงเริ่มตรัสสัจจวจนะ มีพระพุทธรัตนะเป็นที่ตั้งอีกว่า วนปฺปคุมฺเพ ยถาผุสฺสิตคฺเค ในสัจจวจนะนั้น กลุ่มต้นไม้ที่กำหนดด้วยถิ่นที่อยู่ประจำอันใกล้ชื่อว่า วนะ ป่า. พุ่มไม้ที่งอกงามด้วยรากแก่นกระพี้เปลือกกิ่งและใบ ชื่อว่าปคุมพะ. พุ่มไม้ที่งอกงามของป่าหรือในป่า ชื่อว่า วนปฺปคุมฺโพ. พุ่มไม้ที่งอกงามในป่านี้นั้น ท่านเรียกว่า วนปฺปคุมฺเพ เมื่อเป็นดังนั้น ก็เรียก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 264
ได้ว่า วนสัณฑะ ราวป่า เหมือนในประโยคเป็นต้นว่า อตฺถิ สวิตกฺกสวิจาเร,อตฺถิ อวิตกฺกวิจารมตฺเต, สุเข ทุกฺเข ชีเว, มีวิตกมีวิจารก็มี ไม่มีวิตกมีวิจารก็มี, ชีพเป็นสุข เป็นทุกข์. คำว่า ยถา เป็นคำอุปมา ยอดของพุ่มไม้นั้นบานแล้ว เหตุนั้น พุ่มไม้นั้นจึงชื่อว่า มียอดบานแล้ว อธิบายว่าดอกไม้ที่เกิดเองที่กิ่งใหญ่กิ่งน้อยทุกกิ่ง. ดอกไม้นั้น ท่านกล่าวว่ามียอดอันบานแล้ว ตามนัยที่กล่าวมาก่อนแล้วนั่นแล. บทว่า คิมฺหานมาเส ปฐมสฺมึคิมฺเห ความว่า ในเดือนหนึ่ง แห่งเดือนในฤดูคิมหันต์ ๔ เดือน. ถ้าจะถามว่า ในเดือนไหน. ตอบว่า ในฤดูคิมหันต์เดือนต้น อธิบายว่า ในเดือนจิตรมาส เดือน ๕. จริงอยู่ เดือนจิตรมาสนั้น ท่านเรียกว่าเดือนต้นฤดูคิมหันต์และว่าฤดูวัสสานะอ่อนๆ คำนอกจากนั้น ปรากฏชัดโดยอรรถแห่งบทแล้วทั้งนั้น.
ส่วนความรวมในคำนี้มีดังนี้ว่า พุ่มไม้ที่งอกงามมีนามเรียกว่า กอไม้รุ่น ยอดกิ่งมีดอกบานสะพรั่ง ย่อมสง่างามอย่างเหลือเกิน ในป่าที่รกชัฏด้วยต้นไม้นานาชนิดในฤดูวสันต์อ่อนๆ ที่มีชื่อว่า เดือนต้นฤดูคิมหันต์ ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้า มิใช่ทรงแสดงเพราะเห็นแก่ลาภ มิใช่ทรงแสดงเพราะเห็นแก่สักการะเป็นต้น หากแต่มีพระหฤทัยอันพระมหากรุณาให้ทรงขะมักเขม้นอย่างเดียว ได้ทรงแสดงพระปริยัติธรรมอันประเสริฐที่ชื่อว่า มีอุปมาเหมือนอย่างนั้น เพราะสง่างามอย่างยิ่งด้วยดอกไม้ คือประเภทแห่งอรรถนานาประการมีขันธ์อายตนะเป็นต้นก็มี มีสติปัฏฐานและสัมมัปปธานเป็นต้นก็มี มีศีลขันธ์สมาธิขันธ์เป็นต้นก็มี ชื่อว่า ให้ถึงพระนิพพาน เพราะแสดงมรรคอันให้ถึงพระนิพพาน เพื่อเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่สัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ส่วนในคำว่า ปรมํ หิตาย ท่านลงนิคคหิต ก็เพื่อสะดวกแก่การผูกคาถา.ส่วนความมีดังนี้ว่า ได้ทรงแสดง เพื่อประโยชน์อย่างยิ่ง คือเพื่อพระนิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 265
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสพระปริยัตติธรรม ที่เสมือนพุ่มไม้งามในป่า ที่ยอดกิ่งออกดอกบานสะพรั่งอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยพระปริยัตติธรรมนั้นนั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวจนะ ที่มีพุทธรัตนะเป็นที่ตั้งว่า อิทมฺปิพุทฺเธ รตนํ ปณีตํ แม้อันนี้ ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า. ความแห่งสัจจวจนะนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาก่อนแล้วนั่นแล. แต่พึงประกอบความอย่างเดียวอย่างนี้ว่า คุณชาตกล่าวคือพระปริยัตติธรรมมีประการตามที่กล่าวมาแล้ว แม้นี้ ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า. พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้แล.
พรรณนาคาถาว่า วโร วรญฺญู
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะ ที่มีพุทธรัตนะเป็นที่ตั้งด้วยปริยัตติธรรมอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงทรงเริ่มตรัสด้วยโลกุตรธรรมว่า วโรวรญฺญู. ในคำนั้น บทว่า วโร ความว่า พระพุทธเจ้าผู้อันผู้มีอัธยาศัยน้อมใจเชื่อที่ประณีตปรารถนาว่า โอหนอ! แม้เรา ก็จักเป็นเช่นนี้. หรือพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ สูงสุด ประเสริฐสุด เพราะประกอบด้วยพระคุณอันประเสริฐ. บทว่า วรญฺญู ได้แก่ ผู้ทรงรู้พระนิพพาน. จริงอยู่ พระนิพพานชื่อว่า ประเสริฐ เพราะอรรถว่าสูงสุดกว่าธรรมทั้งปวง. ก็พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้ปรุโปร่ง ซึ่งพระนิพพานนั้น ที่โคนโพธิพฤกษ์ ด้วยพระองค์เอง. บทว่า วรโท. ความว่า ประทานธรรมอันประเสริฐที่เป็นส่วนตรัสรู้และส่วนที่อบรมบ่มบารมีแก่สาวกทั้งหลาย มีพระปัญจวัคคีย์ พระภัททวัคคีย์และชฎิลเป็นต้น และแก่เทวดาและมนุษย์อื่นๆ. บทว่า วราหโร ได้แก่ ที่เรียกว่า วราหโร เพราะทรงนำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐ จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ มาตั้งแต่พระพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 266
พระนามที่ปังกร ทรงนำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐเก่าๆ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ก่อนๆ ทรงดำเนินมาแล้ว. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงถูกเรียกว่า วราหโร ผู้นำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐ.
อนึ่ง พระพุทธเจ้า ชื่อว่า วโร ผู้ประเสริฐ เพราะทรงได้พระสัพพัญญุตญาณ. ชื่อว่า วรัญญู ผู้รู้ธรรมอันประเสริฐ เพราะทรงทำให้แจ้งพระนิพพาน ชื่อว่า วรโท ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ เพราะประทานวิมุตติสุขแก่สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า วราโห ผู้นำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐเพราะทรงนำมาซึ่งปฏิปทาสูงสุด ชื่อว่า อนุตตโร ยอดเยี่ยม เพราะไม่มีคุณอะไรๆ ที่ยิ่งกว่าโลกุตรคุณเหล่านั้น.
มีนัยอื่นอีกว่า ชื่อว่า วโร เพราะทรงบริบูรณ์ด้วยอธิษฐานธรรมคือ อุปสมะ ความสงบระงับ. ชื่อว่า วรัญญู เพราะทรงบริบูรณ์ด้วยอธิษฐานธรรม คือปัญญาความรอบรู้. ชื่อว่า วรโท เพราะทรงบริบูรณ์ด้วยอธิษฐานธรรมคือจาคะ ความสละ ชื่อว่า วราหโร เพราะทรงบริบูรณ์ด้วยอธิษฐานธรรมคือสัจจะ ความจริงใจ. ทรงนำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐ.อนึ่ง ชื่อว่า วโร เพราะทรงอาศัยบุญ ชื่อว่า วรัญญู ก็เพราะทรงอาศัยบุญ ชื่อว่า วรโท เพราะทรงมอบอุบายแห่งบุญนั้นแก่ผู้ต้องการเป็นพระพุทธเจ้า. ชื่อว่า วราโห เพราะทรงนำมาซึ่งอุบายแห่งบุญนั้น แก่ผู้ต้องการเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า. ชื่อว่า อนุตฺตโร เพราะไม่มีผู้เสมอเหมือนในธรรมนั้นๆ หรือเพราะเป็นผู้ไม่มีอาจารย์ แต่กลับเป็นอาจารย์ของคนอื่นๆ ด้วยพระองค์เอง ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ เพราะทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ ที่ประกอบด้วยคุณมีธรรมที่ตรัสดีแล้วเป็นต้น เพื่อผลนั้น แก่ผู้ต้องการเป็นสาวก. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 267
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณของพระองค์ด้วยโลกุตรธรรม ๙ ประการ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวจนะว่า อิทมฺปิ พุทฺเธ เป็นต้น ความของสัจจวจนะนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาก่อนแล้วนั่นแล แต่พึงประกอบความอย่างเดียวอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสรู้โลกุตรธรรมอันประเสริฐได้ด้วย ได้ประทานโลกุตรธรรมได้ด้วย ทรงนำมาซึ่งโลกุตรธรรมได้ด้วย ทรงแสดงโลกุตรธรรมได้ด้วย แม้อันนี้ ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาลก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้แล.
พรรณนาคาถาว่า ขีณํ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยปริยัตติธรรมและโลกุตรธรรมแล้วตรัสสัจจวจนะ มีพุทธรัตนะเป็นที่ตั้ง ด้วย ๒ คาถาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณคือการบรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน ของพระสาวกทั้งหลาย ซึ่งได้สดับปริยัตติธรรมนั้น และปฏิบัติตามแนวที่ได้สดับมาแล้ว ได้บรรลุโลกุตรธรรมทั้ง ๙ ประการ จึงทรงเริ่มตรัสสัจจวจนะ มีสังฆรัตนะเป็นที่ตั้งอีกว่า ขีณํ ปุราณํ.ในสัจจวจนะนั้น บทว่า ขีณํ ได้แก่ ตัดขาด. บทว่า ปุราณํ แปลว่าเก่า. บทว่า นวํ ได้แก่ ในบัดนี้ ที่กำลังเป็นไป คือปัจจุบัน. บทว่า นตฺถิ สมฺภวํ ได้แก่ ความปรากฏ [เกิด] ไม่มี. บทว่า วิรตฺตจิตฺตาได้แก่ มีจิตปราศจากราคะ. บทว่า อายติเก ภวสฺมึ ได้แก่ ในภพใหม่ในอนาคตกาล. บทว่า เต ได้แก่ ภิกษุขีณาสพที่สิ้นกรรมภพเก่า ไม่มีกรรมภพใหม่ และมีจิตปราศจากกำหนัดในภพต่อไป. บทว่า ขีณพีชาได้แก่ ผู้มีพืชถูกถอนแล้ว. บทว่า อวิรุฬฺหิฉนฺทา ได้แก่ ผู้เว้นจากฉันทะที่งอกได้. บทว่า นิพฺพนฺติ ได้แก่ สิ้นไป. บทว่า ธีรา ได้แก่ ผู้ถึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 268
พร้อมด้วยปัญญาชื่อ ธิติ. บทว่า ยถายมฺปทีโป แปลว่า เหมือนประทีปดวงนี้.
ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ท่านอธิบายไว้ว่า กรรมนั้นใดของสัตว์ทั้งหลายเกิดแล้วดับไป เป็นกรรมเก่า เป็นอดีตกาล ย่อมยังไม่สิ้นไป เพราะสามารถนำมาซึ่งปฏิสนธิ เพราะละสิเนหะคือตัณหายังไม่ได้ กรรมเก่านั้น ของภิกษุขีณาสพเหล่าใด ชื่อว่าสิ้นไป ก็เพราะไม่สามารถให้วิบากต่อไป ดุจพืชที่ไฟเผาแล้ว เพราะสิเนหะคือตัณหาเหือดแห้งไปด้วยพระอรหัตตมรรค และกรรมใดของภิกษุขีณาสพเหล่าใด ที่เป็นไปในปัจจุบัน ด้วยอำนาจพุทธบูชาเป็นต้นเรียกว่ากรรมใหม่. ก็กรรมใหม่นั้น ของภิกษุขีณาสพเหล่าใด ก็ไม่ก่อภพได้เพราะไม่สามารถให้ผลต่อไป เหมือนดอกของต้นไม้ที่มีรากขาดแล้ว เพราะละตัณหาได้นั่นเอง.
อนึ่ง ภิกษุขีณาสพเหล่าใดมีจิตหน่ายแล้วในภพต่อไป เพราะละตัณหาได้นั่นแหละ ภิกษุขีณาสพเหล่านั้น ชื่อว่ามีพืชสิ้นแล้ว เพราะปฏิสนธิวิญญาณที่ท่านกล่าวไว้ในคำนี้ว่า กรรมคือนา วิญญาณคือพืช สิ้นไป เพราะสิ้นกรรมนั่นเอง ฉันทะแม้อันใด ของความเกิด กล่าวคือ ภพใหม่ ได้มีมาแล้วแต่กาลก่อน. ภิกษุขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่ามีฉันทะไม่งอก เพราะไม่เกิดในเวลาจุติเหมือนแต่ก่อน เพราะฉันทะแม้อันนั้น ละได้แล้ว เพราะละสมุทัยนั่นเองชื่อว่าปราชญ์ เพราะถึงพร้อมด้วยธิติปัญญา ย่อมดับเหมือนประทีปดวงนี้ ดับไปฉะนั้น เพราะจริมวิญญาณดับไป ย่อมล่วงทางแห่งบัญญัติเป็นต้นอย่างนี้ว่ามีรูปหรือไม่มีรูปอีก.
ได้ยินว่า บรรดาประทีปหลายดวง ที่เขาตามไว้เพื่อบูชาเทวดาประจำเมืองในสมัยนั้น ประทีปดวงหนึ่งดับไปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงชี้ประทีปดวงนั้น จึงตรัสว่า ยถายมฺปทีโป เหมือนประทีปดวงนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 269
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณ คือ การบรรลุอนุปาทิเสสนิพพานของพระขีณาสพ ที่สดับปริยัตติธรรม ที่ตรัสด้วย ๒ คาถาก่อนนั้น ทั้งปฏิบัติตามแนวปริยัติธรรมที่สดับแล้ว บรรลุโลกุตรธรรมทั้ง ๙ ประการ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแล เมื่อทรงประกอบสัจจวจนะ มีสังฆรัตนะเป็นที่ตั้ง จึงทรงจบเทศนาว่า อิทมฺปิ สงเฆ เป็นต้น ความของสัจจวจนะนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาก่อนแล้วนั่นแล. แต่พึงประกอบความอย่างเดียวอย่างนี้ว่า คุณชาตกล่าวคือพระนิพพานของภิกษุขีณาสพ โดยประการตามที่กล่าวมาแล้ว แม้อันนี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์. พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้แล.
จบเทศนา ความสวัสดีก็ได้มีแก่ราชสกุล. อุปัทวะทั้งปวงก็ระงับไป สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ก็ได้ตรัสรู้ธรรม.
พรรณนา ๓ คาถาว่า ยานีธ เป็นต้น
ครั้งนั้น ท้าวสักกะเทวราช ทรงพระดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยคุณพระรัตนตรัย ประกอบสัจจวจนะ ทรงทำความสวัสดีแก่ชาวนคร.แม้ตัวเราก็พึงกล่าวบางอย่างอาศัยคุณพระรัตนตรัย เพื่อความสวัสดีแก่ชาวนครดังนี้แล้วจึงตรัส ๓ คาถาท้ายว่า ยานีธ ภูตานิ เป็นต้น. ใน. ๓ คาถานั้นเพราะเหตุที่พระพุทธเจ้า ท่านเรียกว่าตถาคต เพราะเสด็จมาอย่างที่คนทั้งหลายต้องขวนขวายพากันมาเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก, เพราะเสด็จไปอย่างที่คนเหล่านั้น จะพึงไป เพราะทรงรู้ทั่วอย่างที่คนเหล่านั้นจะพึงรู้ทั่ว, เพราะทรงรู้อย่างที่คนเหล่านั้นจะพึงรู้, เพราะทรงประสบสิ่งที่มีที่เป็นอย่างนั้น อนึ่งเพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บูชาอย่างเหลือเกิน ด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น ที่เกิดภายนอก เป็นอุปกรณ์และที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 270
เกิดในตนมีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นต้น ฉะนั้น ท้าวสักกะเทวราชทรงประมวลเทวบริษัททั้งหมดกับพระองค์แล้วตรัสว่า ตถาคตํ เทวมนุสฺสปูชิตํ พุทฺธํ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ พวกเรานอบน้อมพระตถาคตพุทธเจ้าผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมี.
อนึ่ง เพราะเหตุที่ในพระธรรม มรรคธรรมดำเนินไปแล้วอย่างที่พึงดำเนินไปด้วยการถอนฝ่ายกิเลส ด้วยกำลังสมถวิปัสสนาซึ่งเป็นธรรมคู่กันแม้นิพพานธรรมอันพระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงบรรลุแล้วอย่างที่ทรงบรรลุ คือแทงตลอดแล้วด้วยปัญญา พร้อมที่จะกำจัด ทุกข์ทั้งปวง ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่าตถาคต. อนึ่ง เพราะเหตุที่แม้พระสงฆ์ดำเนินไปแล้วอย่างที่ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนพึงดำเนินไปโดยมรรคนั้นๆ เหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่าตถาคต. ฉะนั้น แม้ใน ๒ คาถาที่เหลือ ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสว่า พวกเรานอบน้อมตถาคตธรรม ขอความสวัสดีจงมี พวกเรานอบน้อมตถาคตสงฆ์ขอความสวัสดีจงมี ดังนี้. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.
ท้าวสักกะเทวราชครั้นตรัส ๓ คาถานี้ อย่างนี้แล้ว ทรงทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จกลับสู่เทวบุรีพร้อมด้วยเทวบริษัท. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงรัตนสูตรนั้นนั่นแล. แม้ในวันที่ ๒ สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ก็ได้ตรัสรู้ธรรม. ทรงแสดงอย่างนี้ ถึงวันที่ ๗. การตรัสรู้ธรรมก็ได้มีอย่างนั้นนั่นแหละ ทุกๆ วัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่กรุงเวสาลีกึ่งเดือนแล้ว จึงทรงแจ้งแก่พวกเจ้าลิจฉวีว่าจะกลับ ต่อนั้น พวกเจ้าลิจฉวี ก็นำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าสู่ฝั่งแม่น้ำคงคา ด้วยสักการะเป็นทวีคุณอีก ๓ วัน เหล่าพระยานาคที่บังเกิดอยู่ ณ แม่น้ำคงคาคิดกันว่า พวกมนุษย์ทำสักการะแก่พระตถาคตกัน พวกเราจักไม่ทำกันบ้างหรือ จึงสร้างเรือหลายลำล้วนทำด้วยทองเงินและ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 271
แก้วมณี ลาดบัลลังก์ทำด้วยทองเงินและแก้วมณี ทำน้ำให้ปกคลุมด้วยบัว ๕ สี ทูลวอนขอพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระองค์โปรดทรงทำความอนุเคราะห์พวกข้าพระองค์ด้วยเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้งทรงรับ เสด็จขึ้นสู่เรือแก้ว ส่วนภิกษุ ๕๐๐ รูป ก็ขึ้นสู่เรือของตนๆ. พวกพระยานาค นำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์เจ้าไปยังพิภพนาค. ข่าวว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่นาคบริษัท ตลอดคืนยังรุ่ง. วันที่ ๒ พวกพระยานาคพากันถวายมหาทานด้วยของเคี้ยวของฉันอันเป็นทิพย์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแล้วเสด็จออกจากพิภพนาค.
พวกภุมมเทวดาพากันคิดว่า พวกมนุษย์และนาคพากันทำสักการะแก่พระตถาคต พวกเราจักไม่ทำกันบ้างหรือ จึงช่วยกันยกฉัตรใหญ่น้อย เหนือพุ่มไม้งามในป่า ต้นไม้ และภูเขา. โดยอุบายนั้นนั่นแล สักการะวิเศษขนาดใหญ่ ก็บังเกิดตราบถึงภพของอกนิษฐพรหม. แม้พระเจ้าพิมพิสารก็ได้ทรงทำเป็นทวีคูณ กว่าสักการะที่พวกเจ้าลิจฉวีทรงทำ ครั้งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา ทรงนำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ๕ วันจึงมาถึงกรุงราชคฤห์ โดยนัยที่กล่าวมาก่อนแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จถึงกรุงราชคฤห์แล้ว ภายหลังอาหาร พวกภิกษุที่นั่งประชุมกัน ณ ศาลาทรงกลมพูดในระหว่างกันอย่างนี้ว่า โอ อานุภาพของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า, ที่ภูมิภาค ๘ โยชน์ ทั้งฝั่งในทั้งฝั่งนอกแห่งแม่น้ำคงคา ถูกเจาะจงปรับที่ลุ่มที่ดอนให้เรียบแล้วโรยทราย ปกคลุมด้วยดอกไม้ทั้งหลาย แม่น้ำคงคาประมาณโยชน์หนึ่งก็ถูกปกคลุมด้วยบัวสีต่างๆ ฉัตรใหญ่น้อยถูกยกขึ้นตราบถึงภพของอกนิษฐพรหม. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ออกจากพระคันธกุฏีเสด็จไปยังศาลาทรงกลมด้วยปาฏิหาริย์ที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 272
เหมาะแก่ขณะนั้น ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อันประเสริฐที่เขาจัดไว้ ณ ศาลาทรงกลม. ครั้นประทับนั่งแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกี้ พวกเธอนั่งประชุมพูดกันด้วยเรื่องอะไร ภิกษุทั้งหลายก็กราบทูลเรื่องทั้งหมด. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บูชาวิเศษนี้มิได้บังเกิดเพราะพุทธานุภาพของเรา ทั้งมิใช่เพราะอานุภาพของนาคเทวดาและพรหม ที่แท้บังเกิดเพราะอานุภาพของการบริจาคเล็กๆ น้อยๆ แต่ก่อนต่างหาก. พวกภิกษุจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพวกข้าพระองค์ไม่รู้การบริจาคเล็กๆ น้อยๆ นั้น สาธุ! ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดตรัสบอกพวกข้าพระองค์ อย่างที่พวกข้าพระองค์จะรู้การบริจาคเล็กๆ น้อยๆ นั้นด้วยเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้วในกรุงตักกสิลา มีพราหมณ์ผู้หนึ่ง ชื่อ สังขะ. เขามีบุตร ชื่อสุสีมมาณพ. มาณพนั้น อายุ ๑๖ ปีโดยวัย วันหนึ่งเข้าไปหาบิดากราบแล้วยืน ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง. บิดาถามเขาว่า อะไรพ่อสุสีมะ. เขาตอบว่า ลูกอยากไปกรุงพาราณสีเรียนศิลปะจ้ะพ่อท่าน. พราหมณ์กล่าวว่า พ่อสุสีมะ ถ้าอย่างนั้น พ่อมีสหายเป็นพราหมณ์ชื่อโน้น พ่อจงไปหาเขาเล่าเรียนเถิด แล้วมอบทรัพย์ให้พันกหาปณะ. สุสีมมาณพนั้น รับทรัพย์แล้ว ก็กราบมารดาบิดาเดินทางไปกรุงพาราณสีโดยลำดับ เข้าไปหาอาจารย์โดยวิธีประกอบด้วยความละเมียดละไม กราบแล้วรายงานตัว อาจารย์รู้ว่าเป็นลูกของสหาย ก็รับมาณพไว้ ได้ทำการต้อนรับอย่างดีทุกอย่าง มาณพนั้นคลายความเมื่อยล้าในการเดินทางไกลแล้ว ก็วางกหาปณะนั้นแทบเท้าอาจารย์ ขอโอกาสเรียนศิลปะ. อาจารย์ก็เปิดโอกาสให้เล่าเรียน เขาเรียนได้เร็วและเรียนได้มาก ทั้งทรงจำศิลปะที่รับ ไว้ๆ ได้ไม่เสื่อมสูญ เหมือนน้ำมันที่ใส่ลงในภาชนะทอง เขาเรียนศิลปะที่ควรจะเรียนถึง ๑๒ ปี ให้เสร็จสรรพ์ได้โดย ๒ - ๓ เดือนเท่านั้น เขาทำการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 273
สาธยายเห็นแต่เบื้องต้นและเบื้องกลางเท่านั้นไม่เห็นเบื้องปลาย จึงเข้าไปหาอาจารย์ถามว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าเห็นแต่เบื้องต้นและเบื้องกลางของศิลปะนี้เท่านั้น ไม่เห็นเบื้องปลายเลย อาจารย์ก็กล่าวว่า เราก็เห็นอย่างนั้นเหมือนกันแหละพ่อเอ๋ย. เขาจึงถามว่า ท่านอาจารย์เมื่อเป็นดังนั้น ใครเล่ารู้เบื้องปลายของศิลปะนี้. อาจารย์กล่าวว่าพ่อเอ๋ย ที่ป่าอิสิปตนะมีฤษีหลายองค์ ฤษีเหล่านั้น คงรู้. เขาบอกว่า อาจารย์ ข้าพเจ้าจะเข้าไปถามฤษีเหล่านั้นเอง.อาจารย์ก็บอกว่า ไปถามตามสบายเถิด พ่อเอ๋ย. เขาก็ไปยังป่าอิสิปตนะ เข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ถามว่า ท่านผู้เจริญ ท่านรู้เบื้องปลายศิลปะบ้างไหม. พระปัจเจกพุทธเจ้า กล่าวว่า เออ เรารู้สิท่าน. เขาอ้อนวอนว่าโปรดให้ข้าพเจ้าศึกษาเบื้องปลายศิลปะนั้นเถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ก็บวชเสียสิ ท่านผู้ไม่ใช่นักบวช ศึกษาไม่ได้ดอก. เขารับคำว่าดีละเจ้าข้า โปรดให้ข้าพเจ้าบวชเถิด. ท่านจงทำแต่ที่ท่านปรารถนาแล้วให้ข้าพเจ้าศึกษาเบื้องปลายศิลปะก็แล้วกัน. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นให้เขาบวชแล้ว ก็ไม่สามารถประกอบเขาไว้ในกรรมฐาน ให้ศึกษาได้แต่อภิสมาจารโดยนัยเป็นต้นว่า ท่านพึงนั่งอย่างนี้ พึงห่มอย่างนี้. เขาศึกษาอยู่ในข้อนั้นแต่เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสสัย ไม่นานนักก็ตรัสรู้ปัจเจกโพธิญาณ. ท่านสุสีมะถึงลาภยศอันเลิศพรั่งพร้อมทั้งบริวาร ก็ปรากฏไปทั่วกรุงพาราณสีว่า เกิดเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แต่ไม่นานนัก ท่านก็ปรินิพพาน เพราะทำกรรมที่เป็นเหตุให้อายุสั้นไว้. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายและหมู่มหาชน ช่วยกันทำฌาปนกิจสรีระของท่าน เก็บธาตุสร้างพระสถูปไว้ใกล้ประตูพระนคร.
ฝ่ายสังขพราหมณ์ คิดว่า ลูกของเราไปตั้งนานแล้ว ยังไม่รู้ข่าวคราวของเขาเลย ประสงค์จะพบบุตร จึงออกจากตักกสิลา เดินทางไปตามลำดับก็
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 274
ถึงกรุงพาราณสี เห็นหมู่มหาชนประชุมกัน คิดว่าในหมู่ชนเป็นอันมาก สักคนหนึ่ง คงจักรู้ข่าวคราวลูกของเราแน่แท้ จึงเข้าไปที่กลุ่มชนถามว่า มาณพชื่อสุสีมะมาในที่นี้มีไหม ท่านรู้ข่าวคราวของเขาบ้างหรือหนอ ชนเหล่านั้น กล่าวว่า เออ พราหมณ์ พวกเรารู้ ท่านเรียนจบไตรเพท ในสำนักพราหมณ์ในพระนครนี้แล้ว บวชในสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุแล้ว นี้พระสถูป เราสร้างไว้สำหรับท่าน. สังขพราหมณ์นั้นเอามือทุบแผ่นดิน ร่ำไห้รำพันไปยังลานเจดีย์นั้น ถอนหญ้าแล้ว เอาผ้าห่มห่อทรายนำไปเกลี่ยที่ลานเจดีย์พระปัจเจกพุทธเจ้า เอาน้ำในคนโทน้ำประพรม ทำการบูชาด้วยดอกไม้ป่า เอาผ้าห่มยกขึ้นทำเป็นธง ผูกฉัตรคือร่มของตนไว้บนสถูปแล้วกลับไป.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเรื่องอดีตอย่างนี้แล้ว เมื่อทรงต่อเชื่อมชาดกนั้นกับปัจจุบันจึงตรัสธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพวกเธอจะพึงมีความคิดว่า คนอื่นเป็นสังขพราหมณ์สมัยนั้นแน่แท้ แต่พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนี้ สมัยนั้น เราเป็นสังขพราหมณ์ เราถอนหญ้าที่ลานเจดีย์ของพระสุสีมปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยผลกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลายจึงทำทาง ๘ โยชน์ให้ปราศจากตอและหนาม ทำพื้นที่ให้ราบเรียบ สะอาด เราโรยทรายที่ลานเจดีย์พระสุสีมปัจเจกพุทธเจ้านั้น ด้วยผลกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลายจึงโรยทรายที่หนทาง ๘ โยชน์ เราทำบูชาที่พระสถูปนั้นด้วยดอกไม้ป่า ด้วยผลกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลายจึงได้ทำเครื่องลาดดอกไม้ด้วยดอกไม้ป่านานาชนิด ทั้งบนบกทั้งในน้ำ ในหนทาง ๘ โยชน์ เราประพรมพื้นดินด้วยน้ำในคนโทน้ำที่พระสถูปนั้น ด้วยผลกรรมของเรานั้น ฝนโบกขรพรรษจึงตกลงที่กรุงเวสาลี เรายกธงแผ่นผ้าและผูกฉัตรที่พระเจดีย์นั้น ด้วยผลกรรมของเรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 275
นั้น ชนทั้งหลายจึงยกธงแผ่นผ้าและฉัตรใหญ่น้อย จนถึงภพอกนิษฐ์.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดังนั้น บูชาวิเศษนี้ ไม่ใช่บังเกิดเพราะพุทธานุภาพของเรา ไม่ใช่เพราะอานุภาพของนาค เทวดา และพรหมดอก ที่แท้ บังเกิดเพราะอานุภาพของการบริจาคเล็กๆ น้อยๆ ต่างหากเล่า. จบธรรมกถา ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ จเช มตฺตาสุขํ ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ.
ถ้าบุคคลพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะสละสุขพอประมาณไซร้ ผู้มีปัญญาเมื่อเห็นสุขอันไพบูลย์พึงสละสุขพอประมาณเสีย ดังนี้.
จบพรรณารัตนสูตร
แห่ง
อรรถกถาขุททกปาฐะ ชื่อปรมัตถโชติกา